งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา http://wwww.ssru.ac.th
บทที่ 8 การสั่งการ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

2 คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา http://wwww.ssru.ac.th
บทที่ 8 การสั่งการ ความหมายของการสั่งการ องค์ประกอบของการสั่งการ ลักษณะการสั่งการที่มีประสิทธิภาพ ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการสั่งการ ความเป็นผู้นำหรือภาวะผู้นำ การติดต่อสื่อสาร การประสานงาน คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

3 ความหมายของการสั่งการ
การสั่งการ ในปัจจุบันมักนิยมใช้คำว่า การชี้นำ หรือการนำ มีนักวิชาการหลายท่านให้ความหมายไว้ ดังนี้ คูนซ์ และ เวียห์ริช (Koontz & Weirich) กล่าวว่า การสั่งการ หมายถึง กิจกรรมที่ทำเพื่อรวบรวมกำลังความพยายามของสมาชิกของกลุ่ม เพื่อให้ทุกฝ่ายมุ่งปฏิบัติงานที่ได้รับมอบหมายให้บรรลุผลสำเร็จอย่างดี สมคิด บางโม มีความเห็นว่า การชี้นำ หมายถึง กิจกรรมทุกอย่างที่มุ่งผลักดันให้พนักงานทำตามที่ได้รับมอบหมายอย่างมีประสิทธิภาพ บทที่ 8 การสั่งการ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

4 ความหมายของการสั่งการ
เสนาะ ติเยาว์ การนำ คือ การสร้างให้คนเกิดความผูกพันและกระตือรือร้นที่จะทุ่มเทตัวเองให้กับงานหรือกิจกรรมที่ทำอย่างเต็มที่จนงานบรรลุเป้าหมาย สุวัฒน์ ศิรินิรันดร์ และ ภาวนา สายชู อธิบายว่า การสั่งการ หมายถึง วิธีการประสานงานโดยการสื่อสารและจูงใจผู้ร่วมงานให้กระตือรือร้นในการทำงาน ปฏิบัติงานร่วมกันด้วยความพึงพอใจอย่างมีประสิทธิภาพ บทที่ 8 การสั่งการ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

5 ความหมายของการสั่งการ
จึงอาจกล่าวได้ว่า การสั่งการ เป็นภารกิจของผู้บริหารในฐานะผู้นำองค์การ การสั่งการเป็นเครื่องมือสำหรับผู้บริหารในความสำเร็จของภารกิจต่างๆ บาร์นาร์ด (Barnard) ได้เขียนหนังสือชื่อ หน้าที่ของผู้บริหาร ว่าผู้ใต้บังคับบัญชาจะยอมรับและปฏิบัติตามคำสั่งเมื่อมีการยอมรับสภาพดังต่อไปนี้ 1. พนักงานเข้าใจในคำสั่ง มีการสื่อสารที่ดีเข้าใจชัดเจน 2. พนักงานเชื่อว่าคำสั่งนั้นตอบสนองวัตถุประสงค์ขององค์การ 3. พนักงานได้รับผลประโยชน์จากการทำงานตามที่ได้มอบหมาย ไม่เสียผลประโยชน์ส่วนตัว บทที่ 8 การสั่งการ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

6 คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา http://wwww.ssru.ac.th
ความหมายของการสั่งการ บาร์นาร์ด (Barnard) ได้เขียนหนังสือชื่อ หน้าที่ของผู้บริหาร ว่าผู้ใต้บังคับบัญชาจะยอมรับและปฏิบัติตามคำสั่งเมื่อมีการยอมรับสภาพดังต่อไปนี้ 1. พนักงานเข้าใจในคำสั่ง มีการสื่อสารที่ดีเข้าใจชัดเจน 2. พนักงานเชื่อว่าคำสั่งนั้นตอบสนองวัตถุประสงค์ขององค์การ 3. พนักงานได้รับผลประโยชน์จากการทำงานตามที่ได้มอบหมาย ไม่เสียผลประโยชน์ส่วนตัว 4. พนักงานมีความสามารถที่จะทำงานได้สำเร็จและมีสภาพพร้อมที่จะทำงานได้ บทที่ 8 การสั่งการ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

7 คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา http://wwww.ssru.ac.th
องค์ประกอบทางการสั่งการ แบ่งออกเป็น 3 ส่วน ได้แก่ 1. ผู้ออกคำสั่ง 2. ผู้รับคำสั่ง 3. การติดต่อสื่อสาร บทที่ 8 การสั่งการ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

8 คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา http://wwww.ssru.ac.th
องค์ประกอบทางการสั่งการ เนตร์พัณณา ยาวิราช กล่าวว่า การสั่งการมีลักษณะเป็นกระบวนการ 2 ทาง การสั่งการจึงมีสิ่งที่ควรพิจารณาเพื่อให้ได้ผลการปฏิบัติงานตามที่ต้องการ คือ 1. ลักษณะงาน ผู้สั่งการควรมีความรู้และเข้าใจในงานที่สั่งเป็นอย่างดี 2. คุณสมบัติของผู้รับคำสั่ง หมายถึง ผู้รับคำสั่งมีความสามารถในการนำเอาคำสั่งไปปฏิบัติให้บังเกิดผลสำเร็จ 3. ผู้ออกคำสั่ง คือ ผู้ที่มีความสามารถในการชักจูง โน้มน้าวจิตใจ ให้คำแนะนำและปรึกษา บทที่ 8 การสั่งการ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

9 คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา http://wwww.ssru.ac.th
ลักษณะการสั่งการที่มีประสิทธิภาพ เป็นศิลปะในการนำคำสั่งมาถ่ายทอดแก่ผู้ปฏิบัติงาน การสั่งงานที่ดีควรมีลักษณะดังนี้ 1. การสั่งการควรเป็นกระบวนการสองทาง คือ มีการโต้ตอบสื่อสารซึ่งกันและกัน 2. การสั่งการควรเป็นการสั่งการด้วยความชัดเจน ต้องกำหนดรายละเอียดของการปฏิบัติงานให้ดี 3. การสั่งการควรอาศัยการชักนำโน้มน้าวจิตใจ ผู้บริหารควรอาศัยทักษะการสื่อสารในการจูงใจผู้ปฏิบัติงานให้พึงพอใจยินดีปฏิบัติงานที่ได้รับ บทที่ 8 การสั่งการ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

10 ลักษณะการสั่งการที่มีประสิทธิภาพ
4. มีการจูงใจ การเสริมแรงตามสมควร 5. การสั่งการควรชัดเจน การออกคำสั่งควรมีลักษณะดังนี้ 5.1 สั่งงานได้เหมาะสมกับบุคคลที่มีความรู้ความสามารถ มีความรับผิดชอบต่องาน 5.2 การออกคำสั่งไม่ควรชัดแย้งกับคำสั่งเดิม ควรสนับสนุนต่อเป้าหมายของงาน 5.3 ควรมีรายละเอียดสมบูรณ์เข้าใจง่าน กะทัดรัด ง่ายต่อการเข้าใจ 5.4 ผู้ออกคำสั่งควรมีความรับผิดชอบต่อผลสำเร็จหรือความผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้น บทที่ 8 การสั่งการ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

