งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

ปะการังฟอกขาว Coral Reef Bleaching

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "ปะการังฟอกขาว Coral Reef Bleaching"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 ปะการังฟอกขาว Coral Reef Bleaching
จัดทำโดย นายชัชวาล เตียประภางกูร

2 หัวข้อที่นำเสนอ 1. ปะการัง 2. ความสำคัญของแนวปะการัง
3. สาเหตุทำให้เกิดปะการังฟอกขาว 4. ผลกระทบของภาวะโลกร้อนที่มีต่อปะการัง 5. ปรากฏการณ์ Greenhouse Effect 6. อนาคตของปะการังเนื่องมาจากภาวะโลกร้อน 7. แนวทางการแก้ไข

3 ปะการัง ( Coral ) ปะการัง จัดอยู่ในประเภทสัตว์ทะเลที่ไม่มีกระดูกสันหลัง (ที่มีกระดูกสันหลังคือปลาต่างๆ) ปะการังมีมากมายหลายชนิดมีทั้งปะการังแข็ง ปะการังอ่อน หลากสีสันและหลากหลายรูปร่าง เช่น ปะการังเขากวาง ปะการังดอกเห็ด และอีกมากมาย ประเทศไทยเรามีปะการังมากมายเพราะประเทศเราอยู่เขตร้อน ปะการังอยู่ได้เฉพาะเขตร้อนและใกล้เขตร้อนที่อุณหภูมิของน้ำไม่ต่ำกว่า 18 องศาเซลเซียส ดังนั้นประเทศในเขตหนาวจึงไม่มีปะการัง และปะการังยังเป็นทรัพยากรธรรมชาติทางทะเลที่สำคัญ เป็นที่อยู่อาศัยของพืชและสัตว์น้ำ เป็นแหล่งอาหารเพื่อการเจริญเติบโต เป็นแหล่งเพราะพันธุ์และวางไข่ เป็นแหล่งหลบภัยของสัตว์น้ำต่างๆ ดังนั้นปะการังจึงเป็นเหมือนผู้ผลิตและเป็นที่อยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิตในทะเล ปะการังเป็นทรัพยากรธรรมชาติทางทะเลที่สำคัญ เป็นที่อยู่อาศัยของพืชและสัตว์น้ำ เป็นแหล่งอาหารเพื่อการเจริญเติบโต เป็นแหล่งเพราะพันธุ์และวางไข่ เป็นแหล่งหลบภัยของสัตว์น้ำต่างๆ ดังนั้นปะการังจึงเป็นเหมือนผู้ผลิตและเป็นที่อยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิตในทะเล

4 ปะการัง ( Coral ) ต่อ ปะการังมีสาหร่ายซูแซนเทลลี (zooxanthellae) ซึ่งเป็นสาหร่ายเซลล์เดียวอาศัยอยู่ร่วมกันภายในเนื้อเยื่อของปะการัง สาหร่ายซูแซนเทลลีให้พลังงานที่เป็นผลจากการสังเคราะห์แสงแก่ปะการังที่ใช้เป็นที่อาศัยอีกทั้งให้สีสันที่หลากหลายกับปะการังด้วยดังนั้นหากปะการังเหล่านี้ไม่มีสาหร่ายซูแซนเทลลีแล้วปะการังจะได้รับพลังงานไม่เพียงพอต่อการดำรงชีวิต และปะการังก็จะมีแต่สีขาว ซึ่งเป็นสีของโครงร่างหินปูนที่เป็นแคลเซียมคาร์บอเนตเท่านั้นสีสันของโลกใต้น้ำบริเวณแนว ปะการังก็คงไม่งดงามเหมือนที่เห็นเช่นปัจจุบัน

5 ความสำคัญของแนวปะการัง
1. เป็นแหล่งอาหารที่สำคัญ เป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของปลาและสัตว์น้ำหลายชนิด 2. ความสวยงามของปะการัง รูปร่างต่าง ๆ ใช้ในการประดับสถานที่และที่อยู่อาศัย 3. โครงสร้างหินปูนของปะการังสามารถนำมาใช้เป็นวัสดุก่อสร้างได้ 4. หินปูนจากปะการังและสาหร่ายบางชนิดใช้เป็นองค์ประกอบของยาบางชนิด 5. ปลาในแนวปะการัง ซึ่งเป็นปลาสวยงาม ใช้ประดับในตู้ปลาและกลายเป็นสินค้าออกที่สำคัญ 6. ทัศนียภาพความสวยงาม จากตัวแนวปะการังเองและสิ่งมีชีวิตที่อยู่อาศัยอยู่ เช่น ฝูงปลาสวยงาม เป็นต้น นับเป็นแหล่งดึงดูดการท่องเที่ยวที่สำคัญ 7. แนวปะการังจะช่วยป้องกันการกัดเซาะของชายหาดเนื่องจากคลื่นและพายุ 8. คุณค่าในด้านการศึกษาและการอนุรักษ์ สภาพไว้เพื่อการทดลอง

