งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

การพัฒนาระบบการเรียนทางไกลให้อยู่ในรูปแบบของเทคโนโลยีสารสนเทศ Application of Information Technology System into Distance Learning Presented by: Sunadda.

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "การพัฒนาระบบการเรียนทางไกลให้อยู่ในรูปแบบของเทคโนโลยีสารสนเทศ Application of Information Technology System into Distance Learning Presented by: Sunadda."— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 การพัฒนาระบบการเรียนทางไกลให้อยู่ในรูปแบบของเทคโนโลยีสารสนเทศ Application of Information Technology System into Distance Learning Presented by: Sunadda Sa-nguandet

2 ที่มา และความสำคัญ

3 แนวคิด ทฤษฎี และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
ระบบการเรียนทางไกล ด้านเทคโนโลยี ระบบสารสนเทศ ระบบการเรียนแบบอีเล็กทรอนิกส์ (E- learning) หลักการจัดการความรู้

4 ระบบการเรียนทางไกล ดร.เกษม สุวรรณกุล ระบบการศึกษาทางไกลนับว่าเป็นสิ่งใหม่ในระบบ การศึกษาขั้นสูงของประเทศ และยิ่งในปัจจุบันเทคโนโลยีด้านดาร ติดต่อสื่อสารมีความเจริญก้าวหน้าด้วยแล้วก็ยิ่งทำให้เกิดเทคนิคใหม่ ๆ ที่ เข้ามาประยุกต์ใช้กับระบบการศึกษานี้ ซึ่งจะทำให้เกิดประสิทธิภาพในการ ทำงานมากยิ่งขึ้น อาจารย์สุมาลี สังข์ศรี การศึกษาทางไกลเป็นวิธีการในการจัดการศึกษา วิธีการหนึ่งซึ่งเป็นการเรียนรู้ด้วยการนำตนเอง การศึกษาทางไกล (distance education) หรือ การเรียน ทางไกล(distance learning) หมายถึง ระบบการศึกษาที่ ผู้เรียนและผู้สอนอยู่ไกลกันทั้งสถานที่และเวลา แต่สามารถทำให้เกิดการ เรียนรู้ได้โดยใช้เทคโนโลยีเป็นตัวเชื่อมโยงการเรียนการสอน

5 การจัดระบบการเรียนทางไกล
ยุคเริ่มแรกเป็นการเรียนการสอนทางไปรษณีย์ พัฒนาการสอนผ่านทางวิทยุกระจายเสียง การเรียนการสอนผ่านทางวีดีโอ และพัฒนาเป็น video conference การเรียนการสอนผ่านทางสื่ออีเล็กทรอนิกส์

6 เทคโนโลยี Technology

7 แนวคิดด้านเทคโนโลยี กรมเทคโนโลยีสารสนเทศในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา กล่าวว่า ปัจจุบันความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสารสนเทศด้วยการพัฒนา เครือข่าย ระบบคอมพิวเตอร์มีแนวโน้มในการพัฒนาอย่างรวดเร็วและ ต่อเนื่อง ทำให้มีการรับส่งข้อมูลและข่าวสารต่าง ๆ ได้สะดวกรวดเร็ว ทั่วโลก จนเปรียบเสมือนกับโลกที่ไร้พรมแดนอันมีผลในการ เปลี่ยนแปลงทางด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง และการศึกษา อย่างรวดเร็ว Chen-Wo Kuo, Jiann-Min Yang, Quo-Ping Lin, และ Maiga Chang ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ และ เทคโนโลยีการคมนาคมได้มีการเจริญเติบโตมากขึ้นเรื่อย ๆ ตั้งแต่ ศตวรรษที่ 20 ซึ่งในหลาย ๆ ประเทศ และไม่ว่าจะเป็นองกรธุรกิจ ต่างก็ให้ความสำคัญและศึกษาเรียนรู้เกี่ยวกับด้านเทคโนโลยีไม่ว่าจะ เป็นด้านการศึกษา, การสอน หรือด้านการอบรม เพื่อที่จะพัฒนา ความสามารถของตนเอง

8 วิวัฒนาการของเทคโนโลยีในประเทศไทย
ศ.ดร.ศรีศักดิ์ จามรมาน และ กนกวรรณ ว่องวัฒนะสิน ได้แบ่งวิวัฒนาการของเทคโนโลยี ออกเป็น 5 ยุค คือ 1. ยุคลูกคิด 2. เครื่องเจาะบัตร 3. ยุคที่สำคัญที่สุดสำหรับเทคโนโลยีสารสนเทศในประเทศไทย 4. การนำไมโครคอมพิวเตอร์เข้ามาที่ประเทศไทย 5. ยุคของ Internet

