งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

การบังคับชำระหนี้ Subtitle NOTE:

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "การบังคับชำระหนี้ Subtitle NOTE:"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 การบังคับชำระหนี้ Subtitle NOTE:
To change the image on this slide, select the picture and delete it. Then click the Pictures icon in the placeholder to insert your own image. Subtitle

2 การบังคับชำระหนี้โดยเฉพาะเจาะจง
(วัตถุแห่งหนี้เป็นอย่างไรก็ควรปฏิบัติการชำระหนี้ให้ เฉพาะเจาะจงตามนั้น) มาตรา 213 ถ้าลูกหนี้ละเลยไม่ชำระหนี้ของตน เจ้าหนี้ จะร้องขอต่อศาลให้สั่งบังคับชำระหนี้ก็ได้ เว้นแต่ สภาพแห่งหนี้จะไม่เปิดช่องให้ทำเช่นนั้นได้ เมื่อสภาพแห่งหนี้ไม่เปิดช่องให้บังคับชำระหนี้ได้ ถ้า วัตถุแห่งหนี้เป็นอันให้กระทำการอันหนึ่งอันใด เจ้าหนี้ จะร้องขอต่อศาลให้สั่งบังคับให้บุคคลภายนอกกระทำ การอันนั้นโดยลูกหนี้เสียค่าใช้จ่ายให้ก็ได้ แต่ถ้าวัตถุประสงค์แห่งหนี้เป็นอันให้กระทำนิติกรรม อย่างใดอย่างหนึ่งไซร้ ศาลจะสั่งให้ถือเอาตามคำ พิพากษาแทนการแสดงเจตนาของลูกหนี้ก็ได้ ส่วนหนี้ซึ่งมีวัตถุเป็นอันจะให้งดเว้นการอันใด เจ้าหนี้ จะเรียกร้องให้รื้อถอนการที่ได้กระทำลงแล้วนั้นโดยให้ ลูกหนี้เสียค่าใช้จ่ายและให้จัดการอันควรเพื่อกาลภาย หน้าด้วยก็ได้ อนึ่ง บทบัญญัติในวรรคทั้งหลายที่กล่าวมาก่อนนี้ หา กระทบกระทั่งถึงสิทธิที่จะเรียกเอาค่าเสียหายไม่ ลูกหนี้อาจถูกบังคับชำระหนี้ได้ 3 แบบคือ 1. การบังคับชำระหนี้โดยเฉพาะเจาะจง 2. การบังคับชำระหนี้จากทรัพย์สินของลูกหนี้ 3. การบังคับให้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทน ตกลงต้องชำระหนี้ด้วยวิธีไหน อย่างไรก็ต้องเป็นไปตามที่ตกลง (ดูตามวัตถุแห่งหนี้) อาจเป็น “หนี้ชำระด้วยเงิน” หรือ “ส่งมอบทรัพย์” หรือ “หนี้กระทำการ” เพราะการไม่ชำระหนี้(ตามความประสงค์แท้จริง), การผิดนัดชำระหนี้(ลงโทษ)

3 1. การชำระหนี้เฉพาะเจาะจง
คือการบังคับให้ลูกหนี้ชำระหนี้ให้ตรงตามความ ประสงค์แท้จริง (ม.213) (กระทำการ งดเว้นกระทำการ หรือส่งมอบทรัพย์(กรรมสิทธิ์))+ (ชนิด จำนวน ปริมาณ คุณภาพ สถานที่ เวลา ตามที่ตกลงกัน หรือตาม กฎหมายใดๆหรือตามพฤติการณ์ที่แสดงถึงเจตนาของ คู่สัญญา) ข้อสังเกตุ:ลูกหนี้ไม่จำต้องชำระหนี้ที่ไม่มีหน้าที่ หรือ เป็นไปตามวัตถุแห่งหนี้ หากลูกหนี้ไม่ชำระหนี้และไม่ประสงค์จะบังคับให้ลูกหนี้ ชำระหนี้ให้ต้องตามความประสงค์ก็สามารถใช้สิทธิบอก เลิกสัญญา (ม ) ดังนั้น ถ้าหากเลือกให้ลูกหนี้ “ชำระหนี้” ก็ต้องให้ต้องตาม ความประสงค์แท้จริงแห่งมูลหนี้ที่ตกลงกัน เว้นแต่สภาพแห่งนี้ ไม่เปิดช่องให้บังคับชำระหนี้ได้

4 หนี้กระทำการ : คืนของที่ยืมมา ชำระเงิน สร้างบ้าน ฯลฯ
หนี้กระทำการ : คืนของที่ยืมมา ชำระเงิน สร้างบ้าน ฯลฯ หากไม่กระทำการ เจ้าหนี้มีสิทธิฟ้องศาลบังคับให้ ลูกหนี้กระทำการเหล่านั้น หรืออาศัยอำนาจของ เจ้าพนักงานบังคับคดี เข้ายึด อายัดทรัพย์นั้นมาคืนให้เจ้าหนี้หรือ ยึดทรัพย์ทั่วไปมาขายทอดตลาดชำระหนี้ได้ หรือ จับกุมและกักขังจนกว่าจะกระทำการนั้น (ผู้เช่าไม่ ยอมออกจากที่เช่าจนถูกศาลพิพากษาแล้ว อาจถูก จับกุมและกักขังจนกว่าจะออกได้ (ฎ.452/2491) (คน อื่นทำแทนไม่ได้)

5 กรณีขอให้ศาลสั่งให้ บคภน.กระทำแทน โดยลูกหนี้เสียค่าใช้จ่ายให้
“หนี้กระทำการ” กับ “ทางแก้ไขกรณีสภาพแห่งหนี้ไม่เปิดช่องให้บังคับชำระหนี้” เมื่อสภาพแห่ง หนี้ไม่เปิดช่องให้ บังคับชำระหนี้ได้ ถ้าวัตถุแห่งหนี้ เป็นอันให้กระทำ การอันหนึ่งอันใด เจ้าหนี้จะร้องขอ ต่อศาลให้สั่ง บังคับให้ บุคคลภายนอก กระทำการอันนั้น โดยลูกหนี้เสีย ค่าใช้จ่ายให้ก็ได้ (ม.213 ว.2 ต้น) กรณีขอให้ศาลสั่งให้ บคภน.กระทำแทน โดยลูกหนี้เสียค่าใช้จ่ายให้ ตย. ลูกหนี้ไม่ตัดหญ้าให้ตามสัญญาจ้าง เจ้าหนี้จะบังคับให้ทำความสะอาดบ้านแทน ไม่ได้ (ไม่ตรง) แต่อาจให้บุคคลอื่นมาตัด หญ้าแทนได้ กรณีต้องไม่ใช้ “กระทำการด้วย ความสามารถพิเศษเฉพาะเจาะจง” เช่น การจ้างร้องเพลง วาดรูป ถ่ายละคร โฆษณา (เน็ทไอดอลรีวิวสินค้า?) กรณีนี้ต้อง เลิกสัญญาและเรียกค่าเสียหาย

6 เจ้าหนี้จะร้องขอต่อศาลให้ สั่งบังคับให้ “เอาคำ พิพากษาแทนการแสดง เจตนาได้นั้นใช้ได้เฉพาะ “การกระทำในหนี้ที่เกิดจาก มูลสัญญาหรือหนี้ที่เป็นการ ทำนิติกรรม” เท่านั้น” (การ หย่า, การไถ่ถอนจำนอง) ไม่รวมถึงกรณีอื่นใดที่ไม่ใช่ นิติกรรม เช่น ละเมิด กระทำการอย่างอื่นที่ไม่ได้ เกิดจากนิติกรรมสัญญา แต่ถ้า วัตถุประสงค์แห่ง หนี้เป็นอันให้ กระทำนิติกรรม อย่างใดอย่าง หนึ่งไซร้(ไม่รวมหนี้ มูลละเมิด) ศาลจะ สั่งให้ถือเอาตาม คำพิพากษาแทน การแสดงเจตนา ของลูกหนี้ก็ได้ (ม.213 ว.2 ท้าย)

7 คำพิพากษาฎีกาที่ 3110/2539 จำเลยตั้ง ร้านค้าอยู่ในท้องตลาดไป ซื้อไปซื้อสลากกินแบ่ง รัฐบาลซึ่งเป็นของโจทก์ที่ ถูกขโมยมาจากผู้นำมาขาย ถือไม่ได้ว่าจำเลยซื้อสลาก ฯจากท้องตลาดที่จะได้รับ ความคุ้มครองในฐานะ เป็นสัญญาซื้อขาย จำเลย จึงต้องคืนสลากกินแบ่ง รัฐบาลให้โจทก์ (วัตถุแห่ง หนี้มิใช่เป็นการบังคับให้ กระทำนิติกรรม จึง พิพากษาให้ถือเอาคำ พิพากษาของศาลแทนการ แสดงเจตนาในกรณีที่ จำเลยไม่ยอมคืนสลากกิน แบ่งฯให้โจทก์ไม่ได้) คำพิพากษาฎีกาที่ 4129/2540 จำเลยนำที่ดิน ของโจทก์ไปขี้นทะเบียนที่ ราชพัสดุโดยไม่ชอบ มิใช่เรื่องการทำนิติกรรม ระหว่างโจทก์หรือจำเลย ศาลมีอำนาจสั่งให้จำเลย กระทำให้ถูกต้องโดยให้ จำเลยถอนคำคัดค้านและ ให้เพิกถอนที่พิพาทออก จากทะเบียนได้ โดยไม่ จำต้องสั่งให้ถือเอาคำ พิพากษาแทนการแสดง เจตนาตาม ปพพ. มาตรา 213 วรรคสอง

