งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

“อบรมเชิงปฏิบัติการเครื่อง HPLC 18 เหลือ 8”

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "“อบรมเชิงปฏิบัติการเครื่อง HPLC 18 เหลือ 8”"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 “อบรมเชิงปฏิบัติการเครื่อง HPLC 18 เหลือ 8”
Kaizen for Office “อบรมเชิงปฏิบัติการเครื่อง HPLC 18 เหลือ 8” ทีม ฝ่าดงระเบิด ศูนย์เครื่องมือกลาง คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี

2 แนะนำหน่วยงาน ศูนย์เครื่องมือกลาง เป็นหน่วยงานกลางที่สังกัดอยู่ใน สำนักงานเลขานุการ ของ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (วทท.) ที่ซึ่งเป็นคณะที่อยู่ริมทะเลอ่าวไทยของ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ซึ่งเป็นวิทยาเขตแรกของมหาวิทยาลัยที่ตั้งอยู่ ณ ตำบลรูสะมิแล อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี ปัตตานี

3 แนะนำหน่วยงาน (ต่อ) ศูนย์เครื่องมือกลาง คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ภาควิชาเทคโนโลยียางฯ ภาควิชาวิทยาศาสตร์ ภาควิชาเทคโนโลยีฯ ภาควิชาคณิตศาสตร์ฯ ภาควิชาวิทยาศาสตร์การอาหารฯ สำนักงานเลขานุการ เจ้าหน้าที่จำนวน 2 คน ตำแหน่งนักวิทยาศาสตร์ (และบริหารงานทั่วไป) งานบริการการศึกษา งานการคลังและพัสดุ งานบริหารและธุรการ งานนโยบายและแผน ศูนย์คอมพิวเตอร์ ศูนย์เครื่องมือกลาง นายพิสิฐ์พงษ์ หมื่นประเสริฐดี อายุงาน 8 ปี น.ส.มานาล สะมะแอ อายุงาน 9 เดือน

4 ศูนย์เครื่องมือกลาง มีเครื่องมือวิทยาศาสตร์ชั้นสูงที่มีระบบการทำงานซับซ้อน และมีราคาในหลักล้านบาท จำนวน 3 เครื่อง คือ HPLC AAS และ FTIR และมีเครื่องมือราคาต่ำกว่าล้านอีกประมาณ 20 เครื่อง ซึ่งเรามีภารกิจ ดังนี้ ภารกิจที่ 1 ให้บริการใช้เครื่องมือด้วยตนเองแก่นักศึกษาและนักวิจัยภายในคณะ (Lab เครื่องมือ) ภารกิจที่ 2 การให้บริการวิเคราะห์ทดสอบคุณภาพด้านเคมี และกายภาพ ภารกิจที่ 3 สนับสนุนการเรียนการสอน งานวิจัย การจัดอบรมให้นักศึกษาและบุคลากร สายปฏิบัติการ (จัดอบรม 4 โครงการ/ปี) ภารกิจอื่นๆ คือ ภารกิจที่ไม่เกี่ยวข้องกับงานด้านวิทยาศาสตร์ ได้แก่ งานธุรการเอกสาร ประกันคุณภาพ จัดหาครุภัณฑ์ วัสดุสารเคมี ประชาสัมพันธ์ การตลาด เครือข่ายห้องปฏิบัติการ จัดทำและพัฒนาเวบไซต์ เป็นต้น

5 ที่มาของปัญหา เครื่องมือวิทยาศาสตร์ชั้นสูงทั้ง 3 เครื่อง มีจุดเด่นและลักษณะการใช้งานที่แตกต่างกัน ถูกใช้งานเพื่อตอบสนองการเรียนการสอน งานวิจัยและงานบริการวิชาการของคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจำนวนมาก โดยเฉพาะเครื่อง High Performance Liquid Chromatography หรือ HPLC รุ่น HP1100 ที่มีระบบการทำงานซับซ้อน มีการใช้งานตลอดปี โดยเฉพาะการใช้เพื่องานวิจัย ปัจจุบัน เครื่องมือยังคงอยู่ในสภาพการใช้งานได้สมบูรณ์ เพราะมีนักวิทยาศาสตร์คอยดูแล และ นักศึกษา/นักวิจัยที่ต้องการใช้งานต้องผ่านการอบรมการใช้เครื่องมือก่อนใช้งานจริง จึงสามารถใช้เครื่องมือที่ซับซ้อนนี้ได้ด้วยตนเอง ซึ่งการใช้งานอย่างถูกต้อง และการซ่อมแซมทันทีเมื่อเครื่องเสีย คือ หัวใจในการดูแลเครื่องมือให้ใช้งานได้ยาวนาน

