งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

หลักการและเหตุผล ชุมชนท้องถิ่นเป็นสังคมฐานราก ที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ การพัฒนาประเทศที่ผ่านมา ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วส่งผลให้ชุมชนท้องถิ่นอ่อนแอ.

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "หลักการและเหตุผล ชุมชนท้องถิ่นเป็นสังคมฐานราก ที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ การพัฒนาประเทศที่ผ่านมา ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วส่งผลให้ชุมชนท้องถิ่นอ่อนแอ."— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 หลักการและเหตุผล ชุมชนท้องถิ่นเป็นสังคมฐานราก ที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ การพัฒนาประเทศที่ผ่านมา ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วส่งผลให้ชุมชนท้องถิ่นอ่อนแอ ประสบความยากจน เกิดปัญหาสังคม ชุมชนมีการใช้ทุนทางสังคม วัฒนธรรม ภูมิปัญญา เพื่อดำรงอยู่ มีกรณีตัวอย่างดีๆที่เป็นความร่วมมือหลายฝ่ายในการพัฒนาชุมชนท้องถิ่น สถานการณ์ ชุมชนท้องถิ่นมีความเข้มแข็ง สามารถจัดการตนเองได้อย่างยั่งยืน มีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนาประเทศ การสร้างระบบประชาธิปไตย และระบบธรรมาภิบาล ให้ชุมชนท้องถิ่นมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาท้องถิ่นตามความ หลากหลายของวิถีชีวิตวัฒนธรรมภูมิปัญญาที่มีอยู่ในชุมชนท้องถิ่น มีส่วนร่วมในการพัฒนาประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ

2 โครงสร้าง พ.ร.บ.สภาองค์กรชุมชน
แบ่งเป็น ๔ หมวด ๓๕ มาตรา หมวด ๑ สภาองค์กรชุมชนตำบล มาตรา ๕ – มาตรา ๒๓ มาตรา ๕ การจัดตั้งสภาองค์กรชุมชนตำบล หมวด ๒ การประชุมในระดับจังหวัดของสภาองค์กรชุมชนตำบล มาตรา ๒๔ – มาตรา ๒๙ หมวด ๓ การประชุมในระดับชาติของสภาองค์กรชุมชนตำบล มาตรา ๓๐ – มาตรา ๓๓ หมวด ๔ การส่งเสริมกิจการของสภาองค์กรชุมชนตำบล มาตรา ๓๔ – มาตรา ๓๕

3 คำนิยามตามพ.ร.บ.สภาองค์กรชุมชน
“ชุมชน” หมายความว่า กลุ่มประชาชนที่รวมตัวกันโดยมีผลประโยชน์และวัตถุประสงค์ร่วมกันเพื่อช่วยเหลือหรือสนับสนุนกัน หรือทำกิจกรรมอันชอบด้วยกฎหมายและศีลธรรมร่วมกัน หรือดำเนินการอื่นอันเป็นประโยชน์ร่วมกันของสมาชิก มีการดำเนินการอย่างต่อเนื่องและมีระบบบริหารจัดการและการแสดงเจตนาแทนกลุ่มได้ “ชุมชนท้องถิ่น” หมายความว่า ชุมชนที่อยู่ร่วมกันในพื้นที่หมู่บ้านหรือตำบล “ชุมชนท้องถิ่นดั้งเดิม” หมายความว่า ชุมชนท้องถิ่นซึ่งเกิดขึ้นก่อนประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๔๐ หมายเหตุ คำนิยามเป็นการปรับให้สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญปี ๒๕๕๐ ม.๖๖ ,๖๗

4 “องค์กรชุมชน” หมายความว่า องค์กรซึ่งเป็นการรวมของชุมชน ชุมชนท้องถิ่นหรือชุมชนท้องถิ่นดั้งเดิม ซึ่งจดแจ้งการจัดตั้งตามพระราชบัญญัตินี้ ทั้งนี้ ไม่ว่าประชาชนจะจัดตั้งกันขึ้นเอง หรือโดยการแนะนำหรือสนับสนุนของหน่วยงานของรัฐ เอกชน หรือองค์กรพัฒนาเอกชน “ตำบล” หมายความว่า เขตพื้นที่ในความรับผิดชอบของเทศบาล องค์การบริหารส่วนตำบล เขตในกรุงเทพมหานคร หรือเขตพื้นที่ที่กฎหมายเรียกชื่อเป็นอย่างอื่น ให้ รมว.กระทรวงการพัฒนาสังคมฯรักษาการตามพรบ.นี้