6 สาเหตุของการเกิดปะการังฟอกขาว
สาเหตุเกิดหลายสาเหตุด้วยกัน เช่น ปรากฏการณ์ แอลนิลโญ่ อุณหภูมิมีการเปลี่ยนแปลง รังสีจากดวงอาทิตย์ การถูกแดด-ลมฝนกระทำ ตะกอนและความขุ่นของน้ำทะเล ความเค็ม สภาพและธาตุอาหารในน้ำ ทะเล สารเคมี หรือสารชีวภาพที่มนุษย์ใช้ในชีวิตปะจำวัน สาเหตุสำคัญเกิดจากภาวะโลกร้อน โดยอุณหภูมิน้ำในทะเลสูงขึ้น ประมาณ 1-2 องศาเซลเซียส หรือผลจากความเข้มข้นของแสง หรือสอง ปัจจัยนี้ร่วมกัน ส่งผลให้สาหร่ายซูแซนเทลลี ที่อาศัยอยู่ในปะการังทนอยู่ ไม่ได้และหนีออกจากปะการัง ทำให้ปะการังกลายเป็นสีขาว ไม่มีสีสัน คล้ายหินปูน หากอุณหภูมิน้ำทะเลหรือสภาพแวดล้อมกลับคืนสู่สภาพปกติ ปะการังจะสามารถปรับสภาพและฟื้นตัวได้ ดังนั้นหากในช่วง 2-3 สัปดาห์ อากาศมีอุณหภูมิลดลง หรือมีฝนตกลงมาเล็กน้อย จะช่วยให้อุณหภูมิน้ำ ลดลง ปะการังจะกลับมามีชีวิตและมีสีสันอีกครั้ง

7 สาเหตุของการเกิดปะการังฟอกขาว (ต่อ)
ปะการังที่ปราศจากสาหร่ายเหล่านี้ก็ไม่มีโอกาสได้รับพลังงานเสริมที่เพียงพอในการดำรงชีวิตหากสถานการณ์ดำรงเช่นนี้ต่อไปปะการังก็จะตายในที่สุดเมื่อสาหร่ายซูแซนเทลลีซึ่งเป็นสีสันของปะการัง ออกจากตัวปะการังไปแล้วปะการังก็จะกลับคืนมาเป็นสีขาวซึ่งคือสีของปะการังเองดังนั้นปรากฏการณ์ที่ทำให้สาหร่ายซูแซนเทลลีออกจากปะการังจึงเรียกว่า ปรากฏการณ์ปะการังฟอกขาว (coral bleaching) สำหรับในพื้นที่ที่เป็นสถานที่ท่องเที่ยว ควรลดหรืองดกิจกรรมท่องเที่ยวทางทะเล เพื่อช่วยลดมลพิษที่จะถูกปล่อยลงสู่ทะเล และให้เวลาปะการังในการฟื้นตัวกลับคืนสู่สภาพเดิมอีกครั้ง

