รัฐและรูปแบบการเมืองการปกครอง
ความกลัว เพราะมนุษย์มีความกลัวจึงแสวงหาความมั่นคงซึ่งเป็นหลักประกันขั้นต่ำในชีวิต ได้แก่ความมั่นคงในชีวิต ความมั่นคงปลอดภัยในสังคม ความมั่นคงทางกายภาพและทางจิตใจ เหตุผลแห่งรัฐ กำเนิดและพัฒนาการของกลไก 2 ด้านในสังคม คือ กลไกกำลังบังคับ กับ กลไกอุดมการณ์ ความปรารถนาที่จะมีชีวิตรอดอยู่อย่างมีความสุข เมื่อมนุษย์อยู่รอดได้และมีความมั่นคงขั้นต่ำในชีวิต มนุษย์ย่อมแสงหาความสุขสะสมเพื่อวันข้างหน้า ชีวิตภายใต้อำนาจรัฐที่เป็นธรรม ความต้องการที่จะอยู่อย่างมีศักดิ์ศรี มนุษย์เป็นสัตว์ที่มีศักดิ์ศรี ความต้องการที่จะอยู่อย่างมีศักดิ์ศรีสะท้อนจากความปรารถนาในการมีส่วนร่วมจากกิจกรรมต่างๆ ความร่มเย็น ความร่วมมือที่เหมาะสมระหว่างอำนาจรัฐกับส่วนต่างๆของสังคม
เหตุผลแห่งรัฐ โดยสรุป คือ ความกลัว ----------------- > ความต้องการความมั่นคง-ปลอดภัย ความสุข ----------------- > การพัฒนาคุณภาพชีวิต ความมีศักดิ์ศรี ------------ > ความต้องการที่จะมีส่วนร่วม
การกำเนิดรัฐ
ทฤษฎีเทวสิทธิ์ (Divine Right Theory) ในยุคแรกเมื่อความเชื่อเรื่องพระเจ้ายังมีอิทธิพลอยู่มาก นักปราชญ์เชื่อกันว่าพระเจ้าเป็นผู้สร้างมนุษย์ ประทานดินแดนแก่มนุษย์ ประทานอำนาจและตั้งรัฐบาลปกครองดินแดน บางครั้งก็ส่งตัวแทนมาใช้อำนาจปกครองแทนพระเจ้า ทฤษฎีนี้เรียกว่า “ทฤษฎีเทวสิทธิ์” (Divine Right Theory) หรือบางครั้งเรียกว่า “ทฤษฎีเทวราชย์” (Divine King Theory) ซึ่งมีสาระสำคัญว่า
ก. รัฐเกิดจากความประสงค์ของพระเจ้า ข. มนุษย์มิใช่ผู้มีส่วนในการสร้างรัฐ ค. ผู้ปกครองรัฐได้อำนาจปกครองรัฐมาจากพระเจ้า ผู้ใดฝ่าฝืนอำนาจรัฐหรือขัดขืนอำนาจของผู้ปกครองรัฐ ผู้นั้นฝ่าฝืนโองการของพระเจ้า ถือว่ามีบาปและมีความผิด ง. ประชาชนในรัฐต้องเชื่อฟังผู้มีอำนาจในรัฐโดยเคร่งครัด ต่อมาทฤษฎีกฎหมายธรรมชาติ (Natural Law Theory) ก็เริ่มพัฒนาเคียงคู่กันมากับทฤษฎีเทวสิทธิ์ ทฤษฎีนี้เชื่อว่ามนุษย์เป็นส่วนหนึ่งของรัฐและมีส่วนในการก่อตั้งรัฐ อย่างไรก็ตาม ต่อมาอิทธิพลทางคริสต์ศาสนาเข้ามาแทรกแซงทฤษฎีนี้มากขึ้นจนคำว่า “ธรรมชาติ” ถูกบิดเบือนกลายเป็นเรื่องของพระเจ้าไป