5 สภาองค์กรชุมชนตำบล การก่อเกิดสภาองค์กรชุมชนตำบล หมู่บ้าน 1 หมู่บ้าน 2
ชุมชนอื่น ชุมชน ชุมชน ชุมชน ชุมชน ชุมชน ชุมชน ชุมชน ชุมชน ชุมชน จดแจ้งจัดตั้งที่ ผญ.บ้าน จดแจ้งจัดตั้งที่ ผญ.บ้าน จดแจ้งจัดตั้งที่ กำนัน ส่งบัญชีรายชื่อให้ พอช. ปรึกษาหารือให้ได้ผู้แทน 4 คน ปรึกษาหารือให้ได้ผู้แทน 4 คน ปรึกษาหารือให้ได้ผู้แทน 2 คน * หลักเกณฑ์ วิธีการและการจดแจ้ง การจัดตั้งชุมชน ชุมชนท้องถิ่น และชุมชนท้องถิ่นดั้งเดิม ให้เป็นไปตามที่ พอช. ประกาศ ผู้แทนชุมชนท้องถิ่น / ผู้แทนชุมชนท้องถิ่นดั้งเดิม และผู้แทนชุมชนอื่นไม่น้อยกว่าร้อยละ 60 ประชุมจัดตั้ง กำนันรับจดแจ้ง จัดตั้งส่งให้พอช. ร้อยละหกสิบของชุมชนที่จดแจ้งเห็นชอบให้จัดตั้ง ประชุมครั้งแรกกำหนดจำนวนและคัดเลือกผู้ทรงคุณวุฒิ 1 ใน 5 สภาองค์กรชุมชนตำบล

6 แผนผังแสดงการจัดตั้งสภาองค์กรชุมชนตำบล
จดแจ้งการจัดตั้งองค์กรชุมชนตำบล ออกใบรับจดแจ้ง สภาองค์กรชุมชนตำบล ชุมชนอื่นในตำบล ประชุม ผุ้นำชุมชน คัดเลือก ผู้แทน ชุมชนละ2คน ออกใบรับจดแจ้ง จดแจ้งการจัดตั้งชุมชน กำนัน จดแจ้งการจัดตั้งชุมชน ออกใบรับจดแจ้ง แจ้งการจดแจ้งจัดตั้ง ชุมชน/สภาองค์กรชุมชน พอช. การจัดตั้ง ชุมชน สภาองค์กร ชุมชนตำบล ประกาศ หลักเกณฑ์/ วิธีการ แบบจดแจ้ง ประชุมจัดตั้งสภาองค์กรชุมชน จำนวน ผู้แทนชุมชน มติการจัด ตั้งสภาฯ กำหนด ผู้แทนชุมชนท้องถิ่น ท้องถิ่นดั้งเดิม ชุมชนอื่นไม่น้อยกว่า60%ของจำนวนทั้งหมดในตำบล วิธีการคัดเลือกผู้ทรงคุณวุฒิ แจ้งการจดแจ้งจัดตั้ง ชุมชน/สภาองค์กรชุมชน ผู้บริหาร อปท. ผอ.เขต (กรณีไม่มี ผญบ./กำนัน) จดแจ้งการจัดตั้ง สภาองค์กรชุมชนตำบล ออกใบรับจดแจ้ง แจ้งการจดแจ้งตั้งชุมชน จดแจ้งการจัดตั้งชุมชน ออกใบรับจดแจ้ง ผู้ใหญ่บ้าน ชุมชนท้องถิ่น/ดั้งเดิมในหมู่บ้าน ประชุม ผุ้นำชุมชน คัดเลือก ผู้แทน ชุมชนละ4คน กระบวนการ เลือกสมาชิก ผู้ทรงคุณวุฒิ ออกใบรับจดแจ้ง จดแจ้งการจัดตั้งชุมชน ผู้ทรงคุณวุฒิ

