หน่วยที่ 6 ดนตรีกับชีวิตประจำวัน
ดนตรีที่มาจากต่างประเทศ 1.1 ดนตรีคลาสสิก ได้รับการถูกยกย่องว่าเป็นเพลงชั้นสูงมีระดับ แต่แท้จริงแล้วเป็นเพลงโบราณชนิดหนึ่งซึ่งประพันธ์จากบุคคลธรรมดา แต่ได้รับการชุบเลี้ยงส่งเสริมจากราชสำนักและชนชั้นปกครองในสมัยนั้น คลาสสิก หมายถึงช่วงเวลาหรือยุคสมัยหนึ่งที่ดนตรียุโรปเฟื่องฟูอยู่ราวปี 1750 – 1820 มีลักษณะเป็นเพลงบรรเลง ไม่มีเนื้อร้อง นอกจากการประพันธ์เนื้อเรื่องประกอบในโอเปร่า
โวล์ฟกัง อะมาเดอุส โมซาร์ท
1.2 โอเปร่า เป็นเพลงโต้ตอบกันตามเรื่องราวที่ประพันธ์เป็นลักษณะของละคร ประกอบด้วยการกริยาอารมณ์ สีหน้า ท่าทาง ตามแบบของการแสดงละครทั่วไป มีฉาก เครื่องแต่งกาย และมีออเคสตร้า บรรเลงประกอบการแสดง
1.3 คันทรี่ ดนตรีที่ชนผิวขาวทางใต้ของสหรัฐอเมริกาคิดค้นขึ้น เคยมีชื่อเรียกว่าดนตรี The White Men’s Blues ได้รับอิทธิพลจากคนงานผิวสีชาวอเมริกันซึ่งนิยมเล่นเครื่องดนตรีประเภทแบนโจ
1.4 ร็อค เอ็น โรล เป็นดนตรีที่เริ่มจากการผสมผสานระหว่างอเมริกันและแอฟริกัน โดยนำดนตรีพื้นบ้านของชาวตะวันตกผิวขาวมาผสมกับดนตรีประเภท Blues และ R&B ซึ่งเป็นดนตรีที่พัฒนามาจากชนผิวสี ทำให้เกิดดนตรีประเภทใหม่ที่มีจังหวะรุนแรง เสียงกีตาร์และการตีกลองแสดงถึงความตื่นเต้นเร้าใจ
1.5 ป๊อป จากอุตสาหกรรมการบันทึกเสียงมีความก้าวหน้ามากขึ้น มีความทันสมัยและได้รับความนิยมอย่างก้างขวางแทนที่ดนตรีแบบเดิม ๆ และทำกันเป็นธุรกิจ ดนตรีป๊อปพัฒนามาตั้งแต่ปี 1950 มีจังหวะและท่วงทำนองที่ชวนฟัง เครื่องดนตรีที่ใช้ส่วนใหญ่เป็นเครื่องดนตรีไฟฟ้า และปัจจุบันนิยมใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยทำให้สะดวกสบาย ในการบรรเลงและผลิต พอล แองก้า
ปีเตอร์ พอล แอนด์ แมร์รี่ 1.6 โฟล์ค ความหมายที่แท้จริง คือ เพลงพื้นบ้าน เป็นเพลงที่ร้องและเล่นด้วยเครื่องดนตรีท้องถิ่นที่ถ่ายทอดจากรุ่นสู่รุ่น ส่วนใหญ่ทั้งเนื้อร้องและทำนองจะไม่บันทึกเป็นโน้ตหรือลายลักษณ์อักษร ใช้วิธีจำแบบบอกต่อ เนื้อหามักเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ในชีวิตประจำวัน ปีเตอร์ พอล แอนด์ แมร์รี่
1.7 แจ๊ส มาจากหมู่ทาสผิวดำในสหรัฐอเมริกา ในปัจจุบันเน้นหลักการใช้ไหวพริบที่เกิดขึ้นฉับพลันแบบไม่ทันตั้งตัวเป็นการพิสูจน์ฝีมือที่เรียกว่า Improvisation เครื่องดนตรีที่นิยมได้แก่ แบนโจ, กีตาร์, คอร์เน็ต, ทรอมโบน, ทรัมเป็ต, แซกโซโฟน, เปียโน, เบสและกลองชุด หลุยส์ อาร์มสตรอง
ดับบริว ซี แฮนดี้ (W.C.Handy) 1.8 บลูส์ มีวิวัฒนาการมาจากวิถีชีวิตตามไร่นา และการร้องรำทำเพลงขณะทำงานของคนผิวดำในสหรัฐฯ ที่มีการสืบทอดวัฒนธรรมทางดนตรีจากแอฟริกาบ้านเกิดของตน และบลูส์เป็นจุดเริ่มต้นของดนตรีแจ๊สในเวลาต่อมา ดับบริว ซี แฮนดี้ (W.C.Handy)
ดนตรีที่มีอยู่ในประเทศ 2.1 ดนตรีไทยเดิม ดนตรีที่บรรเลงด้วยเครื่องดนตรีประจำชาติ เช่น ระนาดเอก ซออู้ ซอด้วง ปี่ และอื่น ๆ ตามแต่จะจัดรูปแบบของวงตามโอกาสต่าง ๆ ดนตรีไทยเดิมอาจไม่เป็นที่นิยมฟังกันเท่าที่ควร เช่น วงปีพาทย์ วงเครื่องสาย วงมโหรี
