งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

ความเป็นพิษ อันตราย และการปฐมพยาบาล

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "ความเป็นพิษ อันตราย และการปฐมพยาบาล"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 ความเป็นพิษ อันตราย และการปฐมพยาบาล
รศ.ดร.กรรนิการ์ ฉัตรสันติประภา คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น โครงการฝึกอบรม หลักสูตรผู้ควบคุมการขายวัตถุอันตรายทางการเกษตร

2 พาดหัวข่าว

3 ผลชันสูตรยืนยันพบ"ยาฆ่าแมลง"ในอาหารกลางวันเด็กอินเดีย
วันที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ เวลา 16:20:04 น. ผลการชันสูตรศพเด็กนักเรียน 22 คน ซึ่งเสียชีวิตหลังรับประทานอาหารกลางวันที่โรงเรียนแห่งหนึ่งในรัฐพิหารของ อินเดีย ยืนยันว่าทั้งหมดเสียชีวิตจากยาฆ่าแมลง ที่อาจปนเปื้อนในอาหารหรือน้ำมันพืช

4 ก. ข. ง.ถูกทุกข้อ ค. คาดการณ์ความผิดพลาดที่เป็นสาเหตุการตาย
อนาถชีวิตเกษตรกรสูดพิษตกค้างจากยาฆ่าแมลง นอนใหลตาย “อนาถ…ฉีดพ่นยาฆ่าแมลงใบยาสูบ เมื่อยล้า นอนพักเอาแรงกลับนอนใหลตาย น้ำลายฟูมปาก แพทย์ระบุเกิดจากสารพิษสะสมในร่างกาย ……... ที่เกิดเหตุอยู่ห่างจากหมู่บ้านประมาณ 1 กม.พบศพนายเขียว บุญค้ำ อายุ 45 ปี นอนเสียชีวิตอยู่บนส่วนพ่วงรถไถนาเดินตาม สภาพสวมกางเกงวอร์มขายาวสีเขียว เสื้อยีนแขนยาว นอนหงาย น้ำลายฟูมปาก มีเลือดไหลซึม ตัวแข็งทื่อ ใกล้กันมีขวดยาฆ่าแมลงและถังฉีดพ่นวางอยู่ เบื้องต้นแพทย์คาดว่าเสียชีวิตมาแล้วประมาณ 6ชั่วโมง ….... สอบสวนนางหนูจันทร์ บุญค้ำ ภรรยาผู้ตาย ทราบว่า…..หลังจากพ่นยาฆ่าแมลงแล้วสามีได้ไปนอนพักบนตัวพ่วงรถไถ กระทั่งรุ่งเช้าไม่เห็นสามีนำใบยามาตาก จึงออกไปดู พบว่าเสียชีวิตแล้ว…..แพทย์ชันสูตรจาก รพ.ร้อยเอ็ด กล่าวว่า จากสภาพศพที่มีน้ำลายฟูมปาก เลือดไหล ตามลำตัวเป็นป้านแดง สอบประวัติพบประวัติการใช้สารเคมีพ่นยาฆ่าแมลงโดยไม่สวมหน้ากากป้องกัน..…” คาดการณ์ความผิดพลาดที่เป็นสาเหตุการตาย ก. ข. ง.ถูกทุกข้อ ค.

