งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

บทที่ 3 ธรณีประวัติ.

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "บทที่ 3 ธรณีประวัติ."— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 บทที่ 3 ธรณีประวัติ

2 ธรณีประวัติ ข้อมูลทางธรณีวิทยาที่สามารถอธิบายความเป็นมาของพื้นที่ในอดีต  ได้แก่  อายุทางธรณีวิทยา  ซากดึกดำบรรพ์  โครงสร้างและการลำดับชั้นหิน  เป็นต้น  การศึกษาความเป็นมาของพื้นที่ในอดีตที่ใกล้เคียงความจริง ได้จากสิ่งต่างๆ ดังนี้ อายุทางธรณีวิทยา - ซากดึกดำบรรพ์ ธรณีโครงสร้าง -การลำดับชั้นหิน

3 ธรณีประวัติ โดยทั่วไปอายุทางธรณีวิทยาแบ่งเป็น 2 แบบ
โดยทั่วไปอายุทางธรณีวิทยาแบ่งเป็น  2  แบบ  คือ  อายุเทียบสัมพันธ์หรืออายุเปรียบเทียบ  และอายุสัมบูรณ์  ซึ่งมีวิธีการศึกษาแตกต่างกัน

4 ธรณีประวัติ 1.อายุเปรียบเทียบหรืออายุสัมพันธ์ (Realative age)  เป็นอายุหินเปรียบเทียบซึ่งบอกว่าหินชุดใดมีอายุมากหรือน้อยกว่ากัน  อายุเปรียบเทียบหาได้โดยอาศัยข้อมูลจากซากดึกดำบรรพ์ที่ทราบอายุ  ลักษณะการลำดับของชั้นหิน ต่าง ๆ  และลักษณะโครงสร้างธรณีวิทยาของหิน  แล้วนำมาเปรียบเทียบกับช่วงเวลาทางธรณีวิทยาที่เรียกว่า  ธรณีกาล (Geologic time)  ก็จะสามารถบอกอายุของหินที่เราศึกษาได้ว่าเป็นหินในยุคไหน  หรือมีช่วงอายุเป็นเท่าใด

5 ธรณีประวัติ นักธรณีวิทยาได้ทำการศึกษาเกี่ยวกับซากดึกดำบรรพ์ และจัดหมวดหมู่ตามอายุ วิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตและสภาพแวดล้อมตามกาลเวลาที่ค้นพบจนในที่สุด สรุปเป็นตารางธรณีกาล

6 ธรณีกาล

7

8

9

10 ธรณีประวัติ 2. อายุสัมบูรณ์ (absolute age)  เป็นอายุของหินหรือซากดึกดำบรรพ์ที่สามารถบอกเป็นจำนวนปีที่ค่อนข้างแน่นอน  การหาอายุสัมบูรณ์ใช้วิธีคำนวณจากครึ่งชีวิตของธาตุกัมมันตรังสีที่มีอยู่ในหินหรือซากดึกดำบรรพ์ที่ต้องการศึกษา  ธาตุกัมมันตรังสีที่นิยมนำมาหาอายุสัมบูรณ์  ได้แก่  ธาตุคาร์บอน-14  ธาตุโพแทสเซียม-40  ธาตุเรเดียม-226  และธาตุยูเรเนียม -238  เป็นต้น  การหาอายุสัมบูรณ์มักใช้กับหินที่มีอายุมากเป็นแสนหรือล้านปี 

11 ธรณีประวัติ ซากดึกดำบรรพ์ (fossil) คือ  ซากและร่องรอยของสิ่งมีชีวิตทั้งพืชและสัตว์ที่เคยอาศัยอยู่ในบริเวณนั้น  เมื่อตายลงซากก็จะถูกทับถมและฝังตัวอยู่ในชั้นหินตะกอน  นักธรณีวิทยาใช้ซากดึกดำบรรพ์เป็นหลักฐานบอกกล่าวถึงประวัติความเป็นมาของพื้นที่ต่าง ๆ  ซึ่งสามารถบอกถึงสภาพแวดล้อมในอดีตว่าเป็นบนบกหรือในทะเล  เป็นต้น  นอกจากนั้นซากดึกดำบรรพ์ยังสามารถบอกช่วงอายุของหินชนิดอื่นที่อยู่ร่วมกับหินตะกอนเหล่านั้นได้ด้วย