ทฤษฎีพละกำลัง (Theory of Force) ทฤษฎีพละกำลังอธิบายว่า รัฐเกิดจากการยึดครองและการใช้กำลังบังคับ ทฤษฎีนี้นำไปสู่ความเชื่อในเรื่องชาตินิยมและแนวคิดที่ว่ารัฐคืออำนาจ อำนาจรัฐคือความชอบธรรมในตัวเองและอยู่เหนือศีลธรรมทั้งปวง แนวคิดดังกล่าวนี้มีผู้นำไปแปรเป็นผลในทางปฏิบัติเป็นหลักการของลัทธิฟาสซิสต์ของประเทศอิตาลีและลัทธินาซีของประเทศเยอรมนี
ทฤษฎีสัญญาประชาคม (Theory of the Social Contract) ทฤษฎีสัญญาประชาคม เกิดจากการนำแนวความคิดเกี่ยวกับรัฐและความผูกพันระหว่างราษฎรกับรัฐของนักปราชญ์ต่างๆ ได้แก่ โทมัส ฮอบส์ (Thomas Hobbes) จอห์น ลอค (John Locke) มองเตสกิเออ (Montesquieu) และฌอง ชาคส์ รุสโซ (Jean Jacques Rousseau) มาอธิบายรวมกัน
ทฤษฎีนี้อธิบายว่า รัฐเกิดจากการที่มนุษย์มาอยู่รวมกันและต่างมอบอำนาจความเป็นใหญ่ที่ตนมีอยู่ให้ผู้ปกครองหรือคณะผู้ปกครอง เป็นการทำสัญญาหรือข้อตกลงที่ประชาชนผู้อยู่ใต้อำนาจบังคับบัญชายอมรับรู้อำนาจของกษัตริย์หรือผู้ปกครองรัฐ ภายใต้เงื่อนไขว่ากษัตริย์จะทรงใช้อำนาจนั้นเพื่อประโยชน์และความสุขของประชาชน ทฤษฎีนี้แพร่หลายมากในสมัยศตวรรษที่ 16 และ 17 ซึ่งผู้ที่มีอิทธิพลอย่างมากในสมัยนั้นคือ รุสโซ เขาเขียนหนังสือชื่อ “สัญญาประชาคม” (Social Contract หรือ Contrat Social) และอธิบายว่า เมื่อรัฐเกิดจากมนุษย์ และรัฐบาลก็เกิดจากความยินยอมพร้อมใจของประชาชน เจตนารมณ์ของประชาชนในรัฐซึ่งรุสโซเรียกว่า “เจตน์จำนงทั่วไป” (General Will) จึงต้องอยู่เหนืออื่นใด แม้ผู้ปกครองเองก็ถูกผูกมัดว่าต้องปฏิบัติตาม
ทฤษฎีวิวัฒนาการ (Theory of Evolution) ในบรรดาทฤษฎีทั้งหลายเกี่ยวด้วยการกำเนิดของรัฐ ทฤษฎีที่สำคัญที่สุดคือทฤษฎีวิวัฒนาการ (Theory of Evolution) ทฤษฎีนี้มีสาระสำคัญว่า รัฐเกิดขึ้นจากวิวัฒนาการในทางการเมืองของมนุษย์ เมื่อเริ่มต้นมนุษย์รวมกันอยู่เป็นกลุ่มเล็กๆ มีความผูกพันทางสายโลหิต มีความสัมพันธ์ทางเครือญาติซึ่งเรียกว่าวงศาคณาญาติ ต่อมาก็ขยายตัวรวมเอากลุ่มชนซึ่งอยู่ในสถานที่เดียวกันหรือใกล้เคียงกันเข้ามาด้วย มีหัวหน้าร่วมกัน มีศาสนาหรือลัทธิความเชื่อถือเดียวกัน มีขนบธรรมเนียมประเพณีเดียวกัน สังคมประเภทนี้เรียกว่าสังคมร่วมเผ่าพันธุ์หรือชาติพันธุ์ (ethnic group) ซึ่งกว้างขวางกว่าสังคมประเภทวงศาคณาญาติ (family group) ต่อมาสังคมเผ่าพันธุ์ขยายตัวขึ้นกลายเป็นนครใหญ่ เช่น นครรัฐในกรีกสมัยโบราณ หลายๆ นครรัฐรวมเข้าเป็นจักรวรรดิ จัดการปกครองที่ส่วนกลางและส่วนภูมิภาค
