งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

บทที่ 5 ทฤษฎีการผลิต (Production Theory)

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "บทที่ 5 ทฤษฎีการผลิต (Production Theory)"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 บทที่ 5 ทฤษฎีการผลิต (Production Theory)
ความหมายของการผลิต ฟังก์ชั่นการผลิต ระยะเวลาในการผลิต การผลิตในระยะสั้น การผลิตในระยะยาว

2 5.1 ความหมายของการผลิต (Production)
การผลิต คือ กระบวนการแปรรูปปัจจัยการผลิตต่างๆ (Inputs) ให้เป็นผลผลิต (Output) คือสินค้าและบริการต่างๆ ปัจจัยการผลิต (Input) กระบวนการแปรรูป (Transformation) ผลผลิต (Output) ที่ดิน แรงงาน ทุน ผู้ประกอบการ สินค้า บริการ

3 ปัจจัยการผลิต (Input) หมายถึง ปัจจัยการผลิตในทางเศรษฐศาสตร์ ซึ่งได้แก่ ที่ดิน ทุน แรงงาน ผู้ประกอบการ รวมทั้งวัตถุดิบและสินค้าขั้นกลาง (Intermediate Product) ทุกชนิดที่ใส่เข้าไปในขบวนการผลิตด้วย ผลผลิต (Output) หมายถึง ผลผลิตที่ได้ออกมาจากกระบวนการผลิตอาจเป็นสินค้าและบริการที่นำไปบริโภคได้ทันที เรียกว่าสินค้าและบริการขั้นสุดท้าย (final product) หรืออาจจะเป็นสินค้าและบริการที่นำไปใช้เป็นปัจจัยการผลิตเพื่อทำการผลิตสินค้าและบริการชนิดอื่นต่อไป เรียกว่า สินค้าและบริการขั้นกลาง (intermediate product) หน่วยผลิต (firm/Producer) หมายถึง หน่วยเศรษฐกิจที่ทำหน้าที่ในการรวบรวมปัจจัยการผลิตต่างๆ เพื่อการผลิต และ/หรือจำหน่ายสินค้าและบริการ ตัวอย่างของรูปแบบหน่วยผลิต เช่น เจ้าของคนเดียว ห้างหุ้นส่วน บริษัทจำกัด บริษัทมหาชน เป็นต้น อุตสาหกรรม (Industry) คือกลุ่มหน่วยผลิตที่ผลิตสินค้าหรือบริการอย่างเดียวกันหรือคล้ายกัน เช่น อุตสาหกรรมน้ำอัดลม อุตสาหกรรมทอผ้า ในอุตสาหกรรมหนึ่งอาจมีผู้ผลิตน้อยรายหรือจำนวนมาก ซึ่งเป็นตัวกำหนดโครงสร้างตลาด

4 การผลิตเป็นการสร้างอรรถประโยชน์ของสินค้าให้เพิ่มขึ้น
Form Utility : เป็นการผลิตที่ทำให้ผู้บริโภคมีความพอใจเพิ่มขึ้น โดยการเปลี่ยนแปลงรูปลักษณ์ของสินค้า Place Utility : เป็นการเคลื่อนย้ายสินค้าจากที่หนึ่งไปสู่อีกที่หนึ่งเพื่อเพิ่มความพอใจให้แก่ ผู้บริโภค Time Utility : เป็นการผลิตเพื่อถนอมอาหารไว้บริโภคในยามขาดแคลนหรือมิใช่ฤดูกาล Service : เป็นการผลิตในรูปของการให้บริการที่ทำให้ผู้บริโภคได้รับความสะดวกหรือได้รับสินค้าที่ตนต้องการ เป็นการเพิ่มอรรถประโยชน์ เช่น การคัดผลไม้เอาขนาดและผลที่ดี