8 คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2141/2531
จำเลยชอบเล่นการพนันมานาน โจทก์ห้ามปรามก็ไม่เชื่อบางครั้งนำทรัพย์สิน ภายในบ้านไปจำนำเอาเงินไปเล่นการพนันจำเลยเคยถูกจับฐานเล่นการพนัน ถูกดำเนินคดีจนศาลพิพากษาลงโทษ ก็ยังไม่เลิก โจทก์เป็นตำรวจต้องถูก ผู้บังคับบัญชาเรียกไปตักเตือนว่าหากไม่ห้ามให้จำเลยเลิกเล่น จะย้ายโจทก์ โจทก์ต้องเลี้ยงดูทั้งครอบครัว เมื่อจำเลยเล่นการพนันเสียบางครั้งเงินก็ไม่ พอใช้จ่ายพฤติการณ์ของจำเลยถือว่าเป็นการประพฤติชั่วเป็นเหตุให้โจทก์ผู้ เป็นสามีได้รับความอับอายขายหน้าอย่างร้ายแรง และได้รับความเสียหาย หรือเดือดร้อนเกินควร ในเมื่อเอาสภาพฐานะและความเป็นอยู่ร่วมกันฉันสามี ภริยามาคำนึงประกอบ โจทก์จึงฟ้องหย่าจำเลยได้ตามประมวลกฎหมายแพ่ง และพาณิชย์ มาตรา 1516(2)(ก)และ(ค) การจดทะเบียนการหย่าโดยคำพิพากษาตามประมวลกฎหมายแพ่งและ พาณิชย์มาตรา 1531 วรรคสอง คู่สมรสไม่จำต้องไปแสดงเจตนาขอจด ทะเบียนการหย่าต่อนายทะเบียนอีก ทั้งตามพระราชบัญญัติจดทะเบียน ครอบครัว พ.ศ มาตรา 16 ก็บัญญัติให้ผู้มีส่วนได้เสียเพียงแต่ยื่น สำเนาคำพิพากษาอันถึงที่สุดที่รับรองถูกต้องแล้วต่อนายทะเบียน และขอให้ นายทะเบียนบันทึกการหย่าไว้ในทะเบียนเท่านั้นศาลจึงไม่จำต้องสั่งคำขอ ของโจทก์ที่ขอให้จำเลยไปจดทะเบียนหย่า หากไม่ไปให้ถือเอาคำพิพากษา แทนการแสดงเจตนาของจำเลย.

9 คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6387/2547 (เรื่องมีการปลอมใบมอบ อำนาจไปรับโอนที่ดินและนำไปจดทะเบียนจำนอง เจ้าของ แท้จริงร้องขอให้เพิกถอนการรับโอนและการจดทะเบียน จำนองที่มิชอบนั้น) ตาม ป.ที่ดิน มาตรา 61 วรรคแปดได้บัญญัติไว้ความว่า ใน กรณีที่ศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งถึงที่สุดให้เพิกถอนหรือการ แก้ไขการจดทะเบียนสิทธิหรือนิติกรรมเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ อย่างใดแล้ว ให้เจ้าพนักงานที่ดินดำเนินการตามคำพิพากษา หรือคำสั่งนั้นตามวิธีการที่อธิบดีกรมที่ดินกำหนด โจทก์จึง สามารถนำสำเนาคำพิพากษาของศาลไปให้เจ้าพนักงานที่ดิน จังหวัดชลบุรีดำเนินการตามคำพิพากษาได้ และ ป.ที่ดิน มาตรา 62 ยังได้บัญญัติไว้อีกว่า บรรดาคดีที่เกิดขึ้นเกี่ยวด้วย เรื่องกรรมสิทธิ์ที่ดินที่ได้ออกโฉนดที่ดินแล้ว เมื่อศาลพิจารณา พิพากษาถึงที่สุดแล้ว ให้ศาลแจ้งผลของคำพิพากษาอัน ถึงที่สุดหรือคำสั่งนั้นต่อเจ้าพนักงานที่ดินแห่งท้องที่ซึ่ง ที่ดินนั้นตั้งอยู่ด้วย ดังนั้นจึงไม่มีความจำเป็นที่ศาล จะต้องบังคับให้จำเลยที่ 3 ไปจดทะเบียนแก้ไขรายการ สารบาญจดทะเบียนท้ายโฉนดที่ดินพิพาทให้ปลดจาก การจำนองหรือให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดง เจตนาของจำเลยที่ 3 อีก

10 คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6387/2547 (เรื่องมีการปลอมใบมอบ อำนาจไปรับโอนที่ดินและนำไปจดทะเบียนจำนอง เจ้าของ แท้จริงร้องขอให้เพิกถอนการรับโอนและการจดทะเบียน จำนองที่มิชอบนั้น) ตาม ป.ที่ดิน มาตรา 61 วรรคแปดได้บัญญัติไว้ความว่า ใน กรณีที่ศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งถึงที่สุดให้เพิกถอนหรือการ แก้ไขการจดทะเบียนสิทธิหรือนิติกรรมเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ อย่างใดแล้ว ให้เจ้าพนักงานที่ดินดำเนินการตามคำพิพากษา หรือคำสั่งนั้นตามวิธีการที่อธิบดีกรมที่ดินกำหนด โจทก์จึง สามารถนำสำเนาคำพิพากษาของศาลไปให้เจ้าพนักงานที่ดิน จังหวัดชลบุรีดำเนินการตามคำพิพากษาได้ และ ป.ที่ดิน มาตรา 62 ยังได้บัญญัติไว้อีกว่า บรรดาคดีที่เกิดขึ้นเกี่ยวด้วย เรื่องกรรมสิทธิ์ที่ดินที่ได้ออกโฉนดที่ดินแล้ว เมื่อศาลพิจารณา พิพากษาถึงที่สุดแล้ว ให้ศาลแจ้งผลของคำพิพากษาอัน ถึงที่สุดหรือคำสั่งนั้นต่อเจ้าพนักงานที่ดินแห่งท้องที่ซึ่ง ที่ดินนั้นตั้งอยู่ด้วย ดังนั้นจึงไม่มีความจำเป็นที่ศาล จะต้องบังคับให้จำเลยที่ 3 ไปจดทะเบียนแก้ไขรายการ สารบาญจดทะเบียนท้ายโฉนดที่ดินพิพาทให้ปลดจาก การจำนองหรือให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดง เจตนาของจำเลยที่ 3 อีก

11 คำพิพากษาฎีกาที่ 7091/2542 คดีจำเลยถูกฟ้องว่าการอยู่โดยบุกรุก เป็นการอยู่โดยละเมิด โจทก์ฟ้องศาลขอให้ขับไล่จำเลยออกจากที่ พิพาท หากไม่ออกให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาแทน จำเลยไม่ได้ เพราะกรณีการบังคับให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดง เจตนามาใช้ได้เฉพาะกรณี “มูลสัญญาเท่านั้น” ไม่ใช้กับหนี้ที่เกิดจาก มูลละเมิด (ดัดแปลงเนื้อหาและอธิบายเฉพาะที่เกี่ยวข้องจากฎีกาเต็ม) คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1456/2539 โจทก์ฟ้องขอแบ่งกรรมสิทธิ์ รวมการที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้ถือเอาคำพิพากษาของศาลแทนการ แสดงเจตนาของจำเลยเพื่อทำการรังวัดแบ่งแยกนั้นขัดต่อคำพิพากษา ที่ว่าหากการรังวัดแบ่งแยกไม่อาจทำได้ให้ขายเอาเงินแบ่งกันและขัด ต่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1364 ศาลฎีกาพิพากษาให้ ยกคำขอในส่วนที่ให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของ จำเลย คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3859/2525 ศาลพิพากษาห้ามจำเลยขัดขวาง การขอออกโฉนดที่พิพาทของโจทก์ได้ แต่จะให้ถือเอาคำพิพากษา แสดงเจตนาของจำเลยว่าไม่ขัดขวางไม่ได้ เพราะไม่ใช่กรณีที่ศาล บังคับจำเลยให้กระทำนิติกรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง

12 คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6896/2548 ตามบทบัญญัติแห่ง ป. พ. พ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6896/2548 ตามบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 213 วรรคสอง ศาลจะสั่งให้ถือเอาตามคำพิพากษาแทน การแสดงเจตนาของลูกหนี้ได้ก็เฉพาะกรณีที่วัตถุแห่งหนี้เป็นอัน ให้กระทำนิติกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งเท่านั้น คดีนี้โจทก์ทั้งสอง ฟ้องบังคับให้จำเลยทั้งสี่ชำระหนี้เงิน ศาลจึงไม่อาจกำหนดให้ ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลยทั้งสี่ในการ บังคับชำระหนี้จากบัญชีเงินฝากของจำเลยที่ 1 หากจำเลยทั้งสี่ ไม่ยอมชำระหนี้ให้แก่โจทก์ทั้งสอง คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4920/2547 โจทก์ จำเลย และ ร. เป็น เจ้าของรวมในที่ดิน แต่ละคนย่อมมีสิทธิใช้สอยที่ดินดังกล่าวได้ แต่ต้องไม่ขัดต่อสิทธิแห่งเจ้าของรวมคนอื่น ๆ และเจ้าของรวม คนหนึ่ง ๆ จะจำหน่ายที่ดินดังกล่าวส่วนของตนก็ได้ การที่ จำเลยซึ่งเป็นผู้เก็บรักษาโฉนดที่ดินไว้นำโฉนดที่ดินไปให้ บุคคลอื่นยึดถือไว้เป็นประกันหนี้เงินกู้ เป็นเหตุให้โจทก์ไม่ สามารถจดทะเบียนขายที่ดินเฉพาะส่วนของโจทก์ได้ ย่อมขัด ต่อสิทธิของโจทก์ จำเลยมีหน้าที่ต้องดำเนินการนำโฉนดที่ดิน คืนมาเพื่อส่งมอบแก่โจทก์ กรณีมิใช่สภาพแห่งหนี้ไม่เปิดช่องให้ บังคับชำระหนี้ได้ ตามบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 213 วรรคสอง ศาลจะสั่งให้ ถือเอาตามคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของลูกหนี้ได้ เฉพาะกรณีที่วัตถุแห่งหนี้เป็นอันให้กระทำนิติกรรมอย่างใด อย่างหนึ่งเท่านั้น คดีนี้โจทก์ฟ้องบังคับให้จำเลยส่งมอบโฉนด ที่ดิน ศาลจึงไม่อาจสั่งให้ถือเอาตามคำพิพากษาแทนการแสดง เจตนาของจำเลยได้