7 องค์ประกอบสภาองค์กรชุมชนตำบล(ม.๖)
๑.สมาชิกซึ่งเป็นผู้แทนชุมชนท้องถิ่นหรือชุมชนท้องถิ่นดั้งเดิมในหมู่บ้าน และผู้แทนชุมชนอื่นในตำบล ที่ได้รับการคัดเลือกและที่จำนวนตามที่ประชุมตาม ม.๕ กำหนด ๒.สมาชิกผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวนไม่เกิน ๑ใน ๕ ของจำนวนสมาชิกตาม ๑

8 คุณสมบัติสมาชิกสภาองค์กรชุมชนตำบล(ม.๗)
มีภูมิลำเนาหรือถิ่นที่อยู่เป็นประจำ หรือมีชื่อในทะเบียนบ้านในหมู่บ้านในตำบลนั้นเป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่าหนึ่งปีจนถึงวันคัดเลือก ไม่เป็นหรือเคยเป็นผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง สมาชิก/ ผู้บริหาร อปท. ผู้มีตำแหน่ง หรือเจ้าหน้าที่พรรคการเมือง หนึ่งปีก่อนวันคัดเลือก ไม่เคยสมัครรับเลือกตั้งเป็น สส. สว. สมาชิกหรือผู้บริหารอปท. หรือเข้ารับการสรรหาเป็น สว. หนึ่งปีก่อนวันคัดเลือก ไม่เคยได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ

9 ข้อห้ามสำหรับสมาชิกสภาองค์กรชุมชนตำบล(ม.๑๒)
ไม่ช่วยเหลือหรือสนับสนุนการหาเสียงเลือกตั้งของผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง สมาชิกหรือผู้บริหาร อปท. ไม่กระทำการอันเป็นการฝ่าฝืนกฎหมายและศีลธรรม ไม่สมัครรับเลือกตั้งเป็น สส. สว. สมาชิกหรือผู้บริหาร อปท. หรือเข้ารับการสรรหาเป็น สว. ห้ามไม่ให้ผู้ที่สมัครรับเลือกตั้งเป็น สส.สว.สมาชิก/ผู้บริหาร อปท. ยังไม่ครบหนึ่งปีเป็นสมาชิกสภาองค์กรชุมชน

10 ระบบบริหารงานสภาองค์กรชุมชนตำบล
สมาชิกสภาฯมีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละ ๔ ปี นับแต่วันคัดเลือก(ม.๘ ) จัดการประชุมอย่างน้อยปีละ ๔ ครั้ง หรือกรณีสมาชิกไม่น้อยกว่า ๑ ใน ๔ ร้องขอ ม.๑๙) การประชุมต้องมีสมาชิกเข้าร่วมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่ง (ม.๒๐) การประชุมครั้งแรกให้สมาชิกเลือกกันเองเป็นประธานคนหนึ่ง และรองประธานสองคน(ม.๑๕ ) สภาฯอาจตั้งคณะกรรมการเพื่อปฏิบัติภารกิจแทนได้ตามความเหมาะสม(ม.๒๓)

11 ภารกิจสภาองค์กรชุมชนตำบล(ม.๒๑)
ส่งเสริมสนับสนุนให้สมาชิกองค์กรชุมชนอนุรักษ์ฟื้นฟูจารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น ศิลปะหรือวัฒนธรรมอันดีของชุมชนและของชาติ ส่งเสริมสนับสนุนให้สมาชิกองค์กรชุมชนร่วมมือกับ อปท.และหน่วยงานของรัฐในการจัดการ การบำรุงรักษา และการใช้ประโยชน์ทรัพยากรธรรมชาติที่จะเป็นประโยชน์ต่อชุมชนและประเทศชาติอย่างยั่งยืน เผยแพร่และให้ความรู้ความเข้าใจแก่สมาชิกองค์กรชุมชน รวมตลอดทั้งการร่วมมือกันในการคุ้มครองคุณภาพสิ่งแวดล้อมอย่างสมดุลและยั่งยืน