5 5.2 ฟังก์ชันการผลิต (Production Function)
Q = f ( X1, X2, X3, … ) Q หมายถึง ปริมาณผลผลิต X1, X2, X3, .... หมายถึง ปริมาณปัจจัยการผลิตแต่ละประเภทที่ใช้ในการผลิตผลผลิตชนิดนี้ ในการวิเคราะห์ฟังก์ชั่นการผลิต ตั้งข้อสมมติว่าหน่วยผลิตใช้วิธีการผลิตที่มีประสิทธิภาพที่สุดตลอดช่วงของการผลิตนั้นๆ จึงมีต้นทุนต่ำสุดในการผลิตผลผลิตรวมจำนวนหนึ่ง

6 5.3 ระยะเวลาการผลิต เศรษฐศาสตร์แบ่งการผลิตออกเป็น 2 ระยะ คือ การผลิตในระยะสั้น และการผลิตในระยะยาว การผลิตในระยะสั้น คือ การผลิตในระยะเวลาที่สั้นจนผู้ผลิตไม่สามารถเปลี่ยนแปลงปัจจัยการผลิตบางชนิดได้ เช่น ขนาดโรงงาน ขนาดที่ดิน ขนาดเครื่องจักร ระยะสั้นในแต่ละอุตสาหกรรมไม่จำเป็นต้องเท่ากัน การผลิตในระยะสั้น เป็นการผลิตที่ใช้ทั้งปัจจัยแปรผัน (variable factors) และปัจจัยคงที่ (fixed factors) ในการผลิต ปัจจัยแปรผัน คือ ปัจจัยที่มีปริมาณการใช้แปรผันตามปริมาณผลผลิตที่ได้ ผู้ผลิตสามารถปรับเปลี่ยนปริมาณการใช้ได้ตามต้องการ ปัจจัยคงที่ คือ ปัจจัยที่มีปริมาณคงที่ ไม่แปรผันตามปริมาณผลผลิต ไม่ว่าจะผลิตมาก น้อย หรือไม่ผลิตเลย ก็เสียค่าต้นทุนให้กับปัจจัยเหล่านี้ ตัวอย่างเช่น อาคาร เครื่องจักร ที่ดิน การผลิตในระยะยาว คือ การผลิตในระยะเวลาที่นานพอที่ผู้ผลิตสามารถเปลี่ยนแปลงปัจจัยการผลิตทุกชนิดในกระบวนการผลิตได้ตามความเหมาะสม เช่น การเปลี่ยนแปลงขนาดของโรงงานหรือกิจการ ในระยะยาวปัจจัยทุกอย่างเป็นปัจจัยแปรผัน ไม่มีปัจจัยคงที่

7 5.4 การผลิตในระยะสั้น การผลิตในระยะสั้น ใช้ปัจจัยคงที่และปัจจัยแปรผันร่วมกันเพื่อผลิตสินค้า ในการผลิต หากใช้ปัจจัยคงที่คือทุน (K) และใช้ปัจจัยแปรผันคือแรงงาน (L) ฟังก์ชั่นการผลิตในระยะสั้น Q = f (K, L) Q = f (L) หมายความว่า ปริมาณผลผลิตจะมากหรือน้อยเพียงใด ขึ้นอยู่กับการใช้ปัจจัยแปรผันคือแรงงานเป็นสำคัญ ผลผลิตที่เกิดจากการใช้ปัจจัยคงที่ร่วมกับปัจจัยแปรผันในลักษณะนี้ แสดงได้ 3 รูปแบบ คือ ผลผลิตรวม (Total Product: TP) ผลผลิตเฉลี่ย (Average Product: AP) ผลผลิตหน่วยท้ายสุด (Marginal Product: MP)

8 ผลผลิตรวม (Total Product: TP)
TP หาได้จากการรวมผลผลิตหน่วยท้ายสุด (MP) เข้าด้วยกัน ผลผลิตเฉลี่ย (Average Product: AP) AP หมายถึง ปริมาณผลผลิตรวมต่อปริมาณปัจจัยผันแปร 1 หน่วย เช่น แรงงาน 1 คนให้ผลผลิตข้าวเปลือกเฉลี่ยกี่กิโลกรัม AP = TP L

