อาจารย์ ทรงศักดิ์ สุริโยธิน รูปภาพ (Picture) เสนอ อาจารย์ ทรงศักดิ์ สุริโยธิน จัดทำโดย นางสาวอุไรรัตน์ หาญธงไชย รหัส26 สาขาวิทยาศาสตร์ทั่วไป ภาคเรียนที่ 1/2558
ความหมายของรูปภาพ รูปภาพเป็นสัญลักษณ์อย่างหนึ่งเป็นวัสดุพื้นฐานที่มีอิสระในตัวเอง สามารถใช้ได้โดยไม่ต้องอาศัยอุปกรณ์อื่นๆในทุกสถานที่และทุกเวลา รูปภาพเป็นวัสดุราคาถูก หาได้ง่ายแต่มีประโยชน์ต่อการเรียนการสอนในทุกระดับ เป็นงานกราฟิกประเภทหนึ่ง ที่ต้องอาศัยหลักการทางศิลปะเช่นเดียวกัน ประกอบกับเครื่องมือเพื่อใช้ในการถ่ายภาพ คือ กล้องถ่ายภาพ
กล้องถ่ายภาพ กล้องถ่ายภาพในปัจจุบันมีมากมาย หลายรูปแบบ ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ กล้องถ่ายภาพอัตโนมัติ (Automatic Cameras) เป็นกล้องที่ถ่ายง่ายและสะดวกต่อการ ใช้งานเนื่องจาก มีระบบช่วยเหลือหลายอย่าง เช่น เปิดหน้ากล้อง หรือรูรับแสงอัตโนมัติ ปรับความเร็ว ชัตเตอร์ ได้โดยอัตโนมัติ เลื่อนฟิล์มอัตโนมัติ กรอฟิล์มกลับ เมื่อถ่ายหมดม้วนได้เอง ปรับระยะชัดอัตโนมัติ แฟลชทำงานได้โดยอัตโนมัติเมื่อแสงไม่พอ สิ่งเหล่านี้ล้วนช่วย ให้การถ่ายภาพได้ดียิ่งขึ้น
กล้องถ่ายภาพ (ต่อ) กล้องถ่ายภาพเลนส์เดี่ยว (Single Lena Reflex : SLR) เป็นกล้องที่เหมาะสำหรับการใช้งาน ในระดับมืออาชีพ หรือผู้ที่ต้องการรายละเอียดสูง ในทุก ๆ ด้านตัวเลนส์สามารถเปลี่ยน ได้หลายแบบ เช่น การถ่ายภาพใกล้ การถ่ายภาพปกติ การถ่ายภาพมุมกว้าง หรือถ่ายภาพ ในระยะไกล กล้องประเภทนี้ยังมีแบบอัตโนมัติด้วย เพื่อลดภาระ ในการควบคุมให้ได้มาตรฐานยิ่งขึ้น การถ่ายภาพให้ได้ผลดีนั้น ขึ้นอยู่กับองค์ประกอบ 3 ประการ คือ 1. ควบคุมแสงได้เหมาะสม 2. ภาพคมชัด 3. จัดองค์ประกอบตามหลักศิลปะ
สื่อรูปภาพในกระบวนการเรียนการสอน สื่อรูปภาพ รูปภาพเป็นสื่อการเรียนการสอนที่หาได้ง่าย ประหยัดค่าใช้จ่าย สะดวก และรวดเร็วอาจพบได้จาก หนังสือ เอกสาร หรือสิ่งพิมพ์ต่าง ๆภาพปฏิทิน ภาพโปสเตอร์เป็นต้น และนำมาใช้ในการเรียนการสอน รูปภาพอาจเป็นภาพเขียน ภาพวาด ภาพถ่ายหรือภาพพิมพ์ก็ได้ จัดเป็นสื่อการเรียนการสอน ที่สามารถรับรู้หรือเรียนรู้ด้วยตนเองซึ่งเรียกว่า ทัศนวัสดุ
