งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

อารยธรรมอินเดีย.

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "อารยธรรมอินเดีย."— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 อารยธรรมอินเดีย

2 สมัยก่อนประวัติศาสตร์
สมัยก่อนประวัติศาสตร์ พบหลักฐานเป็นซากเมืองโบราณ 2 แห่ง ในบริเวณลุ่มแม่น้ำสินธุ คือ - เมืองโมเฮนโจดาโร ทางตอนใต้ของประเทศปากีสถาน - เมืองฮารับปา ในแคว้นปันจาป ประเทศปากีสถานในปัจจุบัน

3 สมัยประวัติศาสตร์ สมัยประวัติศาสตร์ เริ่มเมื่อมีการประดิษฐ์ตัวอักษรขึ้นใช้ โดยชน เผ่าอินโด-อารยัน ซึ่งตั้งถิ่นฐานบริเวณแม่น้ำคงคา แบ่งได้ 3 ยุค คือ - ประวัติศาสตร์สมัยโบราณ เริ่มตั้งแต่กำเนิดตัวอักษร บรามิ ลิปิ สิ้นสุดสมัยราชวงศ์ คุปตะ เป็นยุคที่ศาสนาพราหมณ์ ฮินดู และ พุทธศาสนา ได้ถือกำเนิดแล้ว

4 - ประวัติศาสตร์สมัยกลาง เริ่มตั้งแต่ราชวงศ์คุปตะสิ้นสุดลง
- ประวัติศาสตร์สมัยกลาง เริ่มตั้งแต่ราชวงศ์คุปตะสิ้นสุดลง จนถึง ราชวงศ์โมกุลเข้าปกครองอินเดีย - ประวัติศาสตร์สมัยใหม่ เริ่มตั้งแต่ราชวงศ์โมกุลจนถึงการได้รับ เอกราชจากอังกฤษ

5 อารยธรรมอินเดีย

6 อารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุ
- อารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุ แบ่งเป็น 2 พวก คือ พวกดราวิเดียน และ พวกอารยัน - ศูนย์กลางอยู่ที่เมือง โมเฮนโจดาโร และ เมืองฮารับปา - มีสังคมเมือง มีการวางผังเมือง ตัดถนน มีระบบระบายน้ำสองท่อดิน เผาอยู่ข้างถนน เพื่อรับน้ำที่ระบายจากบ้านเรือน มีอักษรภาพใช้ - มีการเพาะปลูกพืชเกษตร เช่น ฝ้าย ข้าวสาลี ถั่ว งา ข้าวโพด - พบหลักฐานการค้ากับต่างแดนทั้งทางบก และ ทางทะเล และมีการขุด ค้นพบอารยธรรมนี้กว่า 100 แห่งบริเวณแม่น้ำสินธุส่วนใหญ่อยู่ใน ปากีสถาน

7 สมัยพระเวท - เป็นอารยธรรมชนเผ่าอารยัน ที่เข้ายึดครองดราวิเดียน หรือ
ชาวทราวิฑ ที่ถูกขับไล่ให้ถอยร่นลงทางใต้ - ชาวอารยันให้กำเนิดศาสนาพราหมณ์ และ ระบบวรรณะ 4

8 - วรรณกรรมสำคัญในยุคนี้ ได้แก่
- คัมภีร์พระเวท เป็นบทสวดของพวกพราหมณ์ ใช้วิธีท่องจำ ต่อๆกันมา ประกอบด้วย 4 คัมภีร์ คือ ฤคเวท ยชุรเวท ไตรเวท และ อาถรรพเวท - มหากาพย์รามายณะ สันนิษฐานว่าแสดงถึงการต่อสู้ระหว่าง ชาวอารยัน(พระราม) กับชาวทราวิฑ (ทศกัณฑ์) แต่งโดยฤษีวาลมิกิ - มหากาพย์มหาภารตยุทธ ว่าด้วยการต่อสู้ของพี่น้องสอง ตระกูล (ปานฑพ-เการพ) - คัมภีร์ธรรมศาสตร์ ซึ่งเป็นทั้งกฎหมาย ศาสนบัญญัติ จารีต ประเพณี หลักศีลธรรม

9 สมัยพุทธกาล - เกิดศาสนาพุทธ และ มีการใช้ภาษาบาลี (มคธ)
- เกิดศาสนาเชน ผู้ก่อตั้งคือ วรรธมาน มหาวีระ

