งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ความรู้เรื่องเสียงในภาษา

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ความรู้เรื่องเสียงในภาษา"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ความรู้เรื่องเสียงในภาษา
นางเพ็ญประภา รัตนเสถียร ครู คศ.๒ โรงเรียนอุดมดรุณี อำเภอเมือง จังหวัดสุโขทัย

2 ความรู้เรื่อง เสียง เสียงในความหมายกว้าง ๆ หมายถึง เสียงต่าง ๆ
      เสียงในความหมายกว้าง ๆ หมายถึง เสียงต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นเสียงมนุษย์เสียงสัตว์ หรือเสียงอื่นใดก็ตาม แต่ในการศึกษา เสียง หมายถึง เสียงที่มนุษย์เปล่งออกมา เพื่อสื่อความหมายระหว่างมนุษย์ด้วยกัน

3 เสียงในภาษาไทย เสียงในภาษาไทยแบ่งออกเป็น ๓ ชนิด ด้วยกัน คือ เสียงสระ
เสียงพยัญชนะ เสียงวรรณยุกต์

4 - เสียงสระ   หรือเสียงแท้ เกิดจากลมที่ออกจากปอดโดยไม่ถูกอวัยวะใดกีดขวาง
- เสียงพยัญชนะ หรือเสียงแปร เกิดจากการลมที่ออกจากปอดแล้วถูกปิดกั้นทางเดิน ของลมให้แคบลง ทำให้ลมผ่านไม่สะดวกจนต้องเสียดแทรกออกมา - เสียงวรรณยุกต์ หรือเสียงดนตรี  เกิดจากเสียงเปล่งออกมาพร้อมเสียงแปรจะมีเสียงสูง ต่ำ ตามการสั่นสะเทือนของสายเสียงอวัยวะที่ทำให้เกิดเสียง ได้แก่ ปอด หลอดลม กล่องเสียง ลิ้นไก่ ลิ้น เพดานปุ่มเหงือก ฟัน และ ริมฝีปาก

5 เสียงสระ       เสียงสระ เมื่อนำรูปสระทั้ง ๒๑ รูป มารวมกัน จะได้สระทั้งหมด ๓๒ เสียง จำแนกเป็น ๓ กลุ่ม ดังนี้ สระแท้ มี ๑๘ เสียง แบ่งออกเป็น สระเสียงสั้น ได้แก่  อะ อิ อึ เอะ เออะ โอะ แอะ เอาะ สระเสียงยาว ได้แก่ อา อี อื อู เอ เออ โอ แอ ออ สระประสม มี ๖ เสียง ได้แก่   เอีย       เกิดจากเสียง          -ี + -า         เอีย เอียะ      เกิดจากเสียง          -ิ  +  -ะ       เอียะ เอือ        เกิดจากเสียง          -ื  +  -า       เอือ เอือะ      เกิดจากเสียง          -ึ  +  -า       เอือะ อัว         เกิดจากเสียง          -ู  + -า        อัว   อัวะ      เกิดจากเสียง          -ุ  +  -ะ       อัวะ

6 เสียงพยัญชนะ เสียงพยัญชนะ
เสียงพยัญชนะ     พยัญชนะ แปลว่า การกระทำเสียงให้ปรากฏชัด หรือเครื่องหมายตัวอักษรที่ใช้แทนภาษาพูด พยัญชนะจะออกเสียงตามลำพังไม่ได้ต้องอาศัยสระ เสียงพยัญชนะในภาษาไทย เสียงพยัญชนะในภาษาไทย มี ๒๑ เสียง (๔๔ รูป) ๑. /ก/  ก ๒. /ค/  ข ค ฆ (ฃ ฅ) ๓. /ง/  ง ๔. /จ/  จ ๕. /ช/  ช ฉ ฌ ๖. /ซ/  ซ ศ ส ษ ๗. /ย/  ญ ย  ๘. /ด/  ด ฎ ๙. /ต/  ต ฏ ๑๐. /ท/  ท ฐ ถ ฑ ฒ ธ ๑๑. /น/  น ณ ๑๒. /บ/  บ ๑๓. /ป/  ป ๑๔. /พ/  ผ พ ภ ๑๕. /ฟ/  ฟ ฝ ๑๖. /ม/  ม ๑๗. /ร/  ร ๑๘. /ล/  ล ฬ ๑๙. /ว/  ว ๒๐. /ฮ/  ฮ ห ๒๑. /อ/  อ     

