งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

รัฐสภา-พลังงานนิวเคลียร์ และพลังงานทดแทน

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "รัฐสภา-พลังงานนิวเคลียร์ และพลังงานทดแทน"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 รัฐสภา-พลังงานนิวเคลียร์ และพลังงานทดแทน
ประเทศไทยจะไปทางไหน… อีกไม่นาน ก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทยจะหมดลง และราคาน้ำมันดิบเป็น 150 เหรียญสหรัฐ คนจนในประเทศไทยจะเพิ่มขึ้นมากมาย จากภาวะโลกร้อนที่ส่งผลกระทบต่อการเกษตร พลังงานไฟฟ้าไม่พอใช้ ก็ต้องมีนิวเคลียร์ใช่ไหม ??? ภาพโรงไฟฟ้าก๊าซชีวภาพ ประเทศเยอรมันนี ใช้วัสดุพืชพลังงานการเกษตร 100%

2 จี้รัฐเร่งวางแผนเกษตรรับวิกฤตอาหาร-พลังงาน
จี้รัฐเร่งวางแผนเกษตรรับวิกฤตอาหาร-พลังงาน FAO เตือนประชากรโลกเพิ่มขึ้น ส่งผลให้เกิดวิกฤติอาหาร-พลังงาน แนะเพิ่มผลผลิต วางแผนการใช้พื้นที่ให้เหมาะสม ขณะที่ 'มิตรผล' อัด FAO ให้ไทยผลิตอาหารขายในราคาถูก ทั้งที่สหรัฐ-จีนต่างนำพืชอาหารไปผลิตเป็นพลังงาน เชื่อไทยมีศักยภาพสูง ด้านซีพีแนะลดพื้นที่ปลูกข้าว เพิ่มประสิทธิภาพการผลิต หันมาปลูกพืชพลังงาน ดร.สุวิทย์ เมษินทรีย์ ผู้อำนวยการสถาบัน SIGA ปาฐกถาพิเศษเรื่อง "ความท้าทายอนาคตของโลก" ในการสัมมนา Economic Forum : วิกฤติพืชอาหารบนกระแสพลังงานทางเลือก โดย นสพ.กรุงเทพธุรกิจ ร่วมกับศูนย์วิจัย ธ.ก.ส. และสถาบันพัฒนาผู้ประกอบการเชิงสร้างสรรค์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ วานนี้ (15 มิ.ย.) ว่า วิกฤติอาหารและพลังงานเป็นสิ่งที่ไทยและโลกต้องเผชิญ จากประชากรโลกที่จะเพิ่มขึ้นเป็น 9.2 พันล้านคน ในปี 2050 ทำให้ความต้องการอาหารเพิ่มขึ้น 70% จากปัจจุบัน ขณะที่ชนชั้นกลางของโลกที่เพิ่มขึ้น 50% ในอีก 10 ปีจากนี้ ทำให้ความต้องการอาหาร และพลังงานเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว

3 นอกจากนี้ ภัยพิบัติธรรมชาติจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เช่น ภัยแล้ง น้ำท่วม และแผ่นดินไหว ที่มีแนวโน้มรุนแรงขึ้น กว้างขึ้น เฉียบพลันมากขึ้น และบ่อยครั้ง ทำให้พื้นที่การเกษตรทั่วโลกเสียหาย โดยเฉพาะไทยเป็นหนึ่งในประเทศที่มีความเสี่ยง โดยธนาคารพัฒนาเอเชีย (เอดีบี) คาดว่าผลผลิตข้าวของไทยจะหายไป 50% จากภาวะโลกร้อน และจีดีพีของไทยและอาเซียน เช่น เวียดนาม มาเลเซีย และอินโดนีเซีย จะหายไป 5% จากภัยพิบัติธรรมชาติเหล่านี้ ส่วนจีดีพีของโลกจะหายไป 2%

