ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับสปา
ความหมายของสปา “Sanus per Aqua” : Spa เมืองแห่งหนึ่งในเบลเยี่ยม “espa” ของชาว Wallon หมายความว่า น้ำพุ “Sanus per Aqua” : Spa เมืองแห่งหนึ่งในเบลเยี่ยม Spagere การโปรยการ พรมด้วยน้ำ “Sanitus Per aquas” = Healing through Water Oxford Dictionary : Spa คือ สถานที่หรือรีสอร์ทที่มีน้ำแร่ตามธรรมชาติ สรุป สปา หมายถึงการบำบัดด้วยน้ำภายใต้การดูแลของนักบำบัด แพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญ รวมถึงเป็น สถานที่ในการพักผ่อน เพื่อให้ได้มาเพื่อสุขภาพองค์รวมที่ดี
วิวัฒนาการของสปา ยุคโบราณ ชาวกรีกเป็นชนชาติแรกที่รู้จักการใช้ประโยชน์จากน้ำ ไม่ว่าจะเป็นการอาบน้ำแร่ แช่น้ำร้อน การ อาบหรือแช่น้ำในทะเล (thalassotherapy) สถานอาบน้ำสาธารณะเป็นที่ให้บริการแก่ชนชั้นสูงในระยะแรก จนกระทั่งต่อมาเปิดให้บริการแก่ สาธารณะชน 460-370 BC ฮิปโปรเครติส Hippocrates เสนอแนวคิดว่า การมีสุขภาพดีขึ้นอยู่กับสมดุล ของน้ำในร่างกาย ชาวโรมันป็นชนชาติที่ถูกกล่าวขานมากที่สุดเมื่อพูดถึงวัฒนธรรมการอาบน้ำในแง่ของการรักษา สุขภาพและการแสดงสถานภาพทางสังคม ซึ่งชาวโรมันรู้จักการสร้างสถานที่อาบน้ำร้อนขึ้นใน บริเวณใกล้บ่อน้ำแร่ หรือบ่อน้ำพุร้อน
27BC ถึงปี ค.ศ.14 (Caesar Augustus) รอบกรุงโรมมีแหล่งอาบน้ำสาธารณะกว่า 170 ใช้เป็นป้อมปราการ รักษาทหาร และพักผ่อน โรงอาบน้ำแบบดีที่สุดของโรมันเรียกว่า เธอเม่ (Thermae) ลักษณะของเธอเม่ มีสถาปัตยกรรมหรูหราสวยงาม เหมือนพระราชวัง จุคนได้จำนวนมาก ประกอบไปด้วยห้องหลักๆดังนี้ ห้องอาบน้ำเย็น (Frigidarium)ซึ่งมีสระแช่น้ำขนาดใหญ่ ห้องเย็น (Tepidarium) ที่มีอุณหภูมิอุ่นกว่าห้องแรก ห้องอาบน้ำร้อน (Caldarium) ห้องร้อน (Laconicum) และสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับชายและหญิง
Frigidarium Tepidarium
Caldarium Laconicum
ขั้นตอนการอาบน้กของชาวโรมัน เริ่มต้นที่ห้องเปลี่ยนเสื้อผ้า ผู้ชายจะทาตัวด้วยน้ำมันก่อนเล่นกีฬาเพื่อเรียกเหงื่อ เข้าสู่ห้องเย็น (Tepidarium) เพื่อรอให้อุณหภูมิ ลดลงและเตรียมตัวอาบน้ำ โดยล้างน้ำมัน ออกจากตัว แล้วจึงขัดผิว (Scrub) จากนั้นจะเดินไปที่ห้องอาบน้ำร้อน (Caldarium) มีไอหรือไม่มีไอก็ได้ ไปที่ห้องอาบน้ำเย็น (Frigidarium) ซึ่งเป็นห้องที่มีอุณหภูมิเย็นและช่วยให้รูขุมขนปิด กระชับหลังการโดนไอร้อน ลงล้างตัวที่สระน้ำเล็กๆภายในห้องก่อนลงแช่ตัวในอ่างน้ำเย็นขนาดใหญ่
