งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

มคอ.4 รายละเอียดประสบการณ์ภาคสนาม

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "มคอ.4 รายละเอียดประสบการณ์ภาคสนาม"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 มคอ.4 รายละเอียดประสบการณ์ภาคสนาม
โดย รองศาสตราจารย์ รัตนา อัตตปัญโญ

2 ความหมาย (Field Experience Specification) หมายรวมถึง การทำงานภาคสนาม
ประสบการณ์ภาคสนาม (Field Experience Specification) หมายรวมถึง การทำงานภาคสนาม การฝึกงานวิชาชีพในคลินิกหรือห้องปฏิบัติการหรือในหน่วยงาน การฝึกงาน และฝึกปฏิบัติ ในภาคสนาม/สถานประกอบการ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของหลักสูตรทางการศึกษา

3 สาระสำคัญของรายละเอียดประสบการณ์ภาคสนาม
ครอบคลุม ๑.ข้อมูลเกี่ยวกับแนวทางการบริหารจัดการในรายวิชา หรือกิจกรรมที่นักศึกษาจะต้องออกฝึกงาน ฝึก ภาคสนาม หรือสหกิจศึกษา ๒. การวางแผนในการจัดประสบการณ์ภาคสนามให้ สอดคล้องและเป็นไปตามที่กำหนดไว้ในรายละเอียด ของหลักสูตร

4 มีการกำหนดสาระสำคัญ ดังนี้
3.1 วัตถุประสงค์และรายละเอียดของการดำเนินการ ของกิจกรรมนั้น ๆ ไว้อย่างชัดเจน 3.2 ความรู้ ความเข้าใจที่นักศึกษาจะได้รับจาก การออกฝึกงาน 3.3 กระบวนการ หรือวิธีการในการปลูกฝังทักษะ ต่าง ๆ 3.4 คุณลักษณะอื่น ๆ ที่นักศึกษาจะได้รับการ พัฒนาให้ประสบความสำเร็จตามจุดมุ่งหมาย 3.5 เกณฑ์การวัดและประเมินผลนักศึกษา 4. การประเมินการดำเนินการตามรายละเอียดของ ประสบการณ์ภาคสนาม

5 รายละเอียดของประสบการณ์ภาคสนาม ประกอบด้วย 7 หมวดดังนี้
หมวดที่ 1 ข้อมูลทั่วไป หมวดที่ 2 จุดมุ่งหมายและวัตถุประสงค์ หมวดที่ 3 การพัฒนาผลการเรียนรู้ หมวดที่ 4 ลักษณะและการดำเนินการ หมวดที่ 5 การวางแผนและการเตรียมการ หมวดที่ 6 การประเมินนักศึกษา หมวดที่ 7 การประเมินและปรับปรุงการดำเนินการของ การฝึกประสบการณ์ภาคสนาม

6 หมวดที่ 1 ข้อมูลทั่วไป รหัสและชื่อรายวิชา
หมวดที่ 1 ข้อมูลทั่วไป รหัสและชื่อรายวิชา จำนวนหน่วยกิต หรือจำนวนชั่วโมง หลักสูตรและประเภทของรายวิชา อาจารย์ผู้รับผิดชอบ / อาจารย์ที่ปรึกษาการฝึกประสบการณ์ภาคสนาม ภาคการศึกษา / ชั้นปีที่กำหนดให้มีการฝึกประสบการณ์ภาคสนามตามแผนการศึกษาของหลักสูตร วันที่จัดทำหรือปรับปรุงรายละเอียดของรายวิชาประสบการณ์ภาคสนามครั้งล่าสุด

7 หมวดที่ 2 จุดมุ่งหมายและวัตถุประสงค์
หมวดที่ 2 จุดมุ่งหมายและวัตถุประสงค์ จุดมุ่งหมายของประสบการณ์ภาคสนาม เช่น- เพื่อสร้างประสบการณ์วิชาชีพในสถานการณ์จริง วัตถุประสงค์ของการพัฒนาหรือปรับปรุงประสบการณ์ภาคสนาม เช่น - เพื่อให้นักศึกษามีความเข้าใจและมีทัศนคติที่ดีต่ออาชีพ

8 หมวดที่ 3 การพัฒนาผลการเรียนรู้
หมวดที่ 3 การพัฒนาผลการเรียนรู้ มี 5 ด้าน ได้แก่ 1. คุณธรรม จริยธรรม 2. ความรู้ 3. ทักษะทางปัญญา 4. ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและ ความรับผิดชอบ 5. ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และเทคโนโลยีสารสนเทศ

9 ข้อมูลที่แสดงผลการเรียนรู้แต่ละด้านจากประสบการณ์ภาคสนาม
ความรู้ หรือทักษะที่ต้องการพัฒนา กระบวนการ / กิจกรรมต่าง ๆ ที่ต้องการจะพัฒนา วิธีการที่จะใช้ในการประเมินผลการเรียนรู้