12 บริเวณแพร่กระจายของซากดึกดำบรรพ์
ที่สูงหรือภูเขาซับซ้อนของทวีป การทับถมต่างๆ จะน้อยมาก แต่จะมีขบวนการสลายตัวและการกร่อนที่รุนแรง บริเวณที่พอจะมีการทับถมและเกิดซากดึกดำบรรพ์ได้ มักเป็นบริเวณของหุบเขาหรือบริเวณบ่อเล็กๆ ตามภูเขา

13 บริเวณแพร่กระจายของซากดึกดำบรรพ์
ที่ราบต่ำ ได้แก่ บริเวณที่ราบลุ่ม หนองบึงหรือทะเลสาบมีการทับถมเกิดขึ้นมาก

14 บริเวณแพร่กระจายของซากดึกดำบรรพ์
บริเวณไหล่ทวีป เป็นบริเวณที่อยู่ในทะเลที่มีความลาดชันเล็กน้อย และลึกน้อยกว่า 600 ฟุต บริเวณนี้จะมีการทับถมของซากต่างๆ มากที่สุด เนื่องจากมีการทับถมของตะกอนที่แม่น้ำพัดพาออกมา

15 บริเวณแพร่กระจายของซากดึกดำบรรพ์
บริเวณที่ลากชันทวีป มีความลาดชันมาก บริเวณนี้จะมีการทับถมของซากต่างๆ น้อย

16 ธรณีประวัติ ซากดึกดำบรรพ์ดัชนี (Index fossil)  เป็นซากดึกดำบรรพ์ที่บอกอายุได้แน่นอน  เนื่องจากเป็นซาก ดึกดำบรรพ์ที่มีวิวัฒนาการทางโครงสร้างและรูปร่าง อย่างรวดเร็ว  มีความแตกต่างกันแต่ละช่วงอายุอย่างเด่นชัด  และปรากฏให้เห็นเพียงช่วงอายุหนึ่งแล้วก็สูญพันธุ์ไป เช่น ไทรโลไบต์พบในหินทราย บริเวณเกาะตะรุเตา จ.สตูล บอกช่วงเวลาการเกิด ล้านปี

17 ธรณีประวัติ ซากดึกดำบรรพ์ดัชนี (Index fossil) ได้แก่ ไทโลไบต์ แกรพโตไลต์ ฟิวซูลินิด การพบซากดึกดำบรรพ์ไทโลไบต์ในหินทรายแดงที่เกาะตะรุเตา จังหวัดสตูล ทำให้นักธรณีวิทยาบอกได้ว่าหินทรายแดง เป็นหินที่มีอายุประมาณ ล้านปี

18 ธรณีประวัติ การพบซากดึกดำบรรพ์ฟิวซูลินิด ในหินปูน ที่จังหวัดสระบุรี ทำให้นักธรณีวิทยาบอกได้ว่าหินปูนนั้นเป็นหินที่มีอายุประมาณ ล้านปีผ่านมา

19

20 การเกิดซากดึกดำบรรพ์
เกิดจากส่วนอ่อนของอวัยวะถูกย่อยสลาย เหลือส่วนที่แข็งเช่น กระดูกเขา หรือไม้เนื้อแข็ง เกิดจากสิ่งมีชีวิตถูกแช่แข็ง ไม่เน่าเปื่อย เกิดจากการที่แมลงบินเข้าไปติดอยู่ที่ยางไม้

21 ลักษณะของซากดึกดำบรรพ์
Trace-fossil เช่น รอยเท้าไดโนเสาร์ ที่ภูหลวง จังหวัดเลย และที่ภูแฝก จังหวัดกาฬสินธุ์ Mold เช่น ช่องว่างที่เห็นรูปร่างของซากได้ ช่องว่าง (mold) เมื่อปล่อยทิ้งไว้สารละลายที่พบอยู่ในน้ำ เช่น สารละลายของเหล็ก ซิลิกา หรือคาร์บอเนตอาจเข้าไปตกตะกอนภายใน เกิดเป็นซากดึกดำบรรพ์อีกแบบหนึ่งเรียกว่า cast

22 ซากดึกดำบรรพ์ในประเทศไทย ซากดึกดำบรรพ์ที่เป็นทั้งพืชและสัตว์ ไก้แก่
ภูเวียงโกซอรัส สิรินทรเน พบอำเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่น(กินพืช คอแลพหางยาง เดินสี่เท้า ชัยภูมิ สกลนคร อุดรธานี อุบลราชธานี นครราชสีมา ในชั้นหินทรายแป้ง ซึ่งเป็นหินในยุคไทรแอสสิกตอนปลายถึงยุคครีเตเซียสตอนกลาง หรือ ล้านปีที่ผ่านมา