8 ผลกระทบของภาวะโลกร้อนที่มีต่อปะการัง
ภาวะโลกร้อน (global warming) หมายถึง การที่อุณหภูมิของโลก เพิ่มขึ้น อันเนื่องมาจาก ปัจจัยหลายประการโดยเฉพาะ ปัจจัยที่เกิดจาก ภาวะ เรือนกระจก (green house effect) ตั้งแต่ศตวรรษที่ผ่านมา มนุษย์ ได้หันไปพึ่งพาการเผาผลาญเชื้อเพลิงที่ได้มาจากฟอสซิล เช่น น้ำมัน ถ่าน หิน ก๊าซธรรมชาติ เพื่อผลิตพลังงานในกระบวนการการเผาผลาญเชื้อเพลิง ทำให้มีก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ เกิดขึ้นจำนวนมาก ก๊าซนี้เมื่อถูกปล่อย ออกไปแล้วจะถูกสะสมอยู่ที่ชั้นบรรยากาศ และคอยกันความร้อนต่างๆ ที่ ถูกปล่อยออกจากพื้นผิวโลกไม่ให้ความร้อนสามารถระบายออกสู่นอกชั้น บรรยากาศได้จึงเรียกก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ว่าเป็นก๊าซเรือนกระจกและ เรียกภาวะที่เกิดขึ้นว่าภาวะเรือนกระจก ซึ่งส่งผลให้เกิดภาวะโลกร้อนขึ้น ตามมา ผลของภาวะโลกร้อนอย่างต่อเนื่องนี้สามารถส่งผลให้ระดับน้ำทะเลสูงขึ้นจากปัจจุบันประมาณ90 เซนติเมตรในหนึ่งร้อยปีข้างหน้า ระดับที่เพิ่มขึ้นของน้ำทะเลนี้ทำให้หลายประเทศรวมถึงประเทศไทยได้รับผลกระทบทั้งทางด้านกายภาพและชีวภาพหลายประการ การเกิดปรากฎการณ์ปะการังฟอกขาวก็เป็นผลมาจากภาวะโลกร้อนด้วยเช่นกัน การที่ปะการังเป็นสิ่งมีชีวิตที่ไวต่อการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิน้ำ ดังนี้อุณหภูมิของน้ำที่สูงขึ้นเพียง 2-3 องศาเซลเซียส สามารถส่งผลต่อการตายของปะการังได้ นอกจากนั้นยังมีผลต่อการสะสมหินปูนของปะการังลดลงเนื่องจากในสภาวะปกติ ทะเลสามารถดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากบรรยากาศได้ประมาณหนึ่งในสามของปริมาณทั้งหมดที่สะสม เมื่อปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในชั้นบรรยากาศเพิ่มมากขึ้น การดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์โดยน้ำทะเลจึงเพิ่มมากขึ้นตามสัดส่วนและส่งผลต่อการลดลงของสารคาร์บอเนตไอออนที่เป็นส่วน ประกอบสำคัญในการสร้างโครงร่างหินปูนของปะการัง รวมถึงสัตว์ทะเลอีกหลายชนิด อีกประการหนึ่งการที่ระดับน้ำทะเลสูงขึ้นเนื่องจากภาวะโลกร้อนส่งผลให้แนวปะการังอยู่ในระดับน้ำทะเลที่ลึกมากขึ้น จึงทำให้ปริมาณแสงอาทิตย์ส่องลงไปถึงปะการังได้น้อยลงและทำให้สาหร่ายซูแซนเทลลีซึ่งใช้แสงในการสังเคราะห์แสงได้รับแสงลดน้อยลง เมื่อใดก็ตามที่ไม่มีแสงหรือมีแต่ไม่เพียงพอที่จะทำให้สาหร่ายซูแซนเทลลีดำรง ชีวิตอยู่ได้ปะการังที่พึ่งพาอาศัยสาหร่ายซูแซนเทลลีก็ไม่สามารถดำรงชีวิตได้เช่นกัน ซึ่งรวมถึงสิ่งมีชีวิตอีกมากมายที่อาศัยแนวปะการังนั้น ๆ ในการดำรงชีวิต ภาวะโลกร้อนสามารถส่งผลต่อการหมุนเวียนของน้ำทะเล (ocean circulation) ลดลงหรือหยุด ปกติน้ำทะเลจะไม่เกิดเป็นชั้นน้ำที่อุ่นหรือเย็นแบ่งแยกกันถ้าน้ำบริเวณนั้นมีการหมุนเวียนแต่เมื่อใดก็ตามที่การหมุนเวียนของน้ำหยุด จะทำให้น้ำแบ่งชั้นสัตว์ที่อยู่บริเวณนั้นเช่นปะการังก็จะได้รับผลกระทบเนื่องจากสภาพน้ำบริเวณนั้นมีอุณหภูมิที่สูง หรือต่ำเกินไปคงอยู่เป็นเวลานาน

9 ผลกระทบของภาวะโลกร้อนที่มีต่อปะการัง (ต่อ)
สันนิษฐานว่าเป็นผลกระทบมาจากปรากฏการณ์ เอลนินโญ่ ซึ่งทำให้อุณหภูมิของ โลกและน้ำทะเล สูงขึ้น จนทำให้ปะการัง และสัตว์อื่นในบริเวณ แนวปะการังได้แก่ ดอกไม้ทะเล ถ้วย ทะเลและปะการังอ่อน เปลี่ยนจากสีต่างๆ เป็นสีขาวและค่อยๆ ตายไป จากการสำรวจพบว่าขณะนี้ปะการังในอ่าวไทยเปลี่ยนสีไปแล้วประมา ณ %

