งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

เทคโนโลยีสารสนเทศ Information Technology

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "เทคโนโลยีสารสนเทศ Information Technology"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 เทคโนโลยีสารสนเทศ Information Technology
Chapter II Hardware

2 ความหมายของ Hardware ฮาร์ดแวร์ (Hardware) หมายถึง อุปกรณ์ต่างๆที่ประกอบรวมกันเป็นตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์รอบข้าง (Peripheral) ที่ทำงานกับเครื่องคอมพิวเตอร์

3 การจัดแบ่งประเภทฮาร์ดแวร์
สามารถแบ่งตามลักษณะการทำงานได้เป็น 4 หน่วย ดังนี้ 1. หน่วยรับคำสั่งและข้อมูล (Input Unit) 2. หน่วยประมวลผลกลาง (CPU – Central Processing Unit) 3. หน่วยความจำ (Memory หรือ Storage) 4. หน่วยแสดงผล (Output Unit)

4 ประเภทของฮาร์ดแวร์ 1. หน่วยรับคำสั่งและข้อมูล (Input unit)
ทำหน้าที่ในการรับคำสั่งต่าง ๆ และข้อมูลเข้าสู่หน่วยความจำหลักของเครื่องคอมพิวเตอร์

5 หน่วยรับคำสั่งและข้อมูล (Input Unit) แป้นพิมพ์ (Keyboard)
เป็นอุปกรณ์มาตรฐานในการป้อนข้อมูล เมื่อกดแป้นพิมพ์จะเปลี่ยนสัญญาณทางไฟฟ้า และไมโครโปรเซสเซอร์ที่ในแป้นพิมพ์ จะตรวจสอบว่ากดแป้นพิมพ์แป้นใด แล้วส่งรหัสแอสกีไปหน่วยความจำ

6 หน่วยรับคำสั่งและข้อมูล (Input Unit) แป้นพิมพ์ (Keyboard)
ประเภทของปุ่ม แบ่งเป็น 4 ประเภทดังนี้ 1. แป้นอักขระ (Character keys) เป็นกลุ่มของแป้นตัวอักษรทั้งภาษาไทย ภาษาอังกฤษ และสัญลักษณ์พิเศษต่าง ๆ 2. แป้นฟังก์ชัน(Function keys) เป็นกลุ่มของแป้นพิมพ์ที่มีสัญลักษณ์ตั้งแต่ F1 ถึง F12 โดยมีการทำงานต่าง ๆ กันไปขึ้นอยู่กับซอฟต์แวร์ที่ใช้ในขณะนัน 3. แป้นควบคุม(Control keys) เป็นกลุ่มของแป้นพิมพ์ที่มำคำสั่งต่าง ๆ กัน โดยบางแป้นทำหน้าที่เป็นแป้นคำสั่ง เช่น แป้น Delete , Shift 4. แป้นตัวเลข (Numeric keys) เป็นกลุ่มของตัวเลขที่อยู่ทางขวามือของแป้นพิมพ์ เพื่อใช้ในการป้อนข้อมูลที่เป็นตัวเลขให้สะดวกขึ้น

7 หน่วยรับคำสั่งและข้อมูล (Input Unit) เมาส์(Mouse)
นิยมใช้ในการติดต่อสั่งการให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงาน ภายในมีแกน 2 แกนฉากกัน ซึ่งสัมผัสอยู่กับผิวของลูกกลิ้ง เมื่อมีการหมุนจะทำให้ทราบตำแหน่งการเลื่อน ซอฟต์แวร์บนเครื่องคอมพิวเตอร์จะรับข้อมูลต่าง และปุ่มบนเมาส์จะทำการส่งสัญญาณให้ซอฟต์แวร์ทำงานตามต้องการ

8 หน่วยรับคำสั่งและข้อมูล (Input Unit) เครื่องขับจานบันทึก(Disk drive)
ทั้งอุปกรณ์รับข้อมูลและแสดงผลข้อมูล โดยใช้ในการอ่านและเขียนแผ่นบันทึกข้อมูลแบบอ่อน(Floppy disk)

9 หน่วยรับคำสั่งและข้อมูล (Input Unit) เครื่องขับจานบันทึก(Disk drive)
การเขียน มีการปล่อยกระแสไฟฟ้าที่หัวอ่าน เพื่อสร้างสนามแม่เหล็ก ทำให้ขั้วแม่เหล็กบนผิวของแผ่นบันทึกข้อมูลเกิดเรียงตัวเป็นข้อมูลใหม่ การอ่าน ไม่มีการปล่อยกระแสไฟฟ้าไปที่หัวอ่าน โดยที่ผิวของแผ่นบันทึกข้อมูลตำแหน่งที่ต้องการอ่านจะมีสนามแม่เหล็กอยู่ ทำให้กระแสไฟฟ้า ไหลจากแผ่นบันทึกข้อมูลไปยังหัวอ่าน

10 หน่วยรับคำสั่งและข้อมูล (Input Unit) ปากกาแสง (Light pen)
เป็นอุปกรณ์รับข้อมูลเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์ โดยในการใช้ปากกาแสงจะต้องเขียนตัวอักษรหรือแตะปากกาแสงบนจอภาพแบบ LCD เมื่อมีการวางปากกาลงบนจอภาพหรือเลื่อนตำแหน่งปากกา จะทำให้ทราบตำแหน่งจุดพิกัดต่าง ๆ ซึ่งจะเป็นข้อมูลส่งเข้าไปในเครื่องคอมพิวเตอร์

11 หน่วยรับคำสั่งและข้อมูล (Input Unit) เครื่องอ่านพิกัด (Digitizer)

12 หน่วยรับคำสั่งและข้อมูล (Input Unit) เครื่องอ่านพิกัด (Digitizer)
เป็นอุปกรณ์ที่มีลักษณะเป็นแผ่นกระดานสี่เหลี่ยม และมีอุปกรณ์ที่มีลักษณะคล้ายแว่นขยายมีกากบาทตรงกลาง และมีปุ่มกด เมื่อเลื่อนไปวางบนตำแหน่งที่ต้องการอ่านพิกัดแล้วกดปุ่ม จะอ่านค่าพิกัดตำแหน่งของจุดบนภาพนั้นเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์ นิยมใช้สำหรับงานทางด้านแผนที่ หรือการออกแบบต่าง ๆ

13 หน่วยรับคำสั่งและข้อมูล (Input Unit) ก้านควบคุม (Joystick)

