งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

สำนักการสอบสวนและนิติการ กรมการปกครอง พระราชบัญญัติโรงแรม พ.ศ.2547

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "สำนักการสอบสวนและนิติการ กรมการปกครอง พระราชบัญญัติโรงแรม พ.ศ.2547"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 สำนักการสอบสวนและนิติการ กรมการปกครอง พระราชบัญญัติโรงแรม พ.ศ.2547
The Investigation and legal affair Bureau, Department of Provincial Administration พระราชบัญญัติโรงแรม พ.ศ.2547 รณภพ เวียงสิมมา ผอ.ส่วนรักษาความสงบเรียบร้อย 3 โทร

2 นายรณภพ เวียงสิมมา ผอ.ส่วนรักษาความสงบเรียบร้อย 3 สำนักการสอบสวนและนิติการ กรมการปกครอง
โทรศัพท์ มือถือ

3 ขอบเขตการบรรยาย โรงแรม ? การขออนุญาต ? การต่ออายุใบอนุญาต ?
การแจ้งผู้จัดการ ? หน้าที่ผู้รับอนุญาตและผู้จัดการ ? หน้าที่ผู้จัดการโดยเฉพาะ ? การจัดทำทะเบียนผู้พัก ? พนักงานเจ้าหน้าที่ ? การตรวจโรงแรม ? การพักใช้ใบอนุญาต ? การเพิกถอนใบอนุญาต ? การอุทธรณ์ ? บทกำหนดโทษ บทเฉพาะกาล ? ประเภทและหลักเกณฑ์การประกอบธุรกิจโรงแรม ค่าธรรมเนียม

4 สรุปสาระสำคัญ 1) มีผลใช้บังคับเมื่อพ้น 180 วัน นับแต่วันถัดจากวันประกาศ ในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป (ใช้บังคับตั้งแต่ วันที่12 พฤษภาคม 2548 เป็นต้นไป) 2) ยกเลิก พ.ร.บ.โรงแรม พุทธศักราช 2478

5 4) กำหนดให้มี คณะกรรมการส่งเสริมและกำกับธุรกิจโรงแรม
3) ปรับปรุงนิยามของคำว่า โรงแรม ให้ชัดเจนและ สอดคล้องกับสภาพการประกอบธุรกิจในปัจจุบัน 4) กำหนดให้มี คณะกรรมการส่งเสริมและกำกับธุรกิจโรงแรม 5) กำหนดประเภทโรงแรมและหลักเกณฑ์มาตรฐานเกี่ยวกับ สถานที่ตั้ง ขนาด ลักษณะ สิ่งอำนวยความสะดวกและมาตรฐานการประกอบธุรกิจ หรือ การห้ามประกอบกิจการอื่นใดในโรงแรม

6 สำนักการสอบสวนและนิติการ กรมการปกครอง
The Investigation and legal affair Bureau, Department of Provincial Administration 6) กำหนดเขตท้องที่ที่ห้ามออกใบอนุญาตระกอบธุรกิจโรงแรม 7) ปรับปรุงระบบการยื่นคำขอและการพิจารณาออกใบอนุญาต ประกอบธุรกิจโรงแรมให้มีความสะดวกและรวดเร็วยิ่งขึ้น ในลักษณะ ONE STOP SERVICE 8) เปลี่ยนอายุใบอนุญาตจากเดิมสิ้นอายุภายในวันที่ ธันวาคมเป็น ให้มีอายุห้าปีนับแต่วันที่ออกใบอนุญาต

7 สำนักการสอบสวนและนิติการ กรมการปกครอง
The Investigation and legal affair Bureau, Department of Provincial Administration 9) กำหนดคุณสมบัติผู้ประกอบธุรกิจโรงแรม และ คุณสมบัติผู้จัดการโรงแรม 10) กำหนดบทกำหนดโทษ โดยกำหนดให้มีโทษ ปรับทางปกครอง และโทษอาญา

8 สำนักการสอบสวนและนิติการ กรมการปกครอง
The Investigation and legal affair Bereau, Department of Provincial Aministration 11) ปรับปรุงอัตราค่าธรรมเนียมใบอนุญาต อัตราสูงสุด ฉบับละ 50,000 บาท และ ค่าธรรมเนียมรายปีๆละ 80 บาทต่อห้อง ******

9 พระราชบัญญัติโรงแรม พ.ศ.2547
( 65 มาตรา) นิยามศัพท์ หมวด 1 คณะกรรมการส่งเสริมและกำกับธุรกิจโรงแรม หมวด 2 การประกอบธุรกิจโรงแรม หมวด 3 การบริหารจัดการโรงแรม หมวด 4 การควบคุมและการอุทธรณ์ หมวด 5 พนักงานเจ้าหน้าที่ หมวด 6 บทกำหนดโทษ (ส่วนที่ 1 บททั่วไป ส่วนที่ 2 โทษทางปกครอง และส่วนที่ 3 โทษอาญา) บทเฉพาะกาล

10 โรงแรม ?

