งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

โครงสร้างทางสังคม ความหมาย องค์ประกอบสำคัญโครงสร้างทางสังคม

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "โครงสร้างทางสังคม ความหมาย องค์ประกอบสำคัญโครงสร้างทางสังคม"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 โครงสร้างทางสังคม ความหมาย องค์ประกอบสำคัญโครงสร้างทางสังคม
โครงสร้างสังคมไทย สถาบันสังคมที่สำคัญของไทย การเปลี่ยนแปลงในสังคมไทย

2 โครงทางสังคม (Social Structural)

3 ความหมายโครงสร้างทางสังคม
Charon โครงสร้างเป็นรูปแบบหนึ่งในการจัดระเบียบทางสังคม (Social Organization) Wallace and Wallace โครงสร้างสังคมเป็นรูปแบบของพฤติกรรมทางสังคมที่ คงทน ซึ่งรวมถึงสถานภาพ (Status) บทบาท (Role) บรรทัดฐานทางสังคมและสถาบัน (Institution) ซึ่งรวมกัน ทำให้เกิดความสัมพันธ์ที่มั่นคงภายในสังคม

4 โครงสร้างทางสังคม รูปแบบการจัดระเบียบทางสังคมที่ก่อให้เกิด
พฤติกรรมทางสังคม โดยมนุษย์ที่มีการพบปะ สังสรรค์ระหว่างกัน รวมถึงสถานภาพ บทบาท บรรทัดฐานทางสังคม และสถาบันภายในสังคม อย่างมีระเบียบแบบแผนการดำเนินชีวิตร่วมกัน

5 องค์ประกอบโครงสร้างทางสังคม
1. กลุ่มคน (Groups) 2. สถาบันทางสังคม (Social Institution) 3. การจัดระเบียบทางสังคม (Social Organization)

6 การจัดระเบียบทางสังคม
โครงสร้างทางสังคม กลุ่มคน สถาบันทางสังคม การจัดระเบียบทางสังคม สถาบันครอบครัว สถาบันการเมืองการปกครอง สถาบันเศรษฐกิจ สถาบันการศึกษา สถาบันศาสนา บรรทัดฐานทางสังคม สถานภาพ บทบาท ค่านิยม

7 กลุ่มคน (Groups) การที่บุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไปอยู่รวมกันในดินแดน
หนึ่งเป็นระยะเวลานานพอสมควร มีการติดต่อสัมพันธ์กัน ทางสังคม มีการตอบสนอง และถ่ายทอดแนวความคิด ที่มีความเข้าใจร่วมกัน โดยมุ่งหวังที่บรรลุความสำเร็จ อันเป็นจุดมุ่งหมายปลายทางเดียวกัน

8 กลุ่มทางสังคม กลุ่มปฐมภูมิ (Primary Group) - กลุ่มขนาดเล็ก
- มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดสนิทสนมเป็นส่วนตัว - มีการพบปะทะสังสรรค์กันโดยตรงบ่อยครั้ง - มีการอบรมสั่งสอนแก่สมาชิกในกลุ่ม - มีความผูกพันทางจิตใจ - ให้อภัยและช่วยเหลือซึ่งกันและกัน

9 กลุ่มทางสังคม - กลุ่มมีสมาชิกมีความสัมพันธ์อย่างเป็นทางการ
กลุ่มทุติยภูมิ (Secondary Group) - กลุ่มมีสมาชิกมีความสัมพันธ์อย่างเป็นทางการ - มีการแบ่งงานกันทำไปตามสายงาน - สมาชิกในกลุ่มมีการติดต่อกันแบบผิวเผิน - เป็นไปตามตำแหน่งหน้าที่การงาน - ไม่เป็นส่วนตัว สมาชิกจะต้องปฏิบัติตามกฎเกณฑ์หรือ ระเบียบแบบแผนที่กำหนดไว้

10 สถาบันทางสังคม แนวทางปฏิบัติอันมีระเบียบและระบบ ซึ่งบุคคล ความหมาย
แนวทางปฏิบัติอันมีระเบียบและระบบ ซึ่งบุคคล ส่วนใหญ่ในสังคมนั้นยอมรับปฏิบัติเพื่อประโยชน์ร่วมกัน ในสังคม แนวทางปฏิบัติของกลุ่มคนในสังคมอย่างมีระเบียบ แบบแผน ก่อให้เกิดการคิดและการกระทำที่ยึดถือปฏิบัติ ร่วมกัน เพื่อการตอบสนองความต้องการที่จำเป็นต่างๆ ของสังคม