4 ผลกระทบของลานินญา กับเอลนินโญในไทย
การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ผลกระทบของลานินญา กับเอลนินโญในไทย ตั้งแต่ปี 2494 พบว่าอุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ยมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น ในขณะที่ปริมาณฝนและจำนวนวันฝนตกมีแนวโน้มลดลง ปริมาณฝนตกเฉลี่ยมีแนวโน้มลดลง สอดคล้องกับจำนวนวันที่มีฝนตกมีแนวโน้มลดลงเช่นกัน ปริมาณฝนที่ต่างจากค่าปกติ (มม.) ปี พ.ศ. อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ยที่ต่างจากค่าปกติ (เซลเซียส) อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย มีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้น ที่มา กรมอุตุนิยมวิทยา 4 ปี พ.ศ. 4

5 ซีพีแนะวางแผนปลูกพืชพลังงาน
ซีพีแนะวางแผนปลูกพืชพลังงาน นายมนตรี คงตระกูลเทียน ประธานคณะผู้บริหารกลุ่มธุรกิจพืชครบวงจร เครือเจริญโภคภัณฑ์ กล่าวว่า ปี เทียบกับปี พบว่าในขณะที่ราคาอาหารเพิ่มขึ้น 50% แต่ราคาพลังงานกลับเพิ่มขึ้นถึง 233% ขณะที่ในปี 2553 ไทยส่งออกสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตรเป็นมูลค่า 1.09 ล้านล้านบาท แต่มีค่าใช้จ่ายในการซื้อพลังงาน 1.01 ล้านล้านบาท และตั้งแต่เดือน ม.ค.-เม.ย ราคาอาหารเพิ่มขึ้นเพียง 22.59% แต่ราคาพลังงานเพิ่มขึ้น 34.12% ซึ่งโอกาสที่ไทยจะขาดดุลการค้าก็มีมาก ภาครัฐจึงควรแนะนำให้ เกษตรกรลดพื้นที่ปลูกข้าวลงจาก ล้านไร่ ในช่วงนาปีให้เหลือ 28 ล้านไร่ แต่ต้องส่งเสริมให้ปลูกในเขตชลประทาน ซึ่งทำให้ผลผลิตข้าวไทยอยู่ที่ 32 ล้านตันเท่าเดิม ส่วนพื้นที่ที่เหลือควรส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกพืชพลังงานที่ให้ราคาสูงกว่า เช่น ยางพารา ปาล์มน้ำมัน และอ้อย โดยเฉพาะยางพาราที่ให้ผลตอบแทน 2-3 หมื่นบาทต่อไร่ เทียบกับข้าวที่ให้ผลตอบแทนเพียง 1 พันบาทต่อไร่ หรือบางทีก็ต้องขาดทุนจากการทำนาด้วยซ้ำ

6 ประเทศไทยติดอันดับ 1 ของโลก ในการส่งออกอาหาร แต่ทำไมเกษตรกรจึงยากจนและมีหนี้สินมากมาย จนไม่สามารถปลดหนี้ได้ ประเทศไทยสามารถปลูกพืชพลังงานได้แก่ ข้าวฟ่าง ทานตะวัน และหญ้าอาหารสัตว์ เป็นพืชรอบที่ 2 ในพื้นที่เกษตรน้ำฝน ได้อีก 40 ล้านไร่ เพื่อผลิตพลังงานไฟฟ้าจาก Biogas จำนวน 40,000 MW ไม่รบกวนการผลิตพืชอาหารแต่อย่างใด โดยจำเป็นที่รัฐสภาต้องออกกฎหมายคุ้มครองพลังงานทดแทน (ที่มาตาราง : ประวิทย์ ประกฤตศรี, 2554) 6

