งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

บทที่ 9 กรรมวิธีทางข้อมูล

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "บทที่ 9 กรรมวิธีทางข้อมูล"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 บทที่ 9 กรรมวิธีทางข้อมูล
บทที่ 9 กรรมวิธีทางข้อมูล หลังจากเก็บรวมรวมข้อมูลแล้ว ขั้นตอนต่อมาก็คือการ เตรียมการก่อนนำข้อมูลมาทำการวิเคราะห์ โดยจะต้องมี การแปลงข้อมูลจากแบบสอบถาม การสัมภาษณ์ หรือการ สังเกตให้อยู่ในรูปแบบที่เครื่องคอมพิวเตอร์สามารมนำไป ทำการประมวลผลได้

2 ความหมายของกรรมวิธีทางข้อมูล
การดำเนินกรรมวิธีทางข้อมูล หมายถึง การเตรียมการกับ ข้อมูลอย่างมีระบบเพื่อให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้องและพร้อมที่จะ นำไปวิเคราะห์หรือประมวลผลโดยใช้คอมพิวเตอร์

3 ตัวอย่างบางส่วนของผู้ตอบแบบสอบถาม
ตอนที่ 1. ข้อมูลส่วนตัวผู้ตอบแบบสอบถาม ตัวอย่างบางส่วนของผู้ตอบแบบสอบถาม 1. เพศ [ ] 1 ชาย [ ] 2 หญิง 2. อายุ ………..ปี 3. ระดับการศึกษาสูงสุด [ ] 1 ต่ำกว่าปริญญาตรี [ ] 2 ปริญญาตรี [ ] 3 ปริญญาโท [ ] 4 ปริญญาเอก 4. สถานภาพการสมรส [ ] 1 โสด [ ] สมรส [ ] 3 หม้าย [ ] หย่าร้าง 5. รายได้ต่อเดือน ………………….บาท

4 ข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ตอบแบบสอบถาม
คำถาม ชื่อตัวแปร รายการข้อมูล ขนาดตัวแปร ค่าที่เป็นไปได้ ข้อสังเกต SEX เพศ ชาย (Male) เลือกได้คำตอบเดียว และความหมาย (จำนวนหลัก/ช่อง) AGE อายุ ปี (จำนวนเต็ม) ระบุอายุตามจริง 2. หญิง (Female) 9. ไม่ตอบ (No Answer) (99 ไม่ตอบ) EDUCA การศึกษา ต่ำกว่าปริญญาตรี เลือกได้คำตอบเดียว 2. ปริญญาตรี 3. ปริญญาโท 4. ปริญญาเอก STATUS สถานภาพสมรส โสด เลือกได้คำตอบเดียว 2. แต่งงาน 3. หม้าย 4. หย่า INCOME รายได้ต่อเดือน ระบุตามเป็นจริง

5 ขั้นตอนของกรรมวิธีทางข้อมูล
ข้อมูลที่อยู่ใน แบบสอบถาม ขั้นตอนของกรรมวิธีทางข้อมูล บรรณาธิกรข้อมูลเบื้องต้น สร้างรหัสสำหรับข้อมูล สร้างคู่มือการลงรหัส ลงรหัสข้อมูล บันทึกข้อมูลลงคอมพิวเตอร์ บรรณาธิกรข้อมูลที่เก็บไว้ในคอมพิวเตอร์

6 บรรณาธิกรข้อมูลเบื้องต้น
การตรวจแก้ไขข้อมูลในรอบแรก เช่น ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลถ้าผู้ตอบตอบว่าอายุ 16 ปี มีบุตร 4 คน แสดงว่าอาจจะมีคำตอบอายุหรือจำนวนบุตรผิดพลาด การให้หมายเลขประจำตัวในแบบสอบถาม ควรจะมีการให้หมายเลขประจำตัว (Identification number) ในแต่ละชุดของแบบสอบถามเพื่อประโยชน์ในการตรวจบรรณาธิกรณ์ข้อมูลและการบันทึกข้อมูล

