งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

จรรยาบรรณ และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง กับการท่องเที่ยวเชิงบำบัดรักษาสุขภาพ

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "จรรยาบรรณ และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง กับการท่องเที่ยวเชิงบำบัดรักษาสุขภาพ"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 จรรยาบรรณ และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง กับการท่องเที่ยวเชิงบำบัดรักษาสุขภาพ

2 1. จรรยาบรรณที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวเชิงบำบัดรักษาสุขภาพ
1. จรรยาบรรณที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวเชิงบำบัดรักษาสุขภาพ

3 จรรยาบรรณ ประมวลความประพฤติผู้ประกอบอาชีพการงาน แต่ละอย่าง โดยกำหนดขึ้นเพื่อรักษาและส่งเสริมเกียรติคุณชื่อเสียงและฐานะของสมาชิก

4 จรรยาบรรณที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว เชิงบำบัดรักษาสุขภาพ
จรรยาบรรณสำหรับผู้ให้บริการ จรรยาบรรณผู้ประกอบวิชาชีพสปา ข้อบังคับแพทยสภา ว่าด้วยการรักษาจริยธรรมแห่งวิชาชีพเวชกรรม พ.ศ. 2549 จรรยาบรรณวิชาชีพพยาบาล

5 1. จรรยาบรรณสำหรับผู้ให้บริการ
จำชื่อลูกค้าที่มาใช้บริการให้ได้ พบและจากต้องน่าประทับใจ จัดเตรียมสิ่งอำนวยความสะดวกแก่ลูกค้า รับข้อร้องเรียน แก้ไข และติดตามผล ไม่รับปากหากไม่มั่นใจว่าจะทำได้หรือไม่ แต่งกายสุภาพ เรียบร้อย บันทึกข้อมูลความต้องการของลูกค้า มีความรอบรู้ แนะนำลูกค้าได้ การรักษาความลับของลูกค้า

6 2.จรรยาบรรณผู้ประกอบวิชาชีพสปา ( Spa Business Ethics)
หมวดที่ 1 คุณธรรมและจริยธรรมของผู้ประกอบวิชาชีพสปา กล่าวถึงเรื่องคุณธรรม และจริยธรรมที่ผู้ประกอบวิชาชีพสปาพึงปฏิบัติ เช่น การมีความซื่อสัตย์ การไม่เอาเปรียบลูกค้า การสร้างบริการที่เป็นเลิศ มีจิตใจดี การมีความอ่อนน้อมถ่อมตนในการให้บริการ และการไม่เรียกร้องค่าบริการเพิ่มเติมจากลูกค้า เป็นต้น

7 2.จรรยาบรรณผู้ประกอบวิชาชีพสปา ( Spa Business Ethics)
หมวดที่ 2 ทัศนคติต่ออาชีพและภาพลักษณ์ที่ดีของพนักงานสปา กล่าวถึงเรื่องความรู้สึกนึกคิดต่ออาชีพซึ่งจะต้องมีความรู้สึกที่ดีต่ออาชีพของตน เพื่อแสดงออกมาซึ่งภาพลักษณ์ที่ดีของพนักงานสปา เช่น ความเข้าใจและรักในงานบริการ การตระหนักถึงความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านและพัฒนาตนเองด้วยการฝึกอบรมอย่างสม่ำเสมอ การให้ความช่วยเหลือผู้อื่น การเสริมสร้างบุคลิกที่ดี เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือในการให้บริการ เป็นต้น

8 2.จรรยาบรรณผู้ประกอบวิชาชีพสปา ( Spa Business Ethics)
หมวดที่ 3 กริยามารยาท กล่าวถึงการแสดงออกที่ดีในการให้บริการ ได้แก่ การใช้วาจาที่สุภาพ การให้ความเคารพต่อสถานที่ประกอบการ การมีหน้าตายิ้มแย้มอยู่เสมอ การไม่นินทาลูกค้า การใช้มารยาทไทยที่เป็นการยอมรับในสังคมเป็นแนวปฏิบัติในการให้บริการ เป็นต้น