7 ปัญหาในระบบเศรษฐกิจการผลิตข้าว
การปลูก ขาดแคลนน้ำ/น้ำท่วม ขาดแคลนเมล็ดพันธุ์ที่ดี ขาดแคลนแรงงาน ขาดความรู้ในการบริหารจัดการการผลิต มีข้อจำกัดในการใช้ เทคโนโลยี ขาดเงินทุน การสูญเสียในกระบวนการผลิต การเก็บเกี่ยว การแปรรูป ต้นทุนในการขนส่งที่เพิ่มขึ้น การตลาด ความไม่เสถียรของราคาพืชผล (มา : ประวิทย์ ประกฤตศรี, 2554)

8 แนวโน้มราคาส่งออกข้าวไทย
ประเทศไทยผลิตข้าวส่งออกในราคาที่ผันผวน แต่ต้องนำเข้าพลังงานในราคาที่แพงขึ้น ถ้าเราเพิ่มผลผลิตข้าวด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่ ให้มีผลผลิตเพิ่มขึ้น 50% เราสามารถนำพื้นที่มาผลิตพืชพลังงานได้ไม่ต่ำกว่า 30 ล้านไร่

9 Food price always follow oil price

10 ศักยภาพของภาคเกษตรไทย ในความเป็นจริง...
เรื่องโดย: ดร.พรศรี เหล่ารุจิสวัสดิ์ สำนักที่ปรึกษาทางเศรษฐกิจ เครือเจริญโภคภัณฑ์ วันที่ 3 กันยายน 2552

11

12 วีรบุรุษแห่งศตวรรษสีเขียว : แฮร์มันน์ เชียร์
โดย ประสาท มีแต้ม 30 มกราคม 2554    ข้อแรก อาจตอบเป็นนามธรรมหน่อยก็คือ “ปัญหาอยู่ที่การเมือง ไม่ใช่ปัญหาเชิงเทคนิคหรือเศรษฐศาสตร์” คำพูดดังกล่าวเป็นของ ดร.แฮร์มันน์ เชียร์ (Dr. Hermann Scheer) ซึ่งเป็นสมาชิกรัฐสภาของประเทศเยอรมนีนาน 30 ปี เขาศึกษามาทางเศรษฐศาสตร์                    รัฐสภาประเทศเยอรมันนี ที่วุฒิสภา และส.ส. ออกกฎหมายคุ้มครองพลังงานทดแทน จากภาคเกษตรและป่าไม้ และทำให้ประเทศเยอรมันนี สามารถยกเลิกการใช้พลังงานนิวเคลียร์ได้

13 ผมขอขยายความคำพูดของเขาว่า เรื่องเทคโนโลยี ไม่ว่าจะเป็นโรงไฟฟ้าชีวมวล หรือกังหันลม รวมทั้งอื่นๆ ไม่ใช่ปัญหาในเชิงเทคโนโลยีการผลิต อาจจะมีต้นทุนการผลิตสูงก็จริง แต่ถ้ามีการใช้กันจำนวนมาก ต้นทุนการผลิตต่อหน่วยก็จะต่ำลง ความเป็นไปได้หรือไม่ได้ของการผลิตไฟฟ้าด้วยเชื้อเพลิงดังกล่าว (เรียกรวมๆ ว่า พลังงานหมุนเวียน) จึงขึ้นอยู่กับมิติทางการเมืองของผู้มีอำนาจตัดสินใจเชิงนโยบายเป็นสำคัญ        หากต้นทุนการผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานหมุนเวียนยังคงสูงกว่าพลังงานจากถ่านหิน รัฐบาลก็ต้องมีหน้าที่ชดเชยต้นทุนให้บ้าง เพราะถือว่า (ก) ไม่เป็นพิษต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม (ข) สร้างรายได้ให้กับผู้ขายเชื้อเพลิงในท้องถิ่น และ (ค) สร้างงานจำนวนมาก เป็นต้น                 โรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนของประเทศเยอรมนี (ผลิตไฟฟ้าได้เท่ากับ 54% ของที่คนไทยใช้) มีการจ้างงานกว่า 3 แสนคน ในขณะที่ของประเทศไทยทั้งหมดมีการจ้างงานเพียง 7-8 หมื่นคนเท่านั้น