6 HPLC งั้น ต้องมีการสอน/อบรมให้ผู้ต้องการใช้งานก่อนไง...
ราคาเครื่องมือสูงถึง 3,xxx,xxx บาท มีหลักการทำงานซับซ้อน ทั้งโปรแกรม (Software) และตัวเครื่องมือ (Hardware) HPLC ใช้วิเคราะห์ทดสอบหาสารปริมาณน้อยมากๆ เช่น แอมเฟตามีน กรดอะมิโน สารกระตุ้น ยาปฏิชีวนะ ยาฆ่าแมลง เมลามีน ฯลฯ ให้ผลการวิเคราะห์ที่เที่ยงตรงและแม่นยำสูง วิเคราะห์หาสารได้ในระดับต่ำ คือ ppm ถึง ppb งั้น ต้องมีการสอน/อบรมให้ผู้ต้องการใช้งานก่อนไง... ผู้ใช้งาน ต้องมีความชำนาญ และต้องการการดูแลอย่างใกล้ชิด แล้วเราจะทำไงดีล่ะน้อง Kaizen กันดีกว่า..จัดอบรมเลยค่ะ

7 ซ่อมทีหนึ่ง แพงขนาดนี้ ถ้าไม่สอน ไม่อบรมก็ตายสิ...แหงกๆ
ปัญหากับเครื่อง HPLC มักเกิดขึ้นเสมอ หากเราไม่มีการอบรม หรือ สอนการใช้งานเครื่องมือ HPLC ที่ถูกวิธี ปี 2550 นักศึกษาใช้ Mobile Phase (วัฏภาคเลื่อนที่) ที่มีค่า pH 2 (เป็นกรดสูง) โดยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ทำให้เมื่อใช้งานไปเพียง 1 เดือน มีอุปกรณ์ที่เสียหาย 2 ชิ้น ได้แก่ Active Inlet Valve (15,000 บาท) และ Outlet ball valve (16,000 บาท) รวม 31,000 บาท ปี 2551 มีการเปลี่ยนอะไหล่ส่วนของ Deuterium Lamp 1100 เนื่องจากหมดอายุการใช้งานก่อนเวลาอันควร เพราะนักศึกษาไม่มีการ Turn off lamp ในระหว่างการ Equilibrium column ข้ามคืน ซึ่ง อะไหล่นี้มีราคา 28,000 บาท ซ่อมทีหนึ่ง แพงขนาดนี้ ถ้าไม่สอน ไม่อบรมก็ตายสิ...แหงกๆ 7

8 เครื่องมือ HPLC มีระบบการทำงานซับซ้อน ใช้งานยาก ต้องใช้ความชำนาญ อย่างนี้ต้องอบรมสถานเดียว...

9 เมื่อลองคิดวิเคราะห์แล้ว จะพบว่า หากนักศึกษาใช้เครื่องมือเป็นหรือมีความชำนาญ จะสามารถลดการซ่อมบำรุงได้ ซึ่งค่าใช้จ่ายในการแก้ไขปัญหาหรือซ่อมแซมเครื่องมือแต่ละครั้ง อยู่ในหลักหมื่นทีเดียว ศูนย์เครื่องมือกลางจึงมีการจัดการอบรมเชิงปฏิบัติการการใช้เครื่องมือ HPLC ขึ้นตั้งแต่ปี 2551 เป็นต้นมา โดยมีคณะสนับสนุนงบประมาณค่าวิทยากรและค่าวัสดุสารเคมี และให้ผู้เข้าอบรมจ่ายค่าอาหารและเอกสารอบรมเองจำนวน 200 บาท ซึ่งศูนย์ฯ มีการทบทวนและพัฒนากระบวนการอบรมทั้งด้านเนื้อหาปฏิบัติการและระบบการจัดการสำนักงานให้ดีขึ้นเสมอมา เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้รับความรู้ มีทักษะความสามารถครบถ้วนและมีความพอใจสูงสุด ทั้งนี้ผู้เข้าอบรมต้องมีเวลาในการอบรมและคะแนนการสอบไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 จึงจะได้รับวุฒิบัตรรับรองด้วย

10 Why why Analysis เลิก/ลด/เปลี่ยน
แนวคิดการแก้ปัญหา ใช้วงจร PDCA และ LEAN ในการทำ Kaizen แต่ละครั้ง สาเหตุ ใบสมัครไม่ชัดเจน พบปัญหา/ค้นหาสาเหตุ ใช้หลัก อบรมไม่ครอบคลุม Why why Analysis ไม่เวิร์ค วางแผนการแก้ปัญหา ทวนซ้ำการเขียน 2 รอบ OK พิมพ์ผ่านคอมด้วยตนเอง ลงมือแก้ปัญหา/ทำไคเซ็น ใช้หลัก เลิก/ลด/เปลี่ยน OK เพิ่มอบรมซ่อมบำรุง ตรวจสอบผลไคเซ็น ไม่เวิร์ค ค่อยแก้ไขเมื่อเกิดปัญหาจริง