ทฤษฎีวิวัฒนาการนี้ได้รับอิทธิพลจากแนวคิดของอริสโตเติล (Aristotle) ซึ่งถือว่าการตั้งรัฐเป็นเรื่องของการเมือง การที่มนุษย์เข้าไปมีส่วนร่วมในวิวัฒนาการของรัฐจึงเท่ากับว่ามนุษย์ได้เข้าไปมีส่วนร่วมในวิวัฒนาการทางการเมืองด้วยอย่างไม่อาจแยกจากกันได้ ทฤษฎีนี้จึงถือว่ารัฐเป็นสังคมการเมืองโดยมีมนุษย์เป็นสัตว์การเมืองและเป็นสัตว์สังคม
รูปแบบแห่งความสัมพันธ์ รูปแบบแห่งความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับสังคม มี 3 รูปแบบใหญ่ๆ คือ 1.รัฐล้อมสังคม 2.สังคมล้อมรัฐ 3.สังคมร่วมรัฐ การกำหนดว่ารูปแบบใดเป็นรูปแบบของความสัมพันธ์ที่เด่นชัดนั้นอาศัยหลักเกณฑ์ 3 ประการ คือ ก.ความสามารถในการควบคุม กำหนดทิศทางการเปลี่ยนแปลง และรักษาสภาพเดิมของความสัมพันธ์นั้นว่าขึ้นอยู่กับฝ่ายใด ข. การกระจายตัวทางโครงสร้างและหน้าที่ ค. ความเป็นอิสระและสมรรถนะในการปรับตัวและใช้ความเป็นอิสระนั้นกำหนดรูปแบบและทิศทางของความสัมพันธ์ระหว่างกลไกรัฐ-กลไกนอกระบบอำนาจรัฐ และความสัมพันธ์ระหว่างกลไกนอกระบบอำนาจรัฐด้วยกันเอง
รัฐล้อมสังคม วงกลมแทนอำนาจรัฐและกลไกอำนาจรัฐ ซึ่งมีลักษณะเด่น 4 ประการ ที่สังคมยังไม่มี หรือมีแต่ยังไม่เป็นระบบคือ ศูนย์อำนาจมีเหตุผลแห่งการดำรงอยู่ที่ชัดเจน มีศูนย์รวมอำนาจเข้มข้นและชัดเจน ศูนย์อำนาจมีอาณาบริเวณที่จะต้องปกป้องอย่างชัดเจน ศูนย์อำนาจมีทั้งกลไกทั้งทางด้านกำลังบังคับและอุดมการณ์ที่ชัดเจน
สังคมล้อมรัฐ กลไกอำนาจรัฐ แม้จะมีอยู่แต่ก็มิใช่กลไกที่ “อำนาจเหนือสังคม”หากอยู่ภายใต้อำนาจของศูนย์อำนาจทางเศรษฐกิจ การเมือง สังคมและวัฒนธรรมที่สามารถดันให้รัฐเปลี่ยนแปลงเหตุผลและโครงสร้างเดิมให้เป็นเหตุผลและโครงสร้างที่เอื้ออำนวยต่อเป้าหมายและความต้องการของกลุ่มต่างๆในสังคมได้
สังคมร่วมรัฐ รัฐมีบทบาทในการแทรกแซงสังคม สังคมก็อยู่ในฐานะที่มีความกล้าแข็ง ทัดเทียมกับอำนาจรัฐ เราจึงเรียกกรณีนี้ว่าเป็นสังคมร่วมรัฐ คือ มีการโต้ตอบกลับจากสังคม ทั้งนี้เพราะการแทรกแซงของรัฐเกิดขึ้นในสภาพการณ์ที่ผ่านพ้นระดับการพัฒนาทางสังคม เศรษฐกิจ และการเมืองไปแล้ว
อาณาบริเวณของความสัมพันธ์
ไตรลักษณรัฐ
