ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
ได้พิมพ์โดยTong Atitarn ได้เปลี่ยน 10 ปีที่แล้ว
1
แนวทางการบริหารจัดการระบบประกันสุขภาพ ในภาพรวม ปีงบประมาณ 2551
แนวทางการบริหารจัดการระบบประกันสุขภาพ ในภาพรวม ปีงบประมาณ 2551 โดย นายแพทย์อำนวย กาจีนะ ที่ปรึกษาระดับกระทรวงด้านเวชกรรมป้องกัน ปฏิบัติหน้าที่ผู้อำนวยการกลุ่มประกันสุขภาพ
2
กลุ่มประกันสุขภาพ เป็นหน่วยงานในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ที่ประสานและสนับสนุนการดำเนินงานด้านประกันสุขภาพ ของหน่วยงานในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข เพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าถึงหลักประกันสุขภาพและได้รับบริการสุขภาพที่มีคุณภาพมาตรฐานอย่างทั่วถึงและเป็นธรรม โดยมีกลยุทธ์ของสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขคือ พัฒนาระบบบริหารจัดการและระบบบริการด้านสุขภาพให้มีคุณภาพ มาตรฐานในระบบหลักประกันสุขภาพ ซึ่งกลุ่มประกันสุขภาพ ได้กำหนดกลยุทธ์ของหน่วยงานคือ 1. พัฒนาระบบและกลไกการจัดการระบบประกันสุขภาพ 2. พัฒนาระบบและกลไกการบริหารจัดการข้อมูลการเงินการคลังสุขภาพ ซึ่งในการดำเนินการของกลุ่มประกันสุขภาพเพื่อให้บรรลุเป้าหมายได้นั้น จะต้องมีกลไกในการจัดการที่เกี่ยวข้องกันระหว่างหน่วยงานในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค ซึ่งหน่วยงานในส่วนภูมิภาคที่เป็นแกนหลักในการดำเนินงานในเรื่องนี้คือกลุ่มงานประกันสุขภาพของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด หน่วยงานในส่วนกลางคือกลุ่มประกันสุขภาพ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งในการดำเนินการในรายละเอียดของแต่ละกิจกรรมโดยสรุปคือ
3
การพัฒนาระบบและกลไกการจัดการ ระบบประกันสุขภาพ
การพัฒนาระบบและกลไกการจัดการระบบประกันสุขภาพ กลุ่มประกันสุขภาพมีดำเนินการดังนี้
4
มีการประชุมในรูปแบบของคณะกรรมการฯเพื่อพัฒนาเป็นข้อเสนอเชิงนโยบาย
1. พัฒนาข้อเสนอเชิงนโยบายในการดำเนินงานสำหรับเครือข่ายหน่วยบริการสังกัด สป. มีการประชุมในรูปแบบของคณะกรรมการฯเพื่อพัฒนาเป็นข้อเสนอเชิงนโยบาย * คณะกรรมการบริหารและพัฒนาระบบประกันสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข * คณะกรรมการบริหารการเงินการคลังสุขภาพ ระดับเขต * คณะกรรมการพัฒนารายงานทางการเงินและดัชนีชี้วัดการเงินการคลังสาธารณสุข 1. พัฒนาข้อเสนอเชิงนโยบายในการดำเนินงานสำหรับเครือข่ายหน่วยบริการสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข มีการแต่งตั้งคณะกรรมการฯดำเนินการในแต่ละด้าน เพื่อพัฒนาเป็นข้อเสนอเชิงนโยบาย คือ * คณะกรรมการบริหารและพัฒนาระบบประกันสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข มี รองปลัดกระทรวงสาธารณสุขที่รับผิดชอบงานประกันสุขภาพ เป็นประธาน