5 รายงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

6 …..“เด็ก ๆจะได้รับผลกระทบอย่างมาก รวมถึงการเกิดความพิการ เกิดความผิดปกติในการเรียนรู้และความผิดปกติในเรื่องพฤติกรรม เด็กที่อยู่ในบ้านที่ใช้ยาฆ่าแมลงเป็นประจำพบว่ามีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวมากกว่าเด็กปกติ 6.5 เท่า นอกจากนี้ยังพบว่าสัตว์เลี้ยงในบริเวณบ้านที่ใช้ยาฆ่าแมลงก็ได้รับความเสี่ยงนี้เช่นกัน”  …..“จากการศึกษาพบว่านกซึ่งอพยพเข้ามาตามฤดู มีอัตราการตายเพิ่มขึ้นในบริเวณที่มียาฆ่าแมลงตกค้างและบางบริเวณที่มียาฆ่าแมลงเล็กน้อย นกป่าเหล่านี้ก็มีอาการเจ็บป่วยเหมือนที่พบในมนุษย์”  …”ผู้ที่ชอบกินผักอาจได้รับอันตรายจากพิษตกค้างได้…มีคนกินก๋วยเตี๋ยวราดหน้าผักคะน้า เพียงจานเดียวก็เกิดอาการคลื่นไส้ อาเจียน หมดสติ น้ำลายฟูมปาก ต้องนำส่งโรงพยาบาลเกือบเป็นอันตรายถึงชีวิต”

7 สรุป พิษจากยาฆ่าแมลง..ไม่ใช่เฉพาะเกษตรกร(ผู้ใช้)เท่านั้น… สมาชิกในครอบครัวเกษตรกร…ผู้ขาย....ผู้บริโภค… สัตว์เลี้ยง…สัตว์ป่า…สิ่งมีชีวิตอื่นๆในสิ่งแวดล้อม… ล้วนป่วย…ล้วนได้รับผลกระทบ…โดยถ้วนหน้า!!!

8 99% ถูกแมลง 4% ใช้สาร 100% ทำให้แมลงตาย 1% ล้มเหลว (ไม่ถูกจุดสำคัญ) 3%
พืช/ผักไม่ปลอดภัย ถูกแมลง 4% 99% ตกค้างบนพืช/ผัก ตกค้างบนใบพืช 41% (ไม่โดนแมลง) อันตรายต่อสุขภาพมนุษย์และสัตว์ มนุษย์รับสัมผัสโดยตรง พลาดเป้าหมาย 15%0 ระเหยไป 10% เข้าห่วงโซ่อาหารอื่นๆ ตกค้างในสิ่งแวดล้อม ปลิวทิ้ง 30% เหลือ 70% ใช้สาร 100% 8

9 อัตราการป่วยจากการประกอบอาชีพที่รายงานเข้าสู่กระทรวงสาธารณสุข. พ. ศ
อัตราการป่วยจากการประกอบอาชีพที่รายงานเข้าสู่กระทรวงสาธารณสุข พ.ศ รวมทุกสาเหตุ สารสาเหตุ สารปราบศัตรูพืช >90% ตะกั่ว โลหะหนัก ปิโตรเลียม ก๊าซ+ไอระเหย ฝุ่นในปอด (ที่มา:สรุปรายงานการเฝ้าระวังโรค กองระบาดวิทยา กระทรวงสาธารณสุข พศ )

10 ผลกระทบสารเคมีกำจัดศัตรูพืชต่อสุขภาพคนไทย มูลนิธิชีววิถี ค้นเมื่อ 3 พค
ผลกระทบสารเคมีกำจัดศัตรูพืชต่อสุขภาพคนไทย มูลนิธิชีววิถี ค้นเมื่อ 3 พค จาก

11 สารเคมีทางการเกษตรก่อพิษได้หลากหลายแบบ

12 แบบที่ 1 แบ่งตามระยะเวลาที่แสดงอาการให้ปรากฏ
1. การเกิดพิษแบบเฉียบพลัน (Acute poisoning/toxicity) ได้รับสารแล้วแสดงอาการภายใน 24 ชั่วโมง 2. การเกิดพิษแบบเรื้อรัง (Chronic poisoning/toxicity) ได้รับทีละน้อยหลายครั้งติดต่อกันเป็นเวลานาน และเกิดการสะสม จนแสดงอาการ

13 แบบที่ 2 แบ่งตามตำแหน่งที่แสดงอันตรายจากสารพิษ
1. การเกิดพิษทางระบบของร่างกาย (Systemic poisoning/toxicity) มีการดูดซึมเข้ากระแสเลือดจากตำแหน่งหนึ่ง แล้วไปแสดงอาการที่ส่วนอื่นๆได้ 2. การเกิดพิษเฉพาะที่ (Local poisoning/Local toxicity) ไม่ดูดซึมเข้ากระแสเลือด จึงแสดงพิษที่ตำแหน่งได้รับสาร เช่น ฤทธิ์กัด คัน ระคายเคือง ฯ

