งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

ศาสนาอิสลาม.

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "ศาสนาอิสลาม."— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 ศาสนาอิสลาม

2

3 ศาสนาอิสลาม ศาสนาอิสลาม เป็นศาสนาสำคัญศาสนาหนึ่งของโลก เป็นศาสนาประเภทเอกเทวนิยม นับถือพระเจ้าองค์เดียว คือ พระอัลลอฮ์ โดยมีท่านนบีมุฮัมมัดเป็นศาสดา และเป็นผู้ประกาศศาสนา

4 ศาสนาอิสลาม ผู้ที่ริเริ่มอิสลามคือ อัลลอฮฺ ตะอาลา
ผู้ที่ริเริ่มอิสลามคือ อัลลอฮฺ ตะอาลา  ว่า “อิสลาม” มิได้ถูกตั้งขึ้นเพื่อให้เกียรติแก่ท่านนบีมูฮำมัด เพราะท่านไม่ได้เป็นผู้ริเริ่มบัญญัติอิสลาม นบีท่านแรกของอิสลามคือ นบีอาดัม อะลัยฮิสลาม 

5 ศาสนาอิสลาม “อิสลาม” หมายถึง การยอมรับกฎเกณฑ์ข้อบังคับของอัลลอฮฺ ตะอาลา เมื่อคน ๆ หนึ่งยอมรับกฎเกณฑ์ข้อบังคับของอัลลอฮฺ ตะอาลา เขาถูกเรียกว่า “มุสลิม”

6 ศาสนาอิสลาม ศาสนาอิสลาม เป็นศาสนาที่ถือกำเนิดขึ้นในนครมักกะฮ์ ประเทศซาอุดิอาระเบีย หลังพุทธศักราชประมาณ ๑,๑๑๓ ปี ผู้ที่นับถือ ศาสนาอิสลาม เรียกว่า “มุสลิม” แปลว่า ผู้แสวงหาสันติ หรือ ผู้นอบน้อมต่อประสงค์ของพระเจ้า

7 ศาสนาอิสลาม นบีมุฮัมมัด ท่านเป็นอาหรับ กำเนิดที่เมืองมักกะฮ์ มารดาชื่อ อามีนะฮ์ เป็นชนในเผ่ากุร็อยชฺ ท่านศาสดาเป็นกำพร้าตั้งแต่เยาว์วัย ในเวลาต่อมาจึงต้องไปอยู่ในความอุปการะของอาบูฏอลิบผู้เป็นลุง “ศาสดา”

8 ศาสนาอิสลาม ในสมัยที่ท่านศาสดาถือกำเนิดนั้น สังคมอาหรับอยู่ในสภาพที่เสื่อมโทรมมาก ผู้คนมั่วสุมดื่มน้ำเมาและเล่นการพนัน การละเมิดประเวณีเกิดขึ้นเป็นประจำ มีการฝังเด็กหญิงทั้งเป็นเพราะถือว่าเป็นสิ่งอัปมงคล การแก้แค้นด้วยการประหัตประหารเป็นเรื่องปกติ “ศาสดา”

9 ศาสนาอิสลาม จนกระทั่งวันหนึ่งขณะที่ท่านอยู่ในถ้ำบนภูเขาอิรอฮ์ เทวทูตญิบรออีลก็ได้นำโองการของพระอัลลอฮ์มาประทาน ท่านศาสดามุฮัมมัดจึงเริ่มประกาศศาสนา คนแรกที่เข้ารับนับถือ ศาสนาอิสลาม ก็คือ นางคอดีญะฮ์ ผู้เป็นภรรยา “ศาสดา”

10 ศาสนาอิสลาม  หลังจากประกาศศาสนาได้ ๑๓ ปี ท่านศาสดาได้ลี้ภัยจากการตามล้างผลาญของชาวเมืองมักกะฮ์ โดยไปอยู่ที่เมืองมะดีนะฮ์ ถือเป็นการเริ่มต้นนับศักราช อิสลาม เรียกว่า ฮิจเราะห์ศักราช (ฮ.ศ.) จนกระทั่งถึงปี พ.ศ.๑๑๗๓ ท่านศาสดาก็สามารถรวบรวมผู้คนกลับไปยึดเมืองมักกะฮ์ไว้ได้ “ศาสดา”

11 ศาสนาอิสลาม หลังจากนั้นท่านศาสดาก็ได้กลับไปเมืองมะดีนะฮ์ ต่อมาภายหลังชนอาหรับเผ่าต่างๆ และประเทศข้างเคียงก็ได้ส่งทูตเข้ามาขอเป็นพันธมิตรบ้าง เพื่อขอรับนับถือ ศาสนาอิสลาม จึงได้แพร่ขยายไปทั่วดินแดนตะวันออกกลาง อินเดีย และที่อื่นๆ “ศาสดา”

