รูปแบบและแนวทางการประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

Slides:



Advertisements
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
ผศ.ดร.ศิรภัสสร วงศ์ทองดี
Advertisements

ER 2104 หลักการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ 3(3-0)
ส่วนที่ 2 การประเมินกับ การบริหารงานบุคคล รศ.ดร.สุพักตร์ พิบูลย์
ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อมขอเดชะ ข้าพระพุทธเจ้า รศ.ดร.สุพักตร์ พิบูลย์
จุดมุ่งหมายการศึกษา และพฤติกรรมการศึกษา
ในอุดมศึกษาไทย วิจารณ์ พานิช กรรมการบริหารสถาบันคลังสมองฯ นำเสนอในการประชุมเพื่อนําเสนอผลจากการดําเนินงานตามโครงการปฎิบัตกิ าร ภายใต้หลักสูตรคณบดีเพื่อการเปลี่ยนแปลงรุ่น.
อบรมปฏิบัติการ จัดทำหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551
พงษ์ศักดิ์ วรรณไกรโรจน์ บรรยายในการอบรม “ การจัดทำแผนการสอนใน คลินิกสำหรับอาจารย์แพทย์ ” กรมอนามัย 8-9 ก. ย การจัดการเรียนการสอน 1.
1 การวิเคราะห์ งาน Job Analysis. INDM0419 Industrial HRM2 ความหมายของการวิเคราะห์งาน การวิเคราะห์งาน คือ กระบวนการที่มีระบบใน การกำหนดทักษะ หน้าที่ และความรู้ที่
การบริหารโครงการ (Project Management) โครงการ คือ งาน (task) ซึ่งมีการ กำหนดเวลาเริ่มต้นและสิ้นสุด ที่ แน่นอนและมีความต้องการใช้ทรัพยากร ต่างๆใน แต่ละกิจกรรมโดย.
นโยบาย และนโยบายการศึกษา
การเรียนรู้โดยใช้โครงการเป็นฐาน (Project based Learning : PBL)
เครื่องมือชุดธารปัญญา: แนวคิดและการประยุกต์ใช้
โครงการประเมินคุณภาพการศึกษาขั้นพื้นฐาน
การลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ Moderate Class More Knowledge
การอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี (DVE : Dual Vocational Education)
อย่าติดกับดักการเรียนรู้
การจัดการองค์ความรู้
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วัลยา ธเนศพงศ์ธรรม ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายวิชาการ
การวัดและประเมินการปฏิบัติ
การวัดและประเมินผลการศึกษา
แนวคิดทฤษฎี ที่เกี่ยวกับการประเมินภาคปฏิบัติ
มหาวิทยาลัยราชภัฏเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นตามพระบรมราโชบาย
วิทยาศาสตร์ และ กระบวนการทางวิทยาศาสตร์
การวิจัยในชั้นเรียน( Classroom Action Research)
แนวทางการตอบแบบสำรวจ Evidence-based
การจัดการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย
การวัดผลและประเมินผล ตามมาตรฐานผลการเรียนรู้ ของ TQF
โครงการส่งเสริมเกษตรทฤษฎีใหม่ และเกษตรกรรมยั่งยืน ปี 2560
Hilda  Taba  (ทาบา).
โรงเรียนคุณภาพประจำตำบล
ตัวชี้วัด 2.5 ระดับความสำเร็จของหน่วยงาน มีผลงาน วิจัย/R2R/KM ที่ถูกนำไปใช้ประโยชน์อย่างน้อย 1 เรื่อง ทันตแพทย์หญิงสุณี วงศ์คงคาเทพ ทันตสาธารณสุขทรงคุณวุฒิ(ด้านทันตสาธารณสุข)
ระบบการประกันคุณภาพอาชีวศึกษา
ความหมายและความสำคัญ ของการประเมินภาคปฏิบัติ (Performance Assessment)
โรงพยาบาลวังน้ำเย็น ประชากรรวม ๖๔,๓๘๐ คน UC ๔๗,๘๕๘ คน.
การวัดผลและประเมินผลพฤติกรรมของมนุษย์
การประเมินผลการเรียนรู้
การวิเคราะห์มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด
๓.จัดระบบบริหารและสารสนเทศ
ครูกับการออกแบบการเรียนรู้ สู่คุณภาพเด็กไทย
รายงานการประเมินตนเอง
การสร้างข้อสอบตามมาตรฐานและตัวชี้วัดของหลักสูตร
ผศ.ญาลดา พรประเสริฐ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
ดร.ศรีวรรณ ฉัตรสุริยวงศ์ ครูเชี่ยวชาญ (คศ.4)
การพัฒนาหลักสูตรในรูปแบบ Productive Learning
รอบสามประเมินกลุ่มตัวบ่งชี้ที่ 1-5)
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแพร่ เขต 1
ผู้ใช้และการใช้สารสนเทศ
สังกัด วิทยาลัยเทคโนโลยีสยามบริหารธุรกิจ (SBAC)
กระบวนการเรียนรู้ของผู้บริโภค
การวัดและประเมินผลการศึกษา
ระบบจำนวนจริง ข้อสอบ O-net
ดร.ภาสกร พงษ์สิทธากร ผู้อำนวยการศูนย์พัฒนาการนิเทศและเร่งรัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน สพฐ.
การประเมินประสิทธิภาพสิ่งแวดล้อมทางการเรียนรู้
การวัดและประเมินผลการเรียนรู้
การวิเคราะห์มาตรฐานและตัวชี้วัด
ทิศทางการศึกษาเอกชน พ.ศ. 2551
การพัฒนาเครื่องมือวัดและประเมินผลการเรียนรู้
เทคนิคการเขียนข้อสอบ
12-13 พฤษภาคม 2561 ณ หอประชุมภัคพิพิธ โรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัย ๒
การวิเคราะห์มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด
การวิเคราะห์มาตรฐานและตัวชี้วัด
Skills of 21st century learning ทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 3Rs X 7Cs (เรียนรู้ตลอดชีวิต) Reading ’Riting (Writing) ’Rithmetic (Arithmetic) ทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ.
การควบคุมการผลิตสินค้าและบริการ
ด้านผลงานที่เกิดจากการปฏิบัติหน้าที่ในด้านเรียนการสอน
การจัดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน O-NET ปีการศึกษา 2559
คอมพิวเตอร์เพื่อการเรียนรู้
การวัดและประเมินผลการเรียนรู้
GSC151 ชีวิตและสภาพแวดล้อมในโลกแห่งการเปลี่ยนแปลง
การวิเคราะห์มาตรฐานและตัวชี้วัด
ใบสำเนางานนำเสนอ:

รูปแบบและแนวทางการประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ในกลุ่มสาระการเรียนรู้ที่ไม่ได้ทำการทดสอบ O-NET ปีการศึกษา 2558 สำนักทดสอบทางการศึกษา สพฐ.

รูปแบบการประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ในกลุ่มสาระการเรียนรู้ที่ไม่ได้ทำการทดสอบ O-NET

รูปแบบการประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ในกลุ่มสาระการเรียนรู้ที่ไม่ได้ทำการสอบ O-NET สถานศึกษาเป็นผู้ดำเนินการประเมินคุณภาพผู้เรียนใน 3 กลุ่มสาระการเรียนรู้ ได้แก่ กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ และกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ และเทคโนโลยี ตามกรอบมาตรฐานและตัวชี้วัดตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ในลักษณะของการวัดและประเมินในชั้นเรียน (Classroom Assessment) ตามปกติ

มาตรฐานและตัวชี้วัดของหลักสูตร ตัวชี้วัด1 กลุ่มสาระการเรียนรู้ ตัวชี้วัด2 มาตรฐาน1 ตัวชี้วัด3 หลัก สูตร กลุ่มสาระการเรียนรู้ มาตรฐาน2 ตัวชี้วัด4 มาตรฐาน3 กลุ่มสาระการเรียนรู้

รูปแบบการประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ในกลุ่มสาระการเรียนรู้ที่ไม่ได้ทำการสอบ O-NET การประเมินใน 3 กลุ่มสาระการเรียนรู้ดังกล่าว ต้องดำเนินการให้ครอบคลุมทั้งการประเมินความรู้ (Knowledge Assessment) การประเมินทักษะกระบวนการ (Process-skill Assessment) และการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ (Desirable Characteristics Assessment) ตามพฤติกรรมที่ระบุไว้ในมาตรฐานและตัวชี้วัดของแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งใน 3 กลุ่มสาระการเรียนรู้นี้มุ่งเน้นการพัฒนาทักษะและกระบวนการของนักเรียนเป็นหลัก ดังนั้น จึงต้องให้ความสำคัญกับการประเมินภาคปฏิบัติ (Performance Assessment) เป็นอันดับแรก

ลักษณะพฤติกรรมของมาตรฐานตัวชี้วัด ความรู้ (knowledge: K) หรือพุทธิพิสัย (Cognitive Domain) ตัวชี้วัด1 มาตรฐาน1 ตัวชี้วัด2 ทักษะกระบวนการ (process skill: P) หรือทักษะพิสัย (Psychomotor D.) ตัวชี้วัด3 หลักสู ตร มาตรฐาน2 ตัวชี้วัด4 คุณลักษณะ (Attribute: A) หรือจิตพิสัย (Affective Domain) มาตรฐาน3

มาตรฐาน ศ ๑.๑ สร้างสรรค์งานทัศนศิลป์ตามจินตนาการ และความคิดสร้างสรรค์ วิเคราะห์ วิพากษ์วิจารณ์คุณค่างานทัศนศิลป์ ถ่ายทอดความรู้สึก ความคิดต่องานศิลปะอย่างอิสระ ชื่นชม และประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน Knowledge Process & Skill ระบุสีคู่ตรงข้าม และอภิปรายเกี่ยวกับการใช้สีคู่ ตรงข้ามในการถ่ายทอดความคิดและอารมณ์ ............. สร้างงานทัศนศิลป์จากรูปแบบ ๒ มิติ เป็น ๓ มิติ โดยใช้หลักการของแสงเงาและน้ำหนักสร้างงาน ทัศนศิลป์โดยการทดลองใช้สี ด้วยเทคนิคง่าย ๆ ....................... ศิลปะ ป.6

บรรยายเพลงที่ฟัง โดยอาศัยองค์ประกอบดนตรี และศัพท์สังคีต มาตรฐาน ศ ๒.๑ เข้าใจและแสดงออกทางดนตรีอย่างสร้างสรรค์ วิเคราะห์ วิพากษ์วิจารณ์คุณค่าดนตรี ถ่ายทอดความรู้สึก ความคิดต่อดนตรีอย่างอิสระ ชื่นชม และประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน Knowledge Process & Skill บรรยายเพลงที่ฟัง โดยอาศัยองค์ประกอบดนตรี และศัพท์สังคีต จำแนกประเภทและบทบาทหน้าที่เครื่องดนตรีไทย และเครื่องดนตรีที่มาจากวัฒนธรรมต่าง ๆ ............................. อ่าน เขียนโน้ตไทย และโน้ตสากลทำนองง่าย ๆ ใช้เครื่องดนตรีบรรเลงประกอบการร้องเพลง ด้น สด ที่มีจังหวะ และทำนองง่าย ๆ .................... ดนตรี ป.6