10 สมัยราชวงศ์เมารยะ - พระเจ้าจันทรคุปต์ ได้รวบรวมแว่นแคว้นในดินแดนชมพูทวีปให้เป็น ปึกแผ่น - เริ่มการปกครองโดยรวบอำนาจไว้ที่กษัตริย์และเมืองหลวง - พระเจ้าอโศกมหาราช ส่งสมทูตไปเผยแผ่พุทธศาสนาในแว่นแคว้น ต่างๆ - หลังราชวงศ์เมารยะล่มสลาย เกิดการแตกแยกเป็นแว่นแคว้น

11 สมัยราชวงศ์กุษาณะ - พวกกุษาณะเป็นชนต่างชาติที่เข้ามารุกราน และตั้งอาณาจักรปกครอง อินเดียทางตอนเหนือ - ด้านการแพทย์เจริญมากในสมัยพระเจ้ากนิษกะ - ส่งสมทูตไปเผยแผ่พุทธศาสนานิกายมหายานที่จีน และ ธิเบต

12 สมัยจักรวรรดิโมกุล - พระเจ้าบาบูร์ ผู้ก่อตั้งราชวงศ์โมกุล นับถือศาสนาอิสลาม - เป็นราชวงศ์สุดท้ายของอินเดีย - พระเจ้าอักบาร์มหาราช ทรงทะนุบำรุงอินเดียให้มีความเจริญรุ่งเรือง ทุกด้าน และ ทรงให้เสรีภาพในการนับถือศาสนา สร้างสามัคคีให้ เกิดขึ้นในชาติ - พระเจ้าซาร์ เจฮัน ทรงเป็นมุสลิมที่เคร่งครัดและศรัทธาในศาสนา อิสลาม เป็นผู้สร้าง ทัชมาฮาล ที่มีความงดงามยิ่ง

13 สมัยอาณานิคมอังกฤษ - ปลายสมัยอาณาจักรโมกุล กษัตริย์ทรงใช้จ่ายฟุ่มเฟือย ต้องเพิ่มภาษี และ เพิ่มการเกณฑ์แรงงานทำให้ราษฎรอดอยาก และยังกดขี่ทำลายล้าง ศาสนา ฮินดูและชาวฮินดูอย่างรุนแรง เกิดความแตกแยกภายในชาติ เป็นเหตุให้อังกฤษค่อยๆเข้าแทรกแซงและครอบครองอินเดียทีละเล็กละน้อย

14 - ในที่สุดอังกฤษล้มราชวงศ์โมกุลและครอบครองอินเดียในฐานะอาณา นิคมอังกฤษ
สิ่งที่อังกฤษวางไว้ให้กับอินเดีย คือ - รากฐานการปกครองระบอบประชาธิปไตย แบบรัฐสภา - การศาล การศึกษา ยกเลิกประเพณีบางอย่าง เช่น พิธีสตี (การเผาตัวตายของหญิงฮินดูที่สามี ตาย)

15 สมัยเอกราช - หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ขบวนการชาตินิยมอินเดียนำโดย มหาตมะ คานธี และ เยาวราลห์ เนห์รู เป็นผู้นำเรียกร้องเอกราช - มหาตมะ คานธี ใช้หลักอหิงสา (ความไม่เบียดเบียน ความสงบ) ใน การเรียกร้องเอกราชจนประสบความสำเร็จ

16 - หลังจากได้รับเอกราชอินเดียปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตย
- แต่จากความแตกแยกทางเชื้อชาติและศาสนาทำให้อินเดียต้อง แตกแยกเป็นอีก 2 ประเทศ คือ - ปากีสถาน (เดิม คือ ปากีสถานตะวันตก) - บังคลาเทศ (ปากีสถานตะวันออก)

17 ศิลปกรรมอินเดีย ศิลปกรรมอินเดีย มักเกี่ยวข้องกับความเชื่อทางศาสนา
ด้านสถาปัตยกรรม - ซากเมืองฮารับปา และโมเฮนโจดาโร ทำให้เห็น ว่ามีการวางผังเมืองอย่างดี มีสาธารณูประโภค อำนวยความสะดวกหลายอย่าง เช่น ถนน บ่อน้ำ ประปา ซึ่งเน้นประโยชน์ใช้สอยมากกว่าความ สวยงาม

