งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

นางธิโสภิญ ทองไทย และคณะ

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "นางธิโสภิญ ทองไทย และคณะ"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 นางธิโสภิญ ทองไทย และคณะ
การศึกษาการใช้ “ถุงรับขวัญเด็กแรก” เพื่อการส่งเสริมพัฒนาการเด็ก A study of using “Newborn gift set” to support for child’s development โดย นางธิโสภิญ ทองไทย และคณะ ศูนย์อนามัยที่ ๖

2 + หลักการและเหตุผล ปี 2548 นโยบายรัฐบาล เป้าหมายแผนฯ ฉบับที่ 9
การศึกษาการใช้ “ถุงรับขวัญเด็กแรก” เพื่อการส่งเสริมพัฒนาการเด็ก หลักการและเหตุผล เป้าหมายแผนฯ ฉบับที่ 9 เด็ก 0-5 ปี มีพัฒนาการสมวัย ร้อยละ 80 ปี 2548 นโยบายรัฐบาล วางรากฐานพัฒนาการเรียนรู้ ตั้งแต่แรกเกิด โดยจัดโอกาสการเรียนรู้ ให้เข้าถึงครอบครัวและชุมชน ทั่วประเทศ + มอบให้เด็กที่เกิดในวันที่ 28 กรกฎาคม 2548 – 27 กรกฎาคม (ระยะเวลา 1 ปี)

3 การศึกษาการใช้ “ถุงรับขวัญเด็กแรก”
เพื่อการส่งเสริมพัฒนาการเด็ก วัตถุประสงค์ 1. เพื่อประเมินความรู้ความเข้าใจของพ่อ แม่ หรือผู้เลี้ยงดูเด็กในการใช้ "ถุงรับขวัญเด็กแรกเกิด" เพื่อการกระตุ้นและส่งเสริมพัฒนาการเด็ก 2. เพื่อประเมินการปฏิบัติของพ่อ แม่ หรือผู้เลี้ยงดูเด็กในการใช้ "ถุงรับขวัญเด็กแรกเกิด" เพื่อการกระตุ้นและส่งเสริมพัฒนาการเด็ก

4 ขอบเขตการวิจัย วิธีดำเนินการวิจัย
การศึกษาการใช้ “ถุงรับขวัญเด็กแรก” เพื่อการส่งเสริมพัฒนาการเด็ก ขอบเขตการวิจัย โรงพยาบาลชุมชน ในเขตตรวจราชการที่ 10 และ 12 จังหวัดละ 1 โรงพยาบาล รวม 7 แห่ง วิธีดำเนินการวิจัย รูปแบบวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research)

5 ประชากร กลุ่มตัวอย่าง
การศึกษาการใช้ “ถุงรับขวัญเด็กแรก” เพื่อการส่งเสริมพัฒนาการเด็ก ประชากร คือ พ่อ แม่ หรือผู้เลี้ยงดูเด็กในเขตรับผิดชอบของศูนย์อนามัยที่ 6 ที่ได้รับถุงรับขวัญเด็กแรกเกิด กลุ่มตัวอย่าง คือ พ่อ แม่ หรือผู้เลี้ยงดูเด็กที่ได้รับถุงรับขวัญเด็กแรกเกิด จำนวนทั้งหมด 70 คน ได้จากการสุ่มแบบเจาะจงจากผู้มารับบริการที่ได้รับถุงรับขวัญเด็กแรกเกิดใน รพช.รพ.ละ 10 คน จาก รพช.ในพื้นที่ 7 จังหวัดในเขตรับผิดชอบของศูนย์อนามัยที่ 6 จังหวัดละ 1 แห่ง คือ รพ.พล, รพ.วาปีปทุม, รพ.โพนทอง, รพ.โพนพิสัย, รพ.ศรีบุญเรือง, รพ.วังสะพุง และ รพ.กุมภวาปี

