งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

นโยบายการทำงานของกรมการข้าว

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "นโยบายการทำงานของกรมการข้าว"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 นโยบายการทำงานของกรมการข้าว
ให้ยึดยุทธศาสตร์ข้าวไทย เป็นกรอบในการทำงาน กลยุทธ์ใดในยุทธศาสตร์ ใครควรเป็น “เจ้าภาพ” ขณะนี้น่าจะมีความชัดเจนในระดับหนึ่งแล้ว แม้บางเรื่องอาจจะยังไม่ได้รับมอบหมายอย่างเป็นทางการ ก็ขอให้ผู้ที่รู้ตัวเองอยู่แล้วว่าต้องเป็น “เจ้าภาพ” จัดทำเป็นเอกสารโครงการ/กิจกรรม ที่มีรายละเอียดวิธีดำเนินงาน และเป้าหมาย เสนอกรมได้เลย ถ้าไม่แน่ใจให้นำหารืออธิบดีก่อนก็ได้ แต่ต้องไม่ชักช้า โดยไม่ต้องรอสั่งการ ต้องทำงานอย่างบูรณาการ โดยไม่มีพรมแดนกั้นระหว่างสำนัก ทุกคนต้องช่วยกันทำงานบางกรณีอาจต้องทำงาน เป็น “ทีม” ที่ประกอบไปด้วยผู้แทนจากหลายสำนัก ขอให้ “เจ้าภาพ” หลักนำเสนออธิบดี เพื่อแต่งตั้งคณะทำงานได้ทันที หน่วยงานในส่วนภูมิภาค จะมีการทำงานเป็น 2 ลักษณะ คือ ภารกิจตามหน้าที่ (function)– เป็นภารกิจหลักตามหน้าที่ความรับผิดชอบในโครงสร้างปัจจุบันของกรม ซึ่งสามารถดำเนินการนอกพื้นที่ได้ตามความเหมาะสม ภารกิจตามพื้นที่ (area)– เป็นภารกิจรองในพื้นที่ที่ได้รับมอบหมายจากกรม

2 นโยบายการทำงานของกรมการข้าว (ต่อ)
การทำงานจะเน้นคุณภาพมากกว่าปริมาณ เนื่องจากข้อจำกัดด้านงบประมาณ และบุคลากรจึงจะต้องดำเนินการโดยมีพื้นที่นำร่อง หรือพื้นที่เน้นหนัก (focus area) ที่เรียกว่า “ไข่แดง” ซึ่งมีการบูรณาการกิจกรรมที่ครบถ้วนสมบูรณ์ ส่วนพื้นที่ที่เหลือเป็นพื้นที่ “ไข่ขาว” ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีกิจกรรมที่ยังไม่ครบถ้วนสมบูรณ์ หรือเป็นพื้นที่ขยายผลในโอกาสต่อไป และมีกลุ่มเป้าหมายเน้นหนัก(focus group) ด้วย การร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมทุน (งบประมาณ) กับผู้มีส่วนได้เสีย (stakeholders) ตั้งแต่เกษตรกร สถาบันเกษตรกร องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและส่วนราชการ ที่เกี่ยวข้อง องค์กรเอกชน มูลนิธิไปจนถึงภาคธุรกิจเอกชน เป็นสิ่งที่ควรกระทำอย่างยิ่ง ตั้งแต่การหาโจทย์เพื่อการวิจัย ไปจนถึงงานส่งเสริมการผลิตข้าวในพื้นที่รวมทั้งการตลาดข้าวและผลิตภัณฑ์จากข้าว การบริการประชาชน โดยเฉพาะชาวนา ต้องถือเป็นภาระหน้าที่ และอยู่ในจิตวิญญาณของข้าราชการ และเจ้าหน้าที่ของ กรมการข้าวทุกคน ไม่ว่าจะอยู่ในสำนักใดก็ตาม

3 ความคาดหวังในการจัดตั้งกรมการข้าว
รัฐบาล ต้องการความเป็นเอกภาพและประสิทธิภาพในการบริหารจัดการเรื่องข้าวของประเทศ ดำรงไว้ซึ่งขีดความสามารถในการแข่งขันและความเป็นหนึ่งของข้าวไทย ในตลาดโลก ดำรงไว้ซึ่งอาชีพปลูกข้าวซึ่งเป็นวัฒนธรรม ประเพณี วิถีชีวิตคู่บ้านคู่เมืองของไทยมาช้านาน ตามแนวพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ให้กรมการข้าวเป็นแหล่งความรู้เกี่ยวกับข้าวในทุกๆ เรื่อง เป็นที่พึ่งหวังของชาวนาโดยการให้บริการและดูแลความเป็นอยู่ของชาวนาให้ดีขึ้น ตามแนวพระราชเสาวนีย์ของสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ

4 ความคาดหวังในการจัดตั้งกรมการข้าว (ต่อ)
ชาวนา ต้องการผลิตข้าวให้ได้ผลผลิตต่อไร่สูงขึ้นและได้ข้าว ที่มีคุณภาพดีขึ้น ขายข้าวได้ราคาดี มีชีวิตและความเป็นอยู่ ที่ดีขึ้นสามารถอยู่ในสังคมได้อย่างมีเกียรติและศักดิ์ศรี และมีลูกหลานที่ต้องการสืบสานการทำนาต่อไป ต้องการได้รับการดูแลและบริการในเรื่องข้าวจากภาครัฐที่ดีขึ้นกว่าเดิม โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากกรมการข้าว

5 ความคาดหวังในการจัดตั้งกรมการข้าว (ต่อ)
ข้าราชการและเจ้าหน้าที่กรมการข้าว เป็นปัจจัยหลักที่ทำให้ความคาดหวังของทุกฝ่ายดังกล่าวบรรลุผลสำเร็จหรือไม่ การที่จะทำให้เกิดผลสำเร็จตามที่คาดหวังนั้น นอกจากจะต้องทำให้กรมการข้าวเป็นแหล่งความรู้ในเรื่องข้าวที่ครบถ้วนสมบูรณ์แล้ว การติดตามสถานการณ์ข้าวทั้งด้านการผลิตและการตลาดก็เป็นสิ่ง จำเป็นสำหรับข้าราชการกรมการข้าวทุกคน เพราะขณะนี้ทุกครั้งที่มีปัญหาเรื่องข้าวเกิดขึ้น หลายฝ่ายจะพุ่งเป้ามาที่กรมการข้าวเพื่อหาคำตอบด้วย หรืออย่างน้อยคาดหวังว่ากรมการข้าวจะต้องทราบว่าปัญหาที่แท้จริงนั้นคืออะไร และจะมีแนวทางแก้ไขปัญหานั้นอย่างไร ซึ่งกรมการข้าวคงปฏิเสธได้ยาก

6 ข้อจำกัดของกรมการข้าว
โครงสร้างยังไม่เอื้อเท่าที่ควรเพราะยังไม่มีราชการส่วนภูมิภาค(เช่น ข้าวจังหวัด/ข้าวอำเภอ) เหมือนกับ กรมการข้าวในอดีต ภารกิจตามโครงสร้างปัจจุบันยังไม่ครบวงจรโดยเฉพาะเรื่องตลาดที่ส่วนใหญ่ยังอยู่ในความรับผิดชอบของกระทรวงพาณิชย์ ขาดงานวิจัยบางสาขา เช่น เครื่องจักรกลการเกษตร และการแปรรูปข้าวเนื่องจากไม่มีการโอนบุคลากรและอุปกรณ์มาจากกรมวิชาการเกษตร ภายใต้ข้อจำกัดดังกล่าวซึ่งกรมการข้าวไม่สามารถที่จะแก้ไขได้มากนักในระยะสั้น แต่จะนั่งนิ่งดูดายก็คงไม่ได้ ทางออกขณะนี้ก็คือปรับกระบวนการทำงานของเราเองเท่านั้น ซึ่งจะทำอย่างไรนั้น บางส่วนจะอยู่ในเอกสารนี้ขอให้ศึกษาถ่องแท้และนำไปปฏิบัติ ทั้งนี้ เพื่อให้การพัฒนาข้าวไทยเป็นไปตามความคาดหวังของทุกฝ่ายมากที่สุด

7 ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับข้าวของโลก
ข้าว คือ “ชีวิต” ของคนจำนวนมากของโลก ประชากรกว่าครึ่งโลก บริโภคข้าวเป็นอาหารหลัก แต่ประชากรโลกประมาณ 850 ล้านคน ยังหิวโหย เนื่องจากขาดอาหารบริโภค (รวมทั้งข้าว) ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเด็กและอยู่ในประเทศยากจน ในทางตรงกันข้ามอัตราการบริโภคข้าวต่อหัวในประเทศ ที่พัฒนาแล้วมีแนวโน้มลดลง องค์การสหประชาชาติได้ให้ความสำคัญกับข้าวเป็นอย่างมากโดยในปีพ.ศ และพ.ศ ได้กำหนดให้เป็นปีข้าวสากล(International Year of Rice) ซึ่งมีการเฉลิมฉลองกันในหลายประเทศทั่วโลก รวมทั้งประเทศไทย

8 ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับข้าวของโลก (ต่อ)
ข้าวเป็นสินค้าการเมืองที่อ่อนไหวในเกือบทุกประเทศ การกีดกันทางการค้า โดยใช้มาตรการภาษีและมาตรการที่ไม่ใช่ภาษียังมีอยู่มาก ประเทศไทยเป็นผู้ผลิตข้าวอันดับ 6 ของโลก ประมาณ ร้อยละ 5 ของผลผลิตรวมของโลก โดยมีจีนและอินเดียเป็นผู้ผลิตรายใหญ่อันดับ 1 และ 2 ตามลำดับ ทั้ง 2 ประเทศมีผลผลิตรวมกันประมาณครึ่งหนึ่งของโลก

