งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พุทธรักษ์ ปราบนอก

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พุทธรักษ์ ปราบนอก"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พุทธรักษ์ ปราบนอก
วัฒนธรรม ความหมาย ลักษณะ ประเภท ความสำคัญ โดย…. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พุทธรักษ์ ปราบนอก

2 ความหมาย วัฒน (ไทย) มาจาก วฑฺฒน (บาลี) / วรฺธน (สันสกฤต)
ธรรม (ไทย) มาจาก ธมฺม (บาลี) / ธรฺม (สันสกฤต) วฑฺฒนธมฺม (บาลี) / วรฺธนธรฺม (สันสกฤต) แปลว่า ธรรมเป็นเหตุให้เจริญ / ธรรมคือความเจริญงอกงามที่มนุษย์ทำให้เกิดขึ้น

3 คำว่า วัฒนธรรม เป็นชื่อรวมสำหรับแบบอย่างของพฤติกรรมทั้งหลายที่ได้มาและถ่ายทอดกันไปทางสังคมโดยอาศัยสัญลักษณ์ เช่น การทำเครื่องมือ ศิลปะ วิทยาศาสตร์ กฎหมาย การปกครอง ศีลธรรมและศาสนา รวมทั้งอุปกรณ์ที่เป็นวัตถุหรือสิ่งประดิษฐ์ ซึ่งแสดงรูปแบบแห่งสัมฤทธิ์ผลทางวัฒนธรรม (ราชบัณฑิตยสถาน)

4 วัฒนธรรม หมายถึง วิธีการดำรงชีวิตของมนุษย์ที่แสดงถึงความเจริญงอกงามในการอยู่ร่วมกัน เป็นการสร้างสรรค์ของมนุษย์ที่แสดงออกในลักษณะของวัตถุและไม่ใช่วัตถุ แล้วถ่ายทอดสืบต่อกันมา (พระราชบัญญัติวัฒนธรรม 2485)

5 ลักษณะของวัฒนธรรม 1. เป็นพฤติกรรมที่เกิดจากการเรียนรู้
1. เป็นพฤติกรรมที่เกิดจากการเรียนรู้   2. เป็นมรดกของสังคม / มีการถ่ายทอด 3. เป็นวิถีชีวิต / เป็นแบบแผนการดำเนินชีวิต 4. มีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ

6 ประเภทของวัฒนธรรม  1. วัฒนธรรมทางวัตถุ        2. วัฒนธรรมที่ไม่ใช่วัตถุ / วัฒนธรรมทางจิตใจ

7 ประเภทของวัฒนธรรม 1. วัตถุธรรม   2. คติธรรม 3. สหธรรม 4. เนติธรรม

8 การจัดประเภทตามเนื้อหา
1. วัตถุธรรม เป็นวัตถุธรรมทางวัตถุที่สมาชิกร่วมกันประดิษฐ์และกำหนดความหมาย หรือวิธีการนำไปใช้ เช่น บ้านเรือน เครื่องแต่งกาย ถนนหนทาง และสิ่งประกอบความเป็นอยู่ทุกชนิด  รวมถึงเครื่องอุปโภคบริโภค 2. คติธรรม เป็นวัฒนธรรมที่เกี่ยวกับหลักในการดำเนินชีวิต คุณธรรมทางจิตใจ อันเป็นคติหรือหลักการดำเนินชีวิต ส่วนใหญ่ได้มาจากศาสนาเช่น ความเมตตากรุณา ความกตัญญูกตเวที เป็นต้น

9 3. เนติธรรม เป็นวัฒนธรรมทางกฎหมาย และระเบียบข้อบังคับกฎเกณฑ์หรือขนบธรรมเนียมประเพณีที่มีความสำคัญเสมอด้วยกฎหมาย กล่าวคือ บางอย่างแม้ไม่มีกฎหมายห้าม แต่ถ้าใครปฏิบัติก็เป็นที่รังเกียจของสังคม เพราะถือกันว่าไม่ดี ไม่เหมาะสมหรือที่เราเรียกว่า จารีต นั่นเอง

