งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

การจัดการศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "การจัดการศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 ยุทธศาสตร์การจัดการศึกษา เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ปีงบประมาณ 2555 ของ กระทรวงศึกษาธิการ

2 การจัดการศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
การเชื่อมโยงบริบททั้งภายในและภายนอก เพื่อ “เท่าทัน และแข่งขันได้” รู้ศักยภาพเขา รู้ศักยภาพเรา การจัดการศึกษาโดยเน้นพื้นที่เป็นฐาน กลาง เหนือ กทม. ใต้ อีสาน สกศ. นโยบายภาพรวม/การวิจัยทางการศึกษา ป.เอก สกอ. วิชาการ/วิจัย ป.โท ป.ตรี เน้นสร้างผู้ประกอบการ วิชาชีพ สอศ. ป.ตรี การบริหารจัดการอย่างบูรณาการ ปวส. ปวช. ยุโรป เอเชีย อเมริกา ป.1 – ป.6 อนุบาล ม.3 - ม.6 ม.1 – ม.3 ทรัพยากร ธรรมชาติ ภูมิอากาศ ภูมิประเทศ สพฐ. หลักสูตรที่เชื่อมโยงอาชีพ สป. การศึกษาตลอดชีวิต แนวทางการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์กระทรวงศึกษาธิการ ยุทธศาสตร์กระทรวงศึกษาธิการ 1. ปรับตัวเข้าสู่ประชาคมอาเซียน/โลก การพัฒนาศักยภาพผู้เรียน 2. การพัฒนาสถานศึกษาและองค์ความรู้ การวิจัยและถ่ายทอดองค์ความรู้ 3. การพัฒนาเทคโนโลยีและเครื่องมืออุปกรณ์ การเพิ่มโอกาสทางการศึกษา 4. การพัฒนาครูทั้งระบบ การส่งเสริมการมีงานทำ การบริหารจัดการกลยุทธ์ของ กท.ศธ. ออสเตรเลีย แอฟริกา วัฒนธรรม ศิลปะ ทรัพยากร มนุษย์ เกษตรกรรม อุตสาหกรรม พาณิชยกรรม ความคิดสร้างสรรค์ อำนวยการ/เฉพาะทาง 5 แท่งหลักสูตรของ 5 กลุ่มอาชีพ

3 8 ส่งเสริมการมีงานทำ 1 ประชาคม อาเซียน 2 สถานศึกษาและองค์ความรู้
ยุทธศาสตร์เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน 1 ประชาคม อาเซียน 2 สถานศึกษาและองค์ความรู้ 3 เทคโนโลยีและเครื่องมืออุปกรณ์ 4 พัฒนาครูทั้งระบบ 5 พัฒนาศักยภาพผู้เรียน 6 วิจัยและถ่ายทอดองค์ความรู้ 7 เพิ่มโอกาสทางการศึกษา 8 ส่งเสริมการมีงานทำ 9 บริหารจัดการกลยุทธ์ ศธ.

4 วิสัยทัศน์ ภายใน ปี 2555 กระทรวงศึกษาธิการ จะเป็นองค์กรหลักที่ทรงประสิทธิภาพในการผลิตและพัฒนาทรัพยากรบุคลากรของชาติ เพื่อสร้างความเป็นอยู่ที่ดี สร้างความมั่งคั่งทางด้านเศรษฐกิจและความมั่นคงทางสังคมให้กับประเทศ ด้วยฐานความรู้ ความคิดสร้างสรรค์ และศักยภาพของประเทศ

5 พันธกิจ พัฒนา ยกระดับ และจัดการศึกษา เพื่อเพิ่มศักยภาพ และขีดความสามารถให้ประชาชนได้มีอาชีพที่สามารถสร้างรายได้ ที่มั่งคั่ง และมั่นคง เพื่อเป็นบุคลากรที่มีวินัย เปี่ยมไปด้วยคุณธรรม จริยธรรม มีจิตสำนึก มีความรับผิดชอบต่อตนเอง ผู้อื่น และสังคม