9 ผลผลิตหน่วยท้ายสุด (Marginal Product: MP)
MP = TP/L = Q/L = dTP/dL = dQ/dL เช่น การใช้แรงงาน 4 คน มี TP = 80 หน่วย เมื่อเพิ่มแรงงานคนที่ 5 เข้าไป TP = 95 หน่วย แสดงว่าแรงงานคนที่ 5 ให้ MP เท่ากับ 15 หน่วย MP = TP = TPx – TPx-1 L MP เป็นค่าความชัน (slope) ของเส้น TP

10 การแสดงความสัมพันธ์ของ TP, AP และ MP ด้วยตาราง
ทุน (K) แรงงาน (L) ผลผลิตรวม (TP) ผลผลิตเฉลี่ย (AP) ผลผลิตหน่วยท้ายสุด (MP) ขั้นการผลิต 1 3 2 7 3.5 4 12 5 16 19 3.8 6 21 22 3.1 8 2.8 9 2.3 –1 10 15 1.5 –6

11 กฎการลดน้อยถอยลงของผลได้ (Law of Diminishing Returns)
การเพิ่มปัจจัยผันแปรชนิดหนึ่งเพื่อผลิตสินค้าเพิ่ม พบว่า ในขณะที่ปัจจัยการผลิตชนิดอื่นคงที่ จะได้ผลผลิตรวมเพิ่มขึ้นในระยะแรกในอัตราที่เพิ่มขึ้น (Increasing Returns) และผลผลิตเฉลี่ยในช่วงนี้จะมากกว่าผลผลิตเพิ่ม = ช่วงที่ 1 ตั้งแต่เริ่มผลิตจนถึงการใช้ L ที่ AP สูงสุด เมื่อเพิ่มปัจจัยผันแปรเข้าไปอีกจนถึงจุดหนึ่ง ผลผลิตรวมที่เพิ่มขึ้นจะเพิ่มในอัตราที่ลดลง (Diminishing Returns) = ช่วงที่ 2 การใช้ L ในช่วงที่ AP ลดลง แต่ MP > 0 จนถึง TP สูงสุด จนถึงจุดสูงสุดของผลผลิตรวม เมื่อเพิ่มปัจจัยผันแปรเข้าไปอีก ผลผลิตรวมกลับลดลง (Negative Returns) = ช่วงที่ 3 การใช้ L ในช่วงที่ TP ลดลง และ MP <0 เป็นต้นไป คำอธิบาย เนื่องจากการใช้ปัจจัยการผลิตในสัดส่วนที่เหมาะสม/ไม่เหมาะสมในแต่ละระยะของการผลิต เช่น การทำนา ใช้ที่ดิน (ปัจจัยคงที่) 1 ไร่ กับชาวนา (ปัจจัยแปรผัน) 2 คน เป็นสัดส่วนของการใช้ปัจจัยที่เหมาะสม หากเพิ่มชาวนาเข้าไปเรื่อยๆ ต่อนา 1 ไร่ ผลผลิตหน่วยท้ายสุดจะค่อยๆ ลดลง เพราะชาวนามีจำนวนมากเกินไปสำหรับการทำนา 1 ไร่

12 B ขั้นการผลิต APL MPL ขั้นที่ 1 L หน่วยที่ 14 สิ้นสุดที่ AP=MP
ผลผลิตรวม (TP) ขั้นการผลิต C ขั้นที่ 1 L หน่วยที่ 14 สิ้นสุดที่ AP=MP AP มีค่าสูงสุด TP กำลังเพิ่มขึ้น ขั้นที่ 2 หน่วยที่ 58 สิ้นสุดที่ MP=0 TP มีค่าสูงสุด ขั้นที่ 3 L หน่วยที่ 9  MP มีค่าเป็นลบ TP กำลังลดลง TP B stage I stage II stage III Inflection point A APL แรงงาน (L) 3 4 8 MPL