14 หน่วยรับคำสั่งและข้อมูล (Input Unit) เครื่องอ่านรหัสแท่ง (Bar code Reader)
เป็นอุปกรณ์ที่ใช้อ่านรหัส ที่พิมพ์ออกมาในรูปของแถบสีดำและขาวต่อเนื่องกันไป เช่น รหัสที่ติดบนสลากสินค้า, รหัสบนบัตรนักศึกษา มีรูปร่างหลายลักษณะ เช่น เหมือนปากกาสำหรับลากผ่านรหัสบาร์โค็ด เหมือนปืนซึ่งใช้มีแสงส่องไปที่รหัสบาร์โค็ด หรืออาจจะเป็นกล่องขนาดเล็ก มีร่องกลางสำหรับใช้รูดบัตร ได้รับความนิยมกันมาก เนื่องจากข้อมูลที่ได้จะมีความผิดพลาดน้อยมาก และประหยัดเวลา

15 หน่วยรับคำสั่งและข้อมูล (Input Unit) เครื่องกราดภาพ(Scanner)
Sheet-Feed Scanner Flatbed Scanner เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่อ่านตัวอักษรหรือรูปภาพกราฟิกต่าง ๆ โดยมี กลไกในการแปลงอักษรหรือรูปภาพต่าง ๆ ให้เป็นสัญญาณดิจิตอล

16 หน่วยรับคำสั่งและข้อมูล (Input Unit) เครื่องกราดภาพ(Scanner)
แบ่งออกได้เป็น 3 ประเภทคือ 1. สแกนเนอร์แบบเลื่อนกระดาษ (Sheet-feed scanner) ใส่กระดาษเข้าไปในสแกนเนอร์ทีละแผ่น ถ้าต้องการที่จะอ่านข้อมูลจากหนังสือหรือสมุดที่มีความหนาจะไม่สามารถทำได้ 2. สแกนเนอร์แบบแท่นนอน (Flatbed scanner) มีวิธีการทำงานคล้ายกับเครื่องถ่ายเอกสาร ทำให้ใช้งานได้ง่ายและสะดวกเป็นที่นิยมแพร่หลายในปัจจุบัน 3. สแกนเนอร์แบบมือถือ (Handheld scanner) เป็นสแกนเนอร์ที่มีขนาดเล็กสะดวกในการพกพาและและราคาถูก สแกนเนอร์ของผู้ใช้งาน การทำงานของสแกนเนอร์

17 หน่วยรับคำสั่งและข้อมูล (Input Unit) เครื่องอ่านอักขระหมึกแม่เหล็ก (MICR – Magnetic Ink Character Reader) เป็นเครื่องที่ใช้ในการอ่านข้อมูลที่จำเป็นในธุรกิจธนาคาร โดยอ่านอักขระแม่เหล็กที่พิมพ์บนเอกสาร เช่น เช็ค หรือ สมุดบัญชีเงินฝากธนาคาร โดยทั่วไปจะเป็นข้อมูลเกี่ยวกับรหัสธนาคาร รหัสสาขา เลขที่บัญชี หรือเลขที่เช็ค เป็นต้น

18 หน่วยรับคำสั่งและข้อมูล (Input Unit) เครื่องอ่านเครื่องหมายด้วยแสง (OMR - Optical Mark Reader )
เป็นอุปกรณ์ที่ใช้อ่านข้อมูลที่เป็นเครื่องหมายที่ระบายด้วยดินสอดำ ตามตำแหน่งที่กำหนดไว้ โดยปกติจะเป็นดินสอดำ 2B ขึ้นไป ซึ่งมีสาร แม่เหล็กทำให้เครื่อง OMR สามารถอ่านได้ นิยมใช้ในการอ่านกระดาษคำตอบแบบเลือกตอบ หรืออ่านข้อมูลที่ สร้างแบบฟอร์มได้แน่นอน เช่น ใบส่งเกรดนักศึกษา

19 หน่วยรับคำสั่งและข้อมูล (Input Unit) เครื่องขับซีดีรอม(CD-ROM Drive)
เป็นอุปกรณ์ในการอ่านข้อมูลจากแผ่นซีดีรอม (Compact Disk Read Only Memory) ซึ่งแผ่นซีดีรอมจะเคลือบด้วยพลาสติก และ ใช้แสงในการเก็บบันทึกข้อมูลแทนการใช้สารแม่เหล็กที่ใช้ในแผ่น ดิสก์เก็ต

20 หน่วยรับคำสั่งและข้อมูล (Input Unit) จอภาพแบบสัมผัส (Touch screen)
ใช้ปลายนิ้วแตะลงไป ในตำแหน่งที่กำหนดไว้ ซอฟต์แวร์ที่ใช้ร่วมกับจอภาพแบบสัมผัสจะรับทราบตำแหน่งที่ผู้ใช้ เลือกการทำงาน และส่งข้อมูลเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อนำไป ประมวลผลต่อไป

21 หน่วยรับคำสั่งและข้อมูล (Input Unit) ลูกกลมควบคุม(Track ball)
มีหลักการทำงานเหมือนกับเมาส์ แต่แตกต่างกันที่แทรกบอล ทำงานโดยผู้ใช้จะหมุนลูกกลิ้งโดยตรง เพื่อให้ตัวชี้ตำแหน่ง (Cursor) เลื่อนไปในตำแหน่งที่ต้องการ

22 หน่วยรับคำสั่งและข้อมูล (Input Unit) กล้องถ่ายภาพดิจิตอล(Digital Camera)
เป็นอุปกรณ์รับข้อมูลที่เป็นภาพ แล้วเปลี่ยนให้เป็นข้อมูลในลักษณะของดิจิตอล โดยมีอุปกรณ์ CCD (Charge Coupled Device) จะทำการปรับความเข้มของภาพให้เป็นแรงดันไฟฟ้า และมีกลไกในการเปลี่ยนสัญญาณไฟฟ้าให้เป็นข้อมูลดิจิตอล

23 หน่วยรับคำสั่งและข้อมูล (Input Unit) กล้องวีดีโอดิจิตอล (Digital Video)
เป็นอุปกรณ์สำหรับบันทึกภาพเคลื่อนไหวและเก็บข้อมูลในรูปแบบดิจิตอล

24 ประเภทของฮาร์ดแวร์ 2. หน่วยประมวลผลกลาง (CPU – Central Processing Unit)
COMPUTER DEPARTMENT