14 แบบที่ 3 แบ่งตามกลวิธาน (mechanism) การเกิดพิษ
1.ปฏิกิริยาภูมิแพ้ (Allergic reaction) เกิดจากระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายคนนั้นตอบ- สนองว่องไวเกินไปต่อสาร (เฉพาะบุคคล) 2.ภาวะพันธุกรรมผิดปกติ (Idiosyncratic reaction) เกิดจากพันธุกรรมที่แตกต่างจากผู้อื่นของคนนั้น 3.การได้รับสารเกินขนาด (Overdosage หรือ Toxicologic reaction) เกิดกับทุกคนที่ได้รับสารพิษเกินขนาดที่ร่างกายทนได้

15 ช่องทางการดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือดของสารพิษ (1) ทางปาก
(2) ทางจมูก (3) ทางผิวหนัง (4) อื่น ๆ เช่น ฉีดเข้าเส้นเลือด ถูกหนามตำ ฯ

16 การดูดซึมผ่านเซลล์บุผนังลำไส้เล็ก
เส้นเลือด ฝอยดำ เส้นเลือดฝอยแดง การดูดซึมผ่านเซลล์บุผนังลำไส้เล็ก 16

17 การดูดซึมผ่านผนังถุงลมฝอย
ของปอด

18 การดูดซึมผ่านผิวหนัง
1 2 3 รูเหงื่อ รูขน รูไขมัน เพิ่มการดูดซึมเมื่อ -ผิวหนังชุ่มชื้น -มีบาดแผล -มีรอยถลอก การดูดซึมผ่านผิวหนัง

19 ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเกิดพิษ
ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับสารที่ทำให้เกิดพิษ สารแต่ละชนิดมีพิษมากน้อยไม่เท่ากัน ในแต่ละผลิตภัณฑ์ ประกอบด้วย 1.1 ตัวสารหลัก เช่น ยาฆ่าหญ้า 2,4,5-ที 1.2 ตัวปนเปื้อนของสารหลัก เช่น ไดออกซิน 1.3 สารเติมแต่งหรือส่วนประกอบอื่นๆของผลิตภัณฑ์ เช่น สารทำละลาย น้ำมันก้าด สี กลิ่น ฯ

20 2. ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการได้รับสารพิษเข้าสู่ร่างกาย
ได้รับสารพิษเข้าร่างกายมากน้อยไม่เท่ากัน 2.1 ปริมาณสารพิษที่ได้รับ (dose) 2.2 วิถีทางที่ได้รับ (route) เช่น ทางปาก จมูก ผิวหนัง 2.3 ความนานของระยะเวลาที่ได้รับสัมผัส (duration) และความถี่ (frequency) ของการรับ 2.4 ช่วงเวลาที่ได้รับ (time) เช่น เช้า บ่าย ค่ำ ก่อน/หลังอาหาร

21 3. ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับคนที่รับสัมผัสสารพิษ
3.1 พันธุกรรม (gene) 3.2 สภาวะในขณะนั้นของผู้รับสัมผัสสารพิษ เช่น วัย ความเจ็บป่วย ฯ 4.สภาวะสิ่งแวดล้อมต่างๆ เช่น อุณหภูมิ ความชื้น การถ่ายเทของอากาศ ฯ

22 ถ้าได้รับสารพร้อมกันมากกว่า 1 ชนิด จะเกิดปฏิสัมพันธ์ระหว่างสาร (Interactions) ทำให้มีโอกาสเกิดผลต่างๆ เช่น สารแย่งกันดูดซึม สารแย่งกันออกฤทธิ์ที่เซลล์/อวัยวะเป้าหมาย สารแย่งกันในกระบวนการเปลี่ยนแปลงสารภายในร่างกาย สารแย่งกันขับถ่าย ผลลัพธ์ที่ได้ พิษเพิ่มขึ้นแบบผลบวกของพิษแต่ละตัว เช่น = 5 พิษเพิ่มขึ้นแบบเกินกว่าผลบวกของพิษแต่ละตัว เช่น = 20 พิษลดลงจากการหักล้างพิษกันเอง เช่น = 3 หรือ (+4) + (-4) = 0 หรือ = 1  ใช้เป็นยาแก้พิษ

23 คำถาม ??

