งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

266-211 Science For Elementary School Teachers I.

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "266-211 Science For Elementary School Teachers I."— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 Science For Elementary School Teachers I

2 สรุปการสัมภาษณ์ ปัญหาเกี่ยวกับหลักสูตรวิชาวิทยาศาสตร์สำหรับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษา.... โรงเรียนบ้านบ้างปลาหมอ ต.รูสะมิแล อ.เมืองปัตตานี จ.ปัตตานี สพป.ปัตตานี เขต 1

3 หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน
หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน มุ่งพัฒนาผู้เรียนทุกคน ซึ่งเป็นกำลังของชาติให้เป็นมนุษย์ที่มีความสมดุลทั้งด้านร่างกาย ความรู้ คุณธรรม มีจิตสำนึกในความเป็นพลเมืองไทยและเป็นพลโลกยึดมั่นในการปกครองตามระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข มีความรู้และทักษะพื้นฐาน รวมทั้ง เจตคติ ที่จำเป็นต่อการศึกษาต่อ การประกอบอาชีพและการศึกษาตลอดชีวิต โดยมุ่งเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญบนพื้นฐานความเชื่อว่า ทุกคนสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้เต็มตามศักยภาพ

4 หลักสูตรวิชาวิทยาศาสตร์
สาระการเรียนรู้ ประกอบด้วย องค์ความรู้ ทักษะหรือกระบวนการเรียนรู้ และคุณลักษณะ อันพึงประสงค์ ซึ่งกำหนดให้ผู้เรียนทุกคนในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานจำเป็นต้องเรียนรู้ ซึ่งวิชาวิทยาศาสตร์มีความความรู้ดังนี้ วิทยาศาสตร์ : การนำความรู้และกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ไปใช้ในการศึกษา ค้นคว้าหาความรู้ และแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ การคิดอย่างเป็นเหตุเป็น

5 สาระและมาตรฐานการเรียนรู้
หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานกำหนดมาตรฐานการเรียนรู้ในวิชาวิทยาศาสตร์ มีดังนี้

6 หลักสูตรวิทยาศาสตร์มี 8 สาระ
1.สิ่งมีชีวิตกับกระบวนการดำรงชีวิต 2.ชีวิตกับสิ่งแวดล้อม 3.สารและสมบัติของสาร 4.แรงและการเคลื่อนที่

7 5.พลังงาน 6.กระบวนการเปลี่ยนแปลงของโลก 7.ดาราศาสตร์และอวกาศ 8.ธรรมชาติของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

8 สาระที่ 1 สิ่งมีชีวิตกับกระบวนการดำรงชีวิต
สาระที่ 1 สิ่งมีชีวิตกับกระบวนการดำรงชีวิต เข้าใจหน่วยพื้นฐานของสิ่งมีชีวิต ความสัมพันธ์ของโครงสร้าง และหน้าที่ของระบบต่างๆ ของสิ่งมีชีวิตที่ทำงานสัมพันธ์กัน มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ในการดำรงชีวิตของตนเองและดูแลสิ่งมีชีวิต เข้าใจกระบวนการและความสัมพันธ์ของการถ่ายทอดลักษณะพันธุกรรม วิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต ความหลากหลายทางชีวภาพการใช้เทคโนโลยีชีวภาพที่มีผลกระทบต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อมมีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้ และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์

9 สาระที่ 2 ชีวิตกับสิ่งแวดล้อม
สาระที่ 2 ชีวิตกับสิ่งแวดล้อม เข้าใจสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่น ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งแวดล้อมกับสิ่งมีชีวิต ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ ในระบบนิเวศ มีกระบวนการสืบเสาะ หาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ เข้าใจความสำคัญของทรัพยากรธรรมชาติ การใช้ทรัพยากรธรรมชาติในระดับท้องถิ่น ประเทศ และโลกนำความรู้ไปใช้ในในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่นอย่างยั่งยืน

10 สาระที่ 3 สารและสมบัติของสาร
เข้าใจสมบัติของสาร ความสัมพันธ์ระหว่างสมบัติของสารกับโครงสร้างและแรงยึดเหนี่ยวระหว่างอนุภาค มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้ นำความรู้ไปใช้ประโยชน์ เข้าใจหลักการและธรรมชาติของการเปลี่ยนแปลงสถานะของสาร การเกิดสารละลาย การเกิดปฏิกิริยา มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้ และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์

