งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

หกมิติความไม่เท่าเทียมระหว่างหญิงชาย หนทางเพื่อพัฒนาสู่ความเสมอภาค

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "หกมิติความไม่เท่าเทียมระหว่างหญิงชาย หนทางเพื่อพัฒนาสู่ความเสมอภาค"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 หกมิติความไม่เท่าเทียมระหว่างหญิงชาย หนทางเพื่อพัฒนาสู่ความเสมอภาค
สุรัชดา กองศรี วิชาญ ชูรัตน์ กัญจนา ติษยาธิคม วุฒิพันธุ์ วงษ์มงคล ภูมิสุข คณานุรักษ์ ภูษิต ประคองสาย การประชุมวิชาการกระทรวงสาธารณสุขประจำปี 2554 โรงแรมแอมบาสซาเดอร์ซิตี้ จอมเทียน พัทยา 6-9 กันยายน 2554

2 หัวข้อในการนำเสนอ หกมิติความไม่เท่าเทียมระหว่างหญิงชาย
ประกอบด้วยมิติดังต่อไปนี้ 1. การอยู่อาศัย 2. การศึกษา 3. การทำงาน 4. สุขภาพ 5. ความยากจน 6. การมีส่วนร่วมทางสังคม แหล่งที่มาข้อมูล 1.สำนักงานสถิติแห่งชาติ กระทรวงสาธารณสุข 3.สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ 4.สำนักงานข้าราชการพลเรือน

3 1) มิติหญิงชาย : การอยู่อาศัย
1) มิติหญิงชาย : การอยู่อาศัย โครงสร้างครัวเรือนของไทย แผนภูมิ : ร้อยละของประชากรที่อาศัยอยู่ใน ครัวเรือนคนเดียว จำแนกตามเพศ ปี แผนภูมิ: ร้อยละของครัวเรือน จำแนกตามเพศ ปี ที่มา: การสำรวจภาวะการทำงานของประชากร (ไตรมาส3) สำนักงานสถิติแห่งชาติ ผู้หญิงอยู่เพียงลำพังคนเดียวในครอบครัวมากกว่าผู้ชาย

4 2) มิติหญิงชาย : การศึกษา
2) มิติหญิงชาย : การศึกษา แผนภูมิ : ร้อยละของประชากรที่ไม่ได้เรียนหนังสือ ปี ผู้หญิงที่ไม่ได้รับการศึกษาลดลงอย่างต่อเนื่อง แต่ในปี 2553 ผู้หญิงไม่ได้รับการศึกษายังสูงกว่าผู้ชายเกือบ 2 เท่า ที่มา: การสำรวจภาวะการทำงานของประชากร (ไตรมาส3) สำนักงานสถิติแห่งชาติ

5 3) มิติหญิงชาย : การทำงาน
3) มิติหญิงชาย : การทำงาน แผนภูมิ : ร้อยละของประชากร จำแนกตามอุตสาหกรรม และเพศ ปี ภาคเกษตร ภาคการผลิต ผู้หญิงทำงานในภาคการผลิต และภาคบริการเพิ่มขึ้น ภาคบริการ ที่มา: การสำรวจภาวะการทำงานของประชากร (ไตรมาส3) สำนักงานสถิติแห่งชาติ

6 - ผู้หญิงยังได้รับค่าจ้างน้อยกว่าผู้ชาย
แผนภูมิ : ค่าจ้างเฉลี่ยต่อเดือนของลูกจ้าง จำแนกตามเพศ (บาท/เดือน) ปี - ผู้หญิงยังได้รับค่าจ้างน้อยกว่าผู้ชาย - โดยความแตกต่างระหว่างค่าจ้างแรงงานระหว่างเพศหญิงและชายมีแนวโน้มที่ดีขึ้น ที่มา : การสำรวจภาวะการทำงานของประชากร สำนักงานสถิติแห่งชาติ

