การพัฒนาระบบราชการไทย

Slides:



Advertisements
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
พัฒนาระบบบริหารจัดการน้ำเพื่อการเกษตร(บูรณาการกระทรวง)
Advertisements

การติดตามและ ประเมินผลโครงการ
นโยบายการดำเนินงาน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ศ. นพ. รัชตะ รัชตะนาวิน และ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข นพ. สมศักดิ์ ชุณหรัศมิ์
ยุทธศาสตร์ การจัดสรร งบประมาณ ยุทธศาสตร์การพัฒนาคนและสังคมที่มีคุณภาพ
ความก้าวหน้าในการจัดทำแผนการกระจายอำนาจ ให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และแผนปฏิบัติการกำหนดขั้นตอนการกระจายอำนาจ ให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (ฉบับที่
คำถามตามเกณฑ์ PMQA:105คำถาม หมวด1 12คำถาม.
ความเป็นมาของการจัดการ ความรู้ในกรมชลประทาน ตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์ และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ. ศ หมวดที่ 3 มาตราที่ 11 ระบุว่า.
- 2 - แผนภูมิแสดงความเชื่อมโยงยุทธศาสตร์การจัดสรรงบประมาณ ผลผลิต และงบประมาณปี พ.ศ.2555 กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ ตามระบบการจัดทำงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงานตามยุทธศาสตร์
ระบบประเมินผลผู้บริหาร
LOGO การคำนวณต้นทุนผลผลิต ของปีงบประมาณ 2553 โดย นายธีรชาติ พันธุ์หอม หัวหน้าฝ่ายแผนงานและ งบประมาณด้านก่อสร้าง คณะทำงานต้นทุนผลผลิตสำนัก ชลประทานที่ 11.
ผลการปฏิบัติราชการ ตามคำรับรองการปฏิบัติราชการ กรมอนามัย ปีงบประมาณ พ
ยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบบริหารจัดการเพื่อสนับสนุนการจัดบริการสุขภาพ
กระบวนการถ่ายทอดความรู้
อัตร า บรร จุ ข้าราชการ 44 พนักงาน ราชการ 33 ลูกจ้าง -- รวม 77 อัตราว่าง พนักงานราชการ 3 มาช่วย ราชการ ถูกยืมตัว ลาเรียน ผอ. สำนักงานวิเทศ สัมพันธ์ (1/1)
สำนักงานเลขานุการ สำนักวิทยบริการ. ยุทธศาสตร์ที่ 1 โครงการจัดหาวัสดุ ตำรา วารสาร ฐานข้อมูล เพื่อ ให้บริการในสำนักวิทยบริการ การพัฒนานำระบบ RFID มาใช้ในการจัดชั้น.
สำนักประสานและติดตามนโยบาย สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี
การประเมินผลโครงการ คปสอ.คลองใหญ่.
KPI 8 : ระดับความสำเร็จของการพัฒนาบุคลากร น้ำหนัก :ร้อยละ 5 KPI ๑๐ : ระดับความสำเร็จของการพัฒนาปรับปรุง วัฒนธรรมองค์การ น้ำหนัก : ร้อยละ 3 กองการเจ้าหน้าที่
นางวราพันธ์ ลังกาวงศ์ ผู้อำนวยการกลุ่มนโยบายและแผน.
ผลการดำเนินงาน ปีงบ ๒๕๕๘ ( ร่าง ) แผนปฏิบัติการฯ ปี งบ ๒๕๕๙ กลุ่มงานบริหารทั่วไป สำนักงานสาธารณสุข จังหวัดตราด.
วิสัยทัศน์ ประเด็น ยุทธศาสตร์ สิ่งสำคัญที่ต้องทำ ให้บรรลุ เพื่อตอบสนอง วิสัยทัศน์ เป้าประสง ค์ หลัก ประสิทธิภ าพ ผลสำเร็จ สูงสุดของ องค์กรซึ่ง ประชาชน.
แผนแม่บทระบบสถิติประเทศไทย ฝ่ายวิชาการและวางแผนสำนักงานสถิติจังหวัดระยอง 1.
มอบนโยบายการบริหารราชการให้กับหัวหน้าสถานีตำรวจ วันอังคารที่ 2 ๑ มิ. ย.59 เวลา น. สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
องค์ความรู้ที่จำเป็นในการปฏิบัติราชการ แบบฟอร์มที่ 1 การจำแนกองค์ความรู้ที่จำเป็นต่อการผลักดันตามประเด็นยุทธศาสตร์ ของส่วนราชการ ชื่อส่วนราชการ : กรมทรัพยากรน้ำบาดาล.
โดย นายแพทย์ณัฐพร วงษ์ศุทธิภากร รองอธิบดีกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข “เรียนรู้ สิ่งแวดล้อม สร้างสรรค์” นโยบายการดำเนินงานด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม กรมอนามัย.
โดย ปณิต มีแสง. ส่วนที่ 1 ลักษณะสำคัญขององค์กร ส่วนที่ 2 เกณฑ์คุณภาพการบริหารจัดการ ภาครัฐ - การนำองค์กร - การวางแผนเชิงยุทธศาสตร์ - การให้ความสำคัญกับผู้รับบริหารและ.
เยี่ยมเสริมพลัง การจัดการความรู้ วันที่ 14 ก. ย
แผนยุทธศาสตร์การคุ้มครองผู้บริโภคแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ )
ความเป็นมา การส่งเสริมกระบวนการแผนชุมชน
ธนิตสรณ์ จิระพรชัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
ระบบมาตรฐานการพัฒนาชุมชน ผอ.กลุ่มงานมาตรฐานการพัฒนาชุมชน
มาตรฐานระบบการบริหารงานคุณภาพ
กลุ่มงานบริหารทรัพยากรบุคลากร
Strategy Map สำนักงานสรรพากรพื้นที่กรุงเทพมหานคร12
หลักสูตรอาเซียน เพื่อสร้างประชาคมอาเซียน ให้เป็นประชาคมที่มุ่งเน้น การปฏิสัมพันธ์กับต่างประเทศ มีความมั่นคง มีสันติภาพ และมีความมั่งคั่ง.
แบบฟอร์มที่ 2 ลักษณะสำคัญขององค์การ
เรื่องที่ประธานแจ้งให้ที่ประชุมทราบ
แนวทางการปฏิบัติงานตามข้อสั่งการ ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
อำเภออนามัยการเจริญพันธุ์
ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ระเบียบวาระที่ 3 เรื่องเพื่อทราบ
โดย ศรีปัญญา ม่วงเพ็ชร พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ
การประเมินผลการปฏิบัติงาน
วาระที่ 3.4 แนวทางการปฏิบัติงานโครงการตามนโยบาย กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
การบริหารงานประชาสัมพันธ์ของจังหวัด : การประชาสัมพันธ์และการจัดการสื่อ
เวลา น. เป็นต้นไป ณ ห้องประชุมสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ ชั้น 9
แนวทางการบริหารการจัดเก็บ ข้อมูลเพื่อการพัฒนาชุมชน ปี 2561
EB9 หน่วยงานของท่านมีการดำเนินการเพื่อป้องกันผลประโยชน์ทับซ้อนในหน่วยงานอย่างไร (1) มีการวิเคราะห์ความเสี่ยงเกี่ยวกับการปฏิบัติงานที่อาจเกิดผลประโยชน์ทับซ้อน.
การพัฒนาระบบการประเมิน และการประกันคุณภาพการศึกษา
การประเมินคุณภาพการศึกษา สำนักงานอธิการบดี
ตัวชี้วัด : ระดับความสำเร็จขององค์กรปกครอง
ข้อเสนอต่อการพัฒนา ระบบการสร้างเสริมสุขภาพ ของประเทศไทย
เครือข่ายความร่วมมือ เพื่อการพัฒนาห้องสมุดและ แหล่งเรียนรู้
ณ ห้องประชุมกำธร สุวรรณกิจ
การประเมินผลการปฏิบัติราชการ ของผู้ว่าราชการจังหวัดและ
ข้อสังเกตโดยรวมของผลงานที่ได้คะแนน ระดับดีมาก - ดี
ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี
ความปลอดภัยด้านอาหารและน้ำ
ศูนย์ทันตสาธารณสุขระหว่างประเทศ ตัวชี้วัดกรม ตัวชี้วัดตามภารกิจหน่วยงาน แบบวิเคราะห์การถ่ายทอดตัวชี้วัด ความเชื่อมโยงการถ่ายทอดตัวชี้วัดระดับหน่วยงานลงสู่ระดับกลุ่มงาน.
มุ่งเน้น การประเมินระดับการดำเนินงาน “หน่วยงานคุณธรรม”
เราคือ ‘One PPG’ We protect and beautify the world วัตถุประสงค์ของเรา
แบบฟอร์มที่ 2 ลักษณะสำคัญขององค์การ
การดำเนินงานต่อไป.
สถานการณ์เด็กไทยในปัจจุบัน
การจัดการความรู้ สำนักชลประทานที่ 15
มารู้จักและมีส่วนร่วมในกิจกรรม CSR ของ สศช. กันเถอะ
นพ.อภิศักดิ์ วิทยานุกูลลักษณ์ รพ.ธัญญารักษ์เชียงใหม่ กรมการแพทย์
การจัดการภาครัฐ และภาคเอกชน Public and private management
MTRD 427 Radiation rotection - RSO
กระดาษทำการ (หลักการและภาคปฏิบัติ)
ใบสำเนางานนำเสนอ:

