งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

สังกัด วิทยาลัยเทคโนโลยีสยามบริหารธุรกิจ (SBAC)

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "สังกัด วิทยาลัยเทคโนโลยีสยามบริหารธุรกิจ (SBAC)"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 สังกัด วิทยาลัยเทคโนโลยีสยามบริหารธุรกิจ (SBAC)
เรื่อง การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาพิมพ์ดีดอังกฤษ ที่สอนโดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน Problem – based Learning  (PBL) กับการสอน แบบวิธีปกติ นักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 2 วิทยาลัยเทคโนโลยีสยามบริหารธุรกิจ (SBAC) วิจัยโดย ดาราพร ชูวงษ์ สังกัด วิทยาลัยเทคโนโลยีสยามบริหารธุรกิจ (SBAC)

2 ปัญหาในการวิจัย การจัดการศึกษาไทยในปัจจุบัน เน้นการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ หมวดที่ 4 แนวการจัดการศึกษาในมาตรา 22 การจัดการศึกษาต้องยึดหลักว่านักศึกษา ทุกคนมีความสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้และถือว่านักศึกษามีความสำคัญที่สุดกระบวนการจัดการศึกษาต้องส่งเสริมให้นักศึกษาสามารถพัฒนาตามธรรมชาติและเต็มศักยภาพของนักศึกษา มาตราที่ 24 การจัดกระบวนการเรียนรู้ต้องจัดเนื้อหาสาระและกิจกรรม  ให้สอดคล้องกับความสนใจและความถนัดของนักศึกษาโดยคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล   คือนักศึกษาแต่ละคนมีศักยภาพในการเรียนรู้ ความสนใจ และประสบการณ์ที่แตกต่างกัน  ซึ่งนับว่าเป็นปัจจัยที่สำคัญที่ผู้สอนหรือผู้ออกแบบการจัดกระบวนการเรียนรู้ต้องคำนึงถึงเพื่อให้นักศึกษาเกิดการเรียนได้เต็มศักยภาพและสามารถเรียนรู้ได้ดียิ่งขึ้น (กรมวิชาการ) การเรียนอาชีวศึกษา

3 ปัญหาในการวิจัย การจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน Problem –based Learning  (PBL)ซึ่งข้าพเจ้าได้ยึดหลักของ (มัณฑรา ธรรมบุศย์, 2545)ได้แบ่งลักษณะที่สำคัญของการเรียนที่ใช้ปัญหาเป็นหลักไว้ 8 ข้อคือ 1. ผู้เรียนเป็นศูนย์กลางของการเรียนรู้อย่างแท้จริง (student-centered learning) 2. การเรียนรู้เกิดขึ้นในกลุ่มผู้เรียนที่มีขนาดเล็ก 3. ครูผู้สอนเป็นผู้อำนวยความสะดวก (facilitator) หรือผู้ให้คำแนะนำ (guide) 4. ใช้ปัญหาเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้ 5. ปัญหาที่นำมาใช้มีลักษณะคลุมเครือไม่ชัดเจน ปัญหา 6. ปัญหาอาจมีคำตอบได้หลายคำตอบหรือมีทางแก้ไขปัญหาได้หลายทาง (ill- structured problem) 7. ผู้เรียนเป็นคนแก้ปัญหาโดยการแสวงหาข้อมูลใหม่ ๆ ด้วยตนเอง (self-directed learning) 8. ประเมินผลจากสถานการณ์จริง โดยดูจากความสามารถในการปฏิบัติ (authentic assessment)

4 กลุ่มตัวอย่าง ประชากร นักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 2 สาขางานคอมพิวเตอร์ ธุรกิจ ปีการศึกษา วิทยาลัยเทคโนโลยีสยามบริหารธุรกิจ (SBAC) กลุ่มตัวอย่าง ใช้วิธีการสุ่มแบบเจาะจง (Purposive Sampling) โดยแบ่งเป็น กลุ่มทดลอง สอนด้วย วิธีการสอนแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน Problem –based Learning  (PBL) ได้แก่ นักศึกษา ปวช. 2/1, 2/2 สาขาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ จำนวน 80 คน กลุ่มควบคุม สอนด้วยวิธีปกติ ได้แก่ นักศึกษา ปวช. 2/3, 2/5 สาขาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ จำนวน 80 คน

