งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

ราคาเงาของแรงงาน และอัตราการคิดลดสำหรับสังคม

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "ราคาเงาของแรงงาน และอัตราการคิดลดสำหรับสังคม"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 ราคาเงาของแรงงาน และอัตราการคิดลดสำหรับสังคม
มาโนช โพธาภรณ์ ๑๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๕

2 ราคาเงาของแรงงาน (shadow wage rate)
ราคาเงาที่เหมาะสมควรสะท้อนต้นทุนค่าเสียโอกาสของสังคมต่อการใช้แรงงาน ในประเทศกำลังพัฒนา นักวิชาการเชื่อว่าตลาดแรงงานแบ่งออกเป็นสองส่วน (dualism) คือ ตลาดแรงงานในเมืองและตลาดแรงงานในชนบท ในชนบทมีการว่างานอย่างเปิดเผย การว่างงานแฝง และการว่างงานตามฤดูกาล เมื่อมีโครงการของรัฐในเขตเมืองทำให้เกิดการจ้างงาน โดยแรงงานดังกล่าวมาจากภาคชนบื คำถามคือต้นทุนค่าเสียโอกาส หรือราคาเงาที่ควรใช้ในการประเมินโครงการควรเป็นเท่าใด

3 ราคาเงาของแรงงาน (ต่อ)
๒ แนวทาง แนวทางแรก ในกรณีที่มีการว่างงาน หรือการทำงานไม่เต็มที่ในภาคชนบท แรงงานที่นำเข้ามาใช้อาจไม่ก่อให้เกิดการสูญเสียผลผลิตใดๆ หรืออาจสูญเสียน้อยมาก ดังนั้นต้นทุนค่าเสียโอกาสของแรงงานจึงมีค่าเท่ากับศูนย์หรือน้อยมาก (สมมติให้เท่ากับ M) แม้โครงการรัฐจะมีการจ่ายค่าแรงในอัตราที่สูงแต่ควรใช้ราคาเงาข้างต้นในการประเมินต้นทุนของโครงการ แนวคิดนี้มาจาก Arthur Lewis

4 ราคาเงาของแรงงาน (ต่อ)
แนวทางที่สอง ความเห็นแย้งจาก Todaro และ Harris หากค่าจ้างในเมืองต่างจากชนบท จะมีการโบกย้ายแรงงานโดยทุกๆตำแหน่งที่ว่าง ๑ คนจะมีคนชนบทโยกย้ายมามากกว่า ๑ คน โดยคนงานแต่ละคนมีความคาดหวังถึงโอกาสที่ตนจะได้งาน การโดยย้ายจะสิ้นสุดลงเมื่อรายได้ที่คนงานคาดหวังจะได้รับ* มีค่าเท่ากับค่าจ้าง (โดยที่ *รายได้ที่คนงานคาดหวังจะได้รับ = ค่าจ้างในเมือง X ค่าความน่าจะเป็นในการได้งาน) ดังนั้นค่าเสียโอกาสไม่เพียงแต่จะวัดจากผลผลิตของคนงานคนนั้นจะทำได้ในชนบท แต่ต้องรวมถึงผลผลิตของคนงานอื่นๆด้วย (ที่ออกมาแต่ไม่ได้งาน) ตามข้อเขียนของ Todaro และ Harris ต้นทุนค่าเสียโอกาสของแรงงานมีค่าเท่ากับอัตราค่าจ้างในตลาดแรงงานในเมือง (สมมติเท่ากับ w)

5 ราคาเงาของแรงงาน (ต่อ)
แนวทางอื่นๆ ให้ราคาเงาอยู่ระหว่าง m และ w (Little & Mirrless และ UNIDO) ราคาเงาของแรงงานในประเทศไทย Dualism ไม่ใช่ลักษณะสำคัญของตลาดแรงงานไทย (เช่น อ เยาวเรศ ทับพันธุ์) ตลาดแรงงานเชื่อมประสานอย่างมีประสิทธิภาพระหว่างเมืองและชนบท การว่างงานที่ยาวนานมีน้อยมาก ถึงแม้จะมีการเปลี่ยนรูปแบบการใช้แรงงานระหว่างฤดูฝนและแล้ง (โดยเอาเด็กและผู้หญิงมาทำในฤดูฝน และถอนตัวอย่างสมัครใจในฤดูแล้งไปทำงานนอกภาคเกษตร หรือในเมือง) ไม่มีเหตุผลที่สนับสนุนให้ใช้ราคาเงาอื่นที่ไม่ใช่ราคาค่าจ้างตลาดในโครงการของรัฐ

6 อัตราการคิดลดสำหรับสังคม (social rate of discount)
มี ๒ แนวทาง Social rate of time preference (SRTP) หรืออัตราการชดเชยค่าบริโภคต่างเวลาของสังคม ราคาของการอคอย Social opportunity cost rate (SOCR) หรืออัตราค่าเสียโอกาส ค่าเสียโอกาสจากการที่รํฐนำเอาทรัพยากรของสังคมมาใช้กับโครงการรัฐ ทำให้เอกชนไม่สามารถเอาไปใช้ในการลงทุนภาคเอกชน


ดาวน์โหลด ppt ราคาเงาของแรงงาน และอัตราการคิดลดสำหรับสังคม

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google