การพัฒนาระบบราชการไทย แผนยุทธศาสตร์ การพัฒนาระบบราชการไทย (พ.ศ. 2551 – พ.ศ. 2555)

การวางระบบงานสมัยใหม่ การปฏิรูปปี 2545 ปัญหาของระบบราชการไทย ปรับรื้อโครงสร้างการบริหารราชการแผ่นดิน วางระบบบริหารสมัยใหม่ สร้างวัฒนธรรมการทำงานเชิงรุก การสร้างวัฒนธรรมการทำงานเชิงรุก การปรับรื้อโครงสร้าง การวางระบบงานสมัยใหม่ ปรับเปลี่ยนให้หน่วยงานในส่วนกลางมีขนาดเล็กลง ปรับปรุงโครงสร้าง และพัฒนาระบบการบริหารราชการในส่วนภูมิภาค และในต่างประเทศแบบบูรณาการ ส่งเสริม/แปรสภาพกิจกรรม/ การดำเนินการบางอย่างเป็นองค์กรมหาชน/ SDU กำหนดยุทธศาสตร์/เป้าหมาย จัดทำคำรับรองการปฏิบัติราชการ ติดตามประเมินผลเพื่อให้รางวัลแรงจูงใจ จัดระบบบริหารงานการคลังภาครัฐด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ (GFMIS) การพัฒนาคุณภาพการให้บริการประชาชนที่ดีขึ้น ด้วยการลดขั้นตอนและระยะเวลาการปฏิบัติราชการ การให้บริการทางอิเล็กทรอนิกส์ (E-service) ศูนย์บริการร่วม เคาน์เตอร์บริการประชาชน Call Center 1111 หน่วยบริการเคลื่อนที่ สร้างจิตสำนึกในการให้บริการ เปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วม มอบอำนาจการตัดสินใจ

การปฏิรูประบบราชการ การบริหารงานภาครัฐแนวใหม่ New Public Management (NPM) กระแสความเป็นประชาธิปไตยDemocratization ประชารัฐ Participatory State ชุมชนนิยม Communitarianism ประชาธิปไตยทางตรง Direct Democracy เศรษฐศาสตร์นีโอคลาสสิค Market mechanism การจัดการสมัยใหม่ Managerialism (Business-like approach)

การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี Good Governance Efficiency ประสิทธิภาพ Value-for-money ความคุ้มค่าของเงิน Participation การมีส่วนร่วมของประชาชน Transparency เปิดเผยโปร่งใส Responsiveness ตอบสนองDecentralization กระจายอำนาจ Effectiveness ประสิทธิผล Quality คุณภาพ Accountability for results ภาระรับผิดชอบ ต่อผลงาน Rule of law นิติรัฐ

กฎหมายระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน ฉบับที่ 5 (2545) มาตรา 3/1 “การบริหารราชการตามพระราชบัญญัตินี้ต้องเป็นไปเพื่อประโยชน์สุขของประชาชน เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐ ความมีประสิทธิภาพในเชิงภารกิจแห่งรัฐ การลดขั้นตอนการปฏิบัติงาน การลดภารกิจและยุบเลิกหน่วยงานที่ไม่จำเป็น การกระจายภารกิจและทรัพยากรให้แก่ท้องถิ่น การกระจายอำนาจตัดสินใจ การอำนวยความสะดวก และการตอบสนองความต้องการของประชาชน ทั้งนี้ โดยมีผู้รับผิดชอบต่อผลของงาน การจัดสรรงบประมาณ และการบรรจุและแต่งตั้งบุคคลเข้าดำรงตำแหน่งหรือปฏิบัติหน้าที่ต้องคำนึงถึงหลักการตามวรรคหนึ่ง”

มาตรา 3/1 (ต่อ) “ในการปฏิบัติหน้าที่ของส่วนราชการ ต้องใช้วิธี การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งให้คำนึงถึงความรับผิดชอบของผู้ปฏิบัติงาน การมีส่วนร่วมของประชาชน การเปิดเผยข้อมูล การติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการปฏิบัติงาน ทั้งนี้ ตามความเหมาะสมของแต่ละภารกิจ เพื่อประโยชน์ในการดำเนินการให้เป็นไปตามมาตรานี้ จะตราพระราชกฤษฎีกากำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการในการปฏิบัติราชการและการสั่งการให้ส่วนราชการและข้าราชการปฏิบัติก็ได้”