12 เผยแพร่และให้ความรู้ความเข้าใจแก่สมาชิกองค์กรชุมชน รวมตลอดทั้งการร่วมมือกันในการคุ้มครองคุณภาพสิ่งแวดล้อม เสนอแนะปัญหาและแนวทางแก้ไข หรือความต้องการของประชาชนนเกี่ยวกับการจัดทำบริการสาธารณะของหน่วยงานของรัฐ หรือ อปท. จัดให้มีเวทีการปรึกษาหารือเพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมของปชช.ในการให้ความคิดเห็นต่อการดำเนินโครงการของ อปท.หน่วยงานรัฐหรือเอกชนที่มีผลหรืออาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมทรัพยากรธรรมชาติ สุขภาพอนามัย คุณภาพชีวิตชุมชน ทั้งนี้ อปท.หรือหน่วยงานของรัฐซึ่งเป็นผู้ดำเนินการหรือเป็นผู้อนุญาตให้ภาคเอกชนดำเนินการต้องนำความเห็นดังกล่าวมาประกอบการพิจารณาด้วย

13 ส่งเสริมสนับสนุนให้องค์กรชุมชนในตำบลเกิดความเข้มแข็ง สมาชิกองค์กรชุมชนสามารถพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน ประสานและร่วมมือกับสภาองค์กรชุมชนตำบลอื่น รายงานปัญหาและผลที่เกิดขึ้นในตำบลอันเนื่องจากการดำเนินงาน ของ อปท.หรือหน่วยงานของรัฐ ต่อ อปท.และหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง วางกติกาในการดำเนินกิจการสภาองค์กรชุมชน จัดทำรายงานประจำปีของสภาฯ รวมถึงสถานการณ์ด้านต่างๆ ที่เกิดขึ้นในตำบล เพื่อเผยแพร่ ปชส.ให้ประชาชนทั่วไปทราบ เสนอรายชื่อผู้แทนสภาองค์กรชุมชนตำบลสองคนเพื่อไปร่วมประชุมในระดับจังหวัดของสภาฯ

14 การสนับสนุนกิจการสภาองค์กรชุมชนตำบล
ให้ อปท.และหน่วยงานของรัฐ ส่งเสริมสนับสนุนให้ความร่วมมือ ชี้แจงทำความเข้าใจแก่สภาองค์กรชุมชนและชุมชนทุกประเภท ตามที่ร้องขอ(ม.๒๒) อปท.ที่สภาองค์กรชุมชนตำบลอยู่ในเขตอาจให้การอุดหนุนค่าใช้จ่ายสภาฯเป็นเงินอุดหนุนทั่วไป ตามที่กรมส่งเสริมปกครองส่วนท้องถิ่นกำหนด โดยให้กรมฯหารือกับ พอช. (ม.๒๒)

15 การยุบเลิกสภาองค์กรชุมชนตำบล
เมื่อมีเหตุต้องยุบเลิก ให้ประธานสภา แจ้งต่อกำนัน กำนันออกใบแจ้งและให้แจ้ง พอช.ทราบ(ม.๑๐) หลักเกณฑ์ วิธีการ และแบบการจดแจ้งการยุบเลิกให้เป็นไปตามที่พอช.ประกาศกำหนด(ม.๑๐) ให้โอนทรัพย์สินที่เหลือแก่หน่วยรัฐหรือองค์กรสาธารณะที่ที่ประชุมสภาฯเห็นสมควร หากไม่ได้จัดการให้ พอช.ดำเนินการและแจ้งให้ที่ประชุมระดับจังหวัดทราบ(ม.๑๑)

16 การประชุมในระดับจังหวัดของสภาองค์กรชุมชนตำบล(หมวด ๒)
ให้มีการประชุมอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง และเมื่อสภาองค์กรชุมชนตำบลในจังหวัดไม่น้อยกว่า 1 ใน 4 ร้องขอ (ม.๒๔) ผู้ว่าฯอาจให้มีการจัดประชุม เมื่อมีการจัดทำหรือแก้ไขแผนพัฒนาจังหวัด หรือเห็นสมควรรับฟังความเห็นสภาองค์กรชุมชน(ม.๒๕) ผู้เข้าประชุม เป็นผู้แทนสภาองค์กรชุมชนตำบลละสองคน ผู้ทรงคุณาวุฒิไม่เกิน 1 ใน 5 ของผู้แทนสภาองค์กรชุมชนตำบล(ม.๒๖) อบจ.อาจให้การอุดหนุนค่าใช้จ่ายในการประชุมเป็นเงินอุดหนุนทั่วไป(ม.๒๙)