11 ประเภทที่พักแรม บ้านพักอุทยานแห่งชาติ
บ้านพักสวัสดิการข้าราชการทหาร/พลเรือน/รัฐวิสาหกิจ บ้านพักสหกรณ์ออมทรัพย์ บ้านเช่ารายวัน/สัปดาห์/เดือน บ้านพักเยาวชน Y.m.c.a โรงแรมตามสถานศึกษา แพพัก ที่พักในยานพาหนะ เรือสำราญ รถไฟ รถยนต์ เครื่องบิน ฯลฯ

12 ประเภทที่พักแรม Boutique Hotel Hotel Business/Commercial hotel Hostel
Tourist hotel Convention hotel Conference hotel Hospitel Long stay Residential Casino hotel Hotel Hostel Resort Motel Inn Guesthouse Home stay Service Apartment Mansion Condotel

13 คำนิยามศัพท์ คำนิยามศัพท์

14 “โรงแรม” หมายความว่า สถานที่พัก ที่จัดตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ในทางธุรกิจ เพื่อให้บริการ ที่พักชั่วคราวสำหรับคนเดินทางหรือบุคคลอื่นใด โดยมีค่าตอบแทน (มาตรา 4)

15 องค์ประกอบ “โรงแรม” 1. สถานที่พัก 2. มีวัตถุประสงค์ในทางธุรกิจ 3
องค์ประกอบ “โรงแรม” 1. สถานที่พัก 2. มีวัตถุประสงค์ในทางธุรกิจ 3. ให้บริการที่พักชั่วคราว 4. สำหรับคนเดินทางหรือบุคคลอื่นใด 5. โดยมีค่าตอบแทน

16 ข้อยกเว้น 1) สถานที่พักของหน่วยงานรัฐ โดยมิใช่เป็นการหาผลกำไร หรือรายได้มาแบ่งปันกัน 2) สถานที่พักที่คิดค่าบริการเป็นรายเดือนขึ้นไปเท่านั้น 3) สถานที่พักอื่นใดตามที่กำหนดในกฎกระทรวง

17 ตารางเปรียบเทียบ

18 สำนักการสอบสวนและนิติการ กรมการปกครอง คณะกรรมการส่งเสริมและกำกับ
The Investigation and legal affair Bureau, Department of Provincial Administration หมวด 1 คณะกรรมการส่งเสริมและกำกับ ธุรกิจโรงแรม มาตรา 6-12

19 คณะกรรมการส่งเสริมและกำกับธุรกิจโรงแรม

20 คณะกรรมการมีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
1) ให้คำแนะนำแก่รัฐมนตรีในการออกกฎกระทรวง ตามมาตรา 13 (กำหนดประเภทโรงแรม หลักเกณฑ์และเงื่อนไขเกี่ยวกับสถานที่ตั้ง ขนาด ลักษณะ สิ่งอำนวยความสะดวก หรือมาตรฐานการประกอบธุรกิจโรงแรม การห้ามประกอบกิจการอื่นใดในโรงแรม) 2) ให้คำแนะนำแก่รัฐมนตรีในการออกประกาศกำหนดเขตท้องที่หนึ่งท้องที่ใดเป็นเขตงดออกใบอนุญาตตามมาตรา 14 3) พิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์คำสั่งของนายทะเบียน 4) เสนอแผนและมาตรการต่างๆ เกี่ยวกับการส่งเสริมและกำกับดูแลธุรกิจ รร.

21 คณะกรรมการมีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
5) เสนอความเห็นเกี่ยวกับการปรับปรุงแก้ไขกฎหรือประกาศ กระทรวง 6) ปฏิบัติการอื่นใดตามกฎหมายให้อำนาจตามที่รัฐมนตรีมอบหมาย 7) ประกาศกำหนดคุณสมบัติของผู้จัดการโรงแรม (ม.33(2)) 8) ประกาศกำหนดเหตุปฏิเสธการเข้าพักโรงแรมของผู้จัดการ(ม.39(4))

22 สำนักการสอบสวนและนิติการ กรมการปกครอง การประกอบธุรกิจโรงแรม
The Investigation and legal affair Bureau, Department of Provincial Administration หมวด 2 การประกอบธุรกิจโรงแรม มาตรา 13-29

23 การขออนุญาตประอบธุรกิจโรงแรม
พรบ.โรงแรม พ.ศ.2547 พรบ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 พรบ.ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ.2535 พรบ.การผังเมือง พ.ศ.2518 พรบ.การสาธารณสุข พ.ศ.2535

24 ห้ามมิให้ผู้ใดประกอบธุรกิจโรงแรม เว้นแต่ได้รับใบอนุญาตจากนายทะเบียน
มาตรา 15 ห้ามมิให้ผู้ใดประกอบธุรกิจโรงแรม เว้นแต่ได้รับใบอนุญาตจากนายทะเบียน ฝ่าฝืนมีโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี ปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และปรับอีกวันละไม่เกิน 10,000 บาท (ม.59)

25 นายทะเบียนโรงแรม ?

26 กทม. จังหวัดอื่น นายทะเบียนโรงแรม (อธิบดีกรมการปกครอง)
สำนักการสอบสวนและนิติการ กรมการปกครอง The Investigation and legal affair Bureau, Department of Provincial Administration นายทะเบียนโรงแรม กทม. (อธิบดีกรมการปกครอง) จังหวัดอื่น (ผู้ว่าราชการจังหวัด)

27 การยื่นขออนุญาตประกอบธุรกิจโรงแรม
ผู้ขออนุญาต ยื่นคำขอ ตามแบบ ร.ร.1 อำเภอ ศูนย์บริการ ปชช. ตรวจสอบ อาคาร/สถานที่ นายทะเบียน คณะกรรมการกลั่นกรอง ไม่อนุญาตแจ้งคำสั่งเป็นหนังสือ 1. เหตุผล 2. สิทธิอุทธรณ์ อนุญาตแจ้งให้ผู้ขออนุญาตทราบ และชำระค่าธรรมเนียม