9 ผลผลิตข้าวของโลก ปี 2550/51 รวม 420.48 100% หน่วย : ล้านตัน
ทั้งหมด = ล้านตันข้าวสาร หน่วย : ล้านตัน จีน 129.50 30.8% อื่นๆ 93.08 22.1% อินเดีย 92 21.9% อินโดนีเซีย 34 8.1% เวียดนาม 23.26 5.5% บังคลาเทศ 28.5 6.8% รวม 420.48 100% ประเทศไทย 20.14 4.8% ที่มา : สถานการณ์และแนวโน้มสินค้าเกษตรที่สำคัญ ปี 2551 สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร

10 การส่งออกข้าวของโลก ปี 2550
ทั้งหมด = ล้านตันข้าวสาร หน่วย : ล้านตัน อื่นๆ 3.97 13.8% ปากีสถาน 2.60 9.0% เวียดนาม 4.60 15.9% สหรัฐอเมริกา 3.10 10.7% รวม 28.92 100% ประเทศไทย 9.55 33.0% อินเดีย 3.80 13.1% จีน 1.30 4.5% ที่มา : สถานการณ์และแนวโน้มสินค้าเกษตรที่สำคัญ ปี 2551 สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร

11 ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับข้าวของไทย
เป็นอาหารหลักของคนในชาติ และสร้างความมั่นคงทางอาหารให้กับประเทศ เป็นแหล่งจ้างงานในประเทศมากที่สุดและเป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศ ประกอบไปด้วย ครัวเรือนประมาณ ล้านครัวเรือนที่ปลูกข้าว คิดเป็นประชากรประมาณ 17 ล้านคน มีความสำคัญต่อเศรษฐกิจส่วนรวมของประเทศ โดยเฉพาะภาคการเกษตร ข้าวเป็นพืชที่มีสัดส่วนในผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) สาขาพืชสูงสุด เป็นวัฒนธรรม ประเพณี และวิถีชีวิตของคนไทยจำนวนมาก เป็นสินค้าส่งออกทำรายได้ให้กับประเทศปีละประมาณ 100,000 ล้านบาท เป็นอันดับ 1-3 ของสินค้าเกษตรส่งออกในปัจจุบัน

12 ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับข้าวของไทย (ต่อ)
จากหลักฐานทางโบราณคดี มีการปลูกข้าวในแถบคาบสมุทรอินโดจีน ซึ่งรวมถึงประเทศไทยมาตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ หรือประมาณ 3,500 – 7,000 ปีมาแล้ว ข้าวไทยมีชื่อเสียงเป็นที่เลื่องลือทั่วโลกมานานแล้ว โดยในการประกวดสินค้าข้าวของบริษัทค้าข้าวต่าง ๆ ที่เมืองเซนต์หลุยส์ รัฐหลุยส์เซียนา ประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อปี พ.ศ ข้าวจากโรงสีกิมเจ็งของประเทศไทย ได้รับรางวัลเหรียญทองแดง ต่อมาในปี พ.ศ ข้าวพันธุ์ปิ่นแก้วและพันธุ์พื้นเมืองอื่นๆ ของไทยได้รับรางวัลที่ 1, 2, 3 และรางวัลอื่นๆ อีก 8 รางวัล ในงาน World Grain Contest ในเมือง Regina ประเทศ Canada

13 ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับข้าวของไทย (ต่อ)
ในส่วนของประเทศไทยได้เริ่มมีการประกวดข้าวครั้งแรกโดยกระทรวงเกษตราธิการ ในปีพ.ศ สมัยรัชกาลที่ 5 ที่เมืองธัญญบุรี (อำเภอธัญบุรีในปัจจุบัน) ซึ่งข้าวชื่อ “ปิ่นทอง” ของนายเอี่ยม ได้รับรางวัลที่ 1 ได้รับเงินรางวัล 400 บาท และต่อมาก็ได้มีการประกวดข้าวอีกหลายครั้งติดต่อกัน ในด้านการส่งออก ประเทศไทยมีการส่งออกข้าวมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ในช่วงประมาณปีพ.ศ ถึงปีพ.ศ ซึ่งส่วนใหญ่ดำเนินการโดยบริษัทของชาวฮอลันดา (เนเธอร์แลนด์ในปัจจุบัน) ต่อมาในช่วงหลังปี 2265 การค้ากับฮอลันดาเริ่มลดลง ไทยได้หันไปค้าขายกับประเทศจีน ซึ่งมีพลเมืองมากและอาหารขาดแคลนจนถึงปี 2300 ซึ่งเป็นช่วงค้าข้าวกับจีนรุ่งเรืองมากที่สุด หลังเสียกรุงแก่พม่า ในปีพ.ศ ราคาข้าวในประเทศสูงขึ้น และเกิดน้ำท่วม ไม่ปรากฏหลักฐานชัดเจนเกี่ยวกับการส่งออกข้าวของไทย

14 ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับข้าวของไทย (ต่อ)
การส่งออกข้าวของไทยปรากฏชัดเจนอีกครั้งหนึ่งในสมัยรัชกาล ที่ 5 โดยในช่วงสมัยตั้งแต่ปี 2460 ประเทศไทยมีการส่งออกข้าวไปยังต่างประเทศอย่างต่อเนื่อง ปริมาณการส่งออกผันแปรไปในแต่ละปี ลูกค้าที่สำคัญคือจีนและมาลายา (มาเลเซียในปัจจุบัน) บางส่วนส่งไปขายยังเนเธอร์แลนด์ ญี่ปุ่น อัฟริกา และยุโรป การที่ไทยสามารถส่งออกข้าวได้อย่างต่อเนื่องในปริมาณที่มากเมื่อเทียบกับประเทศผู้ผลิตรายใหญ่อื่น ๆ เนื่องจากประเทศไทย ได้มีการพัฒนาระบบชลประทาน โดยการขุดคลองมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 ทำให้การปลูกข้าวได้ผลดี รวมทั้งในระยะต่อ ๆ มาได้มีการพัฒนาพันธุ์ข้าวที่ไม่ไวแสงขึ้น ซึ่งสามารถปลูกได้ในฤดูแล้ง และพัฒนาเทคโนโลยีการปลูกโดยทำนาหว่านน้ำตม ทำให้ ผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่สูงขึ้น และผลผลิตโดยรวมเพิ่มขึ้น จนในปัจจุบันเป็นผู้ส่งออกอันดับ 1 ของโลกมากว่า 20 ปี แล้ว โดยมีสัดส่วนการตลาด ประมาณร้อยละ ของการค้าข้าวในตลาดโลก แต่ชาวนาผู้ผลิตข้าวที่ถูกขนานนามว่า “กระดูกสันหลังของชาติ” ส่วนใหญ่ยังมีฐานะยากจน

15 ประเด็นท้าทายสำหรับกรมการข้าว
แม้จะมีการพัฒนาข้าวมาอย่างต่อเนื่องแล้วก็ตามแต่ ผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่ของไทยยังต่ำและเกือบต่ำที่สุดในโลก สาเหตุส่วนหนึ่งคือ พื้นที่ปลูกส่วนใหญ่อยู่นอกเขตชลประทาน ชาวนาไทยยังยากจนอยู่มาก เมื่อเทียบกับอาชีพการเกษตรอื่นๆ คนรุ่นหลังไม่อยากจะทำนาอีกต่อไป แม้การผลิตข้าวโดยรวมจะมีเหลือเฟือเพื่อการส่งออกมากมายก็ตาม แต่คนไทยบางกลุ่มในบางพื้นที่ยังขาดแคลนข้าวที่จะบริโภค ประเทศผู้นำเข้าส่วนใหญ่ต้องการผลิตข้าวให้เพียงพอต่อการบริโภค (self-sufficiency) เพื่อลด/เลิกการนำเข้าเพราะข้าวคือความมั่นคงทางอาหารของประเทศ โดยเร่งปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตโดยเฉพาะการใช้ข้าวลูกผสม (hybrid rice) และข้าวดัดแปลงพันธุกรรม (GMO) จึงทำให้ตลาดการค้าข้าวของโลกไม่เติบโตเท่าที่ควร ทั้งๆที่ประชากรของโลกยังเพิ่มขึ้นทุกปี

16 ประเด็นท้าทายสำหรับกรมการข้าว (ต่อ)
ผู้บริโภคต้องการอาหารรวมทั้งข้าวที่มีความปลอดภัยและมีคุณภาพดี เพราะห่วงใยในสุขภาพของตนเอง และมีรายได้สูงขึ้น การแข่งขันทางการค้าข้าวยังคงทวีความรุนแรงมากขึ้น การผลิตข้าวที่มีคุณภาพดี และต้นทุนต่ำเท่านั้น จึงจะสู้ได้ ฝนแล้งน้ำท่วมมีบ่อยขึ้นและโลกจะร้อนขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งการปลูกข้าวมีส่วนทำให้เกิดภาวะโลกร้อนขึ้นเช่นเดียวกัน แม้จะน้อยกว่าภาคอุตสาหกรรมก็ตาม