มีอำนาจหน้าที่ในการพิจารณากำหนดกรอบแนวทางการบริหารจัดการและการดำเนินงานโครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า โครงการประกันสังคม การประกันสุขภาพแรงงานต่างด้าว และการประกันสุขภาพในระบบอื่นๆในส่วนที่เกี่ยวข้องกับอำนาจหน้าที่ของกระทรวงสาธารณสุข * คณะกรรมการบริหารการเงินการคลังสุขภาพ ระดับเขต โดยมี สาธารณสุขนิเทศก์ เป็นประธาน มีหน้าที่ในการพัฒนากลไกการบริหารจัดการด้านการเงินการคลังในระดับเขตรวมทั้งติดตามวิเคราะห์สถานการณ์การเงินการคลังของหน่วยบริการในพื้นที่รับผิดชอบ * คณะกรรมการพัฒนารายงานทางการเงินและดัชนีชี้วัดการเงินการคลังสาธารณสุข โดยมี นายแพทย์นิพนธ์ โตวิวัฒน์ เป็นประธาน มีอำนาจหน้าที่ในการพัฒนาระบบรายงานทางการเงินและจัดทำดัชนีชี้วัดทางการเงินการคลังสาธารณสุข โดยจัดทำดัชนีชี้วัดผลการดำเนินงาน ดัชนีผลลัพธ์ของการให้บริการ ดัชนีด้านประสิทธิภาพและการเข้าถึงบริการ
5
2. ศึกษาระบบการจัดการด้านการคลังสุขภาพของ สป.
โครงการวิเคราะห์ต้นทุนต่อหน่วยของงานบริการ การศึกษาระบบการจัดการด้านการคลังสุขภาพของสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข 2. ศึกษาระบบการจัดการด้านการคลังสุขภาพของ สป. โครงการวิเคราะห์ต้นทุนต่อหน่วยของงานบริการ โดยการวิเคราะห์ต้นทุนที่สำคัญในการบริหารจัดการหน่วยบริการ วิเคราะห์ข้อมูลผลการดำเนินงานและข้อมูลกิจกรรมเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในการประเมินผลและวางแผนในการจัดสรรทรัพยากรให้กับหน่วยบริการ 2. การศึกษาระบบการจัดการด้านการคลังสุขภาพของสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข โดยมีการแต่งตั้งคณะทำงานดำเนินการศึกษาระบบการจัดการด้านการคลังสุขภาพของสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งผลการศึกษาที่ได้จะนำไปใช้ในการจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายด้านการจัดการระบบการคลังสุขภาพของสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข
6
3. สนับสนุนการดำเนินงานของหน่วยงานในสังกัด สป.
ประสานและสนับสนุนการดำเนินงานด้านประกันสุขภาพของหน่วยงานในส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น สำนักงานประกันสังคม สปสช. ฯลฯ แต่งตั้งผู้ประสานงานเขตกลุ่มประกันสุขภาพ จัดทำจดหมายข่าว * ประสานและสนับสนุนการดำเนินงานด้านประกันสุขภาพของหน่วยงานในส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น สำนักงานประกันสังคม สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ฯลฯ เข้าร่วมเป็นคณะกรรมการ/คณะอนุกรรมการตามพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ เช่น คณะอนุกรรมการพัฒนาระบบการเงินการคลัง คณะอนุกรรมการงบลงทุนในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ คณะอนุกรรมการกลั่นกรองกรณีอุทธรณ์ ประสานกับ กลุ่มกฎหมาย กรมบัญชีกลาง สำนักงานประกันสังคม ในการประมวลข้อมูลด้านกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศที่เกี่ยวข้องกับงานประกันสังคมเพื่อจัดทำประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง หลักเกณฑ์การใช้จ่ายเงินรายรับของสถานพยาบาลที่ได้รับตามโครงการประกันสังคม พ.