หมวด 4 หน้าที่ของชนชาวไทย รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 หมวด 4 หน้าที่ของชนชาวไทย มาตรา 74 วรรคหนึ่ง บุคคลผู้เป็นข้าราชการ พนักงาน ลูกจ้างของหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือเจ้าหน้าที่อื่นของรัฐ มีหน้าที่ดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมายเพื่อรักษาประโยชน์ส่วนรวม อำนวยความสะดวก และให้บริการแก่ประชาชนตามหลักธรรมาภิบาลของการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี

แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ แนวนโยบายด้านการบริหารราชการแผ่นดิน รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 หมวด 5 แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ ส่วนที่ 3 แนวนโยบายด้านการบริหารราชการแผ่นดิน มาตรา 78 รัฐต้องดำเนินการตามแนวนโยบายด้านการบริหารราชการแผ่นดิน ดังต่อไปนี้

(4) พัฒนาระบบงานภาครัฐ โดยมุ่งเน้นการพัฒนาคุณภาพ คุณธรรม และจริยธรรมของเจ้าหน้าที่ของรัฐ ควบคู่ไปกับการปรับปรุงรูปแบบและวิธีการทำงาน เพื่อให้การบริหารราชการแผ่นดินเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และส่งเสริมให้หน่วยงานของรัฐใช้หลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีเป็นแนวทางในการปฏิบัติราชการ

(5) จัดระบบงานราชการและงานของรัฐอย่างอื่น เพื่อให้การจัดทำและการให้บริการสาธารณะเป็นไปอย่างรวดเร็ว มีประสิทธิภาพ โปร่งใส และตรวจสอบได้ โดยคำนึงถึงการมีส่วนร่วมของประชาชน

บริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พระราชกฤษฎีกา ว่าด้วย หลักเกณฑ์และวิธีการ บริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546

พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ. ศ พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546 หมวด 1 การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี (มาตรา 6) หมวด 2 การบริหารราชการเพื่อให้เกิดประโยชน์สุขของ (มาตรา 7-มาตรา 8) ประชาชน หมวด 3 การบริหารราชการเพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ (มาตรา 9-มาตรา 19) ต่อภารกิจของรัฐ หมวด 4 การบริหารราชการอย่างมีประสิทธิภาพ (มาตรา 20-มาตรา 26) และเกิดความคุ้มค่าในเชิงภารกิจของรัฐ หมวด 5 การลดขั้นตอนการปฏิบัติงาน (มาตรา 27-มาตรา 32) หมวด 6 การปรับปรุงภารกิจของส่วนราชการ (มาตรา 33-มาตรา 36) หมวด 7 การอำนวยความสะดวกและการตอบสนอง (มาตรา 37-มาตรา 44) ความต้องการของประชาชน หมวด 8 การประเมินผลการปฏิบัติราชการ (มาตรา 45-มาตรา 49) หมวด 9 บทเบ็ดเตล็ด (มาตรา 50-มาตรา 53)

พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ. ศ พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546 แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ Strategic Management แนวนโยบายของรัฐบาล ม.3 แผนบริหารราชการแผ่นดิน Result Based Management Public Participation Transparency & Responsiveness Customer-Driven ม.9(2) มีเป้าหมาย ผลสัมฤทธิ์ และตัวชี้วัดผลสำเร็จ ม.16 แผนปฏิบัติการ 4 ปี ม.10 การบูรณาการร่วมกัน ม.16 แผนปฏิบัติการประจำปี ม.8 วิเคราะห์ผลดีผลเสีย ฟังความเห็น ปชช. หากเกิดปัญหา รีบแก้ไข ปรับปรุงภารกิจ ม.33 ทบทวนภารกิจอำนาจหน้าที่ โครงสร้างและอัตรากำลัง ม.33 ทบทวนกฎหมาย ประกาศ KM/LO ม.11 องค์การแห่งการเรียนรู้ ม.41-42 หากมีข้อร้องเรียน ต้องแก้ไข และตอบให้เข้าใจ VFM/Activity-Based Costing การปฏิรูปราชการ ม.23 จัดซื้อโปร่งใส ม.25 วินิจฉัยโดยเร็ว ม.26 สั่งการเป็นลายลักษณ์อักษร ม.43 ทุกเรื่องเป็นเรื่องเปิดเผย ม.44 เผยแพร่ข้อมูลงบรายจ่าย ม.22 บัญชีต้นทุน ค่าใช้จ่ายต่อหน่วย ม.22 การประเมินความคุ้มค่า ม.37 กำหนดระยะเวลาแล้วเสร็จ ม.37 นำ ICT มาใช้ ม.45 มีคณะผู้ประเมินอิสระประเมิน ผลสัมทธิ์ คุณภาพความพอใจ ของประชาชน ม.46-47 ประเมินผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงาน ม.48-49 รางวัล ลดขั้นตอน ม.27 กระจายอำนาจ ม.29 ทำแผนภูมิขั้นตอน ม.30-32 ศูนย์บริการร่วม Accountability Business Process Reengineering

ราชการเพื่อประโยชน์สุข แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบราชการไทย (พ.ศ. 2546 - พ.ศ. 2550) ปรับบทบาท ภารกิจและขนาด ให้มีความหมาะสม พัฒนาระบบ ราชการให้เป็น ระบบเปิด การพัฒนาระบบ ราชการเพื่อประโยชน์สุข ของประชาชน พัฒนาคุณภาพ การให้บริการ ประชาชนที่ดีขึ้น ยกระดับ ขีดความสามารถ และมาตรฐาน การทำงาน ให้อยู่ระดับสูง

การปฏิรูประบบราชการ รื้อปรับโครงสร้าง กิจกรรม ผลที่เกิดขึ้น 20 กระทรวง Area-based Management (ผวจ.ซีอีโอ , ทูต ซีอีโอ) องค์การมหาชน, SDU ประสิทธิภาพ ประสิทธิผล รื้อปรับโครงสร้าง ยุทธศาสตร์/เป้าหมาย/ตัวชี้วัด คำรับรองการปฏิบัติราชการ ประเมินผล / เงินรางวัล GFMIS ค.ต.ป. โปร่งใส ตรวจสอบได้ วางระบบบริหาร งานสมัยใหม่ ลดขั้นตอนและระยะเวลา 30-50% e-service One Stop Service ศูนย์บริการร่วม Counter Service Call Center 1111 Mobile Unit รณรงค์ยิ้ม (service mind) ให้ประชาชนมีส่วนร่วม มอบอำนาจการตัดสินใจ (deregulation) สร้างวัฒนธรรม การทำงานเชิงรุก คุณภาพ ความพึงพอใจ สะดวก รวดเร็ว