11 สาระที่ 4 แรงและการเคลื่อนที่
สาระที่ 4 แรงและการเคลื่อนที่ เข้าใจธรรมชาติของแรงแม่เหล็กไฟฟ้า แรงโน้มถ่วง และแรงนิวเคลียร์ มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์อย่างถูกต้องและมีคุณธรรม เข้าใจลักษณะการเคลื่อนที่แบบต่างๆ ของวัตถุในธรรมชาติมีกระบวนการ สืบเสาะหาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์

12 สาระที่ 5 พลังงาน เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างพลังงานกับการดำรงชีวิต การเปลี่ยนรูปพลังงาน ปฏิสัมพันธ์ระหว่างสารและพลังงาน ผลของการใช้พลังงานต่อชีวิตและสิ่งแวดล้อม มีกระบวน การสืบเสาะหาความรู้ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และ นำความรู้ไปใช้ประโยชน์

13 สาระที่ 6 กระบวนการเปลี่ยนแปลงของโลก
สาระที่ 6 กระบวนการเปลี่ยนแปลงของโลก เข้าใจกระบวนการต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นบนผิวโลกและภายในโลก ความสัมพันธ์ของกระบวนการต่าง ๆ ที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ ภูมิประเทศ และสัณฐานของโลก มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์

14 สาระที่ 7 ดาราศาสตร์และอวกาศ
สาระที่ 7 ดาราศาสตร์และอวกาศ เข้าใจวิวัฒนาการของระบบสุริยะ กาแล็กซีและเอกภพการปฏิสัมพันธ์ภายในระบบสุริยะและผลต่อสิ่งมีชีวิตบนโลก มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์ การสื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ เข้าใจความสำคัญของเทคโนโลยีอวกาศที่นำมาใช้ในการสำรวจอวกาศและทรัพยากรธรรมชาติ ด้านการเกษตรและการสื่อสาร มีกระบวนการสืบเสาะ หาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์อย่างมีคุณธรรมต่อชีวิตและสิ่งแวดล้อม

15 สาระที่ 8 ธรรมชาติของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
สาระที่ 8 ธรรมชาติของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์และจิตวิทยาศาสตร์ในการสืบเสาะหาความรู้ การแก้ปัญหา รู้ว่าปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่มีรูปแบบ ที่แน่นอน สามารถอธิบายและตรวจสอบได้ ภายใต้ข้อมูลและเครื่องมือที่มีอยู่ในช่วงเวลานั้นๆ เข้าใจว่า วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี สังคม และสิ่งแวดล้อม มีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน

16 ปัญหาเกี่ยวกับหลักสูตรวิชาวิทยาศาสตร์ ระดับประถมศึกษา โรงเรียนบ้านบ้างปลาหมอ....

17 ประวัติโรงเรียนบ้านบางปลาหมอ
โรงเรียนบ้านบางปลาหมอเปิดทำการสอนครั้งแรกเมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม 2505 โดยทาง อำเภอร่วมกับราษฎรในท้องถิ่น ได้สร้างอาคารเรียนชั่วคราวขึ้น 1 หลัง ในที่ดินสาธารณสมบัติ มีเนื้อที่ 3 ไร่ มีนักเรียนทั้งหมด 44 คน ครู 1 คน โดยเปิดเป็นสาขาโรงเรียนบ้านรูสะมิแล วันที่ 1 ตุลาคม 2027 ได้รับคำสั่งจากจังหวัดให้เป็นโรงเรียนเอกเทศให้ชื่อว่า “โรงเรียนบ้านบางปลาหมอ” โดยมี นายจำลอง รัตนอุดม ดำรงตำแหน่งครูใหญ่ ปี พ.ศ.2518 ทางอำเภอเมืองปัตตานีได้แต่งตั้ง นายอุเซ็ง ยะโก๊ะ มาดำรงตำแหน่งครูใหญ่ ต่อมา นายอุเซ็ง ยะโก๊ะ ถึงแก่กรรม นายเจริญ พยนรัตน์ รักษาการในตำแหน่งครูใหญ่ ปี พ.ศ.2524 ได้รับงบประมาณจากจังหวัดปัตตานี จำนวน 450,000 บาท ได้สร้างอาคารเรียนหลังใหม่ในบริเวณพื้นที่อยู่ใกล้กับชุมชน เป็นอาคารเรียนแบบ ป.1ก จำนวน 4 ห้องเรียน และได้ย้ายสถานที่เรียนจากหลังเดิมมาเรียนอาคารเรียนหลังใหม่ในปีเดียวกัน และยังได้รับงบประมาณ จำนวน 19,000 บาท ในการสร้างส้วมแบบ 401 จำนวน 2 หลัง ปี พ.ศ.2527 ได้รับงบประมาณ 162,000 บาท สร้างอาคารเรียนอเนกประสงค์ สร้างเสร็จเมื่อวันที่ 23 ตุลาคม 2527 เปิดใช้เมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม 2528