12 ศาสนาอิสลาม ท่านศาสดามุฮัมมัด ถึงแก่กรรมเมื่อ พ.ศ. ๑๑๗๕ ตรงกับ ฮ.ศ. ๑๑ ท่านได้ดำรงตนเป็นผู้เสมอต้นเสมอปลาย มีเมตตากับทุกคน มีความยุติธรรม และความซื่อสัตย์เป็นเลิศจนได้รับฉายาตั้งแต่สมัยเป็นหนุ่มว่า “อัลลามีน” ซึ่งแปลว่า ผู้ซื่อสัตย์ “ศาสดา”

13 ศาสนสถาน “มัสยิด”

14 ศาสนสถาน มัสยิด หรือ สุเหร่า เป็นสถานที่ปฏิบัติพิธีกรรมทางศาสนาของชาวมุสลิมอันได้แก่การวิงวอน บำเพ็ญตบะ เป็นที่สอนอัลกุรอานและศาสนา สถานที่ชุมนุมพบปะ เฉลิมฉลอง ทำบุญเลี้ยง สถานที่ทำพิธีสมรส และสถานที่พักพิงของผู้สัญจรผู้ไร้ที่พำนัก

15 ศาสนสถาน มัสยิดเป็นศาสนสถานสำหรับมุสลิมปฏิบัติตนกับมัสยิด มีความผูกพันกับวิถีชีวิตอย่างใกล้ชิดอย่างมาก โดยที่จะต้องรักษามารยาทของมัสยิด เช่นการไม่คละเคล้าระหว่างเพศชายและหญิง การกระทำที่ขัดกับบทบัญญัติห้ามของอิสลามทั้งมวล

16 คัมภีร์ทางศาสนา คัมภีร์ทาง ศาสนาอิสลาม เรียกว่า คัมภีร์อัล-กุรอาน คัมภีร์นี้ถือว่าเป็นวจนะของพระเจ้า ที่ได้ประทานแก่มวลมนุษย์ผ่านทางท่านศาสดานบีมุฮัมมัด ซึ่งเป็นบุคคลที่พระเจ้าอัลลอฮ์ทรงเลือกให้ทำหน้าที่ประกาศศาสนา

17 คัมภีร์ทางศาสนา  คัมภีร์อัล-กุรอาน แปลว่า คัมภีร์สาธยายมนต์ มี 30 ภาค 114 บท เป็นแนวทางการปฏิบัติสำหรับบุคคลและสังคม มีคำสอนเกี่ยวกับการทำความดี การดำเนินชีวิตอยู่ร่วมกัน การแต่งงาน ความตาย อาชีพ การทำมาหากิน รวมทั้งมีเรื่องการเมือง เศรษฐกิจ กฎหมาย และสังคมไว้อย่างครบถ้วน

18 คัมภีร์ทางศาสนา ภาษาที่ใช้บันทึกคัมภีร์อัล-กุรอาน คือ ภาษาอาหรับ ข้อความในคัมภีร์เป็นภาษาที่ไพเราะ มิใช่ร้อยแก้ว และมิใช่ร้อยกรอง แต่ก็มีสัมผัสในแบบของตัวเอง คัมภีร์แบ่งออกเป็น 114 บท แต่ละบทแบ่งเป็นโองการหรือวรรค มีทั้งหมด 6,000 โองการ

19 คัมภีร์ทางศาสนา คัมภีร์ทาง ศาสนาอิสลาม เรียกว่า คัมภีร์อัล-กุรอาน คัมภีร์นี้ถือว่าเป็นวจนะของพระเจ้า ที่ได้ประทานแก่มวลมนุษย์ผ่านทางท่านศาสดานบีมุฮัมมัด ซึ่งเป็นบุคคลที่พระเจ้าอัลลอฮ์ทรงเลือกให้ทำหน้าที่ประกาศศาสนา

20 หลักจริยธรรม ในการดำเนินชีวิตจงเลือกสรรเฉพาะสิ่งที่ดี อันเป็นที่ยอมรับของสังคม จงทำตนให้เป็นผู้ดำรงอยู่ในศีลธรรม พัฒนาตนเองไปสู่การมีบุคลิกภาพที่ดี

21 หลักจริยธรรม เป็นคนที่รู้จักห่วงใย มีเมตตา มีความรัก ซื่อสัตย์ต่อผู้อื่น รู้จักปกป้องสิทธิของตน ไม่ละเมิดสิทธิของผู้อื่น เป็นผู้มีความเสียสละไม่เห็นแก่ตัว และหมั่นใฝ่หาความรู้ ทั้งหมดที่กล่าวมานี้เป็นคุณสมบัติของผู้มีจริยธรรม ซึ่งความสมบูรณ์ทั้งหมดอยู่ที่ความยุติธรรม