6 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
การศึกษาการใช้ “ถุงรับขวัญเด็กแรก” เพื่อการส่งเสริมพัฒนาการเด็ก เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป ประกอบด้วย ข้อมูลทั่วไปของพ่อ แม่ หรือผู้เลี้ยงดูเด็ก และข้อมูลทั่วไปของเด็ก ส่วนที่ 2 ประเด็นคำถามในการสนทนากลุ่มพ่อ แม่ หรือผู้เลี้ยงดูเด็กที่ได้รับ “ถุงรับขวัญ เด็กแรกเกิด”

7 การเก็บรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล
การศึกษาการใช้ “ถุงรับขวัญเด็กแรก” เพื่อการส่งเสริมพัฒนาการเด็ก การเก็บรวบรวมข้อมูล ชี้แจงวัตถุประสงค์การศึกษากับกลุ่มตัวอย่าง ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ข้อมูลทั่วไปและสนทนากลุ่มตามประเด็นคำถาม พร้อมบันทึกคำสนทนา การวิเคราะห์ข้อมูล 1. ข้อมูลทั่วไปของกลุ่มสนทนาวิเคราะห์โดยใช้โปรแกรม สำเร็จรูป SPSS/PC+ด้วยการแจกแจงความถี่และร้อยละ 2. ข้อมูลจากการสนทนากลุ่มใช้การวิเคราะห์เนื้อหา

8 ผลการศึกษา ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป ได้แก่ ข้อมูลทั่วไปของ
การศึกษาการใช้ “ถุงรับขวัญเด็กแรก” เพื่อการส่งเสริมพัฒนาการเด็ก ผลการศึกษา ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป ได้แก่ ข้อมูลทั่วไปของ พ่อ แม่ หรือผู้เลี้ยงดูเด็ก และข้อมูล ทั่วไปของเด็ก ส่วนที่ 2 ข้อมูลเชิงคุณภาพ

9 ส่วนที่ 1 1.1ข้อมูลทั่วไปของพ่อ แม่ หรือผู้เลี้ยงดูเด็ก
การศึกษาการใช้ “ถุงรับขวัญเด็กแรก” เพื่อการส่งเสริมพัฒนาการเด็ก ส่วนที่ 1 1.1ข้อมูลทั่วไปของพ่อ แม่ หรือผู้เลี้ยงดูเด็ก - เป็นเพศหญิงมากที่สุด ร้อยละ 84.3 - ส่วนใหญ่เป็นมารดา ร้อยละ 77.1 - ช่วงอายุระหว่าง ปี ร้อยละ 52.9 - สถานภาพสมรสคู่ ร้อยละ 91.4 - การศึกษาระดับประถมศึกษา ร้อยละ 45.7 - อาชีพเกษตรกรรมมากที่สุด ร้อยละ 31.4 - รายได้ต่ำกว่า 5,000 บาท ร้อยละ 60.0

10 ส่วนที่ 1 1.2 ข้อมูลทั่วไปของเด็ก - เป็นเพศหญิงมากที่สุด ร้อยละ 52.9
การศึกษาการใช้ “ถุงรับขวัญเด็กแรก” เพื่อการส่งเสริมพัฒนาการเด็ก ส่วนที่ 1 1.2 ข้อมูลทั่วไปของเด็ก - เป็นเพศหญิงมากที่สุด ร้อยละ 52.9 - ส่วนใหญ่เป็นบุตรลำดับที่ 2 ร้อยละ 45.7 - ช่วงอายุระหว่าง 5- 6 เดือน ร้อยละ 48.6 - ส่วนใหญ่คลอดที่ รพช. 78.6 - ผู้เลี้ยงดูหลักช่วงกลางวันส่วนใหญ่ คือ มารดา ร้อยละ 77.1

11 ส่วนที่ 2 ข้อมูลเชิงคุณภาพ
การศึกษาการใช้ “ถุงรับขวัญเด็กแรก” เพื่อการส่งเสริมพัฒนาการเด็ก ส่วนที่ 2 ข้อมูลเชิงคุณภาพ 2.1 ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับถุงรับขวัญเด็กแรกเกิด : เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของการแจกถุงรับขวัญเด็กแรกเกิด - ใช้เพื่อกระตุ้นพัฒนาการด้านการเรียนรู้ การสัมผัส การดู การฟัง ภาษา การจำและการเข้าใจรูปทรงมิติต่างๆ - ใช้ได้ตั้งแต่แรกเกิดจนโตเริ่มเข้าโรงเรียน - วัสดุปลอดภัย ทนทาน ทำความสะอาดง่าย - พึงพอใจมากที่ได้รับ - มีความคิดเห็นว่าลูกคนที่ได้รับถุงรับขวัญฯมีพัฒนาการรับรู้ ฟัง พูดเร็ว และอารมณ์ดีกว่าลูกคนแรกที่ไม่ได้รับ