อธิบายสภาพการณ์ดังกล่าวตามกรอบ “ไตรลักษณรัฐ” ได้ว่าเป็นความพยายามในการสร้างมิติ “สังคมร่วมรัฐ” เพื่อให้สังคม รวมถึงประชาชนอยู่ในฐานะที่มีความกล้าแข็ง ทัดเทียมกับอำนาจรัฐ ที่ทำได้แม้กระทั่งตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ หรือในการดำเนินกิจกรรมใดๆก็ตามของหน่วยงานรัฐ ตามที่ได้บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ เป็นความพยายามทำลายความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับสังคม ในลักษณะ “รัฐเหนือสังคม”ซึ่งเดิมรัฐและกลไกของรัฐ ทั้งด้านกลไกการใช้กำลังบังคับและกลไกทางอุดมการณ์ เป็นฝ่ายครอบงำและกำหนดทิศทางการเปลี่ยนแปลงทางสังคมมากกว่าพลังทางสังคมและประชาชนจะเป็นฝ่ายครอบงำและกำหนดทิศทางการเปลี่ยนแปลง (หมายความว่าต่อจากนี้ไป สังคมและประชาชนจะเข้ามาประสานงานการทำงานร่วมกันอย่างบูรณาการกับรัฐและองค์กรภาครัฐ จนกระทั่งสามารถก้าวขึ้นเป็นพลังนำในการขับเคลื่อนสังคมและประเทศชาติ ตามอุดมการณ์ประชาธิปไตยที่ควรจะเป็น
ทฤษฎีรัฐแบบพหุนิยม Pluralism แนวความคิดของนักวิชาการกลุ่มนี้ถือว่ารัฐมีลักษณะเป็นพหุนิยม ทั้งนี้เพราะถือว่ารัฐเป็นเวทีการแข่งขันระหว่างกลุ่มผลประโยชน์หรือพรรคการเมือง โดยในแง่ของพรรคการเมืองนั้นได้จัดตั้งขึ้นเพื่อเป็นตัวแทนของกลุ่มตนและผู้ที่สนับสนุนเพื่อที่จะเข้าไปมีอำนาจในการปกครองประเทศ ดังนั้นความหมายชองรัฐตามแนวคิดของกลุ่มนี้ คือ รัฐบาลนั่นเอง แม่แบบของการเมืองแบบพหุนิยมได้แก่ สหรัฐอเมริกา อังกฤษ ฝรั่งเศส และออสเตรเลีย
ทฤษฎีรัฐแบบพหุนิยม Pluralism กลุ่มผลประโยชน์จะจัดตั้งกันขึ้นมาตามความสมัครใจ ไม่จำกัดจำนวนและประเภท กลุ่มเหล่านี้จะแข่งขันกันเพื่อให้ได้นโยบายหรือมาตรการทางกฎหมายที่ตนต้องการ โดยรัฐอาจจะไม่เข้ามาแทรกแซง ถ้าคิดแบบพหุนิยมถึงที่สุด จะถือว่าข้าราชการในภาครัฐไม่มีผลประโยชน์หรอเจตนารมณ์ของตนเอง แต่จะถูกกดดันหรือควบคุม โดยกลุ่มในสังคมที่มีศักยภาพและอำนาจสูงเพื่อให้กำหนดนโยบายที่สอดคล้องกับข้อเรียกร้องต้องการของกลุ่มเหล่านั้น
ทฤษฎีรัฐแบบมาร์กซิสต์ Marxist รัฐเป็นเครื่องมือของชนชั้นผู้เป็นเจ้าของปัจจัยการผลิต ในการรักษาอำนาจและผลประโยชน์ของชนชั้นนั้น รัฐตามแนวคิดดังกล่าวคือการต่อสู้ระหว่างชนชั้นที่จะเข้าควบคุมอำนาจของรัฐและใช้อำนาจนั้นให้เกิดประโยชน์แก่ชนชั้นของตนให้มากที่สุด แนวคิดนี้ถูกพัฒนาต่อโดยกลุ่มนีโอ-มาร์กซิสต์ ทำให้เกิดเป็นสองแนวทาง คือ 1. Instrumentalist 2. Structuralism
