งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

MRCF system กับการพัฒนาการผลิตแตงโมหาดสำราญ ปี 2557

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "MRCF system กับการพัฒนาการผลิตแตงโมหาดสำราญ ปี 2557"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 MRCF system กับการพัฒนาการผลิตแตงโมหาดสำราญ ปี 2557
โดย สำนักงานเกษตรอำเภอหาดสำราญ หมู่ที่ 9 ตำบลหาดสำราญ อำเภอหาดสำราญ จังหวัดตรัง รหัสไปรษณีย์ 92120 โทรศัพท์

2 สถานการณ์การผลิตแตงโมอำเภอหาดสำราญ
ข้อมูลทั่วไปอำเภอหาดสำราญ อ.หาดสำราญอยู่ทางทิศใต้ของจังหวัดตรัง สภาพทั่วไป เป็นภูเขาสูงทางด้านทิศตะวันออก และพื้นราบ จนถึงที่ราบลุ่ม จนไปถึงชายฝั่งทะเลอันดามัน มีชายหาดจำนวน 18 กิโลเมตร มีพื้นที่ทั้งหมด 224 ตร.กม. (140,000 ไร่) แบ่งเขตการปกครอง เป็น 3 ตำบล ได้แก่ หาดสำราญ บ้าหวี และ ตะเสะ มีประชากร 16,140 คน 4,095 ครัวเรือน ครัวเรือนเกษตรกร 3,595 ครัวเรือน ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ได้แก่ ทำสวนยางพารา ปาล์มน้ำมัน ผลไม้ พืชผัก เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ และ ประมงชายฝั่ง

3 ข้อมูลทั่วไปของแตงโม
แตงโม (อังกฤษ: watermelon; ชื่อวิทยาศาสตร์: Citrullus lanatus) จัดเป็นผลไม้ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เรียก บักโม ภาคเหนือเรียก บะเต้า จังหวัดตรัง เรียก แตงจีน ถิ่นกำเนิดอยู่ในทะเลทรายคาลาฮารี ทวีปแอฟริกา ชาวอียิปต์เป็นชาติแรกที่ปลูกแตงโมเมื่อสี่พันปีมาแล้ว ชาวจีนเริ่มปลูกแตงโมที่ซินเกียง สมัยราชวงศ์ถัง และชาวมัวร์ ได้นำแตงโมไปสู่ทวีปยุโรป และเข้าสู่ทวีปอเมริกาพร้อมกับชาวแอฟริกาที่ถูกขายเป็นทาส สำหรับประเทศไทยมีการปลูกแตงโมทั่วทุกภูมิภาค และปลูกได้ทุกฤดูกาล

4 ประวัติความเป็นมาการปลูกแตงโมของอำเภอหาดสำราญ
การปลูกแตงโมในพื้นที่อำเภอหาดสำราญมีการปลูกมายาวนาน แต่ไม่มีข้อมูลที่ชัดเจน มีแต่การบอกเล่าต่อกันมาว่ามีการปลูกต่อเนื่องกันมาหลายทศวรรษ โดยมีการถ่ายทอดภูมิปัญญา จากรุ่นสู่รุ่น โดยอดีตการปลูกแตงโมจะปลูกปลายฤดูฝน ช่วงเดือนพฤศจิกายน ซึ่งจะปลูกบนที่ดอนริมชายหาด ซึ่งดินยังมีความชื่นอยู่ และอาศัยน้ำฝน และอีกส่วนหนึ่งจะปลูกในพื้นที่นาข้าว เมื่อมีการเก็บเกี่ยวข้าวเสร็จในช่วงเดือนมกราคม – กุมภาพันธ์ จะปลูกในแปลงนาในที่ลุ่ม และใช้แหล่งน้ำจากขุดบ่อน้ำตื้นสี่เหลี่ยมขนาดเล็กในแปลงนา ซึ่งในรอบปีจะมีการปลูกเพียงรอบเดียวเท่านั้น ในปัจจุบันเกษตรกรในอำเภอหาดสำราญได้ปรับเปลี่ยนพื้นที่ทางการเกษตรเป็นสวนยางพารา ปาล์มน้ำมัน ทำให้มีการปลูกแตงโมตลอดทั้งปี โดยปลูกแซมในสวนยางพาราและปาล์มน้ำมันที่มีอายุน้อย และได้พัฒนาเป็นการปลูกในเชิงการค้ามากยิ่งขึ้น นำเทคโนโลยีใหม่ๆ เข้ามาใช้ในการปลูกแตงโม ทำให้มีผลผลิตจำหน่ายทั้งปี แต่อย่างไรก็ตามพื้นที่ปลูกแตงโมก็ลดลง เพราะถูกทดแทนโดยพื้นที่ปลูกยางพารา และปาล์มน้ำมันซึ่งเป็นไม้ยืนต้น ทำให้พื้นที่ที่สามารถปลูกแตงโมได้น้อยลง