18 - ซากพระราชวังที่เมืองปาฏลีบุตรและตักศิลาสถูป. และ
- ซากพระราชวังที่เมืองปาฏลีบุตรและตักศิลาสถูป และ เสาแปดเหลี่ยมที่สำคัญคือ สถูปเมืองสาญจี (สมัยราชวงศ์โมริยะ) - สุสานทัชมาฮาล สร้างด้วยหินอ่อน เป็นการผสม ระหว่างศิลปะอินเดียและเปอร์เชีย

19 ด้านประติมากรรม - พระพุทธรูปแบบคันธาระ - พระพุทธรูปแบบมถุรา - พระพุทธรูปแบบอมราวดี - ภาพสลักนูนที่มหาพลิปุลัม ได้รับการยกย่องว่า มหัศจรรย์

20 พระพุทธรูปแบบคันธาระ
พระพุทธรูปแบบมถุรา พระพุทธรูปแบบอมราวดี

21 จิตรกรรม - สมัยคุปตะ และหลังสมัยคุปตะ เป็นสมัยที่รุ่งเรือง ที่สุดของอินเดียพบงานจิตรกรรมที่ ผนังถ้ำอชันตะ เป็น ภาพเขียนในพระพุทธศาสนาแสดงถึง ชาดกต่างๆ ที่งดงามมาก ความสามารถใน การวาดเส้นและการอาศัยเงามืดบริเวณ ขอบภาพ ทำให้ภาพแลดูเคลื่อนไหว ให้ ความรู้สึกสมจริง

22 นาฏศิลป์ - เกี่ยวกับการฟ้อนรำ เป็นส่วนหนึ่งของพิธีกรรม เพื่อบูชาเทพเจ้าตามคัมภีร์พระเวท

23 ศิวนาฏราช

24 สังคีตศิลป์ - บทสวดสรรเสริญเทพเจ้าทั้งหลาย ถือเป็น แบบแผนการร้องที่เก่าแก่ที่สุดใน สังคีตศิลป์ ของอินเดีย แบ่งเป็นดนตรีศาสนา ดนตรีในราช สำนักและดนตรีท้องถิ่นเครื่องดนตรีสำคัญ คือ วีณา หรือพิณ ใช้สำหรับดีด เวณุ หรือขลุ่ย และ กลอง

25 ศาสนา ศาสนาอินเดีย เป็นแหล่งกำเนิดศาสนาสำคัญของโลกตะวันออก ได้แก่
ศาสนาอินเดีย เป็นแหล่งกำเนิดศาสนาสำคัญของโลกตะวันออก ได้แก่ 1. ศาสนาพราหมณ์ – ฮินดู มีเทพเจ้าที่สำคัญ เช่น พระศิวะ เป็นเทพผู้ทำลายความชั่วร้าย พระพรหม เป็นเทพเจ้าผู้สร้างสรรพสิ่งบนโลก พระวิษณุ เป็นเทพเจ้าแห่งสันติสุขและปราบปรามความยุ่งยาก เป็นต้น

26

27 2. พระพุทธศาสนา มีหลักคำสอนที่สำคัญ เช่น อริยสัจ 4 มีจุดหมายเพื่อมุ่งสู่นิพพาน
3. ศาสนาเชน มีศาสดา คือ มหาวีระ มีนิกายที่สำคัญอยู่ 2 นิกาย คือ นิกายเศวตัมพร เป็นนิกายนุ่งผ้าขาว ถือว่าสีขาวเป็นสีบริสุทธิ์ และนิกายทิฆัมพร เป็นนิกายนุ่งลมห่มฟ้า (เปลือยกาย)

28 มหาวีระ ศาสดาศาสนาเชน

29 พระศาสดา ศรี คุรุ นานัก เดว ยิ
4. ศาสนาซิกข์ เป็นศาสนาที่ก่อตั้งขึ้นมาโดย พระศาสดา ศรี คุรุ นานัก เดว ยิ ในปี พ.ศ (ค.ศ. 1469) โดยหลักธรรม และ คำสอนพื้นฐานของศาสนาซิกข์ขึ้นมา เป็นศาสนาที่ตั้งอยู่บนรากฐานแห่งความจริง และ เน้นความเรียบง่าย สอนให้ทุกคนยึดมั่น และ ศรัทธาในพระเจ้าแต่เพียงพระองค์เดียว พระศาสดา ศรี คุรุ นานัก เดว ยิ