7 บรรณาธิกรข้อมูลเบื้องต้น
3. การจัดเก็บแบบสอบถามรวมกันเป็นชุด เพื่อสะดวก ในการทวนนับหรือการแบ่งข้อมูลจากแหล่งจาก ต่างๆ ได้ง่ายและสะดวกในการตรวจสอบย้อนหลัง ได้ง่าย

8 สร้างรหัสสำหรับข้อมูล
1. การกำหนดรหัสให้กับหมายเลขแบบสอบถาม เช่น ID ID 2. การกำหนดรหัสให้กับคำถาม เช่น 2.1 คำถามปลายปิด (close end Question) คำตอบที่มีเพียงคำตอบให้เลือกเพียง 2 คำตอบ (Dichotomous Question) รหัสที่ใช้จะเป็นเพียง 0 กับ 1 มี 2 ค่า แต่ตัวแปรในช่องที่คีย์ข้อมูลตัวแปรเท่ากับ 1 คอลัมน์ เช่น เพศ [ ] 1. ชาย [ ] 2. หญิง

9 การประมวลผลข้อมูล คือ การจัดการกับข้อมูลอย่างมีระบบด้วยคอมพิวเตอร์ เพื่อให้ข้อมูล ที่ได้รับการประมวลผลแล้ว อยู่ในรูปแบบที่สามารถนำไปใช้งาน ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

10 แสดงขั้นตอนของการประมวลผล
1. การเตรียมข้อมูลนำเข้า 2. การประมวลผล 3.การแสดงผลลัพธ์ Input Data Processing Output Data - กราฟ ตาราง รายงาน - การเก็บรวบรวมข้อมูล การเปลี่ยนสภาพข้อมูล - การลงรหัส การบรรณาธิกรณ์ การแปรสภาพข้อมูล - การดึงข้อมูล เรียงลำดับข้อมูล การรวมข้อมูล การคำนวณและการเปรียบเทียบ

11 1. การเตรียมข้อมูลเพื่อการประมวลผล
1. การเตรียมข้อมูลเพื่อการประมวลผล การเก็บรวบรวมข้อมูล ข้อมูลที่เก็บรวบรวมอาจได้จากเอกสารต่าง ๆ ซึ่งเป็นข้อมูลทุติยภูมิ หรือเป็นข้อมูลปฐมภูมิ ข้อมูลปฐมภูมิส่วนมาก มักจะใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูล

12 2. การเปลี่ยนสภาพข้อมูล (Data Conversion) เป็นการเปลี่ยนของข้อมูลที่เก็บรวมรวบให้ได้อยู่ในรูปแบบที่สะดวกต่อการนำไปประมวลผล หรือวิเคราะห์ อาจประกอบด้วย 2.1 การลงรหัส (Coding) เป็นการเปลี่ยนรูปแบบข้อมูลโดยให้รหัสแทนข้อมูล เช่น ใช้รหัสตัวแทนแทนข้อมูลเชิงกลุ่ม เช่น อาชีพ 1 แทน อาชีพข้าราชการ 2 แทน อาชีพพนักงานเอกชน

13 2.2 การบรรณาธิกร (Editing) เป็นการตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลที่ได้แปลงให้เป็นรูปรหัสแล้ว นอกจากนั้น ควรตรวจสอบความสมบูรณ์ครบถ้วนของข้อมูล และแก้ไขปรับปรุงให้ถูกต้อง เช่น ถ้าผู้ตอบตอบว่าอายุ 19 ปี แต่มีประสบการณ์ทำงาน 25 ปี แสดงว่าเป็นไปไม่ได้ 2.3 การแปรสภาพข้อมูล (Transforming) เป็นการเปลี่ยนรูปแบบของข้อมูลเพื่อให้สะดวกในการวิเคราะห์ หรือประมวลผล

14 2. การประมวลผลข้อมูล (Data Processing)
เป็นการนำข้อมูลที่ได้เปลี่ยนสภาพแล้วมาวิเคราะห์ ในปัจจุบันจะใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติมาวิเคราะห์ การวิเคราะห์แบ่งเป็น 2 ระดับ 1. การวิเคราะห์ขั้นต้น 2. การวิเคราะห์ขั้นสูง

