การวิเคราะห์แปลผลข้อมูล

Slides:



Advertisements
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
ผู้เสนอ นางประภัสสร แก้วประสาน สังกัด วิทยาลัยเทคโนโลยีชลบุรี
Advertisements

System Requirement Collection (2)
การประเมินผลโครงการ บทที่ 9 ผศ.ญาลดา พรประเสริฐ yalada.
การเขียนโครงร่างวิจัย
ชื่อผู้สอน : นางฐิติมา พิริยะ
การใช้งานโปรแกรม SPSS
หลักการ เบื้องต้น ของการใช้สถิติ คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรมมหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
ความรู้พื้นฐานทางสถิติ
เทคนิคการตรวจสอบภายใน
สังกัด วิทยาลัยเทคโนโลยีวิมล ศรีย่าน
การวัด Measurement.
การทดสอบเกี่ยวกับค่าเฉลี่ยและสัดส่วน
การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาการใช้โปรแกรมนำเสนอข้อมูล เรื่องการเชื่อมโยง ภาพนิ่ง ด้วยโปรแกรม Powerpoint2007 โดยใช้ สื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอน CAI ของนักเรียนระดับชั้น.
การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง หลักการทำงานของคอมพิวเตอร์ วิชาคอมพิวเตอร์พื้นฐาน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนเฉลิมราชประชาอุทิศ.
ง21101 การงานอาชีพและเทคโนโลยี ม. 1 เจตคติต่อการประกอบอาชีพ
การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือ
สถิติเบื้องต้นสำหรับการวิเคราะห์ข้อมูล
หน่วยที่ 1 ข้อมูลทางการตลาด. สาระการเรียนรู้ 1. ความหมายของข้อมูลทางการตลาด 2. ความสำคัญของข้อมูลทางการตลาด 3. ประโยชน์ของข้อมูลทางการตลาด 4. ข้อจำกัดในการหาข้อมูลทาง.
การวิเคราะห์และการแปลผล
งานวิจัยเพื่อจบหลักสูตร บัญชีมหาบัณฑิต (บช.ม.) มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
บทที่ 1 สถาปัตยกรรมของระบบฐานข้อมูล (Database Architecture)
รูปแบบการเขียนบทที่ 3.
ACCOUNTING FOR INVENTORY
สถิติที่ใช้ในงาน การวิจัยเชิงปริมาณ
การศึกษาอุบัติการณ์และปัจจัยเสี่ยงการเกิดพิษต่อตับ ในผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ที่ได้รับยาต้านไวรัสเอชไอวี โรงพยาบาลวารินชำราบ.
การบัญชีต้นทุนช่วง (Process Costing).
สถิติเพื่อการวิจัยและ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ
บทที่ 11 สถิติเชิงสรุปอ้างอิง
เรื่อง ความพึงพอใจต่อการให้บริการห้องสมุด
บทที่ 8 การควบคุมโครงการ
เรื่อง ศึกษาตัวกลางที่เหมาะสมกับการชุบแข็งของเหล็กกล้าคาร์บอน
การเลือกใช้สถิติเพื่อการวิจัย
กรณีศึกษา : นักเรียน ระดับ ปวช.2 สาขาวิชาการบัญชี
ทำการวิจัยโดย นางรุ่งนภา ทินช่วย
ผู้วิจัย นายอภิสิทธิ์ แก้วฟู วิทยาลัยอาชีวศึกษาจันทร์รวี
ชื่อผลงานวิจัย การพัฒนาความสามารถด้านการพูดนำเสนอโปรแกรมท่องเที่ยวโดยใช้การสอนแบบบทบาทสมมุติ วิชาการตลาดเพื่อการท่องเที่ยวของนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรชั้นปีที่
Ph.D. (Health MS.Health การประเมินผลการสร้างเสริมสุขภาพประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง The Health Promotion.
บทที่ 9 กรรมวิธีทางข้อมูล
โดย นางสาวนิรมล บุรกรณ์
Chapter 3: Measures of Central Tendency and Measure of Dispersion
SMS News Distribute Service
สถิติเพื่อการวิจัยทางการเกษตร STATISTICS FOR AGRICULTURAL RESEARCH
นางสาวปัณยตา หมื่นศรี
ดร.นพ.วรสิทธิ์ ศรศรีวิชัย มูลนิธิสุขภาพภาคใต้
วัฏจักรหิน วัฏจักรหิน : วัดวาอาราม หินงามบ้านเรา
หลัก MAX MIN CON การออกแบบแผนการวิจัยเชิงทดลอง
กิตติกรรมประกาศ งานวิจัยนี้สำเร็จได้ด้วยความอนุเคราะห์ของบุคคลหลายท่านซึ่งไม่สามารถกล่าวไว้ในที่นี้ได้ทั้งหมดทุกท่าน ซึ่งท่านแรก ผู้จัดทำต้องขอขอบคุณ.
การสร้างแบบสอบถาม และ การกำหนดเงื่อนไข.
จุดมุ่งหมายทางการศึกษา และ จุดประสงค์การเรียนรู้
BASIC STATISTICS MEAN / MODE / MEDIAN / SD / CV.
การวิจัยทางการท่องเที่ยว
การเปลี่ยนแปลงประมาณการทางบัญชี และข้อผิดพลาด
Chapter 9: Chi-Square Test
Chapter 7: Hypothesis Testing
งานนำเสนอสำหรับโครงการ นิทรรศการวิทยาศาสตร์
หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 การออกแบบและวางแผนในการเก็บรวบรวมข้อมูล
หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 การกำหนดประเด็นปัญหา
การจัดทำแผนการสอบบัญชีโดยรวม
การประเมินผลโครงการ บทที่ 9 ผศ.ญาลดา พรประเสริฐ yalada.
Control Chart for Attributes
การเขียนโปรแกรมด้วยภาษาไพทอน การเขียนโปรแกรมแบบทางเลือก
การกระจายอายุของบุคลากร วิทยาลัยดุริยางคศิลป์
โครงการถ่ายทอดเทคโนโลยีถนนรีไซเคิลเพื่อลดขยะพลาสติกใน 4 ภูมิภาค
ทายสิอะไรเอ่ย ? กลม เขียวเปรี้ยว เฉลย ทายสิอะไรเอ่ย ? ขาว มันจืด เฉลย.
Ph.D. (Health MS.Health การประเมินผลการสร้างเสริมสุขภาพประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง The Health Promotion.
กระดาษทำการ (หลักการและภาคปฏิบัติ)
การใช้ระบบสารสนเทศในการวิเคราะห์ข่าว
สถิติเพื่อการวิจัย อัญชลี จันทาโภ.
การวิเคราะห์ความแปรปรวน
ใบสำเนางานนำเสนอ:

การวิเคราะห์แปลผลข้อมูล - การวิเคราะห์ แปลผลและการนำเสนอข้อมูลโดยใช้สถิติบรรยาย - การวิเคราะห์ แปลผลและการนำเสนอข้อมูลโดยใช้สถิติอ้างอิง - การประมวลผลข้อมูล

สถิติ (Statistics) เครื่องมือสำคัญสำหรับการวิเคราะห์ข้อมูล คือ “สถิติ” ข้อมูลหรือข้อเท็จจริงที่อาจเป็นตัวเลขหรือตัวอักษรก็ได้ ที่เก็บรวบรวมมาได้ โดยเดิมนั้นสถิติมีรากศัพท์มาจากคำว่า State คือ Facts of state ซึ่งหมายถึง ข้อมูลที่เกี่ยวข้องหรือเป็นประโยชน์ต่อการบริหารงานของรัฐ

ศาสตร์ที่ว่าด้วยการหาข้อเท็จจริง ด้วยการรวบรวมข้อมูลแล้วนำมาวิเคราะห์เพื่อหาข้อสรุป โดยมีกระบวนการศึกษาข้อมูล 4 ขั้นตอน คือ 1.การเก็บรวบรวมข้อมูล Data collection 2.การประมวลและนำเสนอข้อมูล Data Processing & Presentation 3.การวิเคราะห์ข้อมูล Data Analysis 4.การตีความข้อมูล Data Interpretation

ประเภทของสถิติ สถิติเชิงพรรณนา หรือสถิติบรรยาย Descriptive Statistics สถิติเชิงอนุมาน หรือสถิติอ้างอิง Inferential Statistics

หลักเกณฑ์พื้นฐานเกี่ยวกับการวัด ระดับการวัดมี 2 ประเภท 1. การวัดเชิงคุณภาพ Qualitative scale ข้อมูลที่วัดจะมีลักษณะไม่ต่อเนื่องกัน (category scale) แบ่งระดับการวัดออกได้ 2 ระดับ 2. การวัดเชิงปริมาณ Quantitative scale ข้อมูลที่วัดจะมีลักษณะต่อเนื่องกัน (continuous scale)