11 ใช้ “ผังก้างปลา” หนึ่งใน 7 QC Tool เพื่อค้นหาความต้องการและแนวทางการทำไคเซ็น
ผู้อบรมได้ความรู้จากการอบรมสูงสุด ให้ความสำคัญกระบวนการก่อนและหลักการอบรม Download เอกสารก่อนอบรม จัดอบรม 2 วัน เพื่อ เพิ่มความพึงพอใจ 20% ลดค่าใช้จ่าย 50% ลดเวลาในการทำงาน 50% เพิ่มฝึกซ่อมแซมและสอบปฏิบัติการ SMS เตือนอบรม วุฒิบัตร Online อาจารย์ที่ปรึกษา อบรมหลักสูตร International VDO อบรมใน YouTube เวบไซต์+facebook รับสมัคร Online การประชาสัมพันธ์และการรับสมัคร การเผยแพร่ความรู้ และเตรียมตัวเข้าสู่อาเซียน หมายเหตุ: สีทั้งสาม แสดงถึงแนวทางในการพัฒนางานเพื่อเป้าประสงค์แต่ละอย่าง

12 ไคเซ็น 1 # จัดอบรมพร้อมกันแทนการอบรมทีละคน (ปี 2551)
ปัญหา เมื่อมีนักศึกษามาขอใช้เครื่องมือในแต่ละครั้ง จะสอนการใช้งานเครื่องมือเป็นรายคน เพราะมีนักศึกษาใช้เครื่องมือน้อย แต่ภายหลังมีนักศึกษาต้องการใช้เครื่องมือมากขึ้น จึงเสียเวลามาก การใช้งานเครื่องบ่อยครั้ง จะต้องล้างระบบ ล้างคอลัมน์บ่อยครั้ง เพื่อเตรียมการอบรมนักศึกษารายต่อไป ทำให้เปลืองวัสดุของเครื่องมือและสารเคมี รวมทั้งเสียเวลาเจ้าหน้าที่ที่ต้องปฏิบัติงานอื่นๆ เวลาการใช้เครื่องมือไม่เป็นระบบ มีการใช้งานชนกันระหว่าง การอบรมกับการใช้เครื่องเพื่อวิเคราะห์ทดสอบปกติ มีข้อท้วงติงจากอาจารย์ผู้สอนว่านักศึกษาต้องขาดเรียนเพื่อไปเข้าอบรม ทำไคเซ็น จัดอบรมพร้อมกันอย่างเป็นระบบแทนการอบรมทีละคน กำหนดวันเวลาจัดอบรมที่แน่นอน ให้เป็นช่วงก่อนเปิดเทอม 1 สัปดาห์ ซึ่งนักศึกษามักมาเข้าหอพักหรือลงทะเบียนเรียนที่มหาวิทยาลัยอยู่แล้ว ทำให้ไม่ต้องขาดการเรียนช่วงเปิดเทอมด้วย ผล ลดจำนวนครั้งการอบรม, ลดค่าวัสดุและสารเคมี, นักศึกษากระตือรือร้นในการอบรม นักศึกษาสามารถเข้าอบรมได้โดยไม่ขาดเรียน อาจารย์ที่ปรึกษาและอาจารย์ในรายวิชาพึงพอใจ ประหยัดงบอย่างนี้ ทำเลยค่ะ หัวหน้า

13 ผลที่ได้รับจาก Kaizen ครั้งที่ 1
เวลาในการสอนอบรม(ชั่วโมง/ปี) ค่าวัสดุสารเคมีที่ใช้ใน การอบรม (บาท/ปี) อาจารย์ตำหนิ (ครั้ง/ปี) Kaizen#1 ลด - จำนวนครั้งการอบรม เปลี่ยน - เวลาการอบรมให้แน่นอน ลด – ค่าวัสดุและสารเคมี จากคนเดียว เป็นหลายคน

14 ไคเซ็น 2 # เพิ่มการซ่อมบำรุงรักษาและสอบปฏิบัติการ (ปี 2552)
ปัญหา เมื่อก่อน การสอนหน้าเครื่องใช้เวลา 1 วัน เป็นเพียงการสอนหลักการและการใช้งานเครื่องมือพื้นฐาน ซึ่งไม่เพียงพอในการใช้งานจริงที่มักต้องมีการบำรุงรักษาและแก้ไขปัญหาในการใช้งาน ทำไคเซ็น เปลี่ยนระยะเวลาการอบรมเป็น 2 วัน โดยเพิ่มการอบรมการดูแลรักษา และแก้ไขปัญหาเบื้องต้น พร้อมทั้งการสอบปฏิบัติการรายคนด้วย เพื่อให้แน่ใจว่านักศึกษามีความรู้ความเข้าใจที่แท้จริง ผล ประหยัดเวลาของเจ้าหน้าที่ในการช่วยนักศึกษาแก้ปัญหาพื้นฐานของเครื่องมือที่เกิดขึ้นจริงหลังการอบรม เพราะนักศึกษาสามารถแก้ไขปัญหาเบื้องต้นได้เอง, นักศึกษามีทักษะการใช้เครื่องมือจริง ลดค่าวัสดุและสารเคมีที่เกิดจากการใช้งานผิดวิธี, ลดค่าซ่อมเครื่องมือลง