17 การประชุมในระดับชาติของสภาองค์กรชุมชนตำบล(หมวด ๓)
ให้ พอช.จัดให้มีการประชุมอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง(ม.๓๐) ผู้เข้าประชุมมาจากผู้แทนระดับจังหวัดของสภาองค์กรชุมชนตำบลที่ได้รับการเสนอชื่อ และ ผู้ทรงคุณาวุฒิไม่เกิน ๑ ใน ๕ (ม.๓๑) เรื่องที่ประชุม ได้แก่ การกำหนดมาตรการส่งเสริมจัดตั้งและพัฒนาสภาองค์กรชุมชนตำบล เสนอแนะการจัดทำนโยบายและแผนพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม กฏหมาย และบริการสาธารณะของรัฐและ อปท.ที่มีผลต่อพื้นที่มากกว่าหนึ่งจังหวัด สรุปปัญหาชุมชนและทางแก้เสนอต่อครม.(ม.๓๒)

18 การส่งเสริมกิจการสภาองค์กรชุมชนตำบล(หมวด๔)
ให้พอช.กำหนดข้อบังคับการอุดหนุนค่าใช้จ่ายการประชุมระดับชาติ ระดับจังหวัด และระดับตำบลของสภาองค์กรชุมชนตามควรแก่กรณี(ม.๓๔) ให้ พอช.มีอำนาจหน้าที่ส่งเสริม สนับสนุนการจัดตั้งและพัฒนากิจการสภาองค์กรชุมชน ได้แก่ การประสานการจัดตั้ง เผยแพร่ ปชส. รวบรวมข้อมูลศึกษาวิจัย ประสานกับ อปท. หน่วยงานรัฐ NGO จัดทำทะเบียนกลาง (ม.๓๕) ให้พอช. ติดตามประเมินผล เสนอรายงานต่อการประชุมสภาองค์กรชุมชนระดับชาติ และรัฐมนตรีเพื่อเสนอครม.อย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง(ม.๓๕)

19 ความสัมพันธ์ พ.ร.บ.สภาองค์กรชุมชนกับกฏหมายอื่นๆ
รัฐธรรมนูญ ปี ๒๕๕๐ มาตรา ๖๖ ระบุว่าบุคคลซึ่งรวมกันเป็นชุมชน ชุมชนท้องถิ่น ชุมชนท้องถิ่นดั้งเดิม ย่อมมีสิทธิอนุรักษ์หรือฟื้นฟูจารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น ศิลปวัฒนธรรมอันดีงามของท้องถิ่นและของชาติ และมีส่วนร่วมในการจัดการ การบำรุงรักษา และการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อม รวมทั้งความหลากหลายทางชีวภาพอย่างสมดุลและยั่งยืน ซึ่งคำว่า ชุมชน ชุมชนท้องถิ่น และชุมชนท้องถิ่นดั้งเดิม ที่ได้ระบุไว้ใน รธน.มาตรา ๖๖ ได้นำมาให้ความหมายใน พ.ร.บ.สภาองค์กรชุมชน

20 รัฐธรรมนูญ มาตรา ๖๗ ได้ระบุสิทธิของบุคคลที่จะร่วมกับรัฐและชุมชนในการอนุรักษ์ บำรุงรักษาและการได้ใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ...การดำเนินกิจกรรมหรือโครงการที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรง...จะกระทำมิได้เว้นแต่...ได้จัดกระบวนรับฟังความคิดเห็นของ ปชช.และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียก่อน...สิทธิชุมชนที่จะฟ้องหน่วยงานเพื่อให้ปฏิบัติตามบทบัญญัตินี้ย่อมได้รับการคุ้มครอง ซึ่งสิทธิชุมชน หมายถึงสิทธิของชุมชน ชุมชนท้องถิ่น และชุมชนท้องถิ่นดั้งเดิม ตามมาตรา ๖๖ ที่ได้นำมาให้ความหมายใน พ.ร.บ.สภาองค์กรชุมชน