5 ตาราง แสดงข้อมูลการปลูกแตงโมอำเภอหาดสำราญ ปี 55 - 57
ตำบล ปี 2555 ปี 2556 ปี 2557 เกษตรกร พท.ปลูก (ไร่) ผลผลิต(ตัน) ราคา มูลค่า พท.ปลูก (ไร่) พท.ปลูก (ไร่) (ราย) (บาท/กก.) (บาท) หาดสำราญ 45 169 419.1 11 4.61 50 104 258 11.5 2.96 32 143 355 12 4.25 ตะเสะ 28 91 225.7 2.48 290 719 8.27 5 30 74 0.89 บ้าหวี 73 260 644.8 22 7.09 78 394 977 11.23 37 173 429 5.14 รวม 146 520 1,289.60 44 14.18 156 788 1954 34.5 22.46 346 858 36 10.28

6 M: Mapping การศึกษาข้อมูลเพื่อเตรียมเข้าทำงานในพื้นที่โดยเน้นการใช้ข้อมูลแผนที่
จัดทำฐานข้อมูลผู้ปลูกแตงโมอำเภอหาดสำราญ ลงในแผนที่ เพื่อเป็นข้อมูลในการวางแผนการจัดการส่งเสริมในพื้นที่ เช่น การรวมกลุ่มจัดหาแหล่งน้ำ การวางแผนด้านการตลาด การจัดตั้งกลุ่มผู้ผลิตแตงโม ฯลฯ

7 องค์ความรู้แตงโม ในเว็บไซด์ สำนักงานเกษตรอำเภอหาดสำราญ
R : Remote Sensing การประสานงาน และให้บริการเกษตรกรด้วยวิธีการติดต่อสื่อสารและเข้าถึงข้อมูลระยะไกล การสื่อสาร โทรศัพท์/เอกสารรายงาน การสื่อสาร โทรศัพท์/เอกสารรายงาน อกม./ผู้นำเกษตรกร องค์ความรู้แตงโม ในเว็บไซด์ สำนักงานเกษตรอำเภอหาดสำราญ เกษตรกร/กลุ่มเกษตรกรผู้ผลิตแตงโม สำนักงานเกษตรอำเภอหาดสำราญ R C และ F การสื่อสาร โทรศัพท์/เอกสารราย งาน สำนักงานเกษตรจังหวัดตรัง

8 C : Community Participation ใช้วิธีการจัดเวทีชุมชนในการทำงานและร่วมดำเนินงานกับเกษตรกร ชุมชนและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องแบบมีส่วนร่วม เวทีชุมชนแบบมีส่วนร่วม แผนพัฒนา/แก้ไขปัญหาแตงโม อำเภอหาดสำราญ เกษตรกรผู้ผลิตแตงโมหาดสำราญ ข้อมูลสารสนเทศแตงโมหาดสำราญ บูรณาการสร้างความมีส่วนร่วม ทบทวนผลดำเนิน การ ประมวลผลความสำเร็จ ตัวชี้วัดความสำเร็จเป้าหมายที่ต้องการ ตามที่ระบุไว้โครงการ/กิจกรรม โครงการ/กิจกรรม เพื่อพิจารณาแก้ไขปัญหาแตงโมหาดสำราญ

9 F : Specific Field Service การเข้าทำงานในพื้นที่แบบเฉพาะเจาะจง โดยมีเป้าหมายและจุดมุ่งหมายที่ชัดเจน
Mapping กระบวนการ/ผลการวิเคราะห์ข้อมูล/สถานการณ์ของแตงโมหาดสำราญ ข้อมูลสารสนเทศแตงโมหาดสำราญ แผนปฏิบัติงานในประเด็นการพัฒนาแต่ละประเด็น ประเด็นการพัฒนา/แก้ไขปัญหาแตงโม Remote Sensing การนำไปสู่การปฏิบัติตามแผนโดยอาศัยกระบวนการมีส่วนร่วม Community Participation แตงโมหาดสำราญได้รับการพัฒนา/แก้ปัญหา

10 จบการ นำเสนอ ขอบคุณครับ


ดาวน์โหลด ppt MRCF system กับการพัฒนาการผลิตแตงโมหาดสำราญ ปี 2557

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google