13 ข้อสังเกต การบังคับให้โอนกรรมสิทธิ์ใน “สังหาริมทรัพย์” และ “อสังหาริมทรัพย์”
การซื้อขายสังหาริมทรัพย์ ที่ได้ตกลงระบุ “ทรัพย์ตาม สัญญา(ทรัพย์เฉพาะสิ่ง)กัน แล้ว “กรรมสิทธิ์”ในทรัพย์ นั้นย่อมโอนไปยังผู้ซื้อ (เจ้าหนี้)ทันที โดยที่ลูกหนี้ ไม่ต้องดำเนินการ จึง คงเหลือเพียงหน้าที่ในการ “ส่งมอบทรัพย์” ซึ่งฟ้องศาล เพื่อให้ส่งมอบอันทรัพย์นั้น แบบเฉพาะเจาะจงได้ ตาม 213 วรรคสอง(ต้น) กรณี “โอนทรัพย์ที่ต้องจด ทะเบียนกรรมสิทธิ์ถึงจะ โอนไปยังอีกฝ่าย” เช่น การซื้อขายที่ดิน ดังนั้น “ลูกหนี้มีหนี้ที่ต้องกระทำ 2 ประการคือ จด ทะเบียนและส่งมอบทรัพย์” หากลูกหนี้ไม่ดำเนินการใน กรณี เจ้าหนี้สามารถร้อง ขอต่อศาลให้ใช้คำ พิพากษาแทนการแสดง เจตนาโอนที่ดินให้เจ้าหนี้ ได้ ตาม 213 วรรคสอง (ท้าย)

14 การไม่ชำระหนี้ในหนี้ “งดเว้นกระทำการ” คือ ลูกหนี้ฝ่าฝืนกระทำสิ่งที่ห้ามกันไว้ตามที่ตกลง กัน (วัตถุประสงค์แห่งนี้ต้องเป็น “งดเว้นกระทำ การ”) เช่น การตกลงกันไม่ปลูกอาคารปิดบังแสง สว่าง หรือไม่ปลูกสร้างอาคารที่ก่อไม่ทำให้ เกิดแสงกระทบรบกวนสุขภาพ การพักอาศัยจน เป็นมลพิษทางแสงต่อกัน ผลคือ เจ้าหนี้ย่อมมีสิทธิเรียกร้องให้ลูกหนี้ต้อง งดเว้นกระทำการตามวัตถุประสงค์แห่งหนี้นั้น หากไม่งดเว้นและไปดำเนินการอันฝ่าฝืนหรือผิด ต่อการชำระหนี้งดเว้น โจทก์ย่อมฟ้องศาลโดย ขอให้ลูกหนี้(จำเลย)ยุติการไม่ชำระหนี้(งดเว้น) นั้นด้วยค่าใช้จ่ายของจำเลยเอง รวมถึงวาง มาตรการหรือการจัดการใดๆเพื่อมิให้เกิดขึ้น อีกได้ ข้อสังเกต:โจทก์จะขอศาลบังคับให้โจทก์รื้อเองโดย จำเลยรับผิดค่าใช้จ่ายไม่ได้ เพราะโดยหลัก จบค. ต้องดำเนินการรื้อเอง ตามวิแพ่ง 296ทวิ ส่วนหนี้ ซึ่งมีวัตถุเป็น อันจะให้งด เว้นการอัน ใด เจ้าหนี้ จะ (เรียกร้อง) ให้รื้อถอน การที่ได้ กระทำลง แล้วนั้นโดย ให้ลูกหนี้เสีย ค่าใช้จ่าย และให้ จัดการอัน ควรเพื่อกาล ภายหน้า ด้วยก็ได้ (ม.213 ว.3)

15 คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4495/2540 การสร้างอาคาร พิพาทสูง 30 ชั้น จำเลยได้รับอนุญาตจากเจ้า พนักงานให้ก่อสร้างได้ตามกฎหมายแล้ว จำเลยจึงมี สิทธิที่จะก่อสร้างอาคารได้ตามที่ได้รับอนุญาตนั้น หากจำเลยก่อสร้างอาคารผิดแบบแปลนที่ได้รับอนุญาต อย่างใดก็เป็นอำนาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานจะว่ากล่าว กับจำเลยเป็นอีกกรณีหนึ่ง เมื่อโจทก์เห็นว่าจำเลยก่อสร้างอาคารสูงกว่าที่ตกลง ระบุกันไว้ในสัญญาอันเป็นการผิดสัญญาซื้อขายห้อง ชุดที่ระบุว่าจำเลยจะสร้างอาคารชุดสูงเพียง 27 ชั้น โจทก์ย่อมมีสิทธิเพียงแต่บอกเลิกสัญญาและเรียก ค่าเสียหาย(ม.215) จากจำเลยเท่านั้น แต่หามีสิทธิที่ จะบังคับจำเลยให้รื้อถอนอาคารชั้นที่ 28 ถึงชั้นที่ 30 ไม่ (วัตถุแห่งหนี้ไม่มีเรื่อง “งดเว้นกระทำการใด”)

16 นาย ก. เป็นหนี้บัตรเครดิตจำนวน 90,000 บาท และดอกเบี้ยค้างชำระตามที่ตกลงกัน พ้นกำหนดเวลาชำระหนี้ไปแล้วตั้งแต่วันที่ 26 สิงหาคมปีเดียวกันนี้ แต่นาย ก. ก็ไม่ ชำระหนี้แต่อย่างใด ธนาคารเจ้าของบัตร เครดิตยื่นฟ้องต่อศาลแพ่งให้จำเลยชดใช้ หนี้ จำเลยให้การต่อสู้ในคดีว่า โจทก์ไม่มี อำนาจฟ้องเนื่องจาก “โจทก์ไม่มีอำนาจ ฟ้องจำเลยเพราะยังไม่มีการทวงถามให้ ชำระหนี้และไม่ได้ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญา ก่อน” จงวินิจฉัยคำให้การต่อสู้ของจำเลยฟัง ขึ้นหรือไม่ เพราะเหตุใด?

17 คำพิพากษาฎีกาที่ 91/2541 จำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาจะซื้อขาย ที่ดินพิพาทแล้วตั้งแต่ก่อนถึงวันกำหนดโอนกรรมสิทธิ์ที่ดิน จำเลยย่อมไม่มีสิทธิบังคับให้โจทก์ปฏิบัติตามสัญญา ส่วนโจทก์ ยังคงมีสิทธิที่จะบังคับให้จำเลยชำระหนี้ตามสัญญาได้ แม้ใน วันกำหนดโอนกรรมสิทธิ์ที่ดิน โจทก์ก็ไม่ต้องไปรับโอน กรรมสิทธิ์ที่ดิน ก็ไม่ถือว่าโจทก์ผิดสัญญาหรือไม่ชำระหนี้ จำเลยจึงไม่มีสิทธิบอกเลิกสัญญาและริบมัดจำ คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10625/2555 โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระหนี้ จากการใช้บัตรเครดิตแล้วผิดนัดไม่ชำระหนี้ จำเลยมิได้ให้การปฏิเสธว่ามิได้ ผิดนัด คงให้การแต่เพียงว่าสัญญาบัตรเครดิตระหว่างโจทก์กับจำเลยยังคงมี ผลบังคับ เนื่องจากโจทก์มิได้มีหนังสือบอกกล่าวให้จำเลยชำระหนี้และบอก เลิกสัญญา โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง แต่การเลิกสัญญากับการผิดนัด เป็นคนละเรื่องคนละกรณีกัน กล่าวคือ หนี้ที่เกิดจากมูลสัญญา เมื่อ ลูกหนี้ผิดนัดไม่ชำระหนี้ เจ้าหนี้ย่อมมีสิทธิที่จะบังคับชำระหนี้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 213 หรืออาจใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาตาม มาตรา 386 ถึง มาตรา 388 ก็ได้ แล้วแต่เจ้าหนี้จะเลือก หาได้หมายความว่าหากโจทก์ไม่ได้บอกเลิก สัญญาแล้วจำเลยมีสิทธิไม่ต้องชำระหนี้ที่ค้างชำระแก่โจทก์ไม่ ดังนั้น เมื่อ หนี้ที่โจทก์ฟ้องเรียกให้จำเลยชำระหนี้มีกำหนดเวลาแน่นอนตามวันแห่งปฏิทิน การที่จำเลยมิได้ชำระตามกำหนดเวลาดังกล่าว จำเลยจึงตกเป็นผู้ผิดนัดโดยมิ พักต้องเตือนหรือบอกกล่าวอีกตาม ป.พ.พ. มาตรา 204 วรรคสอง อันเป็น การโต้แย้งสิทธิโจทก์ โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องเรียกให้จำเลยชำระหนี้ดังกล่าวโดย ไม่ต้องบอกกล่าวก่อนฟ้อง

18 2. การบังคับชำระหนี้จากทรัพย์สินของลูกหนี้
กรณีต่างจาก มาตรา 213ที่เป็น เรื่อง “การบังคับชำระหนี้โดย เฉพาะเจาะจง(ตามวัตถุแห่งหนี้) กับลูกหนี้ หรือโดยวิธีอื่นที่ลูกหนี้ อาจต้องรับผิดชอบ ทรัพย์สินของลูกหนี้และหรือที่ บุคคลภายนอกค้างชำระหนี้แก่ ลูกหนี้ล้วนเป็นประกันการชำระหนี้ ของเจ้าหนี้สามัญ เว้นแต่ทรัพย์ที่ ไม่อยู่ในข่ายการบังคับคดี ตาม วิ แพ่งฯ มาตรา 301(เดิม 285) ประกอบ 302 (เดิม286) (แก้ไขปี 2560) มาตรา 214 ภายใต้ บังคับบทบัญญัติ แห่งมาตรา 733 เจ้าหนี้มีสิทธิที่จะ ให้ชำระหนี้ของตน จากทรัพย์สินของ ลูกหนี้จนสิ้นเชิง รวมทั้งเงินและ ทรัพย์สินอื่น ๆ ซึ่ง บุคคลภายนอก ค้างชำระแก่ลูกหนี้ ด้วย