25 ประเภทของฮาร์ดแวร์ หน่วยประมวลผลกลาง (CPU – Central Processing Unit)
เป็นศูนย์กลางควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์ ขั้นตอนการทำงาน รับโปรแกรมและข้อมูลจากอุปกรณ์รับข้อมูลลงหน่วยความจำ โปรแกรมและข้อมูลจากหน่วยความจำมาประมวล และนำกลับไปเก็บไว้ในหน่วยความจำ ถ้าต้องการจะแสดงผลจะนำข้อมูลไปแสดงผลผ่านทางอุปกรณ์แสดงผล ความเร็วของ CPU จะมีหน่วยเป็นเมกะเฮิรตซ์ (MHz - Megahertz) เฮิรตซ์ หมายถึง 1 รอบต่อวินาที เมกะ หมายถึง 1 ล้าน CPU ที่มีความเร็ว 133 MHz หมายถึง สามารถสร้างสัญญาณนาฬิกา 133 ล้านรอบใน 1 วินาที

26 ประเภทของฮาร์ดแวร์ หน่วยประมวลผลกลาง (CPU – Central Processing Unit)
ความเร็วในการประมวลผล มีหน่วยวัด ดังนี้ Millisecond (mS) หมายถึง หนึ่งในพันของวินาที ( 1/1,000) หรือ 1/103 Microsecond (S) หมายถึง หนึ่งในล้านของวินาที (1/1,000,000) หรือ 1/106 Nanosecond (nS) หมายถึง หนึ่งในพันล้านของวินาที(1/1,000,000,000) หรือ 1/109 Picosecond (pS) หมายถึง หนึ่งในล้านล้านของวินาที (1/1,000,000,000,000) หรือ 1/1012

27 ประเภทของฮาร์ดแวร์ หน่วยประมวลผลกลาง (CPU – Central Processing Unit)
แบ่งออกเป็น 2 หน่วยคือ 2.1 หน่วยควบคุม (Control Unit) ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ให้ทำงานประสานกันทั้งระบบ โดยรับคำสั่งจากชุดคำสั่งที่ถูกป้อนเข้าไป 2.2 หน่วยคำนวณและตรรกะ (ALU – Arithmetic and Logic Unit) ทำหน้าที่ในการคำนวณทางคณิตศาสตร์และเปรียบเทียบทางตรรกะเพื่อทำการ ตัดสินใจ ในการทำงานจะมีการเก็บข้อมูลที่ใช้คำนวณหน่วยความจำชั่วคราวใน ALU ซึ่ง เรียกว่า รีจิสเตอร์ (Register) เพื่อทำการคำนวณหรือเปรียบเทียบ เมื่อได้ผลลัพธ์ แล้วจะส่งผลลัพธ์กลับไปเก็บไว้ในหน่วยความจำ

28 ประเภทของฮาร์ดแวร์ 3. หน่วยความจำ (Memory หรือ Storage)
โปรแกรมหรือข้อมูลต่าง ๆ จะถูกเก็บไว้ในส่วนหน่วยความจำของคอมพิวเตอร์ ซึ่งประกอบด้วยวงจรอิเล็กทรอนิกส์ที่มี 2 สถานะ คือ สถานะที่มีกระแสไฟฟ้าแทนด้วยเลข 1 สถานะไม่มีกระแสไฟฟ้าแทนด้วย 0 ตัวเลข 0 และ 1 ตรงกับระบบเลขฐานสอง และเรียกตัวเลขแต่ละหลักว่าบิต (bit) การสร้างรหัสแทนข้อมูล ถ้าใช้เลขฐานสอง 2 หลัก จะสามารถสร้างรหัสได้ 4 รหัสที่แตกต่างกันคือ 00 , 01 , 10 , 11

29 หน่วยความจำ (Memory หรือ Storage)
ถ้าใช้เลขฐานสอง 8 หลัก หรือ 8 บิต จะแทนรหัสได้ 256 แบบ เช่นในรหัส ASCII ตัวอักษร A แทนด้วยรหัส โดยเรียกกลุ่มตัวเลขที่มี 8 บิตว่า ไบต์ (byte) หน่วยที่ใช้วัด หน่วยความจำ มีดังนี้ 1 KB (Kilobyte) = Byte 1 MB (Megabyte) = KB 1 GB (Gigabyte) = MB 1 TB (Terabyte) = GB

30 แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
หน่วยความจำ (Memory หรือ Storage) แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ 3.1 หน่วยความจำหลัก (Main Memory หรือ Primary storage) เป็นหน่วยความจำที่อยู่บนแผงวงจรหลักในเครื่องคอมพิวเตอร์ แบ่งได้คือ หน่วยความจำแบบอ่านอย่างเดียว (ROM – Read Only Memory) หน่วยความจำเข้าถึงโดยสุ่ม (RAM – Random Access Memory) 3.2 หน่วยเก็บรอง (Secondary storage หรือ Auxiliary Storage) ใช้ในการเก็บบันทึกข้อมูลไว้อย่างถาวร ก่อนที่จะเลิกใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์ การเก็บบันทึกข้อมูลจะเก็บไว้ในสื่อบันทึกข้อมูลต่าง ๆ เช่น เทปแม่เหล็ก แผ่นดิสก์เก็ต ฮาร์ดดิสก์ เป็นต้น

31 หน่วยความจำ (Memory หรือ Storage) 3. 1 หน่วยความจำหลัก 3. 1
หน่วยความจำ (Memory หรือ Storage) 3.1 หน่วยความจำหลัก หน่วยความจำแบบอ่านอย่างเดียว (ROM – Read Only Memory) เป็นหน่วยความจำที่ใช้เก็บชุดคำสั่ง (Program) ที่ใช้เริ่มต้นการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ คำสั่งจะอยู่แบบถาวร โดยไม่ต้องมีกระแสไฟฟ้ามาหล่อเลี้ยง ROM

32 ประเภทของหน่วยความจำ ROM
หน่วยความจำ (Memory หรือ Storage) 3.1 หน่วยความจำหลัก หน่วยความจำแบบอ่านอย่างเดียว (ROM – Read Only Memory) ประเภทของหน่วยความจำ ROM PROM (Programmable Read Only Memory) - บันทึกด้วยเครื่องบันทึกพิเศษได้หนึ่งครั้ง ไม่สามารถลบหรือแก้ไขได้อีก EPROM (Erasable Programmable Read Only Memory) - ลบและบันทึกข้อมูลได้หลายครั้ง โดยถอดออกเครื่องคอมพิวเตอร์ และใช้แสงอุตราไวโอเลตความเข้มสูงลบข้อมูลทั้งหมดก่อนแล้วจึงบันทึกข้อมูลใหม่ EEPROM (Electrically Erasable Programmable Read Only Memory) - ลบและบันทึกข้อมูลได้หลายครั้งด้วยไฟฟ้า โดยไม่ต้องถอด ROM ออก การลบหรือบันทึกข้อมูลมีหน่วยการทำงานเป็นไบต์ Flash memory เป็นหน่วยความจำที่คล้ายกับ EEPROM แต่การลบข้อมูลทำงานเป็น Blocks ทำให้ทำงานเร็วกว่า EEPROM