7 เสียงวรรณยุกต์ เสียงวรรณยุกต์
เสียงวรรณยุกต์           เสียงวรรณยุกต์ คือ เสียงที่เปล่งออกมามีระดับสูงต่ำต่างกัน ทำให้ความหมายต่างกัน ด้วยซึ่งเป็นเสียงที่เกิดกับเสียงสระและเสียงพยัญชนะวรรค วรรณยุกต์ไทย มี ๕ เสียง ๔ รูป คือ เสียง   เสียงสามัญ      เสียงเอก        เสียงโท         เสียงตรี        เสียงจัตวา  รูป       -                       ่                ้                 ๊                ๋         ในบางคำรูปกับเสียงวรรณยุกต์อาจไม่ตรงกัน พยัญชนะต้น สระ และตัวสะกดมีความสำคัญต่อการในวรรณยุกต์ไม่น้อยกว่ารูปวรรณยุกต์ ในการเขียนจึงต้องพิจารณาสิ่งเหล่านี้ด้วย จึงจะใช้วรรณยุกต์ได้ถูกต้อง เช่น โน้ต เชิ้ต เสียงตรีแต่ใช้รูปวรรณยุกต์โทเป็นต้น

8 แบบฝึกบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ความรู้เรื่องเสียงในภาษา
แบบฝึกบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ความรู้เรื่องเสียงในภาษา

9 ข้อที่ ๑ เสียงในภาษาไทยแบ่งออกเป็น ๓ จำพวก คือ
ก. เสียงสูง เสียงกลาง เสียงต่ำ ข. สระ พยัญชนะ วรรณยุกต์ ค. เสียงพูด เสียงอ่าน เสียงเพลง ง. เสียงแท้ เสียงแปร เสียงดนตรี เฉลย ง. เสียงแท้ เสียงแปร เสียงดนตรี

10 ข้อที่ ๒ อักษรชนิดใดผันด้วยรูปวรรณยุกต์ตรีไม่ได้ ก. อักษรสูงเท่านั้น
ข. อักษรต่ำเท่านั้น ค. อักษรกลาง ง. อักษรสูงและอักษรต่ำ เฉลย ง. อักษรสูงและอักษรต่ำ

11 ข้อที่ ๓ ข้อใดมีเสียง วรรณยุกต์ครบทั้ง ๕ เสียง ก. ประหยัดวันนี้สบายวันหน้า                                ข. สมบัติเมาเซถลาหัวทิ่ม ค. หมึกแดงแผลงฤทธิ์ให้รสอร่อย                          ง. จะพูดจาจงพิเคราะห์ให้เหมาะความ เฉลย ค. หมึกแดงแผลงฤทธิ์ให้รสอร่อย 

12 ข้อที่ ๔ ข้อใดที่มีเสียงวรรณยุกต์เหมือน “นกพรากจากรังแล้ว”
ก. ช่วยคิดด้วยนะจ๊ะ ข. ยกน้ำมาด้วยนะ ค. ทิดแก้วอยู่เมืองเพชร ง. วิเคราะห์โรคได้นะ เฉลย ค. ทิดแก้วอยู่เมืองเพชร

13 ข้อที่ ๕ เสียงแปร คือเสียงชนิดใดของเสียงในภาษาไทย ก. เสียงสระ
  ก. เสียงสระ   ข. เสียงพยัญชนะ   ค. เสียงวรรณยุกต์   ง. ทั้งสามเสียงรวมกัน เฉลย ข. เสียงพยัญชนะ

14 แล้วพบกันใหม่ ในบทเรียนต่อไปนะ


ดาวน์โหลด ppt บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ความรู้เรื่องเสียงในภาษา

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google