งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

กลุ่มระบาดวิทยาและข่าวกรอง สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 12 สงขลา

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "กลุ่มระบาดวิทยาและข่าวกรอง สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 12 สงขลา"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 กลุ่มระบาดวิทยาและข่าวกรอง สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 12 สงขลา
หลักระบาดวิทยา สวรรยา จันทูตานนท์ กลุ่มระบาดวิทยาและข่าวกรอง สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 12 สงขลา

2 แผนที่แสดงการตายด้วยอหิวาตกโรค
กรุงลอนดอน เดือนสิงหาคม พ.ศ (1854) John Snow, M.D. ( ) ผู้ป่วยเสียชีวิต 500 รายในเวลา 10 วัน แต่ภายในเวลา 1 สัปดาห์หลังจากถอนหัวจ่ายน้ำ การระบาดลดลง

3 Deaths from Cholera per 10,000 houses by source of water supply, London 1854
Number of Deaths from Deaths Houses Cholera per Water Supply ,000 homes Southwark & Vauxhall 40, , Company Lamberth Company 26, Rest of London , ,

4 ระบาดวิทยากับงานสาธารณสุข
การเฝ้าระวังทางระบาดวิทยา การสอบสวนโรค/ภัยสุขภาพ การศึกษาวิจัยทางระบาดวิทยา

5 การทำงานระบาดวิทยาต้องอาศัย
1.Body of Knowledge (รู้โรค) มีองค์ความรู้เกี่ยวกับธรรมชาติของการเกิดโรค 2.Methods for studying disease (รู้วิธี) รู้และเข้าใจวิธีการศึกษา เพื่อให้ได้มาซึ่งความรู้ เกี่ยวกับโรคเพิ่มขึ้น

6 Epidemiology รากศัพท์ ภาษากรีก 3 คำ epi = on, upon = บน เหนือ
รากศัพท์ ภาษากรีก 3 คำ epi = on, upon = บน เหนือ demos = people = คน ประชากร logos = the study of = การศึกษา

7 นิยามของระบาดวิทยา (Epidemiology)
การศึกษาเกี่ยวกับการกระจายและปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเกิดโรค/สภาวะสุขภาพในประชากรที่สนใจ และประยุกต์ผลการศึกษาเพื่อใช้ในการควบคุมโรค “The study of the distribution and determinants of health-related states or events in specified populations and the application of this study to control of health problems” John M Last: A dictionary of Epidemiology, ed 2nd. New York, Oxford University Press, 1988

8 การกระจายของโรค (Distribution)
การกระจาย หมายถึง ลักษณะทางระบาดวิทยาของการเกิดโรค เมื่อพิจารณาในด้านบุคคล เวลา สถานที่ ไม่ใช่การกระจายของโรคจากคนหนึ่งไปยังอีกคนหนึ่ง ซึ่งมักใช้คำว่า การถ่ายทอดโรค (Transmission) แทน การกระจาย ใช้ได้กับทั้งโรคติดเชื้อและโรคไร้เชื้อ

9 ปัจจัยที่มีอิทธิพล (Determinants)
ปัจจัยที่มีอิทธิพล หมายถึง สาเหตุหรือปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเกิดโรค/ปัญหาสาธารณสุข ตัวอย่าง ได้แก่ บุคคล เช่น เพศ อายุ ประวัติวัคซีน พฤติกรรมเสี่ยง สิ่งก่อโรค เช่น เชื้อโรค ชนิดอาหารปนเปื้อนที่กิน สิ่งแวดล้อมที่อำนวยต่อการเกิดโรค เช่น ความแออัด

10 ระบาดวิทยา (Epidemiology) ศึกษาอะไร
เวลา (Time) การกระจายของโรค บุคคล (Person) สถานที่ (Place) ระบาดวิทยา ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อโรค สาเหตุ (Cause) ปัจจัยเสี่ยง (Risk factor)

11 คำถามพื้นฐานเมื่อศึกษาโรค/ปัญหาสุขภาพ
ปัญหาอะไร? (What) โรค ปัญหาเกิดกับผู้ใด? (Who) บุคคล ปัญหาเกิดขึ้นที่ไหน? (Where) สถานที่ ปัญหาเกิดขึ้นเมื่อใด? (When) เวลา ปัญหาเกิดได้อย่างไร? (Why/How) ปัจจัย/สาเหตุ