33 หน่วยความจำ (Memory หรือ Storage) 3. 1 หน่วยความจำหลัก 3. 1
หน่วยความจำ (Memory หรือ Storage) 3.1 หน่วยความจำหลัก หน่วยความจำแบบอ่านอย่างเดียว (ROM – Read Only Memory) Flash memory

34 หน่วยความจำ (Memory หรือ Storage) 3. 1 หน่วยความจำหลัก 3. 1
หน่วยความจำ (Memory หรือ Storage) 3.1 หน่วยความจำหลัก หน่วยความจำเข้าถึงโดยสุ่ม (RAM – Random Access Memory) หน่วยความจำแบบ RAM เป็นหน่วยความจำสำหรับ เก็บโปรแกรม และข้อมูลต่าง ๆ ในขณะที่เครื่องทำงานอยู่ ถ้าปิดเครื่องข้อมูลและโปรแกรมต่าง ๆ ที่อยู่ในหน่วยความจำนี้ จะลบหายไป ดังนั้นต้องมีกระแสไฟฟ้าหล่อเลี้ยงตลอดเวลา

35 หน่วยความจำ (Memory หรือ Storage) 3. 1 หน่วยความจำหลัก 3. 1
หน่วยความจำ (Memory หรือ Storage) 3.1 หน่วยความจำหลัก หน่วยความจำเข้าถึงโดยสุ่ม (RAM – Random Access Memory) หน่วยความจำแคช (Cache RAM) เป็นหน่วยความจำชนิดความเร็วสูง นำมาใช้เก็บคำสั่งหรือข้อมูลที่ CPU เรียกใช้งานบ่อย ๆ Main Memory (RAM) CPU Cache

36 หน่วยความจำ (Memory หรือ Storage) 3
หน่วยความจำ (Memory หรือ Storage) 3.2 หน่วยเก็บรอง (Secondary -storage หรือ Auxiliary Storage) เนื่องจากหน่วยความจำ RAM ที่ผู้ใช้คอมพิวเตอร์ใช้งานมีขนาดเล็กเมื่อเทียบกับโปรแกรมและข้อมูลที่มีอยู่ในปัจจุบัน การใช้งานหน่วยความจำ RAM จะต้องเปิดเครื่องตลอดเวลาทำให้ไม่สะดวกที่จะเก็บข้อมูลไว้อย่างถาวร ดังนั้นจึงมีหน่วยความจำรองขึ้นมาเพื่อใช้ในการเก็บบันทึกข้อมูลไว้อย่างถาวร ก่อนที่จะเลิกใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์ การเก็บบันทึกข้อมูลจะเก็บไว้ในสื่อบันทึกข้อมูล เช่น เทปแม่เหล็ก แผ่นดิสก์เก็ต ฮาร์ดดิสก์ เป็นต้น

37 หน่วยความจำ (Memory หรือ Storage) 3
หน่วยความจำ (Memory หรือ Storage) 3.2 หน่วยเก็บรอง (Secondary -storage หรือ Auxiliary Storage) เทปแม่เหล็ก (Magnetic tape) - ปัจจุบันส่วนใหญ่ใช้สำรองข้อมูล (Backup) เนื่องจากราคาค่อนข้างถูก - มีความเร็วในการทำงานต่ำกว่าสื่อบันทึกข้อมูลอื่น - การอ่านหรือเขียนข้อมูลจะต้องทำแบบตามลำดับ (Sequential) - ความจุของเทปแม่เหล็กจะมีหน่วยเป็นไบต์ต่อนิ้ว (BPI - Byte Per Inch) หมายถึง จำนวนตัวอักษรต่อนิ้ว - ปัจจุบันมีขนาดเล็กกว่า ตลับเทปคาสเซ็ทเล็กน้อย เรียกว่า DAT (Digital Audio Tape) สามารถบันทึก 5 GB เป็นต้น

38 หน่วยความจำ (Memory หรือ Storage) 3
หน่วยความจำ (Memory หรือ Storage) 3.2 หน่วยเก็บรอง (Secondary -storage หรือ Auxiliary Storage) จานแม่เหล็ก (Magnetic Disk) - เป็นสื่อบันทึกข้อมูลที่ปัจจุบันนิยมใช้กันมาก - สามารถเข้าถึงข้อมูลโดยตรง (Direct Access) ใช้คู่กับเครื่องขับจานแม่เหล็ก (Disk drive) - Disk drive จะมีหัวสำหรับอ่าน/เขียน ที่เคลื่อนที่ไปยังตำแหน่งต่าง ๆ

39 หน่วยความจำ (Memory หรือ Storage) 3
หน่วยความจำ (Memory หรือ Storage) 3.2 หน่วยเก็บรอง (Secondary -storage หรือ Auxiliary Storage) ลักษณะทางกายภาพ - ผิวจานถูกฉาบด้วยสารแม่เหล็ก แผ่นจานแม่เหล็กที่ผลิตมาครั้งแรก อนุภาคเหล็ก(iron particles) จะกระจายไม่เป็นระเบียบซึ่งจะต้อง Format เพื่อจัดเรียง และสร้างย่านแม่เหล็กที่ใช้เก็บข้อมูล การจัดแบ่งจานแม่เหล็กมีดังนี้ แทรก(track) คือ แบ่งในแนววงกลมหลาย ๆ วง แต่ละแทรกจะถูกแบ่งออกเป็นส่วน ๆ เรียกว่า เซกเตอร์ (Sector) หน่วยเล็กที่สุดที่ใช้ในการอ้างอิงในการเก็บข้อมูล เรียกว่า คลัสเตอร์(Cluster) หรือหนึ่งบล็อก 1 คลัสเตอร์ อาจจะมี 2 เซกเตอร์ หรือมากกว่า ขึ้นอยู่กับระบบปฏิบัติการที่ใช้ในการ Format และขึ้นอยู่กับชนิดของแผ่นจานแม่เหล็กที่ใช้