ระดับการวัด มาตรานามบัญญัติ norminal or classificatory scale คุณสมบัติ : เป็นตัวเลข จัดแบ่งกลุ่ม ประเภทตามที่ผู้วิจัยต้องการศึกษา เช่น เพศ (ชาย =1 ,หญิง =2) สถิติที่ใช้ : ความถี่ ร้อยละ สัดส่วน ฐานนิยม การทดสอบไคสแควร์ การทดสอบสัดส่วน-ประชากร

มาตราเรียงลำดับ Ordinal or ranking scale คุณสมบัติ : เป็นตัวเลขที่แบ่งกลุ่มประเภทได้ และสามารถบอกความมากน้อยของแต่ละกลุ่มได้ เช่น ระดับการศึกษา (ประถม = 1 , มัธยม = 2 , อุดมศึกษา = 3) สถิติที่ใช้ : ความถี่ ร้อยละ ฐานนิยม มัธยฐาน เปอร์เซ็นต์ไทล์ ไคสแควร์ สหสัมพันธ์ตำแหน่งของสเปียร์แมน

มาตราอันตรภาค Interval scale คุณสมบัติ : เป็นตัวเลขหรือคะแนนที่ใช้วัดแต่ละช่วงแบ่งที่มีขนาดเท่ากัน “ไม่มีจุดศูนย์แท้” มากน้อยกว่ากันเท่าไรไม่ทราบ เช่น อุณหภูมิ 28.5°c คะแนนความรู้เรื่องโรคเอดส์ 65% สถิติที่ใช้ : ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ฐานนิยม มัธยฐาน ค่าการกระจาย(พิสัย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ความแปรปรวน สปส.ความผันแปร) การวิเคราะห์ความแปรปรวน

มาตราอัตราส่วน Ratio scale คุณสมบัติ : มีครบถ้วนทุกระดับ “มีจุดศูนย์แท้” ทราบว่ามากน้อยกว่ากันเท่าไร เช่น ส่วนสูง 179 ซม. ระยะเวลาเป็น วินาที นาที ชั่วโมง วัน เป็นต้น สถิติที่ใช้ : เช่นเดียวกับมาตราอันตรภาค

สถิติบรรยาย เป็นสถิติที่ใช้วิเคราะห์เพื่อดูลักษณะทั่วไปของข้อมูลที่ได้จากกลุ่มตัวอย่างเพื่อให้ทราบลักษณะพื้นฐานของกลุ่มตัวอย่างว่าเป็นอย่างไร มีความคล้ายคลึงหรือแตกต่างจากที่คาดการณ์ไว้หรือไม่

สถิติบรรยายที่ใช้ในงานวิจัยทั่วไป การแจกแจงความถี่ การหาค่าร้อยละ การหาค่าสัดส่วน การวัดค่าตัวกลาง การวัดการกระจายของข้อมูล

1. การแจกแจงความถี่ (frequency distribution) เป็นการจัดตัวเลขให้เป็นหมวดหมู่ เพื่อให้ทราบว่าตัวเลขใด/ ข้อมูลใด ซ้ำกันบ้าง และซ้ำกันกี่ครั้ง วิธีการแจกแจงความถี่อาจแบ่งได้ 2 วิธีคือ 1.1 การแจกแจงความถี่ชนิดง่ายไม่จัดเป็นชั้นหรือกลุ่ม (ungrouped data) เป็นการเรียงข้อมูลที่ต่างกันไว้แล้วตรวจนับว่าข้อมูลที่ซ้ำกันมีกี่จำนวน ก็จะได้ความถี่ของข้อมูลแต่ละจำนวนนั้น

1.2 การแจกแจงความถี่แบบจัดข้อมูลเป็นชั้นหรือกลุ่ม (grouped data) เป็นการแจกแจงความถี่ที่นำข้อมูลมาเรียงจากน้อยไปมาก แล้วจัดข้อมูลเป็นกลุ่มหรือชั้น แล้วตรวจนับว่าในแต่ละชั้นมีจำนวนที่ซ้ำกันกี่จำนวน มีหลักการแจกแจงดังนี้