11 สถาบันเกี่ยวกับแบบแผนของการปฏิบัติเรื่องของ
สถาบันครอบครัว สถาบันเกี่ยวกับแบบแผนของการปฏิบัติเรื่องของ ครอบครัวและเครือญาติที่เกี่ยวพันทางสายโลหิต หรือ กฎหมาย มีการกระทำระหว่างกันทางสังคมและ ความสัมพันธ์อย่างแน่นแฟ้น แบ่งออกเป็น 1. ครอบครัวเดี่ยว (Nuclear Family) 2. ครอบครัวขยาย (Extended Family)

12 สถาบันการเมืองการปกครอง
เกี่ยวกับการใช้อำนาจ ควบคุมดูแลให้ผู้คนใน สังคมปฏิบัติตามบรรทัดฐานในการอยู่ร่วมกัน การเมืองการปกครองแบ่งออกเป็น - การเมืองการปกครองระบบเผด็จการ - การเมืองการปกครองระบบประชาธิปไตย

13 สถาบันการเมืองการปกครอง
การเมืองการปกครองระบบเผด็จการ - การปกครองโดยชนกลุ่มน้อย - ผู้ถูกปกครองเป็นชนส่วนใหญ่ไม่ได้มีสิทธิมีเสียง การเมืองการปกครองระบบประชาธิปไตย - การปกครองโดยประชาชน - หรือเลือกตัวแทนเข้าไปดำเนินงานแทนได้

14 สถาบันเศรษฐกิจ เป้าหมายอยู่ที่การกินดีอยู่ดีของประชาชน
เกี่ยวข้องกับการผลิตและการบริโภคของบุคคล ความต้องการใช้สินค้าและบริการ ได้แก่ การผลิต การ บริโภค การแลกเปลี่ยน และการกระจาย

15 รูปแบบเศรษฐกิจแบ่งออกเป็น
เศรษฐกิจแบบทุนนิยม ประชาชนมีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์ (ทุน ที่ดิน แรงงาน ประกอบการได้อย่างเสรี) สามารถหาผลกำไรจากการ ประกอบการ เศรษฐกิจแบบสังคมนิยม ประชาชนมีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินต่างๆ และเลือก ลงทุนบางอย่างถ้าเป็นกิจกรรมหลักทางเศรษฐกิจรัฐบาล จะดำเนินการเอง เช่น สาธารณูปโภค

16 รูปแบบเศรษฐกิจแบ่งออกเป็น
เศรษฐกิจแบบคอมมิวนิสต์ ประชาชนจะไม่มีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินส่วนตัว ทรัพย์สินทั้งหมดเป็นของรัฐ และรัฐจะเป็นผู้จำกัดใน การเลือกปัจจัยในการผลิตผลประกอบการ/ส่วนเกินเป็น ของรัฐ รัฐจะทำการควบคุมทั้งหมด

17 ทำหน้าที่ถ่ายทอดความรู้ ความสามารถ และทักษะ
สถาบันการศึกษา ทำหน้าที่ถ่ายทอดความรู้ ความสามารถ และทักษะ คุณธรรม ความคิดให้แก่สมาชิกในสังคม ช่วยส่งเสริมให้บุคคลมีความรู้ มีเหตุมีผลในการกระทำ กิจกรรมต่างๆ เพื่อการอยู่รวมกัน - แบบระบบ เช่น รร. วิทยาลัย มหาวิทยาลัย - แบบนอกระบบ เช่น อบรม ดูงาน

18 เป็นที่ยึดเหนี่ยวของจิตใจคนในสังคม
สถาบันศาสนา เป็นแบบแผนความเชื่อและศรัทธาของบุคคล ในสังคม เป็นที่ยึดเหนี่ยวของจิตใจคนในสังคม

19 การจัดระเบียบทางสังคม (Social Organization)
บรรทัดฐานของสังคม (Norms) ระเบียบแบบแผนที่บุคคลในสังคมยึดถือ เป็นแนวทางปฏิบัติในการกระทำกิจกรรมต่างๆ ร่วมกัน - วิถีประชา (Folkways) - จารีต (Mores) - กฎหมาย (Laws)

20 สถานภาพ (Status) - สถานภาพโดยกำเนิด
- สถานภาพโดยการกระทำ บทบาท (Role) ค่านิยม (Value) ผู้คนในสังคมอยากเป็นเจ้าของ/การมีทัศนคติที่ดีต่อ สิ่งนั้น ๆ

21 ประเภทค่านิยม ค่านิยมในทางบวก ค่านิยมในทางลบ
- คุณธรรม ความซื่อสัตย์สุจริต - ความอดทน ความขยันหมั่นเพียร - ความเคารพอ่อนน้อมถ่อมตน ค่านิยมในทางลบ - ความสุรุ่ยสุร่ายหรูหรา - การขาดระเบียบวินัย - ความไม่ซื่อสัตย์สุจริต - ความมักใหญ่ใฝ่สูงเกินศักดิ์