15 ผลที่ได้รับจาก Kaizen ครั้งที่ 2
การช่วยแก้ปัญหาการใช้เครื่องมือ (ชั่วโมง/ปี) ค่าซ่อมเครื่องมือ (บาท/ปี) Kaizen#2 เปลี่ยน – จำนวนวันการอบรม ลด – เวลาการช่วยแก้ปัญหา เครื่องมือ ต้องสอบซ่อมเครื่องมือด้วย

16 แสดงกำหนดการการอบรมจำนวน 2 วันของศูนย์เครื่องมือกลางให้กรรมการเห็นภาพ ดังนี้ค่ะ
ช่วงที่ 1 ภาคทฤษฎี (4 ชั่วโมง) บรรยายหลักการทฤษฎีเกี่ยวกับเครื่อง HPLC บรรยายการใช้งานเครื่องมือ การติดตั้งโปรแกรม การเปลี่ยน Frit การเปลี่ยน Guard column เตรียมตัวอย่าง การเตรียมโมบายเฟส การกรองตัวอย่าง ช่วงที่ 2 ภาคปฏิบัติการ 1 # การเตรียมตัวอย่างและการใช้งานเครื่อง HPLC (2 ชั่วโมง) เตรียมตัวอย่าง การเตรียมโมบายเฟส การกรองตัวอย่าง ปฏิบัติการเปิด-ปิดเครื่อง HPLC การใช้งานเครื่องมือและโปรแกรม ช่วงที่ 3 ภาคปฏิบัติการ 2 # การวิเคราะห์ทดสอบจริงและบำรุงรักษาเครื่องมือ (2 ชั่วโมง) การวิเคราะห์ตัวอย่างด้วยวิธี HPLC ส่วนประกอบของเครื่อง, การ Purge valve, การเปลี่ยน Column, การสร้าง Method, การลงโปรแกรม, การเลือกใช้ Detector

17 ช่วงที่ 4 ภาคปฏิบัติการ 3 # การสอบปฏิบัติจริงหน้าเครื่อง (3 ชั่วโมง)
สอบเปิดเครื่อง HPLC /การ Purge valve สอบลงโปรแกรม สอบตั้งสภาวะต่าง ๆ ที่ต้องใช้ในการวิเคราะห์ โดยด้วยโปรแกรมในคอมพิวเตอร์ของเครื่อง สอบหาจุดรั่วและวิธีแก้ไข สอบเปลี่ยน Guard Column สอบเปลี่ยน Frit สอบการทำ Back Pressure ช่วงระหว่าง Auto sampler กับ Column compartment ช่วงที่ 5 การสอบข้อเขียน สรุปบทเรียน และมอบวุฒิบัตรให้แก่ผู้ผ่านการอบรม ที่มีคะแนนผ่าน 70% (1 ชั่วโมง)

18 ภาพการอบรมเชิงปฏิบัติการการใช้เครื่องมือ HPLC
บ่าย บรรยายภาคปฏิบัติการ การเตรียมสารเคมี การเปิด-ปิดเครื่องมือ เช้าวันที่ 1 บรรยายภาคทฤษฎี

19 วันที่ 2 บ่าย สอบปฏิบัติการการใช้เครื่องมือ การบำรุงรักษา การซ่อมเบื้องต้น และแจกวุฒิบัตร
เช้าวันที่ 2 สอนปฏิบัติการการใช้เครื่องมือ การวิเคราะห์ทดสอบ การซ่อมแซมบำรุงรักษา

20 ไคเซ็น 3 # การประชาสัมพันธ์เชิงรุก (ปี 2553)
ปัญหา นักศึกษาไม่เปิดอีเมล์จึงไม่ได้รับข่าวสารการประชาสัมพันธ์และไม่ได้อ่านข่าวจากเวบไซต์ศูนย์เครื่องมือ ทำให้พลาดการสมัคร ต้องเลื่อนวันปิดรับสมัคร มีผลกระทบต่อการทำงานอื่นๆ ของเจ้าหน้าที่ ทำไคเซ็น แจ้งการอบรมผ่านอีเมล์อาจารย์ที่ปรึกษาวิจัยเพื่อให้อาจารย์แจ้งข่าวการอบรมถึงนักศึกษาวิจัย ติดประกาศที่บอร์ดของอาคารเรียนหรือบริเวณที่นักศึกษาเดินผ่าน เช่น ลานอ่านหนังสือ สโมสรฯ แขวนประกาศบนเว็บไซต์คณะ และ แขวนประกาศใน Facebook ของศูนย์เครื่องมือกลาง ผล นักศึกษามาสมัครในช่วงระยะเวลาที่กำหนด ไม่มีการขอสมัครเพิ่มในภายหลัง ง่ายต่อการสรุปจำนวนคน เจ้าหน้าที่ไม่เสียเวลาทำงานอื่นๆ