40 หน่วยความจำ (Memory หรือ Storage) 3
หน่วยความจำ (Memory หรือ Storage) 3.2 หน่วยเก็บรอง (Secondary -storage หรือ Auxiliary Storage) จานแม่เหล็ก (Magnetic Disk) ปัจจุบันนิยมใช้กันมี 2 ชนิด 1. แผ่นจานแม่เหล็กแบบอ่อน (Floppy Diskette หรือ Diskette) - สามารถพกพาได้สะดวก - ตัวแผ่นทำมาจากพลาสติกอ่อนและฉาบด้วยสารแม่เหล็ก - ปัจจุบันคือขนาด 3.5 นิ้ว - บนแผ่นดิสก์เก็ตจะมีแถบป้องกันการบันทึก (Write protection ) ถ้าเป็นแผ่นดิสก์เก็ตขนาด 3.5 นิ้ว ผู้ใช้สามารถที่จะเปิดแถบนี้เพื่อป้องกันไม่ให้มีการลบหรือบันทึกข้อมูลลงไป

41 หน่วยความจำ (Memory หรือ Storage) 3
หน่วยความจำ (Memory หรือ Storage) 3.2 หน่วยเก็บรอง (Secondary -storage หรือ Auxiliary Storage) 2. แผ่นจานแม่เหล็กแบบแข็ง (Hard disk) - ฮาร์ดดิสก์ทำมาจากแผ่นโลหะแข็ง ในหนึ่งตัวอาจมีโลหะหนึ่งแผ่นหรือมากกว่า และแบ่งออกเป็นแทรกและเซกเตอร์ ซึ่งสามารถบันทึกได้ทั้ง 2 หน้า - ตำแหน่งที่ทุกแทรกตรงกันเรียกว่า ไซลินเดอร์(Cylinder) เช่น ถ้าฮาร์ดดิสก์หนึ่งตัว ประกอบด้วยแผ่นบันทึกหนึ่งแผ่น ตำแหน่งหน้า 1 แทรก และ หน้า 2 แทรก 10 จะถือว่าเป็นไซลินเดอร์ เดียวกัน

42 หน่วยความจำ (Memory หรือ Storage) 3
หน่วยความจำ (Memory หรือ Storage) 3.2 หน่วยเก็บรอง (Secondary -storage หรือ Auxiliary Storage) แผ่นจานแม่เหล็กแบบแข็ง (Hard disk) ต่อ ปัจจุบันฮาร์ดดิสก์จะหมุนด้วยความเร็วตั้งแต่ 3,600 รอบต่อนาทีขึ้นไป ความจุของมีความจุตั้งแต่ 1 GB (Giga byte) เป็นต้นไป มี 2 ประเภทคือ ติดอยู่ภายในเครื่องคอมพิวเตอร์ (Fixed Disk) - เคลื่อนย้ายได้ (Removable disk)

43 หน่วยความจำ (Memory หรือ Storage) 3
หน่วยความจำ (Memory หรือ Storage) 3.2 หน่วยเก็บรอง (Secondary -storage หรือ Auxiliary Storage) จานแสง (Optical Disk) - เป็นแผ่นดิสก์ที่เคลือบด้วยพลาสติก และใช้แสงเลเซอร์ในการเก็บบันทึกข้อมูล

44  ซีดีรอม(CD-ROM หรือ Compact Disk Read Only Memory)
หน่วยความจำ (Memory หรือ Storage) 3.2 หน่วยเก็บรอง (Secondary -storage หรือ Auxiliary Storage) จานแสง (Optical Disk) แบ่งประเภทได้ดังนี้  ซีดีรอม(CD-ROM หรือ Compact Disk Read Only Memory) - ใช้บันทึกได้เพียงครั้งเดียวด้วยเครื่องมือพิเศษ - ใช้กับเครื่องอ่านแผ่นซีดี (CD-ROM Drive) - หน่วยวัดความเร็วของซีดีรอมไดร์ฟรุ่นแรกคือ 150 กิโลไบต์ต่อวินาที ถ้าเทียบกับปัจจุบันเรียกว่า มีความเร็วเป็น 1X หรือ 1 เท่า เช่น ถ้ามีซีดีรอมไดร์ฟที่มีความเร็ว 40X หมายถึงมีความเร็วเป็น 40 เท่า เมื่อเทียบกับซีดีรอมไดร์ฟรุ่นแรก(เป็น 40 เท่าของ 150 กิโลไบต์ต่อวินาที)

45 ซีดีอาร์ดิบเบิลยู (CD-RW )
หน่วยความจำ (Memory หรือ Storage) 3.2 หน่วยเก็บรอง (Secondary -storage หรือ Auxiliary Storage) จานแสง (Optical Disk) ซีดีอาร์ (CD-R หรือ Compact Disk Recordable) สามารถอ่านและบันทึกข้อมูลได้ การบันทึกข้อมูลจะบันทึกได้ครั้งเดียว โดยใช้ เครื่องบันทึกแผ่นซีดี(CD-Writer) ซีดีอาร์ดิบเบิลยู (CD-RW ) สามารถอ่านและบันทึกข้อมูลได้หลายครั้ง ซึ่งการบันทึกข้อมูลลงแผ่น จะต้องใช้กับ เครื่องบันทึกแผ่นซีดี (CD-Writer)

46 หน่วยความจำ (Memory หรือ Storage) 3
หน่วยความจำ (Memory หรือ Storage) 3.2 หน่วยเก็บรอง (Secondary -storage หรือ Auxiliary Storage) จานแสง (Optical Disk) ดีวีดี (DVD หรือ Digital Versatile Disk) - ใช้เก็บข้อมูลที่มีจำนวนมาก ๆ ได้แก่ ภาพยนตร์ เกมส์ โปรแกรมเกี่ยวกับมัลติมีเดีย หรือในงานวิศวกรรมที่มีข้อมูลขนาดใหญ่ - แผ่นดีวีดี สามารถบันทึกข้อมูลได้ 2 ด้าน แต่ละด้านมี 4 ชั้น ในหนึ่งชั้นสามารถบันทึกข้อมูลได้ 4.7 GB ดังนั้นหนึ่งแผ่นบรรจุข้อมูลได้ถึง 17 GB - การใช้แผ่นดีวีดี จะต้องใช้ใน ดีวีดีไดร์ฟ (DVD drive) - ดีวีดีไดร์ฟ 1X จะมีความเร็วในการหมุนเท่ากับซีดีรอมไดร์ฟ 3X - ดีวีดีไดร์ฟสามารถอ่านแผ่นดีวีดี และแผ่นซีดีรอมได้

