งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

การปฏิบัติตัวและการดูแลหลังได้รับบาดเจ็บ ที่ศีรษะระดับเล็กน้อย

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "การปฏิบัติตัวและการดูแลหลังได้รับบาดเจ็บ ที่ศีรษะระดับเล็กน้อย"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 การปฏิบัติตัวและการดูแลหลังได้รับบาดเจ็บ ที่ศีรษะระดับเล็กน้อย
ศัลยกรรมอุบัติเหตุ งานการพยาบาล ผู้ป่วยศัลยศาสตร์ โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่

2 การบาดเจ็บที่ศีรษะ เป็นการบาดเจ็บที่ต่อหนังศีรษะ กะโหลกศีรษะ
เยื่อหุ้มสมอง เนื้อสมอง หรือมีเลือดออกภายใต้กะโหลกศีรษะ

3 ลักษณะอาการที่อาจพบ 1. มีแผลถลอก ฟกช้ำ บวม โน ฉีกขาดที่ศีรษะ
หรือใบหน้า 2. ปวดศีรษะมาก ตาพร่ามัว เห็นภาพซ้อน 3. คลื่นไส้ อาเจียนมักจะพบลักษณะอาเจียนพุ่ง 4. ระดับความรู้สึกตัวเปลี่ยนแปลง เช่น ซึมลง พูดช้า สับสน งุนงงหรือไม่รู้สึกตัว 5. แขนขาอ่อนแรงข้างใดข้างหนึ่ง หรือทั้งสองข้าง 6. ชักเกร็ง

4 การดูแลหลังการบาดเจ็บที่ศีรษะ
1. อาการที่ต้องเฝ้าระวัง ปวดศีรษะ อาการปวดศีรษะและมึนงงอาจมีนานเป็นสัปดาห์ การดูแล 1.1 ให้หลีกเลี่ยงสิ่งที่ทำให้เกิดความเครียด ทั้งด้านร่างกายและอารมณ์ 1.2 นอนศีรษะสูง ประมาณ 30 องศา 1.3 ประคบด้วยผ้าเย็นหรือน้ำแข็ง ห้ามประคบร้อน 1.4 รับประทานยาบรรเทาปวดตามแพทย์สั่ง 1.5 ถ้าปวดศีรษะมาก ไม่บรรเทา ควรปรึกษาแพทย์

5 การดูแลหลังการบาดเจ็บที่ศีรษะ
2. อาการที่ต้องเฝ้าระวัง : คลื่นไส้ อาเจียน การดูแล 2.1 ให้ผู้ป่วยตะแคงหน้า เพื่อป้องกันเศษอาหาร ตกเข้าไปในทางเดินหายใจ 2.2 ถ้าผู้ป่วยรู้สึกตัวดีให้บ้วนปากด้วยน้ำอุ่น 2.3 อาจมีอาการไม่อยากรับประทานอาหาร อาหารอ่อนอาจช่วยให้รับประทานได้ง่ายขึ้น 2.4 ถ้ามีอาการอาเจียนตลอดเวลามากกว่า 3 ครั้ง ต่อวัน ควรปรึกษาแพทย์

6 การดูแลหลังการบาดเจ็บที่ศีรษะ
3. อาการที่ต้องเฝ้าระวัง : ระดับความรู้สึก เปลี่ยนแปลง การดูแล สังเกตอาการผู้ป่วยถ้าพบว่า ซึมลง สับสนหรือ มีอาการกระสับกระส่าย ให้ป้องกันอุบัติเหตุที่ อาจเกิดขึ้นและรีบนำส่งโรงพยาบาล

7 การดูแลหลังการบาดเจ็บที่ศีรษะ
4. อาการที่ต้องเฝ้าระวัง : ชักเกร็ง การดูแล 4.1 จับใบหน้าตะแคงด้านใดด้านหนึ่ง ดันคาง ให้ยกขึ้น 4.2 ระวังการบาดเจ็บขณะชักเกร็งห้ามป้อนยา หรืออาหารใดๆ เพราะจะทำให้สำลึก 4.3 รีบนำส่งโรงพยาบาลใกล้บ้าน

8 การดูแลหลังการบาดเจ็บที่ศีรษะ
5. ผู้ป่วยอาจมีความผิดปกติในการมองเห็นความคิด ความจำและรำคาญเสียงดังไม่ชอบแสงสว่างเกินไป เป็นสัปดาห์หรือเป็นเดือน แต่อาการเหล่านี้จะหาย ไปได้เอง 6. ผู้ป่วยอาจมีปัญหาในการทำงานได้ ให้พักบ่อยๆ 7. อย่าขับรถจนกว่าจะแน่ใจว่าไม่มีปัญหาเรื่องสายตา และอาการมึนงง 8. ความสนใจทางเพศอาจลดลงชั่วคราว 9. ให้งดเว้นการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์และ ยาเสพติดทุกชนิด 10. ถ้ามีของเหลวไหลออกทางจมูกหรือหูให้ไปปรึกษา แพทย์ไม่ควรแกะเกาหรือเช็ดในรูหูหรือจมูก 11. อย่าลืมมาตรวจตามที่แพทย์นัดและให้มาพบแพทย์ ทันทีที่มีปัญหาหรือความวิตกกังวล

9 สิ่งที่ควรจำ อาการต่อไปนี้ต้องนำส่งโรงพยาบาลทันที ชัก เกร็ง
ซึมลงมากหรือไม่รู้สึกตัว แขน-ขาอ่อนแรง

10 อย่าลืม เมื่อท่านมีปัญหาในการดูแล หรือปฏิบัติตัวเมื่อกลับไปอยู่ที่บ้าน
โทรศัพท์ไปที่ ศัลยกรรมอุบัติเหตุยินดีให้คำปรึกษา และข้อแนะนำดังคำขวัญที่ว่า บริการประทับใจ ก้าวไกลวิชาการ สมัครสมานสามัคคี


ดาวน์โหลด ppt การปฏิบัติตัวและการดูแลหลังได้รับบาดเจ็บ ที่ศีรษะระดับเล็กน้อย

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google