9 วิวัฒนาการของเทคโนโลยีในประเทศไทย
ระบบออนไลน์ (pirun.ku.ac.th) 500,000 ปีที่แล้วมนุษย์มีการใช้สัญญาณและท่าทางสื่อสารกันและ จึงค่อย ๆ พัฒนาเป็นภาษา 5,000 ปีที่แล้วมนุษย์สามารถสร้างตัวหนังสือ และจารึกไว้ตามผนัง ปีที่แล้วมนุษย์สามารถจัดพิมพ์หนังสือเพราะมีเทคโนโลยี ที่เข้ามาช่วยในการพิมพ์ และการสื่อสารที่เข้าใจมากขึ้น 100 กว่าปีที่ผ่านมาเริ่มมีการสื่อสารโดยมีการส่งข้อความเป็นเสียง ทางโทรศัพท์ 50 ปีที่แล้วมีการส่งภาพโทรทัศน์ และคอมพิวเตอร์ทำให้มีการใช้ สารสนเทศในรูปแบบข่าวสารมากขึ้น

10 ระบบสารสนเทศ Information system

11 แนวคิดด้านระบบสารสนเทศ
อ.นิภาภรณ์ คำเจริญ กล่าวว่า สารสนเทศถือว่าเป็นสิ่งสำคัญอย่างหนึ่ง ขององค์กรเนื่องจากสารสนเทศจะช่วยให้การดำเนินงาน และการ ประสานงานแต่ละฝ่ายสามารถเป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ และได้ ผลลัพธ์ตามที่องค์กรต้องการ รศ. ชุมพล ศฤงคารศิริ สารสนเทศ คือข้อมูลที่ได้ผ่านการประมวลผล และถูกจัดให้อยู่ในรูปที่มีความหมาย และเป็นประโยชน์ต่อการตัดสินใจ ของผู้รับ ผศ. ดร. ณัฏฐพันธ์ เขจรนันทน์ และผศ. ดร.ไพบูลย์ เกียรติโกมล การ ประกาอบการธุรกิจในปัจจุบันจะมีการแข่งขันเพื่อช่วงชิงความได้เปรียบ ในการแข่งขันอย่างรุนแรงปัจจัยหนึ่งที่ช่วยสร้างความได้เปรียบเหนือ คู่แข่งในธุรกิจประเภทเดียวกันคือ การมีระบบสารสนเทศที่สมบูรณ์

12 การเรียนผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ E-learning

13 ความหมายของ e-learning
ผศ. ดร.งามนิจ อาจอินทร์ และคณะ ระบบการเรียนการสอนใน ปัจจุบัน ได้มีการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนไปสู่ระบบการเรียน การสอนผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (e-learning system) ซึ่งได้ เข้ามาช่วยในการถ่ายทอดความชำนาญและองค์ความรู้ไปสู่ผู้เรียน โดยมีระบบบริหารจัดการเรียนรู้เป็นองค์ประกอบสำคัญในการบริหาร จัดการเนื้อหา ศูนย์เทคโนโลยีทางการศึกษา สำนักบริหารงานการศึกษานอก โรงเรียน กระทรวงศึกษาธิการ กล่าวว่า E-learning สามารถจะ เป็นแนวทางหนึ่งซึ่งช่วยสร้างความเสมอภาคทางการศึกษาให้กับ ประชาชนได้ เนื่องจากคุณสมบัติของ E-learning ทำให้ผู้เรียนเข้าถึงได้อย่างสะดวก รวดเร็ว ลด ข้อจำกัดด้านเวลา และสถานที่

14 ความหมายของ e-learning
( e- Learning เป็นการนำไอ ทีไปใช้ในด้านการส่งเสริมประสิทธิภาพด้านการ เรียนการ สอน ใน หลากหลายรูปแบบ เช่น การนำมัลติมีเดียมาใช้เป็นสื่อการ สอนของครู/ อาจารย์ให้ นักเรียนเรียนรู้ค้นคว้าด้วยตนเอง ด้วย การเรียนผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ อินเตอร์ เน็ตการเรียน ทางไกลผ่านดาวเทียม การนำไอทีมาใช้เพื่อการ เรียนการ สอน ของ e-Learning ในยุคปัจจุบัน