21 ความสัมพันธ์กับพรบ.สภาพัฒนาการเมือง
พ.ร.บ.สภาพัฒนาสภาการเมือง เป็นกฏหมายที่ออกตามบทบัญญัติที่ระบุไว้ในรัฐธรรมนูญ ปี ๒๕๕๐ ได้ผ่านความเห็นชอบของสภานิติบัญญัติเมื่อ ๒๑ ธ.ค.๕๐ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาการเมืองในระบบประชาธิปไตย พัฒนาคุณธรรมจริยธรรมของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ส่งเสริมให้ ปชช.มีความเข้มแข็งทางการเมือง มีอำนาจหน้าที่ในการจัดทำแผนพัฒนาการเมืองและติดตามประเมินผลการปฏิบัติตามแผน เสริมวัฒนธรรมอันดีและการมีส่วนร่วมของ ปชช.ทางการเมือง การพัฒนาสถาบันการเมือง และการส่งเสริม/พัฒนาให้ ปชช.เข้มแข็งทางการเมือง รวมถึงสนับสนุนองค์กรภาคประชาสังคมให้เข้มแข็ง จิตสำนึกความเป็นพลเมือง ร่วมมือกับสภาองค์กรชุมชน ตามกม.ว่าด้วยสภาองค์กรชุมชน

22 ร่าง พ.ร.บ.สภาพัฒนาการเมือง (ต่อ)
สมาชิกสภาพัฒนาการเมืองมาจากผู้แทนภาคประชาสังคมที่ที่ประชุมระดับจังหวัดของสภาองค์กรชุมชนตำบลเลือกกันจังหวัดละ ๑ คน(๗๖คน) ผู้แทนองค์กรภาคประชาสังคมที่จดแจ้งตาม พรบ.นี้ ๑๖ คน ผู้แทนพรรคการเมืองที่มีสส.ในสภาทุกพรรค ผู้แทนพรรคการเมืองที่ไม่มีสส.ในสภาเลือกกันเอง ๒ คน ประธานคณะกรรมาธิการวุฒิสภา ๑ คน สมาชิกโดยตำแหน่งจากเลขา กกต. เลขาคณะกรรมการสิทธิ เลขาสภาที่ปรึกษา และผอ.พอช.

23 สมาชิกมีวาระ ๔ ปี ประชุมปีละสองสมัยๆละหนึ่งเดือน มีสนง
สมาชิกมีวาระ ๔ ปี ประชุมปีละสองสมัยๆละหนึ่งเดือน มีสนง.พัฒนาสภาพัฒนาการเมืองซึ่งเป็นหน่วยงานอิสระในสถาบันพระปกเกล้าเป็นหน่วยงานตาม พ.ร.บ. ประธานรัฐสภารักษาการตามพ.ร.บ. ให้มีกองทุนพัฒนาการเมืองภาคพลเมือง เพื่อสนับสนุนกิจกรรมสาธารณะ ภาคประชาชนที่รวมตัวเป็นเครือข่าย บทเฉพาะกาล ในวาระเริ่มแรก ในสภาพัฒนาการเมืองประกอบด้วยประธานที่ประธานรัฐสภาแต่งตั้ง ผู้แทนองค์กรชุมชนตาม พรบ.สภาองค์กรชุมชน ๓ คน ผู้แทนภาคประชาสังคมอื่น ๓ คน ผู้ทรงคุณาวุฒิ ๕ คน ดำเนินการออกระเบียบที่จำเป็นและให้ได้สภาพัฒนาการเมืองให้แล้วเสร็จภายในสองร้อยสี่สิบวันตั้งแต่ พรบ.ใช้บังคับ