19 มาตรา 301 ทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษาต่อไปนี้ ย่อมไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดี
(1) เครื่องนุ่งห่มหลับนอน เครื่องใช้ในครัวเรือน หรือเครื่องใช้สอยส่วนตัว โดยประมาณรวมกันราคาไม่เกินประเภทละสองหมื่นบาท แต่ในกรณีที่เจ้าพนักงานบังคับคดีเห็นสมควร เจ้าพนักงานบังคับคดีจะกำหนดให้ทรัพย์สินแต่ละประเภทดังกล่าวที่มีราคารวมกันเกินสองหมื่นบาทเป็นทรัพย์สินที่ไม่ต้องอยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดีก็ได้ ทั้งนี้ โดยคำนึงถึงความจำเป็นตามฐานะของลูกหนี้ตามคำพิพากษา (2) สัตว์ สิ่งของ เครื่องมือ เครื่องใช้ ในการประกอบอาชีพหรือประกอบวิชาชีพเท่าที่จำเป็นในการเลี้ยงชีพของลูกหนี้ตามคำพิพากษา ราคารวมกันโดยประมาณไม่เกินหนึ่งแสนบาท แต่ถ้าลูกหนี้ตามคำพิพากษามีความจำเป็นในการเลี้ยงชีพก็อาจร้องขอต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีขออนุญาตใช้สัตว์ สิ่งของ เครื่องมือ เครื่องใช้เท่าที่จำเป็นในการประกอบอาชีพหรือประกอบวิชาชีพในกิจการดังกล่าวของลูกหนี้ตามคำพิพากษาอันมีราคารวมกันเกินกว่าจำนวนราคาที่กำหนดนั้น ในกรณีเช่นนี้ ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีมีอำนาจใช้ดุลพินิจไม่อนุญาตหรืออนุญาตได้เท่าที่จำเป็นภายในบังคับแห่งเงื่อนไขตามที่เจ้าพนักงานบังคับคดีเห็นสมควร (3) สัตว์ สิ่งของ เครื่องใช้ และอุปกรณ์ที่จำเป็นต้องใช้ทำหน้าที่ช่วยหรือแทนอวัยวะของลูกหนี้ตามคำพิพากษา (4) ทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษาอันมีลักษณะเป็นของส่วนตัวโดยแท้ เช่น หนังสือสำหรับวงศ์ตระกูลโดยเฉพาะ จดหมาย หรือสมุดบัญชีต่าง ๆ (5) ทรัพย์สินอย่างใดที่โอนกันไม่ได้ตามกฎหมาย หรือตามกฎหมายย่อมไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดี ทรัพย์สินหรือจำนวนราคาทรัพย์สินที่เจ้าพนักงานบังคับคดีกำหนดตามวรรคหนึ่ง ลูกหนี้ตามคำพิพากษาหรือเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาอาจร้องขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีมีคำสั่งกำหนดใหม่ได้ คำสั่งของเจ้าพนักงานบังคับคดีดังกล่าวนั้น ลูกหนี้ตามคำพิพากษาหรือเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาอาจร้องคัดค้านต่อศาลได้ภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้ทราบคำสั่งของเจ้าพนักงานบังคับคดี ในกรณีเช่นนี้ ให้ศาลมีคำสั่งตามที่เห็นสมควร ในกรณีที่พฤติการณ์ได้เปลี่ยนแปลงไป ลูกหนี้ตามคำพิพากษาหรือเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาอาจยื่นคำร้องให้ศาลมีคำสั่งเปลี่ยนแปลงทรัพย์สินหรือจำนวนราคาทรัพย์สินที่ศาลกำหนดไว้เดิมได้ ประโยชน์แห่งข้อยกเว้นที่บัญญัติไว้ในมาตรานี้ ให้ขยายไปถึงทรัพย์สินตามวรรคหนึ่งอันเป็นของคู่สมรสของลูกหนี้ตามคำพิพากษาหรือของบุคคลอื่น ซึ่งทรัพย์สินเช่นว่านี้ตามกฎหมายอาจบังคับเอาชำระหนี้ตามคำพิพากษาได้

20 มาตรา ๓๐๒ ภายใต้บังคับบทบัญญัติแห่งกฎหมายอื่น เงินหรือสิทธิเรียกร้องเป็นเงินของลูกหนี้ตามคำพิพากษาต่อไปนี้ ไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดี (๑) เบี้ยเลี้ยงชีพซึ่งกฎหมายกำหนดไว้ ส่วนเงินรายได้เป็นคราว ๆ ซึ่งบุคคลภายนอกได้ยกให้เพื่อเลี้ยงชีพนั้น ให้มีจำนวนไม่เกินเดือนละสองหมื่นบาทหรือตามจำนวนที่เจ้าพนักงานบังคับคดีเห็นสมควร (๒) เงินเดือน ค่าจ้าง บำนาญ บำเหน็จ เบี้ยหวัด หรือรายได้อื่นในลักษณะเดียวกันของข้าราชการ เจ้าหน้าที่ หรือลูกจ้างในหน่วยราชการ และเงินสงเคราะห์ บำนาญ หรือบำเหน็จที่หน่วยราชการได้จ่ายให้แก่คู่สมรสหรือญาติที่ยังมีชีวิตของบุคคลเหล่านั้น (๓) เงินเดือน ค่าจ้าง บำนาญ ค่าชดใช้ เงินสงเคราะห์ หรือรายได้อื่นในลักษณะเดียวกันของพนักงาน ลูกจ้าง หรือคนงาน นอกจากที่กล่าวไว้ใน (๒) ที่นายจ้างหรือบุคคลอื่นใดได้จ่ายให้แก่บุคคลเหล่านั้น หรือคู่สมรส หรือญาติที่ยังมีชีวิตของบุคคลเหล่านั้น เป็นจำนวนรวมกันไม่เกินเดือนละสองหมื่นบาทหรือตามจำนวนที่เจ้าพนักงานบังคับคดีเห็นสมควร (๔) บำเหน็จหรือค่าชดเชยหรือรายได้อื่นในลักษณะเดียวกันของบุคคลตาม (๓) เป็นจำนวนไม่เกินสามแสนบาทหรือตามจำนวนที่เจ้าพนักงานบังคับคดีเห็นสมควร (๕) เงินฌาปนกิจสงเคราะห์ที่ลูกหนี้ตามคำพิพากษาได้รับอันเนื่องมาแต่ความตายของบุคคลอื่นเป็นจำนวนตามที่จำเป็นในการดำเนินการฌาปนกิจศพตามฐานะของผู้ตายที่เจ้าพนักงานบังคับคดีเห็นสมควร ในกรณีที่เจ้าพนักงานบังคับคดีเป็นผู้กำหนดจำนวนเงินตาม (๑) (๓) และ (๔) ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีคำนึงถึงฐานะในทางครอบครัวของลูกหนี้ตามคำพิพากษาและจำนวนบุพการีและผู้สืบสันดานซึ่งอยู่ในความอุปการะของลูกหนี้ตามคำพิพากษาด้วย และสำหรับในกรณีตาม (๑) และ (๓) ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีกำหนดให้ไม่น้อยกว่าอัตราเงินเดือนขั้นต่ำสุดของข้าราชการพลเรือนในขณะนั้นและไม่เกินอัตราเงินเดือนขั้นสูงสุดของข้าราชการพลเรือนในขณะนั้น ถ้าเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา ลูกหนี้ตามคำพิพากษา หรือบุคคลภายนอกผู้มีส่วนได้เสียในการบังคับคดีไม่เห็นด้วยกับจำนวนเงินที่เจ้าพนักงานบังคับคดีกำหนด บุคคลดังกล่าวอาจยื่นคำร้องต่อศาลภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้ทราบถึงการกำหนดจำนวนเงินเช่นว่านั้น เพื่อขอให้ศาลกำหนดจำนวนเงินใหม่ได้ ในกรณีที่พฤติการณ์แห่งการดำรงชีพของลูกหนี้ตามคำพิพากษาได้เปลี่ยนแปลงไป บุคคลตามวรรคสามจะยื่นคำร้องให้ศาลหรือเจ้าพนักงานบังคับคดี แล้วแต่กรณี กำหนดจำนวนเงินตาม (๑) และ (๓) ใหม่ก็ได้

21 ข้อสังเกต ทรัพย์จำนองกับการเป็นประกันเจ้าหนี้เฉพาะ หรือทั่วไป
มาตรา 733  ถ้าเอา ทรัพย์จำนองหลุดและ ราคาทรัพย์สินนั้นมี ประมาณต่ำกว่าจำนวน เงินที่ค้างชำระกันอยู่ก็ ดี หรือถ้าเอา ทรัพย์สินซึ่งจำนอง ออกขายทอดตลาดใช้ หนี้ ได้เงินจำนวน สุทธิน้อยกว่าจำนวน เงินที่ค้างชำระกันอยู่ นั้นก็ดี เงินยังขาด จำนวนอยู่เท่าใด ลูกหนี้ไม่ต้องรับผิดใน เงินนั้น ทรัพย์สินเฉพาะที่จำนอง (โดยชอบ) ย่อมมีไว้เป็น ประกันการชำระหนี้ เฉพาะเจ้าหนี้จำนอง (เจ้าหนี้มีประกัน)เท่านั้น เว้นแต่มีการตกลง ยกเว้นมาตรา 733ไว้จึง จะทำให้ “เจ้าหนี้จำนอง” สามารถขอรับชำระหนี้ จากทรัพย์สินทั่วไปของ ลูกหนี้ฯ สำหรับหนี้ที่ยัง ขาดอยู่ได้อีก แต่ในฐานะ เจ้าหนี้สามัญเท่านั้น