15 แนวคิดของระบบ e-learning
Ming-Lang Tseng และ Ru-Jen Lin (อ้างอิงใน Shee และ Wang, 2008) การเรียนแบบอิเล็กทรอนิกส์ (e- learning) เป็นเครื่องมือที่เหมาะสมที่ใช้เป็นสื่อการสอน สืบ เนื่องมาจากหลาย ๆ เหตุผล เช่น เป็นการลดต้นทุน, สถาบันสามารถนำ ข้อมูลที่มีอยู่กลับออกมาใช้อีกครั้ง, และนอกจากนั้นยังเป็นความเอื้อ ความสะดวกสบายให้แก่ผู้เรียน Rosenberg กล่าวไว้ว่า e-learning คือ เทคโนโลยีที่ต้อง ใช้โดยผ่านอินเตอร์เนตในการถ่ายโอนข้อมูลในการเรียนรู้ ซึ่งตั้งอยู่บน รากฐานสามประการคือ 1. E-learning คือเครือข่ายที่สามารถ ปรับเปลี่ยนข้อมูล (update) ได้ตลอดเวลา, สามารถดูข้อมูลเก่า ๆ ได้, และยังสามารถเก็บรักษาข้อมูลได้ นอกจากนั้น e-learning ยัง สามารถเผยแพร หรือแชร์ความรู้โดยผ่านทางเครื่องมือบางเครื่องมือ หรือผ่านทางเทคโนโลยีให้กับคนอื่น ๆ โดยไม่ปิดกั้น

16 แนวคิดของระบบ e-learning
National Program: ได้ให้คำนิยามของ e- learning ไว้ว่ามันเป็นสื่อการเรียนรู้อย่างหนึ่งที่ทำให้ ผู้เรียนมีการเรียนรู้ที่ดีขึ้น และทำให้ครูมีสื่อการสอนที่ดีขึ้น เพราะโดยทั่ว ๆ ไปแล้ว e-learning ก็มีประโยชน์ใน หลาย ๆ ด้าน

17 ข้อดีของการเรียนการสอนแบบ e-learning
1. ความยืดหยุ่นและความสะดวก 2. เรียนได้ทันใจตามต้องการ 3. ผู้เรียนเป็นฝ่ายควบคุม

18 ข้อดีของการเรียนการสอนแบบ e-learning
4. รูปแบบมัลติมีเดีย 5. แหล่งทรัพยากรข้อมูล 6. ความทันสมัย 7. ช่วยเผยแพร่ผลงาน 8. เพิ่มทักษะด้านเทคโนโลยี

19 การจัดการความรู้ Knowledge Management

20 แนวความคิดเกี่ยวกับความรู้
ดร.กีรติ ยศยิ่งยง โลกยุคเศรษฐกิจฐานความรู้ในปัจจุบัน (Knowledge-base Economy) ความรู้เป็น ทรัพย์สินที่จับต้องไม่ได้ แต่เป็นสิ่งที่มีค่าสำหรับองค์กร ดังนั้นองค์กรจึงจำเป็นต้องพัฒนาความรู้ให้โดดเด่นอันเป็น ต้นทุนที่สำคัญขององค์กรเพื่อความได้เปรียบเชิงการ แข่งขัน และเพิ่มคุณค่าและพัฒนาผลิตภัณฑ์ และบริการ ใหม่เพื่อตอบสนองความต้องการและความพึงพอใจของ ลูกค้า

21 แนวความคิดเกี่ยวกับความรู้
Ryoko Toyama กล่าว่า การจัดการความรู้ หมายถึง การจัดการเพื่อเอื้อให้เกิดความรู้ใหม่ โดยใช้ความรู้ที่มีอยู่และ ประสบการณ์ของคนในองค์กรอย่างเป็นระบบเพื่อพัฒนานวต- กรรมที่จะทำให้มีความได้เปรียบเหนือคู่แข่ง Carla O’Dell และ Jackson Grayson กล่าว ว่า การจัดการความรู้เป็นกลยุทธในการที่จะทำให้คนได้รับ ความรู้ที่ต้องการภายในเวลาที่เหมาะสม รวมทั้งช่วยทำให้เกิด การแลกเปลี่ยนและนำความรู้ไปปฏิบัติเพื่อยกระดับขององค์กร

22 ประเภทของความรู้ Tacit Knowledge (ความรู้ซ่อนเร้น) ความรู้ที่อยู่ในตัว ของแต่ละบุคคล ที่เกิดจากประสบการ การเรียนรู้ หรือ พรสวรรค์ต่าง ๆ Explicit Knowledge (ความรู้เด่นชัด) ความรู้ที่เป็น เหตุเป็นผล สามารถรวบรวมและถ่ายทอดออกมาในรูปแบบต่าง ๆ เช่น หนังสือ คู่มือ เอกสาร และรายงานต่าง ๆ

