งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

พัฒนาการพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "พัฒนาการพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 พัฒนาการพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ
ทม เกตุวงศา ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

2 วัด : พิพิธภัณฑ์ของสังคมไทยในอดีต
 แหล่งรวบรวมศิลปะและสรรพวิทยาเพื่อผู้ใฝ่รู้  แหล่งสะสม จัดแสดง และเผยแพร่ความรู้ หลักการพื้นฐานของพิพิธภัณฑ์ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (วัดโพธิ์) วัด 11 แห่ง เป็นพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ วัดอีกจำนวนมาก ก่อตั้งเป็นพิพิธภัณฑ์

3 พิพิธภัณฑ์ส่วนพระองค์ : รัชกาลที่ 4
พระที่นั่งราชฤดี เก็บรวบรวมสิ่งของที่ทรงรวบรวมไว้ พระที่นั่งประพาสพิพิธภัณฑ์ จัดแสดงสิ่งของที่ย้ายมาจากพระที่นั่งราชฤดี และเครื่องราชบรรณาการ

4 พิพิธภัณฑ์สำหรับประชาชน : รัชกาลที่ 5
จัดแสดง ณ “หอคองคอเดีย” “ตั้งมิวเซียม” เปิดให้ประชาชนเข้าชมและนำสิ่งของมาจัดแสดง ปรับปรุงการจัดแสดงตามหลักสากล ย้ายหอมิวเซียมไปที่พระที่นั่ง 3 องค์ ใน “วังหน้า”

5 พิพิธภัณฑ์เพื่อสร้างประวัติศาสตร์ชาติ : รัชกาลที่ 6
ตั้ง “กรรมการหอสมุดสำหรับพระนคร” เพื่อสำรวจ ตรวจตรา และรักษาโบราณวัตถุสถาน พิพิธภัณฑ์ ทำหน้าที่ รวบรวมศิลปะโบราณวัตถุ ที่เป็นมรดกของชาติ พระราชทานหมู่พระที่นั่งในวังหน้าทั้งหมดเป็น “พิพิธภัณฑสถานสำหรับพระนคร”

6 พิพิธภัณฑ์เพื่อบำรุงปัญญาและเป็นสง่าแก่พระนคร : รัชกาลที่ 7
 บันทึกของ ม.จ.หญิงพูนพิสมัย ดิสกุล “...เสด็จพ่อทรงเล็งเห็นว่าคนไทยกำลัง ต้องการความรู้ในเรื่องของตัวเอง จึงทรงจัดไปในทางช่วยการศึกษา...” พิพิธภัณฑ์เน้นด้านประวัติศาสตร์ และโบราณคดี

7 พิพิธภัณฑ์ในระยะปรับตัว พ.ศ.2477 - 2500
พ.ร.บ.ว่าด้วยโบราณสถาน ศิลปวัตถุ โบราณวัตถุ และการพิพิธภัณฑ์แห่งชาติ พ.ศ.2477 (ปรับโครงสร้างการบริหารหลายครั้ง แต่ยังเน้นด้านโบราณวัตถุสถาน คือ การเก็บรวบรวม ศิลปโบราณวัตถุที่ได้จากการขุดค้น) เป็นสมาชิกสภาการพิพิธภัณฑ์ระหว่างชาติ (ICOM) มีพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ 4 แห่ง คือ พระนคร พระราชวังจันทรเกษม พระนารายณ์ราชนิเวศน์ และวัดมหาธาตุ

8 พิพิธภัณฑ์ประจำแหล่งโบราณสถาน (Site Museum)
สร้างขึ้นในสถานที่ขุดค้นพบศิลปโบราณวัตถุ เชียงแสน(พ.ศ.2500), รามคำแหง(พ.ศ.2503), บ้านเก่า(พ.ศ.2504), เจ้าสามพระยา(พ.ศ.2504), อู่ทอง(พ.ศ.2509), กำแพงเพชร(พ.ศ.2510), พระปฐมเจดีย์(พ.ศ.2515), บ้านเชียง(พ.ศ. 2518) ยกฐานะแหล่งสะสมในวัดเป็นพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ คือ พระมหาวีรวงศ์ วัดเบญจมบพิตร พระพุทธชินราช วัดพระธาตุลำปางหลวง ชัยนาทมุณี

9 พิพิธภัณฑ์ส่วนภูมิภาค (Regional Museum)
นโยบายเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ และโบราณคดีแก่ประชาชนในส่วนภูมิภาค รวบรวมศิลปโบราณวัตถุจากการขุดค้น ในพื้นที่ใกล้เคียง ขอนแก่น (พ.ศ.2515), เชียงใหม่ (พ.ศ.2516), นครศรีธรรมราช (พ.ศ.2517), และปราจีณบุรี (พ.ศ.2517)

10 พิพิธภัณฑ์ส่วนจังหวัด Provincial Museum
 นโยบายการกระจายภารกิจให้ทั่วถึง เน้นด้านประวัติศาสตร์และโบราณคดีเหมือนกับ พิพิธภัณฑ์ส่วนภูมิภาค หริภุญไชย (พ.ศ.2517), สงขลา (พ.ศ.2517), น่าน (พ.ศ.2517), สวรรควรนายก (พ.ศ.2521)

11 พิพิธภัณฑ์รูปแบบอื่น ๆ
 เรือพระราชพิธี (พ.ศ.2517)  หอศิลป์ (พ.ศ.2520)  ศิลป์ พีระศรีอนุสรณ์ (พ.ศ.2527)  ชาวนาไทย (พ.ศ.2534)  ช้างต้น (พ.ศ.2535)

12 พิพิธภัณฑ์ที่สร้างเพิ่มเติม
 พระนครคีรี (พ.ศ.2522) ประจำแหล่งโบราณสถาน  ราชบุรี (พ.ศ.2531) ส่วนจังหวัด  ถลาง (พ.ศ.2532) ส่วนจังหวัด  พิมาย (พ.ศ.2536) ประจำแหล่งโบราณสถาน ร้อยเอ็ด (พ.ศ.2536) ประจำเมือง กำแพงเพชร (พ.ศ.2539) ประจำเมือง

13 ปัจจุบันมีพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติทั้งหมด 40 แห่ง ทำหน้าที่
รวบรวมวัตถุ โดยเฉพาะศิลปโบราณวัตถุ ตรวจสอบ จำแนกแยกแยะประเภทและศึกษาวิจัย การทำบันทึกหลักฐาน การซ่อมสงวนรักษาวัตถุ รักษาความปลอดภัย จัดแสดง ให้การศึกษา ตอบสนองต่อความต้องการของสังคม


ดาวน์โหลด ppt พัฒนาการพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google