22 เจ้าหนี้มีสิทธิเลือกบังคับชำระหนี้จาก “หนี้ประธาน” หรือ “หนี้อุปกรณ์” ก่อนหลังได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3535/2550 สัญญาจำนองที่ดิน ระหว่างกรมสรรพากรโจทก์กับ จำเลยที่ 2 เป็นประกันการผ่อน ชำระหนี้ค่าภาษีอากรค้างของ จำเลยที่ 1 ไม่มีข้อตกลงว่า ถ้าเอา ทรัพย์สินซึ่งจำนองออกขาย ทอดตลาดใช้หนี้ได้เงินจำนวนสุทธิ น้อยกว่าจำนวนเงินที่ค้างชำระกัน เงินยังขาดจำนวนอยู่เท่าใดจำเลยที่ 1 ต้องรับผิดในเงินนั้น อันเป็นการ ยกเว้นบทบัญญัติ ป.พ.พ. มาตรา 733 กรณีจึงต้องอยู่ในบังคับแห่ง บทบัญญัติของมาตราดังกล่าว คือ หากบังคับจำนองได้เงินไม่พอชำระ หนี้จำเลยที่ 1 ไม่ต้องรับผิดในส่วน ที่ขาด ทั้งมาตรา 733 มิได้มี ข้อจำกัดการใช้บังคับเฉพาะกรณีที่ ลูกหนี้จำนองทรัพย์สินของตนเอง เท่านั้น (ม.733 ใช้กับกรณี ลูกหนี้ชั้นต้นนำทรัพย์ตนเอง มาจำนอง) คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2003/2519 การจำนองเป็นสัญญาเอาทรัพย์สินตราไว้เป็นการประกันหนี้ โดยหนี้ที่จะพึงต้องชำระแก่กันอันเป็นหนี้ประธาน และจำนองอันเป็นหนี้อุปกรณ์ของหนี้นั้นซึ่งอาจแยกหนี้ที่จะต้องชำระแก่กัน และการจำนองออกเป็นคนละส่วนต่างหากจากกันได้ เจ้าหนี้จึงชอบที่จะใช้สิทธิเรียกร้องอย่างหนี้สามัญหรือจะบังคับจำนองอย่างใดอย่างหนึ่งก่อนย่อมทำได้ ไม่เป็นการหลีกเลี่ยงกฎหมายเรื่องจำนองหรือเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต

23 เจ้าหนี้ ลูกหนี้ชั้นต้น ลูกหนี้ประกัน
มาตรา 727/1 ไม่ว่ากรณีจะเป็นประการใด ผู้จำนองซึ่งจำนองทรัพย์สินของตนไว้เพื่อประกันหนี้อันบุคคลอื่นจะต้องชำระ ไม่ต้องรับผิดในหนี้นั้นเกินราคาทรัพย์สินที่จำนองในเวลาที่บังคับจำนองหรือเอาทรัพย์จำนองหลุด ข้อตกลงใดอันมีผลให้ผู้จำนองรับผิดเกินที่บัญญัติไว้ในวรรคหนึ่งหรือให้ผู้จำนองรับผิดอย่างผู้ค้ำประกัน ข้อตกลงนั้นเป็นโมฆะ ไม่ว่าข้อตกลงนั้นจะมีอยู่ในสัญญาจำนองหรือทำเป็นข้อตกลงต่างหาก ทั้งนี้ เว้นแต่เป็นกรณีที่นิติบุคคลเป็นลูกหนี้และบุคคลผู้มีอำนาจในการจัดการตามกฎหมายหรือบุคคลที่มีอำนาจควบคุมการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้นเป็นผู้จำนองทรัพย์สินของตนไว้เพื่อประกันหนี้นั้นของนิติบุคคลและผู้จำนองได้ทำสัญญาค้ำประกันไว้เป็นสัญญาต่างหาก[ เจ้าหนี้ ลูกหนี้ประกัน อสังหาฯที่นำมาจำนองจะเป็นทรัพย์ของบุคคลภายนอกเพื่อประกันหนี้ลูกหนี้ก็ได้ แต่จะรับผิดไม่เกินกว่าทรัพย์ที่นำมาจำนองเป็นประกัน ข้อตกลงใดที่กำหนดให้ บคภน.ผู้จำนองต้องรับผิดเกินกว่าทรัพย์จำนองย่อมเป็นโมฆะ (ม.727/1)

24 ประเด็นที่ควรนำมา พิจารณาประกอบการ วินิจฉัย
ลูกหนี้ชั้นต้น บังคับชำระหนี้ได้ ครอบคลุมไปถึงทรัพย์สินทั้งหมด ของลูกหนี้ ลูกหนี้จำนอง ใครเป็นคนนำอสังหาฯมาจำนอง ลูกหนี้ชั้นต้น หรือ บุคคลภายนอก ลูกหนี้นำมาจำนองเอง มี ประเด็นยกเว้น มาตรา 733 หรือไม่? บุคคลภายนอกนำอสังหาฯมา จำนองประกันหนี้ลูกหนี้ชั้นต้น แบบมีข้อยกเว้นมาตรา 733 จะเป็นโมฆะเพราะขัดต่อมาตรา 727/1 คำถาม นาย ก. เจ้าหนี้ฟ้องคดีให้ นาย ข. ลูกหนี้ และนาย ค. ผู้จำนองเป็นประกันหนี้ นาย ข. ต้องชำระหนี้ ถามว่า นาย ก. มีสิทธิ บังคับชำระหนี้เหนือ ทรัพย์สินของ นาย ข. และ นาย ค. ได้มากน้อย อย่างไรจงอธิบาย?

25 3. การบังคับให้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทน
ค่าสินไหมทดแทน เป็นสิทธิเรียกร้องอีกประเภทหนึ่งที่เจ้าหนี้ สามารถเรียกร้องให้ลูกหนี้ชำระหนี้ได้โดยไม่ใช่เป็น “วัตถุแห่ง หนี้ตามมูลหนี้เดิม” หากแต่เป็นมาตรการเยียวยาความเสียหาย ให้กับเจ้าหนี้กรณีที่ ลูกหนี้ไม่ยอมชำระหนี้ให้เฉพาะเจาะจงตาม วัตถุแห่งหนี้ (ม. 213 วรรคหนึ่ง) จนเจ้าหนี้อาจได้รับความ เสียหายจึงควรได้รับการชดใช้ ตามที่บัญญัติไว้ใน มาตรา 213 วรรคสี่ และมาตรา 215 มาตรา 213 ถ้าลูกหนี้ละเลยเสียไม่ชำระหนี้ของตน เจ้าหนี้จะร้องขอต่อศาลให้สั่งบังคับชำระหนี้ก็ได้ เว้นแต่สภาพแห่งหนี้จะไม่เปิดช่องให้ทำเช่นนั้นได้ เมื่อสภาพแห่งหนี้ไม่เปิดช่องให้บังคับชำระหนี้ได้ ถ้าวัตถุแห่งหนี้เป็นอันให้กระทำการอันหนึ่งอันใด เจ้าหนี้จะร้องขอต่อศาลให้สั่งบังคับให้บุคคลภายนอกกระทำการอันนั้นโดยให้ลูกหนี้เสียค่าใช้จ่ายให้ก็ได้ แต่ถ้าวัตถุแห่งหนี้เป็นอันให้กระทำนิติกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งไซร้ ศาลจะสั่งให้ถือเอาตามคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของลูกหนี้ก็ได้ ส่วนหนี้ซึ่งมีวัตถุเป็นอันจะให้งดเว้นการอันใด เจ้าหนี้จะเรียกร้องให้รื้อถอนการที่ได้กระทำลงแล้วนั้นโดยให้ลูกหนี้เสียค่าใช้จ่าย และให้จัดการอันควรเพื่อกาลภายหน้าด้วยก็ได้ อนึ่งบทบัญญัติในวรรคทั้งหลายที่กล่าวมาก่อนนี้ หากระทบกระทั่งถึงสิทธิที่จะเรียกเอาค่าเสียหายไม่ มาตรา 215 เมื่อลูกหนี้ไม่ชำระหนี้ให้ต้องตามความประสงค์อันแท้จริงแห่งมูลหนี้ไซร้ เจ้าหนี้จะเรียกเอาค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายอันเกิดแต่การนั้นก็ได้

26 โดยสรุป การเรียกเอาค่าสินไหมทดแทนตามมาตรา 215 อาจมีเหตุได้จาก 2 กรณีคือ
ลูกหนี้ไม่ชำระหนี้ให้ต้องตามความประสงค์แท้จริงแห่งมูลหนี้ (มาตรา 215) การใช้สิทธิเรียกค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายจะกระทำได้เมื่อ ไม่สามารถบังคับชำระหนี้ได้เฉพาะเจาะจง หรือบังคับโดยมาตรการอื่น ทดแทนตามกฎหมายได้เช่นกัน ลูกหนี้อยู่ในภาวะ “ผู้ไม่ชำระหนี้” และหนี้นั้นยังไม่ตกเป็นพ้นวิสัย กรณีเจ้าหนี้จะมีสิทธิเรียกเอาค่าสินไหมทดแทนเนื่องจากการไม่ ชำระหนี้ของลูกหนี้นั้นต้องได้ความว่า “การผิดนัดนั้นเกิดจาก ความผิดของลูกหนี้” ตามมาตรา 205หรือความผิดของคนอื่นที่ ลูกหนี้ต้องรับผิดชอบด้วย ตามมาตรา 218 ค่าสินไหมทดแทนเป็นสิทธิที่กฎหมายอนุญาตให้เจ้าหนี้สามารถ เรียกร้องจากลูกหนี้ได้จะต้อง “พิสูจน์ความเสียหายนั้นได้จริง” ด้วยเช่นกัน หากแม้ลูกหนี้ไม่ชำระหนี้ แต่เจ้าหนี้ก็ไม่มีความ เสียหายใดๆก็ย่อมเรียกค่าสินไหมทดแทนไม่ได้ เจ้าหนี้ไม่ต้องปฏิบัติการอย่างไรก่อน อาทิ ไม่ต้องบอกเลิกสัญญา ก่อนก็ได้และแม้มีการบอกเลิกสัญญาแล้วก็ไม่กระทบสิทธิที่จะเรียกค่า สินไหมทดแทน ตามมาตรา 391 วรรคท้าย (ฎ.16531/2557) สิทธิเรียกค่าสินไหมฯกำหนดขึ้นโดยกฎหมายจึง “ไม่จำเป็นต้องตกลง กันไว้ล่วงหน้า” หากตกลงกันไว้ล่วงหน้าอาจถือเป็นเบี้ยปรับตามมาตรา 379