10 ตัวอย่างการเขียนหมวดที่3
ด้านคุณธรรม และจริยธรรม ๑.๑ คุณธรรมจริยธรรมที่ต้องพัฒนา เช่น นักศึกษาจะต้องเรียนรู้วัฒนธรรมองค์กรในสถานประกอบการที่เข้าไปฝึกงานเช่น การตรงต่อเวลา ความซื่อสัตย์ การปฏิบัติตามธรรมเนียมปฏิบัติขององค์กร การเก็บรักษาความลับทางธุรกิจของสถานประกอบการเป็นต้น

11 ตัวอย่างการพัฒนาผลการเรียนรู้ด้านคุณธรรมจริยธรรม(ต่อ)
๑.๒ กระบวนการหรือกิจกรรมเพื่อพัฒนาผลการเรียนรู้ เช่น นักศึกษาฝึกปฏิบัติงาน โดยนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ สังเกตและพัฒนาตนเองในขณะฝึกปฏิบัติงานในสถานประกอบการ เน้นการเรียนรู้จากการปฏิบัติจริงโดยการฝึกงานแบ่งเป็น ๓ ขั้นตอน ดังนี้ ๑. การปฐมนิเทศก่อนฝึกงาน เป็นขั้นตอนการทบทวนความรู้ ความเข้าใจนโยบาย การวางตน และเตรียมความพร้อมก่อนฝึกงาน

12 ตัวอย่างการพัฒนาผลการเรียนรู้ด้านคุณธรรมจริยธรรม(ต่อ)
๒. การฝึกงาน นักศึกษาฝึกงานในสถานประกอบการเป็นเวลา ๑๖ สัปดาห์ โดยมีพนักงานพี่เลี้ยงในสถานประกอบการให้การนิเทศ อาจารย์นิเทศ จากมหาวิทยาลัยไปนิเทศในสถานประกอบการประมาณ ๑- ๒ ครั้ง ๓. การสัมมนาหลังฝึกงาน เป็นการสัมมนาเพื่อสรุปผลการปฏิบัติงาน แลกเปลี่ยนประสบการณ์ การเรียนรู้ที่ได้จากการฝึกงาน

13 ตัวอย่างการพัฒนาผลการเรียนรู้ด้านคุณธรรมจริยธรรม(ต่อ)
๑.๓ วิธีการประเมินผลการเรียนรู้ เช่น - รายงานที่นักศึกษาจัดทำขึ้นระหว่างการฝึกงาน - การประเมินโดยสถานประกอบการ - ประเมินโดยคณาจารย์ที่รับผิดชอบรายวิชา และอาจารย์นิเทศก์ - ประเมินจากพัฒนาการของนักศึกษา

14 ตัวอย่างการพัฒนาผลการเรียนรู้หมวดที่3
๒. ด้านความรู้ ๒.๑ ความรู้ที่จะได้รับ เช่น ได้รับประสบการณ์ตรงจากการปฏิบัติจริง ซึ่งจะเป็นการบูรณาการความรู้ที่เรียนมาทั้งหมดในชั้นเรียนให้เข้ากับการปฏิบัติงานจริง

15 ตัวอย่างการพัฒนาผลการเรียนรู้ด้านความรู้ (ต่อ)
๒.๒ กระบวนการหรือกิจกรรมเพื่อพัฒนาความรู้ เช่น การปฏิบัติงานจริงในสถานประกอบการโดยได้รับการแนะนำจากบุคลากรของสถานประกอบการ และมีอาจารย์นิเทศก์ให้คำปรึกษาอีกทางหนึ่ง จะสามารถพัฒนาความรู้ในเชิงบูรณาการได้เป็นอย่างดี

16 ตัวอย่างการพัฒนาผลการเรียนรู้ด้านความรู้(ต่อ)
๒.๓ วิธีการประเมินความรู้ที่ได้รับ เช่น - ประเมินจากการมีส่วนร่วมครบทุกขั้นตอนในการฝึกงาน - ประเมินจากรายงานที่นักศึกษานำส่งเมื่อเสร็จสิ้นการฝึกงาน - ประเมินจากรายงานการประเมินผลของสถานประกอบการ - ประเมินจากรายงานกรณีศึกษาที่จัดทำขณะฝึกงาน (ถ้ามี) - ประเมินจากพัฒนาการของนักศึกษา

17 ตัวอย่างการพัฒนาผลการเรียนรู้หมวดที่3
ด้านทักษะทางปัญญา ๓.๑ ทักษะทางปัญญาที่จะได้รับการพัฒนา เช่น - มีความรู้ความเข้าใจ และนำความรู้ไปปฏิบัติงานได้ - มีทักษะในการปฏิบัติงาน