15 ก. การวิเคราะห์ขั้นต่ำ ประกอบด้วย
ก. การวิเคราะห์ขั้นต่ำ ประกอบด้วย การดึงข้อมูล (Retrieving) เป็นการค้นหาข้อมูลเพื่อนำไปประมวลผลต่อไป หรือเพื่อนำไปใช้งานด้านต่าง ๆ เช่น ต้องการทราบยอดเงินกู้ของลูกค้ารายสำคัญ การเรียงลำดับข้อมูล (Sorting) เป็นการจัดการข้อมูลที่มีลักษณะเดียวกันให้เรียงลำดับตามตัวเลข หรือตัวอักษร เช่น การเรียงชื่อลูกค้าตามตัวอักษร หรือเรียงชื่อลูกค้าตามยอดซื้อ เรียงยอดขายจากมากไปน้อย การรวบรวมข้อมูล (Merging) เป็นการนำข้อมูลตั้งแต่ 2 ชุดขึ้นไปมารวมกันเป็นชุดเดียวกัน เช่น นำยอดขายรายเดือนของเครื่องสำอาง BSC แต่ละสาขามารวมกัน เพื่อจะได้ทราบยอดขายของผลิตภัณฑ์นี้ การคำนวณและเปรียบเทียบ เป็นการคำนวณเบื้องต้น เช่น หายอดรวม การหาผลต่าง เช่น ผลรวมของยอดขายเฉลี่ยของ 2 สาขา

16 ข. การวิเคราะห์ขั้นสูง ประกอบด้วย
ข. การวิเคราะห์ขั้นสูง ประกอบด้วย การประมาณค่า (Estimation) เป็นการประมาณค่าประชากรด้วยค่าตัวอย่าง เช่น สัดส่วนหรือค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าแปรปรวน ซึ่งอาจจะประมาณค่าต่าง ๆ ของประชากรเดียว หรือหลาย ๆ ประชากร การทดสอบสมมติฐาน (Hypothesis Testing) เป็นการทดสอบค่าของประชากร เช่น สัดส่วนของประชากรที่เห็นด้วยกับนโยบายกองทุนหมู่บ้านมากกว่า 60 % หรือไม่ การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของตัวแปร เช่น ต้องการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างยอดขายกับค่าโฆษณา ราคาขาย จำนวนคู่แข่งขัน ฯลฯ การพยากรณ์ เป็นการประมาณการหรือพยากรณ์ค่าของตัวแปรในอนาคต เช่น การพยากรณ์ยอดขายใน 3 ปี ข้างหน้า เทคนิคการวิเคราะห์เชิงลึกแบบอื่น ๆ เช่น Factor Analysis, Discriminant Analysis, Cluster Analysis ฯลฯ

17 3. การแสดงผลลัพธ์ (Output)
หลังจากที่ได้วิเคราะห์ข้อมูลแล้วควรจะต้องจัดหาผลลัพธ์ที่ได้ในรูปแบบที่เข้าใจง่าย เช่น อาจเป็นการรายงานที่ประกอบด้วยตาราง กราฟรูปต่าง ๆ

18 สถิติกับงานวิจัยทางธุรกิจ
วิธีการจัดการข้อมูลโดยเริ่มตั้งแต่การเก็บรวบรวมข้อมูล ไปจนถึงการวิเคราะห์และแปลผลข้อมูล สถิติ การแจกแจงความถี่ (โดยแสดงเป็นร้อยละ) การวัดแนวโน้มเข้าสู่ส่วนกลาง การวัดการกระจายข้อมูล สถิติ เชิงพรรณนา สถิติ เชิงวิเคราะห์ เป็นการนำเสนอข้อมูลที่เก็บรวบรวมมาโดยนำมาบรรยายลักษณะของข้อมูลที่เก็บมาได้แต่ไม่สามารถอ้างอิงถึงข้อมูลในส่วนอื่นๆได้