47 ประเภทของฮาร์ดแวร์ 4. หน่วยแสดงผล (Output Unit)
เป็นหน่วยที่แสดงข้อมูลจากหน่วยความจำ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ 1. แบบSoft copy เป็นการแสดงผลลัพธ์ที่สัมผัสไม่ได้ เช่น ตัวอักษรที่แสดงบนจอภาพ ตัวอย่าง อุปกรณ์ที่แสดงผลลัพธ์แบบ Soft copy เช่น จอภาพ (Monitor) เครื่องอ่าน/เขียนเทปแม่เหล็ก (Magnetic tape Drive) 2. แบบ Hard copy เป็นการแสดงผลลัพธ์แบบถาวร ผลลัพธ์ที่ได้สามารถสัมผัส เคลื่อนย้ายได้ ซึ่งจะออกมาในรูปของเอกสาร ตัวอย่างของอุปกรณ์ เช่น เครื่องพิมพ์ (Printer) เครื่องพลอตเตอร์ (Plotter) เป็นต้น

48 ประเภทของฮาร์ดแวร์ 4. หน่วยแสดงผล (Output Unit)
จอภาพ (Monitor) บนจอภาพจะประกอบไปด้วยจุดเป็นจำนวนมาก จุดเหล่านี้เรียกว่า พิกเซล(pixel) เป็นหน่วยที่เล็กที่สุดในการสร้างภาพ หนึ่งพิกเซล เกิดจากจุดของแสงหลาย ๆ จุดมารวมกัน มีสองแบบคือ - จอภาพแบบซีอาร์ที (CRT – Cathode Ray Tube) - จอภาพแบบแอลซีดี (LCD - Liquid Crystal Display)

49 ประเภทของฮาร์ดแวร์ 4. หน่วยแสดงผล (Output Unit) จอภาพ (Monitor)
จอภาพแบบซีอาร์ที (CRT – Cathode Ray Tube) นิยมใช้กับเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะ หลักการทำงาน - ส่งค่าข้อมูลดิจิตอลมาให้อะแดปเตอร์การ์ด ในการ์ดจะมีวงจรเปลี่ยนสัญญาณดิจิตอลให้เป็นสัญญาณอนาลอก แล้วส่งสัญญาณไปยังที่ยิงอิเล็กตรอน - ลำแสงอิเล็คตรอนจะผ่านหลอดภาพเพื่อแสดงผลตามตำแหน่งบน จอภาพต่อไป

50 ประเภทของฮาร์ดแวร์ 4. หน่วยแสดงผล (Output Unit) จอภาพ (Monitor)
จอภาพแบบแอลซีดี (LCD - Liquid Crystal Display) นิยมใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์แบบพกพา หลักการทำงาน ใช้หลักการเรืองแสง โดยหลอดไฟที่อยู่ข้างหลังจะส่งแสงออกมาทุกทิศทาง ผ่านตัวกรองแสงแบบโพลาไรซ์ และผ่านชั้นผลึกเหลว จากนั้นผ่านตัวกรอง สีแดง เขียว และน้ำเงินและผ่านตัวกรองโพลาไรซ์อีกครั้งหนึ่ง จากนั้นจึงจะปรากฏเป็นภาพที่หน้าจอภาพ LCD Monitor

51 ประเภทของฮาร์ดแวร์ 4. หน่วยแสดงผล (Output Unit)
เครื่องพิมพ์ (Printer) แบ่งออกตามลักษณะการทำงานได้เป็น 2 ประเภทคือ 1. เครื่องพิมพ์แบบกระทบ (Impact Printer)  เครื่องพิมพ์ตัวอักษร (Character Printer)  เครื่องพิมพ์บรรทัด (Line printer) 2. เครื่องพิมพ์แบบไม่กระทบ (Non-Impact printer)  เครื่องพิมพ์เลเซอร์(Laser Printer)  เครื่องพิมพ์แบบฉีดหมึก (Inkjet)

52 ประเภทของฮาร์ดแวร์ 4. หน่วยแสดงผล (Output Unit) เครื่องพิมพ์ (Printer)
1. เครื่องพิมพ์แบบกระทบ (Impact Printer) จะใช้วิธีกระแทกเข็มพิมพ์หรือตัวอักษรผ่านผ้าหมึกลงสู่กระดาษ คุณภาพของงานพิมพ์ที่ได้จะไม่ละเอียด ตัวอย่างของเครื่องพิมพ์แบบกระทบ ได้แก่  เครื่องพิมพ์ตัวอักษร (Character Printer) เป็นเครื่องพิมพ์ที่พิมพ์ครั้งละ 1 ตัวอักษร ความละเอียดของตัวอักษรขึ้นอยู่กับจำนวนหัวเข็ม บางครั้งเรียกเครื่องพิมพ์แบบนี้ว่า เครื่องพิมพ์แบบจุด(Dot matrix printer)  เครื่องพิมพ์บรรทัด (Line printer) เป็นเครื่องพิมพ์ที่พิมพ์ครั้งละ 1 บรรทัด เร็วประมาณ บรรทัด/นาที ราคาค่อนข้างสูง นิยมใช้ในหน่วยงานที่มีปริมาณงานที่จะต้องพิมพ์เป็นจำนวนมาก

53 ประเภทของฮาร์ดแวร์ 4. หน่วยแสดงผล (Output Unit) เครื่องพิมพ์ (Printer)
เครื่องพิมพ์แบบกระทบ (Impact Printer) Character Printer Line Printer

54 ประเภทของฮาร์ดแวร์ 4. หน่วยแสดงผล (Output Unit) เครื่องพิมพ์ (Printer)
2. เครื่องพิมพ์แบบไม่กระทบ (Non-Impact printer) สามารถพิมพ์งานได้รวดเร็ว มีความคมชัด เหมาะสำหรับงานพิมพ์ทั้งที่เป็นตัวอักษรหรือภาพกราฟฟิกต่าง ๆ ตัวอย่างของเครื่องพิมพ์แบบไม่กระทบ คือ  เครื่องพิมพ์เลเซอร์(Laser Printer) ใช้แสงเลเซอร์ ทำให้พิมพ์เอกสารได้รวดเร็ว หลักการทำงาน เมื่อเครื่องพิมพ์ได้รับสัญญาณจากเครื่องคอมพิวเตอร์ ตัวประมวลผล (Processor) ของเครื่องพิมพ์จะควบคุมการเปิดปิดแสงเลเซอร์ ผ่านกระจกทำให้แสงเลเซอร์ไปตกกระทบที่แท่งทรงกระบอก เรียกว่า OPC หรือ ดรัม(drum) ดรัมจะสัมผัสผงหมึก และดึงมาเกาะที่ดรัมตามสัญญาณที่ได้รับ เกิดเป็นรูปอักษรหรือภาพ แล้วกดลงไปบนกระดาษ