14    คำถามที่สอง ประเทศเยอรมนีเขาทำอย่างไรจึงทำให้การผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานที่เป็นมิตรกับคนท้องถิ่นเพิ่มขึ้นถึง 50 เท่าตัวภายใน 20 ปี ในขณะที่ของประเทศไทยยังมีส่วนร่วมเพียงไม่ถึง 1% หลายปีมาแล้ว            ดร.เชียร์ให้สัมภาษณ์ผู้สื่อข่าววิทยุที่ออกอากาศในสหรัฐอเมริกาก่อนที่เขาจะเสียชีวิตเพียงไม่กี่สัปดาห์ (เขาเสียชีวิต 14 ต.ค. 53 วัย 66 ปี) ว่า “กฎหมายพลังงานหมุนเวียนเป็นหนึ่งในความริเริ่มของผมและ ส.ส. ในรัฐสภาอีกสองสามคน กฎหมายฉบับนี้ไม่ใช่ร่างของรัฐบาล เพราะรัฐบาลไม่เห็นด้วย เรา-หมายถึงรัฐสภา-ช่วยกันระดมแรงสนับสนุนมาตรการนี้ แม้ว่าจะขัดเจตจำนงของรัฐบาลเพื่อนำกฎหมายนี้มาใช้ มันเป็นกฎหมายที่ช่วยให้เกิดความอิสระในการลงทุนสำหรับใครก็ตามที่ต้องการลงทุนในด้านพลังงานหมุนเวียน โดยที่ไม่ถูกจำกัดด้วยเงื่อนไขว่าต้องไปถามบริษัทไฟฟ้าก่อนว่า” ชื่อเต็มของกฎหมายนี้คือ Law for the Priority of Renewable Energies โดยมีหลักการสำคัญ 3 ประการคือ   

15               หนึ่ง รับประกันว่าผู้ที่ผลิตด้วยพลังงานหมุนเวียนจะได้รับการพิจาณาให้ส่งไฟฟ้าเข้าสายส่งได้ก่อน โดยไม่ต้องตั้งคำถามว่าใครเป็นผู้ผลิต สอง รับประกันราคาค่าไฟฟ้าในระยะยาว 20 ปี โดยในช่วง 5 ปีแรกอาจซื้อสูงกว่า 15 ปีหลัง เพื่อลดปัญหาดอกเบี้ยเงินกู้ สาม การไม่มีเพดานคือซื้อไม่จำกัดซึ่งจะช่วยให้เกิดความอิสระในการลงทุน                ด้วยสามหลักการนี้จะมีปัจเจกบุคคลมากขึ้นๆ ทั้งเจ้าของบ้าน บริษัท สหกรณ์ เทศบาล หน่วยสาธารณูปโภคท้องถิ่น จะกลายเป็นผู้ลงทุน ในช่วง 10 ปีข้างหน้า จะมีการลงทุนในพลังงานหมุนเวียนในเยอรมนีทั้งหมดถึง 45,000 เมกะวัตต์ (ใกล้เคียงกับที่ประเทศไทยจะผลิตทั้งหมดในอีก 20 ปีข้างหน้า) ใช้พลังงานหมุนเวียนทั้งหมด ทั้งเซลล์แสงอาทิตย์ พลังงานลม ไบโอแก๊ส (หรือชีวมวล) และพลังงานน้ำขนาดเล็ก                ท่านผู้อ่านคงจะสงสัยว่า นโยบายการลงทุนด้านไฟฟ้าของประเทศไทยเป็นอย่างไร ตอบสั้นๆ ว่าเขาทำตรงกันข้ามกับหลักการใน ข้อหนึ่ง และ ข้อสาม อย่างสิ้นเชิง                ดร.แฮร์มันน์ เชียร์ ได้รับรางวัล Alternative Nobel ในปี 2542 และในอีก 3 ปีต่อมา เขาได้รับการคัดเลือกจากนิตยสารไทม์ให้เป็น “วีรบุรุษแห่งศตวรรษสีเขียว” ที่มา :