มาตรฐาน พ ๓.๑ เข้าใจ มีทักษะในการเคลื่อนไหว กิจกรรมทางกาย การเล่นเกม และกีฬา Knowledge Process & Skill แสดงทักษะการเคลื่อนไหวร่วมกับผู้อื่นในลักษณะแบบ ผลัดและแบบผสมผสานได้ตามลำดับ ทั้งแบบอยู่กับที่ เคลื่อนที่ ใช้อุปกรณ์ประกอบและการเคลื่อนไหวประกอบ เพลง จำแนกหลักการเคลื่อนไหวในเรื่องการรับแรง การใช้แรง และความสมดุลในการเคลื่อนไหวร่างกายในการเล่นเกม เล่นกีฬา และนำผลมาปรับปรุงเพิ่มพูนวิธีปฏิบัติของตน และผู้อื่น ........... ใช้ทักษะกลไก เพื่อปรับปรุงเพิ่มพูนความสามารถของตน และผู้อื่นในการเล่นกีฬา สุขศึกษา ป.6

อภิปรายแนวทางในการทำงานและปรับปรุง การทำงานแต่ละขั้นตอน มาตรฐาน ง ๑. ๑ เข้าใจการทำงาน มีความคิดสร้างสรรค์ มีทักษะกระบวนการทำงาน ทักษะการจัดการ ทักษะกระบวนการแก้ปัญหา ทักษะการทำงานร่วมกัน และทักษะการแสวงหาความรู้ มีคุณธรรม และลักษณะนิสัยในการทำงาน มีจิตสำนึกในการใช้พลังงาน ทรัพยากร และสิ่งแวดล้อม เพื่อการดำรงชีวิตและครอบครัว Knowledge Process & Skill อภิปรายแนวทางในการทำงานและปรับปรุง การทำงานแต่ละขั้นตอน ใช้ทักษะการจัดการในการทำงาน และมี ทักษะการทำงานร่วมกัน ปฏิบัติตนอย่างมีมารยาทในการทำงานกับ ครอบครัวและผู้อื่น การงาน ป.6 Attribute

การวิเคราะห์มาตรฐานและตัวชี้วัดของหลักสูตร (เพื่อการประเมินผลการเรียนรู้) มาตรฐาน ง ๑. ๑ เข้าใจการทำงาน มีความคิดสร้างสรรค์ มีทักษะกระบวนการทำงาน ทักษะการจัดการ ทักษะกระบวนการแก้ปัญหา ทักษะการทำงานร่วมกัน และทักษะการแสวงหาความรู้ มีคุณธรรม และลักษณะนิสัยในการทำงาน มีจิตสำนึกในการใช้พลังงาน ทรัพยากร และสิ่งแวดล้อม เพื่อการดำรงชีวิตและครอบครัว มาตรฐานการเรียนรู้/ตัวชี้วัด ความรู้ (Knowledge) ทักษะกระบวนการ (Process Skill) คุณลักษณะ พึงประสงค์ (Attribute) อภิปรายแนวทางในการทำงานและปรับปรุงการทำงานแต่ละขั้นตอน / ใช้ทักษะการจัดการในการทำงาน และมีทักษะการทำงานร่วมกัน ปฏิบัติตนอย่างมีมารยาทในการทำงานกับครอบครัวและผู้อื่น การประเมินความรู้ (Knowledge Assessment) การประเมินทักษะกระบวนการ (Process-skill Assessment) การประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ (Desirable Characteristics Assessment)

รูปแบบการประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ในกลุ่มสาระการเรียนรู้ที่ไม่ได้ทำการสอบ O-NET การประเมินใน 3 กลุ่มสาระการเรียนรู้ดังกล่าวจะต้องแบ่งคะแนนในการประเมินความรู้ การประเมินทักษะกระบวนการ และการประเมินคุณลักษณะ ให้สอดคล้องกับลักษณะของธรรมชาติวิชาตลอดภาคเรียนหรือปีการศึกษา

รูปแบบการประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ในกลุ่มสาระการเรียนรู้ที่ไม่ได้ทำการสอบ O-NET การประเมินใน 3 กลุ่มสาระการเรียนรู้ดังกล่าวต้องการดำเนินงานในลักษณะของการประเมินตามสภาพจริง (Authentic Assessment) โดยเป็นการมอบหมายให้ผู้เรียนทำโครงงาน (Project) ภารกิจงานหรือชิ้นงาน (Task) ทั้งงานกลุ่มและบุคคล และให้ผู้เรียนบูรณาการความรู้ ทักษะกระบวนการและคุณลักษณะอันพึงประสงค์ที่ระบุไว้ในมาตรฐานและตัวชี้วัดของกลุ่มสาระการเรียนรู้มาใช้ในการปฏิบัติงานตามโครงการให้สามารถดำเนินงานได้บรรลุเป้าหมาย

ออกแบบการจัดการเรียนการสอนในชั้นเรียน มาตรฐานและตัวชี้วัด ออกแบบการจัดการเรียนการสอนในชั้นเรียน กำหนดโครงงาน ภารกิจงานหรือชิ้นงาน บูรณาการ ความรู้ & ทักษะกระบวนการ & คุณลักษณะอันพึงประสงค์ วัดและประเมินผลตามมาตรฐานและตัวชี้วัด สอดคล้อง

แนวทางการดำเนินงาน การประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ในกลุ่มสาระการเรียนรู้ที่ไม่ได้ทำการทดสอบ O-NET

ระดับสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ประชุมชี้แจงสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเกี่ยวกับรูปแบบและแนวทางการประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในกลุ่มสาระการเรียนรู้ที่ไม่ได้ทำการทดสอบ O-NET ปีการศึกษา 2558 จัดส่งคู่มือหลักสูตรการพัฒนาศักยภาพครูผู้สอนในการสร้างเครื่องมือประเมินภาคปฏิบัติ (Performance Assessment) ไปยังสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา เพื่อใช้พัฒนาครูผู้สอนในสังกัด ตรวจเยี่ยม กำกับและติดตามการประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในกลุ่มสาระการเรียนรู้ที่ไม่ได้ทำการทดสอบ O-NET ของสถานศึกษาในสังกัด ให้มีความเป็นมาตรฐานและน่าเชื่อถือ สรุปและรายงานผลการดำเนินงานให้แก่ผู้บริหารระดับสูงและสาธารณชนรับทราบ

ระดับเขตพื้นที่การศึกษา (1/2) ประชุมชี้แจงสถานศึกษาเกี่ยวกับรูปแบบและแนวทางการดำเนินงานประเมินผลกลุ่มสาระการเรียนรู้ที่ไม่ได้ทำการทดสอบ O-NET ช่วยเหลือสนับสนุนให้สถานศึกษาวิเคราะห์และกำหนดมาตรฐานที่ใช้เป็นกรอบในการประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนใน 3 กลุ่มสาระการเรียนรู้ ทั้งในด้านความรู้ ทักษะกระบวนการ และคุณลักษณะ ส่งเสริมสนับสนุนให้ครูผู้สอนสามารถสร้างเครื่องมือประเมินภาคปฏิบัติ (Performance Assessment) โดยเฉพาะอย่างยิ่งในชั้น ป.6 ม.3 และ ม.6 ด้วยกิจกรรมที่หลากหลาย เช่น อบรมเชิงปฏิบัติการ ชี้แจงให้ความรู้ ทำเอกสารสื่อนิเทศ ฯลฯ

ระดับเขตพื้นที่การศึกษา (2/2) นิเทศ กำกับและติดตามการประเมินผลของสถานศึกษาในสังกัด ให้มีความเป็นมาตรฐานและน่าเชื่อถือ สรุปและรายงานผลการดำเนินงานและการประเมินคุณภาพการศึกษาใน 3 กลุ่มสาระการเรียนรู้ดังกล่าว