13 เส้น TP มีลักษณะคล้ายรูประฆังคว่ำ เพราะ
เมื่อเพิ่มปัจจัยแปรผันมากถึงระดับหนึ่ง ผลผลิตหน่วยท้ายสุดลดลงเรื่อยๆ จนถึงศูนย์ ทำให้ผลผลิตรวมเพิ่มขึ้นช้ากว่าระยะแรก ผลผลิตรวมสูงสุดเมื่อผลผลิตหน่วยท้ายสุดเป็นศูนย์ หากเพิ่มปัจจัยแปรผันเข้าไปในกระบวนการผลิตอีก ผลผลิตหน่วยท้ายสุดติดลบ ทำให้ผลผลิตรวมลดลง

14 ความสัมพันธ์ของ TP AP และ MP MP > AP  TP  ในอัตราที่ 
MP สูงสุดตรงจุด Inflection ของเส้น TP AP = MP  AP สูงสุด MP > AP  AP  และ MP < AP  AP  MP = 0  TP สูงสุด MP เป็นลบ TP  2 ขั้นการผลิตที่ 1 ปัจจัยแปรผัน ยังมีน้อยเมื่อเทียบกับปัจจัยคงที่ การเพิ่ม L ทำให้ปัจจัยคงที่ถูกใช้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้ TP ไม่สมควรจะหยุดผลิต เพราะยังได้รายรับรวมเพิ่มได้ ขั้นการผลิตที่ 3 การเพิ่มปัจจัยแปรผันเป็นความสูญเปล่า เพราะ TP ขั้นการผลิตที่ 2 การเพิ่มปัจจัยแปรผันทีละ 1 หน่วย ทำให้ TP  ในอัตราที่ช้าลง แต่ยังให้ TP  ถือเป็นขั้นการผลิตที่เหมาะสม แต่การที่หน่วยผลิตควรจะผลิตที่จุดใดในขั้นที่ 2 ต้องพิจารณาถึง ราคาปัจจัยการผลิต ราคาสินค้า และประมาณการจำนวนสินค้าที่จะขายได้ จึงจะระบุแน่นอนได้ว่า ควรจะใช้ปัจจัยผันแปรจำนวนเท่าใดในการผลิต

15 การสร้างเส้น AP จากเส้น TP
C TP B D แรงงาน (L) L1 L2 L3 ผลผลิตเฉลี่ย (AP) F. G. E. AP แรงงาน (L) L1 L2 L3

16 .G MP = TP L MP = slope ของ TP การสร้างเส้น MP จากเส้น TP
C TP B MP = TP L A MP = slope ของ TP Inflection point D แรงงาน (L) L1 L2 L3 L4 ผลผลิตเพิ่ม (MP) F. E. .G แรงงาน (L) L1 L2 L3 L4 MP

17 ความยืดหยุ่นของฟังก์ชั่นการผลิต (Production Elasticity: EL)
ความยืดหยุ่นของฟังก์ชั่นการผลิตนี้จะให้เห็นว่า เมื่อเปลี่ยนแปลงปัจจัยแปรผัน 1% จะทำให้ปริมาณผลผลิตเปลี่ยนแปลงไปกี่ % EL = %∆Q = MPL %∆L APL เช่น ถ้าใช้แรงงาน 4 หน่วย มี AP = 10 และ MP = 16 ค่า EL = 16/10 = 1.6 หมายความว่า ถ้าใช้แรงงานเพิ่มขึ้น 1% จะทำให้ผลผลิตเพิ่มขึ้น 1.6% การใช้แรงงานในขั้นการผลิตนี้ มีประสิทธิภาพในการผลิตเพิ่มขึ้น

18 ความสัมพันธ์ระหว่าง ค่าความยืดหยุ่นของฟังก์ชั่นการผลิตกับขั้นการผลิต
ช่วงของการผลิต ค่า EL ความหมายของ EL 1 MP > AP จนถึง AP สูงสุด EL > 1 ถ้าใช้แรงงานเพิ่มขึ้น 1% จะทำให้ผลผลิตเพิ่มขึ้น >1% (ผลผลิตเพิ่มขึ้นในอัตราที่) 2 AP ลดลง 0 < MP < AP จนถึง MP = 0 TP สูงสุด 0<EL<1 จะทำให้ผลผลิตเพิ่มขึ้น <1% (ผลผลิตเพิ่มขึ้นในอัตราที่) 3 ตั้งแต่ MP = 0 TP ลดลง EL< 0 จะทำให้ผลผลิตลดลง