55 ประเภทของฮาร์ดแวร์ 4. หน่วยแสดงผล (Output Unit) เครื่องพิมพ์ (Printer) - แบบไม่กระทบ
 เครื่องพิมพ์แบบฉีดหมึก (Inkjet) ในเครื่องพิมพ์จะมีกล่องหมึก(Cartride) ติดอยู่กับหัวพิมพ์ที่สามารถเคลื่อนที่ไปมาตามแนวกว้างของกระดาษ หัวพิมพ์จะมีห้องสำหรับพ่นหมึก(Ink-filled chamber) เพื่อพ่นหมึกตามสัญญาณไฟฟ้าที่ได้รับและผสมกันเป็นอักษรหรือรูปกราฟฟิกต่าง ๆ

56 ประเภทของฮาร์ดแวร์ 4. หน่วยแสดงผล (Output Unit) เครื่องพิมพ์ (Printer) - แบบไม่กระทบ
Laser Printer Inkjet Printer

57 ประเภทของฮาร์ดแวร์ 4. หน่วยแสดงผล (Output Unit)
เครื่องวาด (Plotter) ใช้สำหรับงานพิมพ์ ที่เกี่ยวกับการวาดเส้น เขียนแบบ เขียนภาพ ที่มีความละเอียดสูงมาก ๆ เช่น งานออกแบบทางสถาปัตยกรรม หรือ วิศวกรรม เป็นต้น

58 ประเภทของฮาร์ดแวร์ ส่วนประกอบอื่น ๆ ของคอมพิวเตอร์
ประเภทของฮาร์ดแวร์ ส่วนประกอบอื่น ๆ ของคอมพิวเตอร์ แผงวงจรหลัก (Main board หรือ System board หรือ Mother board) ส่วนประกอบต่าง ๆ ของเครื่องคอมพิวเตอร์ จะถูกเชื่อมต่อเข้าด้วยกัน อยู่บนแผงวงจรหลัก ซึ่งบนแผงวงจรหลักมีส่วนประกอบต่าง ๆ ที่สำคัญ ดังนี้  หน่วยประมวลผลกลาง (CPU)  หน่วยความจำหลัก(Main Memory)  อุปกรณ์เชื่อมต่อกับแป้นพิมพ์ (Keyboard adapter)  นาฬิการะบบ (System clock)  บัส (Bus)  ช่องขยาย (Expansion slot)

59 ประเภทของฮาร์ดแวร์ ส่วนประกอบอื่น ๆ ของคอมพิวเตอร์ Mainboard
COMPUTER DEPARTMENT

60 ประเภทของฮาร์ดแวร์ ส่วนประกอบอื่น ๆ ของคอมพิวเตอร์
ประเภทของฮาร์ดแวร์ ส่วนประกอบอื่น ๆ ของคอมพิวเตอร์ นาฬิการะบบ (System clock) ทำหน้าที่ส่งสัญญาณออกมาอย่างสม่ำเสมอ เพื่อกำหนดจังหวะในการทำงานของ CPU บ่งบอกว่า CPU จะทำงานได้เร็วหรือช้า เช่น 133 Megahertz หมายถึง จะมีการสร้างสัญญาณนาฬิกา 133 ล้านครั้งต่อวินาที เป็นต้น บัส (Bus) เป็นเส้นทางที่ใช้ในการส่งสัญญาณไฟฟ้าระหว่างอุปกรณ์ต่าง ๆผ่านตามลายเส้นทองแดงในแผ่นวงจรพิมพ์(Printed circuit) เช่น การส่งผ่านคำสั่งหรือข้อมูลระหว่างหน่วยความจำหลักกับหน่วยประมวลผลกลาง ช่องขยาย (Expansion slot) สำหรับเสียบแผ่นวงจรอิเลคทรอนิกส์เพิ่มเติม โดยผ่านชุดของสายนำสัญญาณ ซึ่งเรียกว่า Expansion Bus

61 ประเภทของฮาร์ดแวร์ ส่วนประกอบอื่น ๆ ของคอมพิวเตอร์
ประเภทของฮาร์ดแวร์ ส่วนประกอบอื่น ๆ ของคอมพิวเตอร์ ส่วนเชื่อมต่ออุปกรณ์ภายนอก (Peripheral Interface)  เชื่อมต่อแบบอนุกรม (Serial Interface) - ประสิทธิภาพในการส่งข้อมูลต่ำ ส่งได้ครั้งละหนึ่งบิต - สามารถส่งข้อมูลระยะไกลได้ดีกว่าพอร์ตขนาน - เหมาะสำหรับอุปกรณ์ที่ไม่ต้องการความเร็วมากๆ เช่น เมาส์ และโมเด็ม  เชื่อมต่อแบบขนาน (Parallel Interface) - เป็นพอร์ตที่ส่งผ่านข้อมูลไปได้หลาย ๆ บิตพร้อม ๆ กัน - ไม่นิยมใช้ในส่งข้อมูลที่อยู่ไกล เนื่องจากจะเกิดปัญหาเรื่อง - สัญญาณรบกวน ระหว่างสายที่ใช้ในการส่งข้อมูล ตัวอย่างการเชื่อมต่อแบบขนาน เช่น พอร์ตที่ใช้ติดต่อกับเครื่องพิมพ์

62 ประเภทของฮาร์ดแวร์ ส่วนประกอบอื่น ๆ ของคอมพิวเตอร์
ประเภทของฮาร์ดแวร์ ส่วนประกอบอื่น ๆ ของคอมพิวเตอร์  USB (Universal Serial Bus) เป็นบัสที่สร้างขึ้นมาเพื่อเชื่อมต่ออุปกรณ์ที่มีความเร็วต่ำทั้งหมดให้มีความเร็วสูงขึ้น สะดวกในการใช้งาน ใช้หลักการของบัสอนุกรม  IDE (Integrated Drive Electronics) ใช้เชื่อมต่อกับอุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น ฮาร์ดดิสก์ หรือ ซีดีรอมไดร์ฟ เป็นต้น  SCSI (Small Computer System Interface) เป็นมาตรฐานในการเชื่อมแบบขนานซึ่งสามารถนำมาเชื่อมต่ออุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น ฮาร์ดดิสก์ สแกนเนอร์ เป็นต้น ซึ่งใช้กันมากทั้งในเครื่องพีซี ยูนิกซ์ หรือแมคอินทอช

63 ประเภทของฮาร์ดแวร์ ส่วนประกอบอื่น ๆ ของคอมพิวเตอร์
ประเภทของฮาร์ดแวร์ ส่วนประกอบอื่น ๆ ของคอมพิวเตอร์ Serial Port USB Port Parallel Port