23 ซากดึกดำบรรพ์ในประเทศไทย
ซากดึกดำบรรพ์ที่เป็นพืช ที่เคยพบ ได้แก่ ใบไม้ ละอองเรณู สปอร์ สาหร่ายทะเล และไม้กลายเป็นหิน

24 การลำดับชั้นหิน

25 โครงสร้างทางธรณีวิทยา และการลำดับชั้นหิน
เป็นโครงสร้างที่เกิดจากการตกตะกอนของอินทรียและอนินทรียวัตถุ สะสมตัวเกิดเป็นชั้นๆ หิน (Rock) เป็นมวลของแข็งที่ประกอบด้วยแร่ชนิดเดียวหรือหลายชนิดรวมตัวกันอยู่ตามธรรมชาติ แบ่งออกเป็น 3 ประเภทใหญ่ๆ คือ

26 โครงสร้างและการลำดับชั้นหิน
1.หินอัคนี (Igneous rocks) คือ หินที่เกิดจากการแข็งตัวของหินหนืด หินหนืดเมื่อยู่ภายในเปลือกโลกเรียกว่าแมกมา (Magma) เมื่อผุดพ้นออกมาบนผิวโลก เรียกว่า ลาวา (Lava) การเย็นตัวของแมกมาเป็นไปอย่างช้าๆ ส่วนการเย็นตัวของลาวาจะเป็นไปอย่างรวดเร็วมีผลทำให้หินอัคนีมีลักษณะต่างๆ กัน

27 โครงสร้างและการลำดับชั้นหิน
2. หินตะกอนหรือหินชั้น (Sedimentary rocks) คือ หินที่เกิดจากการทับถมของตะกอน ตะกอนเหล่านี้เกิดจากการผุพัง แตกสลายของหินอัคนี หินแปร 3. หินแปร (Metamorphic rocks) คือ หินที่แปรสภาพไปจากเดิมโดยการกระทำของความร้อน ความดัน และปฏิกิริยาเคมี

28 โครงสร้างและการลำดับชั้นหิน

29

30 การลำดับชั้นหิน เป็นการรวบรวมข้อมูลทางธรณีวิทยาเกือบทุกทางมาใช้ศึกษา วิเคราะห์ และประเมินศักยภาพของพื้นที่ ณ บริเวณใดบริเวณหนึ่ง ประเทศไทยข้อมูลส่วนมากจะอยู่ในรูปของแผนที่ธรณีวิทยา และรายงาน

31 โครงสร้างและการลำดับชั้นหิน
ชั้นหินในระยะเกิดใหม่ๆ จะมีการวางตัวในแนวระนาบ ชั้นหิน แบ่งเป็น 4 ประเภทใหญ่ๆ โดยอาศัยลักษณะที่ปรากฏอยู่ภายในแต่ละชั้น ดังนี้

32 โครงสร้างและการลำดับชั้นหิน
ชั้นสม่ำเสมอ (regulat bedding) คือการที่ตะกอนวางตัวเรียงเป็นชั้น แต่ละชั้นจะวางตัวในแนวราบไปกับผิวโลก

33 โครงสร้างและการลำดับชั้นหิน
2. ชั้นหินกระแสคลื่น (current bedding) มีการโค้งงอ หรือรอยเลื่อน เกิดเนื่องจากมีแรงมากระทำต่อชั้นหินจำนวนมาก 3. ชั้นจัดเรียงอนุภาคอะตอม (graded bedding) เกิดจากสภาพของเหลว หินอัคนีเกิดการแข็งตัว 4. ชั้นเลื่อนผสม (slum bedding) เป็นหินชั้นล่างที่มีอายุมากเขามาผสมกัน

34 โครงสร้างทางธรณีวิทยาที่ปรากฏอยุ่ในหิน
รอยเลื่อน รอยคดโค้งของชั้นหิน รอยไม่ต่อเนื่อง

35 โครงสร้างทางธรณีวิทยาที่ปรากฏอยุ่ในหิน

36 การลำดับชั้นหิน เป็นการรวบรวมข้อมูลทางธรณีวิทยาเกือบทุกทางมาใช้ศึกษา วิเคราะห์ และประเมินศักยภาพของพื้นที่ ณ บริเวณใดบริเวณหนึ่งของประเทศไทยข้อมูลส่วนมากจะอยู่ในรูปของแผนที่ธรณีวิทยา และรายงาน