ศ.2551 แต่งตั้งผู้ประสานงานเขตกลุ่มประกันสุขภาพ เพื่อประสานงานระหว่างหน่วยงานในส่วนกลางกับส่วนภูมิภาค จัดทำจดหมายข่าว เพื่อเป็นช่องทางในการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์ ระหว่างหน่วยงานในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค
7
4. พัฒนาฐานข้อมูลระบบประกันสุขภาพ
จัดทำผังบัญชีภาคสุขภาพกระทรวงสาธารณสุข จัดตั้งและอบรมทีมพี่เลี้ยงบัญชีระดับจังหวัด ระดับเขต แต่งตั้งผู้ตรวจสอบรายงานการเงินหน่วยบริการ โครงการพัฒนาระบบฐานข้อมูลด้านการเงินการคลังสุขภาพ - จัดซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่ายระบบฐานข้อมูลพร้อมโปรแกรมจัดการฐานข้อมูล - พัฒนาเว็บไซด์และโปรแกรมเพื่อการจัดการข้อมูล จัดทำฐานข้อมูลการขึ้นทะเบียนและการตรวจสอบการจ่ายเงินชดเชยค่าบริการทางการแพทย์ กรณีค่าใช้จ่ายสูง ของแรงงานต่างด้าว 4. พัฒนาฐานข้อมูลระบบประกันสุขภาพ โดยในปีที่ผ่านมา กลุ่มประกันสุขภาพได้จัดทำผังบัญชีภาคสุขภาพกระทรวงสาธารณสุข ปี เพื่อเป็นคู่มือในการลงบัญชีสำหรับหน่วยบริการในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข มีการจัดตั้งและอบรมทีมพี่เลี้ยงบัญชีระดับจังหวัด ระดับเขตเพื่อทำหน้าที่ให้คำปรึกษาและประสานงานภายในเขตและจังหวัดที่รับผิดชอบ และในปี 2551 ได้มีการแต่งตั้งผู้ตรวจสอบรายงานการเงินหน่วยบริการ เพื่อให้ข้อมูลที่ส่งเข้ามามีความถูกต้อง ครบถ้วน สามารถใช้ในการวิเคราะห์ประเมินผลได้อย่างแม่นยำ โครงการพัฒนาระบบฐานข้อมูลด้านการเงินการคลังสุขภาพ ปี 2551 โดยกลุ่มประกันสุขภาพ ได้ดำเนินการ - จัดซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่ายระบบฐานข้อมูลพร้อมโปรแกรมจัดการฐานข้อมูล - จัดจ้างออกแบบและพัฒนาเว็บไซด์และโปรแกรมเพื่อการจัดการข้อมูล - การดูแลระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ - การประสานงานและดูแลรับ-ส่งข้อมูล จัดทำฐานข้อมูลการขึ้นทะเบียนและการตรวจสอบการจ่ายเงินชดเชยค่าบริการทางการแพทย์ กรณีค่าใช้จ่ายสูง ของแรงงานต่างด้าว เพื่อให้มีฐานข้อมูลการขึ้นทะเบียนของแรงงานต่างด้าว การส่งเงินสมทบค่าบริการทางการแพทย์กรณีค่าใช้จ่ายสูง (50 บาทต่อราย) และการจ่ายชดเชยค่าบริการทางการแพทย์ กรณีค่าใช้จ่ายสูง ตามกลุ่มวินิจฉัยโรคร่วม (DRGs) และ 9 รายการ (9 โรคเดิม)
8
พัฒนาระบบและกลไกการบริหารจัดการข้อมูลการเงินการคลังสุขภาพ
การพัฒนาระบบและกลไกการบริหารจัดการข้อมูลการเงินการคลังสุขภาพ กลุ่มประกันสุขภาพมีดำเนินการดังนี้
9
1. พัฒนากลไกการดำเนินงานของ CFOระดับเขต/จังหวัด