24 ตัวอย่าง สารพิษทางการเกษตร=สารปราบศัตรูพืช
1.ยาฆ่าแมลง -ออกาโนคลอรีน เช่น ดีดีที ดิลดริน อัลดริน เอ็นโดซัลแฟนฯ -ออกาโนฟอสเฟต เช่น พาราไทออน มาลาไทออน ฯ -ออกาโนคาร์บาเมต เช่น คาบาริล ฯ -ไพรีทรอยด์ เช่น ไซเปอร์เมธิน ฯ 2.ยาฆ่าหญ้า -พาราควอท เช่น กรัมมอกโซน ฯ -ไกลโฟเสท เช่น ราวนด์อัพ ฯ 3.ยาเบื่อหนู -วาร์ฟาริน เช่น ราคูมิน ฯ -ซิงค์ฟอสไฟด์ ฯ 4.ยาฆ่าเชื้อรา ฯลฯ

25 อาการพิษจากพาราควอท ไดควอท
ทำปฏิกิริยากับ O2 เกิดอนุมูลอิสระมากมาย ทำลายเซลล์และเนื้อเยื่อบุต่างๆ โดยเฉพาะผิวหนัง ตับ ไต ปอด ระบบทางเดินหายใจ ไอ เจ็บคอ เลือดกำเดาไหล หยุดการหายใจฯ ระบบทางเดินอาหาร ตับวาย ไตวาย ฯ ระบบผิวหนัง ผิวแห้ง แตก ผื่นแดง พุพอง แผลมีหนอง เล็บซีด เล็บหลุด เล็บหักง่าย ฯ ตา เยื่อบุตาอักเสบ ระคายเคืองตา ตาบอด ฯ ผลิตภัณฑ์มีการเติมสี กลิ่น สารกระตุ้นอาเจียนด้วย เพื่อลดการรับอันตราย

26 อาการพิษจากไกลโฟเสท (glyphosate)
ยับยั้งการสร้างกรดอะมิโน อาการพิษเฉียบพลัน ทำให้เกิดอาการคลื่นไส้ อาเจียน ไอแห้งๆ แน่นหน้าอก ในรายที่เป็นรุนแรงจะมีอาเจียนปนเลือด ปัสสาวะออกน้อย ไตวายและปอดบวมคั่งน้ำ การสัมผัสทางผิวหนังทำให้เกิดผื่นคัน แสบตา เคืองตาและ เจ็บแสบในลำคอ และอาจมีอาการพิษเรื้อรังจากการสัมผัสทางผิวหนัง โดยเป็นผื่นคัน ผิวหนังไหม้ ตาดำอักเสบ น้ำตาไหลมาก บางรายมีเลือดกำเดาไหล เช่น ราวด์อัพ, ทัชดาวน์, สปาร์ค ฯ

27 อาการพิษจากออกาโนคลอรีน
เป็นพิษต่อเยื่อหุ้มเซลล์ของเซลล์ประสาททั้งมนุษย์และแมลง ตกค้างอยู่นานในสิ่งแวดล้อม พิษต่อระบบประสาทส่วนกลางและสมอง ตัวสั่น ตากระตุก ความจำเสื่อม บุคลิกภาพเปลี่ยน กล้ามเนื้อบิดตัว เกร็ง กดศูนย์ควบคุมการหายใจ และตายได้ ฯ 27