หาค่าต่ำสุด และสูงสุด หาค่าพิสัย (สูงสุด – ต่ำสุด) กำหนดขนาดของชั้นว่าจะให้กว้างเท่าใด (อันตรภาคชั้น) คำนวณหาจำนวนชั้น = ค่าพิสัย / อันตรภาคชั้น เขียนชั้นของข้อมูลให้ครอบคลุม ตรวจนับข้อมูลแต่ละชั้น ก็จะได้ความถี่ของแต่ละชั้น

2. การหาค่าร้อยละ (Percentage) การนำค่าความถี่หรือจำนวนนับของข้อมูลแต่ละประเภทมาเทียบกับฐานซึ่งมีค่า = 100 สูตรคำนวณ = ความถี่ (100) จำนวนรวมทั้งหมด หรือ = f (100) n

3. การหาค่าสัดส่วน (Proportion) การเปรียบเทียบค่าความถี่ของข้อมูลที่ผู้วิจัยสนใจกับจำนวนรวมทั้งหมด การหาค่าสัดส่วนใช้กับข้อมูลเชิงคุณภาพที่มีการวัดระดับนามบัญญัติ ที่มีการแจกแจงแบบทวินาม (binomial distribution) คือลักษณะที่ศึกษาแบ่งออกได้ 2 กลุ่ม เช่น การคลอดบุตรเป็นเพศชาย / หญิง เป็นต้น

สูตรคำนวณ ค่าสัดส่วนของตัวแปร = จำนวนความถี่ของข้อมูลที่สนใจ จำนวนข้อมูลทั้งหมด

4. การวัดค่าตัวกลาง หรือการวัดแนวโน้มเข้าสู่ส่วนกลาง เป็นสิ่งที่บอกลักษณะเบื้องต้นของข้อมูล ตัวกลางที่นิยมใช้กันมากในงานวิจัย ได้แก่ 4.1 ตัวกลางเลขคณิต (arithmetic mean) 4.2 มัธยฐาน (median) 4.3 ฐานนิยม (mode)

4.1 ตัวกลางเลขคณิต (mean) เป็นข้อมูลที่อยู่ในระดับมาตราอันตรภาค หรืออัตราส่วน ข้อมูลชุดนั้นมีการกระจายปกติ ไม่มีคะแนนที่มีค่าสูงมาก หรือต่ำมาก

สูตร x = x n x = ค่าเฉลี่ย  = ค่าสังเกตรวม x = ค่าสังเกตแต่ละค่า n = จำนวนค่าสังเกตทั้งหมด

4.2 มัธยฐาน (median) หมายถึง ค่าตัวกลางที่มีตำแหน่งอยู่ตรงกลางเมื่อเรียงข้อมูลตามลำดับจากน้อยไปมาก ซึ่งค่า มัธยฐานมักจะใช้เป็นตัวแทนของข้อมูลที่มีลักษณะดังนี้ เป็นข้อมูลที่อยู่ในระดับอันตรภาคหรืออัตราส่วน ข้อมูลชุดนั้นมีการกระจายเบ้ไปด้านใดด้านหนึ่ง

การหาตำแหน่งค่ามัธยฐาน จำนวนคี่ = (n + 1) 2 จำนวนคู่ = n

4.3 ฐานนิยม (mode) หมายถึง ค่าคะแนนหรือค่าข้อมูลที่มีความถี่สูงสุด หรือมีจำนวนสูงสุดในข้อมูลชุดนั้น ซึ่งค่าฐานนิยมใช้เป็นตัวแทนของข้อมูลที่มีลักษณะดังนี้ เป็นข้อมูลทุกระดับตั้งแต่นามบัญญัติขึ้นไป ข้อมูลที่มีการกระจายทุกลักษณะ

5. การวัดการกระจายของข้อมูล เป็นวิธีการทางสถิติเพื่อหาค่าที่นำมาอธิบายความแตกต่างหรือความใกล้เคียงกันของค่าคะแนนในข้อมูลแต่ละชุด วิธีการวัดการกระจายของข้อมูลมีหลายวิธี ได้แก่ พิสัย (range) คือค่าความแตกต่างระหว่างค่าสูงสุดและค่าต่ำสุดของข้อมูล ตัวอย่างการหาค่าพิสัย พิสัยอายุผู้ป่วย คือ 72-14 = 58 ปี

5.2 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (standard diviation : SD) คือ ค่าที่บอกว่าข้อมูลชุดนั้นมีการกระจายหรือเบี่ยงเบนไปจากค่าเฉลี่ย โดยเฉลี่ยเป็นจำนวนเท่าใด ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเป็นค่าการวัดการกระจายที่นิยมใช้มากที่สุด โดยใช้ควบคู่กับค่าเฉลี่ย