17 ประเด็นท้าทายสำหรับกรมการข้าว (ต่อ)
บางครั้งเมื่อชาวนาขายข้าวไม่ได้ราคา/ขาดทุน ซึ่งเป็นปัญหาทางการตลาดที่ไม่ได้เป็นภารกิจหลักของกรมการข้าวก็ตาม แต่กรมการข้าวก็ยังไม่พ้นถูกตำหนิจากหลาย ๆ ฝ่ายว่าไม่มีความสามารถพอที่จะทำให้ชาวนาปรับปรุงคุณภาพและลดต้นทุนการผลิตในระดับที่สามารถแข่งขันได้ในตลาดโลก ซึ่งเราคงปฏิเสธได้แต่ไม่ทั้งหมด กรมการข้าวมีบทบาทในระดับนโยบายชัดเจนมากขึ้นในฐานะที่มีอธิบดีกรมการข้าวเป็นกรรมการและผู้ช่วย เลขานุการ คณะกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติ(กขช.) และเป็นกรรมการและเลขานุการคณะอนุกรรมการ นโยบายข้าวแห่งชาติด้านการผลิตด้วย ซึ่งมีโอกาสที่จะผลักดันโครงการ/กิจกรรมที่สำคัญของกรมการข้าวให้ได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลได้ง่ายขึ้น 17

18 ผลผลิตเฉลี่ยของประเทศที่สำคัญ ปี 2550
กิโลกรัม/ไร่ * ผลผลิตเฉลี่ยของไทย นาปี 2549/50, นาปรัง ปี 2550

19 โครงสร้างการบริหารจัดการข้าวของประเทศ
คณะกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติ (กขช.) ประธาน : นายกรัฐมนตรี เลขานุการ : ปลัดกระทรวงพาณิชย์ คณะอนุกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติด้านการผลิต ประธาน : รมว.กษ เลขานุการ : อธิบดีกรมการข้าว คณะอนุกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติด้านการตลาด ประธาน : รมว.พณ. เลขานุการ : อธิบดีกรมการค้าภายใน คณะอนุกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติระดับจังหวัด ประธาน : ผู้ว่าราชการจังหวัด เลขานุการ : ผู้ที่ ผวจ.มอบหมาย คณะอนุกรรมการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ข้าวแห่งชาติ ประธาน : รมว.พณ. เลขานุการ : อธิบดีกรมการค้าภายใน 19

20 ยุทธศาสตร์กรมการข้าว
ประกอบด้วย ยุทธศาสตร์ข้าวไทย ( ) กรมการข้าวจะต้องดำเนินการตามยุทธศาสตร์ข้าวไทยในส่วนที่เกี่ยวข้องอย่างเต็มความสามารถ ยุทธศาสตร์การบริหารจัดการของกรมการข้าว เพื่อให้การดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ข้าวไทยประสบผลสำเร็จต้องมีกลยุทธ์สนับสนุน ได้แก่ การพัฒนาบุคลากร การพัฒนาระบบสารสนเทศ (IT) การบูรณาการการทำงานภายในกรมการข้าว การบูรณาการการทำงานกับหน่วยงานภายนอกและการสร้างเครือข่าย

21 ยุทธศาสตร์ข้าวไทย 6 กลยุทธ์หลัก ชีวิตความเป็นอยู่ของชาวนาดีขึ้น
ยุทธศาสตร์การบริหารจัดการ ของกรมการข้าว ชีวิตความเป็นอยู่ของชาวนาดีขึ้น การบริหารจัดการ ขนส่งสินค้าและบริการ (6) การรักษา เสถียรภาพราคา (4) การส่งเสริมและ สนับสนุนชาวนา (2) การจัดการระบบตลาด และการพัฒนาผลิตภัณฑ์ (3) การพัฒนา การผลิต (1) ผลิตภาพ คุณภาพ สร้าง สูงขึ้น ข้าวดีขึ้น มูลค่าเพิ่ม (Productivity) (Quality) (Value Creation) การตลาด ระหว่างประเทศ (5) สนับสนุน เป้าประสงค์ขั้นกลาง เป้าประสงค์สูงสุด

22 และพัฒนาข้าวแห่งชาติ สารสนเทศและการจัดการ ผลิตและกระจายพันธุ์ดี
กลยุทธ์ การพัฒนาการผลิต พัฒนาและปรับปรุง โครงสร้างพื้นฐานของ ดินและน้ำ (ชป. และ พด.) ผลิตภาพและคุณภาพ ของข้าวไทยดีขึ้น วิจัยและพัฒนา ธนาคารเชื้อพันธุ์ วางระบบตรวจและ รับรองคุณภาพมาตรฐาน พัฒนาผลิตภัณฑ์ สำหรับตลาดเฉพาะ จัดตั้งศูนย์วิจัย และพัฒนาข้าวแห่งชาติ พัฒนาระบบ สารสนเทศและการจัดการ ความรู้เรื่องข้าว กำหนดเขตและ ขึ้นทะเบียนชาวนา ผลิตและกระจายพันธุ์ดี ผ่านศูนย์ข้าวชุมชน พัฒนาระบบเตือนภัย จัดทำคู่มือคำแนะนำ เฉพาะพื้นที่ (SSRR) เป้าประสงค์

23 23 ฝึกอบรมและ ถ่ายทอดความรู้
ชาวนามีความรู้ความสามารถและมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น กลยุทธ์การส่งเสริมและสนับสนุนชาวนา สนับสนุนและ ส่งเสริมอาชีพเสริม ชาวนาชั้นนำ (SF) ศูนย์บริการชาวนา และศูนย์เครือข่าย จัดสวัสดิการชาวนา ธนาคารข้าวชุมชน ฟื้นฟูวัฒนธรรมข้าว และประยุกต์ใช้ ภูมิปัญญาท้องถิ่น กำหนดวันข้าว แห่งชาติ ชาวนา มืออาชีพ (PF) ชาวนาผู้ผลิต เมล็ดพันธุ์ (SP) ชาวนาผู้ทำแปลงขยายเมล็ดพันธุ์ (SG) ยุวชาวนา (YF) ฝึกอบรมและ ถ่ายทอดความรู้ เป้าประสงค์ 23

24 กลยุทธ์การวิจัยและพัฒนา
ต้องสนองตอบทั้งปัญหาระดับชาติและระดับท้องถิ่น ได้อย่างรวดเร็ว ต้องมองปัญหารอบด้านทั้งด้านกายภาพ ชีวภาพ เศรษฐกิจ สังคม และการยอมรับของชาวนา รวมทั้งความต้องการของผู้บริโภค มีแผนแม่บทการวิจัยที่มีการจัดลำดับความสำคัญของงานวิจัยด้วย ต้องมีระบบการหาโจทย์วิจัยจาก Stakeholders ทุกกลุ่ม บางประเด็นต้องวิจัยร่วมกันหลายฝ่ายในหลายสาขาวิชาทั้งพันธุ์ ดิน ปุ๋ย โรคแมลง และสิ่งแวดล้อม ที่อาจมีปฏิสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน (interaction) ต้องเสาะแสวงหาเทคโนโลยีใหม่ๆ มาใช้ในงานวิจัย เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ และย่นระยะเวลาในการวิจัย

25 กลยุทธ์การวิจัยและพัฒนา (ต่อ)
สรรหาบุคลากรที่จะมาเป็นนักวิจัยให้มีความหลากหลายสาขาวิชา เพื่อให้กรมการข้าวสามารถ ทำการวิจัยได้ครบถ้วนทุกสาขาได้เองในอนาคต ร่วมมือกับสถาบันการศึกษาและองค์การระหว่างประเทศในงานวิจัย และงานพัฒนาบุคลากร จัดตั้งศูนย์วิจัยข้าวแห่งชาติที่มีความพร้อมทั้งอุปกรณ์และบุคลากรโดยจัดทำเป็นแผนแม่บทระยะยาว (master plan) และจัดลำดับความสำคัญในการดำเนินงาน ในแต่ละปี จัดทำแผนพัฒนาบุคลากร (นักวิจัย) ให้สอดคล้องกับประเด็นที่จะทำวิจัยในอนาคต โดยให้รวมอยู่ในแผน พัฒนาบุคลากรของกรมการข้าว

26 ศูนย์วิจัยและพัฒนาข้าวแห่งชาติ
ศูนย์วิจัยและทดลองข้าว ศูนย์สารสนเทศข้าว ธนาคารเชื้อพันธุ์ ศูนย์วัฒนธรรมข้าว ศูนย์ฝึกอบรม (นักวิชาการและชาวนา) ศูนย์วิจัยและพัฒนา ข้าวแห่งชาติ ศูนย์ประชุมนานาชาติ ด้านข้าว ศูนย์วิจัยเครื่องจักรกล การเกษตรด้านข้าว ศูนย์ประสานความร่วมมือ เรื่องข้าวระหว่างประเทศ โรงงานต้นแบบ (การแปรรูปและเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์) ศูนย์นิทรรศการเทคโนโลยี ด้านข้าว(ในร่มและกลางแจ้ง) อุทยานเทคโนโลยีข้าว (Rice Technology Park) ศูนย์วิจัยชั้นนำระดับโลก 26