22 โครงสร้างสังคมไทยในปัจจุบัน
ชุมชนเมืองในปัจจุบัน หมายถึง เขตเทศบาล เทศบาลตำบล เทศบาลเมือง เทศบาลนคร และเทศบาลพิเศษ หรือกรุงเทพมหานครและพัทยา หลักเกณฑ์ในการพิจารณา 1. ทางเศรษฐกิจ กิจกรรมด้านการค้า อุตสาหกรรม การบริการ

23 2. ทางการเมือง ชาวเมืองมีส่วนร่วมทางการเมืองมากและเป็นรูปแบบการปกครองที่ชาวบ้านปกครองตนเอง (local self-government)

24 3. ทางสังคม เขตเมืองอาณาเขตที่มีประชากรหนาแน่น มีประชากรอพยพเข้ามาก
เขตเมืองอาณาเขตที่มีประชากรหนาแน่น มีประชากรอพยพเข้ามาก ประชากรมีการศึกษาสูง ครอบครัวขนาดเล็ก มีการบริการด้านสุขภาพอนามัยมากพอ คนมีสถานภาพทางสังคมสูงไม่ว่าทางโลกหรือฆราวาส

25 กลุ่มสังคมในชุมชนเมือง
1. ครอบครัวและเครือญาติ ครอบครัวขนาดเล็ก พ่อแม่ลูก ชนชั้นสูง กลางอาจมีคนรับใช้ พ่อแม่ลูกมักไม่ค่อยพบกันอยู่ด้วยกันนานๆ เหมือนอดีต ความสัมพันธ์ภายในครอบครัวน้อย เครือญาติยังมีกลุ่มญาติติดต่อยึดเหนี่ยวกันอยู่ ลูก ๆ อาจตั้งบ้านเรือนบริเวณใกล้ๆ พ่อแม่ ครอบครัวฐานะดีมีสมคมตระกูลหรือกิจการ เช่น บริษัท โรงงานของญาติ

26 2. การศึกษา กลุ่มสังคมการศึกษาตั้งแต่ชั้นอนุบาล-ะดับอุดมศึกษามีมากกว่าชนบทจึงเกิดกลุ่มทางการศึกษา เช่น สมาคมครูและผู้ปกครอง สมาคมนิสิตเก่า สถาบันวิจัย ความเป็นนักเรียนนักศึกษาอย่างเป็นทางการมีระยะเวลายาวนาน กลุ่มสังคมเกี่ยวกับการศึกษามีความชำนาญเฉพาะด้าน แบ่งสายชัดเจน สายสามัญ สายอาชีวะ

27 3. การเมือง กลุ่มสังคมกว้างขวางและก้าวหน้าไปจากอดีต พลเมืองมีสิทธิเลือกตั้ง ความสัมพันธ์กับการเมืองหรือกิจการเพื่อส่วนรวมคือการจัดระเบียบรักษาความมั่นคง รักษาความสงบและความปลอดภัย ปรับปรุงเปลี่ยนแปลงพัฒนาสังคม

28 4. ทางเศรษฐกิจ ประเภทธุรกิจการค้า ร้านค้าปลีก ร้านค้าส่ง
ประเภทธุรกิจการค้า ร้านค้าปลีก ร้านค้าส่ง ประเภทการเงินการธนาคาร ธนาคารพาณิชย์ ธนาคารออมสิน บริษัทประกันชีวิต ประกันภัย ประเภทการผลิตและอุตสาหกรรม โรงงานทอผ้าเครื่องใช้ไฟฟ้า รถยนต์ ประเภทบริการเช่น ซ่อมสร้าง วิทยุ โทรทัศน์ ประเภทกรรมกรใช้แรงงาน

29 ชุมชนชนบทในปัจจุบัน หมายถึง อาณาเขตนอกจากเขตเทศบาล นอกเขตกรุงเทพมหานครและนอกเขตเมืองพัทยา เป็นที่อยู่อาศัยของคนชนบท เป็นชาวนา ชาวไร่ ชาวสวน คนงานรับจ้างในนา-ไร่

30 กลุ่มสังคมในชุมชนชนบทปัจจุบัน
1. กลุ่มสังคม กลุ่มเพื่อนบ้าน กลุ่มเพื่อนเล่น กลุ่มเพื่อนร่วมงาน กลุ่มแม่บ้าน กลุ่มเพื่อนคนงานในโรงงานเดียวกัน 2. กลุ่มครอบครัว เครือญาติ 3. กลุ่มเกษตร กลุ่มยุวเกษตร กลุ่มธนาคารควาย กลุ่มธนาคารข้าว คณะกรรมที่ปรึกษาการพัฒนาตำบล