สถิติอ้างอิง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างที่ได้ เพื่อนำไปอ้างอิงยังกลุ่มประชากรที่มีลักษณะเช่นเดียวกับกลุ่มตัวอย่าง หรือประชากรเป้าหมาย

การใช้สถิติอ้างอิงทำได้ 2 ลักษณะ คือ การทดสอบสมมติฐาน การประมาณค่าประชากร หรือค่าพารามิเตอร์ งานวิจัยทางการพยาบาลส่วนใหญ่จะใช้สถิติอ้างอิงในการทดสอบสมมติฐาน

การทดสอบสมมติฐาน (hypothesis testing) เป็นขบวนการทดสอบสมมติฐานทางสถิติ (statistical hypothesis) เพื่อนำไปสู่การสรุป ตัดสินใจว่าสมมติฐานการวิจัย (research hypothesis) ที่ตั้งไว้เกี่ยวกับประชากรที่ศึกษานั้น ถูกต้องเป็นจริงหรือไม่ อย่างไร

สมมติฐานการวิจัย : การคาดคะเนคำตอบของปัญหาการวิจัย สมมติฐานทางสถิติ : เขียนขึ้นในรูปของประโยคสัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์ เพื่อให้สามารถทดสอบโดยใช้วิธีการทางสถิติได้

การทดสอบสมมติฐานทางสถิติ สมมติฐานศูนย์/ไม่แตกต่าง (null hypothesis : Ho) ไม่มีความแตกต่างหรือไม่มีความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรที่ศึกษา เช่น Ho : µ 1 = µ2 หรือ µ 1 - µ2 = 0 สมมติฐานเลือก (altertive hypothesis :H1, Ha) การทดสอบแบบสองทาง H1 : µ 1  µ2 หรือ µ 1 - µ2  0 การทดสอบแบบทางเดียว H1 : µ 1 > µ2 หรือ µ 1 < µ2

ศัพท์ที่เกี่ยวข้องกับการทดสอบสมมติฐาน ระดับนัยสำคัญ (Level of significance) ค่าวิกฤต (critical value) ความน่าจะเป็น ความคาดเคลื่อนจากการทดสอบฯ ชั้นแห่งความเป็นอิสระ (degree of freedom) ทิศทางการทดสอบสมมติฐาน

ระดับนัยสำคัญ (Level of significance) ความมีนัยสำคัญ  (alpha) = การกำหนดขอบเขตของความคาดเคลื่อนที่ยอมให้เกิดในการทดสอบสมมติฐาน โดยทั่วไป  = .05 หรือ .01

ค่าวิกฤต critical value & ขอบเขตวิกฤต ขอบเขตของการตัดสินใจว่าจะปฏิเสธหรือยอมรับ H1 ขึ้นอยู่กับ ค่าสถิติจากตารางภายใต้เงื่อนไขของการใช้สถิตินั้นๆ ชนิดของการทดสอบว่าเป็นทางเดียวหรือสองทาง ระดับความมีนัยสำคัญที่กำหนดไว้

ยอมรับ Ho ค่าวิกฤต

การตัดสินใจยอมรับ Ho หรือปฏิเสธ Ho ค่าวิกฤต คอมพิวเตอร์ P > .05 P ≤ .05

ความคาดเคลื่อนจากการทดสอบสมมติฐาน มี 2 แบบ Type І error : α Type П error : β การตัดสินใจ Ho เป็นจริง Ho ไม่จริง เชื่อตาม Ho ตัดสินใจถูก ผิดพลาดแบบ 2 β ไม่เชื่อตาม Ho ผิดพลาดแบบ 1 α

ชั้นแห่งความเป็นอิสระ จำนวนข้อมูลที่มีความเป็นอิสระในการถูกเลือก การคำนวณ ถ้าข้อมูล 1 มิติ df = n-1 ถ้าข้อมูล 2 มิติ df = (r-1) (c-1) r = row, c = colum

การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ การเปรียบเทียบ t-test , one way ANOVA การหาความสัมพันธ์ correlation การทดสอบไคสแควร์