9 2.จรรยาบรรณผู้ประกอบวิชาชีพสปา ( Spa Business Ethics)
หมวดที่ 4 การปฏิบัติตนในสถานประกอบการ กล่าวถึงการประพฤติปฏิบัติตนตามกฎ ระเบียบของสถานประกอบการ เช่น การปฏิบัติตามกฎระเบียบของสถานปฏิบัติการอย่างเคร่งครัด การดูแลและบำรุงรักษาสถานประกอบการให้สะอาดและได้มาตรฐานอยู่เสมอ การใส่ใจในรายละเอียดและรู้จักช่วยเหลือเพื่อนร่วมงาน เป็นต้น

10 2.จรรยาบรรณผู้ประกอบวิชาชีพสปา ( Spa Business Ethics)
หมวดที่ 5 มาตรฐานการแต่งกายของพนักงานสปา กล่าวถึงลักษณะการแต่งกายที่ถูกต้องตามกาลเทศะเพื่อแสดงออกถึงบุคลิกภาพที่ดีในการให้บริการ เช่น การรักษาความสะอาดของตนอยู่เสมอ การแต่งหน้าแต่พองามไม่ฉูดฉาด การมัดผมให้รวบตึงไม่รกรุงรัง การไม่ไว้เล็บยาว การไม่ใส่เครื่องประดับ การรักษาร่างกายของตนให้แข็งแรงอยู่เสมอ เป็นต้น

11 3. ข้อบังคับแพทยสภา ว่าด้วยการรักษาจริยธรรมแห่งวิชาชีพเวชกรรม พ. ศ
3. ข้อบังคับแพทยสภา ว่าด้วยการรักษาจริยธรรมแห่งวิชาชีพเวชกรรม พ.ศ. 2549 หมวดที่ 4 การประกอบวิชาชีพเวชกรรม กล่าวถึงพฤติกรรม และการปฏิบัติตนอันพึงมีสำหรับผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม เช่น การรักษามาตรฐานของการประกอบวิชาชีพเวชกรรม การปฏิบัติต่อผู้ป่วยโดยสุภาพ การประกอบวิชาชีพโดยคำนึงถึงความปลอดภัยของผู้ป่วย การไม่เปิดเผยความลับของผู้ป่วย การไม่หลอกลวงผู้ป่วย เป็นต้น

12 4. จรรยาบรรณวิชาชีพพยาบาล
ประกอบวิชาชีพด้วยความมีสติ ปฏิบัติต่อประชาชนด้วยความเสมอภาค ละเว้นการปฏิบัติที่มีอคติ พึงเก็บรักษาเรื่องส่วนตัวของผู้รับบริการไว้เป็นความลับ พึงปฏิบัติหน้าที่โดยใช้ความรู้ความสามารถอย่างเต็มที่ พึงป้องกันอันตรายอันจะมีผลต่อสุขอนามัยของประชาชน

13 2. กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวเชิงบำบัดรักษาสุขภาพ
2. กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวเชิงบำบัดรักษาสุขภาพ

14 กฎหมาย ข้อบังคับของรัฐที่เป็นข้อบังคับขั้นต่ำของสังคม เป็นสิ่งที่ต้องมีเจ้าหน้าที่ดำเนินการให้เป็นไปตามสภาพบังคับ และมีบทลงโทษหากมีการละเมิดหรือทำผิดข้อบังคับดังกล่าว

15 กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว เชิงบำบัดรักษาสุขภาพ
กฎหมายว่าด้วยสถานบริการ กฎหมายว่าด้วยการสาธารณสุข กฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล กฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง

16 1. กฎหมายว่าด้วยสถานบริการ
1. กฎหมายว่าด้วยสถานบริการ ความเป็นมา แต่เดิมสังคมไทยจะมีกิจกรรมอาบ อบ นวด ซึ่งมีความหมิ่นเหม่ที่จะส่งผลกระทบต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของสังคม รัฐจึงจำเป็นต้องมีการควบคุมดูแล โดยอาศัยกฎหมายว่าด้วยสถานบริการ การบังคับใช้กฎหมายดังกล่าวได้กระทำผ่าน “พระราชบัญญัติสถานบริการ พ.ศ. 2509”