12 การกระจายของโรค Time (เวลา) Epidemic curve Place (สถานที่) Spot map
Person (บุคคล) Table อายุ เพศ

13 ผู้ป่วยไข้หวัดนก H5N1 ตามวันเริ่มป่วย ประเทศไทย พ.ศ.2547-2549 (N=25)
จำนวน (ราย) 2547 2548 2549 week ที่มา: สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค

14 ลักษณะผู้ป่วยไข้หวัดนก H5N1 ในประเทศไทย
ผู้ป่วยเด็ก (10 ราย): ชาย 9 ราย และ หญิง 1 ราย อัตราป่วยตาย (CFR) 70% ผู้ป่วยผู้ใหญ่ (15 ราย): ชาย 7 ราย และ หญิง 8 ราย อัตราป่วยตาย (CFR) 67%

15 ผู้ป่วยยืนยันไข้หวัดนกในประเทศไทย
2547 2548 2549 ผู้ป่วยยืนยันไข้หวัดนกในประเทศไทย N=25 Province 2547 2548 2549 Nongbuarampou 1 Uthaithani Pichit Karnchanaburi 2 Nonthaburi Bangkok Nakornnayok Kamphangphet Nakornratchasima Prachineburi Ayuthaya Phetchabune Lopburi Sukhothai Supanburi 3 Chaiyapoum Khonkaen Uttradit

16 ประวัติสัมผัสแหล่งโรค
- 15 ราย มีไก่ที่บ้านตายผิดปกติ - 12 ราย จับไก่ที่ป่วยหรือตายโดยตรง - 1 ราย นั่งในพื้นที่ที่มีไก่ตาย/ป่วยเป็นประจำ - 1 ราย ไม่มีประวัติสัมผัสไก่เลย (Probable human-to-human transmission)

17 ตั้งสมมติฐาน: จากข้อมูลระบาดวิทยาเชิงพรรณนาที่รวบรวมได้
การกระจายของโรค Cases ประเมินสถานการณ์จากข้อมูลระบาดวิทยา Pathogen? Source? Transmission? Person Place Time ตั้งสมมติฐาน: จากข้อมูลระบาดวิทยาเชิงพรรณนาที่รวบรวมได้

18 แนวคิดของการเกิดโรค การเกิดโรคในชุมชนมิใช่การสุ่มตัวอย่าง แต่จะเกิดมากหรือน้อย หรือไม่เกิดขึ้นเลยในคนบางกลุ่ม จึงต้องใช้ความรู้ทางระบาดวิทยา เพื่ออธิบายปัจจัยต่างๆ ที่ทำให้บางคนหรือบางกลุ่มมีโอกาสป่วยมากกว่าปกติ

19 องค์สามทางระบาดวิทยา(Epidemiologic Triad)
Age Sex Genotype Health status Behaviour Nutritional status Host (คน) Agent (สิ่งก่อโรค) Environment (สิ่งแวดล้อม) Biological, chemical Infectivity Pathogenicity Virulence Antigenic stability Survival Weather Housing Geography Occupation Air quality Food

20 ภาวะสมดุลระหว่างองค์สามทางระบาดวิทยา
Host- คน Agent- สิ่งก่อโรค Environment -สิ่งแวดล้อม

21 การเสียสมดุลก่อให้เกิดโรค เช่น Agent มากขึ้น
Host- คน Agent สิ่งก่อโรค Environment -สิ่งแวดล้อม

22 การเสียสมดุลก่อให้เกิดโรค เช่น Host อ่อนแอ
Agent -สิ่งก่อโรค Environment -สิ่งแวดล้อม

23 การเสียสมดุลก่อให้เกิดโรค เช่น สิ่งแวดล้อมเปลี่ยน
Host- คน Agent- สิ่งก่อโรค Host- คน Agent- สิ่งก่อโรค Environment -สิ่งแวดล้อม