31 การเปลี่ยนแปลงในปัจจุบัน
1.ความทันสมัย การติดต่อสังคมภายนอก จากสื่อสารมวลชน วิทยุ โทรทัศน์ ความสะดวกสบายมากขึ้น มีรถยนต์ รถมอเตอร์ไซค์เพิ่มขึ้น บางครอบครัวใช้รถอีแต๋นเป็นยานพาหนะ 2.สังคมเกษตร ยังคงพึ่งพาธรรมชาติ

32 5.ความสัมพันธ์ทางสังคม ยังเหนียวแน่นมั่นคงกว่าของชุมชนเมือง
3.มาตรฐานต่ำ ยังคงมีคุณภาพชีวิตต่ำ ยากจนรายได้ต่ำ แหล่งรายได้มีจำกัดจากการเกษตร บริการด้านสุขภาพอนามัยยังไม่ทั่วถึง บริการการศึกษาเพิ่มขึ้นแต่ยังไม่ทั่วถึง 4.การพึ่งพิงเมือง 5.ความสัมพันธ์ทางสังคม ยังเหนียวแน่นมั่นคงกว่าของชุมชนเมือง

33 6.ศาสนา ความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มฆราวาสและคณะสงฆ์ปัจจุบันน้อยกว่าและคุณภาพด้อยกว่าในอดีต การรับวัฒนธรรมตะวันตกมากขึ้น นิยมวัตถุ ยึดถือวัตถุมากขึ้น ห่างเหินจากวัดมากขึ้น กลุ่มทางสังคมเดิม กลุ่มลูกศิษย์วัดเคยเป็นใหญ่โตปัจจุบันความนิยมศิษย์วัดลดลง

34 สรุปโครงสร้างลักษณะสังคมไทย
1.มีโครงสร้างสังคมแบบหลวม - เลือกปฏิบัติในสิ่งที่ตนพอใจ - ขาดระเบียบวินัย บุคคลจะทำตามความพอใจของตนมากกว่า กลายเป็นคนเห็นแก่ตัว - แต่บางครั้งประสานประโยชน์ร่วมกัน ไม่ก่อให้เกิดการขัดแย้ง 2.เป็นสังคมเกษตร ประมาณ 60%

35 สรุปโครงสร้างลักษณะสังคมไทย
3.ความสัมพันธ์ของบุคคลในสังคมจะเป็นปฐมภูมิ ยึดการเป็นส่วนตัวมาก 4.มีการยึดขนบธรรมเนียมประเพณีเป็นหลักและไม่ค่อยขอมรับความคิดใหม่ๆ ที่ขัดกับรูปแบบขนบธรรมเนียมเดิม 5.ไม่นิยมอพยพเคลื่อนย้ายไปสู่ถิ่นอื่น 6.มีการศึกษาต่ำ โดยเฉพาะคนชนบท

36 สรุปโครงสร้างลักษณะสังคมไทย
7.ยึดมั่นในองค์พระมหากษัตริย์ พระองค์ยังเป็นศูนย์รวมจิตใจของประชาชน 8.มีการแบ่งชนชั้นทางสังคม ทำให้เกิดช่องว่างระหว่างสังคม 9.มีการรวมอำนาจไว้ส่วนกลาง ส่วนท้องถิ่นจะรับนโยบายไปปฏิบัติ 10. การเปลี่ยนแปลงน้อยโดยเฉพาะชนบท การเปลี่ยนแปลงเมืองมีมากกว่า

37 แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงในสังคมไทย
1. การเมืองและการปกครอง - ประชาชนให้ความสนใจระบอบการเมืองการปกครองแบบประชาธิปไตยมากขึ้น - รัฐบาลและสื่อมวลชนให้การสนับสนุนส่งเสริมการมีส่วนร่วมทางประชาธิปไตยมากขึ้น 2. ลักษณะเศรษฐกิจ - หลักปรัชญา “ระบบเศรษฐกิจพอเพียง” และ “ระบบเศรษฐกิจแบบยั่งยืน”

38 - ให้ความสำคัญในอิทธิพลวัฒนธรรมเมือง
3. ลักษณะทางสังคม - ให้ความสำคัญในอิทธิพลวัฒนธรรมเมือง - เน้นวัตถุมากกว่าด้านจิตใจ แต่ความเชื่อคุณธรรมและศีลธรรมกลับลดลง - เน้นสิทธิมนุษยชนมากขึ้น - เริ่มพัฒนาจิตใจและจริยธรรม - ฟื้นฟูบทบาทและสถานภาพคณะสงฆ์ในสังคมมากขึ้นทางด้านศีลธรรมจรรยา


ดาวน์โหลด ppt โครงสร้างทางสังคม ความหมาย องค์ประกอบสำคัญโครงสร้างทางสังคม

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google