19 5.5 การผลิตในระยะยาว การผลิตในระยะยาว หมายถึง การที่ผู้ผลิตสามารถเปลี่ยนแปลงปัจจัยการผลิตทุกอย่างให้มีจำนวนตามต้องการได้ เป็นการเปลี่ยนแปลงขนาดของโรงงานหรือกิจการ ในระยะยาวปัจจัยทุกอย่างจึงเป็นปัจจัยแปรผัน ไม่มีปัจจัยคงที่ การผลิตในระยะยาว เป็นไปตามกฎว่าด้วยผลได้ต่อขนาด (Law of Returns to Scale) สาระสำคัญ: การเปลี่ยนแปลงปัจจัยการผลิตทุกอย่างในอัตราร้อยละที่เท่ากัน อาจทำให้ปริมาณผลผลิตรวมเปลี่ยนแปลงไปในอัตราร้อยละที่แตกต่างไป คือ หากผลผลิตรวมเพิ่มขึ้นมากกว่าอัตราเพิ่มของปัจจัยการผลิต เรียกว่า ผลได้ต่อขนาดเพิ่มขึ้น (increasing returns to scale) หากผลผลิตรวมเพิ่มขึ้นเท่ากับอัตราเพิ่มของปัจจัยการผลิต เรียกว่าผลได้ต่อขนาดคงที่ (constant returns to scale หากผลผลิตรวมเพิ่มขึ้นมากกว่าอัตราเพิ่มของปัจจัยการผลิต เรียกว่าผลได้ต่อขนาดลดลง (decreasing returns to scale)

20 Q การวิเคราะห์การผลิตในระยะยาวโดยใช้ทฤษฎีเส้นผลผลิตเท่ากัน
เครื่องมือที่ใช้ในการวิเคราะห์การผลิตในระยะยาวคือเส้นผลผลิตเท่ากัน (Isoquant) และเส้นต้นทุนเท่ากัน (Iso-Cost) เส้นผลผลิตเท่ากัน (Isoquant) หมายถึง เส้นที่แสดงส่วนผสมของปัจจัยการผลิต 2 ชนิดในจำนวนต่างๆ กัน โดยให้ผลผลิตเท่ากัน K K2 K1 Q L L2 L1

21 Marginal Rate of Technical Substitution: MRTS
การเปลี่ยนแปลงของปัจจัยการผลิตทั้งสองนี้ โดยทั่วไปเป็นไปในทิศทางตรงกันข้าม คือ ถ้าใช้ปัจจัยการผลิตชนิดหนึ่งเพิ่มขึ้น ก็ต้องลดปัจจัยการผลิตอีกชนิดหนึ่งลง MRTS เป็นค่า slope ของเส้นผลผลิตเท่ากัน MRTSLK = K L MRTSKL = L K

22 ค่า MRTS บอกถึงความสามารถในการทดแทนกันของปัจจัย 2 ชนิด
K K K MRTS =  Q MRTS = 0 L L L เป็นเส้นโค้งเว้าเข้าหาจุดกำเนิด MRTSLK ลดลงเรื่อยๆ ปัจจัยการผลิตทดแทนกันได้ แต่ไม่สมบูรณ์ เป็นเส้นทอดลงจากซ้ายไปขวา MRTSLK คงที่ ปัจจัยการผลิต ทดแทนกันได้สมบูรณ์ เป็นเส้นหักงอเป็นมุมฉาก MRTSLK = 0 และ  ปัจจัยการผลิตทดแทนกันไม่ได้ ต้องใช้ประกอบกันในสัดส่วนที่ตายตัว