27 คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1056/2511 นักเรียนจ่าในสถานศึกษาของกองทัพเรือซึ่งทำสัญญาไว้ว่าเมื่อเรียนสำเร็จ จะต้องรับราชการในสังกัดกองทัพเรือไม่น้อยกว่า 5 ปี มิฉะนั้นต้องเสียค่าตอบแทน แม้การที่รับราชการไม่ครบ เป็นเพราะทางราชการสั่งปลด เนื่องจากกระทำผิดวินัยย่อมถือว่าผู้นั้นกระทำตนเองให้ไม่อาจรับราชการต่อไปได้ จึงต้องใช้ค่าตอบแทนตามสัญญา กรณีเช่นนี้ถือไม่ได้ว่ากองทัพเรือบอกเลิกสัญญาหรือบอกปัดการชำระหนี้ของลูกหนี้

28 คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3244/2533 การที่มหาวิทยาลัยขอนแก่นมีคำสั่งให้จำเลยออกจากราชการก็สืบเนื่องมาจากจำเลยแจ้งความประสงค์จะออกจากราชการไปเป็นพนักงานการทางพิเศษแห่งประเทศไทย ดังนั้นจำเลยจะอ้างว่ามหาวิทยาลัยขอนแก่นออกคำสั่งให้จำเลยออกจากราชการเพื่อให้จำเลยพ้นจากความรับผิดที่จำเลยมีต่อโจทก์ตามสัญญาการรับทุนหาได้ไม่ ตามสัญญาการรับทุน ก.พ.เพื่อไปศึกษาวิชาในต่างประเทศถ้าจำเลยรับราชการไม่ครบกำหนดเวลาตามที่ตกลงไว้ จำเลยจะต้องรับผิดใช้ทุน ก.พ.ที่โจทก์จ่ายไปแล้วรวมทั้งเบี้ยปรับ โดยลดลงตามส่วนจำนวนเวลาที่จำเลยรับราชการชดใช้ไปบ้างแล้ว เว้นแต่ในกรณีซึ่งก.พ.และกระทรวงการคลังจะใช้ดุลพินิจเห็นว่ามีเหตุผลอันสมควรให้จำเลยพ้นความรับผิดเมื่อจำเลยออกจากราชการก่อนครบกำหนดตามสัญญาแม้ว่ามหาวิทยาลัยขอนแก่นได้มีคำสั่งให้จำเลยออกจากราชการตามความในข้อ 10 และข้อ 24 แห่งกฎทบวง ฉบับที่ 2(พ.ศ. 2519)ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัยพ.ศ ประกอบด้วยมาตรา 96(2) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ ซึ่งเป็นกรณีสั่งให้ออกจากราชการเมื่อข้าราชการผู้นั้นสมัครไปปฏิบัติงานใด ๆ ตามความประสงค์ของทางราชการก็ตาม แต่จำเลยยังคงมีความผูกพันตามสัญญาการรับทุนดังกล่าว เมื่อ ก.พ.และกระทรวงการคลังยืนยันให้จำเลยรับผิดตามสัญญาอีกทั้งกรณีของจำเลยไม่ได้รับการยกเว้นตามมติคณะรัฐมนตรี ลงวันที่11 สิงหาคม 2523 จำเลยจึงต้องรับผิดชดใช้เงินแก่โจทก์ตามสัญญา. 

29 คำพิพากษาฎีกาที่ 6152/2544 โจทก์มอบที่ดินให้จำเลยทำประโยชน์นับแต่วันทำสัญญาจะซื้อจะขายการที่จำเลย ขุดดินในระหว่างที่ยังไม่ถึงกำหนดวันนัดโอนกรรมสิทธิ์ ย่อมมีมูลอันจะอ้าง กฎหมายได้เพราะเป็นการตกลงตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินโดยถูกต้อง จึงไม่เป็น เรื่องลาภมิควรได้และโจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายจากจำเลย เนื่องจากจำเลยผิด สัญญาซึ่งไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้เฉพาะจึงมีอายุความ 10 ปี ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/30 เมื่อจำเลยรับหนังสือบอกเลิก สัญญาเมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2541 โจทก์ฟ้องคดีเมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม 2541 ฟ้องโจทก์ไม่ขาดอายุความ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 391 วรรคหนึ่งบัญญัติว่าเมื่อคู่สัญญา ฝ่ายหนึ่งได้ใช้สิทธิเลิกสัญญาแล้ว คู่สัญญาแต่ละฝ่ายจำต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งได้ กลับคืนสู่ฐานะดั่งที่เป็นอยู่เดิมและวรรคท้ายบัญญัติว่า การใช้สิทธิเลิกสัญญานั้น หากระทบกระทั่งถึงสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายไม่ โดยไม่มีบทบัญญัติใดกำหนดไว้ ว่าจะต้องปฏิบัติอย่างไรก่อนจึงจะเรียกร้องค่าเสียหายได้ การที่โจทก์ฟ้องว่าจำเลย ผิดสัญญาและเรียกค่าเสียหายจากการที่จำเลยขุดดินไปขายเป็นหลุมขนาดใหญ่ เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการถมดินให้กลับสู่สภาพเดิม แม้โจทก์จะมีสิทธิบังคับให้ จำเลยถมดินให้กลับมีสภาพเดิมก่อน แต่เมื่อโจทก์เลือกที่จะบังคับให้จำเลยใช้ ค่าเสียหายส่วนนี้เลยก็ย่อมทำได้เพราะไม่มีกฎหมายห้ามไว้ การที่ศาลพิพากษาไป ตามคำขอของโจทก์จึงไม่เป็นการพิพากษาข้ามขั้นตอน

30 คำพิพากษาฎีกาที่ 16531/2557 จำเลยผิดสัญญา โจทก์ชอบที่จะบอกเลิกสัญญา เมื่อโจทก์ บอกเลิกสัญญาโดยการบอกกล่าวล่วงหน้าและจำเลยได้รับ หนังสือบอกเลิกสัญญาโดยชอบแล้ว สัญญาเช่าเป็นอันต้อง เลิกกันเพราะการบอกเลิกสัญญาของโจทก์ และการใช้สิทธิ เลิกสัญญาย่อมไม่กระทบกระทั่งสิทธิเรียกร้องค่าเสียหาย ของโจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 391 วรรคสี่ เมื่อการเลิกสัญญาเกิดจากการที่จำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ไม่ชำระ หนี้ให้ถูกต้องตามความประสงค์อันแท้จริงของมูลหนี้ที่โจทก์มี ความประสงค์จะเช่าพื้นที่ตามสัญญาเพื่อประกอบอาชีพของ โจทก์และเกิดความเสียหายแก่โจทก์เจ้าหนี้ โจทก์ชอบที่จะ เรียกเอาค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายอันเกิดแต่การนั้น ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 215

31 คำพิพากษาฎีกาที่ 3821/2524 จำเลยทำสัญญาจะขายสิทธิการเช่าตึกแถวแก่โจทก์โดยมี ข้อตกลงว่าถ้าจำเลยผิดสัญญาไม่ไปทำหนังสือสัญญาและ จดทะเบียนขายตามกำหนดจำเลยยอมให้โจทก์ฟ้องศาล บังคับให้เป็นไปตามสัญญาและยอมใช้ค่าเสียหายให้แก่ โจทก์ 650,000 บาทอีกส่วนหนึ่งด้วยนั้น เป็นข้อตกลงที่ โจทก์จำเลยสมัครใจตกลงกันไว้ แม้การผิดสัญญาของ จำเลยนอกจากจำเลยจะถูกฟ้องศาลบังคับให้ปฏิบัติตาม สัญญาแล้ว จำเลยยังจะต้องใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์อีก 650,000 บาทก็ตาม การบังคับให้ปฏิบัติตามสัญญาก็คือ การเรียกใช้ชำระหนี้ตามสัญญา และค่าเสียหายที่กำหนด จำนวนไว้ล่วงหน้าก็คือเบี้ยปรับนั่นเอง โจทก์จำเลยจึง อาจตกลงกันได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 381 วรรคหนึ่ง ข้อตกลงดังกล่าวจึงไม่เป็นโมฆะ เพราะขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรม อันดีของ ประชาชน

32 ข้อสังเกต ความต่างในการเรียกค่าสินไหมทดแทนระหว่าง ม. 215 และ 218
การชำระหนี้ไม่ต้องตามความประสงค์แท้จริงแห่งมูลหนี้ ตาม มาตรา 215 นั้นครอบคลุมแม้จะเป็น “เรื่องเล็กน้อยที่มิใช่ สาระสำคัญ” เจ้าหนี้ก็มีสิทธิเรียกร้องเอาค่าสินไหมทดแทน การไม่ชำระหนี้ที่เจ้าหนี้จะมีสิทธิถึงขั้นบอกเลิกสัญญาได้ตาม มาตรา 387 หรือ 388จะต้องเป็น “เรื่องที่เป็นสาระสำคัญ” เป็น หลัก เจ้าหนี้ถึงจะมีสิทธิบอกเลิกสัญญาและเรียกค่าสินไหม ทดแทนได้ คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3107/2538 การที่จำเลยนำสืบว่าโจทก์ตกลง ยินยอมให้ก่อสร้างผิดจากแบบแปลนที่ตกลงกันเดิมมิใช่กรณีที่กฎหมาย บังคับให้ต้องมีพยานเอกสารมาแสดงอันจะต้องห้ามมิให้นำพยานบุคคล มาสืบเปลี่ยนแปลงข้อความในเอกสาร จำเลยก่อสร้างบ้านของโจทก์มี ส่วนสูงน้อยกว่าที่กำหนดไว้ประมาณ.16ถึง.18เมตร แต่เมื่อไม่กระทบ ถึงความคงทนของตัวบ้านก็หาทำให้บ้านเป็นอันไร้ประโยชน์แก่โจทก์ ไม่จึงมิใช่การผิดสัญญาในข้อสำคัญถึงขนาดโจทก์จะบอกเลิกสัญญา ได้หากโจทก์ได้รับความเสียหายอย่างใดก็มีเพียงสิทธิเรียกร้องให้ จำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายเท่านั้น