24 ความสัมพันธ์ระหว่าง พรบ.สภาองค์กรชุมชนกับพรบ.สภาพัฒนาการเมือง
คำนิยาม ม.๓ องค์กรภาคประชาสังคมหมายความว่า (๑)ชุมชน ชุมชนท้องถิ่น ชุมชนท้องถิ่นดั้งเดิมที่รวมตัวเป็นสภาองค์กรชุมชนตามกฏหมายสภาองค์กรชุมชน อำนาจหน้าที่ ม.๖(๔)(จ)ให้สภาพัฒนาการเมืองร่วมมือกับสภาองค์กรชุมชน ตามกฎหมายสภาองค์กรชุมชนเพื่อดำเนินการตาม พรบ. องค์ประกอบสมาชิก (ม.๘)(๑)สมาชิกซึ่งมาจากผู้แทนภาคประชาสังคมตาม(๑)คือสภาองค์กรชุมชนเลือกกันจังหวัดละ ๑ คน การดำเนินงานในวาระแรก ให้มีผู้แทนองค์กรชุมชน ๓ คน และให้เลขาสถาบันพระปกเกล้าประสานกับ พอช.ให้ได้สมาชิกทีมาจากสภาองค์กรชุมชนภายใน ๒๑๐ วัน นับแต่ พรบ.ใช้บังคับ

25 ความแตกต่างพรบ.สภาองค์กรชุมชนกับพรบ.สภาพัฒนาการเมือง
พรบ.สภาองค์กรชุมชนเป็นกฏหมายส่งเสริมเกิดขึ้นตามความพร้อมของพื้นที่ พรบ.สภาพัฒนาการเมืองเป็นกฏหมายตามบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญ ในพรบ.ระบุไว้ชัดเจนว่า ดำเนินการให้มีสมาชิกสภาพัฒนาการเมืองภายในสองร้อยสี่สิบวันหลังกฎหมายประกาศใช้

26 ความสัมพันธ์ พรบ.สภาองค์กรชุมชนกับกฎหมายฉบับอื่นๆ
พรบ.ลักษณะปกครองท้องที่ (ฉบับที่..) พ.ศ..... ที่ได้มีการแก้ไข พ.ร.บ.ลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ.๒๔๕๗ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพกำนันผู้ใหญ่บ้าน มีบางมาตราอาจเกี่ยวข้องกับสภาองค์กรชุมชน เช่น มาตรา ๒๘ตรี ในหมู่บ้านหนึ่งมีคณะกรรมการหมู่บ้านประกอบด้วยผู้ใหญ่บ้านเป็นประธาน ผช.ผู้ใหญ่บ้าน สมชิก อปท.ในหมู่บ้าน ผู้นำหรือผู้แทนกลุ่มหรือองค์กรในหมู่บ้านเป็นกรรมการหมู่บ้านโดยตำแหน่ง และกรรมการผู้ทรงคุณาวุฒิ ซึ่งนายอำเภอแต่งตั้งจากที่ราษฎรเลือก ผู้นำหรือผู้แทนกลุ่ม องค์กรใดมีสิทธิเป็นกรรมการหมู่บ้านให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่ มท.กำหนดและประกาศในราชกิจจานุเบกษา

27 ซึ่งคณะกรรมการหมู่บ้าน ตาม พรบ
ซึ่งคณะกรรมการหมู่บ้าน ตาม พรบ.ลักษณะปกครองท้องที่ ที่ปรับปรุงแก้ไขใหม่ มีองค์ประกอบและบทบาทคล้ายๆกับสภาองค์กรชุมชน แต่เป็นสภาในระดับหมู่บ้าน ซึ่งถ้าหากเป็นพื้นที่มีการทำงานร่วมกันทุกฝ่าย ก็น่าจะเกิดการเชื่อมโยงระหว่างคณะกรรมการหมู่บ้านกับสภาองค์กรชุมชนตำบล กฎหมายลักษณะปกครองท้องที่เป็นกฏหมายที่มีผลบังคับทุกพื้นที่ และแนวทางปฏิบัติหลายเรื่องกระทรวงมหาดไทยเป็นผู้ประกาศกำหนดหรือการแต่งตั้งโดยนายอำเภอ


ดาวน์โหลด ppt หลักการและเหตุผล ชุมชนท้องถิ่นเป็นสังคมฐานราก ที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ การพัฒนาประเทศที่ผ่านมา ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วส่งผลให้ชุมชนท้องถิ่นอ่อนแอ.

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google