ยุคกลางและยุคมืด สถานอาบน้ำหลายแห่งได้ถูกเปลี่ยนเป็นโบถส์ วัฒนธรรมการอาบน้ำเป็นเรื่องน่ารังเกียจ บ่อน้ำแร่ที่เมือง Bath ประเ ทศอังกฤษที่ถือเป็นบ่อน้ำแร่ในสมัยโรมันที่ตกทอดมาถึงรุ่นหลัง จัดเป็นเมืองสปาที่เก่าแก่ที่สุด โรงเรียนการแพทย์ Salerno ที่ประเทศอิตาลีเพียงแห่งเดียวเท่านั้นที่ยังมีการสอนที่คงไว้ซึ่ง รูปแบบการรักษาตามแนวคิดของ Hippocrates หลังศตวรรษที่ 13 การใช้สถานที่อาบน้ำสาธารณะค่อยๆกลับมาอีกครั้ง โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อการพักผ่อน และบำบัดร่างกาย ค.ศ. 1336 มีการคิดค้นวิธีการอาบน้ำแบบใหม่ขึ้นได้แก่ Douche หรือการใช้ฝักบัวแบบใน ปัจจุบัน วิธีนี้ได้ถูกคิดค้นเป็นครั้งแรกโดย Pieto Tussignano ที่สปาที่มีชื่อว่า Bormio ในประเทศอิตาลี ศตวรรษที่ 14 บ่อน้ำร้อนที่ให้บริการในประเทศอังกฤษได้เข้าสู่ภาวะตกต่ำ และเสียชื่อเสียง
ยุคฟื้นฟู ในศตวรรษที่ 16 ในขณะที่ภาพลักษณ์ของสถานที่อาบน้ำสาธารณะในหลายประเทศได้เสื่อมลง อีกครั้ง แต่สปาที่เมือง Bath กลับดึงดูดนักท่องเที่ยวจำนวนมากให้มารักษาโรคและบรรเทา ความเจ็บปวดต่างๆ ที่ฝรั่งเศส แพทย์หลายท่านก่อตั้งสปาขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ในการบำบัดรักษามากกว่าการ พักผ่อนหย่อนใจ
ศตวรรษที่ 18 - ปัจจุบัน ช่วงปี 1800 ความสนใจเกี่ยวกับวัฒนธรรมการอาบน้ำเพิ่มมากขึ้น Vincent Priessnitz และ Sebastian Kneipp ได้พัฒนาหลักของ Balneotherapy (การรักษาโดยการใช้น้ำร้อน) และ Hydrotherapy (การแช่ตัวลงใน น้ำร้อนเพื่อการรักษาบำบัดเฉพาะโรค)ขึ้น ความนิยมของสปาแพร่กระจายไปยังทวีปอเมริกา การพัฒนาของโรงแรมและที่พักประเภทเกตส์เฮาส์บริเวณแหล่งน้ำแร่ได้เกิดขึ้นมากมายทั่ว ยุโรปและทวีปอเมริกาเหนือ รีสอร์ทสปาทุกแห่งประกอบไปด้วยโรงละคร คาสิโน และการ เต้นรำ ในปี 1930 ทำให้สปารีสอร์ทได้ลดน้อยลง ในที่สุดการบำบัดรักษาสปาได้ถูกถอนออกจาก the National Health Service ซึ่งทำให้รีสอร์ทสปาหลายแห่งต้องปิดตัวลง หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 และความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น เกิดรูปแบบการบำบัดรักษาใหม่ๆได้เกิดขึ้น ตลอดจนการบำบัดด้วยน้ำ และการรักษาแบบอายุรเวทได้ถูกพัฒนา
ประเภทของสปา แบ่งสปาออกเป็น 7 ประเภท ได้แก่ ISPA (The International Spa Association) องค์กรสปาระหว่างประเทศ ได้ แบ่งสปาออกเป็น 7 ประเภท ได้แก่ Mineral Spring Spa Destination Spa Resort & Hotel Spa Day Spa/City Spa Medical Spa Club Spa Cruise Ship Spa
องค์ประกอบของสปา รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส
ขอบเขตของสปา (Spa Domains) น้ำ (Water) การบำรุง (Nourishment) การเคลื่อนไหว (Movement) การสัมผัส (Touch) การรวมเข้าถึงกัน (Integration) คือ กิจกรรมในสปาถือเป็นกิจกรรมสุขภาพที่หลอม รวมของความสัมพันธ์ระหว่างร่างกาย (body) จิตใจ (mind) จิตวิญญาณ (soul) และ สภาพแวดล้อม (environment) เข้าด้วยกัน สุนทรียศาสตร์ (Aesthetic) คือการดูแลเรื่องความงามและการใช้ผลิตภัณฑ์จากพืชพรรณ ตามธรรมชาติให้เข้ากับร่างกายของมนุษย์ สภาพแวดล้อม (Environment)