27 การบูรณาการกับหน่วยงานภายนอกกรม ส่งเสริมในเขตปฏิรูปที่ดิน
กรมพัฒนาที่ดิน ปรับปรุงดิน ปรับพื้นที่ การบูรณาการกับหน่วยงานภายนอกกรม กรมการข้าว กรมวิชาการเกษตร วิจัยร่วม (เครื่องจักรกล/ โรค/แมลง/ปฐพี) กรมชลประทาน การชลประทาน จัดรูปที่ดิน กรมส่งเสริมการเกษตร ร่วมดูแลศูนย์ข้าวชุมชน ร่วมการฝึกอบรมชาวนา สนับสนุนอาชีพเสริม กรมส่งเสริมสหกรณ์ การตลาดข้าว ช่วยกระจายพันธุ์ดี สศก. ร่วมสำรวจและจัดทำสารสนเทศข้าว ร่วมจัดทำนโยบายและยุทธศาสตร์ ติดตามประเมินผล มกอช. กำหนดมาตรฐานข้าว เป็น Accreditation Body (AB) หน่วยงานอื่นๆ (ปศุสัตว์/ประมง) ควรเป็นเจ้าภาพ ในส่วนกลาง บูรณาการ การวางแผน การปฏิบัติงาน การติดตามและประเมินผล สปก. ส่งเสริมในเขตปฏิรูปที่ดิน จังหวัด/อำเภอ/อบจ./อบต. สนับสนุนงบประมาณ อาคาร/สถานที่/อุปกรณ์ 27

28 ระบบการส่งเสริมการผลิตข้าวและพัฒนาชาวนา
เป้าประสงค์หลัก เพื่อให้กรมการข้าวสามารถบริหารด้านส่งเสริมการผลิต และพัฒนาชาวนาซึ่งต้องทำควบคู่กันในพื้นที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ภายใต้ข้อจำกัดด้านบุคลากรและโครงสร้างในปัจจุบัน งานด้านส่งเสริมการผลิตและพัฒนาชาวนา รวมทั้งการให้ บริการชาวนาในพื้นที่ ประกอบด้วย 3 กิจกรรมหลัก การผลิตและกระจายเมล็ดพันธุ์ดี ศูนย์วิจัยข้าว ผลิตเมล็ดพันธุ์หลักให้กับศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าว ศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าว ผลิตเมล็ดพันธุ์ขยายให้กับศูนย์ข้าว ชุมชน ศูนย์ข้าวชุมชน ผลิตเมล็ดพันธุ์จำหน่ายให้กับชาวนา ในชุมชน

29 การถ่ายทอดความรู้ ผ่านศูนย์บริการชาวนา 50 ศูนย์ ที่จัดตั้งภายในศูนย์วิจัยข้าวและศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าว รวมทั้งผ่านศูนย์เครือข่าย ผ่านศูนย์ข้าวชุมชน โดยการอบรมสร้างชาวนาชั้นนำ(Smart Farmers : SF) เพื่อให้ทำหน้าที่เป็นวิทยากรให้ กับชาวนาในชุมชน ผ่าน Website และสื่อสารมวลชน (mass media) ในรูปแบบต่างๆ ทั้งในระดับประเทศและระดับท้องถิ่น รวมทั้งจัดทำเอกสารเผยแพร่ทั่วไป ร่วมมือกับกรมส่งเสริมการเกษตร (เกษตรจังหวัด/เกษตรอำเภอ) เพื่อให้ทำหน้าที่เป็นวิทยากรถ่ายทอดความรู้ให้กับชาวนา และกรมการข้าว (ศูนย์วิจัยข้าว) ทำหน้าที่เป็นวิทยากรอบรมเจ้าหน้าที่ของกรมส่งเสริมการเกษตร จัดหลักสูตรและเทคนิคการถ่ายทอดความรู้ให้เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมายและพยายามสอดแทรกเนื้อหาของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในทุกหลักสูตร

30 การบริหารจัดการ จัดทำแผนปฏิบัติงาน (action plan) แบบบูรณาการด้านส่งเสริมข้าว ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในทุกระดับ (จังหวัด/อำเภอ/ตำบล) โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับกรมส่งเสริมการเกษตร มีระบบการตรวจ ติดตามและนิเทศงานที่ดำเนินการอย่างต่อเนื่องและมีตัวชี้วัดที่ชัดเจน มีมาตรการสนับสนุน ได้แก่ การกำหนดเขตส่งเสริมการผลิตการขึ้นทะเบียนชาวนา การจัดทำคู่มือคำแนะนำการผลิตข้าวเฉพาะพื้นที่ (Site Specific Recommendation for Rice :SSRR) มีระบบการเตือนภัยการระบาดศัตรูข้าวและภัยธรรมชาติ (Early Warning System : EWS)

31 หน่วยปฏิบัติการในพื้นที่ในส่วนของกรมการข้าว ประกอบด้วย
ศูนย์วิจัยข้าว 27 ศูนย์ ศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าว 23 ศูนย์ จะต้องสนับสนุนภารกิจด้านส่งเสริมการผลิตและพัฒนาชาวนานอกเหนือจากภารกิจหลักของตนเองดังนี้ มอบหมายให้เจ้าหน้าที่ ทำหน้าที่เป็นผู้แทนกรมการข้าว ประจำจังหวัดทุกจังหวัดที่รับผิดชอบ (ข้าวจังหวัด) จัดตั้งศูนย์บริการชาวนา และเปิดให้บริการอย่างสม่ำเสมอ และจัดหน่วยเคลื่อนที่ออกไปตรวจเยี่ยมศูนย์ข้าวชุมชนในพื้นที่รับผิดชอบเป็นระยะๆ

32 จัดตั้งศูนย์บริการชาวนาเครือข่าย ในพื้นที่รับผิดชอบตามความเหมาะสม โดยพิจารณาจากความพร้อมของสถานที่ อุปกรณ์ บุคลากร เพื่อความยั่งยืนของศูนย์ ทั้งนี้อาจใช้ศูนย์ข้าวชุมชน หรือศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีประจำตำบลเป็นศูนย์บริการชาวนาเครือข่ายด้วยก็ได้ จัดทำแปลงสาธิตและเปิดโรงเรียนชาวนา(ระบบโรงเรียนเกษตรกร: farmer field school) ในพื้นที่รับผิดชอบตามความเหมาะสม โดยใช้แปลงผลิตเมล็ดพันธุ์ของศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าว แปลงทดลองข้าวของศูนย์วิจัยข้าวหรือแปลงผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวของศูนย์ข้าวชุมชนหรือ ไข่แดง เป็นแปลงสาธิตหรือแปลงเรียนรู้ควบคู่กันไปด้วยก็ได้ ทั้งนี้เพื่อการประหยัดงบประมาณ ศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าว เป็นหน่วยงานหลักด้านการตรวจรับรองแปลงผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าว (GAP seed) ศูนย์วิจัยข้าว เป็นหน่วยงานหลักด้านการตรวจรับรองแปลงผลิตข้าวเพื่อการค้า (GAP grain) เจ้าหน้าที่ของศูนย์ทำหน้าที่เป็นวิทยากรด้านเทคโนโลยีการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวและการผลิตข้าวตามความรู้ ความเชี่ยวชาญของแต่ละคน

33 บทบาทหน้าที่ของผู้แทนกรมการข้าวประจำจังหวัด(หรือข้าวจังหวัด)
ประสานแผนพัฒนาข้าวของจังหวัด ภายใต้คณะอนุกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติ ระดับจังหวัด ดำเนินงานส่งเสริมการผลิตข้าวและพัฒนาชาวนาในจังหวัด ที่รับผิดชอบ ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จัดทำแผนและบริหารการตรวจเยี่ยม ให้คำแนะนำและเป็น ที่ปรึกษาให้กับศูนย์ข้าวชุมชน ปฏิบัติงานอื่นๆ ตามที่กรมการข้าวมอบหมาย ศูนย์บริการชาวนาเครือข่าย 500 ศูนย์ ทำหน้าที่ให้บริการข้อมูลข่าวสารของกรมการข้าวสู่ชาวนา ในชุมชน และเป็น หน่วยสนับสนุนในการจัดเก็บและรายงานสถานการณ์ข้าว ราคาข้าว และข้อมูลเตือนภัยธรรมชาติและศัตรูข้าวให้กับกรมการข้าว

34 ผลิตและกระจายพันธุ์ดี ถ่ายทอดความรู้ การบริหารจัดการ
ระบบส่งเสริมการผลิตข้าวและพัฒนาชาวนาของกรมการข้าว ผลิตและกระจายพันธุ์ดี ถ่ายทอดความรู้ การบริหารจัดการ สหกรณ์และ ภาคเอกชน (นอกสังกัดกรมการข้าว) ศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าว ผลิตพันธุ์ขยาย/วิทยากร/ ตรวจรับรอง GAP seed ศูนย์วิจัยข้าว ผลิตพันธุ์หลัก/วิทยากร/ตรวจรับรอง GAP grain เอกสารเผยแพร่ สื่อสารมวลชน Website 1. แผนปฏิบัติงานแบบ บูรณาการใน/นอกกรม ระดับประเทศ ระดับจังหวัด ระดับอำเภอ ระดับตำบล ศูนย์ข้าวชุมชน 3. มาตรการสนับสนุน -กำหนดเขต -ขึ้นทะเบียน -คู่มือคำแนะนำ เฉพาะพื้นที่ (SSRR) -ระบบเตือนภัย (EWS) SG แปลงสาธิต ศูนย์บริการชาวนา หน่วยเคลื่อนที่/Lab/ แหล่งดูงาน/อบรม 7000 ศูนย์ 3.7 ล้าน ครัวเรือน SF / PF ศูนย์ข้าวชุมชน อบรม/ถ่ายทอดความรู้ SP ศูนย์เครือข่ายฯ เผยแพร่ข่าวสารและบริการ 2.การตรวจติดตาม และ นิเทศงาน -คณะกรรมการระดับกรม -คณะกรรมการระดับจว.