24 ผู้ป่วยโรคคางทูมกระจายตามห้องเรียนและวันเริ่มป่วย โรงเรียนอนุบาลแห่งหนึ่ง พฤษภาคม-กันยายน 2542 (N = 38) NS 1 NS 2 1 / 1 1 / 2 3 / 2 3 / 1 Weekly interval 2 / 1 2 / 2 Kit. ผู้ป่วยเด็ก 1 ราย ผู้ป่วยผู้ใหญ่ 1 ราย ที่มา: ยงเจือ เหล่าศิริถาวร สำนักระบาดวิทยา

25 ทำไมจึงเกิดการระบาดของโรคคางทูมในโรงเรียน
การมี Agent เข้าไปในพื้นที่ที่ไม่เคยมีมาก่อน Agent เพิ่มจำนวน หรือ ความรุนแรงมากขึ้น มีการถ่ายทอดโรค (Transmission) เพิ่มมากขึ้น มีความไวรับต่อการเกิดโรคมากขึ้น (susceptibility) สิ่งแวดล้อม เช่น อุณหภูมิเหมาะสม ปัจจัยอื่นๆ เช่น ความครอบคลุมวัคซีนต่ำ

26 การคิดแบบระบาดวิทยา การคิดอย่างมีเหตุผล อธิบายได้ พิสูจน์ได้
การคิดอย่างเป็นระบบ เป็นขั้นตอน การคิดอย่างต่อเนื่องเชื่อมโยง

27 การประยุกต์ระบาดวิทยาเพื่อแก้ปัญหาสาธารณสุข
ความสำคัญของปัญหา (ขนาดปัญหา ความรุนแรง) ติดตามประเมินผล (การดำเนินงาน ผลกระทบ) การกระจาย (บุคคล เวลา สถานที่) บริหารจัดการ Resource & Participation coverage compliance timeliness สาเหตุและปัจจัย (ระดับบุคคล ระดับสังคม) เลือกมาตรการแก้ปัญหา (Promotion, Prevention, Control, Treatment, Rehabilitation) ต้องทราบ Efficacy

28 ธรรมชาติการรายงานโรค
ผู้ป่วยส่วนน้อยที่มารักษาที่ สถานีอนามัยหรือโรงพยาบาล ผู้ป่วยจำนวนมากที่อยู่ในชุมชนไม่ได้มารักษาที่โรงพยาบาล หรือผู้เป็นผู้ติดเชื้อ ปรากฎการณ์ภูเขาน้ำแข็ง มีผู้ป่วย 28

29 หากคนๆหนึ่งได้รับเชื้อโรค
No infection Clinical Asymptomatic Carrier Death Carrier Immunity No immunity ผลลัพธ์ที่เป็นไปได้

30 การแพร่ระบาดของไวรัสไข้หวัดใหญ่
R0 = 1.5 Basic reproductive number (R0) – จำนวนเฉลี่ยผู้ป่วยรายใหม่ ที่เกิดขึ้นจากผู้ป่วยรายแรก ถ้า R0 < 1 การระบาดจะเริ่มสิ้นสุดลง Herd immunity = 1 – (1 / R0) เช่น 1 - (1/1.5) = 33%

31 การถ่ายทอดโรค (Transmission of Disease)
Index – the 1st case identified Primary – case that brings the infection into a population Secondary – infected by a primary case Tertiary – infected by a secondary case P S T Susceptible Immune Asymptomatic Clinical

32 การระบาด (Outbreak/Epidemic)
การระบาด คือ การมีผู้ป่วยจำนวนที่มากกว่าจำนวนปกติที่คาดหมาย ณ สถานที่ หรือในประชากร ที่ช่วงเวลาหนึ่ง การที่มีเหตุการณ์เกิดขึ้นในจำนวนมากกว่าปกติ เมื่อเปรียบเทียบกับจำนวนผู้ป่วยในช่วงเวลาเดียวกันในอดีต เช่น ค่ามัธยฐาน 5 ปี (median) เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับคนตั้งแต่ 2 คนขึ้นไปในระยะเวลาอันสั้น หลังจากร่วมกิจกรรมด้วยกันมา

33 Endemic Vs. Epidemic No. of Cases of a Disease Epidemic Endemic Time

34 โอกาสที่จะควบคุมการระบาดของโรค
Cause (สาเหตุ) รู้ ไม่รู้ ควบคุมได้ ควบคุมได้ เช่น อหิวาตกโรคที่ลอนดอน มาตรการทั่วไป ปูพรม ควบคุมไม่ได้แน่นอน รอให้หยุดเอง รู้ Source (แหล่งโรค) ไม่รู้