11 คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา http://wwww.ssru.ac.th
ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการสั่งการ 1. การจูงใจหรือหารโน้มน้าวจิตใจ 2. ความเป็นผู้นำหรือภาวะผู้นำ 3. การติดต่อสื่อสาร 4. การประสานงาน บทที่ 8 การสั่งการ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

12 คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา http://wwww.ssru.ac.th
ความเป็นผู้นำหรือภาวะผู้นำ ภาระหน้าที่ในกระบวนการทางการบริหารหลังจากการวางแผน การจัดองค์การ การสรรหาบรรจุคนเข้าทำงานแล้ว คือ การสั่งการ ซึ่งเป็นการผลักดันให้องค์การเกิดการทำงาน โดยต้องอาศัยทักษะที่แสดงให้เห็นถึงความมีภาวะผู้นำอย่างชาญฉลาด ความเป็นผู้นำของผู้บริหารจึงเป็นสิ่งสำคัญยิ่งต่อความสำเร็จขององค์การ การเรียนรู้เกี่ยวกับภาวะผู้นำหรือความเป็นผู้นำจึงเป็นเรื่องสำคัญ และน่าสนใจ ซึ่งจะได้กล่าวถึงในหัวข้อต่างๆ ดังนี้ บทที่ 8 การสั่งการ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

13 คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา http://wwww.ssru.ac.th
ความเป็นผู้นำหรือภาวะผู้นำ 1. ความหมายของคำว่าผู้นำและความเป็นผู้นำ ผู้นำ หมายถึง บุคคลที่สามารถทำให้องค์การประสบผลสำเร็จได้โดยใช้อิทธิพล อำนาจจูงใจผู้อื่นให้ทำงานหนักหรือทุ่มเทใจให้กับงาน เสนาะ ติเยาว์ ได้กล่าวว่า ผู้นำที่มีประสิทธิภาพในองค์การควรเป็นผู้ที่มีวิสัยทัศน์ หมายถึง ความสามารถในการมองเห็นและเข้าใจอนาคตได้ชัดเจนว่าจะเกิดอะไรขึ้น แล้วดำเนินการเพื่อนรับกับสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคตได้อย่างถูกต้อง ส่วนคำว่า ความเป็นผู้นำหรือภาวะผู้นำ หมายถึง กระบวนการที่บุคคลเข้าไปมีอิทธิพลต่อกลุ่มเพื่อให้กลุ่มมุ่งไปสู่ผลสำเร็จตามเป้าหมาย (Robbins & Coulter) หรืออีกนัยหนึ่ง คือ กระบวนการที่บุคคลสามารถเข้าไปมีอิทธิพลในการกระตุ้นจูงใจให้กลุ่มหรือบุคคลอื่น มีพฤติกรรมการทำงานเพื่อให้บรรลุเป้าหมายของกลุ่มและองค์การ บทที่ 8 การสั่งการ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

14 คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา http://wwww.ssru.ac.th
ความเป็นผู้นำหรือภาวะผู้นำ ความเป็นผู้นำหรือภาวะผู้นำจึงประกอบด้วยปัจจัย 4 ประการ ได้แก่ 1.1 กระบวนการ คือ การใช้อำนาจโดยไม่มีการบังคับหรืออำนาจทางอ้อม 1.2 คุณสมบัติ จะเป็นลักษณะหลายๆอย่างที่มีอยู่ในตัวผู้นำ 1.3 กิจกรรมที่เกี่ยวกับคน คือ อำนาจที่มองไม่เห็นหรืออำนาจที่ไม่ได้สั่ง ไม่ได้มีการบังคับให้ผู้ตามยอมที่จะปฏิบัติด้วยความเต็มใจ 1.4 เป้าหมาย ช่วยให้สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและจูงใจคนอย่างมีวัตถุประสงค์ที่แน่นอน บทที่ 8 การสั่งการ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

15 คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา http://wwww.ssru.ac.th
ความเป็นผู้นำหรือภาวะผู้นำ 2. ความแตกต่างระหว่างผู้นำและผู้บริหาร เบนนิส (Bennis) ได้สรุปความแตกต่างระหว่างลักษณะของผู้บริหารและผู้นำในคริสต์ศตวรรษไว้ดังตัวอย่าง ดังนี้ บทที่ 8 การสั่งการ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

16 ความแตกต่างระหว่างลักษณะของผู้นำกับผู้บริหาร
ลักษณะของผู้บริหาร เป็นผู้ริเริ่มสร้างสรรค์ มีการเปลี่ยนแปลง ผู้เป็นต้นแบบ เป็นนักพัฒนา มุ่งเน้นที่คน ให้ความเสมอภาคทัดเทียมกันโดยไม่มีลำดับชั้นของอำนาจ กระตุ้นให้เกิดความไว้วางใจ เชื่อถือ มองผลระยะยาว หรือมองการณ์ไกล ชอบใช้คำถามว่าอะไรและทำไม มีทัศนวิสัยที่กว้างไกล เน้นการสื่อสารในรับแนวนอน เป็นผู้ริเริ่มหรือเริ่มต้นก่อน ให้เปลี่ยนแปลงสภาพเดิม เป็นตัวของตัวเอง ทำถูกต้องในสิ่งที่ควรทำ เป็นผู้บริหาร เป็นผู้ลอกเลียนแบบของผู้อื่น เป็นนักธำรงรักษา มุ่งเน้นที่ระบบและโครงสร้างตามลำดับชั้นของอำนาจ เชื่อมั่นในระบบการควบคุม มีมุมมองแคบ ชอบใช้คำถามว่าอย่างไรและเมื่อไร มีทัศนวิสัยแคบ เน้นสายการบังคับบัญชา ชอบทำตามผู้อื่น ยอมรับในสภาพเดิมไม่ชอบการเปลี่ยนแปลง เป็นผู้รับคำสั่งที่ดี ทำสิ่งต่างๆ ให้ถูกต้อง บทที่ 8 การสั่งการ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

17 คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา http://wwww.ssru.ac.th
ทฤษฎีเกี่ยวกับภาวะผู้นำ สามารถแบ่งแนวการศึกษาออกได้เป็น 3 แนวทาง ดังนี้ 4.1 ทฤษฎีภาวะผู้นำตามคุณลักษณะเฉพาะ มุ่งเน้นที่ตัวผู้นำ แนวคิดพื้นฐานของทฤษฎีนี้เห็นว่า ความเป็นผู้นำเกิดจากพรสวรรค์ที่ติดตัวมาตั้งแต่เกิด ไม่ใช่สร้างให้เกิดขึ้นได้ในทุกๆคน เรียนรู้และพัฒนากันไม่ได้ สามารถสรุปความแตกต่างได้ 6 ประการ ดังนี้ (Robbins & Coulter) บทที่ 8 การสั่งการ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