28 อาการพิษจากสารพิษออกาโนฟอสเฟต
ยับยั้งการทำงานของเอ็นไซม์โครีนเอสเทอเรสของระบบประสาทอัตโนมัติทั้งของคนและแมลง โดยยับยั้งแบบไม่ปล่อยคืน ระบบประสาทส่วนกลาง เหนื่อยง่าย เวียนศีรษะ ปวดศีรษะ คลื่นไส้ เดินโซเซ มือสั่น ชัก หมดสติ ช็อค ฯ ระบบกล้ามเนื้อ กล้ามเนื้ออ่อนล้า ตะคริว หนังตากระตุก ทำงานไม่ประสานกันฯ ระบบประสาทอัตโนมัติ น้ำลายออกมาก เหงื่อออกมาก น้ำตาไหล หายใจลำบาก ตาพร่า ท้องร่วง ปวดเกร็งกระเพาะอาหาร ฯ

29 อาการพิษจากคาร์บาเมต
ยับยั้งการทำงานของเอ็นไซม์โครีนเอสเทอเรสของระบบประสาทอัตโนมัติทั้งของคนและแมลง โดยยับยั้งแบบปล่อยคืนได้ อาการคล้ายออกาโนฟอสเฟต ระบบทางเดินหายใจ คอแห้ง เจ็บคอ แสบจมูก ไอ ฯ ระบบผิวหนัง คัน ตุ่มขาวบนผิวหนัง ผิวหนังตกสะเก็ด ผื่นแดง ฯ ตา เคืองตา ตาแดง ฯ

30 เป็นพิษต่อเยื่อหุ้มเซลล์ของเซลล์ประสาทแมลงมากกว่ามนุษย์
อาการพิษจากไพรีทรอยด์ เป็นพิษต่อเยื่อหุ้มเซลล์ของเซลล์ประสาทแมลงมากกว่ามนุษย์ ระบบทั่วไป ชา คอแห้ง เจ็บคอ แสบจมูก หายใจถี่ คัน ฯ หากได้รับเข้าร่างกายปริมาณมาก อาเจียน ท้องร่วง เดินโซเซ หนังตากระตุก หงุดหงิด น้ำลายไหลผิดปกติ เกร็ง ชัก หมดสติ ช็อค ฯ

31 นอกจากนั้น ยังมีพิษที่ไม่แสดงผลทันที แต่จะปรากฏภายหลัง
เช่น หลังรักษาหายแล้ว 1- 4 วัน กลับมีอาการผิดปกติทางระบบประสาทส่วนปลาย คือ อาการกล้ามเนื้ออ่อนแรงที่ต้นแขน ต้นขา ที่คอ ที่สำคัญ คือ กล้ามเนื้อช่วยการหายใจอ่อนแรง อาจถึงกล้ามเนื้ออัมพาต ทำให้หยุดการหายใจ และตายได้ ช่วงนี้ต้องใช้เครื่องช่วยหายใจเท่านั้น (จะใช้อะโทรปีนรักษาไม่ได้ผล อะโทรปีนรักษาได้เฉพาะช่วงอาการเฉียบพลันเท่านั้น) ดังนั้น แม้รักษาอาการเฉียบพลันหายแล้ว ทั้งผู้ป่วย ญาติ และแพทย์ ยังจะต้องคอยเฝ้าระวังต่อไปอีก 2 สัปดาห์