23 ขอบเขตและวิธีการวิจัย
ในการทำวิจัยเรื่องการพัฒนาระบบสารสนเทศมหาวิทยาลัย Global University อยู่ภายใต้ขอบเขตและวิธีการวิจัยที่เกี่ยวกับ วัตถุประสงค์ของ การวิจัย, ประโยชน์ที่ได้รับจากการศึกษาเชิงทฤษฎีและ/หรือเชิงประยุกต์, ขอบเขตและวิธีการวิจัย, วิธีการและเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย, การวิเคราะห์ข้อมูล , และสถานที่ใช้ในการดำเนินการวิจัยและรวบรวมข้อมูล

24 วัตถุประสงค์ของการวิจัย
เพื่อพัฒนาระบบการจัดการศึกษาทางไกลของมหาวิทยาลัย Global University ให้เป็นระบบการเรียนรู้ใน รูปแบบของเทคโนโลยีสารสนเทศที่ทันสมัย เพื่อพัฒนาระบบการจัดการความรู้ของมหาวิทยาลัยโดยมีการ แบ่งปันความรู้บนระบบเทคโนโลยีสารสนเทศมากขึ้น เพื่อให้มีระบบการเก็บข้อมูลที่ดี เพื่อป้องกันข้อมูลขององค์กร สูญหาย

25 ประโยชน์ที่ได้รับ ได้ความรู้เกี่ยวกับการทำระบบสารสนเทศทั้งในหลักทฤษฎี และ การนำมาใช้ งานวิจัยชิ้นนี้สามารถที่จะช่วยแก้ไขข้อผิดพลาดขององค์กรที่ เกิดขึ้นบ่อยครั้งให้หมดไป ช่วยให้องค์กรมีสื่อในการเรียนการสอนที่ทันสมัยมากยิ่งขึ้น ซึ่ง เป็นการประหยัดทั้งทรัพยากร และเวลาในการขนส่ง

26 ขอบเขตและวิธีการวิจัย
เนื่องจากงานวิจัยในครั้งนี้ใช้เครื่องมือของเทคโนโลยีคือระบบ e-learning ที่จะเข้ามาเป็นตัวช่วยสร้างและพัฒนาระบบ การเรียนทางไกลของ Global University ให้ดีขึ้น ดังนั้นจึงมีความจำเป็นที่ต้องใช้ระบบ ISO เพื่อสร้างความ เป็นมาตรฐานให้กับระบบ e-learning

27 ขอบเขตและวิธีการวิจัย
ขอบเขตด้านประชากร ประชากรที่ใช้ในการศึกษา หรือสำรวจในครั้งนี้ได้แก่ ผู้บริหาร ของมหาวิทยาลัย Global University และนักเรียนที่เรียน ที่กำลังศึกษาอยู่กับทางมหาวิทยาลัย Global University แห่งประเทศ ขอบเขตด้านเนื้อหา การวิจัยในครั้งนี้เพื่อที่จะต้องการพัฒนาระบบการเรียนทางไกลของ มหาวิทยาลัย Global University ให้มีความเป็นสากลมาก ยิ่งขึ้น โดยใช้ระบบ E-learning เข้ามาเป็นส่วนช่วยเพื่อให้เกิด ความสะดวกสบายแก่ผู้เรียน และผู้สอนมากยิ่งขึ้น

28 วิธีการและเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้จะเป็นสำรวจจากการแจก แบบสอบถามสำหรับนักศึกษา 30 คน และผู้บริหารที่อยู่ในแต่ ละประเทศจำนวน 10 คน โดยการทำแบบสอบถามถึงความพึงพอใจของนักศึกษาในการเรียนผ่าน ระบบ e-learning จัดทำแบบสอบถามสำหรับผู้บริหารถึงความพึงพอใจ และความ สะดวกสบายต่อการตรวจสอบข้อมูลทางระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ

29 การวิเคราะห์ข้อมูล เนื่องจากมีการเก็บข้อมูลจากการแจกแบบสอบถามเพียงอย่าง เดียว จึงทำให้การวิเคราะห์ข้อมูลในครั้งนี้เป็นการวิเคราะห์ ข้อมูลแบบเชิงปริมาณ

30 สถานที่ใช้ในการดำเนินการวิจัยและรวบรวมข้อมูล
สถาบันพระคริสตธรรมสากล (Global University) ประเทศไทย 78/2 ม.14 ต.สุเทพ อ.สุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 50200

31 ระยะเวลาในการดำเนินงานวิจัย
เดือนมีนาคม 2555 –กรกฏาคม 2555

32 Thank you


ดาวน์โหลด ppt การพัฒนาระบบการเรียนทางไกลให้อยู่ในรูปแบบของเทคโนโลยีสารสนเทศ Application of Information Technology System into Distance Learning Presented by: Sunadda.

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google