ระดับสถานศึกษา (1/4) วิเคราะห์มาตรฐานและตัวชี้วัดที่ใช้เป็นกรอบในการประเมินผลทั้งในด้านความรู้ ทักษะกระบวนการ และคุณลักษณะ กำหนดกรอบหรือแผนงานในการประเมินความรู้ ทักษะกระบวนการ และคุณลักษณะ ตลอดปีการศึกษา ซึ่งได้แก่ โครงงานหรือชิ้นงาน มาตรฐานและตัวชี้วัดที่ต้องการวัด ระยะเวลาในการประเมิน วิธีการและเครื่องมือที่ใช้ในการประเมิน ผู้ประเมินและผู้ถูกประเมิน เป็นต้น

ระดับสถานศึกษา (2/4) กำหนดโครงงาน (Project) ภารกิจงานหรือชิ้นงาน (Task) ที่ใช้เป็นสถานการณ์สำหรับการประเมินที่สอดคล้องกับสภาพการจัดการเรียนการสอนในชั้นเรียน ให้เหมือนกันทั้งหมดทุกห้องในแต่ละระดับชั้นของสถานศึกษา โดยทุกโครงงานหรือชิ้นงาน จะต้องเอื้อให้เด็กแสดงพฤติกรรมตามมาตรฐานและตัวชี้วัดที่เป็นกรอบในการประเมินคุณภาพผู้เรียนอย่างครบถ้วน สร้างเครื่องมือประเมินภาคความรู้ ซึ่งได้แก่ แบบทดสอบ แบบสัมภาษณ์ ฯลฯ เครื่องมือประเมินภาคปฏิบัติ ซึ่งได้แก่ แบบตรวจสอบกระบวนการทำงาน แบบประเมินผลงาน ฯลฯ และเครื่องมือประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ซึ่งได้แก่ แบบสังเกตพฤติกรรม แบบวัดเจตคติหรือทัศนคติ ฯลฯ

ระดับสถานศึกษา (3/4) การประเมินความรู้ ทักษะกระบวนการ และคุณลักษณะ ตามกำหนดการที่วางแผนอย่างเคร่งครัด กำกับและติดตามการประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในกลุ่มสาระการเรียนรู้ที่ไม่ได้ทำการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ในแต่ละห้องเรียนให้มีความเป็นมาตรฐานและน่าเชื่อถือ

ระดับสถานศึกษา (4/4) สรุปและรายงานผลการดำเนินงานและการประเมินคุณภาพการศึกษาใน 3 กลุ่มสาระการเรียนรู้มายังเขตพื้นที่การศึกษา

การวิเคราะห์ตัวชี้วัดด้าน Process & Skill มุ่งเน้นที่ขั้นตอนการทำงาน ผลงาน และคุณลักษณะที่พึงประสงค์ มุ่งเน้นที่ความเชี่ยวชาญหรือชำนาญในการปฏิบัติ (Psychomoter Domain)

ตัวชี้วัดเน้นด้านกระบวนการ (Process) ทดลองและอธิบาย น้ำ แสง เป็นปัจจัยที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตของพืช ปฏิบัติตามกฎ กติกาและข้อตกลงของการออกกำลังกาย การเล่นเกม การละเล่นพื้นเมืองได้ด้วยตนเอง สร้างงานทัศนศิลป์ต่าง ๆ โดยใช้ทัศนธาตุที่เน้นเส้น รูปร่าง ใช้วัสดุ อุปกรณ์ และเครื่องมือในการทำงานอย่างเหมาะสมกับงานและประหยัด ทำงานอย่างเป็นขั้นตอนตามกระบวนการทำงานด้วยความสะอาด ความรอบคอบ และอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม

ตัวชี้วัดเน้นด้านทักษะ (Skill) อ่านออกเสียงบทร้อยแก้ว และบทร้อยกรองได้ถูกต้องเหมาะสมกับเรื่องที่อ่าน เคลื่อนไหวร่างกายขณะอยู่กับที่ เคลื่อนที่และใช้อุปกรณ์ประกอบ เล่นเกมเบ็ดเตล็ดและเข้าร่วมกิจกรรมทางกายที่ใช้การเคลื่อนไหวตามธรรมชาติ เล่นกีฬาไทย และกีฬาสากลประเภทบุคคลและประเภททีมได้อย่างละ ๑ ชนิด วาดภาพระบายสีภาพธรรมชาติตามความรู้สึกของตนเอง