2.2 ดนตรีพื้นบ้านต่าง ๆ หมายถึงดนตรีประจำท้องถิ่น เป็นเพลงที่ร้องเล่นกันโดยชาวบ้านทั่ว ๆ ไปที่ไม่ได้อยู่ในสังคมเมือง ซึ่งจะแสดงบุคลิกลักษณะเฉพาะให้เห็นถึงความเป็นภูมิภาค หรือหมู่บ้าน ชุมชนของตนตามเพลงต่าง ๆ เช่น เพลงโคราช
2.3 ดนตรีลูกทุ่ง สะท้อนชีวิตชาวชนบท มีความแตกต่างจากวิถีชีวิตของชาวกรุง กล่าวถึงลักษณะทางธรรมชาติในชนบทกับการเปรียบเปรยเรื่องราวต่าง ๆ ผ่านสภาพแวดล้อมรอบตัว การร้องมักมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวด้วยการเชื่อมคำหรือลากเสียงต่อเนื่องไม่ให้ขาด เหมือนกับเพลงไทยเดิมที่มักมีการเอื้อน นอกจากนี้ยังมีการเน้นลูกคอมากเป็นพิเศษ
2.4 เพลงลูกกรุง (เพลงไทยสากล) เพลงที่สะท้อนลักษณะของคนกรุง ในยุคแรก ๆ เรียกว่า วงสุนทราภรณ์ โดยการนำของครูเอื้อ สุนทรสนาน เมื่อปี พ.ศ.2586 ซึ่งได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก จนปัจจุบันก็ยังถูกนำมาขับร้องจากรุ่นสู่รุ่น
2.5 เพลงไทยสมัยนิยม เรียกเพลงประเภทนี้ว่า ป๊อปปูล่า ได้รับความนิยมอยู่ในปัจจุบัน โดยเฉพาะกลุ่มวัยรุ่น มีขั้นตอนการผลิตไม่ซับซ้อน โดยเฉพาะจากโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ไม่ต้องใช้นักดนตรีบรรเลงจริง ๆ ก็ได้ มักได้รับความนิยมในช่วงเวลาระยะหนึ่ง มักกล่าวถึงเนื้อหาความรักของหนุ่มสาว
2.6 เพลงเพื่อชีวิต มีเนื้อหาสาระสะท้อนปัญหาในสังคม ทั้งทางตรงและทางอ้อม อาจจะบอกตรง ๆ หรือใช้การกระทบกระเทียบเปรียบเปรย หรือใช้เนื้อร้องเสียดสี บางครั้งไม่ได้โจมตีแต่ต้องการเรียกร้องถึงความอิสระเสรี
อารยะธรรมคาราโอเกะ Karaoke เกิดขึ้นจากช่างคิดชาวญี่ปุ่น ชื่อ ไดสุเกะ อิโนอุเอะ ซึ่งคาราโอเกะเป็นการประสมกันจากคำย่อสองคำว่า “คารา” ที่มาจาก คารับโปะ แปลว่าความว่างเปล่า และ “โอเกะ” ย่อมาจาก โอเกะซุตุระ เป็นคำญี่ปุ่นเลียนเสียงมาจากออร์เคสตร้า คาราโอเกะจึงสื่อความหมายว่า ดนตรีที่ว่างเปล่าโดยปราศจากนักร้อง
ดนตรีที่มากับภาพยนตร์ 1. โหมโรง เป็นเรื่องราวของครูเพลง หลวงประดิษฐ์ไพเราะ (ศร.ศิลปะ บรรเลง) ที่มีฝีมือในการตีระนาดเอก มีการประชันระนาดเอกที่ชิงกันอย่างดุเดือด และเห็นถึงการเปลี่ยนแปลงการปกครองที่มีผลกระทบกับวงการดนตรีไทยอย่างชัดเจน
2. Amadeus (อมาเดอุส) เรื่องของคีตกวีเอกของโลกในยุคคลาสสิกนามว่า โวฟกัง อมาเดอุส โมสาร์ท บอกเล่าความอัจฉริยะในทางดนตรี แรงบันดาลใจในการประพันธ์เพลง และความล้มเหลวในชีวิตด้วยวัยเพียง 35 ปี
3. School of Rock เรื่องของครูซ่าขาร็อค ที่พยายามให้ลูกศิษย์เปลี่ยนใจจากดนตรีคลาสสิกมาเป็นร็อคด้วยวิธีแปลก ๆ
4. Mr.Holland’s Opus (มิสเตอร์ฮอลแลนด์ โอปุส) ชีวิตของครูดนตรีที่ทุ่มเทให้ลูกศิษย์ แต่ครอบครัวตัวเองกลับมีปัญหา เนื่องจากลูกชายที่เกิดมาหูหนวก ไม่รับรู้ถึงเสียงดนตรีของพ่อได้ เรื่องนี้ส่งเสริมความสัมพันธ์ ระหว่างครูกับศิษย์ และระหว่างพ่อกับลูก
5. The Legend of 1900 (ตำนาน นาย 1900 หัวใจรักจากท้องทะเล) นักเปียโนหนุ่มไฟแรงที่เกิดบนเรือสำราญลำหนึ่ง ตลอดชีวิตเกิดและตายบนเรือ ไม่เคบสัมผัสพื้นดิน แต่เขาสามารถปราบราชาเพลงแจ๊สในยุคนั้นได้อยู่หมัด ด้วยการบรรเลงเปียโนตามแบบฉบับของตัวเอง