18 ปี พ.ศ.2529 นายนเรศ อนันตรานนท์ มาดำรงตำแหน่งครูใหญ่ วันที่ 18 พฤศจิกายน 2530 นางชนิดา นิกาจิ มาดำรงตำแหน่งครูใหญ่ วันที่ 3 มกราคม 2537 นายมนูญ เหมวิเชียร มาดำรงตำแหน่งครูใหญ่ และได้ขอลาออกจากราชการ เมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน 2540 โดยมีนายมนูญ ยีดอรอแม มาดำรงตำแหน่งครูใหญ่แทน วันที่ 9 ธันวาคม 2542 นายมนูญ ยีดอรอแม ย้ายไปดำรงตำแหน่งครูใหญ่โรงเรียนบ้านจะรัง สปอ.ยะหริ่ง วันที่ 3 สิงหาคม 2543 นายสมศักดิ์ จันทร์นวล มาดำรงตำแหน่งครูใหญ่ ตามคำสั่งสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดปัตตานี ที่ 249/2543 จนถึงวันที่ 9 ตุลาคม วันที่ 9 ตุลาคม 2543 นางนวลใย สุทธิพิทักษ์ มาดำรงตำแหน่งครูใหญ่โรงเรียนบ้านบางปลาหมอ ตามคำสั่งสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดปัตตานี ที่ 341/2543 วันที่ 21 กรกฎาคม 2549 นางกรรณิกา เพชรนุ้ย มาดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านบางปลาหมอ จนถึงปัจจุบัน

19 วิสัยทัศน์โรงเรียนบ้านบางปลาหมอ
สวยงาม มีแหล่งเรียนรู้ อนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น และจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานให้ทั่วถึง ครูและนักเรียนมีคุณภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน ภายใต้การนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีมาบริหารจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ โดยชุมชนเข้ามามีส่วนร่วม ปรัชญาโรงเรียน  ความรู้ คู่คุณธรรม

20 ประวัติคุณครูผู้ให้สัมภาษณ์...
นางสาว ซากีหน๊ะ สาและ อายุ ปี ตำแหน่งครูผู้ช่วย โรงเรียนบ้านบางปลาหมอ สอนกลุ่มสาระวิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษา ระยะเวลาการทำงาน ปี 6 เดือน จบสาขาวิชาวิชาวิทยาศาสตร์ทั่วไป เขตพื้นที่การศึกษาปัตตานีเขต 1 ที่อยู่ปัจจุบัน 173 ม.7 ต.นาประดู่ อ.โคกโพธิ์ จ.ปัตตานี ที่อยู่ตามสำเนา 82/1 ม.3 ต.ลิปะสะดง อ.หนองจิก จ.ปัตตานี

21 ปัญหาที่เกิดขึ้นเกี่ยวกับหลักสูตรในการจัดการเรียนรู้.................

22 กลุ่มปัญหา 1.ขาดอุปการณ์ทางวิทยาศาสตร์ 2.เด็กขาดการวิเคราะห์
3.เด็กอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ 4.เด็กไม่สนใจในรายวิชา 5.เวลาเรียนไม่เพียงพอ 6.เด็กอ่อนในรายวิชา 7.เด็กสมาธิสั้น

23 ปัจจัยที่จะนำไปสู้ความสำเร็จในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ โดยครูมีวิธีการแก้ไขปัญหาดังนี้...