ตั้งคณะกรรมการบริหารการเงินการคลังสุขภาพ ระดับเขต/จังหวัด ในปีงบประมาณ 2550 ได้จัดประชุมการพัฒนากลไกการเฝ้าระวังสถานการณ์ด้านการเงินการคลังสาธารณสุข ระดับเขต รายภาค จัดทำคู่มือสำหรับคณะกรรมการบริหารการเงินการคลังสุขภาพ ปีงบประมาณ 2551 อบรมเพิ่มพูนความรู้ที่เกี่ยวข้องด้านการเงินการคลังแก่แกนนำเครือข่าย CFO ระดับเขตและระดับจังหวัด ในการดำเนินการเพื่อพัฒนาระบบและกลไกการบริหารจัดการข้อมูลการเงินการคลังสุขภาพของกระทรวงสาธารณสุขในปีที่ผ่านมาได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการบริหารการเงินการคลังสุขภาพ ในระดับเขตและระดับจังหวัด เพื่อพัฒนาระบบบัญชีและข้อมูลสารสนเทศการเงินการคลังของหน่วยบริการให้ถูกต้อง ครบถ้วน รวมทั้งวิเคราะห์และประเมินสถานการณ์ทางการเงินการคลังของหน่วยบริการเป็นรายไตรมาส ซึ่งในการพัฒนาศักยภาพของผู้ปฏิบัติงานกลุ่มประกันสุขภาพได้จัดประชุมการพัฒนากลไกการเฝ้าระวังสถานการณ์ด้านการเงินการคลังสาธารณสุข ระดับเขต เป็นรายภาคทั้ง 4 ภาค และได้ จัดทำคู่มือสำหรับคณะกรรมการบริหารการเงินการคลังสุขภาพ ปีงบประมาณ 2551 เพื่อให้คณะกรรมการฯ ได้ใช้เป็นแนวทางในการวิเคราะห์ ติดตาม ประเมินสถานการณ์ของหน่วยบริการ ในการดำเนินการต่อไปจังหวัดควรพิจารณาคัดเลือกผู้ที่ทำหน้าที่เป็นแกนนำในการวิเคราะห์ และประเมินสถานการณ์ทางการเงินอย่างแท้จริงเพื่อจะได้อบรมเพิ่มพูนให้ความรู้ที่เกี่ยวข้องด้านการเงินการคลังแก่แกนนำเครือข่าย คณะกรรมการฯCFO ในระดับเขตและระดับจังหวัดต่อไป
10
2. การพัฒนารายงานทางการเงินและดัชนีชี้วัดการเงินการคลัง สุขภาพ
* ตั้งคณะกรรมการพัฒนารายงานทางการเงินและดัชนีชี้วัดทางการเงินการคลังสาธารณสุข จัดทำดัชนีชี้วัดทางการเงินการคลังสาธารณสุข จัดทำคู่มือการจัดทำรายงานทางการเงินและดัชนีชี้วัดทางการเงินการคลังสาธารณสุข ในด้านการพัฒนารายงานทางการเงินและดัชนีชี้วัดการเงินการคลังสุขภาพ ได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการพัฒนารายงานทางการเงินและดัชนีชี้วัดทางการเงินการคลังสาธารณสุข ที่มี นายแพทย์นิพนธ์ โตวิวัฒน์ เป็นประธาน โดยได้จัดทำรายงานทางการเงินตามรูปแบบบัญชีบริหาร (Managerial Accounting Report) เป็นรายงานทางการเงินที่จัดทำขึ้นใหม่เพื่อประโยชน์ในการบริหาร โดยเน้นให้สะดวกกับการใช้งานสอดคล้องกับทิศทางการจัดสรรงบประมาณ และการใช้จ่ายเงินของสถานบริการสาธารณสุข เพื่อให้ผู้บริหารสามารถนำข้อมูลมาใช้ประโยชน์ได้ และได้จัดทำดัชนีชี้วัดทางการเงินการคลังสาธารณสุข และคู่มือการจัดทำรายงานทางการเงินและดัชนีชี้วัดทางการเงินการคลังสาธารณสุข โดยในการวิเคราะห์และประเมินสถานการณ์ทางการเงิน คุณภาพของข้อมูลเป็นสิ่งที่สำคัญ หากข้อมูลมีความผิดพลาดแล้ว ผลของการวิเคราะห์ก็ไม่น่าเชื่อถือ ดังนั้นจึงควรมีการประเมินคุณภาพข้อมูลทางบัญชี และพัฒนาให้ข้อมูลที่ได้ถูกต้อง ครบถ้วน และทันเวลา
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.