10 4. สหธรรม เป็นแนวทางของการดำเนินชีวิต มารยาทที่พึงปฏิบัติในการอยู่ร่วมกันกับผู้อื่นในสังคมและประเพณีต่างๆ เช่น มารยาทในการเข้าหาผู้ใหญ่ มารยาทในโต๊ะอาหาร มารยาท  ในการเข้าสังคม เป็นต้น

11 (สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ (พ.ศ. 2522)
ประเภทของวัฒนธรรม (สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ (พ.ศ. 2522)  1. วัฒนธรรมด้านศิลปะ ได้แก่ ภาษา ดนตรี วรรณคดี ฟ้อนรำละคร วิจิตรศิลป์ ประติมากรรม   2. วัฒนธรรมด้านมนุษยศาสตร์ ได้แก่ ขนบธรรมเนียมประเพณี คุณธรรมศีลธรรม ศาสนา ปรัชญา โบราณคดี มารยาทในในสังคม การปกครอง กฎหมาย 

12 3. วัฒนธรรมด้านการช่างฝีมือ ได้แก่ การเย็บปักถักร้อย การแกะสลัก ทอผ้า จักสาน เครื่องเขียน เครื่องเงิน เครื่องทองการจัดดอกไม้ ตุ๊กตา เครื่องปั้นดินเผา 4. วัฒนธรรมกีฬาและนันทนาการ ได้แก่ มวยไทย ฟันดาบ กระบี่กระบอง  5. วัฒนธรรมคหกรรมศิลป์ เช่น ความรู้เรื่องอาหาร เสื้อผ้า ยา การดูแลเด็ก มารยาท การรับแขก และการรู้จักประกอบอาชีพ

13 1. เป็นประโยชน์ต่อการดำรงชีวิต
ความสำคัญของวัฒนธรรม  1. เป็นประโยชน์ต่อการดำรงชีวิต     2. ทำหน้าที่หล่อหลอมบุคลิกภาพให้กับสมาชิกในสังคม     3. ก่อให้เกิดความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน

14 1. สิ่งแวดล้อมทางภูมิศาสตร์ 2. ระบบการเกษตรกรรม 3. ค่านิยม
ที่มาของวัฒนธรรมไทย  1. สิ่งแวดล้อมทางภูมิศาสตร์     2. ระบบการเกษตรกรรม     3. ค่านิยม 4. การเผยแพร่ทางวัฒนธรรม 5. ศาสนาพราหมณ์ 6. พุทธศาสนา  7. วัฒนธรรมตะวันตก 

15 วัฒนธรรมทางวัตถุของชาวอีสาน
เครื่องแต่งกายและการแต่งกาย การงานและการประกอบอาชีพ ที่อยู่อาศัย ศิลปวัตถุและศาสนสถาน จิตรกรรม อาหารการกิน

16 วัฒนธรรมทางคติธรรมของชาวอีสาน
คติเกี่ยวกับความเชื่อ การถือเรื่องทิศทาง การถือเรื่องวัน – เดือน - ปี การถือโสก คติคำสอน

17 วัฒนธรรมทางเนติธรรมของชาวอีสาน
ฮีตสิบสอง / จารีตประเพณี คองสิบสี่

18 วัฒนธรรมทางสังคม /สหธรรมของชาวอีสาน
ความเกี่ยวพันธ์กันในฐานะเครือญาติ ประเพณีที่เอื้ออำนวยต่อมนุษยสัมพันธ์ นันทนาการ การกีฬา / การละเล่น ดนตรีอีสาน

19 อย่าปล่อยวันผ่านไปโดยไม่อ่าน อย่าปล่อยวารผ่านไปโดยไม่เขียน
ฝากให้คิด อย่าปล่อยวันผ่านไปโดยไม่อ่าน อย่าปล่อยวารผ่านไปโดยไม่เขียน อย่าปล่อยชีพผ่านไปโดยไม่เรียน อย่าหมุนเวียนเรียนไปโดยไม่คิด


ดาวน์โหลด ppt ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พุทธรักษ์ ปราบนอก

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google