พระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ. ศ. 2558 https://www. youtube. com/watch พระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558 https://www.youtube.com/watch?v=Xav9r1nfPDM
ความแตกต่างของ พ.ร.บ.โรคติดต่อ 2523 & 2558 1. ประเภทของโรคติดต่อ พ.ร.บ.โรคติดต่อ 2523 พ.ร.บ.โรคติดต่อ 2558 แบ่งเป็น 3 ประเภท ได้แก่ แบ่งเป็น 4 ประเภท ได้แก่ 1. โรคติดต่อ 2. โรคติดต่อต้องแจ้งความ 2. โรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวัง 3. โรคติดต่ออันตราย 4. โรคระบาด หมายเหตุ: เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ของโรคติดต่อในปัจจุบัน
ความแตกต่างของ พ.ร.บ.โรคติดต่อ 2523 & 2558 2.คณะกรรมการ/คณะทำงาน พ.ร.บ.โรคติดต่อ 2523 พ.ร.บ.โรคติดต่อ 2558 - คณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติ - คณะกรรมการด้านวิชาการ - ไม่มี - - คณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัด - คณะกรรมการโรคติดต่อกทม. - คณะทำงานประจำช่องทางเข้าออก หมายเหตุ:เพื่อให้การกำหนดนโยบาย ระบบ แนวทางปฏิบัติ และแผนปฏิบัติการในการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคติดต่อเป็นระบบยิ่งขึ้น
ความแตกต่างของ พ.ร.บ.โรคติดต่อ 2523 & 2558 3.กลไกการเฝ้าระวังโรคติดต่อ พ.ร.บ.โรคติดต่อ 2523 พ.ร.บ.โรคติดต่อ 2558 เจ้าบ้าน/สถานพยาบาล/สถานที่ชันสูตร สถานประกอบการ แจ้งพนักงานเจ้าหน้าที่/ เจ้าพนักงานสาธารณสุข แจ้งพนักงานควบคุมโรคติต่อ แจ้งคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัด/กทม. แจ้งให้กรมควบคุมโรคทราบทันที หมายเหตุ:เพื่อให้การเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคติดต่อมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น และทัน ต่อสถานการณ์ของโรค
ความแตกต่างของ พ.ร.บ.โรคติดต่อ 2523 & 2558 4.การประกาศโรคระบาด พ.ร.บ.โรคติดต่อ 2523 พ.ร.บ.โรคติดต่อ 2558 ให้อธิบดีมีอำนาจประกาศชื่อ อาการสำคัญ และสถานที่ที่มีการระบาดเกิดขึ้น และมีอำนาจประกาศยกเลิกเมื่อสภาวการณ์ของโรคสงบลง - ไม่มี - หมายเหตุ:เพื่อให้การเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุม และการสอบสวนโรคมีความรวดเร็ว ทันสถานการณ์ และเป็นระบบ
ความแตกต่างของ พ.ร.บ.โรคติดต่อ 2523 & 2558 5. เขตติดโรค พ.ร.บ.โรคติดต่อ 2523 พ.ร.บ.โรคติดต่อ 2558 ให้รัฐมนตรีมีอำนาจประกาศให้ท้องที่หรือ เมืองใดนอกราชอาณาจักรเป็น เขตติดโรคติดต่ออันตราย ให้รัฐมนตรีมีอำนาจประกาศให้ท้องที่หรือ เมืองใดนอกราชอาณาจักรเป็น เขตติดโรคติดต่ออันตราย หรือเขตโรคระบาด หมายเหตุ:เพื่อให้การเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคติดต่อมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น และทัน ต่อสถานการณ์ของโรค
ความแตกต่างของ พ.ร.บ.โรคติดต่อ 2523 & 2558 6. หน่วยปฏิบัติการควบคุมโรคติดต่อ พ.ร.บ.โรคติดต่อ 2523 พ.ร.บ.โรคติดต่อ 2558 อย่างน้อยอำเภอ/เขตละหนึ่งหน่วย - ไม่มี - หมายเหตุ:เพื่อให้การเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคติดต่อมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น และทัน ต่อสถานการณ์ของโรค
ความแตกต่างของ พ.ร.บ.โรคติดต่อ 2523 & 2558 7.หน่วยงานกลางในการเฝ้าระวัง ป้องกัน หรือควบคุมโรคติดต่อ พ.ร.บ.โรคติดต่อ 2523 พ.ร.บ.โรคติดต่อ 2558 ให้กรมควบคุมโรคเป็นหน่วยงานกลาง ในการเฝ้าระวังป้องกัน หรือควบคุม โรคติดต่อ และเป็นสำนักงานเลขานุการของ คณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติ/ กรรมการวิชาการ - ไม่มี - หมายเหตุ:เพื่อให้การประสานงานการทำงานของทุกภาคส่วนมีความชัดเจน เป็นระบบ และสอดคล้อง กับกฎอนามัยระหว่างประเทศ
ความแตกต่างของ พ.ร.บ.โรคติดต่อ 2523 & 2558 8.การเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล พ.ร.บ.โรคติดต่อ 2523 พ.ร.บ.โรคติดต่อ 2558 เปิดเผยเท่าที่จำเป็นเพื่อประโยชน์ในการ ป้องกันควบคุมโรคติดต่อ ตามหลักเกณฑ์วิธีการ และเงื่อนไขที่คณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติกำหนด - ไม่มี - หมายเหตุ:การเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลต้องเป็นไปเท่าที่จ าเป็น เฉพาะเพื่อการคุ้มครองป้องกัน สุขภาพอนามัยของสาธารณชน
ความแตกต่างของ พ.ร.บ.โรคติดต่อ 2523 & 2558 9.การชดเชยความเสียหาย พ.ร.บ.โรคติดต่อ 2523 พ.ร.บ.โรคติดต่อ 2558 ชดเชยความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการเฝ้าระวัง ป้องกัน หรือควบคุมโรคติดต่อ ตามความจำเป็น - ไม่มี - หมายเหตุ:กรณีเกิดความเสียหายจากการเฝ้าระวัง ป้องกัน หรือควบคุมโรคติดต่อ ให้ทางราชการ ชดเชยความเสียหายที่เกิดขึ้นตามความจำเป็น
ความแตกต่างของ พ.ร.บ.โรคติดต่อ 2523 & 2558 10.ด่านควบคุมโรคตดิตอ่ระหว่างประเทศ พ.ร.บ.โรคติดต่อ 2523 พ.ร.บ.โรคติดต่อ 2558 ให้ช่องทางและด่านตรวจคนเข้าเม อง ตามพระราชบัญญัติคนเข้าเม อง พ.ศ. 2522 เป็นด่านควบคุมโรคติดต่อ ระหว่างประเทศ ให้รัฐมนตรีเป็นผู้มีอำนาจประกาศให้ ช่องทางเข้าออกใดเป็นด่านควบคุม โรคติดต่อระหว่างประเทศ หรือยกเลิก ด่านควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศ หมายเหตุ:เพื่อให้รัฐมนตรีโดยคำแนะนำของคณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติเป็นผู้พิจารณาตาม ความเหมาะสม
ความแตกต่างของ พ.ร.บ.โรคติดต่อ 2523 & 2558 11.คณะทำงานประจำช่องทางเข้าออก พ.ร.บ.โรคติดต่อ 2523 พ.ร.บ.โรคติดต่อ 2558 ให้มีคณะทำงานประจำช่องทางเข้าออก ทุกช่องทางเข้าออกที่มีด่านควบคุม โรคติดต่อระหว่างประเทศ - ไม่มี - หมายเหตุ:เพื่อให้การประสานงานการทำงานของทุกภาคส่วนมีความชัดเจนเป็นระบบ และสอดคล้อง กับกฎอนามัยระหว่างประเทศ
ความแตกต่างของ พ.ร.บ.โรคติดต่อ 2523 & 2558 12.หน้าที่ของผู้รับผิดชอบช่องทางเข้าออก พ.ร.บ.โรคติดต่อ 2523 พ.ร.บ.โรคติดต่อ 2558 จัดการสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม สุขาภิบาล อาหาร และสุขาภิบาลน้ำให้ ถูกสุขลักษณะ การจัดสิ่งที่อันอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพ รวม ถึงการจัดยุงและพาหะนำโรค - ไม่มี - หมายเหตุ:เพื่อให้ผู้ที่เกี่ยวข้องมีส่วนร่วมในการป้องกันและควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศ และเพื่อให้ สอดคล้องกับกฎอนามัยระหว่างประเทศ
ความแตกต่างของ พ.ร.บ.โรคติดต่อ 2523 & 2558 13.ผู้บังคับใช้กฎหมาย พ.ร.บ.โรคติดต่อ 2523 พ.ร.บ.โรคติดต่อ 2558 เจ้าพนักงานสาธารณสุข เจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อ หมายเหตุ:เพื่อให้ชื่อตำแหน่งของเจ้าหน้าที่ผู้บังคับใช้กฎหมายสอดคล้องกับอำนาจหน้าที่ตามที่กฎหมาย บัญญัติไว้
ความแตกต่างของ พ.ร.บ.โรคติดต่อ 2523 & 2558 14.เครื่องแบบ เครื่องหมาย บัตรประจำตัว พ.ร.บ.โรคติดต่อ 2523 พ.ร.บ.โรคติดต่อ 2558 จัดการสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม สุขาภิบาล อาหาร และสุขาภิบาลน้ำให้ ถูกสุขลักษณะ การจัดสิ่งที่อันอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพ รวม ถึงการจัดยุงและพาหะนำโรค - ไม่มี - หมายเหตุ:เพื่อให้การปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อเป็นไปอย่างสะดวกและคล่องตัว และเพื่อให้ประชาชนเชื่อมั่นว่าผู้นั้นเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐซึ่งมีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายจริง
ความแตกต่างของ พ.ร.บ.โรคติดต่อ 2523 & 2558 15.บทกำหนดโทษ พ.ร.บ.โรคติดต่อ 2523 พ.ร.บ.โรคติดต่อ 2558 ต่ำสุด - ปรับไม่เกิน 2,000 บาท สูงสุด - จำคุกไม่เกิน 1 ปี เจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อ หรือปรับไม่เกิน 50,000 บาท หมายเหตุ:เพื่อให้ชื่อตำแหน่งของเจ้าหน้าที่ผู้บังคับใช้กฎหมายสอดคล้องกับอำนาจหน้าที่ตามที่กฎหมาย บัญญัติไว้
ความแตกต่างของ พ.ร.บ.โรคติดต่อ 2523 & 2558 16.อำนาจในการเปรียบเทียบบรรดาความผิดตามพระราชบัญญัติ พ.ร.บ.โรคติดต่อ 2523 พ.ร.บ.โรคติดต่อ 2558 กรณีโทษปรับสถานเดียวหรือโทษจำคุก ไม่เกินหนึ่งปี ให้อธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมาย มีอำนาจเปรียบเทียบได้ ตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติกำหนด - ไม่มี - หมายเหตุ: เพื่อให้เหมาะสมกับสถานการณ์ในปัจจุบัน
พระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558 วันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา วันที่ 8 กันยายน 2558 วันที่มีผลใช้บังคับ วันที่ 6 มีนาคม 2559
พระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558 ประกอบด้วย ๙ หมวด 1 บทเฉพาะกาล จำนวน ๖๐ มาตรา หมวด 1 บททั่วไป หมวด 2 คณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติ หมวด 3 คณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัด หมวด 4 คณะกรรมการโรคติดต่อกรุงเทพมหานคร หมวด 5 การเฝ้าระวังโรคติดต่อ หมวด 6 การป้องกันและควบคุมโรคติดต่อ หมวด 7 เจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อ หมวด 8 ค่าทดแทน หมวด 9 บทกำหนดโทษ บทเฉพาะกาล
พระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. ๒๕๕๘ วันที่มีผลใช้บังคับ ๖ มีนาคม ๒๕๕๙ จำนวนมาตรา ๖๐ มาตรา สาระสำคัญ ๑. กำหนดประเภทของโรคติดต่อเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ “โรคติดต่ออันตราย” “โรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวัง” และ “โรคระบาด” 2. เพิ่มคำนิยามใหม่ เช่น “การสอบสวนโรค” “การเฝ้าระวัง” “สุขาภิบาล” “ช่องทางเข้าออก” 3. กำหนดให้มี คณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติ คณะกรรมการป้องกันและควบคุมโรคติดต่อจังหวัด/กทม. คณะกรรมการด้านวิชาการ และคณะทำงานประจำช่องทางเข้าออก
พระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. ๒๕๕๘ สาระสำคัญ 4. กำหนดให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขเป็นผู้ประกาศเขตติดโรคติดต่ออันตรายหรือโรคระบาด นอกราชอาณาจักร 5. กำหนดให้อธิบดีกรมควบคุมโรคเป็นผู้ประกาศชื่อ อาการสำคัญ และสถานที่ ที่มีโรคระบาด ในราชอาณาจักร 6. กำหนดให้กรมควบคุมโรคเป็นสำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติและคณะกรรมการด้านวิชาการ รวมทั้งเป็นหน่วยงานกลางและศูนย์ข้อมูล ด้านโรคติดต่อของประเทศ 7. กำหนดให้มี “หน่วยปฏิบัติการควบคุมโรคติดต่อ” ขึ้นในทุกอำเภอ/เขต
พระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. ๒๕๕๘ ผู้รักษาการ ตามพระราชบัญญัติ สาระสำคัญ 8. กำหนดให้เจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อสามารถเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลบางส่วนที่เกี่ยวกับการรักษา การป้องกัน และการควบคุมโรคติดต่ออันตราย หรือโรคระบาดได้ 9. มีบทบัญญัติเกี่ยวกับการจ่ายค่าทดแทนเพื่อชดเชยความเสียหายที่เกิดขึ้น จากการเฝ้าระวัง ป้องกัน หรือควบคุมโรคติดต่อ 10. กำหนดให้มีเครื่องแบบ เครื่องหมาย และบัตรประจำตัว สำหรับเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อ จำนวนอนุบัญญัติ 23 ฉบับ ผู้รักษาการ ตามพระราชบัญญัติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข
อนุบัญญัติตามพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. ๒๕๕๘ มีจำนวน ๒๕ ฉบับ การจัดทำอนุบัญญัติตามพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. ๒๕๕๘ อนุบัญญัติตามพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. ๒๕๕๘ มีจำนวน ๒๕ ฉบับ - กฎกระทรวง จำนวน 4 ฉบับ - ประกาศกระทรวง จำนวน 12 ฉบับ - ระเบียบกระทรวง จำนวน 2 ฉบับ - ประกาศคณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติ จำนวน 5 ฉบับ - ประกาศกรมควบคุมโรค จำนวน 2 ฉบับ
ความคืบหน้าการการจัดทำอนุบัญญัติ จำนวน 25 ฉบับ ในกฎหมายลำดับรองจำนวน 25 ฉบับ มี 9 ฉบับ ที่ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาและมีผลใช้บังคับแล้ว - ประกาศกระทรวง 6 ฉบับ - ระเบียบกระทรวง 1 ฉบับ - ประกาศคณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติ 2 ฉบับ - ประกาศกรมควบคุมโรค 1 ฉบับ ในกฎหมายลำดับรองจำนวน 25 ฉบับ มี 16 ฉบับ ที่คณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติรับหลักการแล้ว และผ่านการพิจารณาของคณะอนุกรรมการด้านกฎหมายแล้ว - กฎกระทรวง 4 ฉบับ - ประกาศกระทรวง 7 ฉบับ
อนุบัญญัติที่ออกตามความใน พระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ. ศ อนุบัญญัติที่ออกตามความใน พระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. ๒๕๕๘ ที่มีผลใช้บังคับแล้ว
อนุบัญญัติที่มีผลใช้บังคับ แล้ว 1. ระเบียบกระทรวงสาธารณสุขว่าด้วยคุณสมบัติ หลักเกณฑ์ และวิธีการได้มาซึ่งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ในคณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๕๙ วันที่มีผลใช้บังคับ : 26 พฤษภาคม 2559 2. ประกาศคณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการแต่งตั้ง วาระการดำรงตำแหน่ง และการพ้นจากตำแหน่งของกรรมการโรคติดต่อจังหวัดและกรรมการโรคติดต่อกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๕๙ วันที่มีผลใช้บังคับ : 26 พฤษภาคม 2559 3. ประกาศคณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์การจัดตั้งหน่วยปฏิบัติการควบคุมโรคติดต่อ พ.ศ. ๒๕๕๙ วันที่มีผลใช้บังคับ : 26 พฤษภาคม 2559 4. ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ชื่อและอาการสำคัญของโรคติดต่ออันตราย พ.ศ. ๒๕๕๙ วันที่มีผลใช้บังคับ : 4 มิถุนายน 2559 5. ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ชื่อและอาการสำคัญของโรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวัง พ.ศ. ๒๕๕๙ วันที่มีผลใช้บังคับ : 4 มิถุนายน 2559
อนุบัญญัติที่มีผลใช้บังคับ แล้ว 6. ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ด่านควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศ พ.ศ. ๒๕๕๙ วันที่มีผลใช้บังคับ : 4 มิถุนายน 2559 7. ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง แต่งตั้งเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อตามพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. ๒๕๕๘ วันที่มีผลใช้บังคับ : 6 มกราคม 2560 8. ประกาศกรมควบคุมโรค เรื่อง หลักสูตรการฝึกอบรมสำหรับผู้ที่จะได้รับการแต่งตั้งให้เป็นเจ้าหน้าที่ในหน่วยปฏิบัติการควบคุม โรคติดต่อ พ.ศ. 2560 วันที่มีผลใช้บังคับ : 8 กุมภาพันธ์ 2560 9. ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง แต่งตั้งเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อตามพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558 (ฉบับที่ 2 ) พ.ศ. 2560 วันที่มีผลใช้บังคับ : 25 เมษายน 2560