35 การจัดทำคู่มือคำแนะนำการผลิตข้าวเฉพาะพื้นที่
(Site Specific Recommendation for Rice: SSRR) แนวคิด การผลิตข้าวที่จะให้มีประสิทธิภาพ (ผลผลิตต่อไร่สูงและต้นทุนต่อกิโลกรัมต่ำ) และมีคุณภาพดี จะต้องเลือกพันธุ์และเทคโนโลยีที่เหมาะสมในแต่ละพื้นที่ ซึ่งมีสภาพแวดล้อมแตกต่างกันไป ต้องมีเอกสารในลักษณะที่เป็นคู่มือทางวิชาการและแผ่นพับ ที่สะดวก และง่ายต่อการใช้งานและเผยแพร่ (ready and easy to use)

36 แนวทางปฏิบัติ รวบรวมข้อมูลจากงานวิจัยในพื้นที่และภูมิปัญญาชาวบ้านที่พิสูจน์แล้วว่าดีที่สุด (best practice) ศึกษา วิเคราะห์สถานการณ์ข้อมูลในแต่ละพื้นที่ทั้งด้านกายภาพชีวภาพ และเศรษฐกิจสังคม เพื่อกำหนดพื้นที่ (site) ที่มีลักษณะของทรัพยากรคล้ายคลึงกันสามารถใช้เทคโนโลยีชุดเดียวกันได้ จัดทำร่างคู่มือและจัดสัมมนาชาวนาและผู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อให้เป็นคู่มือที่สมบูรณ์ และแน่ใจว่าคำแนะนำเหมาะสมและสามารถปฏิบัติได้จริงในพื้นที่นั้นๆ สาระสำคัญในคู่มือจะต้องมีครบทุกขั้นตอนตั้งแต่การเลือกพันธุ์ที่เหมาะสมกับพื้นที่ และตรงกับความต้องการของตลาด วิธีการเตรียมดิน วิธีการปลูก วิธีการดูแลรักษา ไปจนถึงวิธีการเก็บเกี่ยวและวิธีการปฏิบัติการหลังการเก็บเกี่ยวที่เหมาะสม

37 รูปแบบของเอกสาร มี 3 รูปแบบ
1. คู่มือทางวิชาการ (technical manual) สำหรับให้นักวิชาการ รวมทั้งชาวนาชั้นนำในแต่ละพื้นที่ใช้ประโยชน์ ในการถ่ายทอดความรู้ โดยจะต้องมีรายละเอียด คำแนะนำการปฏิบัติในแต่ละขั้นตอน ทุกขั้นตอน 2. แผ่นพับ สำหรับแจกจ่ายให้ชาวนาทั่วไปในพื้นที่ ซึ่งเป็นบทสรุปวิธีการปฏิบัติอย่างง่ายๆ เพื่อให้ชาวนาเข้าใจและนำไปปฏิบัติได้จริง

38 3. คู่มือการปฏิบัติงาน (operation manual)
สำหรับนักวิจัยและนักส่งเสริมนำไปติดตาม ตรวจสอบการปฏิบัติจริงของชาวนา ว่าได้ดำเนินการจริงตามคำแนะนำ หรือไม่ เป็นข้อๆ ในลักษณะกา หรือ  (check list) โดยมีคำอธิบายประกอบถึงเหตุผลของชาวนาที่ไม่ปฏิบัติตามคำแนะนำ หรือถ้าปฏิบัติตามคำแนะนำแล้วได้ผลเป็นประการใด ซึ่งจะเป็นการทำงานในลักษณะงานวิจัยเชิงปฏิบัติ (action research) เพื่อนำผลที่ได้มาปรับปรุงคู่มือและกระบวนการถ่ายทอดความรู้ต่อไป ซึ่งในกรณีการใช้คู่มือการปฏิบัติงานนี้ เจ้าหน้าที่จะต้องไปพบและสอบถามชาวนาพร้อมกับดูสภาพข้อเท็จจริงในแปลงนาแต่ละแปลงด้วย (ถ้ายังไม่เก็บเกี่ยว)

39 ศูนย์วิจัยข้าว ภารกิจหลัก
(27 ศูนย์) ภารกิจหลัก ศึกษา วิจัย และพัฒนาพันธุ์ เทคโนโลยีการผลิต การอารักข้าว การเก็บเกี่ยว และการแปรรูปข้าว ผลิตเมล็ดพันธุ์ ชั้นพันธุ์คัดและชั้นพันธุ์หลัก ตรวจสอบและรับรองระบบการผลิตข้าวที่ดีและเหมาะสม (GAP grain)

40 ศูนย์วิจัยข้าว (ต่อ) ภารกิจสนับสนุน
(27 ศูนย์) ภารกิจสนับสนุน ให้บริการภายใต้ภารกิจของศูนย์บริการชาวนา ปฏิบัติงานในศูนย์ข้าวชุมชน ในเขตพื้นที่รับผิดชอบ ตามที่ได้รับมอบหมาย รวบรวมและรายงานข้อมูลสถานการณ์การตลาดและราคาข้าวเปลือกในจังหวัดที่รับผิดชอบ เสนอต่อกรมการข้าว ตามที่ได้รับมอบหมาย รวบรวมและรายงานข้อมูลสถานการณ์การผลิตและการระบาดของโรคแมลงศัตรูข้าว และพื้นที่ประสบภัยธรรมชาติ ในจังหวัดที่รับผิดชอบ เสนอต่อกรมการข้าวตามที่ได้รับมอบหมาย

41 ศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าว
(23 ศูนย์) ภารกิจหลัก ผลิตและจำหน่ายเมล็ดพันธุ์ข้าว ชั้นพันธุ์ขยายและชั้นพันธุ์จำหน่าย ตรวจสอบและรับรองระบบการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวที่ดีและเหมาะสม (GAP seed) ภารกิจสนับสนุน ให้บริการภายใต้ภารกิจของศูนย์บริการชาวนา ปฏิบัติงานในศูนย์ข้าวชุมชน ในเขตพื้นที่รับผิดชอบ ตามที่ได้รับมอบหมาย

42 ศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าว (ต่อ)
(23 ศูนย์) ภารกิจสนับสนุน (ต่อ) รวบรวม และรายงานข้อมูลสถานการณ์การตลาดและราคาข้าวเปลือกในจังหวัดที่รับผิดชอบ เสนอต่อกรมการข้าวตามที่ได้รับมอบหมาย รวบรวม และรายงานข้อมูลสถานการณ์การผลิตและการระบาดของโรคแมลงศัตรูข้าว และพื้นที่ประสบภัยธรรมชาติ ในจังหวัดที่รับผิดชอบ เสนอต่อกรมการข้าวตามที่ได้รับมอบหมาย

43 ศูนย์บริการชาวนา แนวคิด ภารกิจหลัก
(50 ศูนย์) แนวคิด แก้ไขปัญหาข้อจำกัดในด้านโครงสร้างและบุคลากรของกรมการข้าว สร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับกรมการข้าว มีผลงานการให้บริการชาวนาที่เป็นรูปธรรม อาจขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากส่วนราชการอื่นที่เกี่ยวข้อง องค์กรปกครองท้องถิ่น รวมทั้งภาคธุรกิจเอกชนได้ ภารกิจหลัก ให้บริการข้อมูลข่าวสาร สถานการณ์การผลิต การตลาด ราคา และเอกสารคำแนะนำทางวิชาการด้านข้าวทั้งระบบ ตลอดจนข้อมูลการเตือนภัยแก่ชาวนา โดยจัดเป็นห้องสมุดชาวนา (farmers’ library)

44 ศูนย์บริการชาวนา (ต่อ)
(50 ศูนย์) ภารกิจหลัก (ต่อ) ให้บริการตรวจสอบ วิเคราะห์วินิจฉัยปัญหาทางห้องปฏิบัติการ ด้านต่างๆ เช่น ดิน น้ำ ปุ๋ย ศัตรูข้าว เมล็ดพันธุ์ข้าว คุณภาพทางกายภาพและเคมีของข้าว เป็นต้น ให้บริการถ่ายทอดความรู้เรื่องข้าวสู่ชาวนา ในรูปแบบ ต่างๆ เช่น การจัดฝึกอบรม ดูงาน ฝึกงาน สาธิต และจัดทำแปลงเรียนรู้ จัดหน่วยเคลื่อนที่ไปบริการชาวนานอกสถานที่ในพื้นที่รับผิดชอบ ภารกิจสนับสนุน ประสานช่วยเหลือและเป็นธุระให้กับชาวนาในกรณีชาวนาเดือดร้อน มีปัญหาเร่งด่วนต่างๆ เช่น การรับจำนำข้าว การจดทะเบียน คำขอใบอนุญาต การรับรองต่างๆที่เกี่ยวกับชาวนา

45 ศูนย์บริการชาวนา แหล่งเรียนรู้ ศูนย์บริการชาวนา บริการอื่นๆ
ศูนย์ข้อมูลและห้องสมุดชาวนา แหล่งเรียนรู้ บริการทางห้องปฏิบัติการ (ดิน/น้ำ/พืช/โรค/แมลง) ศูนย์บริการชาวนา จัดหน่วยบริการเคลื่อนที่ บริการอื่นๆ