6 กรอบแนวคิด การจัดการศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ต้องมุ่งเน้น หลักการในการดำเนินงาน ประกอบด้วย การพัฒนาหลักสูตรตามศักยภาพของพื้นที่ ซึ่งมีความ หลากหลายทางภูมิศาสตร์ และทรัพยากร การพัฒนาผู้เรียนตามศักยภาพและอัจฉริยภาพของตนเอง เพื่อให้สามารถพัฒนาตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ สนับสนุนการสร้างอาชีพระหว่างเรียนและเพิ่มรายได้ให้กับครู คณาจารย์ โดยการจัดตั้งกองทุนตั้งตัวได้ เพื่อลดปัญหาหนี้สินครู และเตรียมความพร้อมให้แก่ผู้เรียนให้คุ้นเคยกับระบบเศรษฐกิจขนาดย่อยสู่เศรษฐกิจขนาดใหญ่เมื่อสำเร็จการศึกษา

7 กรอบแนวคิด (ต่อ) การพัฒนาครูทั้งระบบสู่การพัฒนาครูมืออาชีพ เพื่อให้ สร้างทรัพยากรบุคคลอย่างมีคุณภาพ ขยายโอกาสการศึกษาให้แก่ผู้เรียนทุกกลุ่ม ด้วยกองทุน กู้ยืมเพื่อการศึกษา เปิดโอกาสให้นักเรียนยากจนสามารถกู้ยืม และชำระคืนเมื่อมีรายได้ถึงเกณฑ์ที่กำหนด นำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อการพัฒนาการศึกษา เพื่อให้เกิด การสร้างองค์ความรู้ใหม่ของผู้สอนและผู้เรียน สอดคล้องกับ ความเปลี่ยนแปลงของบริบทสังคมไทย และสังคมโลก

8 กรอบแนวคิด(ต่อ) ดังนั้น ยุทธศาสตร์การจัดการศึกษาที่ยั่งยืน จึงยึด แนวคิดพื้นฐาน 3 ประการ เพื่อนำหลักการสู่การปฏิบัติ ดังนี้ 1. คำนึงถึงศักยภาพและบริบทตัวผู้เรียน 2. พัฒนาและยกระดับองค์ความรู้ และกระบวนการ เรียน การสอนให้ทัดเทียมอารยะประเทศ ด้วยการบริหาร จัดการ และเทคโนโลยีสมัยใหม่ 3. มุ่งสู่เป้าหมายของการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันและยกระดับศักยภาพในการทำงานให้กับบุคลากรคนไทย ให้แข่งขันได้ในระดับสากล ง

9 เป้าหมาย เป้าหมายสำคัญเพื่อให้สามารถสร้างคนที่มี ศักยภาพแข่งขันได้ในระดับโลก ดังนี้ ปรับบทบาทการจัดการศึกษาให้ “รู้ศักยภาพ เขา รู้ศักยภาพเรา เท่าทัน และแข่งขันได้” ภายใต้กรอบเวลา 2 ปี กระทรวงศึกษาธิการ จะสามารถพัฒนา 5 ศักยภาพของพื้นที่ ใน 5 กลุ่ม อาชีพใหม่ ให้สามารถแข่งขันได้ ใน 5 ภูมิภาคหลัก ของโลก ดังรายละเอียดต่อไปนี้

10 เป้าหมาย (ต่อ) กรอบระยะเวลาของแผน หมายถึง ช่วงเวลาในการดำเนินงาน ตามแผน ยุทธศาสตร์การจัดการศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน แบ่งเป็น 2 ช่วงเวลา ได้แก่ 2 ปีแรก หมายถึง ปี พ.ศ ( ) และ 2 ปีหลัง หมายถึง ปี พ.ศ ( ) (AEC 2015) 2 5 ภูมิภาคหลักของโลก หมายถึง ทวีปเอเชีย ทวีปยุโรป ทวีปอเมริกา ทวีปออสเตรเลีย ทวีปแอฟริกา เพื่อให้คนไทย “รู้ศักยภาพเขา” ศักยภาพของพื้นที่ หมายถึง ศักยภาพของทรัพยากรธรรมชาติ ศักยภาพตามลักษณะภูมิอากาศ ศักยภาพของภูมิประเทศและทำเลที่ตั้ง ศักยภาพของศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี และวิถีชีวิต และศักยภาพของทรัพยากรมนุษย์ในแต่ละพื้นที่เพื่อให้คนไทย “รู้ศักยภาพเรา” 5 กลุ่มอาชีพใหม่ หมายถึง กลุ่มหลักสูตรใหม่ ด้าน เกษตรกรรม อุตสาหกรรม พาณิชยกรรม ความคิดสร้างสรรค์ และด้านวิชาการและวิชาชีพเฉพาะ เพื่อให้คนไทยสามารถปรับตัว “เท่าทัน และแข่งขันได้” 5