32 การปฐมพยาบาลเบื้องต้นเมื่อได้รับพิษ
ถ้าได้รับเข้าทางปาก ทำให้ อาเจียนให้ได้โดยเร็วที่สุด เช่น โดยการล้วงคอ(ถึงโคนลิ้น) หรือให้กินยากระตุ้นอาเจียน (ipecac syrup) หลังจากนั้น ให้กินตัวดูดซับสาร คือ กินผงถ่านกัมมันต์ (activated charcoal) ชนิดผง (ผงถ่าน 1 กรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม) ผสมน้ำพอเหลวๆ( 4 – 8 เท่า) เพื่อดูดซับสารพิษ หรืออย่างน้อยกินไข่ขาวดิบ นม เพื่อเคลือบทางเดินอาหารและเจือจางสาร แล้วรีบไปพบแพทย์ **ห้ามกระตุ้นอาเจียน**กรณีทำท่าจะหมดสติ/ชัก (สมองถูกกดการทำงาน) เช่น ผู้ได้รับสารพิษหมดสติ ชัก ปฏิกิริยาสะท้อนกลับ (reflex) ตอบสนองไม่ดีหรือใกล้จะหลับหรือชักภายใน 30 นาทีหลังจากนี้) หรือ กินสารที่มีฤทธิ์กัดกร่อน เช่น พาราควอท ถ้าเป็นยาฆ่าหญ้าพาราควอท ให้ควักดินท้องร่องหรือน้ำโคลนเหลวให้กินทันทีหรือเอาดินเหนียวละลายน้ำให้กิน-ไม่ต้องกระตุ้นอาเจียน

33 กินถ่านกัมมันต์แล้วต้องกินยาถ่ายออก ถ่านกัมมันต์ หรือ ถ่านปลุกฤทธิ์
ขนาดรูพรุน เป็นนาโนเมตร ปลุกด้วย ความร้อนและไอน้ำ (กายภาพ) หรือ ปลุกด้วยสารเคมี (เคมี) กินถ่านกัมมันต์แล้วต้องกินยาถ่ายออก ถ่านกัมมันต์ หรือ ถ่านปลุกฤทธิ์ ถ่านกะลามะพร้าวจากกล้องจุลทรรศน์กำลังขยายสูง (ซ้าย) ลักษณะผิวถ่านก่อนกระตุ้น (ขวา) หลังกระตุ้น

34 ถ้าได้รับเข้าทางหายใจ
การปฐมพยาบาลเบื้องต้นเมื่อได้รับพิษ(ต่อ) ถ้าได้รับเข้าทางหายใจ -เอาตัวออกพ้นไปทันทีจากบริเวณที่มีสาร แขวนลอยอยู่ในอากาศ -ปลดขยายเสื้อกางเกงให้หายใจสะดวกขึ้น -ล้วงสิ่งอุดตัน เช่น ฟันปลอมออกจากปาก *ถ้าหายใจไม่สะดวกให้ช่วยผายปอด (ระวังอันตรายเกิดกับผู้ช่วยเหลือ) ฯ

35 ถ้าได้รับทางผิวหนัง-นัยน์ตา
การปฐมพยาบาลเบื้องต้นเมื่อได้รับพิษ(ต่อ) ถ้าได้รับทางผิวหนัง-นัยน์ตา ถอดเสื้อผ้าที่สารหกรดออกทันที ณ ตำแหน่งที่สารหกรด แล้วอาบน้ำถูสบู่ทันที ล้างตา ด้วยน้ำให้สะอาดโดยปล่อยน้ำสะอาดไหลผ่านมากๆนานๆ กรอกตาไปมา ไปหาหมอ-ให้ถือกระป๋องใส่ยาฆ่าแมลงที่มีป้ายชื่อสารไปให้หมอดูด้วย (กระป๋องที่มีชื่อสารจริงๆ)

36 การป้องกันการเกิดพิษ
ป้องกันการเข้าทางปาก ล้างมือด้วยสบู่ทันทีหลังทำงาน ไม่กินอาหารหรือสูบบุหรี่ระหว่างทำงาน ไม่วางจาน ช้อน แก้วน้ำ ภาชนะใส่อาหาร หรืออาหารใดๆไว้ภายในบริเวณที่ทำงาน

37 ป้องกันการเข้าทางจมูก
การป้องกันการเกิดพิษ(ต่อ) ป้องกันการเข้าทางจมูก ใช้ผ้าหนาๆปิดปากและจมูก -กรองฝุ่นได้ แต่กรองก๊าซได้น้อย ใส่หน้ากากซึ่งมีที่กรองสาร-กรองก๊าซ สารระเหย ฝุ่นละเอียดได้ มีการตรวจวัดระดับสารปนเปื้อนในบรรยากาศเป็นระยะๆ ปิดเต็มหน้า ปิดครึ่งหน้า