10 ปรากฏการณ์ Greenhouse Effect

11 กระแสน้ำอุ่น กระแสน้ำเย็น

12 วิกฤตปะการังฟอกขาวในไทย
แนวปะการังบริเวณฝั่งตะวันตกตามเกาะต่าง ๆ ทางฝั่งทะเลอันดามัน มีแนวโน้มการเกิดฟอกขาวน้อยกว่าด้านอื่นของเกาะ ทั้งนี้อาจเนื่องมาจากการเคลื่อนที่ของมวลน้ำจากทะเลลึกที่เข้ามาช่วยบรรเทาผลของอุณหภูมิน้ำทะเล นอกจากนี้ยังพบว่า ปะการังลายดอกไม้ (Pavona decussata) ปะการังดาวใหญ่ (Diploastrea heliopora ) เป็นชนิดที่มีแนวโน้มต้านทานต่อการฟอกขาวได้ดี

13 อนาคตของปะการังเนื่องมาจากภาวะโลกร้อน
ปะการังเป็นสิ่งมีชีวิตที่เก่าแก่สิ่งหนึ่งที่ปรากฏอยู่บนโลกมานานกว่า 200 ล้านปี ปัจจุบันแนวปะการังได้ลดลงไปอย่างมากเมื่อเทียบกับในอดีต สาเหตุสำคัญที่ทำให้ปะการังถูกทำลายและลดจำนวนลงอย่างมากเนื่องมาจากกิจกรรมที่เป็นผลจากการกระทำ ของมนุษย์ เช่นการทำประมงที่มากเกินไป การท่องเที่ยว เป็นต้น นอกจากนั้นภาวะโลกร้อนก็เป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่สำคัญในปัจจุบันนักวิทยาศาสตร์คาดการณ์ว่าร้อยละ 70 ของปะการังจะตายภายใน 40 ปีข้างหน้าหากพวกเรา ไม่ช่วยกันป้องกันหรืออนุรักษ์ปะการัง การให้ความรู้แก่ประชาชนเกี่ยวกับภาวะโลกร้อนและผลกระทบที่ตามมาก็เป็นอีกวิธีการหนึ่ง ที่สามารถสร้างความเข้าใจให้ประชาชนร่วมกันปกป้องรักษาปะการังได้ผลกระทบที่ตามมาเหล่านี้ สุดท้ายอาจสะท้อนกลับมาสู่มนุษย์เราผู้เริ่มต้นของปัญหาต่าง ๆ นั่นเอง เมื่อปะการังได้รับผลกระทบสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ หลากหลายที่อาศัยแนวปะการังเป็น ที่อยู่อาศัยเป็นแหล่งหาอาหารหรือเป็นแหล่งหลบภัย ก็ไม่สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ รวมทั้งสัตว์เศรษฐกิจอีกมากมายที่มนุษย์เราใช้ประโยชน์ที่อาศัยอยู่ในแนวปะการังก็จะลดน้อยลง อีกทั้งสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ สถานที่ท่องเที่ยวอีกมากมายก็จะสูญหายไปด้วย หากมนุษย์เราไม่คำนึงกันตั้งแต่บัดนี้ วันที่เราไม่อยากเห็นก็อาจปรากฏได้เร็วมากขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

14 พื้นที่ที่มีปะการังฟอกขาวในแนวปะการังเหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้นในช่วง 15 ปีที่ผ่าน Yellow spots indicate major bleaching events. จุดสีเหลืองบ่งบอกถึงเหตุการณ์ที่สำคัญการฟอกสี

15 อุณหภูมิน้ำทะเล ปี 2553

16 กราฟแสดงอุณหภูมิน้ำทะเลในแนวปะการังบริเวณเกาะภูเก็ต
กราฟแสดงอุณหภูมิน้ำทะเลในแนวปะการังบริเวณเกาะภูเก็ตตั้งแต่ มกรคม 2552 – กันยายน 2553 กรอบสีแดงเป็นช่วงที่อุณหภูมิน้ำทะเลขึ้นสูงกว่า 30 องศาเซลเซียสต่อเนื่องกันเป็นเวลาประมาณ 3 เดือน ทั้งนี้ประมาณไว้ว่า ณ อุณหภูมิตั้งแต่ 30 องศาเซลเซียสขึ้นไป เป็นจุดวิกฤตที่กระตุ้นให้เกิดการฟอกขาวของปะการัง ทั้งนี้ขึ้นกับองค์ประกอบอื่นด้วยที่เป็นตัวกระตุ้นร่วม โดยเฉพาะความเข้มของแสงแดด