17 พระราชบัญญัติสถานบริการ พ.ศ. 2509
กำหนดให้สถานอาบน้ำ นวด หรืออบตัวซึ่งมีผู้บริการให้แก่ลูกค้า เป็นสถานบริการตามกฎหมายต้องขออนุญาตก่อนประกอบกิจการ ยกเว้น สถานที่ที่เข้าข่ายสถานพยาบาล สถานที่เพื่อสุขภาพหรือเพื่อเสริมสวยที่กระทรวงสาธารณสุขประกาศ

18 พระราชบัญญัติสถานบริการ พ.ศ. 2509
ดังนั้น กิจการสปาเพื่อสุขภาพ กิจการนวดเพื่อสุขภาพ และกิจการนวดเพื่อเสริมสวย จึงได้รับการยกเว้นจากกฎหมายสถานบริการ แต่ กิจการเหล่านี้ต้องเป็นไปตามมาตรฐาน โดยได้รับใบรับรองมาตรฐานจากกระทรวงสาธารณสุข

19 พระราชบัญญัติสถานบริการ พ.ศ. 2509
มาตรฐานของสถานที่ การบริการ และผู้ให้บริการตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข แบ่งเป็น 5 ด้าน ด้านที่ 1 มาตรฐานสถานที่ ด้านที่ 2 มาตรฐานผู้ดำเนินการ ด้านที่ 3 มาตรฐานผู้ให้บริการ ด้านที่ 4 มาตรฐานการบริการ ด้านที่ 5 มาตรฐานความปลอดภัย

20 2. กฎหมายว่าด้วยการสาธารณสุข
2. กฎหมายว่าด้วยการสาธารณสุข ความเป็นมา เนื่องด้วยกิจการอาบ อบ นวด มีความจำเป็นต้องมีการดูแลด้านสุขาภิบาล กระทรวงสาธารณสุขจึงจำเป็นต้องใช้ “กฎหมายว่าด้วยการสาธารณสุข” เพื่อควบคุมดูแลด้านสุขลักษณะ นอกจากนี้ กิจการสถานที่อาบน้ำ อบไอน้ำ อบสมุนไพร ก็ต้องปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยการสาธารณสุขด้วยเช่นกัน

21 กฎหมายว่าด้วยการสาธารณสุข
ประกาศเรื่องกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ (ฉบับ 4) กฎหมายว่าด้วยการสาธารณสุข ประกาศกระทรวงสาธารณสุข พ.ศ.2551

22 ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่องกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2546
กำหนดให้กิจการสปาเพื่อสุขภาพเป็นกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ เว้นแต่ เป็นการให้บริการในสถานพยาบาลตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล “กิจการสปาเพื่อสุขภาพ” หมายความว่า การประกอบกิจการที่ให้การดูแลและสร้างสุขภาพ โดยบริการหลักที่จัดไว้ ประกอบด้วย การนวดเพื่อสุขภาพ การใช้น้ำเพื่อสุขภาพ โดยอาจมีบริการเสริมประกอบด้วย เช่น การออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ การอบเพื่อสุขภาพ โภชนาการบำบัดและการควบคุมอาหาร โยคะและการทำสมาธิ การใช้สมุนไพรหรือผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ ตลอดจนการแพทย์ทางเลือกอื่น ๆ หรือไม่ก็ได้ บริการที่จัดไว้จะต้องไม่ขัดต่อกฎหมายว่าด้วยการประกอบโรคศิลปะและกฎหมายว่าด้วยวิชาชีพทางการแพทย์ และต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กระทรวงสาธารณสุขประกาศกำหนด