การแสดงออกทางวัฒนธรรม (Cultural Expression) คือความสุขใจในการชื่นชมกับ คุณค่าทางศิลปวัฒนธรรม และการมีมุมมองที่ดีทางเกี่ยวกับความเชื่อทางศาสนา การเมือง และวิทยาศาสตร์ เป็นเวลาแห่งการพักผ่อน กิจกรรมเพื่อสังคม (Social contribution) คือการกระทำที่ตั้งใจเพื่อให้เป้นประโยชน์ ต่อสังคมและเพื่อการให้ได้มาของการมีสุขภาพที่ดี เวลา และช่วงจังหวะ (Time, Space Rhythms) คือการได้เข้าใจและตระหนักถึง ช่วงเวลาที่ได้ใช้ในการดูแลสุขภาพตามหลักธรรมชาติ
ตามพระราชบัญญัติสถานบริการ พ. ศ ตามพระราชบัญญัติสถานบริการ พ.ศ. ๒๕๐๙ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสถานบริการ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ ๒๕๔๖ ได้จำกัดสถานที่เพื่อสุขภาพหรือเพื่อเสริมสวย ซึ่งได้แก่สถานที่ดำเนินการกิจการ ดังนี้ “กิจการสปาเพื่อสุขภาพ” หมายความว่า การประกอบกิจการที่ให้การดูแลและเสริมสร้าง สุขภาพ โดยบริการหลักที่จัดไว้ประกอบด้วย การนวดเพื่อสุขภาพและการใช้น้ำเพื่อสุขภาพ โดยอาจมีบริการเสริมประกอบด้วยเช่น การอบเพื่อสุขภาพ การออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ โภชนบำบัดและการควบคุมอาหาร โยคะและการทำสมาธิ การใช้สมุนไพรหรือผลิตภัณฑ์เพื่อ สุขภาพ ตลอดจนการแพทย์างเลือกอื่นๆหรือไม่ก็ได้ “กิจการนวดเพื่อสุขภาพ” หมายความว่า การประกอบกิจการโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็น การผ่อนคลายกล้ามเนื้อ ความเมื่อยล้า ความเครียด ด้วยวิธีการกด การคลึง การบีบ การ จับ การดัด การดึง การประคบ การอบ หรือโดยวิธีการอื่นใดตามศาสตร์และศิลปะของการ นวดเพื่อสุขภาพ ทั้งนี้ต้องไม่มีสถานที่อาบน้ำโดยมีผู้ให้บริการ
“กิจการนวดเพื่อเสริมสวย” หมายความว่า การประกอบกิจการนวดในสถานที่เฉพาะ เช่น ร้าน เสริมสวยหรือแต่งผม โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อความสวยงามด้วยวิธีการกด การคลึง การบีบ การจับ การประคบ การอบ หรือ ด้วยวิธีการอื่นใดตามศิลปะการนวดเพื่อเสริมสวย ทั้งนี้ต้อง ไม่มีสถานที่อาบน้ำโดยมีผู้ให้บริการ
ประเภทของการบริการในกิจการสปาเพื่อสุขภาพ บริการหลัก หมายถึงการใช้น้ำเพื่อสุขภาพ และการนวดเพื่อสุขภาพ บริการเสริม หมายถึง กิจกรรมประเภทต่างๆที่สถานประกอบการกิจการเพื่อสุขภาพจัดไว้ เพื่อให้เกิดความหลากหลาย และเพื่อดึงดูดใจลูกค้าให้มาใช้บริการ สำหรับกิจกรรมเสริมที่ สถานประกอบการสปาเพื่อสุขภาพส่วนใหญ่มีอยู่ในสปาเมนูหรือรายการการให้บริการนั้น ยกตัวอย่างเช่น การออกกำลังกายประเภทต่างๆ การทำสมาธิและการฝึกโยคะ โภชบำบัดและ การควบคุมอาหาร เป็นต้น
ตัวอย่างการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ การเต้นแอโรบิค (Aerobic) ฟิสเนต (Fitness/Gym) ฟิตบอล (Fit Ball) ชิบอล (Chi Ball) พิลาเทส (Pilates) ไทชิ (Tai Chi)