ทฤษฎีทางอาชีพ ผศ. นิตยา เรืองแป้น ภาควิชาพื้นฐานการศึกษา ผศ. นิตยา เรืองแป้น ภาควิชาพื้นฐานการศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา
ทฤษฎีความต้องการของฮอพพอค (Hoppock’s Composite Theory) ทฤษฎีทางอาชีพ ทฤษฎีความต้องการของฮอพพอค (Hoppock’s Composite Theory) ทฤษฎีการเลือกอาชีพของฮอลแลนด์ (Holland’s Theory of Vocational Choice) ทฤษฎีการเลือกอาชีพของโรว์ (Roe’s Theory) ทฤษฎีอาชีพของกินสเบอร์ก (Ginzberg and Associates’ Theory) ทฤษฎีพัฒนาการทางอาชีพของซูเปอร์ (Super’s Theory of Vocational Development) ทฤษฎีของไทด์แมน และ โอฮารา (Tiedman and O’Hara Theory of Career Development) 2
ทฤษฎีทางอาชีพ 1. กลุ่มที่มุ่งความต้องการทางจิตวิทยา Hoppock’s Composite Theory Holland’s Theory of Vocational Choice Roe’s Theory 2. กลุ่มที่มุ่งทางพัฒนาการของอัตตา Ginzberg and Associates’ Theory Super’s Theory of Vocational Development Tiedman and O’Hara Theory of Career Development
ทฤษฎีพัฒนาการทางอาชีพของซูเปอร์ (Super’s Theory of Vocational Development) พื้นฐานทางทฤษฎี มนุษย์มีความแตกต่างกันในด้านความสามารถ ความสนใจ และบุคลิกภาพ
2. ความแตกต่างของบุคคลแต่ละคน ทำให้เขาเหมาะสมกับอาชีพแตกต่างกันออกไป
ในงานแต่ละอาชีพ แม้ต้องการบุคคลที่มีคุณลักษณะบางอย่างเข้าไปทำก็ตาม แต่ก็กว้างขวางมากพอที่จะให้บุคคลที่มีบุคลิกภาพใกล้เคียงอื่นๆ สามารถประกอบงานอาชีพนั้นได้เช่นกัน
ความพึงพอใจของบุคคล ความสามารถ สถานการณ์ที่เขาดำรงชีวิตอยู่ รวมทั้งความคิดรวบยอดที่มีต่อตนเอง จะมีการเปลี่ยนแปลงไปตามเวลาและประสบการณ์ ทำให้การตัดสินใจเลือกอาชีพของบุคคลมีการเปลื่ยนแปลงได้เสมอ
5. ชีวิตเป็นกระบวนการที่มีการเปลี่ยนแปลงไม่หยุดนิ่ง 5.1 ระยะการเจริญเติบโต (Growth Stage) 5.2 ระยะการสำรวจ (Exploratory Stage) 5.3 ระยะการวางรากฐาน (Establishment Stage) 5.4 ระยะการสร้างความมั่นคง ( Maintenance Stage) 5.5 ระยะเสื่อมถอย (Decline Stage)
6.1 ระดับสถานภาพทางเศรษฐกิจและสังคมของพ่อแม่ 6.2 ความสามารถทางสติปัญญา 6. องค์ประกอบที่มีอิทธิพลต่อแบบแผนทางอาชีพของบุคคล คือ 6.1 ระดับสถานภาพทางเศรษฐกิจและสังคมของพ่อแม่ 6.2 ความสามารถทางสติปัญญา 6.3 บุคลิกภาพ 6.4 โอกาสที่จะมีประสบการณ์ทางอาชีพต่างๆ
การแนะแนวอาชีพ มีอิทธิพลต่อการเลือกอาชีพของเด็ก 10
8. พัฒนาการทางอาชีพ คือพัฒนาการทางจิตใจและร่างกาย ประกอบกับการแสดงออกของความคิดรวบยอดของบุคคล
9. การเข้าสู่อาชีพของบุคคล มักถูกกำหนดโดยกระบวนการประนีประนอมระหว่างตัวบุคคลกับตัวแปรทางสังคม เช่น ระหว่างภาพพจน์ที่ตนมีอยู่กับสภาพความเป็นจริง
10. ความพึงพอใจในการทำงานในชิวิตขึ้นอยู่กับ 10.1 ความสามารถ ความสนใจ บุคลิกภาพ และค่านิยมของบุคคล มีโอกาสได้แสดงออกมามากน้อยเพียงใดในงานที่ทำ 10.2 ประสบการณ์ของบุคคลทีได้รับจากการทำงาน สอดคล้องกับภาพพจน์ของตัวเขาเองมากเพียงใด
Super แบ่งระยะพัฒนาการด้านอาชีพไว้ 4 ขั้น ดังนี้ 1. Exploration อายุระหว่าง 15-24 ปี มีพฤติกรรมทางอาชีพในการสำรวจตนเองทดลองทำงานอาจเป็นงานหลังเลิกเรียน (Part-Time)
2. Establishment อายุระหว่าง 25-44 ปี เริ่มต้นแบบงานและอาชีพที่ตนเองถนัด และเหมาะสมกับตนเอง
3. Maintenance อายุระหว่าง 45-64 ปี เป็นการค้นพบโลกของงานอย่างแท้จริง เป็นพฤติกรรมที่รักษาความมั่นคงในการทำงานไว้ ไม่ต้องการเปลี่ยนแปลง
4. Decline อายุ 65 ปีขึ้นไป ไม่สนใจในการทำงานหนักเนื่องจากสุขภาพไม่เอื้ออำนวย อาจแสวงหางาน Part-Time เพื่อใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์
ภาระกิจทางด้านอาชีพ (Vocational Tasks) Super เชื่อว่า ในทุกระยะของพัฒนาการของบุคคล จะต้องมีภาระกิจทางด้านอาชีพเกิดขึ้นควบคู่กันด้วย เช่น ในช่วงวัยรุ่น ก็มีภาระกิจที่ยังต้องแสวงหา ค้นคว้าอาชีพต่างๆ ที่เหมาะสมกับตนเองมากที่สุด เมื่อเติบโตเป็นผู้ใหญ่ ภาระกิจทางอาชีพคือการสร้างความมั่นคง และความก้าวหน้าให้กับชีวิตการทำงานของตนเอง “ มนุษย์ ใช้การทำงานเป็นทางแสดงออกของบุคลิกภาพ” 18
ซักถาม-อภิปราย