28 หน่วยงานที่รับผิดชอบ
การขอใบอนุญาตใหม่ 1.ตรวจภายคำขอภายใน 5 วัน 2.หากไม่ถูกต้องแจ้งให้แก้ไข ภายในระยะเวลาที่กำหนด 3.กรณีถูกต้องส่งให้หน่วยงาน ที่รับผิดชอบตรวจสอบ 4.ตรวจสถานที่ 5.อนุญาต/ไม่อนุญาตภายใน 30 วัน นับแต่หน่วยงานที่รับผิดชอบแจ้ง นายทะเบียน ผู้ขออนุญาต 1.ยื่นคำขออนุญาตประกอบธุรกิจ รร. และคำขออนุญาตตาม กม. อื่น 2.คุณสมบัติตาม ม.16 3.หลักฐานครบตามเงื่อนไข ที่ประกาศกระทรวงกำหนด (ม.15) หน่วยงานที่รับผิดชอบ 1.ตรวจตามหลักเกณฑ์ที่ กม. กำหนด 2.หากไม่ถูกต้องแจ้งผู้ขออนุญาแก้ไขภายในเวลาที่กำหนด 3.แจ้งนายทะเบียนทราบ 4.กรณีถูกต้องหรือแก้ไขเรียบร้อยให้แจ้งนายทะเบียนโดยไม่ชักช้า

29 คุณสมบัติของผู้ขอรับใบอนุญาต
1) มีอายุไม่ต่ำกว่ายี่สิบปีบริบูรณ์ 2) มีภูมิลำเนาหรือถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักรไทย 3) ไม่เป็นบุคคลล้มละลาย 4) ไม่เป็นคนไร้ความสามารถหรือคนเสมือนไร้ความสามารถ 5) ไม่เคยได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุด เว้นแต่ ความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ

30 คุณสมบัติของผู้ขอรับใบอนุญาต
6) ไม่เคยต้องคำพิพากษาถึงที่สุดว่าเป็นผู้กระทำผิดในความผิดเกี่ยวกับ เพศ / ยาเสพติด / ค้าหญิงและเด็ก / ค้าประเวณี 7) ไม่เป็นผู้อยู่ในระหว่างถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาต 8) ไม่เคยถูกเพิกถอนใบอนุญาต หรือเคยถูกเพิกถอนใบอนุญาต โดยเหตุอื่นที่มิใช่เหตุตาม (6) แต่เวลาได้ล่วงพ้นมาแล้วไม่น้อยกว่าสามปี

31 กฎกระทรวงกำหนดประเภทและหลักเกณฑ์การประกอบธุรกิจโรงแรม พ.ศ.2551
มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 23 พฤษภาคม 2551

32 สถานที่พักที่ได้รับการยกเว้นไม่เป็นโรงแรม
มีห้องพักไม่เกิน 4 ห้อง ผู้พักไม่เกิน 20 คน มีลักษณะเป็นการประกอบกิจการเพื่อหารายได้เสริม แจ้งให้นายทะเบียนทราบตามแบบที่กำหนด

33 ประเภทโรงแรม โรงแรมประเภท 1 * ห้องพัก
โรงแรมประเภท 2 * ห้องพัก * ห้องอาหาร /สถานที่บริการอาหาร / สถานที่ประกอบอาหาร

34 ประเภทโรงแรม (ต่อ) โรงแรมประเภท 3 * ห้องพัก * ห้องอาหาร /สถานที่บริการอาหาร / สถานที่ประกอบอาหาร * สถานบริการ หรือห้องประชุม สัมมนา

35 ประเภทโรงแรม (ต่อ) โรงแรมประเภท 4 * ห้องพัก * ห้องอาหาร /สถานที่บริการอาหาร /สถานที่ประกอบ อาหาร * สถานบริการ * ห้องประชุม สัมมนา

36 อาคาร/สถานที่ตั้ง 1. กรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครอง 2. ความมั่นคงแข็งแรง และความปลอดภัย ก. ในเขตควบคุมอาคาร ต้องมีใบอนุญาตให้ใช้อาคาร เป็นโรงแรม (อ.๕ / อ.๖) หรือใบรับรองการตรวจอาคาร (ร.๑) ข. นอกเขตควบคุมอาคาร ต้องมีหนังสือรับรองการตรวจอาคาร จากผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมตามกฎหมาย 2. สถานที่ตั้งเหมาะสม ไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ อนามัย และคมนาคมสะดวก

37 อาคาร/สถานที่ตั้ง ต่อ 3. เส้นทางเข้าออกไม่ก่อให้เกิดปัญหาด้านการจราจร 4. ประกอบกิจการร่วมกันกับกิจการอื่นต้องแบ่งสถานที่ให้ชัดเจนและไม่เกิดผลกระทบต่อกิจการโรงแรม 5. ไม่ตั้งอยู่ใกล้โบราณสถาน ศาสนสถานหรือสถานที่อันเป็นที่เคารพในทางศาสนา หรือสถานที่อื่นใด อันจะทำให้เกิด ก. ทัศนียภาพที่ไม่เหมาะสม ข. กระทบต่อความมั่นคง และการดำรงอยู่ของสถานที่นั้น หรือ ค. ขัดต่อขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนะธรรมท้องถิ่น

38 การบริการและสิ่งอำนวยความสะดวก
สถานที่ลงทะเบียน โทรศัพท์หรือระบบการติดต่อสื่อสารอื่น การปฐมพยาบาลและส่งผู้ป่วย ระบบการรักษาความปลอดภัยอย่างทั่วถึงตลอด 24 ชั่วโมง ห้องน้ำ ห้องส้วม ช่องทางเดินในอาคารกว้างไม่น้อยกว่า 1.50 เมตร