23 คุณสมบัติของเส้นผลผลิตเท่ากัน
เส้นผลผลิตเท่ากันโดยทั่วไปมี slope เครื่องหมายลบ แสดงว่า ปัจจัย 2 ชนิดทดแทนกันในทิศทางตรงข้าม เพื่อให้ผลผลิตคงเดิม เส้นผลผลิตเท่ากันโดยทั่วไป เป็นเส้นโค้งเว้าเข้าหาจุดกำเนิด (convex to the origin) แสดงว่าปัจจัย 2 ชนิดทดแทนกันได้แต่ไม่สมบูรณ์ โดยค่า MRTS ลดลงเรื่อยๆ เมื่อใช้ปัจจัยชนิดหนึ่งเพิ่มขึ้นในจำนวนคงที่ ในแต่ละชุดของเส้นผลผลิตเท่ากัน เส้นผลผลิตเท่ากันที่อยู่ทางขวามือแสดงระดับของผลผลิตที่มากกว่าเส้นที่อยู่ทางซ้าย เส้นผลผลิตเท่ากันในแต่ละชุด จะตัดกันหรือสัมผัสกันไม่ได้ เส้นผลผลิตเท่ากันจะเป็นเส้นที่ต่อเนื่องกันตลอดทั้งเส้นไม่มีการขาดช่วง เนื่องจากมีการสมมติว่าสามารถแบ่งปัจจัยเป็นหน่วยย่อยๆ ได้

24 แผนภาพเส้นผลผลิตเท่ากัน (Isoquant map)
K Q3 Q2 Q1 L

25 เส้นต้นทุนเท่ากัน (Isocost)
หมายถึง เส้นที่แสดงส่วนประกอบของปัจจัยการผลิต 2 ชนิดในสัดส่วนต่างๆกัน ที่ผู้ผลิตสามารถซื้อได้ด้วยต้นทุนจำนวนเดียวกัน การสร้างเส้นต้นทุนเท่ากัน ต้องรู้ เงินงบประมาณของผู้ผลิต (C) และราคาปัจจัยการผลิต 2 ชนิด เช่น PK และ PL สมการต้นทุนเท่ากัน C = (PK × K) + (PL × L) หรือ K = C - PL × L PK PK เส้นต้นทุนเท่ากัน แสดงขอบเขตการเลือกใช้ปัจจัยทุนและแรงงาน ทุกๆ จุดบนเส้นต้นทุนเท่ากัน ใช้งบประมาณเท่ากันหมด แต่ใช้สัดส่วนของปัจจัยการผลิตที่ต่างกันไป K C PK Slope = - C/PK = - PL C/PL PK L C PL

26 สมการต้นทุน C = (10,000)  K + (2,000)  L
ตัวอย่าง ผู้ผลิตมีงบประมาณ 200,000 บาท ทำการผลิตสินค้าชนิดหนึ่ง โดยใช้ปัจจัยทุนและแรงงาน โดยราคาทุนหน่วยละ 10,000 บาท ราคาแรงงานหน่วยละ 2,000 บาท สมการต้นทุน C = (10,000)  K + (2,000)  L K 200,000 = 20 10,000 Slope = - C/PK = = - 1 C/PL L 200,000 = 100 2,000

27 การเปลี่ยนแปลงของเส้นต้นทุนเท่ากัน
1. ราคาปัจจัยการผลิตเปลี่ยนแปลงโดยงบประมาณคงเดิม K K A A1 A A2 L L B2 B B1 B ราคาปัจจัยแรงงานเปลี่ยนแปลง โดย PK และ C คงที่ PK เปลี่ยนแปลง โดย PL และ C คงเดิม ราคาเปรียบเทียบของปัจจัยการผลิตเปลี่ยนแปลงไป