18 คุณลักษณะของผู้นำที่มีประสิทธิภาพ
ทักษะ 1.รู้จักปรับตัวเข้ากับสถานการณ์ต่าง ๆ 2.มีความตื่นตัวต่อสภาวะแวดล้อมทางสังคม 3.มีความทะเยอทะยานสูง มุ่งมั่นสู่ความสำเร็จ 4.มีความเชื่อถือ และสรรค์สร้างประโยชน์ 5.มีลักษณะประนีประนอม 6.มีความเด็ดขาด 7.ลูกน้องสามารถพึ่งพาได้ มีอำนาจในการจูงใจ 8.เป็นผู้ทรงอำนาจ 9.มีความสามารถในการทำงานที่ต้องใช้ความคิดมาก 10.มีความมั่นใจในตนเองสูง 11.เผชิญหน้ากับเหตุการณ์ซึ่งมีความยุ่งยาก 12.มีความเต็มใจในการที่จะรับผิดชอบ 1.มีความเฉลียวฉลาด 2.มีทักษะด้านความคิด 3.มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ 4. มีทักษะในเชิงการทูด รู้จักผูกมิตรไมตรี 5. มีวาทะศิลป์ มีทักษะการพูด 6.มีความรู้เกี่ยวกับงาน 7.มีทักษะในการจัดการอย่างเป็นระบบ 8.มีทักษะทางสังคมสูง บทที่ 8 การสั่งการ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

19 คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา http://wwww.ssru.ac.th
ทฤษฎีเกี่ยวกับภาวะผู้นำ 4.2 ทฤษฎีภาวะผู้นำตามแนวพฤติกรรมศาสตร์ มุ่งเน้นศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมของผู้นำและผู้ตามเป็นหลัก ดังรายละเอียดการศึกษาต่อไปนี้ 4.2.1 การศึกษาที่มหาวิทยาลัยไอโอวา โดย โรนัลด์ ลิพพิทท์ (Ronald Lippitt) และ ราล์ฟ ไวท์ (Ralph White) ภายใต้การอำนวยการของ เคิร์ต เลวิน (Kurt Lewin) ได้สรุปรูปแบบพฤติกรรมของผู้นำได้ 3 แบบ คือ (Robbins & Coulter) ผู้นำแบบเผด็จการ คือ ผู้นำซึ่งเห็นว่าการบังคับบัญชาและการออกคำสั่งเป็นเรื่องที่สำคัญ ตัดสินใจโดยผู้นำเพียงผู้เดียว บทที่ 8 การสั่งการ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

20 คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา http://wwww.ssru.ac.th
ทฤษฎีเกี่ยวกับภาวะผู้นำ ผู้นำที่เป็นผู้ริเริ่ม จะมีพฤติกรรมชอบกำหนดบทบาทตนเองและผู้ใต้บังคับบัญชา กำหนดวิธีการทำงานและวันเวลา เป็นผู้นำที่มุ่งผลสำเร็จของงานตามเป้าหมายเป็นสำคัญ ผู้นำที่มุ่งคน จะให้ความไว้วางใจผู้ใต้บังคับบัญชา รักษาผลประโยชน์ของผู้ใต้บังคับบัญชา พฤติกรรมของผู้นำทั้ง 2 แบบนี้ แยกออกจากกันเป็น 2 มิติ จากการวิจัยพบว่า รูปแบบที่ดีที่สุดของพฤติกรรมผู้นำ คือ เป็นผู้ริเริ่ม และคำนึงถึงผู้อื่นในระดับสูง บทที่ 8 การสั่งการ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

21 การศึกษาแบบของความเป็นผู้นำของมหาวิทยาลัยโอไฮโอ
ผู้นำที่คำนึงถึงผู้อื่นสูงและคำนึงถึงงานต่ำ ผู้นำที่คำนึงถึงผู้อื่นสูงและคำนึงถึงงานสูง ผู้นำที่คำนึงถึงผู้อื่นต่ำและคำนึงถึงงานต่ำ ผู้นำที่คำนึงถึงผู้อื่นต่ำและคำนึงถึงงานสูง สูง ต่ำ ผู้นำที่คำนึงถึงผู้อื่นเป็นหลัก คือ มุ่งคน ผู้นำที่คำนึงถึงตนเองเป็นหลัก คือ มุ่งงาน บทที่ 8 การสั่งการ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

22 คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา http://wwww.ssru.ac.th
ทฤษฎีเกี่ยวกับภาวะผู้นำ 4.2.3 การศึกษาของมหาวิทยาลัยมิชิแกน ภายใต้การนำของ เรนซิส ไลเคิร์ต (Rensis Likert) สรุปพฤติกรรมได้ 2 แบบเช่นเดียวกับการศึกษาที่โอไฮโอ แต่เรียกชื่อต่างกัน คือ การมุ่งงาน การมุ่งคน จากผลการวิจัยสรุปได้ว่า ผู้บังคับบัญชาที่ทำงานประสบผลสำเร็จมากที่สุดคือ ผู้นำที่ทำงานโดยมุ่งคน สร้างกลุ่มทำงานที่ได้ผลสูง และหัวหน้าสนับสนุนผู้ปฏิบัติงานอย่างเต็มที่ ส่วนผู้บังคับบัญชาที่มุ่งงานประสบผลสำเร็จน้อย เพราะไม่สนใจเป้าหมายในการทำตามความต้องการของคน มุ่งเน้นแต่เรื่องงานเท่านั้น จึงได้รับการต่อต้านจากผู้ใต้บังคับบัญชาสูง บทที่ 8 การสั่งการ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

23 คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา http://wwww.ssru.ac.th
ทฤษฎีเกี่ยวกับภาวะผู้นำ 4.2.4 ตาข่ายการบริหาร โรเบิร์ต เบลค และ แจน มูตัน (Robert Blake & Jan Mouton) แห่งมหาวิทยาลัยเทกซัส ได้เสนอตารางความเป็นผู้นำ มีเนื้อหาโดยสรุป คือ พฤติกรรมของผู้นำแบ่งออกได้ 2 แบบ คือ สนใจคนหรือมุ่งคน และสนใจการผลิตหรือมุ่งงาน เป็นมิติ 2 มิติที่แยกจากกันเป็นอิสระ คือ แกนตั้งและแกนนอน ซึ่งแต่ละมิติแบ่งออกเป็น 9 ระดับ ส่งผลให้ได้ผู้นำรวมทั้งสิ้น 81 แบบ บทที่ 8 การสั่งการ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