39 ห้องพัก โรงแรมประเภท 1 มีห้องพักได้ไม่เกิน 50 ห้อง
โรงแรมประเภท 1 มีห้องพักได้ไม่เกิน 50 ห้อง พื้นที่ห้องพัก โรงแรมประเภท 1 และ 2 ไม่น้อยกว่า 8 ตร.ม. โรงแรมประเภท 3 และ 4 ไม่น้อยกว่า 14 ตร.ม รูปแบบห้องพักต้องไม่เหมือน หรือคล้าย หรือมุ่งหมายให้เหมือนหรือคล้ายศาสนสถานหรือสถานที่อันเป็นที่เคารพในทางศาสนา

40 ห้องพัก มีเลขที่ประจำห้องพักเป็นเลขอารบิก มองเห็นได้ชัดเจนแสดงไว้บริเวณหน้าห้องพัก และมิให้ซ้ำกัน มีช่องกระจกตาแมวหรือวิธีการอื่นใด ที่สามารถมองจากภายในมาภายนอกได้ มีกลอนหรืออุปกรณ์อื่น ที่สามารถล๊อคจากภายในได้

41 สถานที่จอดรถ สถานที่จอดรถที่อยู่ติดห้องพักต้องไม่มีลักษณะมิดชิด และสามารถมองเห็นที่จอดรถได้ตลอดเวลา

42 ระบบความปลอดภัย ติดตั้งอุปกรณ์ป้องกันและระงับอัคคีภัย
บันไดหนีไฟ และป้ายสัญญาณต่างๆ

43 ข้อกำหนดเกี่ยวกับสถานบริการ โรงแรมที่มีห้องพักไม่เกิน 80 ห้อง ห้ามมิให้มีสถานบริการตามกฎหมายว่าด้วยสถานบริการ เว้นแต่ โรงแรมอยู่ในเขตพื้นที่เพื่อการอนุญาตให้ตั้งสถานบริการ สถานบริการตามมาตรา 3 (5) โรงแรมที่ได้รับใบอนุญาตอยู่ก่อนหรือในวันที่ 23 พ.ค. 51 โรงแรมที่ประกอบการโดยไม่ได้รับใบอนุญาตอยู่ก่อนหรือ ในวันที่ 23 พ.ค. 51 แต่ได้ยื่นขอภายในวันที่ 22 พ.ค. 52

44 ข้อยกเว้นตามบทเฉพาะกาล โรงแรมประกอบการโดยไม่ได้รับอนุญาตอยู่ก่อนหรือในวันที่ 23 พ.ค. 51 หากได้ยื่นขออนุญาตภายในวันที่ 22 พ.ค. 52 จะได้รับการยกเว้นหลักเกณฑ์ ดังนี้ สถานที่ตั้ง ห้องน้ำ ห้องส้วม ขนาดทางเดินภายในอาคาร ขนาดห้องพัก ข้อห้ามเกี่ยวกับการมีสถานบริการ

45 ใบอนุญาตประกอบธุรกิจโรงแรม
ปี 2551 อดีต ปัจจุบัน

46 ใบอนุญาตประกอบธุรกิจโรงแรม
ใบอนุญาตฉบับหนึ่งให้ใช้กับโรงแรมที่ระบุชื่อไว้ในใบอนุญาต เท่านั้น และให้มีอายุห้าปี นับแต่วันที่ออกใบอนุญาต (มาตรา 19) กรณีใบอนุญาตสูญหายหรือถูกทำลาย ให้ยื่นรับใบแทนใบอนุญาต ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับทราบการสูญหาย หรือถูกทำลาย (มาตรา 23)

47 ห้ามผู้ประกอบธุรกิจโรงแรมดำเนินการ ก่อนได้รับอนุญาต
เปลี่ยนแปลงประเภทของโรงแรม เพิ่มหรือลดจำนวนห้องพักในโรงแรมอันมีผลกระทบถึงโครงสร้างของโรงแรม เปลี่ยนชื่อโรงแรม (มาตรา 22)

48 การต่ออายุใบอนุญาต ยื่นคำขอก่อนใบอนุญาตหมดอายุ
ยื่นคำขอภายใน 60 วัน นับแต่วันที่ใบอนุญาตหมดอายุ ต้องเสียค่าปรับเพิ่มร้อยละ 20 ของค่าธรรมเนียมต่ออายุใบอนุญาต หากพ้นกำหนดให้ใบอนุญาตสิ้นอายุ ต้องขออนุญาตใหม่ (มาตรา 21)

49 การโอนใบอนุญาต การโอนใบอนุญาต ผู้รับโอนต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตาม มาตรา 16 การโอนมรดก 1.ทายาท/ผู้จัดการมรดก ต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ต้องยื่นคำขอภายใน 180 วัน นับแต่วันที่ผู้ประกอบธุรกิจโรงแรมตาย (มาตรา 25)

50 ค่าธรรมเนียม ใบอนุญาต 50,000.- บาท ใบแทนใบอนุญาต 200.- บาท
ใบอนุญาต 50,000.- บาท ใบแทนใบอนุญาต บาท ค่าธรรมเนียมห้องพัก บาท/ห้อง/ปี ค่าธรรมเนียมการต่ออายุใบอนุญาตกึ่งหนึ่งของค่าธรรมเนียม ใบอนุญาตประเภทนั้นๆ กฎกระทรวงกำหนด่าธรรมเนียม