46 ศูนย์ข้าวชุมชน แนวคิด
(7,000 ศูนย์) แนวคิด การผลิตเมล็ดพันธุ์จำหน่ายโดยภาครัฐไม่สามารถดำเนินการได้อย่างเพียงพอ เพราะต้องใช้งบประมาณจำนวนมาก เอกชนยังไม่พร้อมที่จะลงทุนเพราะยังมองไม่เห็นประโยชน์ (กำไร) จากธุรกิจเมล็ดพันธุ์ข้าวมากนัก โดยเฉพาะชาวนายังสามารถเก็บเมล็ดพันธุ์ไว้ใช้ได้เองหลายปี การผลิตเมล็ดพันธุ์โดยชาวนา เป็นสิ่งที่ควรได้รับการสนับสนุน เพราะชาวนาผู้ผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวจะได้ทั้งความรู้และมีรายได้สูงขึ้น ชาวนาผู้ปลูกข้าวจะได้เมล็ดพันธุ์ข้าวคุณภาพดี เหมาะสมกับท้องถิ่น ในราคาที่เป็นธรรม อาจขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากส่วนราชการ ที่เกี่ยวข้อง องค์กรปกครองท้องถิ่น รวมทั้งภาคธุรกิจเอกชนได้

47 ศูนย์ข้าวชุมชน (ต่อ) แนวทางปฏิบัติ (7,000 ศูนย์)
กรมการข้าวสนับสนุนเมล็ดพันธุ์ และอุปกรณ์เท่าที่จำเป็นบางส่วน กรมการข้าวถ่ายทอดความรู้การปลูกข้าวและการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าว ในแต่ละศูนย์ให้มีชาวนา 2 กลุ่มที่มีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกัน คือ กลุ่มผู้ผลิตเมล็ดพันธุ์(ไข่แดง) และกลุ่มชาวนาผู้ผลิตข้าว (ไข่ขาว) ที่รับเมล็ดพันธุ์ดีจากกลุ่มผู้ผลิตเมล็ดพันธุ์ไปปลูก ให้มีการตรวจรับรองคุณภาพเมล็ดพันธุ์ (GAP seed) และคุณภาพผลผลิต (GAP farm/grain) สนับสนุนให้มีกองทุนหมุนเวียนที่ใช้ผลิตเมล็ดพันธุ์และการตลาดเมล็ดพันธุ์รวมทั้งการตลาดข้าวเปลือกหรือข้าวสาร (ถ้ามีโรงสี) ของศูนย์ฯ สนับสนุนให้มีคณะกรรมการบริหารศูนย์ เพื่อกำหนดนโยบายและรับผิดชอบดำเนินงานการผลิต การจำหน่ายจ่ายแจกเมล็ดพันธุ์ที่ผลิตได้ และการตลาดข้าว

48 ศูนย์ข้าวชุมชน (ต่อ) บทบาท เป็นแหล่งผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวให้กับชุมชน
(7,000 ศูนย์) บทบาท เป็นแหล่งผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวให้กับชุมชน จัดหาและบริหารการใช้ปัจจัยการผลิต เช่น เมล็ดพันธุ์และปุ๋ย รวมทั้งเครื่องจักรกลการเกษตรในชุมชน เป็นศูนย์กลางในการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตข้าว เป็นแหล่งรวบรวมข้าวเพื่อการจำหน่ายในชุมชน อาจมีการรวมศูนย์ข้าวชุมชนใกล้เคียงเป็นกลุ่ม (Cluster) ก่อให้เกิดเครือข่าย (Network) เพื่อเพิ่มขีดความสามารถด้านการตลาด และการลงทุนต่างๆ เช่น โรงสีข้าว โรงงานปุ๋ยอินทรีย์ และการจัดหาเครื่องจักรกลการเกษตรเพื่อ ใช้งานในชุมชน โดยชาวนาร่วมทุน และอาจขอรับงบประมาณสนับสนุนจากแหล่งอื่นๆ เพิ่มเติม

49 ศูนย์ข้าวชุมชน (ต่อ) บทบาท (ต่อ)
(7,000 ศูนย์) บทบาท (ต่อ) เป็นเครือข่ายสนับสนุนเป้าหมายการทำงานของกรมการข้าว รายงานสถานการณ์การตลาดและราคาข้าวเปลือกในท้องถิ่น รายงานสถานการณ์การผลิต และข้อมูลเตือนภัย (ภัยธรรมชาติ และศัตรูข้าว) เผยแพร่ข้อมูลข่าวสารของกรมการข้าวให้กับสมาชิกของศูนย์ฯ และชาวนาในชุมชน เป็นที่เรียนรู้หรือเป็นแปลงสาธิตของโรงเรียนชาวนาในพื้นที่ มีชาวนาชั้นนำ (SF) เป็นวิทยากรอาสาสมัครให้ความรู้กับเพื่อนชาวนาในชุมชนในลักษณะการเรียนรู้โดยการปฏิบัติจริง (Learning by Doing)

50 ศูนย์ข้าวชุมชน พันธุ์จำหน่าย พันธุ์คัด
ปีที่ 4 เข้ารอบกระจายพันธุ์ รอบที่ 2 พื้นที่กระจายพันธุ์ในปีที่ 1 (2,600 ไร่) พันธุ์หลัก พื้นที่ผลิต เมล็ดพันธุ์ 200 ไร่ พื้นที่กระจายพันธุ์ในปีที่ 2 (2,600 ไร่) พันธุ์ขยาย พื้นที่กระจายพันธุ์ในปีที่ 3 (2,600 ไร่) ศูนย์ข้าวชุมชน สหกรณ์ ศูนย์ข้าวชุมชน 8,000 ไร่ พันธุ์จำหน่าย ภาคเอกชน ศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าว ชาวนา บริษัทเอกชน

51 การรวมกลุ่มศูนย์ข้าวชุมชน
2 3 1 ศูนย์ข้าวชุมชน ข้าวคุณภาพดี ชาวนาผู้ผลิตข้าวคุณภาพดี (ไข่ขาว) ฝึกอบรม - การผลิตข้าว - GAP จัดหาปัจจัยสนับสนุน โรงสี โรงงานปุ๋ยอินทรีย์ เครื่องจักรกลการเกษตร คณะกรรมการศูนย์ข้าวชุมชน ฝึกอบรมการผลิตเมล็ดพันธุ์ ชาวนาผู้ผลิตเมล็ดพันธุ์ดี (ไข่แดง) เมล็ดพันธุ์ดี งบประมาณ ชาวนาร่วมทุนและ ขอสนับสนุนเพิ่มเติมจาก จังหวัด, สหกรณ์, อบจ., อบต.

52 ธนาคารข้าวชุมชน แนวคิด (80 แห่ง)
แม้ภาพรวมประเทศไทยผลิตข้าวได้เกินความต้องการบริโภคภายในประเทศและเหลือส่งออกจำนวนมากก็ตาม แต่ก็ยังมีประชาชนคนไทยบางครอบครัวในบางพื้นที่โดยเฉพาะในชนบทห่างไกลที่ยังขาดแคลนข้าวที่จะบริโภค การจัดตั้งธนาคารข้าวในชุมชนชนบท โดยให้ผู้ที่ขาดแคลนข้าวบริโภคกู้ยืมไปบริโภค แล้วชำระคืนภายหลังในรูปของข้าวหรือเงินสด น่าจะเป็นเรื่องที่ดีเพื่อเป็นสวัสดิการให้กับประชาชน และเป็นการสร้างภาพลักษณ์ให้กับประเทศที่ว่า ประเทศไทยซึ่งเป็นที่หนึ่งในการส่งออกข้าวของโลก ประชาชนทุกคนมีข้าวบริโภคโดยไม่ขาดแคลน เพื่อความยั่งยืนของโครงการจัดตั้งธนาคารข้าว จะต้องมีทั้งผู้ฝากข้าวและผู้ยืมข้าวโดยทั้งสองฝ่ายจะต้องได้ประโยชน์ กล่าวคือ ผู้ที่มีข้าวเหลือบริโภคจะนำข้าวมาฝาก เมื่อรวมดอกเบี้ยที่ได้รับแล้วจะมีมูลค่าสูงกว่าการนำผลผลิตไปจำหน่ายเอง ขณะที่ผู้ยืมข้าวไปบริโภคก็จะได้ข้าวไปบริโภคในราคาที่ถูกกว่าราคาท้องตลาด คล้ายๆ กับหลักการของสหกรณ์ออมทรัพย์ ที่สมาชิกผู้ฝากได้ดอกเบี้ยสูง ผู้กู้เสียดอกเบี้ยต่ำกว่าธนาคารพาณิชย์ ส่วนการจ่ายคืนนั้นจะเป็นเงินสดหรือข้าว หรือผลผลิตการเกษตรอย่างอื่นสุดแท้แต่จะตกลงกัน

53 ธนาคารข้าวชุมชน (ต่อ)
แนวทางปฏิบัติ คัดเลือกหมู่บ้านหรือหลายหมู่บ้านในตำบลที่มีเกษตรกรบางครอบครัวขาดแคลนข้าวบริโภค แต่ในภาพรวมของหมู่บ้าน/ตำบล มีผลผลิตเพียงพอ หรือ มีศักยภาพหรือมีพื้นที่เพียงพอ ที่จะพัฒนาการผลิตให้เพียงพอที่จะบริโภคภายในชุมชนได้ รัฐโดยกรมการข้าวสนับสนุนการสร้างยุ้งฉางในระยะแรกเพื่อรับฝากข้าวในขนาดที่เพียงพอสำหรับ ให้ครอบครัวที่ขาดแคลน ในชุมชนกู้ยืมไปบริโภค กรมการข้าวสนับสนุนและถ่ายทอดความรู้ การผลิตข้าวให้กับชาวนาในชุมชน เพื่อพัฒนาการผลิตในชุมชนให้เพียงพอต่อการบริโภคภายในชุมชน การบริหารการจัดการธนาคารข้าวชุมชน จะดำเนินการโดยมีคณะกรรมการ ที่ประกอบไปด้วยผู้แทนของชุมชนเป็นผู้กำหนด นโยบายและแนวทางปฏิบัติ

