งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

รับและแสดงผลข้อมูล.

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "รับและแสดงผลข้อมูล."— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 รับและแสดงผลข้อมูล

2 แสดงผลออกทางหน้าจอ           การทำงานพื้นฐานเรียกได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งในการทำงานของทุกโปรแกรมคือ การแสดงผลข้อมูลออกทางจอภาพโดยใน ภาษา C  นั้น  การแสดงผลข้อมูลออกทางจอสามารถทำได้ดังนี้

3 คำสั่ง Printf เป็นคำสั่ง แสดงข้อมูลออกทางจอภาพทุกชนิดไม่ว่าจะเป็น เลขทศนิยม (คำสั่ง int),(ทศนิยม float) ,(ข้อความ string) เป็นคำสั่ง พื้นฐานที่มีความยืดหยุ่น

4 รูปแบบการเขียนคำสั่งดังนี้
Printf(“format,variable”); format      ข้อมูลที่ต้องการแสดงผลออกทางหน้าจอ  โดยข้อมูลนี้ต้องเขียนไว้ในเครื่องหมาย "  "  ข้อมูลที่สามารถแสดงผลได้มีอยู่ 2 ประเภท คือ  ข้อความธรรมดา  และค่าที่เก็บไว้ในตัวแปร  ซึ่งถ้าเป็นค่าที่เก็บไว้ในตัวแปรต้องใส่รหัสควบคุมรูปแบบให้ตรงกับชนิดของข้อมูลที่เก็บไว้ในตัวแปรนั้นด้วย

5 variable      ตัวแปรหรือนิพจน์ที่ต้องการนำค่าไปแสดงผลให้ตรงกับรหัสควบคุมรูปแบบที่กำหนดไว้

6 ตัวอย่างการใช้คำสั่ง printf แสดงผลข้อความธรรมดาออกทางหน้าจอ ดังนี้
Printf(“Supapon”); = แสดงข้อความ Supapon ออกมาบนจอภาพ Printf(“VCT2/2”); = แสดงข้อความ VCT2/2 ออกมาบนจอภาพ

7 #include<stdio.h>
#include<conio.h> void main() { printf(“Supapon Sawasdipan”); getch(); } ผลลัพธ์ที่ได้คือ Supapon Sawasdipan

8 รหัสควบคุมรูปแบบการแสดงผลค่าของตัวแปรออกทางหน้าจอ แสดงได้ดังนี้
รหัสควบคุมรูปแบบการแสดงผลค่าของตัวแปรออกทางหน้าจอ  แสดงได้ดังนี้ รหัสควบคุมรูปแบบการนำไปใช้งาน %d= แสดงผลค่าของตัวแปรชนิดจำนวนเต็ม %u= แสดงผลค่าของตัวแปรชนิดจำนวนเต็มบวก %f= แสดงผลค่าของตัวแปรชนิดจำนวนทศนิยม %c= แสดงผลอักขระ 1 ตัว %s= แสดงผลข้อความ หรืออักขระมากกว่า 1 ตัว

9 รหัสควบคุมรูปแบบการแสดงผลค่าของตัวแปรออกทางหน้าจอ แสดงได้ดังนี้
รหัสควบคุมรูปแบบการแสดงผลค่าของตัวแปรออกทางหน้าจอ  แสดงได้ดังนี้ จัดรูปแบบการแสดงผลให้ดูเป็นระเบียบมากขึ้น  อย่างเช่นขึ้นบรรทัดใหม่  หลังแสดงข้อความ  หรือเว้นระยะแท็บระหว่างข้อความ  โดยใช้อักขระควบคุมการแสดงผลร่วมกับคำสั่ง printf

10 อักขระควบคุมการแสดงผล
\n = ขึ้นบรรทัดใหม่ \t = เว้นช่องว่างเป็นระยะ 1 แท็บ (6 ตัวอักษร) \r = กำหนดให้เคอร์เซอร์ไปอยู่ต้นบรรทัด \f = เว้นช่องว่างเป็นระยะ 1 หน้าจอ \b = ลบอักขระสุดท้ายออก 1 ตัว

11 คำสั่งรับข้อมูลจากคีย์บอร์ด
  การทำงานของโปรแกรมส่วนใหญ่มักจะเป็นการเชื่อมโยงกับผู้ใช้แบบ  2  ทิศทาง  คือ  ทั้งภาคของการแสดงผลการทำงานออกทางหน้าจอ  และภาคของการรับข้อมูลจากผู้ใช้เข้ามาทางคีย์บอร์ด  เพื่อร่วมในการประมวลผลของโปรแกรม 

12 คำสั่ง  scanf()           ในภาษา C  การรับข้อมูลจากคีย์บอร์ดสามารถทำได้โดยการเรียกใช้ฟังก์ชัน  scanf()  ซึ่งเป็นฟังก์ชันมาตรฐานสำหรับรับข้อมูลจากคีย์บอร์ด  โดยสามารถรับข้อมูลได้ทุกประเภท  ไม่ว่าจะเป็นจำนวนเต็ม  ทศนิยม  อักขระ หรือข้อความ 

13 รูปแบบคำสั่ง  scanf() scanf("format",&variable); format  เป็นการใช้รหัสควบคุมรูปแบบ  เพื่อกำหนดชนิดของข้อมูลที่จะรับเข้ามาจากคีย์บอร์ด โดยรหัสควบคุมรูปแบบใช้ชุดเดียวกับคำสั่ง printf()

14 variable      ตัวแปรที่จะใช้เก็บค่าข้อมูลที่รับเข้ามาจากคีย์บอร์ด  โดยชนิดของตัวแปรจะต้องตรงกับรหัสควบคุมรูปแบบที่กำหนดไว้  นอกจากนี้หน้าชื่อของตัวแปรจะต้องนำหน้าด้วยเครื่องหมาย  &  ยกเว้นตัวแปรสตริง  สำหรับเก็บข้อความเท่านั้นที่ไม่ต้องนำหน้าด้วยเครื่องหมาย &

15 Enter The Length is : 15 Enter The Width is : 5 The area is : 75
#include <stdio.h> #include <conio.h> void main() {   clrscr();   int x,y,sum;   printf("Enter The Length is : ");   scanf ("%d",&x);   printf("Enter The Width is : ");   scanf ("%d",&y);   sum = x*y;   printf("The area is :%d",sum); getch(); } ผลลัพธ์โปรแกรม Enter The Length is   : 15 Enter The Width is     : 5 The area is             : 75

16 ฟังก์ชัน getch( ) ฟังก์ชัน getch() ใช้สำหรับรับข้อมูลชนิดอักขระเข้ามาจาก keyboard โดยรับข้อมูลได้ครั้งละ1 อักขระ แต่การรับข้อมูลด้วยฟังก์ชัน getch() เมื่อผู้ใช้กรอกข้อมูลเข้ามา 1 อักขระแล้ว โปรแกรมจะทำงานต่อทันทีโดยไม่ต้องกดปุ่ม <Enter> และอักขระที่กรอกจะไม่แสดงขึ้นมาให้เห็นบนหน้าจอ รูปแบบ variable = getch(); โดย variable เป็นชื่อของตัวแปรชนิด char ซึ่งจะใช้เก็บค่าของอักขระ ที่รับเข้ามาจาก keyboard

17

18


ดาวน์โหลด ppt รับและแสดงผลข้อมูล.

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google