งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

Counseling Schizophrenia

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "Counseling Schizophrenia"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 Counseling Schizophrenia
ภญ.ธัญนันท์ เดชานุภาพฤทธา งานบริบาลเภสัชกรรมผู้ป่วยจิตเวช โรงพยาบาลสกลนคร

2 Schizophrenia (โรคจิตเภท)
โรคจิตเภท คือโรคจิตชนิดหนึ่ง ที่มีความคิดแปลก-แยก จากความเป็นจริง ส่งผลให้มีพฤติกรรมแปลกประหลาด แสดงออกไม่เหมาะสม เช่น พูดไม่ปะติดปะต่อ พูดและ ยิ้มคนเดียว แยกตัวจากสังคม หวาดระแวงคนรอบข้าง ไม่สนใจดูแลตัวเอง พฤติกรรมถดถอยเป็นเด็ก ไม่ค่อยมี การตอบสนองทางอารมณ์ การทำงานบกพร่อง

3 สาเหตุการเกิดโรค ปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุการเกิดโรคที่แท้จริง แต่ทราบว่าเกิดจากสาเหตุร่วมกัน เช่น - ความผิดปกติของสารสื่อประสาทในสมอง - พันธุกรรม - จิตสังคม เช่น ความสัมพันธ์ที่ไม่สนิทดีนักกับมารดา ความกดดันทางอารมณ์ในครอบครัว ความเครียด เป็นต้น

4 อาการของโรคจิตเภท อาการทางบวก (positive symptoms) : อาการที่คนปกติไม่มี แต่ผู้ป่วยมี อาการหลงผิด เชื่อในเรื่องที่ไม่เป็นความจริง อาการประสาทหลอน อาจได้ยินเสียงแว่วหรือเห็นภาพหลอน การพูดผิดปกติ เช่นพูดด้วยภาษาแปลกๆสร้างขึ้นเอง มีพฤติกรรมการเคลื่อนไหวแบบไม่มีเป้าหมายหรือวิตถาร

5 อาการของโรคจิตเภท อาการทางลบ (negative symptoms) : อาการที่คนปกติมี แต่ผู้ป่วยขาดหายไป การตอบสนองทางอารมณ์ลดลงหรือไร้อารมณ์ ไม่อยากเข้าสังคมหรือแยกตนเอง ไม่สบตาคน ไม่ดูแลตัวเอง ไม่อาบน้ำ ไม่โกนหนวด กลางคืนไม่นอน ไม่มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ เหม่อลอย สมาธิไม่ดี พูดไม่ค่อยรู้เรื่อง ไม่ยอมรับตนเองว่าผิดปกติ จึงไม่ยอมรักษาหรือรับการช่วยเหลือ

6 การรักษาโรคจิตเภท 1.การรักษาด้วยยารักษาโรคจิต โดยทั่วไปมี 2 กลุ่ม กลุ่มดั่งเดิม ออกฤทธิ์ยับยั้งการทำงานของระบบโดปามีน ได้แก่ chlorpromazine, perphenazine, thioridazine, haloperidol, trifluoperazine ซึ่งอาจพบอาการข้างเคียงได้แก่ ง่วงนอน ความดันต่ำ ท้องผูก ปากแห้ง ตาพร่า ตัวเกร็ง เคลื่อนไหวช้า มือสั่น กระวนกระวาย นั่งอยู่ไม่สุข

7 การรักษาโรคจิตเภท 1.การรักษาด้วยยารักษาโรคจิต โดยทั่วไปมี 2 กลุ่ม กลุ่มใหม่ ออกฤทธิ์ยับยั้งการทำงานทั้งระบบโดปามีน และเซโรโทนิน ใช้รักษาอาการโรคจิตทางบวกระยะ เฉียบพลันและป้องกันการกำเริบซ้ำได้แก่ quetiapine, olanzapine, risperidone, ziprasidone, clozapine อาจพบอาการข้างเคียงได้แก่ ง่วงนอน น้ำหนักเพิ่ม คลื่นไส้ อาเจียน ปวกมึนศรีษะ เม็ดเลือดขาวต่ำ