51 เหตุใบอนุญาตสิ้นสุด ไม่ขอต่ออายุใบอนุญาตภายในกำหนด (ม.21)
ทายาท/ผู้จัดการมรดกไม่ขอรับโอนใบอนุญาตภายใน 180 วัน นับแต่ผู้ประกอบธุรกิจโรงแรมตาย (ม.25) ห้างหุ้นส่วนหรือนิติบุคคลสิ้นสภาพ (ม.26) แจ้งเลิกประกอบธุรกิจโรงแรม (ม.27) โรงแรมได้รับความเสียหายจนไม่อาจแก้ไขได้ (ม.28) กรณีถูกเพิกถอนใบอนุญาต (ม.41)

52 สำนักการสอบสวนและนิติการ กรมการปกครอง การบริหารจัดการโรงแรม
The Investigation and legal affair Bureau, Department of Provincial Administration หมวด 3 การบริหารจัดการโรงแรม มาตรา 30-39

53 ผู้จัดการโรงแรม พ.ร.บ.โรงแรม พ.ศ.2547 มาตรา 30 – 33
หนังสือที่ มท /ว 939 ลว 12 พ.ค. 2548

54 คุณสมบัติของ ผจก.รร. (ม.33)
1) อายุไม่ต่ำกว่ายี่สิบปีบริบูรณ์ 2) เป็นผู้ได้รับวุฒิบัตร/มีประสบการณ์ตามที่คณะกรรมการ ประกาศกำหนดหรือมีหนังสือรับรองว่าได้ผ่านการฝึกอบรม วิชาการบริหารจัดการโรงแรมตามหลักสูตรที่คณะกรรมการ กำหนด 3) ไม่เป็นโรคพิษสุราเรื้อรัง/ติดยาเสพติด/โรคติดต่อ ที่คณะกรรมการกำหนด 4) ไม่เป็นผู้วิกลจริตหรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบหรือ เป็นคนไร้ความสามารถหรือคนเสมือนไร้ความสามารถ

55 คุณสมบัติของ ผจก.รร. (ม.33)
5) ไม่เคยได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุกเว้นแต่ เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาท หรือ ความผิดลหุโทษ 6) ไม่เคยต้องคำพิพากษาถึงที่สุดว่าเป็นผู้กระทำผิดในความผิด เกี่ยวกับ เพศ/ยาเสพติด/ค้าหญิงและเด็ก/ค้าประเวณี

56 หน้าที่ของผู้ประกอบธุรกิจโรงแรมและผู้จัดการ
1) จัดให้มีป้ายชื่อโรงแรมตามมาตรา 20 (ต้องเป็นอักษรไทย/ไม่พ้องหรือมุ่งหมายให้คล้ายพระปรมาภิไธยฯ ไม่ซ้ำหรือพ้อง ไม่หยาบคาย) 2) แสดงใบอนุญาตไว้ในที่เปิดเผยแลเห็นได้ง่ายในโรงแรม 3) จัดให้มีเลขที่ประจำห้องพักติดไว้ที่หน้าห้องพักทุกห้อง 4) จัดให้มีเอกสารแสดงอัตราค่าที่พักไว้ในที่เปิดเผยเห็นได้ง่าย ในโรงแรม

57 หน้าที่ของผู้ประกอบธุรกิจโรงแรมและผู้จัดการ
5) จัดให้มีแผนผังทางหนีไฟแต่ละชั้นและห้องทุกห้อง และป้ายทางออกฉุกเฉินไว้ในแต่ละชั้นของโรงแรม 6) จัดให้มีเอกสารแสดงข้อจำกัดความรับผิดตาม ม.675 ปพพ. ตามแบบที่ คกก.กำหนด ไว้ในโรงแรมและห้องพักทุกห้อง 7) ดูแลรักษาความสะอาดด้านสุขลักษณะและอนามัยของโรงแรม

58 หน้าที่ของผู้ประกอบธุรกิจโรงแรมและผู้จัดการ
8) ดูแลรักษาสภาพของโรงแรมให้มีความมั่นคงแข็งแรง และระบบป้องกันอัคคีภัยให้เป็นไปตาม กม.ว่าด้วยการควบคุมอาคาร และคำสั่ง จพง.ท้องถิ่น 9) ดูแลรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ 10) ดูแลและอำนวยความสะดวกให้กับผู้พักในกรณีเกิดอัคคีภัย อุทกภัย หรือเกิดอันตรายใดๆขึ้นในโรงแรม

59 ข้อยกเว้นความรับผิดของผู้จัดการ
หากการดำเนินการใดที่ผู้จัดการต้องได้รับอนุมัติจาก ผู้ประกอบธุรกิจโรงแรม หากผู้จัดการมีหนังสือขอนุมัติแล้ว ผู้ประกอบธุรกิจโรงแรมเพิกเฉยหรือไม่ดำเนินการ ผู้จัดการพ้นความรับผิด (มาตรา 34 ว.2)

60 หน้าที่ของผู้จัดการ จัดให้มีการบันทึกบัตรทะเบียนผู้พัก(ร.ร.3) และนำไปบันทึก ลงในทะเบียนผู้พัก ให้แล้วเสร็จภายใน 24 ชั่วโมง (ม.35) เก็บรักษาบัตรทะเบียนผู้พัก(ร.ร.3) และทะเบียนผู้พัก (ร.ร.4) ไว้เป็นเวลาอย่างน้อย 1 ปี (ม.35 ว.3) ส่งสำเนาทะเบียนผู้พักในแต่ละวัน ให้นายทะเบียนทุกสัปดาห์ (ม.36)