กรณีตัวอย่างการให้บริการประชาชนหลังการปฏิรูป เคาน์เตอร์บริการประชาชน การรับชำระภาษีรถประจำปีของสำนักงานขนส่งจังหวัดนครราชสีมา ลดเวลาจาก 30 นาที เหลือ 3 นาที ลดลง 90% / เลื่อนล้อต่อภาษี (Drive thru โดยไม่ต้องลงจากรถ) การให้บริการจัดหางานแก่คนหางานของกรมการจัดหางานลดเวลาจาก 2 ชม. 30 นาที เหลือ 55 นาที ลดลง 63% การให้คำปรึกษา/ตอบข้อหารือ/ ข้อพิพาทสินไหมทดแทนของ e-Claim ของกรมการ ประกันภัยลดเวลาจาก 5 วัน เหลือ 10 นาที ลดลง 99% ลดขั้นตอน ยื่นแบบ/ ชำระภาษีทางอินเตอร์เน็ต ค้นหาและจองชื่อนิติบุคคลทางอินเตอร์เน็ต ขอเลขประจำตัวผู้เสียภาษี การจดทะเบียนนิติบุคคล e-Service ตั้งอยู่ในสถานีรถไฟฟ้าหมอชิต/ห้างสรรพสินค้า (เชียงใหม่ นครราชสีมา อุดรธานีฯลฯ) จัดทำบัตรประจำตัวประชาชน รับชำระภาษีรถยนต์ รับชำระค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าโทรศัพท์ การให้บริการงานไปรษณีย์ เคาน์เตอร์บริการประชาชน ศูนย์บริการร่วมกระทรวง (ก.พาณิชย์ ก.อุตสาหกรรม ก.วิทยาศาสตร์ ฯลฯ) ให้บริการงานของกรมและหน่วยงานในกระทรวง ศูนย์บริการร่วมจังหวัด (พิษณุโลก ชลบุรี นครปฐม ฯลฯ) ขอสร้างบ้าน ขอไฟฟ้า ประปา โทรศัพท์/ จดทะเบียนและต่ออายุบัตรประจำตัวผู้ พิการ/ การรับเรื่องร้องเรียนร้องทุกข์/ การให้บริการข้อมูลประกันสังคม ศูนย์บริการร่วม

แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบราชการไทย (พ.ศ. 2551 – พ.ศ. 2555)

โลกแห่งการเปลี่ยนแปลง ในแบบ non-linear Re-thinking Re-thinking the future คิดเชิงยุทธศาสตร์Strategic thinking Re-imagine As the future catches you การบริหารการเปลี่ยนแปลงChange management World out of balance Information technology Bio-technology (life sciences) Nano-technology Re-managing

The World is Flat The 10 World “Flatteners” The Fall of the Berlin Wall The New Age of Connectivity Workflow Software Uploading Outsourcing Offshoring Supply Chaining Insourcing In-forming Steroids 20

New Directions for Public Leadership Governing forward: New Directions for Public Leadership Networked government: Moving beyond silos 2. Flexible government: Revamping workforce systems 3. Choice-based government: Letting citizens choose 4. Multi-channel government: Improving access 5. Personalized government: Catering to individual needs 6. Outcomes-based government: Focusing on results 7. Participatory government: Getting citizens involved Deloitte, Governing forward: New Directions for Public Leadership, Global perspectives 2006. (http://www.deloitte.com/dtt/cda/doc/content/dtt_dr_goingforward_03092006.pdf. 2006).

Transforming Government Six Trends Transforming Government Trend One: Changing the Rules Trend Two: Using Performance Management Trend Three: Providing Competition, Choice, and Incentives Trend Four: Performing On Demand Trend Five: Engaging Citizens Trend Six: Using Networks and Partnerships IBM Center for The Business of Government, Six Trends Transforming Government: Providing Cutting-edge Knowledge to Government Leaders (http://www.businessofgovernment.org/pdfs/SixTrends.pdf 2006).

วิสัยทัศน์ใหม่ของการพัฒนาระบบราชการไทย คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ ได้กำหนดวิสัยทัศน์ใหม่ของการพัฒนาระบบราชการ ในช่วงระยะปี พ.ศ. 2551 - พ.ศ. 2555 ไว้ดังต่อไปนี้ ระบบราชการไทยมุ่งเน้น ประโยชน์สุขของประชาชนและ รักษาผลประโยชน์ของประเทศชาติ มีขีดสมรรถนะสูง สามารถเรียนรู้ ปรับตัวและตอบสนอง ต่อการเปลี่ยนแปลง โดยยึดมั่นในหลักจริยธรรมและธรรมาภิบาล

ระบบราชการไทยที่พึงประสงค์จะต้องให้คุณค่าความสำคัญและยึดมั่นในปรัชญา หลักการ และแนวทาง ดังต่อไปนี้ ต้องให้ประชาชนเป็น “ศูนย์กลาง” ในการทำงาน รับฟังความคิดเห็น และตอบสนองความต้องการ ลดขั้นตอนและภาระในการติดต่อของประชาชน แก้ไขปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล เป็นที่พึ่งของประชาชนได้ ปรับเปลี่ยนบทบาทของระบบราชการให้เป็นผู้สนับสนุนและอำนวยความสะดวก ปรับขนาดกำลังคนและใช้ทรัพยากรอย่างเหมาะสม ไม่แทรกแซงและขยายตัวจนเป็นภาระของประเทศ หรือกระทบต่อสิทธิเสรีภาพขอประชาชน ประสานการทำงานกับผู้บริหารราชการแผ่นดินฝ่ายการเมืองเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อประเทศ สามารถให้ความคิดเห็นหรือข้อเสนอแนะเชิงนโยบายอย่างมีเหตุผล ตั้งมั่นในความถูกต้อง เป็นกลาง ปราศจากอคติ และอยู่บนพื้นฐานของหลักจรรยาบรรณวิชาชีพ และไม่เข้าไปแทรกแซงบทบาทและอำนาจหน้าที่ซึ่งกันและกัน มีความพร้อมและทัศนคติในการทำงานเป็นเครือข่ายร่วมมือกับภาคส่วนอื่นๆ ในสังคม และสามารถบูรณาการ เชื่อมโยงการทำงานภายในระบบราชการในทุกระดับเข้าด้วยกัน

ระบบราชการไทยที่พึงประสงค์จะต้องให้คุณค่าความสำคัญและยึดมั่นในปรัชญา หลักการ และแนวทาง ดังต่อไปนี้ (ต่อ) มีขีดความสามารถในการรับรู้ เรียนรู้ สามารถคาดการณ์ล่วงหน้า มีความยืดหยุ่นคล่องตัว รวดเร็ว สามารถคิดริเริ่มและสร้างนวัตกรรม (agility) และการบริหารการเปลี่ยนแปลงเพื่อขับเคลื่อนและปรับตัวได้เหมาะสม ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อม สร้างระบบธรรมาภิบาลของตนเองที่ดีเพื่อให้เกิดความโปร่งใสและความเชื่อมั่นศรัทธา เปิดให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม ลดการใช้ดุลพินิจในการตัดสินใจ และมีความรับผิดชอบต่อสังคม ประพฤติปฏิบัติให้ถูกต้องตามกฎหมาย ไม่สร้างปัญหาหรือภาระแก่สังคมเสียเอง มีความเป็นเลิศในการปฏิบัติงานและสร้างคุณค่าต่อสังคม ในการทำงานและการตัดสินใจ ที่ถูกต้อง แน่นอน และทันกาล โดยอาศัยเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามาประยุกต์ใช้ในการทำงาน มีเป้าหมายในการทำงานที่ชัดเจนและสามารถตรวจสอบวัดผลสัมฤทธิ์ได้ แสวงหา พัฒนาและธำรงรักษาบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถ ค่านิยมและกระบวนทัศน์อันเหมาะสมและเอื้อต่อการทำงานแนวใหม่ ตลอดจนทำให้บุคลากรตั้งมั่นอยู่ในศักดิ์ศรีและจรรยา สามารถแยกแยะผลประโยชน์ส่วนตนจากหน้าที่ทางการงาน ไม่แสวงหาประโยชน์ให้แก่ตนเองหรือผู้อื่นในทางมิชอบ

