งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

ในวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2560 เวลา 1๓.00 – น.

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "ในวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2560 เวลา 1๓.00 – น."— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 ในวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2560 เวลา 1๓.00 – 13.30 น.
บทบาทผู้ว่าราชการจังหวัด ในการพัฒนาการศึกษา โดย นายกฤษฎา บุญราช ปลัดกระทรวงมหาดไทย ในวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2560 เวลา 1๓.00 – น.

2 การขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการในภูมิภาค
2/11 - คสช. ใช้มาตรา 44 ออกคำสั่งที่ 10/2559 และคำสั่งที่ 11/2559 เรื่อง การขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการในภูมิภาค และการบริหารราชการของกระทรวงศึกษาธิการในภูมิภาค (มีผล 22 มี.ค. 59) - ยุบเลิก คกก.เขตพื้นที่การศึกษา และอนุกรรมการข้าราชการครู และบุคลากรทางการศึกษา (อ.ก.ค.ศ.) เขตพื้นที่การศึกษา - จัดตั้งคณะกรรมการศึกษาธิการภาค / ศึกษาธิการจังหวัด (กศจ.) ขึ้นมาทำหน้าที่แทน ตามข้อ ๖ ของคำสั่งที่ 10/2559 กำหนดยุทธศาสตร์ แนวทางการจัดการศึกษาทุกระดับ เห็นชอบแผนพัฒนาการศึกษาของจังหวัด เห็นชอบกรอบการประเมินการปฏิบัติงาน/ตัวชีวัด เสนอความเห็นงานบุคคลข้าราชการครูบุคลากรทางการศึกษา กำกับ เร่งรัด ติดตาม ประเมินการปฏิบัติงานส่วนราชการ วางแผนการจัดการศึกษาในจังหวัด เสนอการจัดสรรงบประมาณให้สถานศึกษา เสนอคกก.ขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษาของศธ.ในภูมิภาค/อกก. และคทง. ปฏิบัติหน้าที่ตาม กม. และ คกก. ขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษาของศธ. ในภูมิภาค

3 บทบาทของ มท. และ ผวจ. เกี่ยวกับกับการพัฒนาการศึกษา
3/11 การใช้กลไก คณะกรรมการศึกษาธิการจังหวัด (กศจ.) ปลูกฝังค่านิยมอันดีงามแก่เด็กและเยาวชน (นส. ด่วนที่สุด ที่ มท /ว3743 ลว. 30 มิ.ย. 59 และ นส. ที่ มท /ว5242 ลว. 15 ก.ย. 59) กศจ. โรงเรียน โครงการขยายผลเกษตร เพื่ออาหารกลางวันสำหรับ เด็กนักเรียน การตระหนักรู้เรื่องแบบแผนขนบธรรมเนียมปฏิบัติที่เป็นสากล การเคารพ กฎกติกามารยาท ด้านการจราจร กริยา มารยาท ซื่อสัตย์ สุจริต ขยันหมั่นเพียร - ขยันขันแข็ง - รู้จักความพอประมาณ -มีความรู้ในการประกอบอาชีพ - การทำบัญชีครัวเรือน - มีน้ำใจนักกีฬา - รู้จักช่วยเหลือผู้อื่น - เคารพสิทธิ์ผู้มาก่อน - มีใบอนุญาตขับรถ - สวมหมวกนิรภัย - จัดระเบียบการจอดรถรับส่ง ฯลฯ - การไหว้ - การอ่อนน้อมถ่อมตน - การเคารพผู้อาวุโส - ไม่ลอกการบ้านหรือคำตอบ - ไม่จ้างหรือให้ผู้ปกครองทำแทน กศจ. + คกก.จังหวัดแบบบูรณาการ โรงเรียนที่ประสบผลสำเร็จ โครงการประกวดโรงเรียนดีเด่นด้านสังคม ที่มีคุณธรรมจริยธรรม เป็นศูนย์กลางในการขยายผลกิจกรรม ไปสู่หมูบ้าน ชุมชน รอบโรงเรียน