38 ป้องกันการเข้าทางผิวหนังและนัยน์ตา
การป้องกันการเกิดพิษ (ต่อ) ป้องกันการเข้าทางผิวหนังและนัยน์ตา -ใส่เสื้อกางเกงแขนยาวขายาว ผ้าหนาพอสมควร ในการทำงาน -หลังทำงาน ให้ถอดเสื้อผ้าที่ใส่ทำงาน ล้างมืออาบน้ำด้วยสบู่ทันที -ถ้าสารหกเลอะเสื้อผ้าให้ถอดออกเปลี่ยนทันที -หากสารหกเลอะตัวหรือผิวหนังให้ล้างด้วยน้ำและสบู่ทันที -ผิวหนังบริเวณที่มีแผลหรือรอยถลอกต้องดูแลปกปิดเป็นพิเศษ -ห้ามสัมผัสสารด้วยมือเปล่า ควรสวมถุงมืออย่างหนา -หากเป็นสารน้ำ ต้องสวมถุงมือยางพิเศษที่กันสารละลายและน้ำได้ -ควรใส่แว่นตาที่ปิดมิดชิดระหว่างทำงาน -อย่าเอามือที่จับถูกสารมาขยี้ตา

39 เฉลยคำถาม ไม่มีสารใดๆที่ไม่มีพิษ ปริมาณเท่านั้นที่เป็นตัวกำหนด
ให้สารนั้นเป็นสารพิษหรือเป็นยารักษาโรค พาราเซลซัส เฉลยคำถาม

40 ก. ข. ง.ถูกทุกข้อ ค. คาดการณ์ความผิดพลาดที่เป็นสาเหตุการตาย
อนาถชีวิตเกษตรกรสูดพิษตกค้างจากยาฆ่าแมลง นอนใหลตาย “อนาถ…ฉีดพ่นยาฆ่าแมลงใบยาสูบ เมื่อยล้า นอนพักเอาแรงกลับนอนใหลตาย น้ำลายฟูมปาก แพทย์ระบุเกิดจากสารพิษสะสมในร่างกาย ……... ที่เกิดเหตุอยู่ห่างจากหมู่บ้านประมาณ 1 กม.พบศพนายเขียว บุญค้ำ อายุ 45 ปี นอนเสียชีวิตอยู่บนส่วนพ่วงรถไถนาเดินตาม สภาพสวมกางเกงวอร์มขายาวสีเขียว เสื้อยีนแขนยาว นอนหงายน้ำลายฟูมปากมีเลือดไหลซึม ตัวแข็งทื่อ ใกล้กันมีขวดยาฆ่าแมลงและถังฉีดพ่นวางอยู่ เบื้องต้นแพทย์คาดว่าเสียชีวิตมาแล้วประมาณ 6ชั่วโมง ….... สอบสวนนางหนูจันทร์ บุญค้ำ ภรรยาผู้ตาย ทราบว่า…..หลังจากพ่นยาฆ่าแมลงแล้วสามีได้ไปนอนพักบนตัวพ่วงรถไถ กระทั่งรุ่งเช้าไม่เห็นสามีนำใบยามาตาก จึงออกไปดู พบว่าเสียชีวิตแล้ว…..แพทย์ชันสูตรจาก รพ.ร้อยเอ็ด กล่าวว่า จากสภาพศพที่มีน้ำลายฟูมปาก เลือดไหล ตามลำตัวเป็นป้านแดง สอบประวัติพบประวัติการใช้สารเคมีพ่นยาฆ่าแมลงโดยไม่สวมหน้ากากป้องกัน..…” คาดการณ์ความผิดพลาดที่เป็นสาเหตุการตาย ก. ข. ง.ถูกทุกข้อ ค.

41 คำถาม ??

42 ขอบคุณและสวัสดีค่ะ


ดาวน์โหลด ppt ความเป็นพิษ อันตราย และการปฐมพยาบาล

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google