35 หลักการป้องกันและควบคุมโรค
Environment Agent Host การวินิจฉัยแต่แรกเริ่ม และรักษาทันที การค้นหาและรักษาพาหะนำโรค การควบคุมแหล่งแพร่เชื้อ การส่งเสริมสุขภาพ โภชนาการ สุขศึกษา การคุ้มกันเฉพาะ เช่น วัคซีน การควบคุมสิ่งแวดล้อม เช่น ขยะ น้ำเสีย สิ่งปฏิกูล สัตว์และแมลงที่เป็นพาหะนำโรค

36 ทำไมต้องรู้ธรรมชาติของโรค?
เพื่อประโยชน์ในการป้องกันโรค เพื่อประโยชน์ในการวินิจฉัยโรค และหาสาเหตุที่แท้จริงของโรค โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าโรคนั้นเป็นโรคที่มีระยะฟักตัวนาน (long latency) ตัวอย่างเช่น ณ. โรงงานอุตสาหกรรมแห่งหนึ่งในเมือง ก. หลังจากมีการจ้างคนงานมาทำงานได้ 1 ปี คนงาน 2 คน เป็นมะเร็งปอด คนงาน 2คนนี้ฟ้องร้องว่าเป็นมะเร็งจากการทำงานในโรงงานนี้ ถ้าท่านเป็นผู้ตัดสินคดีท่านคิดว่าใครถูก...ใครผิด? เฉลย โรคมะเร็งปอดของคนงาน 2 คนนี้อาจไม่ได้เกิดจากโรงงานนี้เนื่องจากโรคมะเร็งปอดมีระยะฟักตัวนาน

37 ธรรมชาติของโรคแบ่งออกได้เป็น 4 ระยะคือ
ระยะมีความไวต่อการเกิดโรค (Stage of susceptibility) ระยะก่อนมีอาการของโรค (Stage of preclinical disease) ระยะมีอาการของโรค (Stage of clinical disease) ระยะมีความพิการของโรค (Stage of disability)

38 ธรรมชาติของการเกิดโรค (Natural History of Disease)
Asymptom Disease Symptomatic Disease No Disease Complication Disability Death Risk Infected Symptoms

39 ระยะมีความไวต่อการเกิดโรค (Stage of susceptibility)
ในระยะนี้โรคยังไม่เกิดขึ้นแต่มีปัจจัยหรือองค์ประกอบต่างๆ ที่ส่งเสริมต่อการเกิดโรคหรือเป็นสาเหตุที่จะทำให้เกิดโรค บุคคลนั้นอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่เอื้ออำนวยต่อการเกิดโรคหรือสัมผัสกับปัจจัยเสี่ยงของโรค เช่น คนที่สูบบุหรี่มีโอกาสเป็นมะเร็งปอดมากเป็น 10 เท่าของคนที่ไม่สูบบุหรี่ ระยะนี้ตรงกับระยะก่อนมีพยาธิสภาพ ระยะเวลาของระยะนี้ขึ้นอยู่กับชนิดของเชื้อโรค ระดับสุขภาพอนามัยของโฮสท์ จำนวนเชื้อโรคที่ได้รับตลอดจนระยะฟักตัวของโรค โรคติดเชื้อมักมีระยะฟักตัวสั้น ส่วนโรคไร้เชื้อมักมีระยะฟักตัวยาว

40 ระยะก่อนมีอาการของโรค (Stage of preclinical disease)
ระยะนี้เป็นระยะที่เริ่มมีพยาธิสภาพของโรคเกิดขึ้นแล้ว แต่ยังไม่มีอาการของโรคให้เห็น เนื่องจากพยาธิสภาพไม่มากพอ การตรวจสอบว่ามีพยาธิสภาพเกิดขึ้น ก็โดยการสำรวจ การตรวจคัดกรองโรค การตรวจสุขภาพ การค้นหาผู้ป่วยในระยะเริ่มแรก การ swab ปากมดลูกเพื่อตรวจหามะเร็งปากมดลูกในระยะเริ่มแรก การฉายเอกซเรย์ปอด เพื่อค้นหาผู้ป่วยที่เป็นวัณโรคปอด หรือมะเร็งปอด เป็นต้น