54 สวัสดิการชาวนา แนวคิด
อาชีพการทำนาเป็นอาชีพที่ให้ผลตอบแทนค่อนข้างน้อย เมื่อเทียบกับอาชีพอื่น ๆ หรืออาชีพการเกษตรประเภทอื่นๆ ทำให้บุตรหลานชาวนาส่วนใหญ่ไม่ต้องการที่จะประกอบอาชีพทำนาอีกต่อไป องค์กรชาวนายังไม่เข้มแข็ง ทำให้ขาดอำนาจต่อรอง ในทุก ๆ ด้าน ในอนาคตหากชาวนาไม่ได้รับการดูแลอย่างจริงจัง ประเทศไทยอาจไม่มีข้าวที่จะส่งไปจำหน่ายยังต่างประเทศ หรือไม่เพียงพอต่อการบริโภคภายใน ประเทศ 54

55 สวัสดิการชาวนา (ต่อ) แนวคิด (ต่อ)
การพัฒนาคุณภาพชีวิตของชาวนาเป็นภารกิจที่สำคัญอย่างหนึ่งของกรมการข้าว นอกเหนือไปจากการพัฒนาการผลิต การจัดให้ มีสวัสดิการชาวนาเป็นเรื่องหนึ่งที่กรมการข้าวจะต้องพิจารณาดำเนินการ การจัดให้มีสวัสดิการต้องเป็นไปในลักษณะที่มีความต่อเนื่องและเกิดความยั่งยืน โดยให้ชาวนามีส่วนร่วมคิด ร่วมทุน ร่วมบริหาร และเป็นไปโดยสมัครใจ 55

56 สวัสดิการชาวนา(ต่อ) แนวทางปฏิบัติ
รัฐบาลจัดงบประมาณอุดหนุน โดยจัดสรรจากงบประมาณที่เคยใช้แทรกแซงตลาดข้าว (รับจำนำ) หรือจากรายได้ของรัฐที่จัดเก็บจากภาคธุรกิจที่ได้ประโยชน์จากข้าวมาจัดตั้งเป็นกองทุนสวัสดิการชาวนา ชาวนาผู้สนใจที่จะร่วมโครงการต้องสมัครเป็นสมาชิกกองทุนฯ โดยความสมัครใจและจ่ายเงินสมทบประจำปีทุกปีตามที่คณะกรรมการกองทุนฯ กำหนด รัฐบาลโดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ แต่งตั้งคณะกรรมการบริหารกองทุนฯ ที่ประกอบไปด้วยผู้แทนจากหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง ผู้แทนชาวนาที่คัดเลือกจากสมาชิกของกองทุนฯจากภูมิภาคต่าง ๆ ภาคเอกชนที่เกี่ยวข้อง และผู้ทรงคุณวุฒิ โดยผู้แทนจากกรมการข้าวเป็นฝ่ายเลขานุการกองทุนฯ 56

57 สวัสดิการชาวนา(ต่อ) แนวทางปฏิบัติ (ต่อ)
เพื่อให้กองทุนสามารถดำเนินการได้อย่างต่อเนื่อง และลดภาระด้านงบประมาณของรัฐ จำเป็นจะต้องมีการนำเงินกองทุนไปลงทุนด้านต่าง ๆ เพื่อให้เกิดรายได้ โดยเน้นธุรกิจที่มีความเสี่ยงต่ำและช่วยเหลือชาวนาได้ด้วย เช่น การจัดหาปัจจัยการผลิต การจำหน่ายผลผลิต (ข้าวเปลือก/ข้าวสาร) เป็นต้น โดยมีการจ้างผู้บริหารมืออาชีพมาดำเนินการ เมื่อสมาชิกเลิกอาชีพทำนา ก็จะได้รับเงินทุนคืนพร้อมกับส่วนแบ่งของกำไรที่เกิดจากทุนที่ชาวนาได้ลงทุนไป คล้ายกับกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) สวัสดิการอีกประเภทหนึ่งคือ การสนับสนุนเฉพาะชาวนาที่ปฏิบัติตามเงื่อนไขอันพึงประสงค์ของกรมการข้าว เช่น ชาวนาที่ปฏิบัติตามขั้นตอน GAP หรือชาวนา ที่มีส่วนในการช่วยเหลือรัฐในการปฏิบัติภารกิจกรมการข้าว เช่น ชาวนาชั้นนำ โดยลักษณะของสวัสดิการอาจจะ เป็น เงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ หรือสามารถซื้อปัจจัยการผลิตในราคาถูกกว่าราคาตลาด เป็นต้น โดยรัฐบาลชดเชยส่วนต่างของราคา 57

58 ยุวชาวนา (10,000 คน) แนวคิด อาชีพทำนาแม้ว่าจะเป็นวิถีชีวิตของคนส่วนใหญ่ของประเทศมาช้านานก็ตาม แต่เนื่องจากผลตอบแทนจากการทำนาค่อนข้างน้อย เยาวชนคนรุ่นใหม่จึงไม่มีความสนใจที่จะประกอบอาชีพทำนาสืบต่อจากบรรพบุรุษ กรมการข้าวเป็นหน่วยงานหลักที่ต้องดำเนินการสร้างชาวนารุ่นใหม่เพื่อดำรงไว้ซึ่งอาชีพทำนาของคนไทยจำนวนหนึ่ง ทั้งนี้เพื่อความมั่นคงทางอาหารของประเทศและอนุรักษ์ประเพณี วัฒนธรรม การทำนาของไทยให้คงอยู่ยั่งยืนต่อไป การให้ความรู้ในเรื่องข้าว และสร้างจิตสำนึกให้รู้จักรักและภาคภูมิใจในอาชีพการทำนาให้กับเยาวชนบุตรหลานชาวนาเป็นกิจกรรมสำคัญอย่างหนึ่ง ที่กรมการข้าวต้องดำเนินการ

59 ยุวชาวนา (ต่อ) แนวทางปฏิบัติ (10,000 คน)
จัดกิจกรรมให้เยาวชน นักเรียนนักศึกษาให้มาเรียนรู้และฝึกปฏิบัติการทำนาในศูนย์วิจัยข้าว โดยอาจดำเนินการ เป็นช่วงๆตั้งแต่การปลูก การดูแลรักษา (ใส่ปุ๋ย/การปราบแมลงศัตรูข้าว)ไปจนถึงการเก็บเกี่ยว และการแปรรูป จัดให้เยาวชนนักเรียนนักศึกษาไปดูกิจกรรมการทำนาของศูนย์ข้าวชุมชน ร่วมกับโรงเรียนจัดกิจกรรมเรียนรู้เรื่องการปลูกข้าวไปจนถึงการเก็บเกี่ยวหรือจัดกิจกรรมฝึกอบรมถ่ายทอดความรู้เรื่องข้าวในโรงเรียน พร้อมจัดทำเอกสารความรู้ทางวิชาการและวัฒนธรรมข้าวของไทย เผยแพร่ให้กับโรงเรียน ประสานความร่วมมือกับกระทรวงศึกษาธิการในการบรรจุเนื้อหาการปลูกข้าวไว้ในหลักสูตรของการเรียนการสอน ในชั้นประถม ศึกษาจนถึงมัธยมศึกษา โรงเรียนอาจของบประมาณสนับสนุนเพิ่มเติมจากส่วนราชการอื่น หรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รวมทั้งภาคเอกชนในการจัดกิจกรรมให้กับเยาวชนในชุมชน

60 กลยุทธ์การแปรรูป การพัฒนาผลิตภัณฑ์ การสร้างมูลค่าเพิ่ม และการตลาด
เน้นผลิตภัณฑ์ที่สะดวกแก่การบริโภค (ready to eat) และมีมูลค่าสูง (Value Added) มุ่งตลาดเฉพาะ (niche market) เช่น สินค้าที่เกี่ยวกับสุขภาพและมีความหลากหลายของผลิตภัณฑ์ ร่วมมือกับเอกชนอย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะการสร้างโรงงานต้นแบบ(pilot plant) ที่สามารถนำผลงานวิจัยไปใช้ได้จริง สร้างระบบคุณภาพมาตรฐานให้ครบวงจรตามมาตรฐานสากลตั้งแต่การผลิตวัตถุดิบ ไปจนถึงการตลาด โดยเฉพาะการผลิตแบบมีสัญญาข้อตกลง (contract farming) และมีระบบที่สามารถตรวจสอบย้อนกลับได้ (traceability) เพื่อเพิ่มความมั่นใจของผู้บริโภค จัดนิทรรศการแสดงผลงานวิจัยด้านผลิตภัณฑ์ข้าว เพื่อให้ผู้ประกอบการได้ทราบ และสนับสนุนภาคเอกชนในการเผยแพร่ผลิตภัณฑ์ข้าวให้ผู้บริโภคทราบ เพื่อเพิ่มปริมาณการใช้ข้าวในการแปรรูปมากขึ้น ซึ่งเป็นการเพิ่มมูลค่าข้าว