ทฤษฎีรัฐแบบภาคีรัฐ-สังคม Corporatism สำนักนี้ยอมรับว่ากลุ่มผลประโยชน์ต่างๆสามารถมีอิทธิพลต่อนโยบายและมาตรการทางกฎหมาย แต่รัฐก็ยังอาจกำหนดโครงสร้างความสัมพันธ์อย่างเป็นทางการกับภาคสังคม และจัดระเบียบความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มต่างๆ ในภาคสังคม ในแนวทางนี้กลุ่มจะจัดตั้งกันอย่างเป็นลำดับชั้นแล้วจึงเชื่อมโยงเข้ากับรัฐบาล ดังนั้นการแข่งขันระหว่างกลุ่มจึงมีอยู่อย่างจำกัด นอกจากนี้กลุ่มมิได้เพียงผู้สนับสนุนนโยบาย แต่จะมีความรับผิดชอบต่อภารกิจของส่วนรวมบางอย่างและได้รับมอบหมายให้มีอำนาจหน้าที่ที่จำเป็นจากหน่วยงานของรัฐ
การกำเนิดรัฐสมัยใหม่ ระบบการเมืองโลกหลังสนธิสัญญาสันติภาพเวสต์ฟาเลียเริ่มมีรัฐสมัยใหม่ เพิ่มจำนวนมากขึ้นในช่วงแรกหลังปี ค.ศ.1870 โดยพบว่าในช่วงครึ่งศตวรรษแรกก่อนเกิดสงครามโลกครั้งที่ 1 ในปี ค.ศ.1914 รัฐในยุโรปเพิ่มขึ้นจาก 15 รัฐเป็น 25 รัฐ รัฐที่เกิดขึ้นใหม่ในช่วงนี้มี 2 ลักษณะ ได้แก่ (1) การรวมตัวของชนชาติซึ่งแยกตัวจากจักรวรรดิเก่า และ (2) การก่อตัวของดินแดนเล็กๆ เป็นรัฐชาติใหม่
แผนภาพที่ 1: สถานการณ์แบ่งแยกดินแดนเป็นเอกราชจากทั่วโลก
ในศตวรรษที่ 21 รัฐในสังคมชุมชนระหว่างประเทศได้ถือกำเนิดขึ้นใหม่อีก 3 รัฐ 3 รัฐที่กำเนินใหม่นั้น ได้แก่ ติมอร์เลสเต มอนเตเนโกร และซูดานใต้ โดยติมอร์เลสเต เป็นรัฐกำเนิดใหม่อยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่แยกตัวออกจาก อินโดนีเซียเมื่อปี ค.ศ.2002 และเข้าเป็นสมาชิกสหประชาชาติเป็นลำดับที่ 191 ส่วนมอนเตเนโกรเป็นรัฐกำเนิดใหม่ในภูมิภาคยุโรปที่แยกตัวออกจากรัฐ เซอร์เบียแอนด์มอนเตเนโกรเมื่อปี ค.ศ. 2006 และเข้าเป็นสมาชิกสหประชาชาติเป็นลำดับที่ 192 ขณะที่ซูดานใต้ถือกำเนิดเป็นรัฐใหม่ของโลกล่าสุด อยู่ในภูมิภาคแอฟริกา โดยแยกตัวออกจากซูดานเมื่อปี ค.ศ.2011 และเข้าเป็นสมาชิกสหประชาชาติเป็นลำดับที่ 193
แหล่งอ้างอิงเพิ่มเติม ไตรลักษณรัฐกับการเมืองไทย Three-Dimensional State and Thai Politics ชัยอนันต์ สมุทวณิช สามารถ download ได้ทั้งเล่มที่ http://www.fpps.or.th/elibrary/download/book38.pdf รัฐกำเนิดใหม่ในศตวรรษที่ 21 http://www.siamintelligence.com/state-building-in-the-21st-century/