41 ระยะมีอาการของโรค (Stage of clinical disease)
ระยะนี้เป็นระยะที่มีพยาธิสภาพของโรคเกิดมากขึ้น มีการเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับลักษณะและหน้าที่ของส่วนต่างๆ ของร่างกายตามชนิดของโรค ผู้ป่วยมีอาการของโรคเกิดขึ้น ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะมาพบแพทย์ในระยะนี้เนื่องจากมีอาการผิดปกติต่างๆ

42 ระยะมีอาการของโรค (Stage of clinical disease)
ถูกแบ่งเป็นกลุ่มย่อยได้หลายแบบขึ้นกับวัตถุประสงค์ของการแบ่งดังนี้ การแบ่งกลุ่มโรคเพื่อการรักษา (Therapeutic classification) การแบ่งตามตำแหน่งของโรค (Site) และชนิดของเนื้อเยื่อ (Histological type) การแบ่งแบบนี้มีประโยชน์ในการศึกษาทางระบาดวิทยาและการรักษาผู้ป่วย การแบ่งตามขอบเขตของการแพร่กระจายของโรค (Extent of disease) การแบ่งแบบนี้ช่วยในการติดตามและประเมินผลการรักษา

43 ระยะมีความพิการของโรค (Stage of disability)
ระยะนี้เป็นระยะหลังจากที่มีอาการของโรคเกิดขึ้นแล้ว ทำให้เสียสมรรถภาพการทำงานของอวัยวะนั้นไปได้ ผลที่ตามมาหลังจากเป็นโรค อาจแยกออกเป็น 3 ประเภทคือ ป่วยเป็นโรคแล้วหายสนิท ป่วยเป็นโรคแล้วหายไม่สนิท มีความพิการเกิดขึ้นในระยะสั้น หรือระยะยาว ป่วยเป็นโรคแล้วมีอาการมากจนถึงแก่กรรม

44 ธรรมชาติของโรค เปรียบเสมือนภูเขาน้ำแข็งที่ลอยอยู่ในมหาสมุทร
ตาย พิการ ป่วยมารับบริการ มองเห็น มองไม่เห็น ป่วยแต่ไม่มารับบริการ โรคที่ยังไม่แสดงอาการ มีภูมิไวรับ สุขภาพดี ส่วนที่มองเห็นจะมีขนาดเล็กเทียบกับส่วนที่มองไม่เห็นที่อยู่ใต้น้ำ กลุ่มผู้ป่วยที่มีอาการหรือกลุ่มที่ไม่มีอาการ แต่ไม่ไปพบแพทย์จะมีจำนวนมาก ในการศึกษาทางระบาดวิทยา และการป้องกันโรคต้องคิดถึงกลุ่มนี้ด้วย

45 ระดับและแนวทางการป้องกันโรค
การป้องกันในระดับปฐมภูมิ (primary prevention) การป้องกันในระดับทุติยภูมิ (secondary prevention) การป้องกันในระดับตติยภูมิ (tertiary prevention)

46 การป้องกันโรค: แนวคิดในปัจจุบัน
เกิดโรค แสดงอาการ มีความไวต่อการเกิดโรค ป่วยแต่ไม่แสดงอาการ ป่วยและมีอาการ ป้องกันปฐมภูมิ ป้องกันทุติยภูมิ ป้องกันตติยภูมิ การส่งเสริมสุขภาพและการป้องกันเฉพาะโรค วินิจฉัยแรกเริ่มและรักษาทันที รักษาและฟื้นฟูสภาพ ลดอุบัติการณ์ ลดความชุก ลดความรุนแรง ลดการแพร่กระจาย ลดความชุก ลดความรุนแรง ลดการแพร่กระจาย ในปัจจุบัน...การป้องกันโรคมีความหมายครอบคลุมถึงการควบคุมโรคด้วย