37 การลำดับชั้นหิน กรณีศึกษา เช่น การอธิบายว่าพื้นที่จังหวัดลำปางในปัจจุบัน เมื่อหลายล้านปีก่อน เคยเป็นทะเล ด้วยเหตุผลดังนี้ 1. พบหินทราย หินทรายแป้ง หินกรวดมน และหินปูน เกิดสลับกัน 2 ช่วง โดยมีหินทราย หินกรวดมนสีแดงปิดทับอยู่บนสุด

38 การลำดับชั้นหิน 2. พบซากดึกดำบรรพ์ ได้แก่ หอยกาบคู่และหอยงวงช้างสะสมอยู่ในชั้นหิน

39 ธรณีประวัติ การลำดับชั้นหิน
    โลกเมื่อกำเนิดขึ้นมาแล้วก็มีการเปลี่ยนแปลงไปตามกระบวนการและปรากฏการณ์ต่าง ๆ ทางธรณีวิทยา  การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นทำให้หินที่ปรากฏอยู่บนเปลือกโลกมีการเปลี่ยนแปลงทั้งรูปแบบและตำแหน่งที่ตั้ง     จากหลักการพื้นฐานทางธรณีวิทยาที่เสนอว่า  “ปรากฏการณ์ทางธรณีวิทยาที่เกิดขึ้นในปัจจุบันล้วนเคยเกิดขึ้นมาแล้วในอดีต”  หรืออาจจะสรุปเป็นคำกล่าวสั้น ๆ ว่า  “ปัจจุบันคือกุญแจไขไปสู่อดีต”

40 ธรณีประวัติ   ในสภาพปกติชั้นหินตะกอนที่อยู่ข้างล่างจะสะสมตัวก่อน  มีอายุมากกว่าชั้นหินตะกอนที่วางทับอยู่ชั้นบนขึ้นมา  หินดินดานเป็นหินที่มีอายุมากที่สุด  หินปูนเกิดสะสมก่อนหินกรวดมน  และหินทรายมีอายุน้อยที่สุด  ต่อมาเมื่อเปลือกโลกมีการเปลี่ยนแปลงอาจเนื่องมาจากการเคลื่อนที่ของแผ่นธรณีภาค  แผ่นดินไหว  หรือภูเขาไฟระเบิด  ทำให้ชั้นหินที่อยู่ในแนวราบเกิดเอียงเทไป  ซึ่งในปัจจุบันเรามักจะพบชั้นหินที่มีการเอียงเทเสมอ

41 ธรณีประวัติ  รอยคดโค้ง  รอยชั้นไม่ต่อเนื่องที่เกิดขึ้นในหิน  มีความสำคัญต่อการลำดับชั้นหินตะกอน  แต่ในกรณีที่ไม่มีชั้นหินและซากดึกดำบรรพ์ปรากฏให้เห็น  จะต้องนำโครงสร้างทางธรณีที่เกิดขึ้นในหินทุกชนิดที่เกิดร่วมกันมาพิจารณาหาความสัมพันธ์   นอกจากนั้นรอยเลื่อนรูปแบบต่าง ๆ ที่ปรากฏอยู่ในหิน  ทำให้ชั้นหินเอียงเทและเคลื่อนออกจากตำแหน่งเดิม  ก็สามารถที่จะนำมาใช้เป็นหลักฐานในการลำดับชั้นหินได้

42 ธรณีประวัติ การศึกษาธรณีประวัตินอกจากจะทำให้เรารู้ความเป็นมาของแผ่นดินที่เราอาศัยอยู่แล้ว  ผลจากการศึกษาซากดึกดำบรรพ์  และการลำดับชั้นหินให้เป็นหมวดหมู่ตามอายุของซากนั้น  ทำให้สามารถจำกัดขอบเขตของหินได้ชัดเจนขึ้น  ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการนำข้อมูลเหล่านี้ไปใช้ในการวางแผนพัฒนา  และใช้ประโยชน์จากพื้นที่ให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อม  และยังใช้ในการสำรวจหาทรัพยากรธรณี  ทั้งนี้เพราะหินแต่ละช่วงอายุเกิดในสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกัน  และมีทรัพยากรธรรมชาติต่างกันไปด้วย   

43

44

45

46


ดาวน์โหลด ppt บทที่ 3 ธรณีประวัติ.

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google