12 ส่วนที่ 2 ข้อมูลเชิงคุณภาพ
การศึกษาการใช้ “ถุงรับขวัญเด็กแรก” เพื่อการส่งเสริมพัฒนาการเด็ก ส่วนที่ 2 ข้อมูลเชิงคุณภาพ 2.2 การปฏิบัติในการนำถุงรับขวัญฯไปใช้ : ร้อยละ 77.1 มีการปฏิบัติในการใช้ได้เหมาะสม - ของเล่นที่ใช้บ่อยตามลำดับ คือ โมบาย ผ้าพัฒนาการ ซีดีเพลง หนังสือสัมผัส ร้องเล่นเต้นเพลิน หนังสือนุ่มนิ่ม

13 ส่วนที่ 2 ข้อมูลเชิงคุณภาพ
การศึกษาการใช้ “ถุงรับขวัญเด็กแรก” เพื่อการส่งเสริมพัฒนาการเด็ก ส่วนที่ 2 ข้อมูลเชิงคุณภาพ 2.2 การปฏิบัติในการนำถุงรับขวัญฯไปใช้ (ต่อ) - หนังสือรับขวัญวันสมองสดใส หนังสือนมแม่ พบว่า ร้อยละ 82.9 จะอ่านแต่ไม่ได้อ่านทุกวัน ส่วนกลุ่ม ปู่ ตา ย่า ยาย ร้อยละ 11.4 ไมได้อ่าน เนื่องจาก มีปัญหาด้านสายตา

14 ส่วนที่ 2 ข้อมูลเชิงคุณภาพ
การศึกษาการใช้ “ถุงรับขวัญเด็กแรก” เพื่อการส่งเสริมพัฒนาการเด็ก ส่วนที่ 2 ข้อมูลเชิงคุณภาพ 2.2 การปฏิบัติในการนำถุงรับขวัญฯไปใช้ (ต่อ) - ของที่ไม่ค่อยได้ใช้ คือ สติกเกอร์ และเทปเพลง (ไม่มีเครื่องเล่นเทป)

15 ส่วนที่ 2 ข้อมูลเชิงคุณภาพ
การศึกษาการใช้ “ถุงรับขวัญเด็กแรก” เพื่อการส่งเสริมพัฒนาการเด็ก ส่วนที่ 2 ข้อมูลเชิงคุณภาพ 2.3 การดูแลรักษาถุงรับขวัญเด็กแรกเกิด - ร้อยละ 34.0 ยังปฏิบัติ ไม่เหมาะสม โดยยังใช้ ผงซักฟอก และ เครื่องซักผ้า ในการทำ ความสะอาดผ้าพัฒนาการ และโมบาย

16 ส่วนที่ 2 ข้อมูลเชิงคุณภาพ
การศึกษาการใช้ “ถุงรับขวัญเด็กแรก” เพื่อการส่งเสริมพัฒนาการเด็ก ส่วนที่ 2 ข้อมูลเชิงคุณภาพ 2.4 วิธีการส่งเสริมความฉลาด - ร้องเพลงกล่อม เล่านิทาน อ่านหนังสือให้ฟัง เปิดซีดีเพลงที่ขับร้องโดยเด็ก หรือที่พ่อ แม่ หรือผู้เลี้ยงดูเด็กชอบฟัง ซื้อของเล่นที่มีตามท้องตลาด เช่น กรุ๋งกริ๋ง ตุ๊กตา ลูกบอล เป็นต้น ส่วนใหญ่บอกว่าคุณภาพไม่ดีและคงไม่ครบถ้วนเท่าของที่ได้ในถุงรับขวัญฯ