30 ด้านเศรษฐกิจ คนในดินแดนลุ่มน้ำสินธุมีการทำอาชีพเกษตรเป็นพื้นฐานทางเศรษฐกิจและมีการ ทำการค้าภายใน การเพิ่มประชากรในแต่ละอาณาจักร ทำให้การค้าภายในเมืองต่างๆขยายตัวขึ้น ซึ่งมีสินค้าสำคัญ เช่น ดีบุก ทองแดง หินมีค่าชนิดต่างๆ นอกจากนี้ยังมีสินค้าอุตสาหกรรม เช่น การทอผ้า ฝ้าย ไหม เป็นสินค้าไปขายในดินแดนต่างๆ อาทิ อาระเบีย เปอร์เซีย และอิยิปต์ เป็นต้น

31 เมื่อชาวอารยันมีอำนาจมั่นคง จึงได้สร้างบ้านอยู่เป็นหมู่บ้าน มีการปลูกข้าวและเลี้ยงสัตว์พันธุ์ต่างๆมากขึ้น เพื่อใช้ประโยชน์ทางเศรษฐกิจ นอกจากนี้ชาวอารยันยังมีอาชีพเป็นช่างต่างๆ เช่น ช่างทองแดง ช่างเหล็ก ช่างปั้นหม้อ ช่างปะชุน เย็บผ้า เป็นต้น การที่ชาวอารยันดำเนินการค้าขายทั้งทางบกและทางทะเลอย่างต่อเนื่อง ทำให้มีเศรษฐกิจดีพอที่จะสนับสนุนให้เกิดการสร้างสรรค์อารยธรรมในด้านอื่นๆ

32 ด้านภาษา และ วรรณกรรม ในดินแดนลุ่มน้ำสินธุยังพบวัฒนธรรมด้านภาษา คือ ตัวอักษรโบราณของอินเดีย ซึ่งเป็นอักษรดั้งเดิมที่ยังไม่มีนักวิชาการอ่านออก อักษรโบราณนี้ปรากฏในดวงตราต่างๆมากกว่า 1,200 ชิ้น โดยในดวงตราจะมีภาพวัว ควาย เสือ จระเข้ และช้าง ปรากฏอยู่ด้วย พวกอารยันใช้ภาษาสันสกฤตซึ่งเป็นภาษาที่ใช้เขียนคัมภีร์ศาสนา เช่น คัมภีร์พระเวท เมื่อประมาณ 1,000 ปีมาแล้ว วรรณกรรมทื่สำคัญได้แก่ มหากาพย์มหาภารตยุทธ ซึ่งเป็นเรื่องการสู้รบในหมู่พวกอารยันและมหากาพย์รามเกียรติ์ เป็นเรื่องการสู้รบระหว่างพวกดราวิเดียนกับพวกอารยัน

33 คำถาม 1. ตัวอักษร บรามิ ลิปิ ถือกำเนิดในสมัยใด และ ยุคใด
1. ตัวอักษร บรามิ ลิปิ ถือกำเนิดในสมัยใด และ ยุคใด ตอบ สมัยประวิติศาสตร์ ในยุคประวัติศาสตร์สมัยโบราณ 2. อารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุ แบ่งเป็นกี่พวก ได้แก่อะไรบ้าง ตอบ แบ่งเป็น 2 พวก ได้แก่ พวกดราวิเดียน และ พวกอารยัน 3. สมัยใดเป็นราชวงศ์สุดท้ายของอินเดีย ตอบ สมัยจักรวรรดิโมกุล

34 กลุ่มที่ 7 อารยธรรมอินเดีย ห้อง ม.5/2
สมาชิกกลุ่ม นาย ณัฐกานต์ รอดวินิจ เลขที่ 8 นาย ทศพล ภูสมหมาย เลขที่ 11 นางสาว ชฎาพร พลโยราช เลขที่ 25 นางสาว ดวงกมล ขอดคำ เลขที่ 27 นางสาว ธมลวรรณ โฉมงาม เลขที่ 28 นาย พงศกร แก้วแกมกาญจน์ เลขที่ 40 นางสาว นริศรา พานสมัน เลขที่ 46


ดาวน์โหลด ppt อารยธรรมอินเดีย.

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google