61 หน้าที่ของผู้จัดการ (ต่อ)
ทะเบียนผู้พักที่เก็บรักษาไว้ในโรงแรมสูญหายหรือถูกทำลาย ต้องขอคัดลอกสำเนาทะเบียนผู้พักจากนายทะเบียนมาเก็บรักษาไว้แทน (ม.37) ดูแลไม่ให้บุคคลใดหลบซ่อนหรือมั่วสุมในเขตโรงแรมในลักษณะอันควรเชื่อว่าจะก่อความไม่สงบขึ้นหรือจะทำผิดอาญา(ม.38(1)) แจ้งให้ พนง.ฝ.ปค.หรือ ตร. ทราบ กรณีมีเหตุ ตาม 5) (ม.38(2))

62 เหตุผลที่ผู้จัดการอาจปฏิเสธการเข้าพัก (ม.39)
จะเข้าไปหลบซ่อน มั่วสุมหรือกระทำการใด อันเป็นความผิดอาญาขึ้นหรือก่อให้เกิดความรำคาญแก่ผู้พักอื่น ไม่สามารถจ่ายค่าห้องพักได้ เป็นโรคติดต่ออันตรายหรือตาม กม.ว่าด้วยโรคติดต่อ มีเหตุสมควรประการอื่นตามที่คณะกรรมการประการกำหนด

63 สำนักการสอบสวนและนิติการ กรมการปกครอง
The Investigation and legal affair Bureau, Department of Provincial Administration หมวด 4 การควบคุมและอุทธรณ์ มาตรา 40-44

64 อำนาจนายทะเบียน สั่งให้ระงับการกระทำหรือดำเนินการแก้ไขตามมาตรา 40
สั่งพักใช้ใบอนุญาต ครั้งละ 15 วัน ไม่เกิน 4 ครั้ง (ม.40) พักใช้ใบอนุญาต/เพิกถอนใบอนุญาต/ไม่ต่ออายุใบอนุญาต หรือใบรับแจ้งเป็นผู้จัดการแล้วแต่กรณี สั่งผู้ประกอบธุรกิจโรงแรม จัดหาที่พักที่มีมาตรฐานใกล้เคียง แก่ผู้พัก กรณีสั่งพักใช้ใบอนุญาต/เพิกถอนใบอนุญาต/ ไม่ต่ออายุใบอนุญาต

65 การพักใช้ใบอนุญาต (ม.40)
1) ผู้ประกอบธุรกิจ/ผู้จัดการ สั่งให้ระงับการกระทำ/แก้ไข นายทะเบียน 1.ฝ่าฝืน กม.ว่าด้วยโรงแรม 2.ขัดคำสั่ง คกก. นทบ. พนง.จนท. 2) ผู้ประกอบธุรกิจ/ผู้จัดการ แจ้งเตือนเป็นหนังสือ ให้เวลา ไม่เกิน 30 วัน นายทะเบียน ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของนายทะเบียน

66 (ต่อ) 3) ผู้ประกอบธุรกิจ/ผู้จัดการ นายทะเบียน ผู้ประกอบธุรกิจ รร.
ไม่ปฏิบัติตามคำเตือน นายทะเบียน สั่งพักใช้ใบอนุญาตได้ครั้งละ 15 วัน ไม่เกิน 4 ครั้ง ผู้ประกอบธุรกิจ รร. มีหนังสือแจ้งเตือนอีกครั้งหนึ่งภายในกำหนดเวลาไม่เกิน 30 วัน ผู้จัดการ เมื่อสั่งพักใช้ใบอนุญาต นายทะเบียนมีอำนาจสั่งให้ผู้ประกอบการ จัดหาที่พักใหม่หรือกำหนดวิธีการอื่น โดยยึดประโยชน์ของผู้พักเป็นสำคัญ

67 การเพิกถอนใบอนุญาต ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามตาม ม.16 ยกเว้นลักษณะต้องห้ามตาม ม.16(7) (กรณีถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาต) เคยถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตมาแล้ว (ตาม ม.40 วรรคสอง (1)) หรือเคยได้รับคำเตือนจากคณะกรรมการ นายทะเบียน หรือพนักงานเจ้าหน้าที่ และยังฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามคำสั่ง นายทะเบียนที่สั่งให้ระงับการกระทำหรือดำเนินการแก้ไข ใด ๆ ตามที่เห็นสมควรอีก

68 การเพิกถอนใบอนุญาต ประกอบธุรกิจโรงแรม ระหว่างถูกพักใช้ใบอนุญาต
ไม่จัดหาโรงแรมที่มีมาตรฐานใกล้เคียงกับโรงแรมที่ถูกสั่ง พักใช้ใบอนุญาตให้แก่ผู้พัก หรือฝ่าฝืนวิธีการอื่นใดที่ นายทะเบียนกำหนด ใช้หรือยินยอมให้ใช้โรงแรมเป็นสถานที่กระทำความผิดเกี่ยวกับเพศ / เกี่ยวกับยาเสพติด/ การพนัน/ การค้าหญิงและเด็ก /การค้าประเวณี

69 การเพิกถอนใบรับแจ้งเป็นผู้จัดการ
ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามตาม ม.33 นายทะเบียนแจ้งเตือนเป็นหนังสือให้ระงับการกระทำหรือดำเนินการแก้ไขใด ๆ ให้ถูกต้องภายในเวลาที่กำหนดตาม ม. 40 วรรคสอง (2) แล้ว และยังฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตาม ม.40 วรรคหนึ่งอีก ใช้หรือยินยอมให้ใช้โรงแรมเป็นสถานที่กระทำความผิดเกี่ยวกับเพศ/ยาเสพติด/ การพนัน/ การค้าหญิงและเด็ก /การค้าประเวณี