21

22 ผลที่ได้รับจาก Kaizen ครั้งที่ 3
ช่วงเวลาที่เปิดรับสมัคร จนครบจำนวน (วัน) เบื้องหลังไคเซ็น: คณะฯ สนับสนุนการทำงานพัฒนาด้าน IT ของบุคลากร โดยให้เจ้าหน้าที่เข้าอบรมการสร้างเวบไซต์ ด้วยตนเองในปี 2552 และ เข้าอบรมการสร้าง GoogleDocs & GoogleCalendar ในปี 2554 Kaizen#3 เปลี่ยน – รูปแบบการ ประชาสัมพันธ์

23 ไคเซ็น 4 # ไคเซ็นขั้นตอนการรับสมัคร (ปี 2554)
ปัญหา นักศึกษาต้องเดินทางมาสมัครที่ศูนย์เครื่องมือกลางเพียงเส้นทางเดียว เมื่อเจ้าหน้าที่ไม่อยู่ก็ไม่สามารถสมัครได้ ทำให้เสียเวลาเดินทางของนักศึกษา และเสียเวลาเจ้าหน้าที่ต้องนั่งรอรับสมัครทั้งวัน เมื่อนักศึกษากรอกข้อมูลใบสมัครด้วยลายมือ บางครั้งเจ้าหน้าที่อ่านลายมือนักศึกษาผิด ทำให้พิมพ์ชื่อไม่ถูกต้อง โดยเฉพาะชื่อในใบวุฒิบัตร ที่ต้องส่งกลับมาแก้ไขชื่อให้ถูกต้องในภายหลังเป็นประจำ ทำไคเซ็น จัดทำระบบสมัครออนไลน์ โดยนักศึกษาสมัครด้วยตนเอง และสามารถเช็ครายชื่อผู้สมัครได้ง่ายด้วย กำหนดวันชำระเงินที่แน่นอนเพื่อเป็นการยืนยันสิทธิ โดยระบุช่วงเวลาการจ่ายเงินให้ทราบด้วย ผล เจ้าหน้าที่สามารถกำหนดเวลาในการทำงานอื่นได้ นักศึกษาสามารถสมัครอบรมออนไลน์ได้ ไม่เสียเวลาในการเดินทาง ลดความผิดพลาดของข้อมูลผู้สมัคร แนวคิดไคเซ็นก่อนหน้านี้: แจ้งให้นักศึกษาโอนเงินค่าสมัครทางบัญชีธนาคาร เมื่อสมัครเสร็จ ผล: ไม่สะดวก เพราะนักศึกษาสามารถมาจ่ายได้ที่คณะง่ายกว่า และค่าสมัครเพียง 200 บาท

24 ผลที่ได้รับจาก Kaizen ครั้งที่ 4
เวลาที่ใช้ในขั้นตอน การรับสมัคร (ชั่วโมง) ค่ากระดาษและสำเนา เอกสารรับสมัคร (บาท) เวลาในการแก้ไขข้อมูล ผู้อบรม (ชั่วโมง/ปี) Kaizen#4 เปลี่ยน – รูปแบบการรับสมัคร เลิก – การใช้กระดาษ เลิก – การเดินทางมาสมัครด้วยตนเอง

25 ไคเซ็น 5 # ดาวน์โหลดเอกสารอบรมได้จากหน้าเวบไซต์ (ปี 2555)
ปัญหา นักศึกษาต้องการอ่านเอกสารอบรมก่อนวันอบรม เพื่อเตรียมตัวล่วงหน้า หลังอบรมเสร็จ นักศึกษาบางคนทำเอกสารการอบรมหาย ต้องมาขอสำเนาเอกสารใหม่ที่ศูนย์ฯ ต้องการอำนวยความสะดวกแก่ผู้ที่ไม่ได้เข้าอบรม เพราะติดภารกิจ หรือจำนวนผู้สมัครเต็ม ทำไคเซ็น แขวนเอกสารอบรมไฟล์ .pdf บนเว็บไซด์ให้นักศึกษา Download ได้ทั้งก่อนและหลังการอบรม ผล นักศึกษาสามารถเตรียมตัว อ่านเอกสารล่วงหน้าก่อนการ อบรม ทำให้เข้าใจเนื้อหาการอบรมมากกว่าเดิม เป็นการเผยแพร่ความรู้ในการอบรมให้แก่ ผู้ไม่ได้เข้าอบรม นักศึกษาสามารถ Download เอกสารใหม่ได้ตลอดเวลา เมื่อเอกสารหายหรือต้องการใช้นอกสถานที่ Kaizen ครั้งแรก ใช้การแจกเอกสารอบรมเป็นเล่มทันทีหลังจ่ายค่าสมัคร แต่นักศึกษาบอกว่าเอกสารหนัก อยากได้ในรูป E-book ไว้อ่านใน Tablet ด้วย ^_^ Change document to electronic file