8 การรักษาโรคจิตเภท 2.การรักษาด้วยการทำให้ชักด้วยไฟฟ้า 3.การรักษาทางจิตสังคม การให้ความรู้ด้านโรคและแนวทางการรักษา พฤติกรรมบำบัด กลุ่มบำบัด จิตบำบัด ครอบครัวบำบัด ฟื้นฟูสมรรถภาพทางเชาว์ปัญญา ฝึกอาชีพและมีระบบรับจ้างงานผู้ป่วย

9 การให้คำแนะนำปรึกษา ประเด็น Counseling : 1.สภาวะโรค และการดำเนินโรค - สารสื่อประสาท กับอาการที่เกิดกับผู้ป่วย 2.การออกฤทธิ์ของยาและผลจากยา - ยาไปช่วยให้อาการของผู้ป่วยดีขึ้นอย่างไร - ระยะเวลาที่ยาจะออกฤทธิ์ 3.อาการข้างเคียงและการแก้ไขเบื้องต้น - ง่วงนอน, Anticholinergic, EPS 4.วิธีรับประทานยา และความสำคัญของการรับประทานยาต่อเนื่อง

10 Side effect of Dopamine antagonists
Dopamine antagonist : chlorpromazine, perphenazine, thioridazine, haloperidol, trifluoperazine Extrapyramidal symptom(EPS) ปากแข็ง ลิ้นแข็ง น้ำลายไหล กลืนลำบาก 1.Akathisia 2.Psuedoparkinsonism 3.Acute dystonia 4.Tardive dyskinesia

11 1.Akathisia : กระวนกระวาย ผุดลุกผุดนั่ง ซอยเท้า
แนวทางการแนะนำเบื้องต้น พบในช่วงแรกของการได้รับยา และจะดีขึ้นภายใน 2-3 อาทิตย์ ยาที่ใช้รักษาอาการ Akathisia ได้แก่ Propanolol(10) 1x2 หรือ 1x3 ร่วมกับอาจให้ BZD เช่นให้ Diazepam(2) 1x2 หรือ 1x3 (เลือกตัวใดตัวหนึ่งหรือทั้งสองตัว)

12

13 2.Psuedoparkinsonism : เดินตัวแข็ง มือ/ขาสั่น
แนวทางการแนะนำเบื้องต้น ทดลองเพิ่มยา Artane, Benzhexol, Benadryl (กรณีที่ไม่สามารถมาพบแพทย์ได้) ให้ผู้ป่วยรับประทาน Artane หรือ Benzhexol เพิ่มจากเดิมอีก 2-5 mg/day ได้ถึง 15 mg/day

14

15 3.Acute dystonia : กล้ามเนื้อเกร็ง
มักเป็นบริเวณคอ หลัง และ lateral ocular muscle แนวทางการแนะนำเบื้องต้น - ให้รีบพาผู้ป่วยไปโรงพยาบาลใกล้บ้านและแพทย์จะฉีดยาบรรเทาอาการ - การรักษา ได้แก่ Cogentin 1 amp หรือ Benadryl 50 mg iv/im หรือ Diazepam 1 amp iv slowly push - ให้ผู้ป่วยรับประทาน Artane หรือ Benzhexol เพิ่มจากเดิมอีก 2-5 mg/day ได้ถึง 15 mg/day

16

17 4.Tardive dyskinesia : การเคลื่อนไหวผิดปกติ
อาการดูดริมฝีปาก การเคลื่อนไหวผิดปกติ ที่ไม่มีวัตถุประสงค์ แนวทางการแนะนำเบื้องต้น - กรณีที่เป็นแต่แรกๆ ให้ส่งพบจิตแพทย์ ซึ่งอาจจะช่วยทำให้อาการหายไปได้ - จิตแพทย์จะพิจารณา เปลี่ยนยาเป็น Atypical antipsychotic (Clozapine)

18

19 Sedation : ง่วงนอน ผลจากการ block Histamine receptor
แนวทางการแนะนำเบื้องต้น -หากจำเป็นต้องลดยาจริงๆ ตัวที่ลดได้ได้แก่ Diazepam, Lorazepam, Chlodiazepoxide, Chlopromazine, thioridazine - หลีกเลี่ยงการลดยา Perphennazine, Haloperidol, Trifluoperazine, Clozapine, Risperidone เพราะ”อาการทางจิตอาจกำเริบ” แนะนำผู้ป่วยหรือญาติแจ้งจิตแพทย์เมื่อมาตรวจ