11 ยุทธศาสตร์ 1 2 3 4 5 6 7 8 9 ประเด็นยุทธศาสตร์
ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 1 การปรับตัวเข้าสู่ประชาคมอาเซียน/ประชาคมโลก 2 ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 2 การพัฒนาสถานศึกษาและองค์ความรู้ 3 ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 3 การพัฒนาเทคโนโลยีและเครื่องมืออุปกรณ์ 4 ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 4 การพัฒนาครูทั้งระบบ 5 ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 5 การพัฒนาศักยภาพผู้เรียน 6 ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 6 การวิจัยและถ่ายทอดองค์ความรู้ 7 ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 7 การเพิ่มโอกาสทางการศึกษา 8 ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 8 การส่งเสริมการมีงานทำ 9 ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 9 การบริหารจัดการกลยุทธ์ของกระทรวงศึกษาธิการ

12 ยุทธศาสตร์ที่ 1 : การปรับตัวเข้าสู่ประชาคมอาเซียน/ประชาคมโลก
การเป็นศูนย์กลางการศึกษา การวิจัยและพัฒนา และการฝึกอบรมนานาชาติในภูมิภาค (Regional Education Hub) การส่งเสริมความร่วมมือด้านการศึกษากับนานาประเทศ การส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาการศึกษา การแลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างผู้เรียน ครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษากับต่างประเทศ การส่งเสริมการสอนภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่สอง ตั้งแต่ระดับขั้นพื้นฐาน และการเรียนรู้ภาษาที่สาม และการส่งเสริมให้สถาบันการศึกษาจัดหลักสูตรนานาชาติ หรือหลักสูตรสมทบร่วมกับสถาบันต่างประเทศ

13 ยุทธศาสตร์ที่ 2 : การพัฒนาสถานศึกษาและองค์ความรู้
พัฒนาและปรับปรุงหลักสูตร ให้สอดคล้องต่อบริบทการเปลี่ยนแปลงของโลก ตามศักยภาพของแต่ละพื้นที่ทั่วประเทศ ตามอัจฉริยภาพของผู้เรียนในแต่ละวิชาชีพ สร้างความเชื่อมโยงการศึกษาในทุกระดับ ให้ได้ผลผลิตเป็นทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณค่า มีงานทำ มีขีดความสามารถสูง เป็นกำลังสำคัญของประเทศเพื่อแข่งขันได้ในเวทีสากล

14 ยุทธศาสตร์ที่ 3 : การพัฒนาเทคโนโลยีและเครื่องมืออุปกรณ์
จัดให้มีเทคโนโลยีที่เหมาะสมต่อการจัดการศึกษา นำเทคโนโลยีชั้นสูงสนับสนุนการวิจัย การถ่ายทอดความรู้ และการเรียนรู้ในแต่ละระดับให้มีคุณภาพ เพื่อผู้เรียนเกิดความคิดสร้างสรรค์ เกิดการผลิตองค์ความรู้ใหม่ และเป็นการเพิ่มช่องทางในการแบ่งปัน และส่งมอบองค์ความรู้อย่างทั่วถึง

15 ยุทธศาสตร์ที่ 4 : การพัฒนาครูทั้งระบบ
เปิดโอการให้ครูได้พัฒนาองค์ความรู้ใหม่ที่ทันสมัย สามารถปรับวิทยฐานะ เพิ่มจำนวนผู้สอน ที่เป็นผู้เชี่ยวชาญจากภาคอุตสาหกรรม เข้ามาเป็นผู้สอนได้ รวมถึงการกย่องและเชิดชูเกียรติครู ทั้งครูในระบบ และนอกระบบ