การวิเคราะห์ข้อมูลด้วย t-test ข้อมูลหรือตัวแปรที่ศึกษาต้องอยู่ในระดับการวัดเป็นระดับช่วง หรือมาตราอันตรภาคขึ้นไป ต้องการทดสอบค่าเฉลี่ยของข้อมูลแต่ไม่เกิน 2 กลุ่ม ตัวอย่างนั้นต้องได้มาจากการสุ่ม และมีการกระจายเป็นโค้งปกติ จำนวนตัวอย่างไม่ควรต่ำกว่า 10

การทดสอบค่าเฉลี่ยหนึ่งกลุ่มตัวอย่าง (one sample t-test) เป็นการทดสอบว่าค่าเฉลี่ยของข้อมูลเพียง 1 กลุ่ม แตกต่างจากค่าเฉลี่ยของกลุ่มประชากรที่เคยศึกษาหรือระบุไว้หรือไม่

การแปลผล : ยอมรับ H1 (P< .05)

การทดสอบค่าเฉลี่ย 2 กลุ่มตัวอย่าง กลุ่มตัวอย่างที่เป็นอิสระจากกัน (Independent sample t-test) ข้อตกลงเบื้องต้น กลุ่มตัวอย่างทั้ง 2 กลุ่มได้สุ่มเลือกมาอย่างอิสระจากกัน ประชากรของกลุ่มตัวอย่างมีการกระจายแบบโค้งปกติ ความแปรปรวนของกลุ่มตัวอย่างทั้ง 2 กลุ่ม เท่ากัน

ความแปรปรวนไม่เท่ากัน : p< .05

กลุ่มตัวอย่างที่ไม่เป็นอิสระจากกัน (dependent or related or paired sample t-test) ข้อมูลที่เก็บรวบรวมได้ไม่เป็นอิสระจากกัน อาจโดยวิธีจับคู่ระหว่างกลุ่มที่มีลักษณะคล้ายคลึงกัน เช่น ฝาแฝดเหมือน หรือกลุ่มตัวอย่างชุดเดียวกันที่ทำการศึกษา 2 ครั้ง เช่น การทดสอบก่อนและหลังการทดลอง การวัดความดันโลหิตก่อนและหลังให้ยา

ตารางเปรียบเทียบคะแนนความรู้หลังให้ความรู้ ผลการวิเคราะห์ ตารางเปรียบเทียบคะแนนความรู้หลังให้ความรู้ คะแนน N x SD t Sig ก่อนให้ความรู้ 170 13.15 3.427 2.039 .043 หลังให้ความรู้ 13.38 3.256 จากตารางแสดงคะแนนความรู้ก่อนให้ความรู้มีค่าเฉลี่ย 13.15 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 3.427 ส่วนคะแนนควานรู้หลังให้ความรู้มีค่าเฉลี่ย 13.38 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 3.256 การแปลผล จากตารางหมายความค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้ก่อนและหลังให้ความรู้แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (t = 2.039 p = .043)

การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว One – way analysis of variance : One-way ANOVA ข้อตกลงเบื้องต้น เป็นการทดสอบความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยของประชากรตั้งแต่ 3 กลุ่มขึ้นไป ตัวแปรต้น : norminal ขึ้นไป ตัวแปรตาม : interval ขึ้นไป 3. กลุ่มตัวอย่างแต่ละกลุ่มต้องมีอิสระจากกัน 4. ความแปรปรวนของประชากรเท่ากัน

การแปลผล : ไม่แตกต่าง p > .05

การหาความสัมพันธ์ การวิเคราะห์สหสัมพันธ์ (correlation) สหสัมพันธ์ เป็นวิธีทางสถิติเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูล 2 ชุด ซึ่งข้อมูลทั้งสองชุดต้องเป็นข้อมูลเชิงปริมาณ

สัมประสิทธ์สหสัมพันธ์ (correlation coefficient : r)

สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน Pearson product-moment correlation coefficient) ข้อตกลงเบื้องต้น ต้องการศึกษา คสพ.ระหว่างตัวแปร 2 ตัว (ต้น,ตาม) ตัวอย่างได้จากการสุ่ม ตัวแปรทั้ง 2 มีการวัดอยู่ในระดับช่วง (interval) การกระจายของประชากรเป็นโค้งปกติ ตัวแปรทั้ง 2 มี คสพ. เป็นแบบเส้นตรง