61 ระบบการผลิตข้าวครบวงจร
ขึ้นทะเบียน ชาวนา ตลาดเฉพาะ (niche market) ข้าวสารคุณภาพดี (Q-brand rice) ตรวจสอบย้อนกลับ ใช้เมล็ดพันธุ์ดี (Q-seed) โรงสีมาตรฐาน ที่ผ่านการตรวจรับรอง โรงสี (GMP mill) ตรวจรับรอง แปลงผลิตข้าว (Q-farm) กลุ่มศูนย์ข้าว ชุมชน ข้าวเปลือก คุณภาพดี (Q-grain) จากเมล็ดพันธุ์ดีสู่ข้าวสารที่มีคุณภาพ (from Q-seed to Q-brand rice)

62 ระบบการเตือนภัยข้าว องค์ประกอบของรายงาน องค์กรที่รับผิดชอบในพื้นที่
สถานการณ์การผลิตข้าว ได้แก่ การปลูก การเจริญเติบโต การเก็บเกี่ยวและสาเหตุเพิ่ม/ลด ของเนื้อที่และผลผลิต ภัยธรรมชาติ ได้แก่ ฝนแล้ง น้ำท่วม อากาศร้อนจัด/หนาวจัด ที่กระทบต่อเนื้อที่ปลูกและผลผลิต ภัยศัตรูข้าว โรคแมลง สัตว์ศัตรูข้าว วัชพืช มีคำแนะนำที่ควรปฏิบัติสำหรับชาวนาและผู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อลดความเสียหายจากภัยต่างๆ องค์กรที่รับผิดชอบในพื้นที่ ศูนย์วิจัยข้าว ศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าว ศูนย์ข้าวชุมชน และศูนย์เครือข่าย หน่วยงานอื่น เช่น หน่วยงานของกรมส่งเสริมการเกษตร ในพื้นที่

63 ระบบการเตือนภัยข้าว (ต่อ)
การรายงานและความถี่ โดยทาง Internet หรือวิธีอื่นๆ ที่เหมาะสม สัปดาห์ละครั้ง การเผยแพร่รายงานการเตือนภัย สำนักส่งเสริมการผลิตข้าว สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ข้าว ทำหน้าที่ประมวลผล และจัดทำรายงาน สัปดาห์ละครั้ง ศูนย์สารสนเทศ เผยแพร่ผ่านทาง Internet และสื่อสารมวลชนอื่นๆ ต่อไป

64 ระบบการรายงานสถานการณ์การตลาดและราคา
องค์ประกอบของรายงาน สถานการณ์การตลาด ได้แก่ ปริมาณที่ออกสู่ตลาด(มาก/น้อย) การรับจำนำ และปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นเกี่ยวกับการตลาด ราคาข้าวเปลือก แยกตามชนิด ระดับความชื้น และคุณภาพของข้าว ณ จุดรับซื้อระดับต่างๆ (ณ ไร่นา/โรงสี/ผู้รวบรวมในท้องถิ่น/ตลาดกลาง) องค์กรที่รับผิดชอบในพื้นที่ ศูนย์วิจัยข้าว ศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าว ศูนย์ข้าวชุมชน / เครือข่าย ศูนย์บริการชาวนา / เครือข่าย

65 ระบบการรายงานสถานการณ์การตลาดและราคา (ต่อ)
การเผยแพร่และรายงานสถานการณ์การตลาด และราคา ประมวลผล วิเคราะห์ และจัดทำรายงานโดยสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ข้าว โดยมีการประสานงานกับ สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร เพื่อการทำงานอย่างบูรณาการและลดความซ้ำซ้อนของงาน ความถี่ของการรายงานจะมี 4 ประเภท รายวัน เน้นเฉพาะราคา ณ จุดรับซื้อ เช่น โรงสี และท่าข้าว ที่สำคัญ รายสัปดาห์ เป็นข้อมูลราคา ณ ไร่นา โดยใช้ข้อมูลราคา ณ วันอ้างอิง วันใดวันหนึ่งของสัปดาห์เพียงวันเดียว (เป็นตัวแทนข้อมูลประจำสัปดาห์)

66 ระบบการรายงานสถานการณ์การตลาดและราคา (ต่อ)
การเผยแพร่และรายงานสถานการณ์การตลาดและ ราคา (ต่อ) มีราคาขายส่งข้าวสารใน กทม. (ข้อมูลจากสมาคมโรงสีข้าวไทย) มีราคาส่งออก (FOB) ของไทยและของประเทศ ผู้ส่งออกที่สำคัญ (ข้อมูลจากกรมการค้าต่างประเทศ) มีข่าวสารที่สำคัญที่เกี่ยวกับข้าวอยู่ในรายงาน รายเดือน มีข้อมูลราคาเฉลี่ยรายเดือนจากข้อมูลรายสัปดาห์ มีบทวิเคราะห์สถานการณ์ข้าวไทยในรอบเดือน ที่ผ่านมา รายไตรมาส มีบทวิเคราะห์สถานการณ์และแนวโน้มของการผลิตและราคาข้าวในอนาคต

67 ระบบการตรวจติดตามและนิเทศงาน
คณะกรรมการอำนวยการตรวจติดตามและนิเทศงาน องค์ประกอบ รองอธิบดีกรมการข้าวที่ได้รับมอบหมาย เป็นประธาน ผอ.สำนักทุกสำนัก เป็นกรรมการ ผอ.สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ข้าว เป็นกรรมการและเลขานุการ ผู้แทนสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ข้าว เป็นกรรมการและ ผู้ช่วยเลขานุการ หน้าที่ อำนวยการตรวจติดตามและนิเทศงานของกรมการข้าว กำหนดตัวชี้วัด แบบฟอร์มการรายงานผลการปฏิบัติงาน มอบหมายงานให้คณะทำงานตรวจติดตามและนิเทศงานไปปฏิบัติ รายงานผลการตรวจติดตามและนิเทศงานให้อธิบดีกรมการข้าวทราบ

68 ระบบการตรวจติดตามและนิเทศงาน (ต่อ)
คณะทำงานตรวจติดตามและนิเทศงาน องค์ประกอบ ผู้แทนของทุกสำนักที่เป็นข้าราชการไม่ต่ำกว่าระดับ และให้เลือกผู้ที่เหมาะสมเป็นหัวหน้าคณะและ เลขานุการทำงานแต่ละคณะ ให้มีจำนวนคณะทำงานตามความเหมาะสม หน้าที่ ออกตรวจติดตามและนิเทศงานในพื้นที่ ตามที่ได้รับมอบหมาย จากคณะกรรมการอำนวยการ วิเคราะห์ข้อมูลและรายงานผลการตรวจติดตามให้ คณะกรรมการอำนวยการทราบ ปฏิบัติงานอื่นๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย

69 ระบบการตรวจติดตามและนิเทศงาน (ต่อ)
ภารกิจ ติดตามผลตามตัวชี้วัดของ กพร.(KPI) ของกรมการข้าว ติดตามผลการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ข้าวไทยในส่วนของกรมการข้าว ติดตามผลการดำเนินงานตามนโยบายของกรมการข้าว เช่น งานให้บริการของศูนย์บริการชาวนา งานตรวจเยี่ยมศูนย์ข้าวชุมชนของศูนย์วิจัยข้าวและศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าว งานรายงานสถานการณ์การตลาดและราคาข้าว งานรายงานสถานการณ์การผลิตและการเตือนภัยข้าว ติดตามการใช้จ่ายงบประมาณของกรมการข้าว งานเฉพาะกิจอื่นที่ได้รับมอบหมาย

70 ข้อสังเกตส่งท้าย เรื่องที่นำเสนอในเอกสารนี้อาจจะยังไม่ครบทุกประเด็น โดยเฉพาะ ภารกิจที่เป็นงานปกติ ซึ่งจะต้องมีการปรับปรุงและพัฒนากันต่อไปด้วยเช่นเดียวกัน เช่น ระบบสารสนเทศและการพัฒนาบุคลากรของกรมเป็นต้น ประเด็นที่นำเสนอในที่นี้ หลายเรื่องเป็นกลยุทธ์ภายใต้ยุทธศาสตร์ข้าวไทย ซึ่งคณะรัฐมนตรีเห็นชอบในหลักการแล้ว เมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน 2550 เพียงแต่ยังไม่มีรายละเอียด ซึ่งในเอกสารนี้จะให้เพียงแนวคิดและแนวทางปฏิบัติเท่านั้น ผู้รับผิดชอบในแต่ละเรื่อง “ต้องไปจัดทำเป็นเอกสาร” ที่มีรายละเอียดถึงวิธีปฏิบัติและเป้าหมายที่ชัดเจนเสนอกรมการข้าวเพื่อพิจารณาดำเนินการต่อไป ถ้าหากข้าราชการ พนักงานราชการและลูกจ้างกรมการข้าว ทุกคน มีความตั้งใจจริง ทำงานด้วยความเสียสละและมี “ทัศนคติ” ที่ดีต่อกันแล้ว กรมการข้าว ก็จะเป็นองค์กรที่มีวัฒนธรรมการทำงานที่ดี นำไปสู่ความสำเร็จ ตามวัตถุประสงค์หรือความคาดหวังในการจัดตั้งกรมการข้าวในที่สุด


ดาวน์โหลด ppt นโยบายการทำงานของกรมการข้าว

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google