22 หลักการขั้นพื้นฐาน ๓ ประการ
๑. เตาฮีด - การศรัทธาต่อความเป็นเอกะของอัลลอฮฺ ตะอาลา ๒. ริซาละฮฺ - การศรัทธาต่อบรรดานบีของอัลลอฮฺ ตะอาลา ๓. อาคิเราะฮฺ - การศรัทธาต่อการฟื้นคืนชีพในโลกหน้า

23 หลักศรัทธา ๖ ประการ (ซุนนีย์)
๑. ศรัทธาต่ออัลลอฮฺ ๒. ศรัทธาต่อบรรดามลาอิกะฮฺของพระองค์ ๓. ศรัทธาต่อบรรดาคัมภีร์ของพระองค์ ๔. ศรัทธาต่อบรรดาร่อซู้ลของพระองค์ ๕. ศรัทธาต่อวันสุดท้าย ๖. ศรัทธาต่อสภาวการณ์ที่ดีและเลวร้ายทั้งหมดมาจากอัลลอฮฺทั้งสิ้น

24 หลักปฏิบัติ ๕ ประการ การปฏิบัติพิธีกรรมทางศาสนาของศาสนาอิสลาม จะปฏิบัติในสถานที่ ที่เรียกว่า “มัสยิด” หรือ “สุเหร่า” ชาว มุสลิม จะต้องปฏิบัติศาสนกิจให้พร้อมทั้ง กาย วาจา และใจ

25 หลักปฏิบัติ ๕ ประการ ต้องกล่าวปฏิญาณว่า “ข้าพเจ้า ขอปฏิญาณว่า ไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลลอฮ์ และแท้จริงมุฮัมมัดเป็นศาสนทูต ( รอซูล ) ของอัลลอฮ์” การปฏิญาณนี้เปรียบเสมือนหัวใจของ ศาสนาอิสลาม ต้องทำด้วยความบริสุทธิ์ใจ และมิใช่ทำครั้งเดียว แต่ต้องทำเสมอเมื่อนมัสการพระเจ้า (ละหมาด) การปฏิญาณตนมุสลิม

26 หลักปฏิบัติ ๕ ประการ การแสดงความเคารพต่อ พระเจ้า ทั้งทางร่างกาย และจิตใจ ชาวมุสลิมทุกคนจะต้องปฏิบัติละหมาดวันละ ๕ เวลา คือ ย่ำรุ่ง กลางวัน เย็น พลบค่ำ และกลางคืน ซึ่งก่อนทำละหมาดจะต้องชำระร่างกายให้สะอาด และสำรวมจิตใจให้สงบ การละหมาด

27 หลักปฏิบัติ ๕ ประการ การละเว้นจากการบริโภคอาหาร เครื่องดื่ม การร่วมสังวาส ตั้งแต่พระอาทิตย์ขึ้น จนกระทั่งพระอาทิตย์ตกดิน โดยต้องถือศีลอดปีละ ๑ เดือน คือ ในเดือนรอมาฎอนตามปฏิทินของอิสลาม การถือศีลอดเป็นการแสดงถึงความศรัทธาในพระเจ้า ฝึกความอดทน และความมีน้ำใจเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ การถือศีลอด

28 หลักปฏิบัติ ๕ ประการ การบริจาคทานให้แก่คนที่เหมาะสม ตามที่ศาสนากำหนด เช่น คนอนาถา เด็กกำพร้า คนขัดสน ผู้เผยแผ่ศาสนา โดยเป็นข้อบังคับที่ต้องปฏิบัติ ชาวมุสลิมต้องสละทรัพย์ของตนในอัตราร้อยละ 2.5 เพื่อแบ่งปันให้แก่ผู้อื่น เป็นการกล่อมเกลาจิตใจให้เป็นคนเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ การบริจาคซะกาต

29 หลักปฏิบัติ ๕ ประการ การไปประกอบศาสนกิจ ณ ศาสนสถานบัยตุลลอฮ์ เมืองมักกะฮ์ ประเทศซาอุดีอาระเบีย การประกอบพิธีฮัจญ์ไม่ได้บังคับให้ชาว มุสลิม ต้องกระทำ แต่ให้ถือเป็นหลักปฏิบัติสำหรับผู้ที่พร้อม คือ บรรลุนิติภาวะ มีสุขภาพดี มีทุนทรัพย์เพียงพอ และมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการประกอบพิธีฮัจญ์เป็นอย่างดี การประกอบพิธีฮัจญ์

30 วันสำคัญทางศาสนา วันสำคัญของศาสนาอิสลาม ได้แก่ วันแรกของเดือนรอมฎอน โดยการดูดวงจันทร์ในตอนพลบค่ำของวันที่ ๒๙ ของเดือนที่ ๘ (ตามปฏิทินอิสลาม) หากปรากฏว่าไม่เห็นดวงจันทร์ ต้องถือวันถัดไปอีกวันหนึ่งเป็นวันแรกของเดือนรอมฎอน

31


ดาวน์โหลด ppt ศาสนาอิสลาม.

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google