งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

โครงการพัฒนารูปแบบการลดทัศนคติการตีตรา/รังเกียจเด็กที่ได้รับผลกระทบจากพ่อแม่ที่ติดเชื้อและเจ็บป่วยด้วยโรคเอดส์ในโรงเรียนระดับประถมศึกษา-มัธยมศึกษาปี 2554-5.

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "โครงการพัฒนารูปแบบการลดทัศนคติการตีตรา/รังเกียจเด็กที่ได้รับผลกระทบจากพ่อแม่ที่ติดเชื้อและเจ็บป่วยด้วยโรคเอดส์ในโรงเรียนระดับประถมศึกษา-มัธยมศึกษาปี 2554-5."— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 โครงการพัฒนารูปแบบการลดทัศนคติการตีตรา/รังเกียจเด็กที่ได้รับผลกระทบจากพ่อแม่ที่ติดเชื้อและเจ็บป่วยด้วยโรคเอดส์ในโรงเรียนระดับประถมศึกษา-มัธยมศึกษาปี น้องเลี้ยง สุธาสินี สุโขวัฒนกิจ หน่วยงาน สำนักโรคเอดส์ วัณโรค และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์

2 ความเป็นมา ปัญหาเอดส์ส่งผลกระทบต่อเด็กที่พ่อแม่ติดเชื้อและเจ็บป่วยด้วยโรคเอดส์ โดยเฉพาะเรื่องการถูกสังคมรังเกียจ แม้ว่ากระทรวงสาธารณสุขและหน่วยงานทุกภาคส่วนได้พยายามสร้างความรู้ความเข้าใจกับประชาชน แต่ปัญหาดังกล่าว เป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อน และมีเงื่อนไขปัจจัยทางสังคมเข้ามาเกี่ยวข้อง แผนยุทธศาสตร์บูรณาการป้องกันและแก้ไขปัญหาเอดส์แห่งชาติ พ.ศ ในเรื่องยุทธศาสตร์ที่ 2 การบูรณาการป้องกัน ดูแลรักษา และลดผลกระทบตามกลุ่มประชากรเป้าหมาย

3 การเผชิญปัญหาของเด็กที่ต้องต่อสู้กับปัญหาภายในจิตใจของตนเองและปัญหาจากสังคมภายนอก ในการตีตรา รังเกียจ แบ่งแยก และกีดกันจากสังคม ซึ่งจากงานวิจัยในประเทศไทยพบว่ามีเด็กถูกทอดทิ้ง ไม่ได้รับการดูแล รวมถึง สังคมไม่ยอมรับครอบครัวเด็กที่ติดเชื้อ ทำให้ยังมีการปกปิดสถานภาพการติดเชื้อในครอบครัว สังคม และชุมชนอยู่ แม้ว่าหน่วยงานต่าง ๆ จะได้ให้การช่วยเหลือแล้วก็ตาม แต่ก็ยังพบว่าผู้ติดเชื้อและผู้ป่วยเอดส์ส่วนใหญ่ยังไม่กล้าเปิดเผยตัวกับครอบครัว ชุมชน และสังคม ทำให้ผู้ติดเชื้อและผู้ป่วยเอดส์อยู่ร่วมกับครอบครัวได้ยากลำบากและไม่เป็นปกติสุข ไม่สามารถเข้าถึงบริการการดูแลรักษาและส่งเสริมสุขภาพได้ดีเท่าที่ควร ขาดโอกาสความเท่าเทียมกันในสังคม และสิทธิประโยชน์ในด้านต่าง ๆ ที่ควรจะได้รับ

4 การหารูปแบบการลดทัศนคติการตีตรา/รังเกียจเด็กที่พ่อแม่ติดเชื้อและเจ็บป่วยด้วยโรคเอดส์ จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งในการลดปัญหาผลกระทบในครอบครัว สังคม ชุมชนได้ โดยเฉพาะการเผชิญปัญหาของเด็กที่ถูกตีตรา/รังเกียจ กีดกันจากสังคมที่ส่งผลกระทบต่อจิตใจ กับการอยู่ร่วมกันของคนในสังคม ซึ่งส่งผลต่อการปลูกฝังพฤติกรรมที่ก้าวร้าว อาชญากรรม และความรุนแรงได้ ส่งผลต่อการเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่ดี และเพื่อให้เด็กสามารถใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างปกติสุข และมีคุณภาพชีวิตที่ดีต่อไป

5 วัตถุประสงค์ ประเมินคุณภาพชีวิต จิตใจของเด็กระดับประถมศึกษา-มัธยมศึกษาที่มีพ่อแม่ติดเชื้อและเจ็บป่วยด้วยโรคเอดส์ หารูปแบบ/แนวทางการดำเนินงานในการลดผลกระทบในกลุ่มเด็กที่ถูกตีตรา/รังเกียจจากครอบครัว สังคม และชุมชน

6 วิธีการศึกษา รูปแบบการศึกษา -- การสัมภาษณ์เชิงลึก
รูปแบบการศึกษา -- การสัมภาษณ์เชิงลึก ประชากรกลุ่มเป้าหมาย -- แบ่งออก 3 กลุ่ม คือ 1. กลุ่มผู้บริหาร อาจารย์ และบุคลากรในสถานศึกษาหรือโรงเรียน 2. กลุ่มประชาชนในพื้นที่เป้าหมาย และ 3. เด็กที่พ่อแม่ติดเชื้อและเจ็บป่วยด้วยโรคเอดส์ในพื้นที่โรงเรียนเป้าหมาย เพื่อประเมินยุทธศาสตร์การลดทัศนคติการตีตรา/รังเกียจในโรงเรียนหรือสถานศึกษา

7 วิธีการดำเนินงาน สุ่มเลือกพื้นที่โรงเรียนเป้าหมาย ทำการสัมภาษณ์เชิงลึกในกลุ่มผู้บริหาร อาจารย์ บุคลากรที่เกี่ยวข้อง และเด็กที่พ่อแม่ติดเชื้อและเจ็บป่วยด้วยโรคเอดส์ ในสถานศึกษา 5 แห่ง ลงพื้นที่ประเมินในโรงเรียนเป้าหมาย 5 แห่ง เก็บรวบรวมข้อมูล และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ รายงานสรุปผลการดำเนินงาน พร้อมข้อเสนอแนะทางวิชาการและนโยบาย

8 ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
ได้ทราบคุณภาพชีวิต จิตใจของเด็กระดับประถมศึกษา-มัธยมศึกษาที่มีพ่อแม่ติดเชื้อและเจ็บป่วยด้วยโรคเอดส์ ได้ทราบปัญหาทัศนคติการตีตรา/รังเกียจเด็กที่พ่อแม่ติดเชื้อและเจ็บป่วยด้วยโรคเอดส์ ได้รูปแบบ/แนวทางการดำเนินงานในการลดผลกระทบในกลุ่มเด็กที่ถูกตีตรา/รังเกียจจากครอบครัว สังคม และชุมชน

9 ระยะเวลาที่ศึกษา ปีงบประมาณ


ดาวน์โหลด ppt โครงการพัฒนารูปแบบการลดทัศนคติการตีตรา/รังเกียจเด็กที่ได้รับผลกระทบจากพ่อแม่ที่ติดเชื้อและเจ็บป่วยด้วยโรคเอดส์ในโรงเรียนระดับประถมศึกษา-มัธยมศึกษาปี 2554-5.

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google