47 การป้องกันในระดับปฐมภูมิ (primary prevention)
เป็นการป้องกันในระยะที่ยังไม่มีโรคเกิดขึ้น โดยการกำจัดหรือลดสาเหตุที่ทำให้เกิดโรค การป้องกันโรคในระยะแรกเพื่อไม่ให้โรคเกิดขึ้น จะต้องมุ่งไปที่ ระยะมีความไวต่อการเกิดโรค (Stage of susceptibility) โดยถือหลักดังนี้ เปลี่ยนความไวต่อการเกิดโรค (susceptibility) ของประชาชน เช่น การฉีดวัคซีนป้องกันโรค การปรับปรุงแก้ไขภาวะโภชนาการให้ดีขึ้น ลดโอกาสผู้ที่มีความไวในการเกิดโรค (individual susceptibility) จะไปสัมผัสโรค กำจัดหรือลดสาเหตุที่จะทำให้เกิดโรค

48 การป้องกันขั้นแรก ประกอบด้วย
การส่งเสริมสุขภาพ (Health Promotion) เป็นการ ป้องกันโรคที่มี ความสำคัญมาก เพื่อเสริมสร้างให้ร่างกายมีความสมบูรณ์ทั้ง ร่างกาย จิตใจ และสังคม งานส่งเสริมสุขภาพประกอบด้วยงาน ต่างๆ เช่น สุขศึกษา โภชนาการ สุขวิทยาส่วนบุคคล อนามัย สิ่งแวดล้อม สุขาภิบาล การวางแผนครอบครัว การอนามัยแม่และ เด็ก การแนะแนวด้านจิตวิทยา การคุ้มกันเฉพาะ (Specific Protection) เป็นการป้องกันสาเหตุของโรคโดยตรงในชุมชน อาจทำ ได้โดยการฉีดวัคซีน เพื่อเพิ่มภูมิต้านทานโรค การกำจัดสาเหตุของ โรคโดยตรง และการควบคุมพาหะนำโรค

49 การป้องกันในระดับทุติยภูมิ (secondary prevention)
เป็นการป้องกันเมื่อโรคเกิดขึ้นแล้ว เพื่อลดความรุนแรงและการแพร่กระจายของโรค หยุดยั้งการดำเนินการของโรค ช่วยลดระยะเวลาการเจ็บป่วย ลดระยะการติดต่อของโรค ซึ่งจะทำก่อนการมีอาการ และขณะมีอาการของโรค เกิดขึ้น การป้องกันขั้นนี้ได้แก่การวินิจฉัยในระยะ แรกเริ่ม และให้การรักษาทันที

50 การป้องกันในระดับทุติยภูมิ (secondary prevention)
การค้นหาผู้ป่วยในระยะที่ยังไม่มีอาการ (Early detection of asymptomatic cases) การค้นหาผู้ป่วยที่ยังไม่มีอาการ ส่วนใหญ่ตรวจพบได้จากการตรวจคัดกรองโรค เช่น การตรวจวัดความดันโลหิตในการตรวจสุขภาพประจำปีของพนักงาน การตรวจภาพรังสีปอดเพื่อดูวัณโรค และมะเร็งปอด การตรวจระดับน้ำตาลในเลือดเพื่อดูโรคเบาหวาน

51 การป้องกันในระดับทุติยภูมิ (secondary prevention)
2. การวินิจฉัยผู้ป่วยได้อย่างรวดเร็วเมื่อพบมีอาการ (Early detection of symptomatic cases) การตรวจร่างกาย การตรวจทางห้องปฏิบัติการ การทดสอบต่างๆ ควรทำโดยเร็วและทำอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อ การรักษาที่ทันท่วงที ลดระยะเวลาของโรค ผู้ป่วยหายเร็วขึ้น ช่วยป้องกันและลดความพิการตลอดจนภาวะแทรกซ้อนที่จะเกิดขึ้น ในกรณีที่เป็นโรคติดเชื้อ ก็สามารถช่วยป้องกันโรคไม่ให้แพร่กระจายไปสู่บุคคลอื่นด้วย