อนุบัญญัติที่มีผลใช้บังคับ แล้ว 10. ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง การสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคไข้เหลือง พ.ศ. 2560 วันที่มีผลใช้บังคับ : 22 ธันวาคม 2560 11. ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ท้องที่หรือเมืองท่านอกราชอาณาจักรที่เป็นเขตติดโรคไข้เหลือง พ.ศ. 2560 วันที่มีผลใช้บังคับ : 22 ธันวาคม 2560 12. ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการแจ้งในกรณีที่มีโรคติดต่ออันตราย โรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวัง หรือโรคระบาดเกิดขึ้น พ.ศ. 2560 13. ประกาศคณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติ เรื่อง การเพิ่มเติมผู้แทนจากหน่วยงานของรัฐในคณะทำงานประจำช่องทางเข้าออก พ.ศ. 2560 วันที่มีผลใช้บังคับ : 22 ธันวาคม 2560
อนุบัญญัติที่มีผลใช้บังคับ แล้ว 14. ประกาศกรมควบคุมโรค เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการเข้าไปในพาหนะ อาคาร หรือสถานที่ใดของเจ้าพนักงานควบคุม โรคติดต่อ พ.ศ. 2560 วันที่มีผลใช้บังคับ : 28 ธันวาคม 2560 15. ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการดำเนินการหรือออกคำสั่งของเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อ พ.ศ. 2560 วันที่มีผลใช้บังคับ : 25 มกราคม 2561
อนุบัญญัติที่ออกตามความใน พระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ. ศ อนุบัญญัติที่ออกตามความใน พระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. ๒๕๕๘ ที่เกี่ยวข้องกับการ ดำเนินการในพื้นที่
ประกาศคณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์ การจัดตั้งหน่วยปฏิบัติการควบคุมโรคติดต่อ พ.ศ. 2559 (1) ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2559 เล่ม 133 ตอนพิเศษ 121 ง ซึ่งมีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม 2559 อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 36 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558
ประกาศคณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์ การจัดตั้งหน่วยปฏิบัติการควบคุมโรคติดต่อ พ.ศ. 2559 (2) ผู้มีอำนาจแต่งตั้ง ผู้ว่าราชการจังหวัดหรือผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร แล้วแต่กรณี วิธีการแต่งตั้ง ให้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด /สำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร เสนอชื่อผู้ที่สมควรได้รับการแต่งตั้งให้เป็นหน่วยปฏิบัติการควบคุมโรคติดต่อ ต่อคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดหรือคณะกรรมการโรคติดต่อกรุงเทพมหานคร เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบ คุณสมบัติ ต้องผ่านการฝึกอบรมในหลักสูตรระบาดวิทยา หรือการเฝ้าระวัง การป้องกัน หรือ การควบคุมโรคติดต่อ ที่กรมควบคุมโรคกำหนดหรือที่กรมควบคุมโรครับรอง การแต่งตั้งทดแทน ให้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดหรือสำนักอนามัย กรุงเทพมหานครดำเนินการตามวิธีการและขั้นตอนที่กำหนดไว้ เพื่อให้มีการแต่งตั้งหน่วยปฏิบัติการควบคุมโรคติดต่อทดแทนตำแหน่งที่ว่างลง ภายใน 30 วันนับจากวันที่ตำแหน่งนั้นว่างลง
ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ชื่อและอาการสำคัญของโรคติดต่ออันตราย พ.ศ. 2559 (1) ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว เมื่อวันที่ 3 มิถุนายน 2559 เล่ม 133 ตอนพิเศษ 128 ง ซึ่งมีผลใช้บังคับเมื่อ วันที่ 4 มิถุนายน 2559 อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 5 และมาตรา 6 (1) แห่งพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558 โดยมีจำนวนทั้งสิ้น 12 โรค
ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ชื่อและอาการสำคัญของโรคติดต่ออันตราย พ.ศ. 2559 (2) กาฬโรค (Plague) ไข้ทรพิษ (Smallpox) ไข้เหลือง (Yellow fever) โรคทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรง หรือโรค ซาร์ส (Severe Acute Respiratory Syndrome - SARS) โรคติดเชื้อไวรัสอีโบลา (Ebola virus disease - EVD) โรคทางเดินหายใจตะวันออกกลาง หรือโรค เมอร์ส (Middle East Respiratory Syndrome - MERS)
ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ชื่อและอาการสำคัญของโรคติดต่ออันตราย พ.ศ. 2559 (3) โรคติดเชื้อไวรัสมาร์บวร์ก (Marburg virus disease) โรคติดเชื้อไวรัสเฮนดรา (Handra virus disease) โรคติดเชื้อไวรัสนิปาห์ (Nipah virus disease) โรคไข้ลาสซา (Lassa fever) ไข้เลือดออกไครเมียนคองโก (Crimean - Congo hemorrhagic fever) ไข้เวสต์ไนล์ (West Nile Fever)
ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ชื่อและอาการสำคัญของ โรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวัง พ.ศ. 2559 (1) ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว เมื่อวันที่ 3 มิถุนายน 2559 เล่ม 133 ตอนพิเศษ 128 ง ซึ่งมีผลใช้บังคับ เมื่อวันที่ 4 มิถุนายน 2559 อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 5 และ มาตรา 6 (1) แห่งพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558 โดยมีจำนวนทั้งสิ้น 57 โรค
ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ชื่อและอาการสำคัญของ โรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวัง พ.ศ. 2559 (2) กามโรคของต่อมและท่อน้ำเหลือง (Lymphogranuloma Venereum หรือ Granuloma Inguinale) ไข้กาฬหลังแอ่น (Meningococcal meningitis) ไข้ดำแดง (Scarlet fever) ไข้เด็งกี่ (Dengue Fever) ไข้ปวดข้อยุงลาย (Chikungunya fever) ไข้มาลาเรีย (Malaria) ไข้ไม่ทราบสาเหตุ (Pyrexia of Unknown origin/Fever of Unknown Origin/Fever caused) ไข้สมองอักเสบชนิดญี่ปุ่น (Japanese Encephalitis) ไข้สมองอักเสบไม่ระบุเชื้อสาเหตุ (Unspecified encephalitis)
ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ชื่อและอาการสำคัญของ โรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวัง พ.ศ. 2559 (3) ไข้หวัดนก (Avian Influenza) ไข้หวัดใหญ่ (Influenza) ไข้หัด (Measles) ไข้หัดเยอรมัน (Rubella) ไข้เอนเทอริค (Enteric fever) ไข้เอนเทอโรไวรัส (Enterovirus) คอตีบ (Diphtheria) คางทูม (Mumps) ซิฟิลิส (Syphilis) บาดทะยัก (Tetanus) โปลิโอ (Poliomyelitis) แผลริมอ่อน (Cancroid) พยาธิทริคิเนลลา (Trichinosis) พยาธิทริโคโมแนสของระบบสืบพันธุ์และทางเดินปัสสาวะ (Vaginal Trichomoniasis) เมลิออยโดสิส (Melioidosis) เยื่อหุ้มสมองอักเสบจากพยาธิ (Eosinophilic meningitis) เยื่อหุ้มสมองอักเสบไม่ระบุเชื้อสาเหตุ (Unspecified meningitis) เริมของอวัยวะสืบพันธุ์และทวารหนัก (Anogenital Herpes)
ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ชื่อและอาการสำคัญของ โรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวัง พ.ศ. 2559 (4) โรคเรื้อน (Leprosy) โรคลิซมาเนีย (Leishmaniasis) โรคเลปโตสไปโรสิส (Leptospirosis) โรคสครับไทฟัส (Scrub typhus) โรคสุกใส หรืออีสุกอีใส (Varicella, Chickenpox) โรคอัมพาตกล้ามเนื้ออ่อนปวกเปียกเฉียบพลัน (Acute Flaccid Paralysis : AFP) โรคอุจจาระร่วงเฉียบพลัน (Acute diarrhea) โรคเอดส์ (Acquired Immunodeficiency Syndrome : AIDS) โรคแอนแทรกซ์ (Anthrax) โรคตับอักเสบจากเชื้อไวรัส ชนิด เอ บี ซี ดี และ อี (Viral hepatitis A, B, C, D and E) โรคตาแดงจากไวรัส (Viral conjunctivitis) โรคติดเชื้อไวรัสซิกา (Zika virus disease) โรคติดเชื้อสเตร็ปโตคอคคัสซูอิส (Streptococcus suis) โรคเท้าช้าง (Elephantiasis Lymphatic Filariais) โรคบรูเซลโลสิส (Brucellosis) โรคบิด (Dysentery) โรคปอดอักเสบ (Pneumonitis หรือ Pneumonia) โรคพิษสุนัขบ้า (Rabies) โรคมือเท้าปาก (Hand Foot and Mouth disease)
ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ชื่อและอาการสำคัญของ โรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวัง พ.ศ. 2559 (5) โลนที่อวัยวะเพศ (Pediculosis Pubis) วัณโรค (Tuberculosis) ไวรัสตับอักเสบไม่ระบุเชื้อสาเหตุ (Hepatitis) หนองใน (Gonorrhea) หนองในเทียม (Non Gonococcal Urethritis : NGU) หูดข้าวสุก (Genital Molluscum Contagiosum) หูดอวัยวะเพศและทวารหนัก (Condyloma Acuminata หรือ Venereal Warts) อหิวาตกโรค (Cholera) อาการภายหลังได้รับการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค (Adverse Event Following Immunization : AEFI) อาหารเป็นพิษ (Food poisoning) ไอกรน (Pertussis)
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 5 และ มาตรา 6 (2) ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ด่านควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศ พ.ศ. 2559 (1) ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว เมื่อวันที่ 3 มิถุนายน 2559 เล่ม 133 ตอนพิเศษ 128 ง ซึ่งมีผลใช้บังคับ เมื่อวันที่ 4 มิถุนายน 2559 อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 5 และ มาตรา 6 (2) แห่งพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558 ด่านควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศมี จำนวนทั้งสิ้น 68 ด่าน
ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ด่านควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศ พ. ศ ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ด่านควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศ พ.ศ. 2559 (2) ลำดับ ประเภท ชื่อด่าน จังหวัด 1 ท่าอากาศยาน กระบี่ 2 ท่าเรือ 3 กรุงเทพฯ 4 ดอนเมือง 5 พรมแดน สังขละบุรี (เจดีย์สามองค์) กาญจนบุรี 6 บ้านพุน้ำร้อน 7 บ้านผักกาด จันทบุรี 8 บ้านแหลม 9 เกาะสีชัง ชลบุรี 10 ศรีราชา 11 สัตหีบ 12 แหลมฉบัง ลำดับ ประเภท ชื่อด่าน จังหวัด 13 ท่าเรือ เชียงแสน เชียงราย 14 ท่าอากาศยาน แม่ฟ้าหลวงเชียงราย 15 พรมแดน แม่สาย 16 สะพานมิตรภาพ 4 (เชียงของ) 17 เชียงใหม่ 18 กันตัง ตรัง 19 บ้านหาดเล็ก ตราด 20 แม่สอด ตาก 21 22 ท่าเทียบเรือเทศบาลเมืองนครพนม นครพนม 23 สะพานมิตรภาพ 3 (นครพนม) ลำดับ ประเภท ชื่อด่าน จังหวัด 24 ท่าเรือ นครศรีธรรมราช 25 ท่าอากาศยาน นราธิวาส 26 พรมแดน ตากใบ 27 บูเก๊ะตา 28 สุไหงโก-ลก 29 ห้วยโก๋น น่าน 30 บึงกาฬ 31 หัวหิน ประจวบคีรีขันธ์ 32 ประจวบคีรีขันธ์ (บางสะพาน) 33 สิงขร 34 ปัตตานี
ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ด่านควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศ พ. ศ ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ด่านควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศ พ.ศ. 2559 (3) ลำดับ ประเภท ชื่อด่าน จังหวัด 35 ท่าอากาศยาน พิษณุโลก 36 ภูเก็ต 37 ท่าเรือ 38 พรมแดน ท่าเทียบเรือเทศบาลเมืองมุกดาหาร มุกดาหาร 39 สะพานมิตรภาพ 2 (มุกดาหาร) 40 เบตง ยะลา 41 ระนอง 42 อู่ตะเภา ระยอง 43 มาบตาพุด 44 เชียงคาน เลย 45 ท่าลี่ ลำดับ ประเภท ชื่อด่าน จังหวัด 46 พรมแดน ช่องสะงำ ศรีสะเกษ 47 ท่าอากาศยาน หาดใหญ่ สงขลา 48 ท่าเรือ 49 บ้านประกอบ 50 ปาดังเบซาร์ 51 สะเดา 52 ตำมะลัง สตูล 53 ควนโดน 54 สุวรรณภูมิ สมุทรปราการ 55 บ้านคลองลึก สระแก้ว 56 สุโขทัย 57 สมุย สุราษฎร์ธานี ลำดับ ประเภท ชื่อด่าน จังหวัด 58 ท่าอากาศยาน สุราษฎร์ธานี 59 ท่าเรือ เกาะสมุย 60 61 พรมแดน กาบเชิง สุรินทร์ 62 ท่าเรือวัดหายโศก หนองคาย 63 สะพานมิตรภาพ 1 (หนองคาย) 64 สถานีรถไฟหนองคาย 65 บ้านภูดู่ อุตรดิตถ์ 66 อุดรธานี 67 อุบลราชธานี 68 ช่องเม็ก
ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง แต่งตั้งเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อตามพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558 ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว เมื่อวันที่ 5 มกราคม 2560 เล่ม 134 ตอนพิเศษ 3 ง ซึ่งมีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 6 มกราคม 2560 อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 5 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติ โรคติดต่อ พ.ศ. 2558
1. ข้าราชการสังกัดกระทรวงสาธารณสุข [ มีอำนาจทั่วราชอาณาจักร ] ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง แต่งตั้งเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อ ตามพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558 1. ข้าราชการสังกัดกระทรวงสาธารณสุข [ มีอำนาจทั่วราชอาณาจักร ] ปลัดกระทรวงสาธารณสุข รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข ผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข สาธารณสุขนิเทศก์ 1.2 กรมควบคุมโรค 1 อธิบดีกรมควบคุมโรค 2 รองอธิบดีกรมควบคุมโรค 3 ผู้อํานวยการสถาบันบําราศนราดูร 4 ผู้อํานวยการสถาบันป้องกันควบคุมโรคเขตเมือง 5 ผู้อํานวยการสถาบันราชประชาสมาสัย 6 ผู้อํานวยการสํานักงานป้องกันควบคุมโรคที่ ๑ - ๑๒ 7 ผู้อํานวยการสํานักระบาดวิทยา 8 ผู้อํานวยการสํานักโรคติดต่อทั่วไป 9 ผู้อํานวยการสํานักโรคติดต่อนําโดยแมลง 10 ผู้อํานวยการสํานักโรคติดต่ออุบัติใหม่ 11 ผู้อํานวยการสํานักโรคเอดส์ วัณโรค และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ 12 ผู้อํานวยการสํานักวัณโรค 13 ผู้อํานวยการสํานักโรคติดต่อนําโดยแมลง 14 ผู้อํานวยการสํานักโรคติดต่ออุบัติใหม่ 15 ผู้อํานวยการสํานักโรคเอดส์ วัณโรค และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ 16 ผู้อํานวยการสํานักวัณโรค 17 ข้าราชการสังกัดสํานักระบาดวิทยาหรือข้าราชการที่ได้รับมอบหมายให้ไปช่วยราชการหรือปฏิบัติราชการในสํานักระบาดวิทยา ซึ่งดํารงตำแหน่งต่อไปนี้ 17.1 นายแพทย์ ระดับชํานาญการพิเศษขึ้นไป 17.2 นายสัตวแพทย์ ระดับชํานาญการพิเศษขึ้นไป 17.3 นวก.สาธารณสุข ระดับชํานาญการพิเศษขึ้นไป
ปะกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง แต่งตั้งเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อ ตามพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558 ข้าราชการสังกัดกระทรวงสาธารณสุข (ต่อ) [ มีอำนาจทั่วราชอาณาจักร ] 1.2 กรมการแพทย์ 1 ผู้อํานวยการโรงพยาบาลนพรัตนราชธานี 2 ผู้อํานวยการโรงพยาบาลราชวิถี 3 ผู้อํานวยการโรงพยาบาลเลิดสิน 4 ผู้อํานวยการโรงพยาบาลสงฆ์ 5 ผู้อํานวยการสถาบันประสาทวิทยาแห่งชาติ 6 ผู้อํานวยการสถาบันพยาธิวิทยา 7 ผู้อํานวยการสถาบันมะเร็งแห่งชาติ 8 ผู้อํานวยการสถาบันโรคผิวหนัง 9 ผู้อํานวยการสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชิน 2. ข้าราชการสังกัดกระทรวงสาธารณสุข [ มีอำนาจเฉพาะในเขตเฉพาะในเขตท้องที่ที่ตนมีอำนาจหน้าที่ดูแลและรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการ ] 1 นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด 2 ผู้อํานวยการโรงพยาบาลศูนย์ 3 ผู้อํานวยการโรงพยาบาลทั่วไป 4 ผู้อํานวยการโรงพยาบาลชุมชน 5 สาธารณสุขอําเภอหรือสาธารณสุขกิ่งอําเภอ 6 ข้าราชการที่ปฏิบัติราชการ ณ ด่านควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศ ซึ่งดํารงตําแหน่งต่อไปนี้ 6.1 นายแพทย์ ระดับปฏิบัติการขึ้นไป 6.2 นายสัตวแพทย์ ระดับปฏิบัติการขึ้นไป 6.3 นักวิชาการสาธารณสุข ระดับปฏิบัติการขึ้นไป 6.4 พยาบาลวิชาชีพ ระดับปฏิบัติการขึ้นไป 6.5 เจ้าพนักงานสาธารณสุข ระดับปฏิบัติงานขึ้นไป 6.6 เจ้าพนักงานวิทยาศาสตร์การแพทย์ ระดับปฏิบัติงานขึ้นไป