70 เหตุอุทธรณ์คำสั่งนายทะเบียน
ไม่อนุญาตประกอบธุรกิจ รร./ไม่ต่ออายุใบอนุญาต ไม่ออกใบรับแจ้งเป็นผู้จัดการ ไม่อนุญาตให้เปลี่ยนประเภทของโรงแรม/เพิ่มหรือลดห้องพัก/ เปลี่ยนชื่อ ไม่อนุญาตให้โอนใบอนุญาต ไม่อนุญาตให้เลิกกิจการหรืออนุญาตภายใต้เงื่อนไข ถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาต ถูกเพิกถอนใบอนุญาตหรือใบรับแจ้งเป็นผู้จัดการ

71 การอุทธรณ์คำสั่งนายทะเบียน
คณะกรรมการส่งเสริมและกำกับ ธุรกิจโรงแรม พิจารณาภายใน 45 วัน คำวินิจฉัยเป็นที่สุด นายทะเบียน ยื่นอุทธรณ์ ยื่นภายใน 15 วัน

72 ผลการยื่นอุทธรณ์ หลัก ทุเลาการบังคับ
หลัก ทุเลาการบังคับ ยกเว้น การอุทธรณ์คำสั่งเพิกถอนใบอนุญาตหรือใบรับแจ้งเป็น ผู้จัดการ กรณีมีลักษณะต้องห้าม 1) ตามมาตรา 16(5) (ต้องโทษจำคุกตามคำพิพากษาถึงที่สุด เว้นแต่โทษประมาท/ลหุโทษ) มาตรา16 (6) (ต้องคำพิพากษาถึงที่สุดว่าเป็นผู้กระทำผิดเกี่ยวกับ เพศ/ยาเสพติด/ค้าหญิงและเด็ก/ค้าประเวณี 2) ตามมาตรา 33 (5) (6) 3) มีพฤติการณ์ตามมาตรา 41 (3) (ใช้หรือยินยอมให้ใช้โรงแรมเป็นสถานที่กระทำผิดเกี่ยวกับ เพศ/ยาเสพติด/การพนัน/ค้าหญิงและเด็ก/ค้าประเวณี) ไม่ทุเลาการบังคับ

73 สำนักการสอบสวนและนิติการ กรมการปกครอง
The Investigation and legal affair Bureau, Department of Provincial Administration หมวด 5 พนักงานเจ้าหน้าที่ มาตรา 45-47

74 ตัวอย่างบัตร พนักงานเจ้าหน้าที่
“พนักงานเจ้าหน้าที่” หมายความถึง ผู้ซึ่งนายทะเบียนแต่งตั้ง ให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้ โดยแต่งตั้งจาก 1) ข้าราชการตำรวจตั้งแต่ชั้นสัญญาบัตรขึ้นไป หรือ 2) ข้าราชการพลเรือนตั้งแต่ระดับสามขึ้นไป หรือ 3) ข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่นตั้งแต่ระดับสามขึ้นไป ตัวอย่างบัตร

75 การปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่
แสดงบัตรประจำตัว พร้อมหนังสือมอบหมายจากนายทะเบียน เข้าไปในโรงแรมในเวลาพระอาทิตย์ขึ้น-ตก เพื่อตรวจสอบ 1) ใบอนุญาต ) ทะเบียนผู้พัก 3) บัตรทะเบียนผู้พัก ) สภาพและลักษณะของโรงแรม 5) ห้องพักที่ว่างหรือส่วนหนึ่งส่วนใดของโรงแรมที่เปิดใช้ร่วมกัน 6) จำนวนและประวัติของพนักงานโรงแรม

76 การปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่
(ต่อ) การปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่ หากไม่แล้วเสร็จจะกระทำต่อไปในเวลากลางคืนหรือนอกเวลาทำการของโรงแรมนั้นก็ได้ เฉพาะในกรณีที่การตรวจสอบใกล้จะเสร็จสิ้นหรือมีเหตุอันควรสงสัยว่าหากเนิ่นช้าจะมีการปกปิดหรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงเอกสารหรือหลักฐาน ไปจากเดิม มีหนังสือเรียกผู้ประกอบธุรกิจโรงแรม ผู้จัดการ หรือเจ้าหน้าที่ของโรงแรมมาให้ถ้อยคำหรือชี้แจงหรือส่งเอกสารหรือหลักฐานที่เกี่ยวข้อง (มาตรา 45)

77 สำนักการสอบสวนและนิติการ กรมการปกครอง
The Investigation and legal affair Bureau, Department of Provincial Administration หมวด 6 บทกำหนดโทษ มาตรา 48-61

78 บทกำหนดโทษ โทษปรับทางปกครอง ต่ำสุด 5,000-20,000 บาท สูงสุด 500,000 บาท
โทษปรับทางปกครอง ต่ำสุด 5,000-20,000 บาท สูงสุด ,000 บาท โทษอาญา ต่ำสุด จำคุกไม่เกิน 1 เดือน หรือปรับไม่เกิน 1,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ สูงสุด จำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และปรับอีกวันละไม่เกิน 1 หมื่นบาท ตลอดเวลาที่ฝ่าฝืนอยู่

79 บทเฉพาะกาล ใบอนุญาตเปิดโรงแรมตาม พ.ร.บ.โรงแรม ให้ถือว่าเป็นใบอนุญาตตาม พ.ร.บ.โรงแรม และให้ใช้ได้จนกว่าจะสิ้นอายุใบอนุญาต(ม. 62)

