งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

ประเภท คุณลักษณะ และข้อแตกต่างของกล้องถ่ายภาพ

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "ประเภท คุณลักษณะ และข้อแตกต่างของกล้องถ่ายภาพ"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 ประเภท คุณลักษณะ และข้อแตกต่างของกล้องถ่ายภาพ

2 กล้องถ่ายภาพ มีการพัฒนาต่อเนื่องจนกระทั่งปัจจุบันมีกล้องถ่ายภาพหลายประเภทให้เลือกใช้งาน ตามวัตถุประสงค์และกำลังทรัพย์ของผู้ใช้งาน ตั้งแต่กล้องคอมแพคขนาดเล็ก ราคาถูก ไปจนถึงกล้องขนาดกลางที่ใช้ฟิล์ม 120 ซึ่งมีขนาดใหญ่กว่าฟิล์ม 35 มม. เกือบ 2 เท่า และกล้องขนาดใหญ่ที่ใช้ฟิล์มแผ่นเพื่อ ให้ภาพที่มีความละเอียดสูงๆ สามารถขยายขนาดภาพใหญ่ได้ การเรียนรู้ประเภทของกล้องถ่ายภาพรุ่นต่างๆ จะช่วยให้นักถ่ายภาพเลือกใช้กล้อง รวมทั้งอุปกรณ์ต่างๆได้อย่างเหมาะสมกับงานมากที่สุด

3 กล้องถ่ายภาพ สามารถแบ่งออกได้ในหลายลักษณะแล้วแต่จะใช้เกณฑ์ ที่นิยมใช้กันแพร่หลายได้แก่
1. กล้องคอมแพค (Compact Camera) เป็นกล้องที่พัฒนามาจากกล้องขนาดเล็กที่เรียกว่า Miniature เป็นกล้องขนาดเล็ก น้ำหนักเบา พกพาสะดวก มีกลไกอิเล็กทรอนิกส์ควบคุมโดยอัตโนมัติเกือบทั้งหมด - ใช้ฟิล์มขนาด 35 มม. - มีแฟลชในตัว (Built-in flash) - ระบบโฟกัสแบบอัตโนมัติ - การปรับค่า F/STOP หรือรูรับแสง(APERTURE) และความเร็วชัตเตอร์ จะตั้งค่าไว้เพียงค่าเดียว

4 - เลนส์ที่ติดตั้งส่วนใหญ่เป็นเลนส์มุมกว้าง ขนาด 35 มม. และ 28 มม
- เลนส์ที่ติดตั้งส่วนใหญ่เป็นเลนส์มุมกว้าง ขนาด 35 มม.และ 28 มม. (ภาพจะดูว่าไกลกว่าความเป็นจริงเล็กน้อย) - ลักษณะการใช้งานเพียงยกขึ้นเล็งแล้วกดชัตเตอร์เท่านั้น - ประสิทธิภาพดีพอสมควร ขนาดกะทัดรัด สามารถใช้ได้ในทุกสภาวะ ใช้งานได้รวดเร็ว ราคาถูก - ข้อเสีย คือ อาจเกิด การเหลื่อมภาพ (parallax) เมื่อถ่ายในระยะใกล้สำหรับรุ่นที่ใช้ฟิล์ม

5 กล้องซุปเปอร์คอมแพค - ลักษณะโดยทั่วไปคล้ายกับกล้องคอมแพค แต่มีสมรรถนะเพิ่มมากขึ้น มีการทำงานที่ซับซ้อน มากขึ้น -ระบบโฟกัส รูรับแสง ความเร็วชัตเตอร์เป็นแบบอัตโนมัติ - อาจเพิ่มรูปแบบ (mode) การทำงาน เช่นถ่ายภาพกลางคืน ถ่ายภาพดอกไม้ - ใช้ฟิล์มขนาด 35 มม. หรือ เป็นระบบ ดิจิตอล - มีแฟลชในตัว (Built-in flash)