19 2.การวัดแนวโน้มเข้าสู่ส่วนกลาง เป็นการหาค่ากลางของข้อมูล
สถิติเชิงพรรณนา 1.การแจกแจงความถี่ เป็นการแสดงความถี่ของข้อมูลที่เก็บมาได้จากแบบสอบถาม หรือ แบบสัมภาษณ์มาจัดเป็นระเบียบตามลักษณะของข้อคำตอบในแต่ละคำถามโดยแสดงเป็นจำนวนและร้อยละ 2.การวัดแนวโน้มเข้าสู่ส่วนกลาง เป็นการหาค่ากลางของข้อมูล 2.1 ค่าเฉลี่ย ( Mean)ค่าของข้อมูลจะต้องมีระดับการวัดแบบช่วง 2.2 มัธยฐาน ( Median ) เป็นลักษณะกระจายข้อมูล 2.3 ฐานนิยม (Mode) วิธีการสรุปและพรรณนาข้อมูล 3.การวัดค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน

20 สถิติเชิงวิเคราะห์ เป็นการนำผลข้อมูลที่เก็บมาจากกลุ่มตัวอย่างไปใช้อ้างอิงและอธิบายถึงกลุ่มประชากรทั้งหมด การสรุปผลจะใช้หลักความน่าจะเป็นมาทดสอบสมมติฐาน สถิติเชิงวิเคราะห์แบบมีพารามิเตอร์ สถิติเชิงวิเคราะห์แบบไม่มีพารามิเตอร์ นิยมใช้กับข้อมูลที่มีระดับการวัดตัวแปรเป็นระดับมาตราอันตรภาคและอัตราส่วน ข้อมูลมีการแจกแจงปกติ มีค่าความแปรปรวนไม่แตกต่างกันมาก t - test การวิเคราะห์ความแปรปรวน( ANOVA)

21 สถิติเชิงวิเคราะห์แบบไม่มีพารามิเตอร์
ใช้กับข้อมูลที่มีระดับการวัดมาตรานามบัญญัติ หรือ มาตราเรียงลำดับ และลักษณะของข้อมูลไม่ได้มีการแจกแจงปกติ ได้แก่ Chi-quare แบบทดสอบ t - test นิยมใช้ในการศึกษาเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างตัวกลางของข้อมูลสองชุดที่มีการวัดในระดับช่วง เช่น การเปรียบเทียบระหว่างข้อมูล 2 ชุดในเรื่องของรายได้ จำนวนบุตร

22 ตัวแปรตามต้องมีค่าของข้อมูลที่ได้จากการวัด Interval scale
การวิเคราะห์ความแปรปรวน (Analysis of Variance :ANOVA เป็นการทดสอบความแตกต่างระหว่างตัวแปรอิสระกับตัวแปรตาม ตัวแปรอิสระต้องมีค่าของข้อมูลที่ได้จากการวัด Nominal scale ตัวแปรตามต้องมีค่าของข้อมูลที่ได้จากการวัด Interval scale  ถ้าตัวแปรตามมีค่าของข้อมูลที่ได้จากการวัด Nominal scale ต้องแปลงให้เป็นตัวแปรหุ่น เพื่อให้สามารถกำหนดค่าเป็น 0 และ 1

23 แบบทดสอบไคสแควร์ วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรว่ามีความสัมพันธ์กันหรือมีความแตกต่าง

24 การใช้งานโปรแกรม SPSS เบื้องต้น
ใช้โปรแกรมช่วยในการนำเสนอข้อมูล ใช้โปรแกรมช่วยในการบรรยายลักษณะของข้อมูล ใช้โปรแกรมช่วยในการตรวจสอบข้อมูล และเครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล ใช้โปรแกรมช่วยในการสรุปผลข้อมูล