24 คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา http://wwww.ssru.ac.th
ทฤษฎีเกี่ยวกับภาวะผู้นำ อธิบายพฤติกรรมผู้นำหลักๆได้ 5 แบบ คือ การบริหารแบบ 1,1 ผู้นำแบบเฉื่อยชา หมายถึง ผู้นำที่ใช้ความพยายามในการทำงานน้อยมาก และไม่สนใจความสัมพันธ์กับพนักงาน การบริหารแบบ 1,9 หมายถึง ผู้นำที่ให้ความสำคัญกับคนมากและให้ความสำคัญกับงานน้อย เรียกว่า ผู้นำแบบสโมสร การบริหารแบบ 9,1 หมายถึง ผู้นำที่ให้ความสำคัญกับงานมากและให้ความสำคัญกับคนน้อย เรียกว่า ผู้นำแบบใช้อำนาจหน้าที่ในการทำงาน บทที่ 8 การสั่งการ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

25 คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา http://wwww.ssru.ac.th
ทฤษฎีเกี่ยวกับภาวะผู้นำ การบริหารแบบ 5,5 หมายถึง ผู้นำทางสายกลาง หรือผู้นำที่ให้ความสำคัญกับคนและงานเท่าๆกัน เป็นผู้นำที่ให้การตอบสนองต่อการทำงานสำเร็จ และเป็นที่พึงพอใจของพนักงานด้วย การบริหารแบบ 9,9 หมายถึง ผู้นำที่ให้ความสำคัญกับคนสูงมาก และให้ความสำคัญกับงานสูงมากเช่นกัน เป็นผู้นำที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด บทที่ 8 การสั่งการ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

26 คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา http://wwww.ssru.ac.th
ทฤษฎีเกี่ยวกับภาวะผู้นำ 4.3 ทฤษฎีภาวะผู้นำตามสถานการณ์ เป็นทฤษฎีที่เกิดในยุคปัจจุบัน โดยนำทฤษฎีต่างยุคต่างสมัยมาร่วมกันในสถานการณ์ที่แตกต่างกัน เพื่อให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุด มี 4 ทฤษฎี ได้แก่ 4.3.1 ตัวแบบของฟีดเลอร์ คือ ความยืดหยุ่นของผู้นำ หมายถึง ผู้นำที่ประสบความสำเร็จจะต้องเปลี่ยนรูปแบบความเป็นผู้นำ เมื่อเผชิญสถานการณ์ที่แตกต่างกัน โดยผู้นำประยุกต์ให้เหมาะสมกับสถานการณ์ บทที่ 8 การสั่งการ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

27 คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา http://wwww.ssru.ac.th
ทฤษฎีเกี่ยวกับภาวะผู้นำ สถานการณ์ในความหมายของฟีดเลอร์ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบ คือ 1 ความสัมพันธ์ระหว่างผู้นำกับผู้ปฏิบัติงาน หมายถึง ความรู้สึกของพนักงานในการยอมรับในตัวผู้นำ 2. โครงสร้างของงาน จะมีความแน่นอนสูง หากมีการแบ่งงานอย่างชัดเจน 3. การใช้อำนาจหน้าที่จากตำแหน่งของผู้นำ หมายถึง ผู้นำเป็นผู้ให้คุณให้โทษแก่พนักงานได้ บทที่ 8 การสั่งการ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

28 คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา http://wwww.ssru.ac.th
ทฤษฎีเกี่ยวกับภาวะผู้นำ เมื่อนำองค์ประกอบสถานการณ์ทั้ง 3 องค์ประกอบมารวมกันจะได้เป็นสถานการณ์ 8 สถานการณ์ กล่าวคือ ผู้นำแบบมุ่งงานเหมาะกับสถานการณ์ที่ดี คือ สถานการณ์ที่ 1,2และ3 และ สถานการณ์ที่ไม่ดี คือ สถานการณ์ที่ 7 และ 8 ส่วนผู้นำแบบมุ่งความสัมพันธ์ เหมาะกับสถานการณ์ปานกลาง คือ สถานการณ์ที่ 5 และ 6 บทที่ 8 การสั่งการ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

29 คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา http://wwww.ssru.ac.th
ทฤษฎีเกี่ยวกับภาวะผู้นำ 4.3.2 ทฤษฎีผู้นำตามสถานการณ์ของเฮอร์เซย์ และ บลังชาร์ด (Hessey & Blamchard) โดยเน้นหลักการว่า ผู้บริหารจะใช้รูปแบบการบริหารงานอย่างไรขึ้นอยู่กับสถานการณ์ซึ่งหมายถึงระดับความพร้อมของผู้ใต้บังคับบัญชาที่เป็นผู้ปฏิบัติงาน ส่วนคำว่า ความพร้อม หมายถึง ความสามารถ คือ ทักษะความรู้และประสบการณ์ในการทำงาน และความเต็มใจ คือ ความเชื่อมัน ความผูกพันกันในงานของพนักงานว่าจะทำงานนั้นให้สำเร็จ บทที่ 8 การสั่งการ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

30 คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา http://wwww.ssru.ac.th
ทฤษฎีเกี่ยวกับภาวะผู้นำ เฮอร์เซย์ และ บลังชาร์ด แบ่งผู้นำออกเป็น 2 แบบเช่นเดียวกับ ฟีดเลอร์ คือ มุ่งงานและมุ่งความสัมพันธ์ เพิ่มแบบผู้นำเป็นแบบมุ่งงานสูงและมุ่งงานต่ำ มุ่งความสัมพันธ์สูง และมุ่งความสัมพันธ์ต่ำ ทำให้ได้ผู้นำ 4 รูปแบบ บทที่ 8 การสั่งการ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

31 คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา http://wwww.ssru.ac.th
ทฤษฎีเกี่ยวกับภาวะผู้นำ รูปแบบของผู้นำ 4 ประเภท คือ ผู้นำแบบบอกกล่าว หรือ S1 หมายถึง ผู้นำที่มุ่งงานแต่ไม่เน้นความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ผู้นำแบบขายความคิด หรือ S2 หมายถึง ผู้นำที่มุ่งเน้นงานและมุ่งเน้นความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ผู้นำแบบมีส่วนร่วม หรือ S3 หมายถึง ผู้นำแบบที่ไม่เน้นงาน แต่เน้นความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลเป็นหลัก ผู้นำแบบมอบหมายงาน หรือ S4 หมายถึง ผู้นำที่มุ่งเน้นงานและความสัมพันธ์ต่ำ บทที่ 8 การสั่งการ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