24 ขาดอุปการณ์ทางวิทยาศาสตร์
นำสิ่งของรอบตัวมาประยุกต์ใช้ ยืมจากโรงเรียนใกล้ๆที่มีอุปกรณ์ พาเด็กไปเรียนรู้สิ่งแวดล้อมภายนอก พาเด็กไปทัศนศึกษานอกสถานที่ เช่น งานวิทยาศาสตร์ ขาดอุปการณ์ทางวิทยาศาสตร์ สอนให้เด็กคิดอย่างมีเหตุผลเน้นความจริงเป็นหลัก สอนให้เด็กคิดเป็นขั้นเป็นตอน เป็นแบบแผน เด็กขาดการวิเคราะห์ มีโครงการของโรงเรียน ชื่อว่าโครงการเสวาการณ์ ที่ได้จัดทำขึ้นเพื่อแยกเด็กเป็นกลุ่ม อ่อน ปางกลาง แก่ง และจะมีครูมาสอนประจำกลุ่ม เด็กอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้

25 ครูจะเอาคาบว่างหรือคาบที่ครูประจำวิชาไม่เข้าสอน สอนแทน
เวลาเรียนไม่เพียงพอ เอาเด็กอ่อนมาสอนซ่อมเสริมและให้ใบงานไปทำด้วยตัวเอง เด็กอ่อนในรายวิชา กระตุ้นให้เด็กมีความสนใจในรายวิชาอยู่ตลอดเวลา จะมีการนันทนาการก่อนเรียน เด็กสมาธิสั้น

26 ความรู้สึกที่ได้จากการไปสัมภาษณ์....
จากการที่ไปสัมภาษณ์ครูโรงเรียนบ้านบางปลาหมอ ทำให้เราได้รู้ถึงความเป็นอยู่ของครูกับนักเรียนภายในโรงเรียนในสังคมชนบท อีกรูปแบบหนึ่ง ที่มีสภาพแวดล้อมแตกต่างไปจากโรงเรียนในสังคมเมือง ซึ่งโรงเรียนในสังคมชนบท จะเห็นได้ชัดเลยว่าครูกับนักเรียนมีความผูกพันธ์ ใกล้ชิดสนิทสนมกัน โรงเรียนคือบ้านหลังที่สอง ที่มีครูคือผู้ปกครอง คอยมอบความรัก ความเอาใจใส่ คอยปลูกฝังสิ่งที่ดีงาม ให้กับนักเรียน แต่สภาพแวดล้อมไม่กระตุ้นต่อการเรียนรู้ของนักเรียน ทำให้เด็กขาดประสิทธิภาพในการเรียนรู้ เด็กอ่านหนังสือไม่ออก เขียนไม่ได้ จึงทำให้เกิดปัญหาการใช้หลักสูตรในรายวิชาต่างๆ วิชาวิยาศาสตร์ก็เช่นเดียวกัน เกิดปัญหาการใช้หลักสูตร

27 ทำให้ไม่บรรลุไปตามวัตถุประสงค์ของการเรียนรู้ ครูผู้สอนจึงมีเทคนิคในการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น เพื่อให้บรรลุไปตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้ จากการที่ได้ไปลงพื้นที่สัมภาษณ์ในครั้งนี้ ทำให้เราตึงตระหนักอยู่เสมอว่า... การที่เราจะเป็นครูที่ดีได้นั้น ไม่ใช้แค่ป้อนความรู้ทางวิชาการเพียงแต่อย่างเดียว แต่เราจะต้องปลูกฝัง คุณธรรม จริยธรรม มอบความรัก ความเอาใจใส่ให้กับนักเรียน เสมือนนักเรียนเป็นลูกคนหนึ่งของเรา ที่เราจะต้องชี้นำไปในทางที่ถูกต้องเป็นเด็กดี โตเป็นผู้ใหญ่ที่ดีในวันข้างหน้า และประสบความสำเร็จในอนาคต “ อาชีพครู ไม่ได้ทำให้ฉันรวย แต่อาชีพครูทำให้ฉันได้สอนคนให้เป็นคนดี ….และฉันก็ภูมิใจ”

28 ผศ.ดร.เครือศรี วิเศษสุวรรณภูมิ
ขอขอบคุณ ผศ.ดร.เครือศรี วิเศษสุวรรณภูมิ

29 สมาชิกกลุ่ม population
1.นางสาวซูฟิตยา ดือแระ รหัสนักศึกษา 2.นางสาวรอบียะห์ มะถาวร “ 3.นางสาวอานีซะห์ แชนา “ 4.นางสาวฮาบีบ๊ะ เวาะแซ “ คณะศึกษาศาสตร์ สาขาวิชาการประถมศึกษา ชั้นปีที่ 2

30


ดาวน์โหลด ppt 266-211 Science For Elementary School Teachers I.

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google