26

27 ผลที่ได้รับจาก Kaizen ครั้งที่ 5
ลดการใช้กระดาษได้ทันที ค่าเอกสารอบรมที่แจกเพิ่มเติม (บาท/ปี) เบื้องหลังไคเซ็นอีกครั้ง: คณะฯ สนับสนุนการพัฒนาของบุคลากรและองค์กร โดยจัดอบรมเรื่อง “จิตบริการ” ให้บุคลากรทุกคน ในปี 2555 Kaizen#5 เปลี่ยน – รูปแบบเอกสารอบรม เลิก - การสำเนาเอกสารให้ใหม่

28 ไคเซ็น 6 # แจ้งเตือนอบรมผ่าน SMS และวุฒิบัตร Online (ปี 2556)
ปัญหา นักศึกษามาอบรมสาย หรือขาดการอบรมช่วงเช้า เนื่องจากตื่นสาย หรือหลงลืมวันอบรม เมื่อเวลาผ่านไปนาน นักศึกษาโทรมาขอวุฒิบัตรใหม่ เนื่องจากทำวุฒิบัตรหาย ทำไคเซ็น จัดทำระบบเตือนในปฏิทิน Google Calendar และระบบส่ง SMS ฟรีผ่านเวบไซต์ โดยตั้งเวลาให้ส่ง SMS ไปยังผู้เข้าอบรมล่วงหน้าทุกคน จำนวน 2 ครั้ง คือ ก่อนการอบรม 1 วัน และเช้าวันอบรม จัดทำระบบ Download วุฒิบัตรออนไลน์ ผ่านหน้าเวบไซต์ศูนย์เครื่องมือกลาง ผล นักศึกษาไม่มาอบรมสาย มีชั่วโมงการเข้าอบรมครบ 100% ผู้เข้าร่วมอบรมมีความพอใจ ไม่เสียเวลาเดินทางมาขอวุฒิบัตรใหม่ สามารถ Download ได้ทันทีเมื่อต้องการใช้นำไปสมัครงานหรือเรียนต่อ ลดเวลาของเจ้าหน้าที่ และลดค่าใช้จ่ายในการทำวุฒิบัตรใหม่ การส่งไปรษณีย์, อีเมล์ หรือ แฟกซ์

29

30 ผลที่ได้รับจาก Kaizen ครั้งที่ 6
เวลาส่งวุฒิบัตรใหม่ (ชั่วโมง/ปี) ค่ากระดาษและค่าพิมพ์ วุฒิบัตรใหม่ (บาท/ปี) เวลาที่ขาดอบรม (%) Kaizen#6 เปลี่ยน – ระบบการแจ้งเตือนอบรม เลิก – การพิมพ์วุฒิบัตรใหม่ เลิก - การส่งวุฒิบัตรใหม่

31 ไคเซ็น 7 # เปลี่ยนแปลงเป็นหลักสูตร International (ปี 2556)
ปัญหา มีผู้เข้าอบรมเป็นนักศึกษาต่างชาติ จึงต้องอบรมสองรอบสำหรับนักศึกษาไทยและนักศึกษาต่างชาติ เกณฑ์ของ มคอ. และนโยบายคณะฯ มีการระบุให้เพิ่มศักยภาพด้านภาษาอังกฤษแก่นักศึกษา ทำไคเซ็น จัดอบรมเหลือรอบเดียว เป็นหลักสูตรภาษาอังกฤษแทนหลักสูตรภาษาไทย โดย วิทยากรเป็นอาจารย์คนไทย จึงอธิบายเพิ่มเติมเป็นภาษาไทยได้ เมื่อนักศึกษาไทยไม่เข้าใจ ผล ลดเวลาในการการอบรมสองรอบ, ลดค่าใช้จ่ายของวิทยากร และค่าดำเนินการจัดอบรมต่างๆ นักศึกษาต่างชาติเข้าอบรมได้ ฝึกทักษะการฟังและการพูดภาษาอังกฤษให้แก่นักศึกษาไทยด้วย เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกัน สร้างความกล้าแสดงออกของนักศึกษา เป็นการเตรียมความพร้อมเข้าสู่อาเซียนของนักศึกษา เจ้าหน้าที่ และหน่วยงาน