20 Anticholinergic effect
ผลจากการ block Mascarinic receptor แนวทางการแนะนำเบื้องต้น -ปากแห้ง คอแห้ง : จิบน้าบ่อยๆ อมลูกอม เคี้ยวหมากฝรั่ง -ท้องผูก : ทานอาหารที่มีกากเยอะๆ ดื่มน้ามากๆ ออก กำลังกาย -กรณีปัสสาวะลำบาก: ส่งปรึกษาแพทย์เพื่อ R/O cystitis ก่อน หากเป็นจากยา พิจารณาลดยา Chlopromazine, Thioridazine, หรือยาอื่นๆที่มีผลเช่น Artane, Amitryptilline -ตาลาย : ส่งตรวจหาสาเหตุจากโรคตา หากไม่ใช่โรคตา อาจส่งปรึกษาแพทย์เพื่อพิจารณาลดยา Chlopromazine, Thioridazine, หรือยาอื่นๆที่มีผลเช่น Artane, Amitryptilline

21 วิธีการสังเกตอาการกลับเป็นซ้า โดยอาจเกิดจาก
การให้คำแนะนำปรึกษา วิธีการสังเกตอาการกลับเป็นซ้า โดยอาจเกิดจาก Inadequate dose หรือ nonadherence การพูด : พูดเพ้อเจ้อ พูดคนเดียว ซึมมากไม่พูดคุย พฤติกรรม : มีพฤติกรรมแปลกๆ เช่น เอะอะโวยวาย คลุ้มคลั่ง หูแว่ว อารมณ์หงุดหงิด ฉุนเฉียว หัวเราะ ยิ้มคนเดียว ซึมเศร้า เบื่อหน่ายท้อแท้ กลางคืนไม่นอน ท่าทาง : มึนงง สับสน เหม่อลอย ความคิดผิดปกติ : หวาดระแวง ประสาทหลอน กลัวผิดปกติ มีความคิดอยากตาย

22 ประสบการณ์จากการให้คำปรึกษา
ผู้ป่วยจิตเวชมักปฏิเสธความเจ็บป่วยของตัวเอง การสื่อสารกับผู้ป่วยอาจเน้นไปที่ลักษณะอาการที่เป็น (หรือสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการ) มากกว่าการบอกว่าเป็นโรคอะไร(Stigma) สร้างเป้าหมายของผู้ป่วย เช่น ลดผลกระทบจากอาการที่ผู้ป่วยเป็น(ผลกระทบต่อตัวผู้ป่วยเองและญาติ) และช่วยส่งเสริมให้ผู้ป่วยไปถึงเป้าหมายที่ตั้งไว้ ครอบครัวและชุมชนมีส่วนสำคัญต่อความร่วมมือในการรักษาของผู้ป่วย

23 ประสบการณ์จากการให้คำปรึกษา(ต่อ)
ญาติมีส่วนสำคัญอย่างมากในการรับประทานยาของผู้ป่วยจิตเวช (ทั้งในตอน Acute และระยะยาว เพื่อป้องกันการกำเริบ) กรณีที่ได้รับยาฝ่ายกายต้องแนะนำว่าใช้ร่วมกับยาจิตเวชได้ การ Counseling เพื่อให้เกิดความร่วมมือนั้นต้องใช้เวลานาน

24 ประสบการณ์จากการให้คำปรึกษา(ต่อ)
Nonadherence - อาการดีขึ้นจึงหยุดยา - ดื่มเหล้าจึงหยุดกินยาจิตเวช - นอนหลับได้ ไม่เครียด จึงไม่กินยา - เกิดอาการข้างเคียงจึงหยุดยา หรือกินบางเวลา ในรายที่มีปัญหายุ่งยากซับซ้อน ควรมีการดูประวัติเพิ่มเติมใน OPD card เพื่อพิจารณาสาเหตุอื่นๆร่วม เช่น ปัญหาครอบครัว อาจดูที่ Family History และการช่วยกันแก้ไขปัญหาอาจจะต้องทำในรูปแบบของสหสาขาวิชาชีพ

25 ขอบคุณที่ตั้งใจฟังค่ะ


ดาวน์โหลด ppt Counseling Schizophrenia

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google