7 4) มิติหญิงชาย : สุขภาพ ผู้หญิงอายุยืนยาวกว่าผู้ชาย
4) มิติหญิงชาย : สุขภาพ แผนภูมิ : แผนภูมิอายุคาดเฉลี่ยเมื่อแรกเกิด จำแนกตามเพศ ปี ผู้หญิงอายุยืนยาวกว่าผู้ชาย ที่มา: สำรวจการเปลี่ยนแปลงประชากร สำนักงานสถิติแห่งชาติ แผนภูมิ : ร้อยละของประชากรอายุ15 ปี ขึ้นไป จำแนกตามพฤติกรรมดื่มสุราและเพศ ปี 2552 แผนภูมิ : ร้อยละของประชากรอายุ15 ปี ขึ้นไป จำแนกตามพฤติกรรมสูบบุหรี่และเพศ ปี 2552 พฤติกรรมที่มีเสี่ยง ผู้ชายดื่มสุรามากกว่าผู้หญิงประมาณ 5 เท่า และผู้ชายสูบบุหรี่มากกว่าผู้หญิง ที่มา : สำรวจอนามัยและสวัสดิการปี 2552 สำนักงานสถิติแห่งชาติ

8 ผู้ชายยังมีอัตราผู้ป่วยเป็นโรคเอดส์สูงกว่าผู้หญิง แต่มีแนวโน้มลดลง
แผนภูมิ : อัตราผู้ป่วยโรคเอดส์ต่อประชากร 100,000 คนจำแนกตามเพศ ปี ที่มา: สำนักปลัดกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข ผู้ชายยังมีอัตราผู้ป่วยเป็นโรคเอดส์สูงกว่าผู้หญิง แต่มีแนวโน้มลดลง

9 5) มิติหญิงชาย : ความยากจน
5) มิติหญิงชาย : ความยากจน แผนภูมิ : สัดส่วนครัวเรือนยากจนจำแนกตามเพศของหัวหน้าครัวเรือน ปี แผนภูมิ : สัดส่วนคนจนแยกตามเพศ ปี ที่มา : สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ การวิเคราะห์สัดส่วนคนจนพบว่า ผู้ชายยากจนมากกว่าผู้หญิง ครอบครัวที่มีผู้ชายเป็นหัวหน้าครอบครัวมีฐานะยากจน (อยู่ใต้เส้นความยากจน) มากกว่าผู้หญิงเป็นหัวหน้าครอบครัว

10 6) มิติหญิงชาย : การมีส่วนร่วมทางสังคม
6) มิติหญิงชาย : การมีส่วนร่วมทางสังคม แผนภูมิ : ร้อยละของข้าราชการพลเรือนสามัญ จำแนกตามเพศ ปี ที่มา : สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน เกือบ 2 ใน 3 ข้าราชการพลเรือนเป็นผู้หญิง และมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น แต่ความก้าวหน้าที่จะได้รับตำแหน่งในระดับสูง (9-11) พบว่า ผู้หญิงมีโอกาสดำรงตำแหน่งข้าราชการในระดับสูงเพียงประมาณ 1 ใน 4 เท่านั้น

11 สรุป 1.ความเหลื่อมล้ำระหว่างชายหญิง มีแนวโน้มดีขึ้น (ช่องว่างน้อยลงความแตกต่างน้อยลง) ในมิติ: การศึกษา ด้านผลตอบแทนจากการทำงาน การมีส่วนร่วมทางสังคม 2. ด้านปัจจัยเสี่ยงด้านสุขภาพ (การดื่มสุรา,ดื่มแอลกอฮอล์) ผู้ชายมีพฤติกรรมเสี่ยงที่สูงมากกว่าผู้หญิง ทำให้ผู้หญิงมีอายุยืนยาวกว่าผู้ชาย 3. ผู้หญิง ได้รับค่าตอบแทน และมีโอกาสดำรงตำแหน่งข้าราชการในระดับสูง น้อยกว่าผู้ชาย

12 กิตติกรรมประกาศ สำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ (IHPP)
สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข สำนักวิชาการสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข สำนักงานสถิติแห่งชาติ เครือข่ายติดตามและประเมินความเป็นธรรมทางสุขภาพในประเทศไทย (HEM-Net)


ดาวน์โหลด ppt หกมิติความไม่เท่าเทียมระหว่างหญิงชาย หนทางเพื่อพัฒนาสู่ความเสมอภาค

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google