33 ลูกหนี้ผิดนัดทำให้การชำระหนี้เป็นอันไร้ประโยชน์แก่เจ้าหนี้ (มาตรา 216)
โดยหลักการผิดนัดชำระหนี้(ม.204)ไม่เป็นเหตุให้ “หนี้ระงับ” หรือ “ลูกหนี้หลุดพ้นจากหนี้” เว้นแต่ “เวลาในการชำระหนี้จะเป็นสาระสำคัญ” ดังนั้น ถ้าหากการที่ลูกหนี้ที่ชำระหนี้ล่าช้าเกินไป “แต่ยังเป็นประโยชน์แก่เจ้าหนี้” เจ้าหนี้ชอบที่จะรับการชำระหนี้ที่ล่าช้านั้นไว้และเรียกค่าสินทดแทนไดเพิ่มเติมได้เท่านั้น (ม.215) แม้การชำระหนี้ยังเป็นประโยชน์แก่เจ้าหนี้ แต่ลูกหนี้ไม่ชำระหนี้เลย และเจ้าหนี้ก็ไม่เรียกให้ชำระหนี้อย่างเฉพาะเจาะจง(ม.213) ก็ยังมีสิทธิเรียก คสท.ได้ตาม ม. 215 ถ้าเวลาการชำระหนี้เป็นสาระสำคัญถึงขนาด “เป็นอันไร้ประโยชน์แก่เจ้าหนี้” เจ้าหนี้ชอบที่จะ “บอกปัดเพื่อเลิกสัญญา” และเรียกค่าสินไหมทดแทนเพื่อความล่าช้านั้นด้วย (ม.216) มาตรา 216 ถ้าโดยเหตุผิดนัด การชำระหนี้กลายเป็นอันไร้ประโยชน์แก่เจ้าหนี้ เจ้าหนี้จะบอกปัดไม่รับชำระหนี้และจะเรียกเอาค่าสินไหมทดแทนเพื่อการไม่ชำระหนี้ก็ได้

34 การผิดนัดตาม ม. 204 กับ “การชำระหนี้กลายเป็นไร้ประโยชน์” ตาม ม. 216
ม.204 วรรคแรก การผิดนัดเพราะเจ้าหนี้ได้เตือนแล้ว ม. 204 วรรคสอง การผิดนัดโดยมิพักต้องเตือน หนี้ที่ไม่มีกำหนดระยะเวลาชำระหนี้ ที่แน่นอน หนี้ที่กำหนดเวลาชำระหนี้ที่มิใช่ตาม วันแห่งปฏิทิน (โดยพฤติการณ์) ดังนั้น “การเตือน” ของเจ้าหนี้จะต้อง ได้ความว่า “กำหนดเวลาที่กำหนดใน การเตือนจะต้องเป็นสาระสำคัญที่ หากไม่ชำระหนี้ภายในกำหนด การ ชำระหนี้นั้นจะกลายเป็นอันไร้ ประโยชน์แก่เจ้าหนี้” จึงจะเกิดสิทธิ บอกปัดไม่รับชำระหนี้และเรียก คสท.ตามมาตรา 216 หนี้ที่มีกำหนดเวลาชำระหนี้ตาม วันแห่งปฏิทิน กำหนดเวลาชำระหนี้ตามปฏิทิน ดังกล่าวจะต้อง “เป็นสาระสำคัญ” ที่หากลูกหนี้ไม่ชำระหนี้ตามวัน ดังกล่าวจะกลายเป็นอันไร้ ประโยชน์แก่เจ้าหนี้ (เช่นกัน) ถ้า เป็นเช่นนั้นแล้ว หากลูกหนี้ขอ ชำระหนี้ก็ย่อมบอกปัดไม่รับชำระ หนี้และเรียก คสท.ได้ตามมาตรา 216

35 คสท. ในมูลหนี้ละเมิด(ม
คสท.ในมูลหนี้ละเมิด(ม.206) ไม่มีทางกลายเป็นอันไร้ประโยชน์แก่เจ้าหนี้ตาม ม. 216 ละเมิด ตามมาตรา 206ก่อให้เกิด “หนี้ค่าสินไหม ทดแทน” ซึ่งเป็นหัวใจหลักที่กฎหมายกำหนดขึ้น “เพื่อชดใช้หรือทดแทนความเสียหายที่ไม่อาจทำ ให้กลับคืนได้ดังเดิม” (ม.438) ดังนั้นไม่ว่าการชำระหนี้จะล่าช้าหรือผิดนัดอย่างไร “ค่าสินไหมทดแทน” ก็ย่อมไม่อาจกลายเป็นไร้ ประโยชน์แก่เจ้าหนี้(ผู้ถูกละเมิด)ตามมาตรา 216 อย่างแน่นอน

36 ประเภทค่าเสียหาย หรือค่าสินไหมทดแทน
มาตรา 222 วรรคแรก “ค่าเสียหายธรรมดา” มาตรา 222 วรรคสอง “ค่าสียหายพิเศษ” การเรียกค่าเสียหายนั้นได้แก่ “เรียกค่าสินไหมทดแทนเพื่อ ความเสียหายเช่นที่ตามปกติ ย่อมเกิดขึ้นแต่การไม่ชำระหนี้ นั้น” คือ ค่าเสียหายที่ใครๆก็ต้องรู้ หรืออาจคาดเห็นได้ว่าจะต้อง เกิดขึ้นจากการไม่ชำระหนี้ นั้น (ศ.โสภณ รัตนากร อ้างใน รศ.ดร ดาราพร, หนี้, หน้า 75 พิมพ์ครั้ง 3) ระดับและจำนวนค่าเสียหาย จึงเป็นปัญหาข้อเท็จจริงที่ ต้องนำสืบให้น่าเชื่อถือ เจ้าหนี้จะเรียกค่าสินไหมทดแทน ได้กระทั่งเพื่อ “ความเสียหายอัน เกิดแต่ พฤติการณ์พิเศษ” หาก ว่าคู่กรณี(ลูกหนี้)ที่เกี่ยวข้องได้ คาดเห็นหรือควรจะได้คาดเห็น พฤติการณ์เช่นนั้นก่อนล่วงหน้า ก่อนแล้ว” *เจ้าหนี้ต้องเป็นฝ่ายพิสูจน์ให้เห็นว่า “ลูกหนี้ได้คาดเห็นหรือควรจะได้คาด เห็นถึงความเสียหายล่วงหน้าก่อนที่ ลูกหนี้จะไม่ชำระหนี้ตามสัญญา” “การรู้หรือคาดเห็นของลูกหนี้” จะมีขึ้น ก่อนลูกหนี้ไม่ชำระหนี้ หรือก่อนผิด สัญญาก็พอ ไม่จำเป็นต้องรู้หรือคาดเห็น ขณะทำสัญญา

37 คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 552/2525 การที่จำเลยว่าจ้างโจทก์ให้หาทนายความที่มีความซื่อสัตย์และมีความสามารถให้ แต่จำเลยไม่มีเงินจึงตกลงจ่ายค่าจ้างเป็นที่ดินจำนวน 2 ไร่ ดังนี้เป็นสัญญาจ้างทำของและสัญญาดังกล่าวไม่เป็นการว่าจ้างให้ไปกระทำการอันผิดกฎหมายหรือศีลธรรมอันดีหรือใช้สิทธิเกี่ยวกับการดำเนินคดีหรือแสวงหาประโยชน์จากการที่ผู้อื่นเป็นความ ไม่เป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน จึงไม่เป็นโมฆะ และเมื่อจำเลยขายที่ดินนั้นไปเสียก่อน จำเลยต้องใช้ราคาที่ดินในขณะที่ขายมิใช่ขณะทำสัญญา (ม.113, 213, 222, 587)

38 คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1599/2527 การคาดเห็นหรือควรจะได้คาดเห็นพฤติการณ์พิเศษซึ่งก่อให้เกิดความเสียหายแก่เจ้าหนี้อันลูกหนี้จะต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 222วรรคสอง นั้น ลูกหนี้หาจำต้องได้คาดเห็นหรือควรจะคาดเห็นล่วงหน้าตั้งแต่ขณะทำสัญญาเสมอไปไม่ หากปรากฏว่าลูกหนี้ได้คาดเห็นหรือควรจะได้คาดเห็นก่อนประพฤติผิดสัญญากู้เพียงพอที่ลูกหนี้จะต้องรับผิดได้ จำเลยซื้อที่ดินและสิ่งปลูกสร้างจากโจทก์ได้ชำระหนี้บางส่วนด้วยเช็ค โจทก์ได้บอกจำเลยถึงเรื่องที่โจทก์ซื้อที่ดินและบ้านจาก ช.โดยได้วางมัดจำไว้ด้วย หากธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คของจำเลย จะทำให้โจทก์ถูกริบมัดจำได้ โดยบอกตั้งแต่ก่อนเช็คของจำเลยถูกธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน การที่จำเลยกระทำผิดสัญญาโดยมีคำสั่งระงับการจ่ายเงินตามเช็ค เป็นเหตุให้ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินและโจทก์ไม่มีเงินไปชำระแก่ ช. ช.จึงริบมัดจำที่โจทก์วางไว้ ดังนี้ ความเสียหายของโจทก์เป็นความเสียหายอันเกิดแต่พฤติการณ์พิเศษตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 222 วรรคสอง