80 บทเฉพาะกาล 2) ผู้ประกอบธุรกิจโรงแรมโดยไม่ได้รับอนุญาตอยู่ก่อน หรือในวันที่ พ.ร.บ.โรงแรม พ.ศ.2547 ใช้บังคับ หากประสงค์จะประกอบธุรกิจ โรงแรมต่อไปให้ยื่นคำขอภายใน 1 ปีนับแต่วันที่กฎกระทรวงตาม ม. 13 ใช้บังคับ เมื่อได้ยื่นขออนุญาตแล้วให้ผู้นั้น ประกอบธุรกิจ โรงแรมต่อไปได้จนกว่าจะได้รับแจ้งการไม่อนุญาตจากนายทะเบียน (ม.63) มิให้นำหลักเกณฑ์ด้านที่จอดรถต้องสอดคล้องกับห้องพัก หรือ ห้ามด้านสถานที่ตั้งต้องไม่ใกล้กับสถานที่ใดๆ มาใช้บังคับกับกรณีนี้ หากนายทะเบียนไม่อนุญาตต้องเลิกประกอบกิจการภายใน 3 เดือน

81 2) นายทะเบียน การพิจารณา อนุญาต ไม่อนุญาต
ผู้ประกอบธุรกิจ รร.อยู่ก่อน หรือในวันที่ พรบ.นี้ใช้บังคับ ยื่นขอ นายทะเบียน ภายใน 1 ปี นับแต่วันที่ กฎกระทรวงตาม ม.13 ใช้บังคับ (23 พ.ค.2551) (ก่อนหรือในวันที่ 12 พ.ค.2548) การพิจารณา ไม่นำหลักเกณฑ์ บังคับใช้ 1.ที่จอดรถต้องสอดคล้องกับห้องพัก 2.ที่ตั้งโรงแรมต้องไม่อยู่ใกล้กับที่ใด อนุญาต -จ่ายค่าใบอนุญาต -จ่ายค่าธรรมเนียม ไม่อนุญาต -ต้องเลิกประกอบธุรกิจ โรงแรมภายใน 3 เดือน นายทะเบียนสั่งให้หาที่พักซึ่งมี มาตรฐานไม่น้อยกว่าที่เดิม

82 บทเฉพาะกาล 3) ผู้ควบคุมและจัดการโรงแรมตาม พ.ร.บ.โรงแรม พ.ศ หรือจัดการโรงแรมตาม พ.ร.บ.นี้อยู่แล้ว ก่อน หรือในวันที่ พ.ร.บ.นี้ใช้บังคับ หากประสงค์จะเป็นผู้จัดการต่อไปให้แจ้ง ต่อนายทะเบียนภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ พ.ร.บ.นี้ใช้บังคับ เมื่อได้แจ้งแล้วให้เป็นผู้จัดการต่อไปได้จนกว่าจะถูก เพิกถอนใบอนุญาต ในกรณีนี้มิให้นำ ม.33(2)มาใช้บังคับ (ม.64)

83 ผู้ควบคุมและจัดการ รร. (ตาม พรบ.โรงแรม 2478)
3) เจ้าสำนัก ผู้ควบคุมและจัดการ รร. (ตาม พรบ.โรงแรม 2478) นายทะเบียน แจ้งภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ 12 พ.ค.48 -รับแจ้งโดยไม่ต้องนำหลักเกณฑ์ตาม ม.33(2) เรื่อง วุฒิบัตร/ประสบการณ์/ ผ่านการอบรมหลักสูตรที่ คกก.กำหนด จัดการโรงแรม (ตาม พ.ร.บ.โรงแรม 2547) ก่อนหรือในวันที่ พ.ร.บ.นี้ใช้บังคับ

84 บทเฉพาะกาล คำขออนุญาตเปิดดำเนินกิจการโรงแรม ที่ได้ยื่นไว้ ก่อน หรือในวันที่ พ.ร.บ.นี้ใช้บังคับ และยังอยู่ในระหว่าง การพิจารณา และการอนุญาตให้เปลี่ยนชื่อหรือยี่ห้อ ให้ย้าย สถานที่ หรือให้เพิ่มหรือลดจำนวนห้องพักที่ได้ให้ไว้ตาม พ.ร.บ.โรงแรม พ.ศ.2478 ให้ถือว่าเป็นการขออนุญาตและการอนุญาตตาม กฎหมายนี้ (ม.65)

85 บทเฉพาะกาล 5) บรรดากฎกระทรวง คำสั่งหรือประกาศที่ออกตาม พ.ร.บ.โรงแรม พ.ศ.2478 ให้ยังคงใช้บังคับได้ต่อไปเพียงเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับ พ.ร.บ.นี้ จนกว่าจะมีกฎกระทรวง คำสั่งหรือประกาศตาม พ.ร.บ.นี้ ใช้บังคับ ซึ่งต้องไม่เกิน 1 ปี นับแต่วันที่ พ.ร.บ.นี้ ใช้บังคับ (ม.66)

86 สำนักการสอบสวนและนิติการ กรมการปกครอง จากสำนักการสอบสวนและนิติการ
The Investigation and Legal Affair Bureau, Department of Provincial Administration ขอขอบคุณ จากสำนักการสอบสวนและนิติการ กรมการปกครอง


ดาวน์โหลด ppt สำนักการสอบสวนและนิติการ กรมการปกครอง พระราชบัญญัติโรงแรม พ.ศ.2547

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google