25 การใช้โปรแกรมช่วยในการนำเสนอข้อมูล
นำเสนอด้วยวิธีการทางสถิติ โดยการนับข้อมูลตามค่าที่เป็นไปได้ ซึ่งเรียกว่าการแจกแจงความถี่ ( แจกแจงความถี่ในรูปของตารางด้วยจำนวนและร้อยละ รวมถึงในรูปของกราฟ) การใช้โปรแกรมช่วยในการบรรยายลักษณะข้อมูล โดยการคำนวณค่า สถิติเบื้องต้น เพื่อใช้ในการบรรยายลักษณะข้อมูล เช่น ค่าเฉลี่ย ค่าฐานนิยม ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

26 การใช้โปรแกรมช่วยในการตรวจสอบข้อมูลและเครื่องมือเก็บข้อมูล
เป็นการใช้โปรแกรมมาช่วยในการตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลโดยการหาความเชื่อมั่นของเครื่องมือ การใช้โปรแกรมช่วยในการสรุปผลข้อมูล เป็นการใช้โปรแกรมมาช่วยในการสรุปผลจากข้อมูลตัวอย่างที่เก็บรวบรวมได้เพื่อนำไปอธิบายข้อมูลทั้งหมด( ประชากร) ซึ่งอาจจะเป็นการประมาณค่า การทดสอบสมมติฐาน การหาความสัมพันธ์

27 การเปลี่ยนค่าของตัวแปร

28 การเปลี่ยนค่าในตัวแปรเดิม

29

30

31

32 การเปลี่ยนค่าไปเก็บไว้ในตัวแปรใหม่

33

34

35

36 การแจกแจงความถี่แบบ Multiple Reponse
เป็นการจำแนกหรือแจกแจงความถี่สำหรับตัวแปรที่มีค่าได้หลายลักษณะ ( ตอบมากกว่า 1 คำตอบ หรือ จัดลำดับ ) ตัวอย่าง รายการโทรทัศน์ใดที่ท่านชอบ 1.ข่าว และ สารคดี 2.ละคร 3.เพลง เกมโชว์ กำหนดรหัสเพียง ไม่เลือก เลือก

37

38 แสดงสถานภาพทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม ในด้านอายุ
ต่ำกว่า 30 ปี 38.40% 50 ปีขึ้นไป 33.33% 30-50 28.28% แผนภูมิที่ 2 แสดงสถานภาพทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถามในด้านอายุ จากแผนภูมิที่ 2 พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่จะมีอายุต่ำกว่า 30 ปี คิดเป็นร้อยละ รองลงมาได้แก่อายุ 50 ปีขึ้นไปคิดเป็นร้อยละ และ น้อยที่สุด ได้แก่อายุระหว่าง คิดเป็นร้อยละ 28.28

39

40

41

42

43

44

45

46

47 2 รูปแบบ การคำนวณหาค่าเฉลี่ย
2 รูปแบบ การคำนวณหาค่าเฉลี่ย 1.ผลของการคำนวณค่าเฉลี่ย ( Mean) ของความพึงพอใจเกี่ยวกับรูปแบบของรายการโดยแสดงเป็นภาพรวมจากคำสั่ง Frequencies 2.การคำนวณหาค่าเฉลี่ย (Mean)แบบจำแนกตามสถานภาพทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถามโดยใช้ Compare Means

48

49

50

51

52

53

54 การรายงานผลจากการคำนวณหาค่าเฉลี่ย(Mean )
คะแนนเฉลี่ย กำหนดให้อยู่ในเกณฑ์ พึงพอใจมากที่สุด คะแนนเฉลี่ย กำหนดให้อยู่ในเกณฑ์ พึงพอใจมาก คะแนนเฉลี่ย กำหนดให้อยู่ในเกณฑ์ พึงพอใจปานกลาง คะแนนเฉลี่ย กำหนดให้อยู่ในเกณฑ์ พึงพอใจน้อย คะแนนเฉลี่ย กำหนดให้อยู่ในเกณฑ์ พึงพอใจน้อยที่สุด


ดาวน์โหลด ppt บทที่ 9 กรรมวิธีทางข้อมูล

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google