16 ยุทธศาสตร์ที่ 5 : การพัฒนาศักยภาพผู้เรียน
จัดให้มีนโยบายด้านหลักสูตรการศึกษา เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้เรียนสามารถเลือกเรียนในสาขาที่รัก และถนัด เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการพัฒนาตนเอง

17 ยุทธศาสตร์ที่ 6 : การวิจัยและถ่ายทอดองค์ความรู้
ส่งเสริมการวิจัยเชิงบูรณาการ เพื่อพัฒนาการศึกษาและเรียนรู้ เพื่อพัฒนาหลักสูตร การจัดการเรียนการสอน และการเรียนรู้แบบสหวิทยาการ ที่ตอบสนองความต้องการของพื้นที่

18 ยุทธศาสตร์ที่ 7 : การเพิ่มโอกาสทางการศึกษา
มุ่งลดช่องว่างการเข้าถึงการศึกษา และองค์ความรู้ สร้างทางเลือกทางการศึกษา เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ตลอดชีวิต

19 ยุทธศาสตร์ที่ 8 : การส่งเสริมการมีงานทำ
สนับสนุนให้สถานศึกษาสามารถประกอบธุรกิจตามศักยภาพของพื้นที่ โดยบทบาทของสถานศึกษาจะแตกต่างกันในห่วงโซ่อุปทาน (SCM) ตั้งแต่ระบบการผลิต ระบบการตลาด และการจัดจำหน่าย ทั้งในระดับท้องถิ่น ระดับประเทศ และระดับสากล โดยให้ขึ้นอยู่กับศักยภาพของโรงเรียน และศักยภาพของพื้นที่นั้นๆ

20 ยุทธศาสตร์ที่ 9 : การบริหารจัดการกลยุทธ์ของกระทรวงศึกษาธิการ
ปรับโครงสร้างการบริหารภายในกระทรวงศึกษาธิการเพื่อให้เกิดการทำงาน แบบบูรณาการหน่วยงานภายใน ภายนอกกระทรวงฯ ทั้งภาครัฐและเอกชน ร่วมจัดทำยุทธศาสตร์รายจังหวัด โดยจัดแบ่งพื้นที่และกำหนดผู้รับผิดชอบตามภูมิภาคอย่างชัดเจน และมีการจัดทำแผนยุทธศาสตร์การศึกษาชาติที่บูรณาการมากยิ่งขึ้น

21 โครงการสำคัญ (Flagship)
1 โครงการกองทุนพัฒนาคุณภาพชีวิตครู 2 โครงการกองทุนเงินกู้ยืมเพื่อการศึกษาที่ผูกพันกับรายได้ในอนาคต (กรอ.) 3 โครงการกองทุนตั้งตัวได้ 4 โครงการครูคลังสมอง 5 โครงการปฏิรูปหลักสูตรการศึกษาแห่งชาติ 6 โครงการวิจัยศักยภาพพื้นที่ 7 โครงการปฏิรูปเงินเดือนและค่าตอบแทน

22 โครงการสำคัญ (Flagship) (ต่อ)
โครงการสนับสนุนค่าใช้จ่ายการจัดการศึกษาตั้งแต่แรกเกิดจนจบการศึกษาขั้นพื้นฐาน 8 9 โครงการพัฒนาผู้นำตามธรรมชาติ 10 โครงการเครือข่ายเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา (Ned Net) 11 โครงการศูนย์ฝึกอาชีพชุมชน 12 โครงการเทียบระดับการศึกษา 13 โครงการจัดการเรียนการสอนโดยใช้คอมพิเตอร์แท็บเล็ต 14 1 อำเภอ 1 ทุน 15 โครงการถ่ายทอดผลงานวิจัย

23 โครงการสำคัญ (Flagship) (ต่อ)
โครงการมัธยมศึกษาเชิงปฏิบัติการ 16 17 โครงการเตรียมความพร้อมสู่ประชาคมโลก 18 โครงการพัฒนาระบบบริหารวิสาหกิจเพื่อการศึกษา 19 โครงการพัฒนาการศึกษาผ่านระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ 20 โครงการจัดทำแผนยุทธศาสตร์การจัดการศึกษาเพื่อการพัฒนา ที่ยั่งยืน


ดาวน์โหลด ppt การจัดการศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google