แผนยุทธศาสตร์วัณโรคระดับชาติ พ.ศ. ๒๕๖๐-๒๕๖๔ แผนยุทธศาสตร์วัณโรคระดับชาติ พ.ศ. ๒๕๖๐-๒๕๖๔ ความรุนแรงของสถานการณ์ วัณโรคของไทย ผป. วัณโรคที่เริ่มรักษาล่าช้า แพร่เชื้อผ่านทางเดินหายใจ คนเราเลือกลมหายใจไม่ได้
WHO ตั้งเป้าหมาย End TB ปี 2578 (2035) อัตราป่วย 10 ต่อแสน เป้า End TB อัตราลดเฉลี่ยปัจจุบัน จำนวนผู้ป่วยใหม่ปีละ 120,000 ราย เสียชีวิตปีละ 12,000 ราย อัตราป่วย 171 ต่อแสนประชากร สูงกว่าค่าเฉลี่ยของโลก 1.3 เท่า ไทยติดอันดับ 1 ใน 14 ประเทศของโลกเช่นเดียวกับ จีน อินเดีย เมียนมา เคนยา เอธิโอเปีย ที่มีภาระโรควัณโรคสูง รวมทั้งวัณโรคดื้อยาและวัณโรคที่สัมพันธ์กับเอดส์ ค่าใช้จ่ายในการรักษา 2,000 บาทต่อราย หากเป็นวัณโรคดื้อยาหลายขนาน 200,000 บาทต่อราย กรณีวัณโรคดื้อยาหลายขนานรุนแรง 1,200,000 บาทต่อราย อีกทั้งความยากลำบากในการรักษา 2 ปี กินยา 14,000 เม็ด ฉีดยาทุกวัน 6-8 เดือน ผู้ป่วยวัณโรค 1 ราย หากไม่รักษาแพร่เชื้อให้คนรอบข้างได้ 10-15 คนต่อปี กราฟ คำถามสำคัญ ลดป่วยเท่าไหร่จึงจะได้ตาเป้าหมายระดับโลก ถ้าจะไปให้ถึง 10 ต่อแสนในยี่สิบปีข้างหน้า เราต้องลดให้ได้ปีละ 12% ต่อเนื่องไปทุกปี หรือถ้าจะไปถึงการลดป่วย 20% ในห้าปีแรก ต้องลดป่วยปีละ 4-5% ซึ่งทั้งสองแบบก็สูงกว่าค่าเฉลี่ยที่ลดลงปีละ 2.7% ในช่วงประมาณสิบปีที่ผ่านมา ประเด็นที่จะช่วยลดการป่วยวัณโรคได้มากสำหรับประเทศไทย คือ ลดวัณโรคในผู้ติดเชื้อเอชไอวีด้วยการให้ยา ARV โดยไม่คำนึงถึงระดับ CD4 จะทำให้ภูมิคุ้มกันดีขึ้น สถานการณ์ที่พบ TB/HIV ร้อยละ 13 จะลดลงได้ องค์การอนามัยโลกมีแนวทางในยุทธศาสตร์ที่จะไปถึงเป้าหมายได้คือ ต้องมี 90 สามตัว (สาม 90) ซึ่งหมายความว่าอย่างไร ไปดูในสไลด์ถัดไป
วัตถุประสงค์ เพื่อเร่งรัดการค้นหาและรายงานผู้ป่วยวัณโรคให้ ครอบคลุม 100% โดยให้กลุ่มเสี่ยงได้รับการคัดกรอง ด้วยการวินิจฉัยที่รวดเร็ว โดยเทคโนโลยีอณูชีววิทยา รวมทั้งการเข้าถึงการรักษาและการดูแลที่เป็น มาตรฐาน เพื่อลดอัตราตายในผู้ป่วยวัณโรคลง 50% ภายใน พ.ศ. 2564 เมื่อเทียบกับ พ.ศ. 2558 เพื่อสร้างความเข้มแข็งในความเป็นผู้นำ และ ศักยภาพการบริหารจัดการเชิงยุทธศาสตร์ของการ ป้องกันและควบคุมวัณโรค เพื่อสร้างความยั่งยืนของการสนับสนุนอย่างจริงจัง ต่อเนื่องในระดับนโยบาย (Political commitment) ด้วยการระดมทรัพยากรในการดำเนินงาน ป้องกัน ดูแล และควบคุมวัณโรค เพื่อเร่งรัดการศึกษาวิจัยที่สามารถชี้นำ แนวทางการ เพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานวัณโรค รวมทั้ง ส่งเสริมนวัตกรรมสำหรับการพัฒนางานให้ สอดคล้องกับสถานการณ์ของพื้นที่
(ร่าง) แผนยุทธศาสตร์วัณโรคระดับชาติ พ.ศ. 2560-2564 เป้าหมาย ยุทธศาสตร์ มาตรการ ค้นให้พบ ค้นหาวัณโรคและวัณโรคดื้อยาในกลุ่มเสี่ยง ด้วยเครื่องมือใหม่ๆ งาน Infection Control ร่วมประสานภาครัฐ และเอกชน 12% ต่อปี อุบัติการณ์ วัณโรค ลดลง 171 ต่อแสน ปชก. 88 [ 2560-2564 ] ดูแลรักษาผู้ป่วยต่อเนื่องจนครบ โดยผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง เร่งรัดงาน TB HIV รักษาวัณโรคดื้อยาอย่างมีประสิทธิภาพ เร่งรัดการกำกับและประเมินผลการดำเนินงาน จัดทำระบบเฝ้าระวังที่เก็บข้อมูลผู้ป่วยรายบุคคล พ.ศ. 2559 เพิ่มคุณภาพการพัฒนาบุคลากรด้านวัณโรค สร้างกองทุนพิเศษ ดำเนินงานโรคเอดส์ วัณโรค และมาลาเรีย รวมทั้งพัฒนาระบบสนับสนุนเบี้ยยังชีพแก่ผู้ป่วยวัณโรคดื้อยา ส่งเสริมการใช้กฎหมาย ดำเนินงานวัณโรคอย่างจริงจัง พัฒนาหัวข้อการศึกษาวิจัยที่สอดคล้องกับความต้องการทั้งระดับชาติและระดับท้องถิ่น ส่งเสริมการสร้างนวัตกรรมการดำเนินงานวัณโรคอย่างเป็นระบบ
ข้อเสนอเพื่อพิจารณา ขอความเห็นชอบให้ เสนอแต่งตั้งคณะกรรมการ ป้องกันและควบคุมวัณโรค แห่งชาติ ต่อ ครม. เสนอกรอบแผนยุทธศาสตร์ วัณโรคระดับชาติ พ.ศ. ๒๕๖๐-๒๕๖๔ ต่อ ครม. เพื่อพิจารณา
รองนายกรัฐมนตรี ประธานกรรมการ รมว. สธ. รองประธานกรรมการ ปลัด สธ. กรรมการ ปลัด กลาโหม ปลัด พม. ปลัด กทม. ... อธิบดีกรมควบคุมโรค กรรมการและเลขานุการ