17 ส่วนที่ 2 ข้อมูลเชิงคุณภาพ 2.5 ข้อเสนอแนะเพื่อการปรับปรุง
การศึกษาการใช้ “ถุงรับขวัญเด็กแรก” เพื่อการส่งเสริมพัฒนาการเด็ก ส่วนที่ 2 ข้อมูลเชิงคุณภาพ 2.5 ข้อเสนอแนะเพื่อการปรับปรุง - ต้องการให้ผ้าพัฒนาการมีความหนานุ่มมากขึ้น - โมบายมีขนาดใหญ่ขึ้น มีเสียงดนตรีประกอบ - ซีดีเพลงมีภาพประกอบ เมื่อเด็กโตขึ้นสามารถดูได้ - ให้มีของเล่นที่หลากหลาย เช่น หุ่น ตุ๊กตา รถยนต์ - ให้มีภาษาอังกฤษแทรกในหนังสือร้องเล่นเต้นเพลิน และในซีดี - หากต้องจ่ายเงินซื้อเอง สามารถซื้อได้ในราคา บาท

18 ข้อเสนอแนะ เชิงนโยบาย
การศึกษาการใช้ “ถุงรับขวัญเด็กแรก” เพื่อการส่งเสริมพัฒนาการเด็ก ข้อเสนอแนะ เชิงนโยบาย - ดำเนินโครงการในระยะยาวโดยให้ผู้รับบริการมีส่วนร่วมในการซื้อ โดยรัฐจำหน่ายในราคาย่อมเยา - ประชาสัมพันธ์ แนะนำการใช้ การดูแลรักษาที่เหมาะสม ง่ายต่อการนำไปใช้ - จัดทำโครงการเพื่อคิดค้นนวตกรรมของเล่น โดยรวบรวมภูมิปัญญาท้องถิ่น และผลิตทดแทนของเล่นดังเช่นในถุงรับขวัญเด็กแรกเกิด

19 การศึกษาการใช้ “ถุงรับขวัญเด็กแรก”
เพื่อการส่งเสริมพัฒนาการเด็ก ข้อเสนอแนะ เชิงวิจัย - ควรมีการศึกษาวิจัยเพื่อประเมินผลพัฒนาการเด็กที่ได้รับถุงรับขวัญเด็กแรกเกิดในระยะยาวว่าเป็นอย่างไร - เปรียบเทียบพัฒนาการเด็กที่ได้รับถุงรับขวัญเด็กแรกเกิดกับไม่ได้รับ ว่ามีความแตกต่างกันหรือไม่ เพื่อประเมินความคุ้มค่า

20 การศึกษาการใช้ “ถุงรับขวัญเด็กแรก”
เพื่อการส่งเสริมพัฒนาการเด็ก การนำไปใช้ประโยชน์ 1. เป็นข้อมูลในการปรับปรุงพัฒนาการผลิตให้เหมาะสมกับความต้องการและการใช้งาน 2. เป็นข้อมูลสำหรับพยาบาลให้เห็นความสำคัญในการกระตุ้น ส่งเสริมให้สมาชิกครอบครัว เช่น สามี ปู่ ย่า ตา ยาย หรือญาติคนอื่นๆ เข้ามามีบทบาทในการใช้ถุงรับขวัญเด็กแรกเกิดให้มากขึ้น 3. เป็นข้อมูลสำหรับพยาบาลผู้ทำหน้าที่ให้คำแนะนำการใช้ถุงรับขวัญฯ ในการให้คำแนะนำการใช้ และการดูแลรักษาให้เหมาะสม ยืดอายุการใช้งาน เกิดความคุ้มค่า 4. เป็นข้อมูลสำหรับองค์กรของรัฐหรือองค์กรอื่นๆในการพัฒนาและผลิตเพื่อการจำหน่ายในราคาที่ย่อมเยา สามารถตอบสนองความต้องการของผู้รับบริการได้

21 ขอบคุณค่ะ


ดาวน์โหลด ppt นางธิโสภิญ ทองไทย และคณะ

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google