ระดับความสัมพันธ์ของค่าสหสัมพันธ์ (Hinkle, 1988) ค่า r ระดับความสัมพันธ์ 0.00-0.30 ต่ำมาก 0.31-0.50 ต่ำ 0.51-0.70 ปานกลาง 0.71-0.90 สูง 0.91-1.00 สูงมาก

การแปลผล : ไม่มีความสัมพันธ์กัน p > .05

การทดสอบไคสแควร์ (Chi-square test : :λ2 Tests) การทดสอบไคสแควร์ เป็นวิธีการทดสอบทางสถิติอย่างหนึ่งสำหรับข้อมูลไม่ต่อเนื่องที่มีการวัดระดับมาตรานามบัญญัติ โดยนำข้อมูลที่รวบรวมได้มาจัดกลุ่มเพื่อหาค่าความถี่หรือจำนวนนับของแต่ละกลุ่มแล้วจึงนำความถี่ไปทำการทดสอบ

ข้อตกลงเบื้องต้นในการใช้สถิติไคสแควร์ ข้อมูลอยู่ในรูปของความถี่ ใช้กับข้อมูลในระดับนามมาตราหรืออันดับมาตรา ซึ่งเป็นข้อมูลที่มีลักษณะแยกจากกัน เมื่อใช้ไคสแควร์ทดสอบ (กรณีกลุ่มตัวอย่างมากกว่า 1 กลุ่ม ) ควรคำนึงถึง 3.1 ค่าความถี่จากความคาดหวัง (E) ในแต่ละเซลล์(cell) ควรมีค่ามากกว่า 5 หรือต่ำกว่า 5 ไม่เกิน 20% 3.2 กลุ่มตัวอย่างที่ต้องการทดสอบควรมีความเป็นอิสระต่อกัน

ข้อควรระวังในการวิเคราะห์ข้อมูล วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลที่ขาดประสิทธิภาพ การใช้ศัพท์เฉพาะที่ขาดความคงเส้นคงวา เลือกตัวอย่าง : ขาดความเป็นตัวแทนที่ดี เลือกวิธีวิเคราะห์ไม่เหมาะสมกับข้อมูล ผิดข้อตกลงเบื้องต้นในการนำสถิตินั้นมาใช้ สรุปผิด การนำเสนอขาดความชัดเจน ระวัง !!! การใช้ข้อมูลทุติยภูมิ

การประมวลผลข้อมูล การประมวลผลข้อมูล (data processing) หมายถึง การนำข้อมูลที่ได้จากการจัดเก็บรวบรวม ข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง มาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของข้อมูล โดยจัดให้อยู่ในระเบียบวิธีที่เหมาะสม และพร้อมที่จะนำไปวิเคราะห์หาคำตอบตามปัญหาการวิจัย หรือนำผลที่ได้ใช้ไปตัดสินใจตามวัตถุประสงค์การวิจัยที่กำหนดไว้ (เพชรน้อย สิงห์ช่างชัย ,ศิริพร ขัมภลิขิต และทัศนีย์ นะแส ,2539)

การลงรหัสข้อมูล : Code book ส่วนที่ 1 ข้อมูลส่วนบุคคล อายุ..... ปี ; age (จำนวนจริง) สถานภาพสมรส ; mar 1 = โสด 2 = คู่ 3 = หม้าย 4 = หย่า 5 = แยก 3. รายได้ ; income 1 = 1000-3000 บาท/เดือน 2 = 3001-6000 บาท/เดือน 3 = มากกว่า 6000 บาท/เดือน

โครงสร้างแฟ้มข้อมูล 1 อายุ 2 สถานภาพสมรส 1-5 3 รายได้ 1-3 A1 4 X,SD A2 ส่วนที่ ข้อที่ ชื่อตัวแปร ใช้คอลัมภ์ ที่ จำนวนหลักในแต่ละคอลัมภ์ ขอบเขตของตัวแปร สถิติที่ต้องการหา 1 อายุ 2 18-60 N,ร้อยละ สถานภาพสมรส 1-5 3 รายได้ 1-3 A1 4 X,SD A2 5 A3 6 20 A20 23

ตัวอย่างตารางเปล่า (dummy table) ตารางที่ 1 จำนวนและร้อยละของกลุ่มตัวอย่างจำแนกตามข้อมูลทั่วไป ข้อมูลทั่วไป จำนวน (n= 50) ร้อยละ เพศ ชาย หญิง ชั้นปีที่ศึกษา ปี 1 ปี 2 ปี 3 ปี 4

แบบฝึกหัด