6 กล้องซุปเปอร์คอมแพค (ต่อ)
- มีจอ LCD แสดงผลการทำงาน - มีฟังก์ชั่น หน่วงเวลา และสามารถบันทึกวัน เดือน ปี - เลนส์ที่ติดตั้งส่วนใหญ่เป็นเลนส์ซูมขนาด มม. หรือ มม. - ประสิทธิภาพดีกว่ากล้องคอมแพค ขนาดกะทัดรัด สามารถใช้ได้ในทุกสภาวะ ใช้งานได้รวดเร็ว

7 กล้องสะท้อนภาพเลนส์เดี่ยว 35 มม.
กล้องสะท้อนภาพเลนส์เดี่ยว 35 มม. (Single lens reflex camera; 35 mm.) ระบบการทำงานของกล้องแบบนี้ คือ แสงสะท้อนจากวัตถุจะผ่านเลนส์เข้าไปยังกล้องซึ่งภายในมีกระจกสะท้อนภาพวางทำมุม 45o เพื่อสะท้อนภาพขึ้นสู่ปริซึม 5 เหลี่ยม ซึ่งเรียกว่า “Penta prism” ภาพที่เห็นในช่องมองภาพจะเป็นภาพที่ถูกต้อง เมื่อกดชัตเตอร์ถ่ายภาพ ระบบกลไกของกล้องจะทำให้กระจกสะท้อนภาพกระดกตัวขึ้นด้านบน พร้อมกับม่านชัตเตอร์ก็จะเปิดออกให้แสงผ่านแสงผ่านตรงเข้าไปยังฟิล์มที่อยู่ด้านหลังจากนั้นม่านชัตเตอร์ที่ติดตั้งอยู่หลังกระจกก็จะปิดเข้าสู่ตำแหน่งเดิม

8 SLR ; Camera - Cross Section
“Penta prism”

9 กล้องสะท้อนภาพเลนส์เดี่ยว 35 มม. (ต่อ)

10 กล้องสะท้อนภาพเลนส์เดี่ยว 35 มม. (ต่อ)

11 กล้องสะท้อนภาพเลนส์เดี่ยว 35 มม. (ต่อ)
เนื่องจากกล้องประเภทนี้ ประกอบด้วยเลนส์เพียง 1 ตัว ภาพที่มองเห็นในช่องมองภาพกับภาพที่ปรากฏบนฟิล์ม คือ ภาพเดียวกัน จึงไม่มีปัญหาในเรื่องการเหลื่อมของภาพ นอกจากนี้ยังสามารถ ปรับขนาดของรูรับแสง ความเร็วในการเปิด-ปิดของม่านชัตเตอร์ได้ทุกระดับ สามารถถอดเปลี่ยนเลนส์ได้ทุกความยาวโฟกัส จึงเป็นที่นิยมของช่างภาพสมัครเล่นและมืออาชีพ

12 กล้องสะท้อนภาพเลนส์เดี่ยว 35 มม. (แบบอัตโนมัติ)
กล้องสะท้อนภาพเลนส์เดี่ยว 35 มม. (แบบอัตโนมัติ) มีคุณสมบัติและรูปแบบการใช้งานพื้นฐานพื้นฐานคล้ายกับกล้องสะท้อนภาพเลนส์เดี่ยว 35 มม. แบบธรรมดา (manual) แต่เพิ่มระบบการทำงานแบบอัตโนมัติ - มีระบบการหาโฟกัสแบบอัตโนมัติ - มีระบบการปรับขนาดรูรับแสง และระดับความเร็วชัตเตอร์แบบอัตโนมัติ - มีจอแสดงผลการทำงานแบบ LCD - ใช้แบตเตอรี่ในการทำงาน

13 กล้องสะท้อนภาพเลนส์เดี่ยว 120 มม.
กล้องสะท้อนภาพเลนส์เดี่ยว (Single lens reflex camera, 120 mm.) กล้องสะท้อนภาพเลนส์เดี่ยวนี้ผลิตมาเป็น 2 แบบ ตามขนาดของฟิล์มที่ใช้ คือ 35 และ 120 มม. สาเหตุที่ออกแบบมาให้ใช้ฟิล์มขนาดใหญ่ก็เพื่อผลด้านความคมชัดสูง มีระบบการทำงานคล้ายกับ กล้องสะท้อนภาพเลนส์เดี่ยว 35 มม. ฟิล์ม digital MamiyaZDback22Mp