32 คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา http://wwww.ssru.ac.th
ทฤษฎีเกี่ยวกับภาวะผู้นำ การใช้ทฤษฎีนี้ ผู้นำจะต้องทราบความสัมพันธ์ระหว่างงานกับความพร้อมของผู้ปฏิบัติงาน ผลที่ได้จากการทดสอบการใช้ทฤษฎีนี้ ปรากฏว่าใช้ได้ผลดีที่สุด สำหรับงานที่เข้าใหม่และงานใหม่ 4.3.3 ทฤษฎีวิถีทางสู่เป้าหมาย พัฒนาขึ้นโดย โรเบิร์ต เฮาส์ (Robert House) มักเรียกกันว่า House’s Path – Goal Theory ทฤษฎีนี้ได้แนวคิดมาจากทฤษฎีความคาดหวัง ซึ่งเป็นทฤษฎีการจูงใจของวรูม (Vroom) สาระสำคัญของทฤษฎีวิถีทางสู่เป้าหมายของสภาวะผู้นำ คือ การเน้นว่าผู้นำมีหน้าที่จะต้องช่วยให้ผู้ปฏิบัติงานบรรลุเป้าหมายส่วนบุคคลของผู้ปฏิบัติงาน บทที่ 8 การสั่งการ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

33 คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา http://wwww.ssru.ac.th
ทฤษฎีเกี่ยวกับภาวะผู้นำ ชื่อ ทฤษฎีวิถีทางสู่เป้าหมายนั้นมาจากความเชื่อว่าผู้นำที่ประสบความสำเร็จจะต้องอธิบายและชี้แจงให้ผู้ปฏิบัติงานเห็นอย่างชัดเจนว่า เขามีวิถีทางควบคุมและแก้ไขอุปสรรคต่างๆเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย ในทฤษฎีวิถีทางสู่เป้าหมาย มุ่งให้ผู้ปฏิบัติงานมีความคิดว่าเมื่อได้ปฏิบัติตามวิถีทางที่ถูกต้องแล้ว ก็จะประสบความสำเร็จ โดยได้รับผลตอบแทนจากการทำงาน ทฤษฎีวิถีทางสู่เป้าหมายเชื่อว่าพฤติกรรมของผู้นำจะได้รับการยอมรับจากผู้ปฏิบัติงานมากน้อยเพียงใด ขึ้นอยู่กับว่าผู้นำคนนั้นสามารถนำทางให้พนักงานไปสู่ความสำเร็จได้มากน้อยเพียงใด บทที่ 8 การสั่งการ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

34 คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา http://wwww.ssru.ac.th
แนวคิดของทฤษฎีวิถีทางสู่เป้าหมาย 1. พฤติกรรมการบริหารของผู้นำ เฮาส์ ได้แบ่งพฤติกรรมการบริหารงานของผู้นำเป็น 4 แบบ คือ ผู้นำที่ใช้อำนาจ คือ ผู้นำที่จะบอกผู้ปฏิบัติงานว่าผู้นำคาดหวังอะไรจากผู้ปฏิบัติงาน ผู้นำที่ให้การสนับสนุนผู้ปฏิบัติงาน คือ ผู้นำที่มีพฤติกรรมเป็นมิตรต่อผู้ใต้บังคับบัญชา ผู้นำที่ให้ผู้ใต้บังคับบัญชามีส่วนร่วม คือ ผู้นำที่ให้โอกาสพนักงานแสดงความคิดเห็นและข้อเสนอแนะต่างๆ บทที่ 8 การสั่งการ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

35 คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา http://wwww.ssru.ac.th
แนวคิดของทฤษฎีวิถีทางสู่เป้าหมาย ผู้นำที่มุ่งความสำเร็จของงาน คือ ผู้นำที่เน้นการพัฒนาประสิทธิภาพการทำงานให้ดีขึ้นอย่างต่อเนื่องตลอดเวลา สถานการณ์ที่มีผลต่อพฤติกรรมการบริหารงานของผู้นำ เฮาส์ เชื่อว่า ผู้นำคนเดียวกันอาจมีรูปแบบพฤติกรรมแบบใดแบบหนึ่งใน 4 แบบที่กล่าวมา ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ ดังนั้น สถานการณ์ที่เป็นปัจจัยสำคัญที่นำเอาพฤติกรรมของผู้นำมาใช้สามารถแบ่งได้ 2 ส่วน คือ ปัจจัยสถานการณ์ด้านสิ่งแวดล้อม ผู้ปฏิบัติงานไม่สามารถควบคุมได้ ได้แก่ บทที่ 8 การสั่งการ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

36 คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา http://wwww.ssru.ac.th
แนวคิดของทฤษฎีวิถีทางสู่เป้าหมาย 1. โครงสร้างของงาน 2. ระบบอำนาจหน้าที่ที่เป็นทางการ 3. กลุ่มทำงาน ปัจจัยสถานการณ์ที่เป็นลักษณะเฉพาะตัวของผู้ปฏิบัติงานเอง เช่น 1. พนักงานผู้ปฏิบัติงานมีความเชื่อมันในตนเองสูง จะพอใจในผู้นำที่มีพฤติกรรมแบบให้ผู้ใต้บังคับบัญชามีส่วนร่วม 2. ผู้ปฏิบัติงานมีประสบการณ์ทำงานสูง จะพอใจผู้นำแบบมีส่วนร่วม แต่ถ้าผู้ปฏิบัติงานมีประสบการณ์หรือทักษะต่ำ จะชอบผู้นำแบบใช้อำนาจ 3. ผู้ปฏิบัติงานมีความสามารถในการรับรู้เรื่องราวต่างๆสูง จะพอใจผู้นำที่มีพฤติกรรมแบบให้มีส่วนร่วม บทที่ 8 การสั่งการ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

37 คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา http://wwww.ssru.ac.th
แนวคิดของทฤษฎีวิถีทางสู่เป้าหมาย การใช้ทฤษฎีวิถีทางสู่เป้าหมายจะเลือกพฤติกรรมของผู้นำที่เหมาะสมโดยการวิเคราะห์และตรวจสอบใน 3 เรื่อง คือ 1. พิจารณาว่าผู้ปฏิบัติงานมีความคาดหวังอะไร 2. ปัจจัยทางด้านสถานการณ์จะกระทบต่อความคาดหวังอย่างไร 3. ผู้นำควรใช้พฤติกรรมปรับเปลี่ยนสถานการณ์ได้อย่างไร บทที่ 8 การสั่งการ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

38 คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา http://wwww.ssru.ac.th
แนวคิดของทฤษฎีวิถีทางสู่เป้าหมาย 5. แนวโน้มความเป็นผู้นำในอนาคต ได้แก่ 5.1 ผู้นำที่มีบารมี คือ ผู้นำที่มีความกระตือรือร้น มีความเชื่อมันในตนเอง มีบุคลิกภาพ และการกระทำที่มีอิทธิพลให้ผู้ปฏิบัติตามที่ผู้นำต้องการ ผู้นำที่มีบารมีจะมีบทบาทสูงและช่วยแก้ไขปัญหาในสถานการณ์บางสถานการณ์ได้ดี 5.2 ผู้นำที่มีวิสัยทัศน์ คือ ผู้นำที่เน้นการมองการณ์ในอนาคต การวิเคราะห์สิ่งแวดล้อมภายนอกที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ลักษณะของผู้นำที่มีวิสัยทัศน์คือชอบทำงานที่ท้าทาย สร้างนวัตกรรมใหม่ๆ และมีแรงบันดาลใจในการทำงาน บทที่ 8 การสั่งการ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