ประเด็นยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบราชการไทย (พ.ศ. 2551- พ.ศ. 2555) ประเด็น ยุทธศาสตร์ที่ 1 ยกระดับการให้บริการและ การทำงานเพื่อตอบสนอง ความคาดหวังและความต้องการ ของประชาชนที่มีความสลับซํบซ้อน หลากหลาย และเปลี่ยนแปลง ไปอย่างรวดเร็ว ประเด็น ยุทธศาสตร์ที่ 2 ปรับรูปแบบการทำงาน ให้มีลักษณะเชิงบูรณาการ เกิดการแสวงหาความร่วมมือ และสร้างเครือข่ายกับฝ่ายต่าง ๆ รวมทั้งเปิดให้ประชาชน เข้ามามีส่วนร่วม ประเด็น ยุทธศาสตร์ที่ 4 สร้างระบบการกำกับดูแลตนเองที่ดี เกิดความโปร่งใส มั่นใจ และสามารถตรวจสอบได้ รวมทั้งทำให้บุคลากรปฏิบัติงานอย่างมีจิตสำนึกความรับผิดชอบ ต่อตนเอง ต่อประชาชน และต่อสังคมโดยรวม ประเด็น ยุทธศาสตร์ที่ 3 มุ่งสู่การเป็นองค์การ ที่มีขีดสมรรถนะสูง บุคลากรมีความพร้อม และความสามารถ ในการเรียนรู้ คิดริเริ่ม เปลี่ยนแปลง และปรับตัวได้อย่างเหมาะสม ต่อสถานการณ์ต่าง ๆ

ประเด็นยุทธศาสตร์และกลยุทธ์ ในการพัฒนาระบบราชการไทย ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 1 ยกระดับการให้บริการและ การทำงานเพื่อตอบสนองความคาดหวังและความต้องการของประชาชนที่มีความสลับซํบซ้อน หลากหลาย และเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 2 ปรับรูปแบบการทำงานให้มีลักษณะเชิงบูรณาการ เกิดการแสวงหาความร่วมมือ และสร้างเครือข่ายกับฝ่ายต่าง ๆ รวมทั้งเปิดให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม 2.1 วางระบบการบริหารงานแบบบูรณาการภายในระบบราชการ 2.2 ส่งเสริม ผลักดันให้ให้เกิดความร่วมมือกันระหว่างหน่วยงานกลางต่างๆเพื่ออำนวยความสะดวกในการดำเนินการของส่วนราชการต่าง ๆ 2.3 จัดระบบบริหารราชการให้เอื้อต่อการทำงานร่วมกันเป็นเครือข่ายกับภาคเอกชน องค์กรพัฒนาเอกชน องค์กรชุมชน และภาคส่วนต่าง ๆ ในลักษณะเป็นภาคี/พันธมิตร/หุ้นส่วนในการจัดบริการสาธารณะ 2.4 สนับสนุนให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารราชการ 1.1 ส่งเสริมให้หน่วยงานภาครัฐปรับปรุงการให้บริการประชาชนให้มีความหลากหลาย ได้รับการบริการที่สะดวก รวดเร็ว และสามารถปรับตัวให้ทันต่อเหตุการณ์ เพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชน 1.2 ส่งเสริมสนับสนุนให้มีกลไกการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน และสามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารและบริการของทางราชการได้โดยสะดวก เป็นธรรม และตรงตามความต้องการ ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 4: สร้างระบบการกำกับดูแลตนเองที่ดี เกิดความโปร่งใส มั่นใจ และสามารถตรวจสอบได้ รวมทั้งทำให้บุคลากรปฏิบัติงานอย่างมีจิตสำนึกความรับผิดชอบต่อตนเอง ต่อประชาชน และต่อสังคมโดยรวม ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 3: มุ่งสู่การเป็นองค์การที่มีขีดสมรรถนะสูง บุคลากรมีความพร้อม และความสามารถ ในการเรียนรู้ คิดริเริ่ม เปลี่ยนแปลง และปรับตัวได้อย่างเหมาะสมต่อสถานการณ์ต่าง ๆ 3.1 จัดให้มีการวางยุทธศาสตร์การบริหารประเทศในระยะยาว (Scenario Planning) เพื่อคาดการณ์ปัจจัยต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตและผลกระทบต่อการบริหารกิจการบ้านเมือง และกำหนดเป้าหมายที่พึงประสงค์และต้องการบรรลุผลไว้ วัดความก้าวหน้า และผลสัมฤทธิ์ เพื่อประโยชน์ในการวางแผนพัฒนาระยะสั้น-ปานกลาง ตลอดจนการเตรียมการวางระบบบริหารงานและบุคลากรภาครัฐในอนาคต 3.2 ปรับปรุงบทบาท ภารกิจ และโครงสร้างของภาครัฐ ให้มีขนาดที่เหมาะสม (Rightsizing) เกิดความคุ้มค่าและรองรับกับสภาพแวดล้อมในการปฏิบัติงานที่มีความหลากหลายซับซ้อนมากขึ้น 3.3 เสริมสร้างให้หน่วยงานภาครัฐมีความตื่นตัว ตอบสนอง และไวต่อการเปลี่ยนแปลง มีการบริหารจัดการที่ยืดหยุ่น คล่องตัว สามารถปรับตัว และมีความคิดริเริ่ม ทันต่อสถานการณ์และความท้าทายต่าง ๆ ได้ 3.4 ปรับปรุงขีดสมรรถนะของทรัพยากรบุคคลภาครัฐ ให้สามารถเพิ่ม ผลิตภาพ และพัฒนาขีดความสามารถให้มีความเป็นมืออาชีพ 4.1 เสริมสร้างระบบคุณธรรม จริยธรรม ปรับกระบวนทัศน์ หล่อหลอมวัฒนธรรมใหม่ ให้เกิดขึ้นในหน่วยงานภาครัฐ 4.2 ปรับปรุงระบบการตัดสินใจและกำกับตรวจสอบในการบริหารราชการแผ่นดิน 4.3 ส่งเสริมให้หน่วยงานในภาครัฐมีการดำเนินการที่มีความรับผิดชอบต่อสังคม และชุมชน 4.4 การสร้างดุลยภาพระหว่างฝ่ายการเมืองและราชการประจำ

การนำยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบราชการไทย ไปสู่การปฏิบัติ การนำยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบราชการไทย ไปสู่การปฏิบัติ การสร้างระบบย่อย (Sub-systems) ในระบบราชการ โดยดำเนินการทบทวนบทบาทภารกิจ สอบทานพันธกิจ อำนาจหน้าที่ โครงสร้างระบบงาน อัตรากำลัง ทรัพยากร และผลสัมฤทธิ์ เพื่อออกแบบใหม่และนำเสนอพิมพ์เขียวต่อคณะรัฐมนตรีภายใน 6 เดือน ต้องยอมรับความแตกต่างหลากหลาย ไม่พยายามดึงให้เข้ามาอยู่ในระเบียบแบบแผนเดียวกันทั้งหมด ไม่ตั้งสมมติฐานว่าหน่วยงานราชการจะต้องเป็นผู้ดำเนินการทุกอย่างเอง หรือพยายามปรับปรุงให้ระบบราชการมีขีดสมรรถนะสูงในภารกิจงานที่ไม่ควรดำเนินการเองอีกต่อไปแล้ว ใช้ยุทธวิธีดำเนินการแบบคู่ขนานทั้งในแง่ของการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ให้เคลื่อนตัวไปพร้อมกันทั้งหมด และการเลือกเน้นบางจุดมาดำเนินการพัฒนาให้บังเกิดผลก่อน

แนวทางการวิเคราะห์เพื่อวางพิมพ์เขียวเพื่อการเปลี่ยนแปลง 1. ภารกิจ/งานนั้นยังจำเป็นต้องปฏิบัติอยู่หรือไม่ ? ไม่ใช่ ยกเลิก ใช่ 2. ภารกิจ/งานนั้นมีหน่วยงานใดปฏิบัติอยู่แล้วหรือไม่? ไม่ใช่ 3. ภารกิจ/งานนั้นเป็นภารกิจหลักใช่หรือไม่ ? ใช่ ไม่ใช่ ยกเลิก/รวม/โอนงาน วิเคราะห์ความเป็นไปได้ในการแปรสภาพ/จ้างเหมา ใช่ 4. ภารกิจ/งานนั้นสามารถมอบอำนาจหรือกระจายอำนาจไปให้ราชการส่วนภูมิภาค หรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินการได้หรือไม่ ? ไม่ได้ 5. ภารกิจ/งานนั้นสามารถดำเนินการโดยจัดตั้งเป็น หน่วยงานของรัฐรูปแบบอื่นได้หรือไม่? ได้ โอนถ่าย ไม่ได้ 6. ภารกิจ/งานนั้นจำเป็นต้องดำเนินการ โดยภาครัฐทั้งหมดหรือไม่ ? ได้ จัดตั้งเป็นหน่วยงานของรัฐรูปแบบอื่น ไม่ใช่ วิเคราะห์ความเป็นไปได้ในการจ้างเหมา ใช่ 7. ภารกิจ/งานนั้นมีการทบทวนอำนาจหน้าที่ การจัดโครงสร้าง ระบบงาน และการใช้ทรัพยากรที่เหมาะสมหรือไม่ ? วางแผนพัฒนาองค์การ ใช่ ไม่ใช่ จบการวิเคราะห์

ตอบสนอง ทันต่อการเปลี่ยนแปลง 10 โครงการสำคัญเพื่อรองรับยุทธศาสตร์ด้านต่าง ๆ ตอบสนอง ทันต่อการเปลี่ยนแปลง ยกระดับการให้บริการและการทำงาน เพื่อตอบสนองความคาดหวังและความต้องการของประชาชนที่มีความสลับซับซ้อน หลากหลายและเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว โครงการปรับปรุงการให้บริการประชาชน โครงการพัฒนาระบบการบริหารงานจังหวัดและกลุ่มจังหวัดแบบบูรณาการ โครงการจัดระบบความสัมพันธ์ระหว่างราชการบริหารส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และส่วนท้องถิ่น มีส่วนร่วม ปรับรูปแบบการทำงานให้มีลักษณะเชิงบูรณาการ เกิดการแสวงหาความร่วมมือและสร้างเครือข่ายกับฝ่ายต่าง ๆ รวมทั้งเปิดให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม โครงการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารกิจการบ้านเมือง โครงการสื่อสารเพื่อการเปลี่ยนแปลงตามแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบราชการไทย เก่ง มุ่งสู่การเป็นองค์การที่มีขีดสมรรถนะสูง บุคลากรมีความพร้อมและความสามารถ ในการเรียนรู้ คิดริเริ่ม เปลี่ยนแปลง และปรับตัวได้อย่างเหมาะสมต่อสถานการณ์ต่าง ๆ โครงการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐเพื่อเสริมสร้างความเป็นเลิศในการปฏิบัติราชการ โครงการวางระบบการบริหารการเรียนรู้โดยอาศัยสื่ออิเล็กทรอนิกส์ โครงการปรับกำลังคนภาครัฐเพื่อรองรับโลกาภิวัตน์ ดี สร้างระบบการกำกับดูแลตนเองที่ดี เกิดความโปร่งใส มั่นใจ และสามารถตรวจสอบได้ รวมทั้งทำให้บุคลากรปฏิบัติงานอย่างมีจิตสำนึกความรับผิดชอบต่อตนเอง ต่อประชาชน และต่อสังคมโดยรวม โครงการปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ ค่านิยม วัฒนธรรม และส่งเสริมจริยธรรมในระบบราชการไทย โครงการพัฒนาระบบการตรวจสอบและประเมินผลภาคราชการ

ปัจจัยเงื่อนไขแห่งความสำเร็จในการ พัฒนาระบบราชการไทย 1. การสร้างความเป็นเจ้าของในการบริหารการเปลี่ยนแปลง ต้องมีการเสริมสร้างภาวะผู้นำของผู้บริหารระดับสูงในแต่ละหน่วยงานให้มีความสนใจและสนับสนุนในเรื่องการบริหารการเปลี่ยนแปลงอย่างจริงจัง รวมถึงการกำหนดให้มีผู้บริหารระดับสูง เพื่อทำหน้าที่และรับผิดชอบผลักดันการบริหารการเปลี่ยนแปลงเป็นการเฉพาะและปฏิบัติงานอย่างเต็มเวลาในแต่ละส่วนราชการ กำหนดให้แต่ละหน่วยงานต้องมีการวางเป้าหมายที่พึงประสงค์ในการพัฒนาระบบบริหารงาน รวมทั้งดำเนินการกำหนดให้แต่ละหน่วยงานต้องมีการวางเป้าหมายที่พึงประสงค์ในการพัฒนาระบบบริหารงาน รวมทั้งดำเนินการจัดทำแผนปฏิบัติการของงานให้มีความชัดเจนและสามารถนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงได้อย่างแท้จริง ยกระดับความสำคัญและเสริมสร้างขีดความเข้มแข็งของกลุ่มพัฒนาระบบบริหาร ให้สามารถรับผิดชอบในการขับเคลื่อนแผนปฏิบัติการเกี่ยวกับการพัฒนาระบบบริหารราชการของแต่ละกระทรวงสู่การปฏิบัติได้อย่างบรรลุผล ต้องมีการจัดสรรงบประมาณเพื่อลงทุนในการพัฒนาองค์การและทรัพยากรบุคคลให้แก่แต่ละหน่วยงานอย่างเหมาะสมและเพียงพอ