3. ข้าราชการสังกัดกระทรวงมหาดไทย 4. ข้าราชการสังกัดกรุงเทพมหานคร ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง แต่งตั้งเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อ ตามพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558 3. ข้าราชการสังกัดกระทรวงมหาดไทย [ มีอำนาจเฉพาะในเขตเฉพาะในเขตท้องที่ที่ตนมีอำนาจหน้าที่ดูแลและรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการ ] ผู้ว่าราชการจังหวัด นายอำเภอ 4. ข้าราชการสังกัดกรุงเทพมหานคร 1 ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร 2 ปลัดกรุงเทพมหานคร 3 ผู้อํานวยการสํานักการแพทย์ 4 รองผู้อํานวยการสํานักการแพทย์ 5 ผู้อํานวยการสํานักอนามัย 6 รองผู้อํานวยการสํานักอนามัย 7 ผู้อํานวยการกองควบคุมโรคติดต่อ สังกัดสํานักอนามัย 8 หัวหน้ากลุ่มงานระบาดวิทยา กองควบคุมโรคติดต่อสังกัดสํานักอนามัย 9 ผู้อํานวยการศูนย์บริการสาธารณสุข สังกัดสํานักอนามัย
ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง แต่งตั้งเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อ ตามพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558 (ฉบับที่ 2 ) พ.ศ. 2560 ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 25 เมษายน 2560 เล่มที่ 134 ตอนพิเศษ 114 ง ซึ่งมีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 26 เมษายน 2560 อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๕ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558
เป็นผู้ได้รับวุฒิบัตรเวชศาสตร์ป้องกัน แขนงระบาดวิทยา ข้อ 1 ให้ข้าราชการสังกัดกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ซึ่งมีคุณสมบัติอย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้ เป็นเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อตามพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558 เป็นผู้มีประสบการณ์การทำงานด้านระบาดวิทยา การเฝ้าระวัง การป้องกัน หรือการควบคุมโรคติดต่อมาแล้วไม่น้อยกว่า 10 ปี เป็นผู้ได้รับวุฒิบัตรเวชศาสตร์ป้องกัน แขนงระบาดวิทยา เป็นผู้สำเร็จการอบรมหลักสูตรระบาดวิทยาภาคสนาม (Field Epidemiology Training Program : FETP) เป็นผู้สำเร็จการอบรมหลักสูตรระบาดวิทยาภาคสนาม สำหรับแพทย์หัวหน้าทีมและผู้สอบสวนหลัก เป็นผู้สำเร็จการอบรมหลักสูตรระบาดวิทยาและการจัดการทีมเฝ้าระวังสอบสวนเคลื่อนที่เร็ว สำหรับแพทย์หัวหน้าทีมและผู้สอบสวนหลัก (Field Epidemiology and Management Training : FEMT) เป็นผู้สำเร็จการอบรมหลักสูตรนักวิชาการสาธารณสุข ด้านระบาดวิทยาภาคสนาม เป็นผู้สำเร็จการอบรมหลักสูตรอื่นใดที่กรมควบคุมโรคกำหนดหรือที่กรมควบคุมโรครับรอง
ข้อ 2 ให้ข้าราชการสังกัดกระทรวงสาธารณสุขซึ่งมิใช่ข้าราชการสังกัดกรมควบคุมโรคตามข้อ ๑ ข้าราชการสังกัดกระทรวงกลาโหม กระทรวงมหาดไทย กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และกรุงเทพมหานคร ซึ่งมีคุณสมบัติอย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้ เป็นเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อตามพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. ๒๕๕๘ เฉพาะในเขตท้องที่ที่ตนมีอำนาจหน้าที่ดูแลและรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการ (1) เป็นผู้มีประสบการณ์การทำงานด้านระบาดวิทยา การเฝ้าระวัง การป้องกัน หรือการควบคุมโรคติดต่อมาแล้วไม่น้อยกว่า 10 ปี (2) เป็นผู้ได้รับวุฒิบัตรเวชศาสตร์ป้องกัน แขนงระบาดวิทยา (3) เป็นผู้สำเร็จการอบรมหลักสูตรระบาดวิทยาภาคสนาม (Field Epidemiology Training Program : FETP) (4) เป็นผู้สำเร็จการอบรมหลักสูตรระบาดวิทยาภาคสนาม สำหรับแพทย์หัวหน้าทีมและผู้สอบสวนหลัก (5) เป็นผู้สำเร็จการอบรมหลักสูตรระบาดวิทยาและการจัดการทีมเฝ้าระวังสอบสวนเคลื่อนที่เร็ว สำหรับแพทย์หัวหน้าทีมและผู้สอบสวนหลัก (Field Epidemiology and Management Training : FEMT) (6) เป็นผู้สำเร็จการอบรมหลักสูตรนักวิชาการสาธารณสุข ด้านระบาดวิทยาภาคสนาม (7) เป็นผู้สำเร็จการอบรมหลักสูตรอื่นใดที่กรมควบคุมโรคกำหนดหรือที่กรมควบคุมโรครับรอง
ข้อ 3 หลักสูตรการฝึกอบรมสำหรับผู้ที่จะได้รับการแต่งตั้งให้เป็นเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อตามข้อ ๑ (3) (๔) (๕) (๖) และ (๗) และข้อ ๒ (3) (๔) (๕) (๖) และ (๗) ต้องเป็นหลักสูตรการฝึกอบรมที่กรมควบคุมโรคกำหนดหรือที่กรมควบคุมโรครับรอง โดยมีเงื่อนไขดังนี้ (๑) หลักสูตรการฝึกอบรมที่กรมควบคุมโรคกำหนด หมายถึง หลักสูตรการ ฝึกอบรมเฉพาะที่กรมควบคุมโรคเป็นผู้จัดการฝึกอบรม (๒) หลักสูตรการฝึกอบรมที่กรมควบคุมโรครับรอง หมายถึง หลักสูตรการฝึกอบรม ที่กรมควบคุมโรคเป็นผู้จัดการฝึกอบรมหรือหลักสูตรการฝึกอบรมที่สถาบันอุดมศึกษา ส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ หรือองค์กรพัฒนาเอกชนซึ่งมีวัตถุประสงค์ที่มิใช่เป็นการ แสวงหาผลกำไรและดำเนินกิจกรรมด้านการสาธารณสุข เป็นผู้จัดการฝึกอบรมโดยกรม ควบคุมโรคเป็นผู้ให้การรับรอง กรณีสถาบันอุดมศึกษา ส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ หรือองค์กรพัฒนาเอกชนซึ่ง มีวัตถุประสงค์ ที่มิใช่เป็นการแสวงหาผลกำไรและดำเนินกิจกรรมด้านการสาธารณสุข ประสงค์ที่จะจัดการฝึกอบรม ตามหลักสูตรการฝึกอบรมที่กำหนดไว้ในข้อ ๑ (3) (๔) (๕) (๖) และ (๗) และข้อ ๒ (3) (๔) (๕) (๖) และ (๗) ให้สถาบันอุดมศึกษา ส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ หรือองค์กรพัฒนาเอกชนซึ่งมีวัตถุประสงค์ที่มิใช่เป็นการแสวงหาผล กำไรและดำเนินกิจกรรมด้านการสาธารณสุข ส่งร่างหลักสูตรการฝึกอบรมมายังกรม ควบคุมโรคเพื่อพิจารณาและให้การรับรองก่อน จึงจะสามารถจัดการฝึกอบรมหลักสูตรนั้น ได้
เจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อ ประเภทที่ 1 เจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อ : โดยตำแหน่ง ตาม - ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง แต่งตั้งเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อตามพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558 ประเภทที่ 2 เจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อ : โดยคุณสมบัติ ตาม - ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง แต่งตั้งเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อตามพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558 (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2560
อำนาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อ มาตรา 31 เมื่อมีโรคติดต่ออันตราย/โรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวัง/โรคระบาดเกิดขึ้น รับแจ้งจากเจ้าบ้าน/ผู้รับผิดชอบในสถานพยาบาล/เจ้าของสถานประกอบการหรือ สถานที่อื่นใด ในกรณีที่พบผู้ที่เป็นหรือมีเหตุอันควรสงสัยว่าเป็นโรคติดต่อ รับแจ้งจากผู้ทำการชันสูตร ในกรณีที่ได้มีการชันสูตรทางการแพทย์/สัตวแพทย์ ตรวจพบว่าอาจมีเชื้ออันเป็นเหตุของโรคติดต่อ มาตรา 32 เมื่อได้รับแจ้งตามมาตรา 31 ให้แจ้งคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัด/กทม. และรายงานข้อมูลนั้น ให้กรมควบคุม โรคทราบโดยเร็ว
อำนาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อ มาตรา 34 เมื่อเกิดโรคติดต่ออันตราย/โรคระบาด หรือมีเหตุ สงสัยว่าได้เกิดโรคติดต่ออันตราย/โรคระบาดในเขตพื้นที่ ให้เจ้า พนักงานควบคุมโรคติดต่อมีอำนาจดำเนินการเอง/ออกคำสั่งเป็น หนังสือให้ผู้ใดดำเนินการ ให้ผู้ที่เป็นหรือมีเหตุอันควรสงสัยว่าเป็นโรคติดต่ออันตรายหรือโรคระบาด/ ผู้สัมผัสโรค/เป็นพาหะมารับการตรวจ/รักษา/ชันสูตรทางการแพทย์ แยกกัก/กักกัน/คุมไว้สังเกต ณ สถานที่ที่กำหนด ให้ผู้มีความเสี่ยงที่จะติดโรคได้รับการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค นำศพหรือซากสัตว์ไปรับการตรวจ/จัดการ เพื่อป้องกันการแพร่ของโรค ให้เจ้าของ/ผู้ครอบครอง/ผู้พักอาศัยในบ้าน โรงเรือน สถานที่ พาหนะกำจัดความติดโรค/ แก้ไขปรับปรุงสุขาภิบาลให้ถูกสุขลักษณะ
อำนาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อ ให้เจ้าของ/ผู้ครอบครอง/ผู้พักอาศัยในบ้าน โรงเรือน สถานที่ พาหนะ กำจัดสัตว์/แมลง/ตัวอ่อนของแมลงที่เป็นสาเหตุการเกิดของโรค ห้ามผู้ใดกระทำการใดๆ ซึ่งอาจก่อให้เกิดสภาวะที่ไม่ถูกสุขลักษณะ ห้ามผู้ใดเข้าไปหรือออกจากที่เอกเทศ เข้าไปในสถานที่/พาหนะที่มีเหตุอันควรสงสัยว่ามีโรค เพื่อเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรค สอบสวนโรค และหากพบว่ามีโรคติดต่ออันตราย/โรคระบาดเกิดขึ้น ให้ แจ้งคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัด/กทม. และรายงานกรมควบคุมโรคให้ ทราบโดยเร็ว
อำนาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อ มาตรา 45 เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้ ให้เจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อมีอำนาจดังต่อไปนี้ (1) มีหนังสือเรียกบุคคลใดๆ มาให้ถ้อยหรือแจ้งข้อเท็จจริงหรือทำคำชี้แจงเป็นหนังสือหรือให้ส่งเอกสารหรือหลักฐานใดเพื่อตรวจสอบหรือเพื่อใช้ประกอบการพิจารณา . (2) เข้าไปในพาหนะ อาคาร หรือสถานที่ใดๆ ในเวลาระหว่างพระอาทิตย์ขึ้นและพระอาทิตย์ตกหรือในเวลาทำการของอาคารหรือสถานที่นั้น เพื่อตรวจสอบหรือควบคุมให้เป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้ และหากยังดำเนินการไม่แล้วเสร็จในเวลาดังกล่าวให้สามารถดำเนินการต่อไปได้จนกว่าจะแล้วเสร็จ การดำเนินการตาม (2) ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกำหนด ในการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อตาม (2) ให้บุคคลที่เกี่ยวข้องอำนวยความสะดวกตามสมควร มาตรา 46 ให้มีเครื่องแบบ เครื่องหมาย และบัตรประจำตัวสำหรับเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อเพื่อแสดงตัวขณะปฏิบัติหน้าที่ต่อบุคคลที่เกี่ยวข้อง เครื่องแบบ เครื่องหมาย และบัตรประจำตัวตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามแบบที่กระทรวงสาธารณสุขประกาศกำหนด . มาตรา 47 ในการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ ให้เจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อ เป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา
หน่วยปฏิบัติการควบคุมโรคติดต่อ Communicable Disease Control Unit: CDCU เป็นกลไกที่สำคัญในการทำงานตาม พ.ร.บ.โรคติดต่อ พ.ศ.2558 ให้หน่วยปฏิบัติการควบคุมโรคติดต่อยังคงปฏิบัติงานเฝ้าระวัง - ป้องกัน - ควบคุมโรคอย่างครอบคลุมใน ทุกโรคและภัย เช่นเดิม ให้ทุกจังหวัดให้ความสำคัญกับ การจัดตั้งหน่วยปฏิบัติการควบคุมโรคติดต่อ พัฒนาสมรรถนะเจ้าหน้าที่หน่วยปฏิบัติการควบคุมโรคติดต่ออย่างต่อเนื่อง บูรณาการการทำงานกับภาคส่วนต่างๆ
การจัดตั้งหน่วยปฏิบัติการควบคุมโรคติดต่อ ทำหน้าที่ในการเฝ้าระวัง สอบสวนโรค ป้องกัน และควบคุมโรคติดต่ออันตรายหรือโรคระบาด สสจ./ สำนักอนามัย กทม. คณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัด/ กทม. ผู้ว่าราชการจังหวัด/ กทม. จัดทำรายชื่อเจ้าหน้าที่ทางการแพทย์และการสาธารณสุข เจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อ หรือเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานภาคเอกชน พิจารณาให้ความเห็นชอบ และเสนอต่อผู้ว่าราชการจังหวัด/ กทม. พิจารณาแต่งตั้งหน่วยปฏิบัติการควบคุมโรคติดต่อตามที่เห็นสมควรต่อไป แต่ละจังหวัด จัดตั้งหน่วยปฏิบัติการควบคุมโรคติดต่อ ทุกอำเภอ/ เขต อย่างน้อยหนึ่งหน่วย องค์ประกอบหน่วย (อย่างน้อย 3 คน) หลักเกณฑ์ -คุณสมบัติ 1. เจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อ (โดยตำแหน่ง, โดยคุณสมบัติ *) รมต.สธ. แต่งตั้ง 2. เจ้าหน้าที่หน่วยปฏิบัติการควบคุมโรคติดต่อ (เจ้าหน้าที่ทางการแพทย์และการสาธารณสุข) ผ่านการอบรมหลักสูตรระบาดวิทยา หรือการเฝ้าระวัง ป้องกัน หรือการควบคุมโรคติดต่อที่กรมควบคุมโรคกำหนดหรือรับรอง 3. เจ้าหน้าที่หน่วยปฏิบัติการควบคุมโรคติดต่อ ,, 4. เจ้าหน้าที่หน่วยปฏิบัติการควบคุมโรคติดต่อ : เพิ่มตามสมควร 5. เจ้าหน้าที่หน่วยปฏิบัติการควบคุมโรคติดต่อ : เพิ่มตามสมควร (ภาคเอกชน ประชาสังคมองค์กรไม่แสวงหาผลกำไร มูลนิธิ ฯ)
อนุบัญญัติที่เกี่ยวข้องกับการจัดหน่วยปฏิบัติการควบคุมโรคติดต่อ ประกาศคณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์การจัดตั้งหน่วยปฏิบัติการควบคุมโรคติดต่อ พ.ศ. 2559 ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง แต่งตั้งเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อตามพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558 ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง แต่งตั้งเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อตามพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558 (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2560 ประกาศกรมควบคุมโรค เรื่อง หลักสูตรการฝึกอบรมสำหรับผู้ที่จะได้รับการแต่งตั้งให้เป็นเจ้าหน้าที่ในหน่วยปฏิบัติการควบคุมโรคติดต่อ พ.ศ. 2560
อนุบัญญัติที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงาน ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ชื่อและอาการสำคัญของโรคติดต่ออันตราย พ.ศ. 2559 ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ชื่อและอาการสำคัญของโรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวัง พ.ศ. 2559 ร่างฯ ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการแจ้งในกรณีที่มีโรคติดต่ออันตราย โรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวัง หรือโรคระบาดเกิดขึ้น พ.ศ. .... ร่างฯ ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการสอบสวนโรคติดต่ออันตรายหรือโรคระบาด พ.ศ. .... ร่างฯ ประกาศกรมควบคุมโรค เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการเข้าไปในพาหนะ อาคาร หรือสถานที่ใดของเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อ พ.ศ. ....
อนุบัญญัติที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงาน ร่างฯ ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการดำเนินการหรือออกคำสั่งของเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อ พ.ศ. .... ร่างฯ ระเบียบกระทรวงสาธารณสุข ว่าด้วยการชดใช้ค่าใช้จ่ายในการดำเนินการแทนของเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อ ในกรณีที่ผู้รับคำสั่งจากเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อละเลยไม่ดำเนินการตามคำสั่ง พ.ศ. .... ร่างฯ กฎกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง การจ่ายค่าทดแทนเพื่อชดเชยความเสียหายอันเกิดจากการเฝ้าระวัง การป้องกันและการควบคุมโรคติดต่อ พ.ศ. .... ร่างฯ ประกาศคณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. .... ร่างฯ ประกาศคณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์การเปรียบเทียบความผิดตามพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558 พ.ศ. ....