39 การกำหนดขอบเขตค่าแห่งความเสียหาย ม. 223
มาตรา 223 ถ้าผู้เสียหายได้มีส่วนทำ ความผิดอย่างใดอย่าง หนึ่งก่อให้เกิดความ เสียหายด้วยไซร้ ท่านว่า หนี้อันจะต้องใช้ค่าสินไหม ทดแทนแก่ฝ่ายผู้เสียหาย มากน้อยเพียงใดนั้นต้อง อาศัยพฤติการณ์ (ข้อเท็จจริง)เป็นประมาณ ข้อสำคัญก็คือว่าความ เสียหายนั้นได้เกิดขึ้นเพราะ ฝ่ายไหนเป็นผู้ก่อยิ่ง หย่อนว่ากันเพียงไร วิธีเดียวกันนี้ ท่านให้ใช้แม้ทั้งที่ ความผิดของฝ่ายผู้ที่เสียหายจะมี เพียงแต่ (1) ละเลยไม่เตือนลูกหนี้ให้รู้สึก ถึงอันตรายแห่งการเสียหายอัน เป็นอย่างร้ายแรงผิดปกติ ซึ่ง ลูกหนี้ไม่รู้ หรือไม่อาจจะรู้ได้ หรือ (2) เพียงแต่ละเลยไม่บำบัดปัด ป้อง หรือ (3) ไม่บรรเทาความเสียหายนั้น ด้วย อนึ่งบทบัญญัติแห่งมาตรา 220 นั้น(กระทำโดยตัวแทนหรือบุคคล ที่ใช้ในการชำระหนี้) ท่านให้ นำมาบังคับใช้โดยอนุโลม

40 ระดับค่าเสียหายที่ลูกหนี้อาจใช้สิทธิโต้แย้ง เพื่อลดหลั่นไปตามระดับที่เจ้าหนี้มีส่วนผิดร่วมอยู่ด้วย ดังนี้ เจ้าหนี้ทำผิดโดยตรง คือ เจ้าหนี้ไม่มีอำนาจกระทำสิ่งใด หรือประมาทเลินเล่อกระทำ การใดจนเป็นเหตุให้เกิดความ เสียหายนั้นด้วย เช่น จัดหา วัสดุไม่มีคุณภาพให้ผู้รับจ้าง นำไปซ่อมแซมบ้านจนบ้านไม่ แข็งแรงและพังเสียหายจาก การซ่อมของผู้รับจ้าง(ลูกหนี้) เจ้าหนี้ละเลยไม่เตือนลูกหนี้ ในสิ่งที่ลูกหนี้ไม่รู้หรือไม่อาจ รู้ได้ เช่น การไม่แจ้งให้ผู้รับ จ้างขนส่งสินค้าพึงระมัดระวัง เป็นพิเศษเนื่องจากสินค้าที่ ฝากส่งนั้นเสี่ยงแตกหักได้ง่าย หรือควรวาง ลำเรียงด้วยวิธี พิเศษ เช่น ห้ามคว่ำในขณะ ขนส่ง เจ้าหนี้ละเลยไม่ปัดป้องความ เสียหายในขณะที่ความเสียหายยัง ไม่เกิด เช่น ผู้ซื้อสินค้าไม่จัดการ ดูแลสินค้าที่ไม่พอใจก่อนนำส่งคืน ผู้ขาย จนสินค้าได้รับความ เสียหายเพราะตากฝน เจ้าหนี้ละเลยไม่บรรเทาความ เสียหายที่เกิดขึ้นแล้ว ทั้งๆที่เจ้าหนี้ สามารถจัดการอะไรบางอย่างเพื่อ บรรเทาความเสียหายนั้นได้แต่ไม่ ทำ เช่น เจ้าของโรงงานอาจหา คนงานมาทำงานแทนลูกจ้างที่หยุด งานได้ แต่ไม่ดำเนินการจน โรงงานได้รับความเสียหายมากขึ้น ลูกหนี้(ลูกจ้าง)อาจอ้างเหตุนี้เพื่อลด ส่วนของความรับผิดใน คสห.ลง ได้บ้าง

41 คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 745/2512 จำเลยจ้างโจทก์ก่อสร้างตึกแถว เมื่อจำเลย หรือ ฟ. พบเห็นสิ่งใดโจทก์ทำไว้บกพร่องได้ทักท้วงบอกให้แก้ ได้ตกลงกันทำบันทึกระบุวิธีแก้ไขดังนี้ย่อมมีผลว่าเรื่องที่ได้ทักท้วงตกลงกันไปแล้วก็เป็นอันเป็นไปตามข้อตกลงใหม่ แต่ข้อบกพร่องอื่นๆ ที่ยังไม่ได้พูดถึงจะถือว่าจำเลยยอมรับเอาทุกอย่างหาได้ไม่จะเอาการที่ ฟ. ทักท้วงหรือไม่มาผูกมัดจำเลยไม่ได้เพราะ ฟ. เป็นเพียงผู้ที่จำเลยให้มาช่วยตรวจดูงานก่อสร้างไม่ใช่มาเป็นตัวแทนรับมอบงานโจทก์ยังคงต้องรับผิดอยู่ เมื่อจำเลยบอกให้แก้ไขแล้วไม่แก้ไข ย่อมผิดสัญญา อนึ่ง โจทก์เป็นช่างก่อสร้างเอาแบบแปลนที่เขียนขึ้นเคร่าๆ ไม่มีรายละเอียดให้ก่อสร้างได้สะดวกมาต่อท้ายสัญญาจ้าง โจทก์ย่อมเป็นฝ่ายไม่สุจริตไม่มีสิทธิเรียกเอาค่าจ้างจากจำเลยผู้ว่าจ้าง แต่การที่จำเลยเข้าทำสัญญาจ้างโดยไม่พิจารณาว่าแบบแปลนใช้ก่อสร้างได้หรือไม่เพราะรายละเอียดมีไม่พอเป็นเหตุให้ต้องบอกโจทก์แก้ไขเพิ่มเติมสิ่งก่อสร้างบ่อยๆถือว่าจำเลยมีส่วนผิดอยู่ด้วยจำเลยเป็นผู้ไม่สุจริต มีส่วนผิดที่ต้องเลิกสัญญา จำเลยจึงไม่อาจฟ้องแย้งเรียกค่าเสียหายเพราะโจทก์ก่อสร้างไม่สำเร็จได้ โจทก์จำเลยต่างมีส่วนผิด บอกเลิกสัญญากันไปแล้ว การก่อสร้างที่โจทก์ลงทุนลงแรงไว้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 391เมื่อเลิกสัญญากัน ให้กลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิม ส่วนการงานอันได้กระทำให้ ก็ให้ทำได้ด้วยใช้เงินตามควรค่าแห่งการนั้นๆการจะให้โจทก์รื้อสัมภาระของโจทก์ไปย่อมเสียหายแก่โจทก์มาก การก่อสร้างที่ทำไปแล้วใช่ว่าใช้ไม่ได้เสียหายทีเดียวจำเลยยังอาจแก้ไขทำต่อใช้ประโยชน์ได้ จึงให้จำเลยรับเอาสิ่งปลูกสร้าง และค่าการงานชดใช้แก่โจทก์

42 ค่าสินไหมทดแทน (คสท.) เรียก คสท.จากการชำระหนี้ไม่ต้องตามความประสงค์แท้จริงแห่งมูลหนี้ (ม.215) เรียก คสท. เพราะต้องบังคับชำระหนี้ให้เฉพาะเจาะจง (ม.213) เรียก คสท.เพราะลูกหนี้ผิดนัดโดยพฤติการณ์ที่ลูกหนี้มีส่วนผิด (ม.205) หรือ เรียก คสท.เพราะลูกหนี้ผิดนัดเพราะบุคคลอื่นที่ลูกหนี้ต้องรับผิด (ม.218) เรียก คสท.เพราะการชำระหนี้ล่าช้าเป็นอันไร้ ปย.กับเจ้าหนี้ (ม. 216) ประเภทค่าเสียหายธรรมดา และค่าเสียหายพิเศษ (ม.222) ระดับค่าเสียหายให้ดูว่า “เจ้าหนี้หรือผู้เสียหาย” มีส่วนผิดหรือไม่อย่างไรด้วย (ม.223) ดอกเบี้ยผิดนัด (ห้ามซ้อน)คิดจากหนี้เงิน = คสท(ลงโทษ) /วัตถุเสื่อมค่าก็คิด คสท.+ดอกเบี้ยได้ (ม )

43 ผลแห่งหนี้ (Effect of Obligation)
เจ้าหนี้ร้องขอศาลให้สั่งบังคับลูกหนี้ชำระหนี้ (ดูวัตถุแห่งหนี้) เว้นแต่สภาพแห่งหนี้ไม่เปิดช่อง(จริงๆ) ม. 213 บังคับโดยเฉพาะเจาะจง ชำระหนี้ให้สำเร็จต้อง ขอปฏิบัติการชำระหนี้อย่างนั้นโดยตรง (ม.208) ถ้าสภาพเปิดช่อง เจ้าหนี้ร้องขอศาลให้ บคภน.กระทำแทน โดยลูกหนี้เสียค่าใช้จ่ายได้ ถ้าสภาพเปิดช่อง เจ้าหนี้ร้องขอศาลออก คพษ แทนการแสดงเจตนา(ทำนิติกรรม) แทนลูกหนี้ ถ้าสภาพเปิดช่อง เจ้าหนี้เรียกร้องให้รื้อถอน(โดย จบค.)ที่ลูกหนี้ละเมิดข้อตกลง “งดเว้นกระทำการ โดยลูกหนี้เสียค่าใช้จ่ายเอง และจัดการเพื่อการภายหน้าได้ด้วย ทรัพย์สินของลูกหนี้หรือที่บุคคลภายนอกค้างชำระหนี้แก่ลูกหนี้ล้วนเป็นประกันการชำระหนี้ของ ม. 213 บังคับทรัพย์สินทั่วไป เว้นแต่ทรัพย์ที่ไม่อยู่ในข่ายการบังคับคดี ตาม วิแพ่งฯ มาตรา 301(เดิม 285) ประกอบ 302 เจ้าหนี้อาจมีสิทธิเหนือ “ทรัพย์เฉพาะที่เป็นประกัน(จำนอง จำนำ) ชำระหนี้ต้องตามความประสงค์แท้จริง (ม.215) ม. 213 บังคับค่าสินไหมทดแทน ผลแห่งหนี้ (Effect of Obligation)

44 การเพิกถอนการฉ้อฉล (ม
การเพิกถอนการฉ้อฉล (ม.237) ไม่ใช่การบังคับชำระหนี้ หากแต่เป็นอำนาจเจ้าหนี้เพื่อคุ้มครองสิทธิเจ้าหนี้


ดาวน์โหลด ppt การบังคับชำระหนี้ Subtitle NOTE:

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google