39 คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา http://wwww.ssru.ac.th
แนวคิดของทฤษฎีวิถีทางสู่เป้าหมาย 5.3 ผู้นำแบบปฏิรูป หมายถึง ผู้นำที่สามารถแปลวิสัยทัศน์ให้เป็นจริงได้ รูปแบบความเป็นผู้นำชนิดนี้จะเหมาะสมกับองค์การที่มีสภาพแวดล้อมการแข่งขันที่สลับซับซ้อนและมีการการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็ว 5.4 ผู้นำที่เน้นหลักการติดต่อสื่อสารแลกเปลี่ยน หมายถึง ผู้นำที่ใช้การติดต่อสื่อสารโดยการชี้แนะให้ผู้ใต้บังคับบัญชาปฏิบัติไปในแนวทางที่มุ่งไปสู่การบรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้ 5.5 ผู้นำการเปลี่ยนแปลง หมายถึง ผู้นำที่มีความพยายามในการที่จะปรับปรุงสภาพขององค์การให้ดีขึ้น ทักษะที่สำคัญของผู้นำการเปลี่ยนแปลง คือ ความสามารถในการพิจารณาว่าควรเปลี่ยนแปลงอย่างไรให้ดีขึ้น บทที่ 8 การสั่งการ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

40 คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา http://wwww.ssru.ac.th
การติดต่อสื่อสาร องค์ประกอบที่สำคัญของการสั่งการเพื่อการจูงใจให้คนปฏิบัติงาน คือ การติดต่อสื่อสาร 1. ความหมายการติดต่อสื่อสาร หมายถึง กระบวนการสร้างความคิดร่วมกันหรือความคิดที่เป็นหนึ่งเดียวระหว่างผู้ส่งข่าวสารและผู้รับข่าวสาร หือ หมายถึง กระบวนการถ่ายทอดความหมายจากผู้ส่งสารไปยังรับผู้รับสารโดยผ่านสื่อหรือช่องทางการสื่อสาร บทที่ 8 การสั่งการ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

41 คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา http://wwww.ssru.ac.th
การติดต่อสื่อสาร 2. องค์ประกอบของการสื่อสาร ได้แก่ 2.1 ผู้ส่งสาร คือ บุคคลหรือองค์การซึ่งมีข้อมูลข่าวสารที่จะส่งผ่านไปยังบุคคลหรือกลุ่มบุคคล เพื่อให้เกิดการรับรู่ร่วมกัน 2.2 การเข้ารหัส เป็นกระบวนการที่ผู้ส่งสารเลือกใช้คำพูด สัญลักษณ์ รูปภาพ และรูปเหมือน เพื่อเป็นตัวแทนของความคิด ข่าวสาร โดยที่ผู้รับสารจะสามารถถอดรหัสหรือเข้าใจความหมายของสัญญาณนั้นๆได้ ขึ้นอยู่กับปัจจัยส่วนบุคคลทางด้านทักษะ ทัศนคติ ความรู้ และประสบการณ์ บทที่ 8 การสั่งการ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

42 คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา http://wwww.ssru.ac.th
การติดต่อสื่อสาร 2.3 ข่าวสาร หมายถึง ข้อมูลความรู้ที่ผู้ส่งสารได้จัดทำขึ้นโดนผ่านการเข้ารหัสแล้วเพื่อจัดส่งไปยังผู้รับสาร ข่าวสารอาจอยู่ในรูปวัจนภาษา หรือในรูปของ อวัจนภาษา ก็ได้ 2.4 ช่องทางการสื่อสาร คือ วิธีที่ผู้ส่งสารส่งข้อมูลผ่านไปยังผู้รับสาร 2.5 การถอดรหัส หมายถึง กระบวนการในการแปลข่าวสารที่อยู่ในรูปของสัญลักษณ์หรือสัญญาณ ซึ่งผู้รับได้จากผู้ส่งสารให้กลับมาอยู่ในรูปของความคิดหรือการรับรู้และเข้าใจในข่าวสารนั้น 2.6 ผู้รับสาร หมายถึง บุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่ผู้ส่งสารต้องการจะส่งข่าวสารไปถึง บทที่ 8 การสั่งการ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

43 คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา http://wwww.ssru.ac.th
การติดต่อสื่อสาร 2.7 สิ่งรบกวน หมายถึง สิ่งใดๆที่เข้ามาสอดแทรก หรือ รบกวนการสื่อสารในช่วงใดช่วงหนึ่ง ทำให้การถ่ายทอดแลกเปลี่ยนข่าวสารหยุดชะงัก สิ่งรบกวนที่เป็นอุปสรรคในการสื่อสาร เช่น อุปสรรคในช่องทางการสื่อสาร หรือ อุปสรรคทางด้านผู้ส่งสารและผู้รับสารที่เข้ารหัสและถอดรหัสไม่ตรงกัน 2.8 การตอบสนอง หมายถึง ปฏิกิริยาที่ผู้รับสารแสดงออกมาภายหลังจากการได้เห็น ได้ยิน ได้ฟัง หรือได้อ่านข่าวสารที่ได้รับ การตอบสนองอาจมีหลายลักษณะทั้งที่เป็นพฤติกรรมที่ปิดบัง ไม่สามารถสังเกตเห็นได้ หรือ พฤติกรรมที่เปิดเผย สังเกตเห็นได้ 2.9 ปฏิกิริยาตอบสนองสะท้อนกลับ หมายถึง ปฏิกิริยาตอบกลับของผู้รับสาร บทที่ 8 การสั่งการ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

44 คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา http://wwww.ssru.ac.th
การติดต่อสื่อสาร 3. ประเภทของการสื่อสารเพื่อการจัดการ หมายถึง การสื่อสารระหว่างบุคคลในองค์การ การสื่อสารภายในองค์การ และข่ายการสื่อสารในกลุ่มย่อย 3.1 การสื่อสารระหว่างบุคคล คือ การแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารระหว่างบุคคล 2 ฝ่าย องค์ประกอบของการสื่อสารระหว่างบุคคลจะประกอบด้วย ผู้ส่งสาร การเข้ารหัส ข่าวสาร ช่องทางการสื่อสาร การถอดรหัส ผู้รับสาร สิ่งรบกวน การตอบสนอง และ ปฏิกิริยาสะท้อนกลับ 3.2 การสื่อสารภายในองค์การ สามารถจำแนกประเภทได้ดังนี้ บทที่ 8 การสั่งการ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