อนุบัญญัติที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงาน ร่างฯ ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง เครื่องแบบและเครื่องหมายของเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อตามพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558 ร่างฯ ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง บัตรประจำตัวเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อตามพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558 ร่างฯ หลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขในการจ่ายค่าตอบแทน ค่าชดเชย ให้แก่เจ้าหน้าที่ซึ่งปฏิบัติงานด้านการเฝ้าระวัง สอบสวน ป้องกัน หรือควบคุมโรค
บุคคลตามมาตรา 31 (1) (2) (3) และ (4) มาตรา 7 เพื่อประโยชน์ในการป้องกันและควบคุมโรคติดต่อ ให้รัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการมีอำนาจประกาศกำหนด หลักเกณฑ์และวิธีการแจ้งในกรณีที่มีโรคติดต่ออันตราย โรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวัง หรือ โรคระบาด เกิดขึ้น บุคคลตามมาตรา 31 (1) (2) (3) และ (4) (1) เจ้าบ้านหรือผู้ควบคุมดูแลบ้าน หรือแพทย์ผู้ทำการรักษาพยาบาล ในกรณีที่พบผู้ที่เป็นหรือมีเหตุอันควรสงสัยว่าเป็นโรคติดต่อดังกล่าวเกิดขึ้นในบ้าน (2) ผู้รับผิดชอบในสถานพยาบาล ในกรณีที่พบผู้ที่เป็นหรือมีเหตุอันควรสงสัยว่าเป็นโรคติดต่อดังกล่าวเกิดขึ้นในสถานพยาบาล (3) ผู้ทำการชันสูตรหรือผู้รับผิดชอบในสถานที่ที่ได้มีการชันสูตร ในกรณีที่ได้มีการชันสูตรทางการแพทย์หรือทางการสัตวแพทย์ตรวจพบว่าอาจมีเชื้ออันเป็นเหตุของโรคติดต่อดังกล่าว (4) เจ้าของ หรือผู้ควบคุมสถานประกอบการหรือสถานที่อื่นใด ในกรณีที่พบผู้ที่เป็นหรือมีเหตุอันควรสงสัยว่าเป็นโรคติดต่อดังกล่าวเกิดขึ้นในสถานที่นั้น
เมื่อมีโรคติดต่ออันตรายเกิดขึ้นหรือมีเหตุสงสัยว่าเกิดขึ้น และพบผู้ที่เป็นหรือมีเหตุอันควรสงสัยว่าเป็นโรคติดต่อดังกล่าว ให้ บุคคลตามมาตรา 31 (1) และ (4) ให้แจ้งต่อเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อซึ่งเป็นข้าราชการสังกัดกรมควบคุมโรคในราชการบริหารส่วนกลาง หรือเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อในพื้นที่ ภายในสามชั่วโมง เว้นแต่กรณีที่มีเหตุสุดวิสัยหรือตกอยู่ในสถานการณ์ที่ไม่อาจแจ้งภายในสามชั่วโมงได้ ให้แจ้งต่อเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อดังกล่าวทันทีที่สามารถกระทำได้ บุคคลตามมาตรา 31 (2) และ (3) ให้แจ้งต่อเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อซึ่งเป็นข้าราชการสังกัดกรมควบคุมโรคในราชการบริหารส่วนกลาง ภายในสามชั่วโมง นับแต่พบผู้ที่เป็นหรือมีเหตุอันควรสงสัยว่าเป็นโรคติดต่ออันตราย หรือที่ได้มีการชันสูตรทางการแพทย์หรือทางการสัตวแพทย์ตรวจพบว่ามีหรืออาจมีเชื้อ อันเป็นเหตุของโรคติดต่ออันตราย แล้วแต่กรณี
เมื่อมีโรคระบาดเกิดขึ้นหรือมีเหตุสงสัยว่าเกิดขึ้น และพบผู้ที่เป็นหรือมีเหตุอันควรสงสัยว่าเป็นโรคติดต่อดังกล่าว ให้ บุคคลตามมาตรา 31 (1) (2) (3) และ (4) แจ้งต่อเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อในพื้นที่ภายในยี่สิบสี่ชั่วโมง นับแต่พบผู้ที่เป็นหรือมีเหตุอันควรสงสัยว่าเป็นโรคระบาดหรือที่ได้มีการชันสูตรทางการแพทย์หรือทางการสัตวแพทย์ตรวจพบว่ามีหรืออาจมีเชื้อ อันเป็นเหตุของโรคระบาด แล้วแต่กรณี เมื่อมีโรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวังเกิดขึ้นหรือมีเหตุสงสัยว่าเกิดขึ้น และพบผู้ที่เป็นหรือมีเหตุอันควรสงสัยว่าเป็นโรคติดต่อดังกล่าว ให้ บุคคลตามมาตรา 31 (2) และ (3) แจ้งต่อเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อ สังกัดสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด หรือสำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร แล้วแต่กรณี การแจ้งให้ดำเนินการภายในเจ็ดวันนับแต่พบผู้ที่เป็นหรือมีเหตุอันควรสงสัยว่าเป็นโรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวัง หรือที่ได้มีการชันสูตรทางการแพทย์หรือทางการสัตวแพทย์ตรวจพบว่ามีหรืออาจมีเชื้ออันเป็นเหตุของโรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวัง แล้วแต่กรณี ทั้งนี้ ตามแบบและมาตรฐานชุดข้อมูลที่กรมควบคุมโรคประกาศกำหนด
การแจ้ง ให้ดำเนินการตามวิธีการหนึ่งวิธีการใด ดังต่อไปนี้ (1) แจ้งโดยตรงต่อเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อ (2) แจ้งทางโทรศัพท์ (3) แจ้งทางโทรสาร (4) แจ้งเป็นหนังสือ (5) แจ้งทางไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (6) วิธีการอื่นใดที่อธิบดีกรมควบคุมโรคประกาศกำหนดเพิ่มเติม การแจ้งของบุคคลตามมาตรา 31 (1) และ (4) ให้แจ้งต่อเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อตามวิธีที่กำหนด เมื่อรับแจ้งแล้วให้เจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อบันทึกข้อมูลไว้ตามแบบและมาตรฐานชุดข้อมูลที่อธิบดีกรมควบคุมโรคประกาศกำหนด การแจ้งของบุคคลตามมาตรา 31 (2) และ (3) ให้แจ้งต่อเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อตามวิธีที่กำหนด ให้เป็นไปตามแบบและมาตรฐานชุดข้อมูลที่อธิบดีกรมควบคุมโรคประกาศกำหนด
9. ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการแจ้งในกรณีที่มีโรคติดต่ออันตราย โรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวัง หรือโรคระบาดเกิดขึ้น พ.ศ. 2560 หลักเกณฑ์ กรณีโรคติดต่อ ที่ต้องเฝ้าระวัง ภายใน ๗ วัน นับแต่พบผู้ที่เป็นหรือมีเหตุ อันควรสงสัยว่าเป็น ข้อ 3 1. เจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อในสังกัดสสจ. 2. เจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อสังกัดสำนักอนามัย กทม. - ผู้รับผิดชอบในสถานพยาบาล - ผู้ทำการชันสูตร/ผู้รับผิดชอบ ในสถานที่ที่ได้มีการชันสูตร แจ้งต่อ - เจ้าบ้าน/ผู้ควบคุม ดูแลบ้าน/แพทย์ ผู้ทำการรักษา พยาบาล - เจ้าของ/ผู้ควบคุมสถานประกอบการ แจ้งต่อ กรณีโรคติดต่ออันตราย เจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อสังกัดกรมควบคุมโรคในส่วนกลาง/ ในพื้นที่ ภายใน 3 ชั่วโมง นับแต่พบผู้ที่เป็นหรือมีเหตุอันควรสงสัยว่าเป็น ข้อ 1 - ผู้รับผิดชอบในสถานพยาบาล - ผู้ทำการชันสูตร/ผู้รับผิดชอบในสถานที่ที่ได้มีการชันสูตร แจ้งต่อ เจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อ สังกัดกรมควบคุมโรคในส่วนกลาง ภายใน 24 ชั่วโมง นับแต่พบผู้ที่เป็นหรือ มีเหตุอันควรสงสัยว่าเป็น กรณีโรคระบาด ข้อ 2 เจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อในพื้นที่ - เจ้าบ้าน/ผู้ควบคุมดูแลบ้าน/ แพทย์ผู้ทำการรักษาพยาบาล - ผู้รับผิดชอบในสถานพยาบาล - ผู้ทำการชันสูตร/ผู้รับผิดชอบ ในสถานที่ที่ได้มีการชันสูตร - เจ้าของ/ผู้ควบคุมสถาน ประกอบการ แจ้งต่อ
9. ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการแจ้งในกรณีที่มีโรคติดต่ออันตราย โรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวัง หรือโรคระบาดเกิดขึ้น พ.ศ. 2560 หลักเกณฑ์ (ต่อ) ให้แจ้งทางโทรศัพท์ต่อเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อสังกัด กรมควบคุมโรคในส่วนกลางภายใน 1 ชั่วโมง กรณีเจ้า พนักงาน ควบคุม โรคติดต่อ ในพื้นที่เป็น ผู้รับแจ้ง ข้อ 1 วรรคสี่ กรณีผู้พบผู้ที่เป็น หรือมีเหตุสงสัยว่า เป็นโรค เป็นบุคคล ตามข้อ 1 (2) หรือ (3) และ ผู้นั้นเป็นเจ้า พนักงานควบคุม โรคติดต่อด้วย ให้แจ้งทางโทรศัพท์ต่อ เจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อสังกัดกรมควบคุมโรคในส่วนกลางภายใน 3 ชั่วโมง ข้อ 4 กรณีผู้พบผู้ที่เป็น หรือมีเหตุสงสัยว่า เป็นโรค เป็นบุคคล ตามข้อ 2 (2) หรือ (3) และ ผู้นั้นเป็นเจ้า พนักงานควบคุม โรคติดต่อด้วย ข้อ 5 ให้แจ้งทางโทรศัพท์ต่อ เจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อสังกัดกรมควบคุมโรคในส่วนกลางภายใน 24 ชั่วโมง การแจ้งให้ดำเนินการโดย 1. แจ้งโดยตรงต่อเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อ 2. แจ้งทางโทรศัพท์ 3. แจ้งทางโทรสาร 4. แจ้งเป็นหนังสือ 5. แจ้งทางไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ 6. วิธีการอื่นที่อธิบดี กรมควบคุมโรคกำหนดเพิ่มเติม ข้อ 6
11. ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการดำเนินการ หรือออกคำสั่งของเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อ พ.ศ. 2560
11. ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการดำเนินการ หรือออกคำสั่งของเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อ พ.ศ. 2560 (ต่อ)
ร่าง ประกาศกระทรวงฯ เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการสอบสวนโรคติดต่ออันตรายหรือโรคระบาด พ.ศ. .... การสอบสวนโรค (-ร่าง ประกาศฯ-) โรคติดต่ออันตราย โรคระบาด การประกาศพื้นที่โรคระบาด สอบสวนควบคุมโรคภายใน 12 ชั่วโมง สอบสวนควบคุมโรคภายใน 48 ชั่วโมง สอบสวนควบคุมโรค ทันทีที่ทราบประกาศ แนวทางการสอบสวนให้เป็นไปตามที่กรมควบคุมโรคประกาศกำหนด รายงานผลต่อคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัด/กทม. รายงานผลต่อกรมควบคุมโรค (48 ชั่วโมง หลังแล้วเสร็จ)
ประกาศกรมควบคุมโรค เรื่อง หลักสูตรการฝึกอบรมสําหรับผู้ที่จะได้รับการแต่งตั้งให้เป็นเจ้าหน้าที่ในหน่วยปฏิบัติการควบคุมโรคติดต่อ พ.ศ. ๒๕๖๐ อาศัยอํานาจตามความในข้อ ๔ แห่งประกาศคณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์ การจัดตั้งหน่วยปฏิบัติการควบคุมโรคติดต่อ พ.ศ. ๒๕๕๙ อธิบดีกรมควบคุมโรคจึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ หลักสูตรการฝึกอบรมสําหรับผู้ที่จะได้รับการแต่งตั้งให้เป็นเจ้าหน้าที่ใน หน่วยปฏิบัติการ ควบคุมโรคติดต่อที่กรมควบคุมโรคกําหนด หมายถึง หลักสูตรการฝึกอบรมเฉพาะที่กรมควบคุมโรค เป็นผู้จัดการฝึกอบรม อันได้แก่ หลักสูตรหนึ่งหลักสูตรใด ดังต่อไปนี้ (๑) วุฒิบัตรหรืออนุมัติบัตรเวชศาสตร์ป้องกัน แขนงระบาดวิทยา (๒) หลักสูตรระบาดวิทยาภาคสนาม (Field Epidemiology Training Program (FETP)) (๓) หลักสูตรระบาดวิทยาภาคสนาม สําหรับแพทย์หัวหน้าทีมและผู้ สอบสวนหลัก (๔) หลักสูตรระบาดวิทยาและการจัดการทีมเฝ้าระวังสอบสวนเคลื่อนที่เร็ว สําหรับแพทย์ หัวหน้าทีมและผู้สอบสวนหลัก (Field Epidemiology and Management Training (FEMT)) (๕) หลักสูตรนักวิชาการสาธารณสุข ด้าน ระบาดวิทยาภาคสนาม
ประกาศกรมควบคุมโรค เรื่อง หลักสูตรการฝึกอบรมสําหรับผู้ที่จะได้รับการแต่งตั้งให้เป็นเจ้าหน้าที่ในหน่วยปฏิบัติการควบคุมโรคติดต่อ พ.ศ. ๒๕๖๐ ข้อ ๒ หลักสูตรการฝึกอบรมสําหรับผู้ที่จะได้รับการแต่งตั้งให้เป็นเจ้าหน้าที่ในหน่วย ปฏิบัติการ ควบคุมโรคติดต่อที่กรมควบคุมโรครับรอง หมายถึง หลักสูตรการ ฝึกอบรมที่กรมควบคุมโรคเป็นผู้จัดการ ฝึกอบรมหรือหลักสูตรการฝึกอบรมที่ สถาบันอุดมศึกษา ส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ หรือองค์กรพัฒนาเอกชน ซึ่งมีวัตถุประสงค์ที่มิใช่เป็นการแสวงหาผลกําไรและดําเนินกิจกรรมด้านการ สาธารณสุข เป็นผู้จัดการฝึกอบรม โดยกรมควบคุมโรคเป็นผู้ให้การรับรอง อัน ได้แก่หลักสูตรหนึ่งหลักสูตรใด ดังต่อไปนี้ (๑) หลักสูตรระบาดวิทยาการประเมินความเสี่ยงและการควบคุมโรคและภัย สุขภาพ สําหรับเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานในพื้นที่ชายแดน ๕ จังหวัดต้นแบบ ระยะเวลาไม่ต่ํากว่า ๑๒๐ ชั่วโมง (๒) หลักสูตรระบาดวิทยาและการจัดการสําหรับหัวหน้ากลุ่มงานควบคุมโรคของ สํานักงาน สาธารณสุขจังหวัด (๓) หลักสูตรระบาดวิทยาเร่งด่วน สําหรับหัวหน้าทีมเฝ้าระวังสอบสวน เคลื่อนที่เร็ว (๔) หลักสูตรระบาดวิทยาที่มีการบรรยายและฝึกปฏิบัติด้านการเฝ้าระวัง สอบสวน ควบคุมโรค และการเก็บสิ่งส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ ระยะเวลาไม่ ต่ํากว่า ๒๐ ชั่วโมง
ประกาศกรมควบคุมโรค เรื่อง หลักสูตรการฝึกอบรมสําหรับผู้ที่จะได้รับการแต่งตั้งให้เป็นเจ้าหน้าที่ในหน่วยปฏิบัติการควบคุมโรคติดต่อ พ.ศ. ๒๕๖๐ ข้อ ๓ กรณีสถาบันอุดมศึกษา ส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ หรือองค์กรพัฒนาเอกชน ซึ่งมีวัตถุประสงค์ที่มิใช่เป็นการแสวงหาผลกําไร และดําเนินกิจกรรมด้านการสาธารณสุข ประสงค์ที่จะจัด การฝึกอบรม ตามหลักสูตรการฝึกอบรมที่กําหนดไว้ในข้อ ๒ ให้สถาบันอุดมศึกษา ส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ หรือองค์กรพัฒนาเอกชนซึ่งมี วัตถุประสงค์ที่มิใช่เป็นการแสวงหาผลกําไรและดําเนินกิจกรรมด้านการ สาธารณสุข ส่งร่างหลักสูตรการฝึกอบรมมายังกรมควบคุมโรคเพื่อ พิจารณาและให้การรับรองก่อน จึงจะสามารถ จัดการฝึกอบรมหลักสูตร นั้นได้ ข้อ ๔ กรณีมีปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติหรือการดําเนินการตามประกาศฉบับ นี้ ให้อธิบดี กรมควบคุมโรคเป็นผู้วินิจฉัยชี้ขาด ข้อ ๕ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจา นุเบกษาเป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๑๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๖๐ เจษฎา โชคดํารงสุข อธิบดีกรมควบคุมโรค
เครื่องแบบเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อ ชุดปฏิบัติการเจ้าพนักงาน ควบคุมโรคติดต่อ (๒) ชุดปฏิบัติการเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อ ซึ่งปฏิบัติงานประจำด่านควบคุมโรคติดต่อ ระหว่างประเทศ (๓) ชุดปฏิบัติงาน (๒.๑) ชุดปฏิบัติการ สีขาว-กรมท่าดำ (๒.๒) ชุดปฏิบัติการ สีกากี ใช้ในการปฏิบัติงานด้านบังคับใช้กฎหมาย การประชุมราชการ และติดต่อราชการที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมโรคติดต่ออย่างเป็นทางการ ใช้ในการปฏิบัติงานในพื้นที่เฝ้าระวังโรคติดต่อ และการปฏิบัติงาน สอบสวนควบคุมโรคติดต่อ
เครื่องหมายแผ่นผ้าติดแขนเสื้อ (อาร์ม) แขนเสื้อด้านซ้ายให้ติดเครื่องหมายแผ่นผ้าติดแขนเสื้อ (อาร์ม) โค้งไปตามแนวตะเข็บเสื้อ ที่โคนแขนเสื้อด้านซ้ายห่างจากตะเข็บไหล่ ๒ เซนติเมตร ส่วนกลาง อาร์มแผ่นผ้าโค้งพื้นสีขาว เดินขอบด้วยไหมสีเขียวภายในปักตัวอักษรสีเขียว รูปแบบตัวอักษรตระกูล JS **กรณีปฏิบัติงานประจำด่านควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศ ไม่ติดอาร์มที่แขนเสื้อ หมายเหตุ เจ้าของลิขสิทธิธ์ชุดโปรแกรมคอมพิวเตอร์ฟอนต์ตระกูล JS Fonts ได้อนุญาตให้กระทรวงสาธารณสุขและหน่วยงานในสังกัด ใช้งานเผยแพร่ และแจกจ่ายได้โดยไม่คิดค่าใช้จ่าย เพื่อสนับสนุนกิจการงานของกระทรวงสาธารณสุข (๓ ธันวาคม ๒๕๕๙) ภูมิภาค
อินทรธนูเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อ ประเภทตำแหน่ง อินทรธนู ทั่วไป วิชาการ อำนวยการ บริหาร ระดับ ทักษะพิเศษ ระดับทรงคุณวุฒิ ระดับสูง ระดับเชี่ยวชาญ ระดับต้น อาวุโส ระดับชำนาญการพิเศษ - ระดับชำนาญการ - ระดับชำนาญงาน ระดับปฏิบัติการ ระดับปฏิบัติงาน
ป้ายชื่อและตำแหน่ง ขนาดกว้างไม่เกิน ๒.๓ เซนติเมตร ยาวไม่เกิน ๗.๕ เซนติเมตร ป้ายชื่อเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อ ป้ายชื่อเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อ ประจำด่านควบคุมโรคติดต่อ หัวเข็มขัด หัวเข็มขัดทำด้วยโลหะสีทองเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าแนวนอน กว้าง ๓.๕ เซนติเมตร ยาว ๕ เซนติเมตร มีครุฑดุนนูนอยู่ตรงกลางหัวเข็มขัด แบบบัตรประจำตัวเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อ
คำถาม และข้อคิดเห็น ..................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................