18 ตัวอย่างการพัฒนาผลการเรียนรู้ด้านทักษะทางปัญญา
๓.๒ กระบวนการหรือกิจกรรมต่าง ๆ ที่ใช้ในการพัฒนาทักษะทางปัญญา การปฏิบัติงานจริงเป็นกระบวนการที่จะพัฒนาทักษะทางปัญญาได้เป็นอย่างดี ๓.๓ วิธีการประเมินทักษะทางปัญญาที่ได้รับการพัฒนา - ประเมินจากรายงานการประเมินผลของสถานประกอบการ - ประเมินจากรายงานกรณีศึกษาที่จัดทำขณะฝึกงาน

19 ตัวอย่างการพัฒนาผลการเรียนรู้หมวดที่3
๔. ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ ๔.๑ ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความสามารถในการรับภาระความรับผิดชอบที่ควรมีการพัฒนา - มีความรับผิดชอบต่องานที่ได้รับมอบหมาย - พฤติกรรมการปฏิบัติงานในสถานประกอบการ - การมีมนุษยสัมพันธ์กับบุคลากรในสถานประกอบการ

20 ตัวอย่างการพัฒนาผลการเรียนรู้ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ(ต่อ)
๔.๒ กระบวนการ หรือกิจกรรมต่าง ๆ ที่จะพัฒนาทักษะและความสามารถในการรับภาระความรับผิดชอบ การปฏิบัติงานในสถานประกอบการ โดยนักศึกษาสามารถปฏิบัติงานกับผู้ร่วมงานในสถานประกอบการได้ รู้จักการปรับตัวให้เข้ากับวัฒนธรรมขององค์กร

21 ตัวอย่างการพัฒนาผลการเรียนรู้ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ(ต่อ)
๔.๓ วิธีการประเมินทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความสามารถ ในการรับภาระความรับผิดชอบ ประเมินจากรายงานการประเมินผลของสถานประกอบการ

22 ตัวอย่างการพัฒนาผลการเรียนรู้หมวดที่3
๕. ด้านทักษะการวิเคราะห์การสื่อสาร และเทคโนโลยีสารสนเทศ ๕.๑ ทักษะการคิดคำนวณและการสื่อสารที่ควรมีการพัฒนา - สามารถคิดอย่างมีระบบ และมีเหตุผลในการคิด - สามารถสื่อสารด้วยการรายงานทั้งเป็นลายลักษณ์อักษร และด้วยวาจา

23 ตัวอย่างการพัฒนาผลการเรียนรู้ด้านทักษะการวิเคราะห์การสื่อสาร และเทคโนโลยีสารสนเทศ(ต่อ)
๕.๒ กระบวนการหรือกิจกรรมต่าง ๆ ที่จะพัฒนาทักษะ การมีปฏิสัมพันธ์กับผู้ร่วมงานในองค์กร การมีส่วนร่วมในกิจกรรมที่สถานประกอบการจัดขึ้น ๕.๓ วิธีการประเมิน - รายงานการประเมินผลของสถานประกอบการ - ผลการประเมินของอาจารย์นิเทศก์

24 หมวดที่ 4 ลักษณะและการดำเนินการ
หมวดที่ 4 ลักษณะและการดำเนินการ 1. คำอธิบายทั่วไปของประสบการณ์ภาคสนาม หรือคำอธิบายรายวิชา 2. กิจกรรมของนักศึกษา เช่น ปฐมนิเทศ จัดทำรายงานการฝึกปฏิบัติงานภายหลังเสร็จสิ้นการฝึกงาน สัมมนาหลังการฝึกปฏิบัติงานร่วมกับอาจารย์ของคณะฯ 3. งาน หรือรายงานที่นักศึกษาได้รับมอบหมาย 4. การติดตามผลการเรียนรู้การฝึกประสบการณ์ ภาคสนาม / การนิเทศงาน และการประมวลผล

25 หน้าที่ ความรับผิดชอบของพนักงานพี่เลี้ยง
เช่น วางแผนกิจกรรม ให้คำแนะนำ ประเมินผลการฝึกงาน 6. หน้าที่ ความรับผิดชอบของอาจารย์ที่ปรึกษา / อาจารย์นิเทศ เช่นให้คำปรึกษา ประสานงานและร่วมวางแผนกับพนักงานพี่เลี้ยงในสถานประกอบการ การเตรียมการในการแนะแนวและช่วยเหลือนักศึกษา เช่น จัดปฐมนิเทศแนะนำการฝึกงาน จัดอาจารย์ที่ปรึกษาการฝึกงาน สิ่งอำนวยความสะดวก และการสนับสนุนที่ต้องการจากสถานประกอบการ เช่น ที่พัก สถานที่นั่งทำงานเอกสาร พนักงานพี่เลี้ยง