4 กลไก กศจ. เพื่อปลูกฝังค่านิยมอันดีงามแก่เด็กและเยาวชน
4/11 การดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ขอให้คณะกรรมการศึกษาธิการจังหวัด พิจารณาคัดเลือกโรงเรียนที่มีศักยภาพหรือความพร้อม จัดทำโครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวันสำหรับเด็กนักเรียนตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เพื่อฝึกฝนให้เด็กนักเรียนมีความขยันขันแข็ง และมีความรู้ในการประกอบอาชีพเกษตรเบื้องต้น และการทำบัญชีค่าใช้จ่ายครัวเรือน ซึ่งจะทำให้ได้เรียนรู้หลักการดำเนินชีวิตตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงจากโครงการดังกล่าว และจะได้นำไปใช้ในชีวิตประจำวันเมื่อเติบโตเป็นผู้ใหญ่ด้วย

5 กลไก กศจ. เพื่อปลูกฝังค่านิยมอันดีงามแก่เด็กและเยาวชน
5/11 การเคารพสิทธิ์ผู้มาก่อนและรู้จักการช่วยเหลือผู้อื่น การฝึกหัดให้นักเรียน นักศึกษา เกิดความตระหนักรู้ในการเคารพสิทธิ์ผู้มาก่อน การมีน้ำใจนักกีฬา รู้จักการเสียสละ ช่วยเหลือผู้อื่น เช่น ฝึกหัดให้นักเรียน นักศึกษา รู้จักการเข้าแถวในโรงอาหารหรือการใช้บริการห้องสมุด หรือการเข้าแถวขึ้นรถหน้าโรงเรียน ทั้งนี้ให้ใช้กิจกรรมลูกเสือ เนตรนารี หรือการเรียนการสอนวิชาทหาร (รด.) มาเป็นกิจกรรมในการฝึกฝนดังกล่าวด้วยก็ได้

6 กลไก กศจ. เพื่อปลูกฝังค่านิยมอันดีงามแก่เด็กและเยาวชน
6/11 การปลูกฝังนิสัยความซื่อสัตย์สุจริต การส่งเสริมให้นักเรียน นักศึกษา มีความซื่อสัตย์สุจริต ขยันหมั่นเพียร และเคารพกฎกติกาของโรงเรียนหรือสถาบันการศึกษาอย่างเคร่งครัด โดยการฝึกหัดให้นักเรียน นักศึกษาไม่ลอกการบ้านหรือลอกคำตอบในการสอบวัดผลต่าง ๆ ไม่จ้างผู้อื่นหรือให้ผู้ปกครองทำรายงานหรือการบ้านแทนตนเอง เพื่อฝึกให้เป็นนิสัยเมื่อเติบโตเป็นผู้ใหญ่จะได้ไม่แสวงหาผลประโยชน์โดยมิชอบหรือประพฤติผิดคิดทุจริตคอรัปชั่น

7 กลไก กศจ. เพื่อปลูกฝังค่านิยมอันดีงามแก่เด็กและเยาวชน
7/11 การเคารพกฎจราจรอย่างเคร่งครัด การสร้างนิสัยเคารพกฎกติกามารยาทด้านการจราจร โดยเริ่มจากการกำหนดให้นักเรียน นักศึกษาที่ขับรถยนต์หรือใช้จักรยานยนต์มาเรียนหนังสือ ต้องมีใบขับขี่ สวมหมวกกันน็อค และเข้าใจรู้จักและปฏิบัติตามกฎระเบียบจราจรอย่างเคร่งครัด การจัดระเบียบการจอดรถหรือยานพาหนะรับ-ส่งนักเรียน นักศึกษาที่บริเวณหน้าโรงเรียนหรือสถานศึกษา เพื่อให้เป็นตัวอย่างที่ดีแก่ชุมชนโดยรอบโรงเรียนหรือสถาบันการศึกษาหรือประชาคมอื่น ๆ

8 กลไก กศจ. เพื่อปลูกฝังค่านิยมอันดีงามแก่เด็กและเยาวชน
8/11 การอ่อนน้อมถ่อมตนและเคารพผู้อาวุโส การฝึกหัดกริยามารยาทในเรื่องการไหว้ การอ่อนน้อมถ่อมตน การเคารพผู้อาวุโส ตามธรรมเนียมประเพณีอันดีงามของไทย ตลอดจนการรักษาความเป็นระเบียบเรียบร้อยโดยจัดเวรหรือร่วมกันทำความสะอาดภายในห้องเรียนหรือบริเวณโรงเรียนหรือการเก็บและแยกขยะของโรงเรียนหรือสถาบันการศึกษา ให้เป็นระเบียบปฏิบัติประจำ (รปจ.) โดยอาจมีการให้รางวัลหรือประกาศยกย่องชมเชยเพื่อสร้างแรงจูงใจในการทำความดี