28 เส้นต้นทุนเท่ากันจะเปลี่ยนแปลงโดยการเลื่อน (shift) ขนานกับเส้นเดิม
เงินงบประมาณเปลี่ยนแปลง โดย PK และ PL คงเดิม หรือเปลี่ยนแปลงในสัดส่วนที่เท่ากัน K A2 A A1 L B1 B B2 เส้นต้นทุนเท่ากันจะเปลี่ยนแปลงโดยการเลื่อน (shift) ขนานกับเส้นเดิม นอกจากนั้น เส้นต้นทุนเท่ากันอาจเปลี่ยนแปลงโดยทั้ง C, PK และ PL เปลี่ยนแปลงก็ได้ ซึ่งจะทำให้ต้นทุนเท่ากันเลื่อน (shift) ในทิศทางและรูปแบบต่างๆ แล้วแต่ว่า C, PK หรือ PL เปลี่ยนแปลงไปอย่างไร

29 การเลือกใช้ปัจจัยการผลิตที่เหมาะสมที่สุด (Least-Cost Combination)
หากกำหนดต้นทุนการผลิตให้ จุดการผลิตที่เหมาะสมที่สุดเป็นจุดที่ได้ผลผลิตสูงสุดเท่าที่จะเป็นไปได้ หากกำหนดปริมาณผลผลิตที่ต้องการจุดการผลิตที่เหมาะสมที่สุดเป็นจุดซึ่งใช้ต้นทุนการผลิตต่ำสุด K K A3 A A2 A1 E K K E Q3 Q2 Q Q1 L L L B L B1 B2 B3 Given output (Isoquant) Minimize cost Given cost (Isocost) Maximize output

30 .E2 .E จุด ESlope Isoquant = Slope Isocost
ดังนั้นจุดการผลิตที่เหมาะสมที่สุด (Least–Cost Combination) เกิดขึ้นจากการสัมผัสของเส้น Isoquant กับเส้น Isocost จุด ESlope Isoquant = Slope Isocost K MRTSLK = – PL/PK .E2 A -K/L = – PL/PK E1 (K/L) x Q/Q = PL/PK K E Q2 (K/Q) x Q/L = PL/PK .E Q1 MPL Q 1/MPK MPL = PL MPK PK L L B MPL = MPK PL PK ดุลยภาพของการผลิต

31 ช่วงที่เหมาะสมในการผลิตบนเส้นผลผลิตเท่ากัน
บนเส้นผลผลิตเท่ากันแต่ละเส้นจะมีเพียงช่วงเดียวเท่านั้นที่มีความเหมาะสมในการผลิต คือช่วงที่ slope = 0 ถึงช่วงที่ slope =  K K2 Q C A K K2 B D K1 L L L0 L1 L2

32 เส้นแสดงขอบเขตของการผลิต (Ridge Line)
ในกรณีที่มีแผนภาพของเส้นผลผลิตเท่ากันซึ่งมีเส้นผลผลิตเท่ากันอยู่มากมายหลายเส้น เมื่อหาช่วงที่เหมาะสมในการผลิตในแต่ละเส้นแล้ว ถ้าลากเส้นเชื่อมจุดที่ slope มีค่า  เข้าด้วยกัน และลากเส้นเชื่อมจุดที่ slope มีค่าศูนย์เข้าด้วยกัน จะได้ เส้นที่แสดงขอบเขตของการผลิต (Ridge Line) 2 เส้น คือ Upper Ridge Line ซึ่งลากผ่านจุดที่ slope มีค่า  และ Lower Ridge Line ซึ่งลากผ่านจุดที่ slope มีค่า 0 เส้นแสดงขอบเขตของการผลิต (Ridge Line) K U A2 A1 L A Q3 B2 Q2 B Q1 B1 L

33 เส้นขยายการผลิต (Expansion Path)
เส้นขยายการผลิต เป็นเส้นที่ลากผ่านจุดดุลยภาพของการผลิต เมื่อผู้ผลิตขยายการผลิตออกไปในแต่ละระดับผลผลิตโดยกำหนดให้ราคาของปัจจัยการผลิตคงที่ K A2 Expansion Path A1 E3 A E2 Q3 E1 Q2 Q1 L B B1 B2


ดาวน์โหลด ppt บทที่ 5 ทฤษฎีการผลิต (Production Theory)

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google