32 ผลที่ได้รับจาก Kaizen ครั้งที่ 7
เบื้องหลังไคเซ็นอีกแล้ว: วิทยากรภาคทฤษฎี คืออาจารย์ที่จบ ดร. มาจากต่างประเทศ ส่วนวิทยากรภาคปฏิบัติการ คือ นักวิทยาศาสตร์ของศูนย์เครื่องมือกลางเอง ซึ่งผ่านการฝึกอบรมหลักสูตรการใช้ภาษาอังกฤษ ที่คณะฯ จัดขึ้นเมื่อปี 2554 และ การพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษระยะสั้น (7 วัน) ที่ประเทศมาเลเซียในเดือนธันวาคม 2555 และ มีนาคม 2556 รวมทั้งเจ้าหน้าที่มีความสนใจด้านภาษาอังกฤษเป็นทุนเดิมอยู่แล้วด้วย ค่าใช้จ่ายในการจัดอบรม (บาท/ปี) Kaizen#7เลิก - หลักสูตรการอบรมภาษาไทย

33 ไคเซ็น 8 # จัดทำ Training VDO เผยแพร่ทาง YouTube (ปี 2556)
ปัญหา นักศึกษาลืมการใช้งานเครื่องมือ เมื่อเวลาผ่านไปนาน จึงต้องการทบทวนการอบรมใหม่ เมื่อทบทวนซ้ำ เอกสารอบรมมีความชัดเจนน้อยกว่าการอธิบายด้วยภาพเคลื่อนไหว เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้ที่ไม่ได้เข้าอบรม และผู้สนใจทั่วไป ทำไคเซ็น จัดทำ Training VDO ภาษาอังกฤษแทรกบรรยายไทย และแขวนวีดีโอลงใน YouTube ผล นักศึกษาสามารถทบทวนการอบรมผ่าน VDO ได้ด้วยตนเองประกอบกับเอกสารการอบรม เป็นการเผยแพร่ความรู้ในการอบรมให้แก่ผู้สนใจทั่วไป โดยใช้ภาษาสากล นักศึกษามีความพึงพอใจเพิ่มขึ้น

34 ผลที่ได้รับจาก Kaizen ครั้งที่ 8
เวลาที่ใช้ในการอธิบายการ ใช้เครื่องมือซ้ำ (ชั่วโมง/ปี) ความพึงพอใจผู้เข้าอบรม (%) ตัวอย่างวิดีโอสอนการใช้เครื่องมือใน YouTube ดูได้ที่ Kaizen#8 เปลี่ยน – การอธิบายซ้ำ เป็นดู VDO

35 สรุปผลจากการทำ Kaizen (เทียบกับเป้าที่ตั้งไว้)
เพิ่ม 24% 1 ความพึงพอใจของผู้เข้าอบรม จาก 75 %  93 % ค่าวัสดุ สารเคมี ค่าอะไหล่ และค่าซ่อมบำรุง จาก 56,400 บาท  6,800 บาท ค่ากระดาษ วัสดุสำนักงาน ค่าวุฒิบัตร จาก 1,320 บาท  0 บาท ค่าใช้จ่ายในการอบรม จาก 10,000 บาท  5,000 บาท เวลาในการอบรม (ชั่วโมง/ปี) จาก 126 ชั่วโมง  12 ชั่วโมง เวลาในการแก้ปัญหาเครื่องมือ การสอนซ้ำ จาก 132 ชม.  18 ชม. เวลาในกระบวนการรับสมัคร แก้ไขข้อมูลผู้สมัคร ส่งวุฒิบัตร จาก 44 ชั่วโมง  12 ชั่วโมง ผ่าน 2 ลด 83% สำเร็จ ลด 86% 3 สุดยอด คิดเวลาเป็นค่าแรงงานที่ลดลง=44,200 บาท/ปี สรุปรวมค่าใช้จ่ายในข้อ 2 และ 3 ที่ลดลงได้ถึง 100,120 บาท/ปี

36 ขั้นตอนการจัดอบรม ก่อนทำไคเซ็น 18 ขั้น
ก่อนการอบรม ระหว่างการอบรม หลังการอบรม ประชาสัมพันธ์การอบรม สอนหน้าเครื่องมือให้นักศึกษาหลายคน/หลายครั้ง สรุปประเมินผลการอบรมและวางแผนการทำไคเซ็น รับสมัครอบรมด้วยกระดาษ อบรมเพิ่มเติมให้ผู้ไม่ได้เข้าอบรม อบรมรอบภาษาไทย เตรียมเอกสารและเครื่องมือเพื่อจัดการอบรม สอนเพิ่มเติมเรื่องการซ่อมให้นักศึกษา อบรมรอบภาษาอังกฤษ สำเนาเอกสารให้นักศึกษาก่อนการอบรม สอนการใช้เครื่องมือซ้ำภาคภาษาไทย แก้ไขชื่อในใบเซ็นต์ชื่อ แก้ชื่อในวุฒิบัตร พิมพ์รายชื่อในใบเซ็นต์ชื่อ สอนการใช้เครื่องมือซ้ำภาคภาษาอังกฤษ มอบวุฒิบัตรผู้ผ่านการอบรม โทรตามผู้เข้าอบรม พิมพ์วุฒิบัตรใหม่ให้คนที่ทำหาย สีดำ = คงเดิม / สีน้ำเงิน = เปลี่ยนแปลง / สีแดง = เลิก