สื่อรูปภาพในกระบวนการเรียนการสอน (ต่อ) นอกจากนี้ยังสามารถนำรูปภาพ มาใช้ในการจัดป้ายนิเทศ เพื่อเร้าความสนใจของผู้เรียน นำเข้าสู่บทเรียน และนำมาใช้ในการจัดนิทรรศการได้ รูปภาพช่วยให้เข้าใจได้ดีกว่าการอธิบายเพียงอย่างเดียว สุภาษิตจีนยังกล่าวว่า ภาพเพียงภาพเดียว ดีกว่าคำพูดพันคำ ตามประวัติการสื่อความหมายของมนุษย์ พบว่ามนุษย์ใช้รูปภาพในการติดต่อ ระหว่างกันแทนการใช้ภาษาพูดและการเขียนมาก่อน
ข้อดีของรูปภาพในการเรียนการสอน รูปภาพทำให้เข้าใจในสิ่งที่อ่านสมบูรณ์ขึ้น รูปภาพช่วยเป็นจุดร่วมความสนใจของผู้เรียน คือ เมื่อใช้ภาพประกอบการสอนแล้วจะทำให้ผู้เรียนมีความสนใจในการเรียนการสอน มีความเข้าใจบทเรียน และเข้าใจตรงกัน รูปภาพช่วยให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียน และส่งเสริมการอภิปรายร่วมกัน รูปภาพช่วยในการสรุปบทเรียนหรือหน่วยการเรียน เช่น เมื่อเรียนจบแล้วต้องการจะสรุปเรื่องราวก็ใช้รูปภาพซึ่งมีรายละเอียดเกี่ยวกับเรื่องนั้นมาแสดง รูปภาพสามารถเร้าอารมณ์หรือเปลี่ยนทัศนคติของผู้เรียนได้
ลักษณะรูปภาพประกอบการสอนที่ดี ลักษณะรูปภาพประกอบการสอนที่ดี มีความหมายให้รายละเอียดตรงกับเนื้อหาและวัตถุประสงค์ เป็นภาพที่คุ้นเคยกับความสามารถและความสนใจของผู้เรียน เป็นภาพที่ตรงกับความเป็นจริง ทันสมัย ประณีต เป็นภาพที่สื่อความหมายได้ดี มีสาระในภาพเพียงเรื่องเดียว ควรเป็นภาพที่ถูกหลักการออกแบบ และมีคุณภาพทางเทคนิคดี มีหัวเรื่องและมีคำอธิบายประกอบภาพ
เทคนิคการนำเสนอด้วยรูปภาพ เทคนิคการนำเสนอด้วยรูปภาพ ใช้รูปภาพให้ตรงกับจุดหมายที่ตั้งไว้ ไม่ควรนำเสนอภาพหลาย ๆ ภาพพร้อมกัน ควรติดตั้งหรือแขวนให้เรียบร้อย อาจสร้างความสนใจด้วยการปิด – เปิดทีละส่วน ใช้ควบคู่กับสื่ออื่น ๆ ได้ เช่น วีดีทัศน์ แผนภูมิ ของจริง ให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรม เช่น ตอบคำถาม เล่าเรื่องจากภาพ รูปภาพที่ดีมีคุณค่า ควรผลึก หรือใส่กรอบให้แข็งแรง เมื่อใช้เสร็จแล้วควรเก็บรักษาไว้หมวดหมู่เพื่อใช้ในโอกาสต่อไป
ข้อดีและข้อเสียของรูปภาพ ข้อดีและข้อเสียของรูปภาพ ทำประสบการณ์นามธรรมเป็นรูปธรรมได้ ราคาถูกจัดหาได้ง่าย เร้าความสนใจได้ดี สามารถดัดแปลงให้เป็นสื่ออื่นๆได้อีกมากมาย ครอบคลุมเนื้อหาได้หลายๆวิชา ศึกษารายละเอียดได้โดยใช้เวลานานเท่าที่ต้องการ ใช้ร่วมกับสื่ออื่นๆได้แทบทุกชนิด ใช้กับกระบวนการเรียนการสอนได้ทุกขั้นตอน ข้อดี
ข้อเสีย รูปภาพอาจมีขนาดเล็กไม่เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมายกลุ่มใหญ่ ขาดมิติของความลึก ทำให้ดูไม่สมจริง ชำรุดฉีกขาดง่าย
จบการนำเสนอ