งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

วิทยาลัยเทคโนโลยีพณิชยการภาษานุสรณ์บางแค

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "วิทยาลัยเทคโนโลยีพณิชยการภาษานุสรณ์บางแค"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 วิทยาลัยเทคโนโลยีพณิชยการภาษานุสรณ์บางแค
งานวิจัยในชั้นเรียน เรื่อง การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาบัญชีอุตสาหกรรมและระบบใบสำคัญของนักเรียนระดับชั้นปวช.3 สาขางานการบัญชี โดยใช้เทคนิคการจัดการเรียนรู้แบบแบ่งกลุ่มผลสัมฤทธิ์ (STAD) โดย นางสาวนิยตา สีกา วิทยาลัยเทคโนโลยีพณิชยการภาษานุสรณ์บางแค

2 ความสำคัญของปัญหา หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ(ปวช.)
มาตรฐานสาขางานการบัญชี ข้อ 9-12 กิจกรรมการเรียนการสอนวิชาบัญชีอุตสาหกรรมและระบบใบสำคัญของนักเรียนระดับชั้นปวช.3 สาขางานการบัญชี ทักษะการบันทึกบัญชีเรื่องรายการปรับปรุงบัญชีของกิจการประเภทอุตสาหกรรม

3 วัตถุประสงค์ กรอบแนวคิดในการวิจัย
เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาบัญชีอุตสาหกรรมและระบบใบสำคัญระดับชั้นนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ สาขางานการบัญชี โดยใช้เทคนิคการจัดการเรียนรู้แบบแบ่งกลุ่มผลสัมฤทธิ์ (STAD) กรอบแนวคิดในการวิจัย ตัวแปรต้น เทคนิคการจัดการเรียนรู้แบบแบ่งกลุ่มผลสัมฤทธิ์ (STAD ตัวแปรตาม ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาบัญชีอุตสาหกรรมฯ

4 แนวคิดทฤษฏีที่เกี่ยวข้อง
1. เทคนิคการจัดการเรียนรู้แบบแบ่งกลุ่มผลสัมฤทธิ์(Student Teams – Achievemen Division: STAD) 2. งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง งานวิจัยในชั้นเรียนเรื่อง “ การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความรับผิดชอบทางการเรียนวิชาภาษาไทยที่ได้รับการสอนแบบร่วมมือ แบบ เอส ที เอ ดี (STAD) และการสอนแบบปกติของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนอัสสัมชัญธนบุรี” สารนิพนธ์ ของ จิรัชญา ทิขัตติ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

5           สรุปจากการศึกษาวิธีการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือกันเทคนิคกลุ่มผลสัมฤทธิ์ (STAD) พบว่าเป็นการจัดการเรียนรู้ที่ให้นักเรียน ได้เรียนเป็นกลุ่มให้ผู้เรียนที่มีความพร้อมด้านสติปัญญาที่มีความแตกต่างกัน ได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน ทำให้นักเรียนประสบความสำเร็จในการเรียนได้ สรุปความรู้ที่ได้รับจากงานวิจัยในชั้นเรียนเรื่อง “ การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความรับผิดชอบทางการเรียนวิชาภาษาไทยที่ได้รับการสอนแบบร่วมมือ แบบ เอส ที เอ ดี (STAD) และการสอนแบบปกติของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนอัสสัมชัญธนบุรี” ทำให้ทราบว่ากิจกรรมการเรียนเทคนิคการสอนวิธีสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ทุกวิชาขึ้นอยู่กับครูผู้สอนเป็นผู้ควบคุมกิจกรรมการเรียนการสอนนี้เป็นการพัฒนาผู้เรียนได้ด้วย

6 เครื่องมือที่ใช้การวิจัย
ประชากร: ประชากรคือ นักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ สาขางาน การบัญชีโรงเรียนพณิชยการภาษานุสรณ์บางแค ปีการศึกษา 2554 จำนวน 4 ห้อง การวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยได้เลือกกลุ่มตัวอย่างโดยการเจาะจง จำนวน 2 ห้องนักเรียนจำนวน 46 คน เครื่องมือที่ใช้การวิจัย 1. แผนการจัดการเรียนรู้วิชาบัญชีอุตสาหกรรมและระบบใบสำคัญ เรื่อง รายการปรับปรุงบัญชี จำนวน 2 สัปดาห์ 2. เทคนิคการสอนแบบแบ่งกลุ่มผลสัมฤทธิ์ (STAD) เป็นระยะเวลาจำนวน 2 สัปดาห์ 3. แบบทดสอบ

7 การรวบรวมข้อมูล 1. ทดสอบก่อนใช้เทคนิคการสอนแบบแบ่งกลุ่มผลสัมฤทธิ์ (STAD) (Pretest) โดยใช้แบบทดสอบ 2. ดำเนินการสอนตามตารางสอนของทางโรงเรียน ใช้เวลาในการสอนจำนวน 2 สัปดาห์รวมเป็น 6 ครั้งๆ ละ 50 นาที ในขณะสอนสังเกตพฤติกรรมของนักเรียนและมีการประเมินผลระหว่างเรียน 3. ทดสอบหลังใช้เทคนิคการสอนแบบแบ่งกลุ่มผลสัมฤทธิ์ (STAD)(Post-test) ด้วยแบบทดสอบทางการเรียนบัญชีอุตสาหกรรมและระบบใบสำคัญ ซึ่งเป็นแบบทดสอบชุดเดียวกับ ที่ใช้ทำแบบทดสอบก่อนการทดลองโดยใช้เวลาเท่าเดิม

8 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย
เพื่อใช้เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนในวิชาบัญชีอุตสาหกรรมและระบบใบสำคัญ ก่อนเรียนและหลังเรียน ที่ใช้เทคนิคการสอนแบบแบ่งกลุ่มผลสัมฤทธิ์ (STAD) สรุปผลการวิจัย จำนวนนักเรียนทั้งหมด 46 คน มีคะแนนเพิ่มขึ้นหลังจากใช้เทคนิคการสอนแบบแบ่งกลุ่มผลสัมฤทธิ์ (STAD) คิดเป็นร้อยละ 100

9 ขอบคุณค่ะ


ดาวน์โหลด ppt วิทยาลัยเทคโนโลยีพณิชยการภาษานุสรณ์บางแค

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google