45 คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา http://wwww.ssru.ac.th
การติดต่อสื่อสาร 3.2.1 จำแนกตามลักษณะการใช้ แบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ การสื่อสารแบบทางการ หมายถึง การติดต่อสื่อสารที่มีระเบียบแบบแผนหรือ การสื่อสารแบบไม่เป็นทางการ หมายถึง การติดต่อสื่อสารในลักษณะส่วนตัว จุดเด่นคือ มีความรวดเร็วในการติดต่อสื่อสาร แต่ข่าวสารอาจจะผิดพลาดจะความเป็นจริงได้ การสื่อสารในรูปแบบนี้มักจะอยู่ในรูปของคำพูด บทที่ 8 การสั่งการ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

46 คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา http://wwww.ssru.ac.th
การติดต่อสื่อสาร ในการบริหารงาน หากต้องการการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพอาจเริ่มต้นด้วยการสื่อสารแบบไม่เป็นทางการในระยะแรกก่อน แล้วจึงตามด้วยการสื่อสารแบบเป็นทางการ ซึ่งได้ทั้งความรวดเร็ว และความถูกต้องสมบูรณ์ 3.2.2 จำแนกตามทิศทางการสื่อสาร แบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ การสื่อสารทางเดียว เป็นการสื่อสารที่ผู้ส่งสารทำการส่งสารโดยปราศจากการป้อนกลับจากผู้รับสาร บทที่ 8 การสั่งการ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

47 คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา http://wwww.ssru.ac.th
การติดต่อสื่อสาร การสื่อสารสองทาง เป็น การสื่อสารที่ผู้ส่งสารและผู้รับข่าวสารสามารถที่จะโต้ตอบ หรือมีปฏิกิริยาตอบสนองซึ่งกันและกัน การสื่อสารสองทางมีความจำเป็นและสำคัญอย่างยิ่งในการบริหารงาน 3.2.3 จำแนกตามช่องทางเดินของข่าวสาร แบ่งเป็น 3 ประเภท คือ การสื่อสารจากบนลงล่าง เป็นการเดินทางของข่าวสารจากบุคคลในตำแหน่งที่สูงลงมาตามสายการบังคับบัญชา มักมีอุปสรรค เช่น การส่งข้อมูลมากเกินไป ทำให้เบื่อหน่ายไม่อยากอ่าน หรือการส่งข้อมูลกลั่นกรอง อาจทำให้ข้อมูลบางอย่างตกหล่น บทที่ 8 การสั่งการ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

48 คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา http://wwww.ssru.ac.th
การติดต่อสื่อสาร การสื่อสารจากล่างขึ้นบน เป็นลักษณะของการส่งข้อมูลข่าวสารจากผู้ที่อยู่ในตำแหน่งที่ต่ำกว่าไปยังบุคคลที่อยู่ในตำแหน่งที่สูงกว่า การบริหารสมัยใหม่จะให้ความสำคัญกับการรับฟังความคิดเห็นของผู้ใต้บังคับบัญชา การสื่อสารจากล่างขึ้นบนมีผลดี คือ ช่วยให้ฝ่ายบริหารได้ข้อมูลที่มีคุณค่าที่จะนำไปใช้ในการตัดสินใจ หรือแก้ปัญหาได้อย่างเหมาะสม และทราบถึงทัศนคติและแนวความคิดของพนักงาน อย่างไรก็ดี การสื่อสารจากบนลงล่างและล่างขึ้นบนนั้นจัดเป็นการสื่อสารในลักษณะแบบแนวดิ่ง บทที่ 8 การสั่งการ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

49 คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา http://wwww.ssru.ac.th
การติดต่อสื่อสาร การสื่อสารในแนวนอน/แนวราบ เป็นการสื่อสารระหว่างผู้ที่มีตำแหน่งเสมอกันหรือใกล้เคียงกัน มีความสะดวกรวดเร็ว และประหยัดเวลา การสื่อสารในแนวดิ่งมักเป็นการสื่อสารที่เป็นทางการ ส่วนการสื่อสารในแนวนอน มักเป็นการสื่อสารที่เกิดขึ้นอย่างไม่เป็นทางการเป็นส่วนใหญ่ การสื่อสารแบบแนวไขว้ เป็นการสื่อสารระหว่างบุคคลที่คนละหน่วยงาน ซึ่งเป็นการข้ามหน้าที่กัน โดนไม่ต้องผ่านขั้นตอนของสายการบังคับบัญชา องค์การจึงควรให้ความสำคัญต่อการสื่อสารแบบแนวไขว้ บทที่ 8 การสั่งการ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

50 คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา http://wwww.ssru.ac.th
การติดต่อสื่อสาร 3.3 การสื่อสารในลักษณะโครงข่ายหรือเครือข่าย เป็นการสื่อสารในองค์การทั้งแบบแนวดิ่งและแบบแนวนอน ที่ประกอบกันเข้าด้วยหลายแบบ เพื่อความมีประสิทธิภาพในการติดต่อสื่อสารสำหรับการสื่อสารในลักษณะเครือข่ายหรือโครงข่ายสามารถแบ่งออกได้เป็น 6 แบบ ดังนี้ โครงข่ายการสื่อสารแบบวงล้อ เป็นโครงข่ายการสื่อสารที่มีศูนย์กลางการติดต่อสื่อสารอยู่ที่จุดใดจุดหนึ่ง ผู้นำแบบเผด็จการนิยมใช้โครงข่ายการสื่อสารแบบนี้ในการติดต่อสื่อสาร บทที่ 8 การสั่งการ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

51 คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา http://wwww.ssru.ac.th
การติดต่อสื่อสาร 3.3.2 โครงข่ายการสื่อสารแบบลูกโซ่ เป็นโครงข่ายการสื่อสารที่แสดงถึงสายการบังคับบัญชาตามปกติที่ลดหลั่นลงไปตามลำดับขั้น 3.3.3 โครงข่ายการสื่อสารแบบวงกลม เป็นโครงข่ายการติดต่อสื่อสารที่ไว้ใช้แก้ปัญหา 3.3.4 โครงข่ายการสื่อสารแบบดาว มีลักษณะการสื่อสารแบบไขว้ 3.3.5 โครงข่ายการสื่อสารแบบทุกช่องทาง เป็นโครงข่ายการติดต่อสื่อสารที่ทุกคนในองค์การสามารถติดต่อสื่อสารได้กับทุกคน ผู้นำแบบประชาธิปไตยนิยมใช้โครงข่ายการสื่อสารแบบนี้ บทที่ 8 การสั่งการ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