หลักการประเมินภาคปฏิบัติ 1. สภาพแวดล้อม การจัดสภาพแวดล้อมทางการเรียนอาจเกิดขึ้นในห้องปฏิบัติการทดลอง สถานที่สถานการณ์จำลอง หรือสถานการณ์จริง ผู้สอนต้องมีการจัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์ที่จำเป็นในการปฏิบัติงานอย่างครบครัน เพื่อให้เกิดทักษะ และพฤติกรรมในการปฏิบัติงานได้อย่างชัดเจนและเป็นระบบมาตรฐานเดียวกันทั้งองค์กร

หลักการประเมินภาคปฏิบัติ 2. มอบหมายงานให้ผู้เรียน การมอบหมายงานให้ผู้เรียนปฏิบัติและหมุนเวียนให้ผู้เรียนได้มีการปฏิบัติงานทุกขั้นตอนที่เกี่ยวข้องและตรวจสอบความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลในด้านความสามารถความถนัดและความสนใจ

หลักการประเมินภาคปฏิบัติ 3. การควบคุมการปฏิบัติงาน การควบคุมการปฏิบัติงานหรือการสอนให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้เป็นขั้นตอนภายใต้การแนะนำของผู้สอน ดังนี้ 3.1 การอธิบายและการสาธิตโดยครูผู้สอน 3.2 การฝึกปฏิบัติโดยผู้เรียน 3.3 การแนะนำและการแก้ไขข้อผิดพลาดจากผู้สอน

หลักการประเมินภาคปฏิบัติ 4. กระบวนการวัดผลการปฏิบัติงาน 4.1 ผู้สอนกำหนดจุดมุ่งหมายของการปฏิบัติงาน โดยกำหนดงานให้ผู้เรียนปฏิบัติภายใต้สถานการณ์ใดสถานการณ์หนึ่ง 4.2 การวิเคราะห์งาน โดยเน้นความสำคัญของการวัดกระบวนการหรือผลงานหรือทั้งสองอย่าง 4.3 กำหนดวิธีการวัดผลการปฏิบัติงานสามารถกระทำได้หลายวิธีตามสิ่งที่ต้องการวัด 4.4 การกำหนดเครื่องมือในการวัดผลการปฏิบัติงานต้องสอดคล้องกับวิธีการวัด

หลักการประเมินภาคปฏิบัติ 5. การตัดสินผลการประเมินผลการปฏิบัติงาน ผู้สอนพิจารณาจากข้อมูลที่ได้จากการวัดผลการปฏิบัติงานที่นำมาประเมินเพื่อตัดสินคุณภาพการปฏิบัติงาน แบ่งเป็น 3 วิธี ได้แก่ 5.1 วิธีการเปรียบเทียบกับความสามารถโดยเฉลี่ยของกลุ่ม 5.2 วิธีเปรียบเทียบกับเกณฑ์ที่ผู้สอนกำหนด 5.3 วิธีการเปรียบเทียบกับความสามารถของผู้ที่มีความเชี่ยวชาญหรือผู้รู้ (Known Group)

รูปแบบของการประเมินภาคปฏิบัติ 1 ประเมินจากผลงาน = ประเมินผลงานนักเรียนที่ปรากฏ ไม่เน้นความสำคัญของกระบวนการหรือขั้นตอนการปฏิบัติ 2 ประเมินจากกระบวนการ = สังเกตกระบวนการและผลงานไปพร้อม ๆ กัน ตั้งแต่เริ่มต้นจนกระทั่งสิ้นสุด 3 ประเมินจากกระบวนการและผลงาน = สังเกตขณะกำลังปฏิบัติงานและพิจารณาคุณภาพของชิ้นงานที่ทำสำเร็จแล้ว