5 วัตถุประสงค์ของการวิจัย
วัตถุประสงค์ของการวิจัย 1. เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาที่เรียนด้วย ในรายวิชาพิมพ์ดีดอังกฤษ 1 ที่สอนโดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน Problem –based Learning (PBL) กับการเรียนแบบวิธีปกติ

6 กรอบแนวคิดในการวิจัย
ตัวแปรต้น ตัวแปรตาม ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาพิมพ์ดีดอังกฤษ 1 เรื่องการพิมพ์พัฒนาความเร็วและความแม่นยำ รูปแบบการจัดการเรียนรู้ ใช้ปัญหาเป็นฐาน (PBL)

7 แนวคิดทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน รูปแบบการจัดการเรียนรู้ใช้ปัญหาเป็นฐาน (PBL)

8 เครื่องมือที่ใช้เก็บข้อมูล
แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน Problem –based Learning  (PBL) ข้อสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องการพิมพ์พัฒนาความเร็วและความแม่นยำ (เป็นข้อสอบอัตนัยให้นักศึกษาพิมพ์ตามแบบ) แบบบันทึกจำนวนคำที่นักศึกษาพิมพ์และคะแนน เรื่อง การพิมพ์พัฒนาความเร็วและความแม่นยำซึ่งได้จัดแบ่งช่วงจำนวนคำที่พิมพ์ได้ต่อนาที

9 สถิติที่ใช้ในการวิจัย
หาค่าเฉลี่ย ( X ) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ของคะแนนจากแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องการพิมพ์พัฒนาความเร็วและความแม่นยำภาคเรียนที่ 1/2557 วิเคราะห์ความแตกต่างของค่าเฉลี่ย ( X ) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และทดสอบ ค่าที t-test ของนักศึกษา 2 กลุ่ม เพื่อดูความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.5

10 การวิเคราะห์ข้อมูลสำคัญ
ตารางที่ 1 การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มทดสอบ Post-Test Group กลุ่ม ตัวอย่าง คะแนน ต่ำสุด Minimum สูงสุด Maximum ค่าเฉลี่ย 𝑋 ส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐาน (S.D.) ทดสอบค่า t-test กลุ่มทดลอง 80 5 10 7.56 1.34 10.08 กลุ่มควบคุม 4 9 5.73 0.99

11 สรุปผลการวิจัย การวิจัย เรื่องพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาพิมพ์ดีดอังกฤษ 1โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน Problem – based Learning (PBL) วิทยาลัยเทคโนโลยีสยามบริหารธุรกิจ (SBAC) นักศึกษาระดับชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้น ปีที่ 2 มีวัตถุประสงค์ของการวิจัยเพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาในรายวิชาพิมพ์ดีดอังกฤษ 1 โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน Problem – based Learning (PBL)สมมติฐานการวิจัย การจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน Problem – based Learning (PBL) ในรายวิชาพิมพ์ดีดอังกฤษ 1 จะส่งผลให้นักศึกษามีการผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น

12 สรุปผลการวิจัย ผลการวิจัยพบว่า
ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนในกลุ่มทดลองรูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน Problem – basedLearning  (PBL) มีค่าเฉลี่ยสูงกว่าผู้เรียนในกลุ่มควบคุมที่เรียนด้วยวิธีแบบปกติ ซึ่งค่าเฉลี่ย ( = 7.56) และเมื่อทดสอบค่าที (t-test = 9.78) ผลปรากฏว่าแตกต่างกันอย่าง มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.5

13 ข้อเสนอแนะในการนำไปใช้
- ผู้สอนควรศึกษารูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน Problem – based Learning (PBL) และการจัดกิจกรรมอย่างถูกต้อง ตามขั้นตอน

14 ข้อเสนอแนะในการศึกษาค้นคว้าครั้งต่อไป
1. ควรวิจัยและพัฒนาเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน Problem – based Learning (PBL) ในรายวิชาอื่น ๆ ต่อไป 2. ควรมีการสอบถามความพึงพอใจของผู้เรียนกลุ่มทดลอง ที่เรียนด้วย วิธีจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน Problem – based Learning (PBL) 3. ควรมีการศึกษาเกี่ยวกับความคงทนในการเรียนพิมพ์ดีด

15 จบการนำเสนอ สวัสดีค่ะ


ดาวน์โหลด ppt สังกัด วิทยาลัยเทคโนโลยีสยามบริหารธุรกิจ (SBAC)

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google