37 ขั้นตอนการจัดอบรม หลังทำไคเซ็น 8 ขั้น
ก่อนการอบรม ระหว่างการอบรม หลังการอบรม 1.ประชาสัมพันธ์การอบรม 7. สรุปประเมินผลการอบรมและวางแผนการทำไคเซ็น 2. รับสมัคร Online (ลดเวลา) 3. เตรียมเอกสารและเครื่องมือเพื่อจัดการอบรม 5. อบรมทฤษฎีและปฏิบัติการรอบภาษาอังกฤษ (ลดเวลา) แค่นี้เองหรอ 8. ทำ VDO อบรมภาคภาษาอังกฤษลง YouTube 4. SMS เตือนผู้เข้าอบรม (ลดเวลา) 6. มอบวุฒิบัตรผู้ผ่านการอบรม สีดำ = คงเดิมมาตั้งแต่ก่อนไคเซ็น / สีน้ำเงิน = เปลี่ยนแปลงหลังทำไคเซ็น

38 สรุปผลจากการทำ Kaizen (ต่อ)
ตามหลัก PQCSDME Productivity – จำนวนผู้อบรมเพิ่มขึ้นในการอบรมเพียงครั้งเดียว Quality – ผู้เข้าอบรมได้รับความรู้ครบถ้วนทั้งทฤษฎีและปฏิบัติการการใช้เครื่องมือ การดูแลรักษา ซ่อมแซมเบื้องต้น, เจ้าหน้าที่มีระบบการรับสมัคร ระบบเอกสารอบรม ระบบ Download วุฒิบัตร และ Training VDO ที่มีคุณภาพ Cost – ลดค่าใช้จ่ายในการอบรม, ลดค่าวัสดุ สารเคมี, ลดค่ากระดาษ, ลดค่าพิมพ์เอกสาร, ลดค่าล่วงเวลาของเจ้าหน้าที่ Safety – ความปลอดภัยของเจ้าหน้าที่ที่ไม่ต้องทำงานล่วงเวลา, อันตรายจากการใช้เครื่องมือไม่ถูกวิธีลดลง เพราะนักศึกษาใช้เครื่องมือเป็น รู้จักดูแลรักษาเครื่องมือ

39 ตามหลัก PQCSDME (ต่อ) Delivery – ระยะเวลาในการจัดอบรมลดลง, ลดเวลาการแก้ไขปัญหา การซ่อม Morale – ขวัญกำลังใจดี มีความสุขทั้งเจ้าหน้าที่ นักศึกษา และอาจารย์ที่ปรึกษาวิจัยเพราะมีกระบวนการประชาสัมพันธ์ที่ทั่วถึง การสมัครอบรมสะดวก เนื้อหาการอบรมครบถ้วน นักศึกษาสามารถดาวน์โหลดเอกสารอบรม วุฒิบัตร และทบทวนการอบรมผ่าน VDO ได้ด้วยตนเอง งานวิจัยเสร็จทันเวลา, ลดเวลาการทำงานของเจ้าหน้าที่ และเจ้าหน้าที่ได้รับรางวัลชนะเลิศ Good Practice ระดับคณะ ปี 2555 จากงานชิ้นนี้ Environmental – ลดการใช้สารเคมีและวัสดุสิ้นเปลือง ซึ่งช่วยลดการทำลายสิ่งแวดล้อมด้วย

40 ผลประโยชน์ที่ประเมินค่าไม่ได้
สิ่งที่ผู้รับบริการได้รับ - สามารถใช้เครื่องมือเพื่อทำงานวิจัยได้อย่างมีประสิทธิภาพในเวลาที่กำหนดในเวลาที่กำหนด ทำให้เกิดงานวิจัยที่มีคุณค่า นักศึกษาได้เรียนจบตามหลักสูตร ทำงานที่เป็นประโยชน์ต่อชาติบ้านเมืองต่อไป สิ่งที่เจ้าหน้าที่ได้รับ – ทำให้เกิดการพัฒนาตนเอง ให้เป็นคนไม่นิ่งดูดาย มีความพยายามแก้ไขปัญหาตลอดเวลา ทำทีละเล็กละน้อย ต่อเนื่องจนสำเร็จ ซึ่งรางวัลที่ยิ่งใหญ่ในการทำไคเซ็น คือความสุขของผู้รับบริการ และความสุขของผู้ทำงาน ที่สามารถเปลี่ยนจากการก้มหน้าก้มตาทำงานหนัก เป็นพัฒนางานให้ใช้เวลาลดน้อยลง เหนื่อยน้อยลง ไม่ต้องทำงานล่วงเวลา มีเวลาให้ตัวเองและครอบครัวเพิ่มขึ้น ขอบคุณครับ/ค่ะ


ดาวน์โหลด ppt “อบรมเชิงปฏิบัติการเครื่อง HPLC 18 เหลือ 8”

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google