ปัจจัยเงื่อนไขแห่งความสำเร็จในการ พัฒนาระบบราชการไทย (ต่อ) 2. การร่วมเป็นเจ้าภาพในการพัฒนาระบบราชการ ส่งเสริมให้หน่วยงานของรัฐพัฒนาขีดความสามารถในการปฏิบัติราชการ ให้สามารถเทียบเคียงกับภาคเอกชน หรือหน่วยงานในภาครัฐที่มีประสิทธิภาพสูงกว่า หรือองค์กรที่เป็นผู้นำที่เป็นกรณีศึกษา เพื่อเป็นพันธมิตรเชิงยุทธศาสตร์ ร่วมกับ ก.พ.ร. และนำมาใช้เป็นต้นแบบเพื่อการเทียบเคียง (Benchmarking) และเป็นศูนย์ถ่ายทอดองค์ความรู้ ในเรื่องต่าง ๆ เกี่ยวกับการพัฒนาระบบราชการให้แก่หน่วยงานอื่น ๆ ต่อไป ส่งเสริมให้มีกลไกประสานและเชื่อมโยงการทำงานของหน่วยงานกลางเข้าด้วยกัน เพื่อให้การขับเคลื่อนนโยบายและยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบราชการเป็นไปในทิศทางเดียวกันอย่างมีเอกภาพ แสวงหาความร่วมมือจากภาคธุรกิจเอกชนให้มากขึ้น เพื่อช่วยแลกเปลี่ยน ถ่ายทอดประสบการณ์ ความรู้ หรือเทคโนโลยีบางอย่างให้แก่ข้าราชการและหน่วยงานของรัฐ ในฐานะบรรษัทพลเมืองที่ดี (Good Corporate Citizenship) ซึ่งมีความรับผิดชอบต่อสังคม ร่วมมือกับสถาบันการศึกษาและองค์กรการพัฒนาระหว่างประเทศเพื่อสร้าง “ศูนย์นวัตกรรมเพื่อการพัฒนาระบบราชการไทย” ในการศึกษาวิจัย สร้างกรณีศึกษาต้นแบบ และแสวงหานวัตกรรมและความคิดริเริ่มใหม่มาปรับใช้กับการพัฒนาระบบราชการของไทย รวมทั้งเปิดให้ประชาชนและข้าราชการได้แสดงความคิดเห็น แนะนำการปรับปรุงการทำงานของราชการ

การนำร่องข้อริเริ่มในการพัฒนาระบบราชการ ร่วมกับหน่วยงานต่างๆ 1. การจัดทำแผนปฏิบัติการของกระทรวง สำนักงาน ก.พ.ร. กำลังดำเนินงานร่วมกับกระทรวงสาธารณสุข รวมทั้งกระทรวงการคลัง กระทรวงพลังงาน และกระทรวงอุตสาหกรรม ในการนำร่องเพื่อจัดทำแผนปฏิบัติการในการพัฒนาระบบราชการของกระทรวงเป็นการเฉพาะ เพื่อถ่ายทอดประเด็นยุทธศาสตร์เกี่ยวกับการปรับปรุงระบบการบริหารงานหรือการเสริมสร้างธรรมาภิบาล ตามแผนปฏิบัติราชการ ๔ ปีของกระทรวงไปสู่การปฏิบัติให้บังเกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม มีลักษณะเฉพาะของตนเองมากขึ้น เกิดความสัมพันธ์เชี่อมโยงและบูรณาการร่วมกันภายในกระทรวง และสอดรับกับแผนการบริหารราชการแผ่นดินและแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบราชการไทย (พ.ศ. 2551 - พ.ศ. 2555) อันจะทำให้การบริหารการเปลี่ยนแปลงของกระทรวงดำเนินไปอย่างเป็นระบบและสามารถวัดผลสัมฤทธิ์ได้

การนำร่องข้อริเริ่มในการพัฒนาระบบราชการ ร่วมกับหน่วยงานต่างๆ (ต่อ) 2. การจัดทำคำรับรองและประเมินผลการปฏิบัติราชการระหว่างกระทรวงและส่วนราชการระดับกรมในสังกัด สำนักงาน ก.พ.ร. ได้ร่วมกับกระทรวงการคลัง กระทรวงพลังงาน และกระทรวงอุตสาหกรรม ในการนำร่องการจัดทำคำรับรองและประเมินผลการปฏิบัติราชการรูปแบบใหม่ โดยโอนถ่ายให้สำนักงานปลัดกระทรวงในฐานะเป็นศูนย์อำนวยการ (Nerve Center) มีอิสระในการทำหน้าที่เป็นผู้จัดทำกรอบและรายละเอียดการประเมินผล รวมทั้งเป็นผู้รับผิดชอบดำเนินการเจรจาเพื่อจัดทำคำรับรองการปฏิบัติราชการและติดตามประเมินผลความสำเร็จของส่วนราชการระดับกรมในสังกัดได้ด้วยตนเอง ภายใต้กรอบที่ ก.พ.ร. วางหลักการไว้ ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้มีมติรับทราบการดำเนินงานเพื่อการดำเนินการนำร่องดังกล่าวแล้ว เมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2551 ทั้งนี้ การปรับปรุงดังกล่าวจะช่วยทำให้การบริหารงานเชิงยุทธศาสตร์และถ่ายทอดยุทธศาสตร์ภายในกระทรวง รวมทั้งการกำหนดตัวชี้วัดและค่าเป้าหมาย มีความยืดหยุ่นคล่องตัวและตรงตามวิสัยทัศน์ ศักยภาพและขีดสมรรถนะของกระทรวงมากขึ้น