64 ประเภทของคอมพิวเตอร์
แบ่งตามความสามารถของคอมพิวเตอร์ ได้ 4 ประเภท ดังนี้ 1. คอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ (Super computer หรือ Monster Computer) 2. เมนเฟรมคอมพิวเตอร์ (Mainframe Computer) 3. มินิคอมพิวเตอร์ (Mini computer ) 4. ไมโครคอมพิวเตอร์(Micro computer)

65 ประเภทของคอมพิวเตอร์
1. คอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ (Super computer หรือ Monster Computer) - มีประสิทธิภาพในการทำงานสูงสุด มีสมรรถนะสูง (High Performance Computer) มีขนาดใหญ่ และมีราคาแพงที่สุด - ถูกออกแบบมาเพื่อทำงานเฉพาะด้าน เช่น งานด้านวิทยาศาสตร์ที่มีการคำนวณที่ซับซ้อน งานวิจัยขีปนาวุธ งานโครงการอวกาศ งานวิเคราะห์ภาพถ่ายดาวเทียม การบิน เป็นต้น - ใช้หลักการประมวลผลแบบมัลติโปรเซสซิ่ง (Multiprocessing) คือการนำหน่วยประมวลผลหลาย ๆ ตัวมาช่วยประมวลผลพร้อม ๆ กัน และสามารถใช้เครื่องพร้อมกันได้หลาย ๆ คน - ความเร็วมีหน่วยวัดเป็นนาโนวินาที (Nanosecond) เป็นต้นไป หรือที่เรียกว่าจิกะฟลอป (Gigaflop) ซึ่งเป็นการคำนวณหนึ่งพันล้านครั้งในหนึ่งวินาที เช่น 3 จิกะฟลอป หมายถึง คำนวณ 3 พันล้านครั้งในหนึ่งวินาที

66 ประเภทของคอมพิวเตอร์
2. เมนเฟรมคอมพิวเตอร์ (Mainframe Computer) - มีความสามารถรองจากเครื่องซุปเปอร์คอมพิวเตอร์ - ออกแบบให้สามารถใช้งานได้หลาย ๆ คนพร้อมกัน - มีหน่วยประมวลผลหลาย ๆ ตัวทำงานพร้อม ๆ กัน น้อยกว่าเครื่องซุปเปอร์คอมพิวเตอร์ ความเร็วของเครื่องเมนเฟรมคอมพิวเตอร์ มีหน่วยวัดเป็น(Microsecond) หรือที่เรียกว่า เมกะฟลอป(Megaflop) ซึ่งเป็นการคำนวณหนึ่งล้านครั้งในหนึ่งวินาที เช่น 50 เมกะฟลอป หมายถึง คำนวณ 50 ล้านคำสั่งต่อหนึ่งวินาที - สามารถทำงานแบบระบบเครือข่าย (Network) ได้เป็นอย่างดี นำมาใช้ในงานด้านต่าง ๆ เช่น ระบบงานธนาคาร วิศวกรรม โรงงานอุตสาหกรรม สายการบิน มหาวิทยาลัย เป็นต้น

67 ประเภทของคอมพิวเตอร์
3. มินิคอมพิวเตอร์ (Mini Computer) - เป็นคอมพิวเตอร์ขนาดกลาง - ใช้หลักการมัลติโปรแกรมมิ่ง (MultiProgramming) - สามารถทำการประมวลผลหลาย ๆ โปรแกรมพร้อม ๆ กัน - รองรับผู้ใช้ได้หลาย ๆ คน มีหน่วยความจำในการประมวลผล และความสามารถต่ำกว่าเครื่องเมนเฟรมคอมพิวเตอร์ - สามารถทำงานเป็นระบบโครงข่าย(Network) ได้ - ความเร็วมีหน่วยวัดเป็น(Microsecond) หรือที่เรียกว่าเมกะฟลอป(Megaflop) เช่น 25 เมกะฟลอป หมายถึง คำนวณ 25 ล้านคำสั่งต่อหนึ่งวินาที - - ใช้ในหน่วยงานหรือองค์กรขนาดกลาง เช่น บริษัทที่ต้องมีการติดต่อส่งข้อมูลถึงกันแต่ละแผนก หรือในสถาบันอุดมศึกษา เป็นต้น

68 ประเภทของคอมพิวเตอร์
4. ไมโครคอมพิวเตอร์(Micro computer) - ขนาดเล็ก สามารถทำงานเดี่ยว ๆ ไม่เกี่ยวข้องกับเครื่องอื่น ๆ (Stand-alone) - สามารถใช้ได้หนึ่งคนต่อหนึ่งเครื่อง ซึ่งเรียกว่าคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล(Personal Computer : PC) - ปัจจุบันสามารถนำมาเชื่อมต่อกันได้หลาย ๆ เครื่อง แต่จำกัดพื้นที่ในการติดต่อ เรียกว่าระบบเครือข่ายท้องถิ่น (Local Area Network หรือ LAN) สามารถแบ่งเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ 1. แบบติดตั้งอยู่กับที่ (Desktop Computer) 2. แบบเคลื่อนย้ายหรือพกพาได้  Portable Computer  Laptop Computer หรือ Notebook Computer  Palmtop Computer

69 ประเภทของคอมพิวเตอร์ ประเภทของไมโครคอมพิวเตอร์(Micro computer)
1. แบบติดตั้งอยู่กับที่ (Desktop Computer) - ส่วนใหญ่จะตั้งอยู่กับที่ เนื่องจากมีน้ำหนักค่อนข้างมาก และต้องมีอุปกรณ์หลาย ๆ ชิ้นแยกกันอยู่ เช่น ตัวเครื่อง จอภาพ แป้นพิมพ์ เมาส์ เป็นต้น

70 ประเภทของคอมพิวเตอร์ ประเภทของไมโครคอมพิวเตอร์(Micro computer)
2. แบบเคลื่อนย้ายหรือพกพาได้ เป็นคอมพิวเตอร์ขนาดเล็ก น้ำหนักเบา และอุปกรณ์ที่ใช้ส่วนใหญ่จะรวมอยู่ในชิ้นเดียวกัน มีหลายแบบคือ  Portable Computer ใช้พลังงานไฟฟ้าจากภายนอก  Laptop Computer หรือ Notebook Computer ใช้พลังงานจากแบตเตอร์รี่ ภายในตัวเครื่อง  Palmtop Computer เป็นคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดเล็กประมาณเท่ากับฝ่ามือ Palmtop

71 จบ


ดาวน์โหลด ppt เทคโนโลยีสารสนเทศ Information Technology

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google