23 ประกาศกระทรวงสาธารณสุข พ.ศ. 2551
เรื่อง การกำหนดสถานที่เพื่อสุขภาพหรือเพื่อเสริมสวย มาตรฐานของสถานที่ การบริการ ผู้ให้บริการ หลักเกณฑ์ และวิธีการตรวจสอบเพื่อการรับรองให้เป็นไปตามมาตรฐานสำหรับสถานที่เพื่อสุขภาพหรือเพื่อเสริมสวย ตามพระราชบัญญัติสถานบริการ พ.ศ. 2509

24 ประกาศกระทรวงสาธารณสุข พ.ศ. 2551
หมวดที่ 1 สถานที่เพื่อสุขภาพหรือเพื่อเสริมสวย หมวดที่ 2 มาตรฐานของสถานที่ การบริการ และผู้ให้บริการ หมวดที่ 3 หลักเกณฑ์ และวิธีการตรวจสอบเพื่อการรับรองให้เป็นไปตามมาตรฐาน หมวดที่ 4 อุทธรณ์ ในกรณีที่ไม่ได้ใบรับรองมาตรฐานหรือไม่ต่ออายุใบรับรองมาตรฐานหรือถูกเพิกถอนการรับรองมาตรฐานสถานประกอบการ

25 สถานประกอบการที่ถูกบังคับใช้กฎหมาย ว่าด้วยสถานบริการ และกฎหมายว่าด้วยการสาธารณสุข
กิจการสปาเพื่อสุขภาพ กิจการนวดเพื่อสุขภาพ และกิจการนวดเพื่อเสริมสวย ถูกควบคุมตามกฎหมายว่าด้วยการสาธารณสุข และกฎหมายว่าด้วยสถานบริการ ทั้งนี้ จะได้รับการยกเว้นจากกฎหมายว่าด้วยสถานบริการ เมื่อปรับปรุงได้มาตรฐานตามประกาศฯและได้รับการรับรองจากกระทรวงสาธารณสุข แต่ยังคงต้องขอรับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ.2535 ด้วย ในฐานะกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพตามที่ราชการส่วนท้องถิ่นออกเป็นข้อบัญญัติท้องถิ่น

26 สถานประกอบการที่ถูกบังคับใช้กฎหมาย ว่าด้วยสถานบริการ และกฎหมายว่าด้วยการสาธารณสุข
2. กิจการสถานที่อาบน้ำ อบไอน้ำ อบสมุนไพร / กิจการเสริมสวยหรือแต่งผม / กิจการควบคุมน้ำหนักโดยวิธีการทางโภชนาการ การบริหารร่างกาย ถูกควบคุมโดยกฎหมายว่าด้วยสถานบริการ และกฎหมายว่าด้วยการสาธารณสุขในด้านอนามัยและสุขลักษณะ ในฐานะที่เป็นกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ

27 3. กฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล
3. กฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล ความเป็นมา กิจการสถานพยาบาล คือ กิจการสปาเพื่อสุขภาพที่เน้นเรื่องการรักษาโรค ต้องอยู่ภายใต้การดูแลของผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมหรือประกอบโรคศิลปะ

28 3. กฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล
3. กฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล กิจการสถานพยาบาลดังกล่าวต้องปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบวิชาชีพเวชกรรมหรือประกอบโรคศิลปะ และต้องอยู่ภายใต้การควบคุมในฐานะสถานพยาบาล ตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาลด้วย การใช้เครื่องมืออุปกรณ์ใด ๆ เพื่อการรักษาพยาบาล ต้องเป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยเครื่องมือแพทย์

29 4. กฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
4. กฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง กฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน กฎหมายว่าด้วยการประกันสังคม กฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร พระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต และประกาศกรมสรรพสามิต กฎหมายของกระทรวงพาณิชย์ ระเบียบข้อบังคับของกรมสรรพากร ข้อบัญญัติของท้องถิ่น


ดาวน์โหลด ppt จรรยาบรรณ และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง กับการท่องเที่ยวเชิงบำบัดรักษาสุขภาพ

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google