การนำร่องข้อริเริ่มในการพัฒนาระบบราชการ ร่วมกับหน่วยงานต่างๆ (ต่อ) 3. ระบบบริหารยุทธศาสตร์องค์การภาครัฐสู่ระบบอิเล็กทรอนิกส์ สำนักงาน ก.พ.ร.ได้พัฒนาระบบบริหารยุทธศาสตร์องค์การภาครัฐสู่ระบบอิเล็กทรอนิกส์ (Government Strategic Management System: GSMS) ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2548 ซึ่งอยู่ระหว่างการดำเนินงานนำร่องในเรื่องการท่องเที่ยวของกลุ่มจังหวัดภาคเหนือ 1.1 (เชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน ลำปาง พะเยา แพร่ น่าน แม่ฮ่องสอน) กลุ่มจังหวัดภาคใต้ 8.3 (ภูเก็ต พังงา กระบี่) และกลุ่มจังหวัดภาคกลาง 3.1 (นนทบุรี ปทุมธานี พระนครศรีอยุธยา อ่างทอง) โดยได้มีการจัดทำแผนที่ยุทธศาสตร์ด้านการท่องเที่ยว ร่วมกับกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา รวมทั้งดำเนินการออกแบบและทดสอบระบบการทำงานบนฐานข้อมูลจริง ซึ่งโปรแกรมดังกล่าวช่วยทำให้กระบวนการบริหารเชิงยุทธศาสตร์เป็นไปอย่างครบวงจรตั้งแต่การวางยุทธศาสตร์ การจัดทำโครงการและงบประมาณ ไปจนถึงการตรวจสอบและประเมินผล รวมทั้งยังสามารถเชื่อมต่อเข้ากับระบบการบริหารการการเงินการคลังภาครัฐสู่ระบบอิเล็กทรอนิกส์ (Government Fiscal Management Information System: GFMIS) ทำให้สามารถรายงานผลทางการเงินและผลการดำเนินงานแก่ผู้บริหารได้ในแบบออนไลน์เรียลไทม์ ทั้งนี้ ระบบดังกล่าวยังได้ออกแบบให้สามารถรองรับต่อการบริหารงานจังหวัดและกลุ่มจังหวัดแบบบูรณาการ โดยเฉพาะการจัดสรรงบประมาณโดยตรงให้แก่จังหวัดและกลุ่มจังหวัด

การนำร่องข้อริเริ่มในการพัฒนาระบบราชการ ร่วมกับหน่วยงานต่างๆ (ต่อ) 4. การเสริมสร้างขีดสมรรถนะสำนักบริหารยุทธศาสตร์กลุ่มจังหวัด สำนักงาน ก.พ.ร. ได้ร่วมกับกระทรวงมหาดไทย ในการเตรียมการและเสริมสร้างขีดสมรรถนะของสำนักบริหารยุทธศาสตร์กลุ่มจังหวัด โดยมีการนำร่องในกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน (เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง แม่ฮ่องสอน) ก่อนจะขยายผลไปสู่กลุ่มจังหวัดอื่นให้ครบทุกกลุ่มจังหวัดต่อไป ซึ่งมีขอบเขตการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่ การศึกษาวิเคราะห์เพื่อวางรูปแบบการบริหารการพัฒนากลุ่มจังหวัดและจังหวัด รวมถึงการออกแบบโครงสร้าง บทบาท หน้าที่ และระบบงานของสำนักบริหารยุทธศาสตร์กลุ่มจังหวัด ตลอดจนการจัดความสัมพันธ์เชื่อมโยงกับหน่วยงานในส่วนกลางและหน่วยงานในระดับจังหวัด รวมถึงองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น นอกจากนี้ยังได้มีการถ่ายทอดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการบริหารงานกลุ่มจังหวัด/จังหวัดแบบบูรณาการ ให้แก่ผู้บริหารและบุคลากรของภาคส่วนต่างๆ ที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม

การนำร่องข้อริเริ่มในการพัฒนาระบบราชการ ร่วมกับหน่วยงานต่างๆ (ต่อ) 5. การพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ สำนักงาน ก.พ.ร. ได้ร่วมกับกระทรวงพลังงานและจังหวัดนครราชสีมา ในการพัฒนาองค์การสู่ความเป็นเลิศตามเกณฑ์คุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ โดยมีการวิเคราะห์ครอบคลุมองค์ประกอบทั้ง 7 ด้านได้แก่ การนำองค์การ การวางยุทธศาสตร์ การให้ความสำคัญต่อลูกค้าผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ข้อมูลสารสนเทศและความรู้ ทรัพยากรบุคคล กระบวนงาน และผลลัพธ์ของการดำเนินงาน เพื่อนำไปใช้ในการวางแผนปรับปรุงองค์การอย่างต่อเนื่อง ในส่วนของกระทรวงพลังงานนั้นได้มีการเสริมสร้างศักยภาพและความพร้อมในการมุ่งสู่ความมีขีดสมรรถนะสูง เน้นการพัฒนาพลังงานควบคู่ไปกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม การทำงานเพื่อประชาชน สร้างวัฒนธรรมองค์การที่มีความมุ่งมั่นตั้งใจทำงานเชิงรุก พัฒนาบุคลากรให้มีขีดความสามารถในการควบคุมและกำกับดูแลกิจการด้านพลังงาน การบริหารงานด้วยระบบที่มีคุณภาพและทันสมัย ในส่วนของจังหวัดนครราชสีมานั้นมุ่งเน้นให้ทุกหน่วยงานในจังหวัดมองภาพแบบองค์รวม เน้นการบริหารงานเชิงบูรณาการ สามารถตอบสนองต่อเป้าประสงค์เชิงยุทธศาสตร์ของจังหวัดได้อย่างมีประสิทธิผล และปรับปรุงการปฏิบัติราชการให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

การนำร่องข้อริเริ่มในการพัฒนาระบบราชการ ร่วมกับหน่วยงานต่างๆ (ต่อ) 6. การบริหารราชการแบบมีส่วนร่วม สำนักงาน ก.พ.ร.ร่วมกับส่วนราชการและเครือข่ายภาคประชาชน ในการผลักดันระบบการบริหารราชการแบบมีส่วนร่วมและทำให้การมีส่วนร่วมของประชาชนกลายเป็นวัฒนธรรมและค่านิยมในการทำงานของระบบราชการ โดยมุ่งเน้นในการเสริมสร้างทักษะ ความรู้ความเข้าใจ และทัศนคติเชิงบวก ให้แก่ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง กล่าวคือ ภาคราชการ ได้มีการนำร่องใน ๓ หน่วยงานได้แก่ กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ และกรมประชาสัมพันธ์ เพื่อพัฒนารูปแบบการมีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายสาธารณะและการเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารงานของทางราชการ และใน 75 จังหวัด เพื่อเปิดช่องทางให้ประชาชนได้เข้ามามีส่วนร่วมอย่างเป็นระบบในการให้ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการปรับปรุงและยกระดับคุณภาพการให้บริการ ภาคประชาชน ได้ส่งเสริมให้มีการรวมกลุ่มจัดตั้งเป็นเครือข่ายการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาระบบราชการใน 4 ภูมิภาคได้แก่ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคใต้ รวมทั้งการสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของประชาชนให้แก่สมาชิกเครือข่ายและผู้ที่เกี่ยวข้อง โดยอาศัยเทคนิควิธีการเพื่อให้ประชาชนได้เข้ามาร่วมรับรู้ แสดงความคิดเห็น และสามารถตรวจสอบคุณภาพการให้บริการและผลการปฏิบัติงานของส่วนราชการได้อย่างเป็นระบบ (People’s Audit)