บทที่ 5 ภาวะการเงิน
ภาวะการเงิน ภาวะการเงินแบ่งออกเป็น 3 ภาวะคือ 1. ภาวะเงินเฟ้อ (Inflation) 2. ภาวะเงินฝืด (Deflation) 3. ภาวะเงินตึง (Tight Money)
ภาวะเงินเฟ้อ (Inflation) ภาวะเงินเฟ้อ หมายถึง ภาวะที่เงินมีอำนาจการซื้อลดลง ปริมาณเงิน เพิ่มขึ้น ราคาสินค้าและบริการสูงขึ้น
สาเหตุของภาวะเงินเฟ้อ สาเหตุของภาวะเงินเฟ้อ 1. เงินเฟ้อที่เกิดจากอุปสงค์ 1.1 การเพิ่มขึ้นของปริมาณเงิน 1.2 การเพิ่มขึ้นของค่าใช้จ่าย 1.3 การเพิ่มขึ้นของค่าจ้างแรงงาน 1.4 การได้เปรียบของดุลการชำระเงิน
สาเหตุของภาวะเงินเฟ้อ 2. เงินเฟ้อที่เกิดจากอุปทาน 2.1 การเพิ่มขึ้นของต้นทุนการผลิต 2.2 การลดลงของปริมาณสินค้าและบริการ 2.3 การเพิ่มกำไรของผู้ประกอบการ 3. เงินเฟ้อที่เกิดจากอุปสงค์และอุปทานรวมกัน
ผลของเงินเฟ้อ ผลกระทบของภาวะเงินเฟ้อ คือ รายได้ที่แท้จริงหรืออำนาจซื้อเปลี่ยนแปลงไป การออมลดลง ผลกระทบต่อดุลการค้าและดุลการชำระเงิน ผลกระทบต่อการให้เครดิตทางการค้า ผลกระทบต่อฐานะการเงินของรัฐบาล
ผลของเงินเฟ้อ ผลกระทบ - ผู้เสียเปรียบคือ เจ้าหนี้ และผู้มีรายได้แน่นอน - ผู้ได้เปรียบคือ ลูกหนี้ และนักธุรกิจ วิธีแก้ปัญหา - ขึ้นอัตราดอกเบี้ย และขายพันธบัตรรัฐบาล - ใช้นโยบายงบประมาณเกินดุล ด้วยการเพิ่มภาษีอากร
การวัดระดับเงินเฟ้อ เครื่องมือที่ใช้วัดระดับเงินเฟ้อ คือ ดัชนีราคา (Price Index) ดัชนีราคา (Price Index) หมายถึง ตัวเลขที่แสดงการ เปลี่ยนแปลงถั่วเฉลี่ยในราคาสินค้าที่นำมาพิจารณา วิธีหาดัชนีราคา 1. การหาดัชนีราคารวมอย่างง่าย 2. การหาดัชนีราคาถ่วงน้ำหนัก
ดัชนีราคาผู้บริโภค อาหารและเครื่องดื่ม เครื่องนุ่งห่ม ดัชนีราคาผู้บริโภคแยกหมวดหมู่สินค้าและบริการออกเป็น 7 หมวดใหญ่ คือ อาหารและเครื่องดื่ม เครื่องนุ่งห่ม ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับเคหะสถาน ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการตรวจรักษา ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับพาหนะ และบริการขนส่ง ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการบันเทิง การอ่าน และการศึกษา ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับยาสูบ และเครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์
ภาวะเงินฝืด (Deflation) ภาวะเงินฝืด คือ ภาวะที่มีเงินมีอำนาจซื้อเพิ่มขึ้น ปริมาณเงินลดลง ราคาสินค้าและบริการถูกลง แต่ไม่มีคนมาซื้อ
ผลกระทบของภาวะเงินฝืด รายได้ที่แท้จริงหรืออำนาจซื้อเปลี่ยนแปลงไป มีผลกระทบต่อผู้ประกอบธุรกิจ ผลกระทบ - ผู้เสียเปรียบคือ ลูกหนี้ และนักธุรกิจ - ผู้ได้เปรียบคือ เจ้าหนี้ และผู้มีรายได้แน่นอน
การแก้ไขภาวะเงินฝืด รัฐบาลใช้นโยบายการเงินและการคลัง เพื่อเพิ่มการใช้จ่ายในการลงทุนของรัฐบาลให้สูงขึ้น ลดการออมโดยพยายามลมอัตราดอกเบี้ยเงินฝากธนาคารพาณิชย์ วิธีแก้ปัญหา - ลดอัตราดอกเบี้ย และซื้อพันธบัตรรัฐบาล - ใช้นโยบายงบประมาณขาดดุล ด้วยการลดหนี้ และเพิ่มการใช้จ่ายของรัฐ
ภาวะเงินตึง (Tight Money) ภาวะเงินตึง คือ ภาวะที่กระแสการเงินชะงักชะงัน มีความต้องการเงิน เพื่อลงทุนเพิ่มแต่ปริมาณเงินน้อย
สาเหตุภาวะเงินตึง สาเหตุของการเกิดภาวะเงินตึง การที่ภาวะเงินเฟ้อหรือปริมาณ เงินในระบบเศรษฐกิจมีมากเกินไป รัฐบาลจึงพยายามหามาตรการ ต่างๆ มาแก้ไขเพื่อลดปริมาณเงินในระบบเศรษฐกิจลง หรือเกิดจาการ ขยายการผลิต และการลงทุนในอัตราที่สูงเกินไป
ภาวะเงินตึงที่เกิดขึ้นในประเทศไทย ปริมาณเงินฝากในสถาบันการเงินเพิ่มขึ้นในอัตราต่ำจนผิดปกติ การขยายตัวทางด้านการลงทุนในอุตสาหกรรมเพิ่มสูงขึ้นอย่างมาก การลดลงของการใช้จ่างของรัฐบาล นโยบายการพัฒนาตลาดหลักทรัพย์
การแก้ไขภาวะเงินตึงของประเทศไทย ขยายวงเงินกู้ที่ธนาคารพาณิชย์กู้ยืมจากธนาคารแห่งประเทศไทย รัฐบาลลดอัตราเงินสดสำรองตามกฎหมายของธนาคารพาณิชย์ลง อนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์นำพันธบัตรรัฐบาลที่มีอยู่มาไถ่ถอนคืน
คำถามท้ายบทที่ 5 ภาวะทางการเงินหมายถึงอะไร ภาวะเงินเฟ้อมีลักษณะอย่างไร สาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะเงินเฟ้อคืออะไร อธิบายความแตกต่างระหว่างภาวะทางการเงินเป็นอย่างไร ดัชนีราคาผู้บริโภคมีความสำคัญอย่างไร ผลกระทบของภาวะเงินเฟ้อของไทยเป็นอย่างไร วิธีแก้ไขภาวะทางการเงินควรกระทำโดยวิธีใด