17 บริเวณที่เกิดปะการังฟอกขาวในไทย

18 แนวทางการแก้ไข 1. ลดการใช้สารเคมีที่มี ปฏิกิริยาเรือนกระจกและเพิ่มเติมการปลูกป่า สร้างความชุ่มชื้นให้ผิวดิน 2. สร้างความรู้ ความเข้าใจแก่ประชาชน นักท่องเที่ยว ผู้ประกอบการธุรกิจ ท่องเที่ยว 3.ลดผลกระทบจากกิจกรรมการท่องเที่ยวที่ส่งผลกระทบต่อแนวปะการัง ด้วย การกำหนดพื้นที่รูปแบบกิจกรรม 4.ผลักดันให้เรือท่องเที่ยวปรับปรุงเรือ โดยให้มีถังกักเก็บของเสียในเรือ 5.มีการจัดการอย่างเข้มงวดเพื่อลดปริมาณตะกอนจากแผ่นดินลงสู่ทะเล 6.กำหนดมาตรการป้องกันกิจกรรมประมงที่ส่งผลกระทบต่อแนวปะการัง 7.ปิดพื้นที่ไม่ให้มีการใช้ประโยชน์ใดๆ ในพื้นที่แนวปะการัง 8.จัดสร้างแหล่งดำน้ำใหม่ หรือปะการังเทียมเสริมในบริเวณที่เหมาะสม 1.สร้างความรู้ ความเข้าใจแก่ประชาชน นักท่องเที่ยว ผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยว ผู้ใช้ประโยชน์จากแนวปะการัง เพื่อให้ทราบสถานการณ์ของแนวปะการังฟอกขาว ผลกระทบที่เกิดขึ้น โดยจัดทำสื่อประชาสัมพันธ์ การรณรงค์ให้ผู้ประกอบการธุรกิจดำน้ำดำเนินธุรกิจที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม 2.ลดผลกระทบจากกิจกรรมการท่องเที่ยวที่ส่งผลกระทบต่อแนวปะการัง ด้วยการกำหนดพื้นที่ รูปแบบกิจกรรม และข้อควรปฏิบัติที่เหมาะสมสำหรับผู้ใช้ประโยชน์ต่างๆ ทั้งนี้ ทางกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง และกรมอุทยานฯ สามารถนำรูปแบบวิธีการดำเนินงานของโครงการกรีนฟินส์ไปใช้ 3.ผลักดันให้เรือท่องเที่ยวปรับปรุงเรือ โดยให้มีถังกักเก็บของเสียในเรือ มิให้มีการปล่อยของเสียลงในแนวปะการังโดยตรง เพื่อลดปัญหาการแพร่ของเชื้อโรคหรือปริมาณสารอาหารในแนวปะการัง 4.มีการจัดการอย่างเข้มงวดเพื่อลดปริมาณตะกอนจากแผ่นดินลงสู่ทะเล เช่น ควบคุมการเปิดหน้าดิน และกำหนดมาตรการป้องกันการกัดเซาะหน้าดินบนเกาะที่มีแนวปะการัง 5.กำหนดมาตรการป้องกันกิจกรรมประมงที่ส่งผลกระทบต่อแนวปะการัง โดยเฉพาะการลักลอบจับปลาสวยงาม และปลากินพืชในแนวปะการังในเขตอุทยานแห่งชาติ โดยต้องมีการตรวจตราป้องกันการกระทำผิดอย่างเข้มงวด 6.ปิดพื้นที่ไม่ให้มีการใช้ประโยชน์ใดๆ ในพื้นที่แนวปะการังที่จำเป็นต้องได้รับการคุ้มครองอย่างเข้มงวด เช่น บางบริเวณในเขตอุทยานแห่งชาติ 7.นำแผนแม่บทการจัดการอุทยานแห่งชาติ ที่เคยมีการทำไว้แล้วมาใช้อย่างจริงจัง 8.จัดสร้างแหล่งดำน้ำใหม่ หรือปะการังเทียมเสริมในบริเวณที่เหมาะสม เพื่อลดการใช้ประโยชน์ในแนวปะการัง

19 ขอบคุณครับ


ดาวน์โหลด ppt ปะการังฟอกขาว Coral Reef Bleaching

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google