52 การป้องกันในระดับตติยภูมิ (tertiary prevention)
เป็นการป้องกันในระยะมีความพิการหรือป่วยมาก (Stage of disability or disadvanced disease) ช่วยลดภาวะแทรกซ้อนของโรค ลดความพิการของโรค ตลอดจนผลเสียต่างๆ ที่จะตามมาภายหลังจากการเกิดโรค การป้องกันระยะนี้เป็นการป้องกันในขณะที่โรคเป็นมากแล้ว นับว่าเสี่ยงต่ออันตรายและได้ผลน้อยกว่าการป้องกันสองระดับแรก

53 การป้องกันในระดับตติยภูมิ (tertiary prevention)
การกำจัดความพิการของโรค (Disability limitation) ซึ่งประกอบด้วยงานต่างๆ เช่น การส่งต่อผู้ป่วย ให้ความรู้แก่ผู้ป่วยในการป้องกันความพิการที่อาจเกิดขึ้น ใช้ยาหรือเครื่องมือแพทย์บางอย่างในการช่วยลดความพิการ

54 การป้องกันในระดับตติยภูมิ (tertiary prevention)
การฟื้นฟูสุขภาพ (Rehabilitation) ประเภทของผู้ป่วยที่จำเป็นต้องรักษาทางด้านฟื้นฟูสุขภาพ แบ่งได้เป็น 5 ประเภทคือ ความผิดปกติทางประสาทและกล้ามเนื้อ เช่น โรคโปลิโอ โรคเส้นเลือดในสมองตีบตัน ความผิดปกติทางกระดูกและกล้ามเนื้อ เช่น โรคข้อต่างๆ ผู้ป่วยที่ถูกตัดแขนขา ความผิดปกติทางหัวใจและปอด อื่นๆ เช่น หัวไหล่ขัด

55 แนวทางการฟื้นฟูสุขภาพของผู้ป่วยมีดังนี้
กายภาพบำบัด โดยใช้เครื่องมือต่างๆ ในการช่วยบำบัดรักษาผู้ป่วยที่พิการ กิจกรรมบำบัด เป็นการฝึกผู้มีปัญหาเกี่ยวกับความละเอียดอ่อน เช่น การใช้แขนขาเทียม อาชีวะบำบัด การฝึกผู้ป่วยเกี่ยวกับงานอาชีพที่เคยทำอยู่ หรือหางานใหม่ที่เหมาะสม อรรถบำบัด การช่วยในด้านการพูด การฟื้นฟูสภาพทางจิต การให้กำลังใจ และให้คำปรึกษา การฟื้นฟูสภาพทางสังคม การฝึกอาชีพ

56 หลักการป้องกันและควบคุมโรค
ระบาดวิทยา แหล่งโรค/รังโรค เชื้อโรค / ปัจจัยเสี่ยง คนที่มีความไวรับ / กลุ่มเสี่ยง วิธีการถ่ายทอดโรค หลักการป้องกันและควบคุมโรค กำจัดแหล่งโรค / ปัจจัยเสี่ยง ตัดการ ถ่ายทอดโรค สร้างเสริม ความต้านทาน 56

57 การป้องกันและควบคุมโรคไข้หวัดนก
สัตว์ปีก กลุ่มเสี่ยง : เกษตรกร, คนเลี้ยงไก่ชน, เด็ก H5N1 มูลสัตว์, สารคัดหลั่ง การล้างมือ การกำจัดซากสัตว์ที่ถูกวิธี สุขาภิบาลอาหาร กำจัดสัตว์ปีก วัคซีนในสัตว์ LAB รายงาน, สอบสวนโรค สุขศึกษา สวมชุดป้องกัน วัคซีนในคน 57

58 การประยุกต์ระบาดวิทยาเพื่อแก้ปัญหาสาธารณสุข
ความสำคัญของปัญหา (ขนาดปัญหา ความรุนแรง) ติดตามประเมินผล (การดำเนินงาน ผลกระทบ) การกระจาย (บุคคล เวลา สถานที่ ) บริหารจัดการ Resource & Participation coverage compliance timeliness สาเหตุและปัจจัย (ระดับบุคคล ระดับสังคม) เลือกมาตรการแก้ปัญหา (Promotion, Prevention, Control, Treatment, Rehabilitation) ต้องทราบ Efficacy 58

59 SAWASDEE KA


ดาวน์โหลด ppt กลุ่มระบาดวิทยาและข่าวกรอง สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 12 สงขลา

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google