26 หมวดที่ 5 การวางแผนและการเตรียมการ
หมวดที่ 5 การวางแผนและการเตรียมการ 1. การกำหนดสถานที่ฝึก 2. การเตรียมนักศึกษา – จัดรายวิชาเตรียมความพร้อมสหกิจศึกษา 3. การเตรียมอาจารย์ที่ปรึกษา / อาจารย์นิเทศก์ - ประชุมเพื่อมอบหมายงาน 4. การเตรียมพนักงานพี่เลี้ยงในสถานที่ฝึกงาน - ติดต่อประสานงาน และแจ้งแผนปฏิบัติงาน สหกิจศึกษา

27 หมวดที่5การวางแผนและการเตรียมการ(ต่อ)
5. การจัดการความเสี่ยง เช่น ความเสี่ยงจากสถานที่ตั้ง การเดินทาง และสภาวะการทำงาน คัดเลือกสถานที่ฝึกงานที่ไม่ตั้งอยู่ในเขตอันตราย การคมนาคมสะดวก และสภาวะการทำงานไม่เสี่ยงอันตราย ความเสี่ยงจากอุบัติเหตุการทำงานของนักศึกษา ปฐมนิเทศแนะนำนักศึกษา ทำประกันอุบัติเหตุการเจ็บป่วยและชีวิตให้นักศึกษา ความเสี่ยงด้านสังคม ปฐมนิเทศแนะนำการวางตัวที่เหมาะสมต่อบุคลากรทุกระดับของสถานที่ฝึกงาน

28 หมวดที่ 6 การประเมินนักศึกษา
หมวดที่ 6 การประเมินนักศึกษา 1. หลักเกณฑ์การประเมิน – ผลสำเร็จของงาน ความรู้ ความสามารถ ความรับผิดชอบต่อหน้าที่ ฯลฯ 2. กระบวนการประเมินผลการปฏิบัติงานของนักศึกษา -พนักงานพี่เลี้ยง ร่วมกันประเมินกับอาจารย์นิเทศก์

29 3. ความรับผิดชอบของพนักงานพี่เลี้ยงต่อการประเมินนักศึกษา
3. ความรับผิดชอบของพนักงานพี่เลี้ยงต่อการประเมินนักศึกษา - ให้คำแนะนำปรึกษาที่เป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติตน และปฏิบัติงาน 4.ความรับผิดชอบของอาจารย์ผู้รับผิดชอบประสบการณ์ภาคสนามต่อการประเมินนักศึกษา - ดูแลนักศึกษา เก็บรวบรวมข้อมูลนักศึกษาในสถานประกอบการ ตรวจรายงาน เป็นต้น 5. การสรุปผลการประเมินที่แตกต่าง – ประเมินการปฏิบัติงานเป็นรายบุคคล - ประชุมหารือร่วมกันระหว่างอาจารย์กับพนักงานพี่เลี้ยงเพื่อหาข้อสรุป

30 หมวดที่ 7 การประเมินและปรับปรุงการดำเนินการของการฝึกประสบการณ์ภาคสนาม
หมวดที่ 7 การประเมินและปรับปรุงการดำเนินการของการฝึกประสบการณ์ภาคสนาม 1. กระบวนการประเมินการฝึกประสบการณ์ภาคสนาม 1.1 นักศึกษา นักศึกษาให้ข้อมูลหลังกลับจากสถานประกอบการ (โดยใช้แบบประเมิน)

31 1.2 พนักงานพี่เลี้ยงหรือผู้ประกอบการ
1.2 พนักงานพี่เลี้ยงหรือผู้ประกอบการ ใช้แบบประเมินผลนักศึกษา ให้คะแนน และให้ข้อเสนอแนะ 1.3 อาจารย์ที่ดูแลกิจกรรมภาคสนาม ใช้แบบบันทึกการนิเทศงานสหกิจศึกษา 1.4 อื่น ๆ เช่น บัณฑิตจบใหม่ ประเมินจากการสำรวจความพึงพอใจของผู้ใช้บัณฑิต

32 กระบวนการทบทวนผลการประเมินและการวางแผนการปรับปรุง
- อาจารย์ในสาขาวิชาร่วมกันวิเคราะห์ข้อมูลจากการประเมิน สรุปประเด็นการพัฒนา ปรับปรุง ทั้งที่เกี่ยวข้องในเนื้อหารายวิชาต่าง ๆ การจัดการเรียนการสอน กิจกรรมนักศึกษา การวัดและประเมินผล และความร่วมมือกับสถานประกอบการ เพื่อวางแผนการฝึกปฏิบัติงานรุ่นต่อไป และปรับปรุงหลักสูตรในระยะเวลาที่กำหนด

33 จบการบรรยาย

34 ขอบคุณค่ะ


ดาวน์โหลด ppt มคอ.4 รายละเอียดประสบการณ์ภาคสนาม

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google