9 บทบาทของ มท. และ ผวจ. เกี่ยวกับกับการพัฒนาการศึกษา
9/11 โครงการกำหนดสถานะให้แก่บุคคลไร้สัญชาติ กลุ่มเป้าหมายแรก รับรองสิทธิความเป็นคนสัญชาติไทยตามกฎหมายอย่างถูกต้อง บุคคลไร้สัญชาติ สิทธิในสวัสดิการของรัฐอย่างเสมอภาค ๑. นักเรียนทุนพระราชานุเคราะห์ 2. นักเรียนในโครงการสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ 3. นักเรียนในสังกัด สพฐ. ที่มีเอกสารทะเบียนราษฎร์ระบุไม่ได้สัญชาติไทย 71,494 คน ได้รับอนุมัติ สัญชาติไทยแล้ว 12,281 คน

10 แนวทางที่ ผวจ. ควรนำไปปฏิบัติขับเคลื่อนให้เป็นรูปธรรม
10/11 1. ขับเคลื่อนงานด้านการบริหารงานบุคคล/ด้านการศึกษาภายใต้ กศจ. ให้โปร่งใส เป็นธรรมตามกฎ ระเบียบ ข้อกฎหมาย (การโยกย้าย ความดีความชอบ ระบบคุณธรรม) 2. ขับเคลื่อนอำนาจหน้าที่ของ กศจ. รวม 8 ประการ - กำหนดยุทธศาสตร์ แนวทางการจัดการศึกษา ทุกระดับทุกประเภท - พิจารณาให้ความเห็นชอบแผนพัฒนาการศึกษาของจังหวัด โดยให้ความสอดคล้องเชื่อมโยงกับยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี (2560 – 2579) แผนพัฒนาการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ ฉบับที่ 12 (2560 – 2564) รวมทั้งนโยบายของท่าน รมต.ศธ. ที่วางยุทธศาสตร์ไว้ 6 ด้าน คือ 1) ความมั่นคง (โรงเรียนชายขอบ ทั้งภาคเหนือและภาคใต้) 2) การสร้างความสามารถในการแข่งขัน (ภาษา ตปท.) 3) การลงทุนในทรัพยากรมนุษย์ (โดยเฉพาะเด็กเล็ก Pre-school) 4) การสร้างโอกาสความเสมอภาคและการลดความเลื่อมล้ำทางสังคม (การประเมินผลนักเรียนร่วมกับนานาชาติ) 5) การสร้างการเติบโตคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (โครงการเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนคุณธรรม) 6) การปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐ (การดำเนินการด้านต่างๆ ของ กศจ.) * ให้ถือว่างานนี้เป็นงานหลักที่สำคัญงานหนึ่ง ที่ ผวจ. ต้องขับเคลื่อนให้เห็นเป็นรูปธรรม

11 แนวทางที่ ผวจ. ควรนำไปปฏิบัติขับเคลื่อนให้เป็นรูปธรรม
11/11 3. การวิเคราะห์การศึกษาไทยของ นิตยสาร The Economist ผลการประเมินนักเรียนร่วมกับนานาชาติ (PISA) ประเทศไทยอยู่ลำดับที่ 59 จากทั้งหมด 73 ประเทศ โดยมีแนวโน้มถดถอยตั้งแต่การสำรวจเมื่อปี 2555 เด็กไทยอายุ 15 ปี ราว 1 ใน 3 ไม่สามารถ อ่านออกเขียนได้ ซึ่งเกินครึ่งเป็นนักเรียนในชนบท ตัวชี้วัดการแก้ไขปัญหา ครูต้องอยู่ติดห้องเรียน นักเรียนต้องอ่านออกเขียนได้ นักเรียนต้องคิดเลขได้ นักเรียนต้องมีความประพฤติดี มีคุณธรรม


ดาวน์โหลด ppt ในวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2560 เวลา 1๓.00 – น.

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google