14 กล้องสะท้อนภาพเลนส์เดี่ยว 120 มม.
ต่างกันตรงที่ภาพจะสะท้อนจากกระจกไปยังกระจกรับภาพ (Ground grass) สำหรับปรับความคมชัดของภาพจึงต้องมองภาพจากด้านบนของกล้องและภาพที่เห็นจะกลับซ้ายเป็นขวา ข้อดี ของกล้องสะท้อนภาพเลนส์เดี่ยว 1. สามารถปรับโฟกัสได้ชัดเจน ภาพที่มองเห็นตรงกับภาพที่ ปรากฏบนฟิล์ม 2. สามารถถอดเปลี่ยนเลนส์ได้ทุกขนาด (เลนส์ปกติมีความยาว มม. เทียบเท่า 50 มม.) 3. มีระบบอัตโนมัติสามารถใช้ฟิล์มขนาด 35 และ 120 มม. 4. สามารถถ่ายภาพได้อย่างต่อเนื่องและรวดเร็วและเปลี่ยนชนิดของฟิล์มได้ตลอด ข้อเสีย คือ มีราคาแพงกว่ากล้อง 35 มม.มาก น้ำหนักมากไม่สะดวกในการพกพา

15 กล้องใหญ่ (View and studio camera)
กล้องใหญ่ หรือที่เรียกว่า View camera และ Studio camera เป็นกล้องที่ใช้กันอย่างกว้างขวางในหมู่ช่างภาพมืออาชีพ สำหรับถ่ายภาพโฆษณา ในสตูดิโอ ทั้งนี้สามารถถ่ายได้ทั้งฟิล์ม Negative และ Positive ขนาดใหญ่ซึ่งจะมีคุณภาพสูงในการอัดขยายภาพ

16 ส่วนประกอบของกล้องใหญ่ (View Camera)
ส่วนประกอบพื้นฐานของกล้องใหญ่ประกอบด้วย 2 ด้าน ด้านหนึ่งติดตั้งแผงเลนส์ และอีกด้านหนึ่งติดตั้งแผงฟิล์ม โดยเชื่อมต่อกันด้วย Bellow ทึบแสง (light – tight bellow) ผนัง 2 ด้านจะติดกับรางเดี่ยว (monorail) ซึ่งสามารถ ยืดหด Bellow ไปตามรางเพื่อปรับโฟกัสแผงที่ยึดเลนส์สามารถปรับได้ตาม ความเหมาะสมผนังด้านหลังเป็นฉากรับภาพ Ground grass เพื่อมองและปรับภาพ ภาพของวัตถุบนฉากรับภาพนี้จะเป็นภาพหัวกลับ light – tight bellow monorail

17 ฟิล์มที่ใช้กับกล้องใหญ่
ฟิล์มที่ใช้กับกล้องใหญ่ เป็นฟิล์มแผ่น (Sheet film) มีหลายขนาด ได้แก่ 4×5 ", 5×7 ", 8×10 " เมื่อจะใช้ฟิล์มสามารถบรรจุใส่ตลับ (holder) ได้ทั้งด้านหน้าและด้านหลัง เมื่อต้องการถ่ายภาพจึงสอดตลับเข้าไปทางด้านหลังกล้องหน้ากระจกรับภาพ - ข้อดีของกล้องชนิดนี้คือ สามารถปรับแผงเลนส์และผนังด้านหลังกล้องขึ้น-ลงหรือซ้าย-ขวาเพื่อผลทาง perspective เช่น ปรับขึ้น-ลงให้ขนานกับแนวเส้นขอบตึก เพื่อถ่ายภาพตึกไม่ให้เกิดเส้นเอนลู่เข้าหากัน - ข้อเสียคือ ขนาดใหญ่ ต้องใช้ขาตั้งกล้องเคลื่อนย้ายไม่สะดวก