52 คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา http://wwww.ssru.ac.th
การติดต่อสื่อสาร 3.3.6 โครงข่ายการสื่อสารแบบตัว Y เป็นโครงข่ายการติดต่อสื่อสารที่มีลักษณะการทำงานเป็นทีม 3.3.7 การสื่อสารในลักษณะแบบองุ่น หมายถึง เครือข่ายของการติดต่อสื่อสารในองค์การที่ไม่เป็นทางการ ซึ่งโดยปกติการสื่อสารแบบเถาองุ่นอาจเกิดขึ้นได้ใน 4 ลักษณะ ด้วยกัน คือ แบบเกลียวลูกโซ่ทางเดียว เป็นการสื่อสารข้อมูลจากบุคคลหนึ่งไปสู่อีกบุคคลหนึ่ง ถ้าสายโซ่ยิ่งยาว โอกาสที่ข่าวสารจะถูกบิดเบือนก็มีมากขึ้นไปด้วย การซุบซิบแบบลูกโซ่ เป็นการสื่อสารจากบุคคลเพียงคนเดียวทำหน้าที่บอกเล่าไปสู่สมาชิกทีละคน บทที่ 8 การสั่งการ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

53 คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา http://wwww.ssru.ac.th
การติดต่อสื่อสาร แบบกระจาย เป็นรูปแบบการสื่อสารที่มีโครงสร้างแน่นอน บุคคลคนเดียวสื่อสารออกไปสู่บุคคลแบบสุ่ม ทำให้การสื่อสารเป็นไปในลักษณะบางคนได้ยินบางคนไม่ได้ยินเรื่องราว แบบกลุ่ม คือ รูปแบบที่โดดเด่นในการสื่อสารที่ไม่เป็นทางการ เพราะเป็นการสื่อสารที่ผู้ส่งสารเลือกกลุ่มเป้าหมายผู้รับไว้อย่างชัดเจน ทำให้การสื่อสารแบบนี้บุคคลจะชะลอข่าวสารจนกว่าจะพอใจบุคคลที่ส่งสาร บทที่ 8 การสั่งการ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

54 คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา http://wwww.ssru.ac.th
การติดต่อสื่อสาร 4. ประโยชน์ของการติดต่อสื่อสาร การติดต่อสื่อสารที่ดีจะก่อให้เกิดประโยชน์มากมาย ดังนี้ 4.1 ช่วยให้การตัดสินใจสั่งการได้อย่างรวดเร็ว ถูกต้อง แม่นยำ 4.2 ช่วยให้เกิดการประสานงานที่ดี 4.3 ช่วยให้การควบคุมงานเป็นไปได้ด้วยดี การบริหารงานเป็นไปในทิศทางเดียวกัน เกิดเอกภาพทางการบริหาร 4.4 ช่วยให้เกิดความสมานสามัคคีในหมู่คณะและองค์การ 4.5 เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ขององค์การทั้งโดยทางตรงและทางอ้อม บทที่ 8 การสั่งการ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

55 คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา http://wwww.ssru.ac.th
การประสานงาน 1. ความหมายของการประสานงาน หมายถึง การจัดให้มีความเกี่ยวเนื่องในการทำงาน ทั้งในส่วนของ คน จิตใจ และวัสดุ หรืออาจกล่าวได้ว่า การประสานงาน เป็นศิลปะการจัดระเบียบให้คนในองค์การทำงานให้สัมพันธ์ และสอดคล้องกัน โดยตระหนักถึงองค์การเป็นหลัก บทที่ 8 การสั่งการ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

56 คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา http://wwww.ssru.ac.th
การประสานงาน ฟอลเล็ต (Follet) ได้พบว่าปัญหาพื้นฐานในองค์การคือการสื่อสาร จึงได้เสนอแนะหลักการที่จะทำให้การประสานงานมีประสิทธิผลและประสิทธิภาพไว้ดังนี้ 1.1 การประสานงานเริ่มจากขั้นการวางแผนและการจัดทำนโยบาย 1.2 การประสานงานเป็นการติดต่อโดยตรงกับบุคคลที่รับผิดชอบในงานนั้น 1.3 การประสานงานเป็นความสัมพันธ์ซึ่งกันและกันกับปัจจัยทุกด้านในสถานการณ์นั้นๆ 1.4 การประสานงานเป็นกระบวนการต่อเนื่อง บทที่ 8 การสั่งการ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

57 คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา http://wwww.ssru.ac.th
การประสานงาน ประเภทของการประสานงาน สามารถแบ่งรูปแบบได้เป็น 2 ชนิด ดังนี้ 2.1 การประสานงานภายในองค์การกับการประสานงานภายนอกองค์การ หมายถึง การประสานงานที่อยู่ภายในองค์การเดียวกัน ส่วนการประสานงานภายนอก หมายถึง การประสานงานระหว่างองค์การกับองค์การอื่นในธุรกิจเดียวกัน หรือต่างธุรกิจกัน 2.2 การประสานงานในแนวดิ่งกับการประสานงานในแนวนอน กานประสานงานแนวดิ่งคือ การประสานงานจากบุคคลที่อยู่ตำแหน่งสูงกว่าลงมายังตำแหน่งที่ต่ำกว่า ส่วนการประสานงานแนวนอน หมายถึง การประสานงานระหว่างบุคคลที่มีตำแหน่งเท่าเทียมกันในหน่วยงาน บทที่ 8 การสั่งการ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

58 คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา http://wwww.ssru.ac.th
การประสานงาน 3. ความสำคัญของการประสานงาน เป็นกระบวนการที่ต้องจัดให้มีขึ้นทุกขึ้นตอนของการบริหารสั่งการ ทั้งยังช่วยผสมผสานปัจจัยในการบริหารให้ผสมกลมกลืนกัน ซึ่งทำให้เกิดประโยชน์ดังนี้ 3.1 ช่วยให้การทำงานบรรลุเป้าหมายได้อย่างรวดเร็ว 3.2 ช่วยขจัดความสูญเปล่าและประหยัดในเรื่องที่เกี่ยวกับเวลาและค่าใช้จ่าย 3.3 ช่วยสร้างความเข้าใจอันดีทั้งภายในและภายนอกองค์การ 3.4 ช่วยสร้างขวัญและกำลังใจให้เกิดขึ้นกับพนักงาน 3.5 ช่วยป้องกันการทำหน้าที่ซ้ำซ้อนและทุกฝ่ายเข้าใจในหน้าที่ของงาน เข้าใจหลักการ และปฏิบัติงานได้เป็นอย่างดี บทที่ 8 การสั่งการ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

59 คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา http://wwww.ssru.ac.th
การประสานงาน 4. ระดับของการประสานงาน แบ่งออกเป็น 2 ระดับ คือ 4.1 ระดับนโยบาย 4.2 ระดับปฏิบัติการ บทที่ 8 การสั่งการ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา


ดาวน์โหลด ppt คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google