16 “นโยบายพลังงานไทย” กับ “ดอกส้มสีทอง”
ในปี 2539 เราใช้พลังงานคิดเป็นมูลค่า 11.5% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ (จีดีพี) พูดง่ายๆ ก็คือ ทุกๆ หนึ่งร้อยบาทที่เราหาเงินได้ เราใช้ไปกับค่าพลังงานถึง 11.5 บาท แต่หลังจากที่เราเพลิดเพลินกับการพัฒนาประเทศพบว่าอีก 10 กว่าปีต่อมา คือ ปี 2551, 2552 และ 2553 ค่าใช้จ่ายด้านนี้กลับเพิ่มเป็นร้อยละ 18.4, 17.4 และ 17.7 ตามลำดับ หรือคร่าวๆ ว่า 18%               นั่นแปลว่าค่าใช้จ่ายด้านอื่นๆ ของเรากลับลดลง แล้วมันจะลดลงไปถึงไหนกันละ? พรรคการเมืองใดถึงเรื่องนี้บ้าง และหาวิธีการแก้ปัญหาอย่างไร ประชาชนผู้ต้องไปเลือกตั้งได้รับทราบกันดีมากน้อยแค่ไหน?               จากประสบการณ์ตรงของผม ผู้จบปริญญาตรีเมื่อปี 2516 ถ้ารับราชการจะได้รับเงินเดือน 1,340 บาท เงินจำนวนนี้สามารถซื้อน้ำมันได้ 700 ลิตร หรือซื้อทองคำได้ 3 บาท ปัจจุบันเงินเดือนระดับเดียวกันประมาณ 8 พันบาท แต่สามารถซื้อน้ำมันได้เพียงไม่ถึง 200 ลิตร หรือซื้อทองคำได้ไม่ถึงสองสลึง        

17        เราอาจจะภูมิใจว่าประเทศไทยส่งข้าวออกได้เป็นอันดับหนึ่งของโลก (อาจจะยางพาราด้วย) แต่ในปี 2553 มูลค่าส่งออกของข้าวและยางพารารวมกันทั้งปี สามารถซื้อพลังงานได้เพียง 85 วันเท่านั้น (ข้าว 8.9 ล้านตัน มูลค่า 168,193 ล้านบาท ยางพารา 2.7 ล้านตัน มูลค่า 249,262 ล้านบาท แต่ใช้พลังงานคิดเป็นมูลค่าถึง 1.79 ล้านล้านบาท)               นี่โชคดีนะครับ ที่ในช่วงปีกว่าๆ มานี้ราคายางพาราเพิ่มขึ้นเฉลี่ยเป็นกิโลกรัมละ 90 บาท ถ้าเป็นปี 2551 ขายข้าวและยางพาราสองตัวทั้งปีสามารถซื้อพลังงานได้เพียง 70 วันเท่านั้น               ปัญหาพลังงานที่กล่าวมาแล้ว คือต้นทุนพลังงานเพิ่มสูงขึ้นเมื่อเทียบกับรายได้ โดยมีสาเหตุมาจากสองปัจจัยคือ (1) มาจากการผูกขาดและเก็งกำไรของพ่อค้าพลังงานระดับโลก และ (2) มีการใช้พลังงานอย่างไม่มีประสิทธิภาพ       ประเทศไทยนำเข้าปุ๋ยเคมี (ซึ่งเป็นเหตุของปัญหาโลกร้อน) ปีละ 7 หมื่นล้านบาท ทั้งหมดต้องนำไปรวมศูนย์อยู่ที่โรงงานในภาคกลาง จากนั้นก็กระจายตัวไปทั่วประเทศ ค่าขนส่งเท่าไหร่ เป็นค่าพลังงานทั้งนั้น ที่สำคัญประมาณครึ่งหนึ่งของน้ำหนักปุ๋ยเคมีคือทรายและดิน นั่นแปลว่า เรากำลังขนทรายและดินที่เป็นตัวยึดปุ๋ยในแถบภาคกลาง ไปทิ้งทั่วประเทศด้วยราคาน้ำมันที่แพงกว่าทรายอย่างลิบลิ่ว ที่มา :