18 กล้องถ่ายภาพเพื่อผลพิเศษเฉพาะอย่าง
เป็นกล้องที่ประดิษฐ์ขึ้นมาเพื่อใช้สำหรับถ่ายภาพเฉพาะอย่างตามลักษณะของงาน ได้แก่ กล้องโพลาลอยด์ (Polaroid camera) เป็นกล้องที่สามารถถ่ายภาพแล้วอัดภาพลงกระดาษออกมาได้ทันที โดยไม่ต้องผ่านกระบวนการล้างฟิล์มและอัดขยายภาพ

19 2. กล้องพาโนรามา (Panoramic camera) เป็นกล้องที่สามารถหมุนตามแนวนอน แสงหักเหจากเลนส์ผ่านช่องแคบๆ ซึ่งหมุนตามเลนส์ไปตกลงบนฟิล์มซึ่งวางในแผงโค้งตลอดแนวด้านหลังกล้อง สามารถถ่ายภาพมุมกว้างถึง 140๐

20 กล้องถ่ายภาพเพื่อผลพิเศษเฉพาะอย่าง
3. กล้องถ่ายภาพใต้น้ำ(Underwater camera) เป็นกล้องที่สร้างขึ้นมาเพื่อใช้ถ่ายภาพใต้น้ำ จึงต้องบรรจุในกล่องที่แข็งแรงและสามารถป้องกันน้ำเข้าได้ ทนทานต่อแรงกดดัน รวมทั้งต้องมีระบบกลไกควบคุมกล้องจากภายนอกในการปรับโฟกัส เลื่อนฟิล์ม และการกดชัตเตอร์ เช่น กล้อง Nikonos

21 กล้องถ่ายภาพเพื่อผลพิเศษเฉพาะอย่าง
4. กล้องถ่ายภาพจากกล้องจุลทรรศ์ (Microscope camera) เป็นกล้องที่ติดตั้งบนกล้องจุลทรรศ์เพื่อถ่ายภาพที่ขยายมาจากกล้องจุลทรรศ์

22 การเก็บรักษากล้องถ่ายภาพ
1. ทำความสะอาดเลนส์และตัวกล้องด้วยชุดอุปกรณ์สำหรับทำความสะอาดเฉพาะ เช่น ลูกยางเป่าลม (blower) น้ำยาสำหรับล้างเลนส์ (lens cleaning solvent) โดยการเช็ดเลนส์ควรเช็ดวนไปทางเดียวกัน ไม่ควรใช้ผ้าหรือกระดาษอื่นเช็ดเลนส์เด็ดขาด 2. เมื่อไม่ใช้กล้องควรตั้งความเร็วชัตเตอร์ B และ F/STOP ที่กว้างที่สุด ใส่ฝาครอบเลนส์ เก็บกล้องไว้ในกระเป๋าเพื่อป้องกันการกระแทก

23 การเก็บรักษากล้องถ่ายภาพ
3. ควรสวม ฟิลเตอร์ UV,SKY LIGHT หรือ Protector ไว้ตลอดเพื่อกรองแสงอุลตร้าไวโอเลต แสงแฟลร์และป้องกันฝุ่นละออง

24 การเก็บรักษากล้องถ่ายภาพ
4. ควรเก็บกล้องและอุปกรณ์ ไว้ในที่แห้งและเย็น โดยควรใส่สารซิลิกาเจล (Siliga gel) ไว้ด้วยเพื่อดูดความชื้น 5. ไม่ควรเก็บกล้องและอุปกรณ์ไว้ในที่ร้อน เช่น ในรถยนต์ ตู้เสื้อผ้าเพราะจะทำให้เลนส์ ชิ้นส่วนเสื่อมสภาพ 6. หากกล้องเกิดอาการขัดข้องไม่ควรซ่อมด้วยตัวเอง ควรส่งให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจซ่อม


ดาวน์โหลด ppt ประเภท คุณลักษณะ และข้อแตกต่างของกล้องถ่ายภาพ

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google