18 ตรวจ “นโยบายพลังงาน” ดูสุขภาพประเทศ

19 กลับมาที “นโยบายพลังงาน” ซึ่งซ่อนอยู่ในตาราง ผมมีข้อสังเกต 4 ข้อ คือ 1
กลับมาที “นโยบายพลังงาน” ซึ่งซ่อนอยู่ในตาราง ผมมีข้อสังเกต 4 ข้อ คือ                1. ในแถวที่ (3) ของตาราง พบว่าร้อยละของรายจ่ายค่าพลังงานขั้นสุดท้าย (หมายถึงไม่มีการนับซ้ำ เช่น คิดค่าไฟฟ้าแล้วจะต้องไม่คิดค่าเชื้อเพลิงที่ใช้ผลิตไฟฟ้า) จากร้อยละ 10.9 ในปี 2533 เป็นร้อยละ 17.7 ในอีก 20 ต่อมา นั่นแปลว่า ค่าใช้จ่ายของเราในด้านอื่นๆ เช่น การพักผ่อนหย่อยใจ การศึกษาต้องลดลง เพราะในแต่ละเดือนก็แทบ “ชักหน้าไม่ถึงหลัง” อยู่แล้ว                2. สัดส่วนของพลังงานหมุนเวียน ซึ่งได้แก่ ไม้ฟืน ถ่าน (เป็นแหล่งรายได้ของกิจการขนาดเล็ก และไม่ถูกผูกขาดเหมือนถ่านหิน น้ำมัน และก๊าซธรรมชาติ) ต่อพลังงานทั้งหมด (แถวที่ 8) กลับลดลงจากร้อยละ 17.3 เป็น 6.6% ข้อมูลนี้ได้สะท้อนถึง “รวยกระจุก จนกระจาย” เพราะพ่อค้าพลังงานผูกขาดรวยขึ้น แต่คนส่วนใหญ่ไม่มีงานทำ                3. ในปี 2553 ค่าใช้จ่ายด้านไฟฟ้าสูงขึ้นเป็น 4.73 แสนล้านบาท แต่มีการจ้างงานในภาคไฟฟ้าทั้งหมดไม่เกินร้อยละ 0.29 ของแรงงานทั้งประเทศ หรือประมาณ 1 แสนคนเท่านั้น        ประเทศเยอรมนีใช้พลังงานหมุนเวียนผลิตไฟฟ้าได้ประมาณ 65% ของที่ประเทศไทยผลิตได้ แต่มีการจ้างงานในส่วนนี้ถึง 2.8 แสนคน นอกจากนี้รายได้จากค่าเชื้อเพลิงก็กระจายไปสู่คนจำนวนมากภายในประเทศ ต่างจากถ่านหินที่ขนมาจากต่างประเทศโน่น                4. มีการใช้ก๊าซธรรมชาติ (แอลพีจี) เพิ่มขึ้นมาก ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการนำเงินจากกองทุนอนุรักษ์พลังงานซึ่งเก็บจากผู้ใช้น้ำมันทั่วประเทศมาชดเชยให้กับผู้ใช้ก๊าซในภาคอุตสาหกรรม ครัวเรือนและภาคการขนส่ง ที่มา :


ดาวน์โหลด ppt รัฐสภา-พลังงานนิวเคลียร์ และพลังงานทดแทน

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google