งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

ส่วนเกินของผู้บริโภค (consumer surplus)

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "ส่วนเกินของผู้บริโภค (consumer surplus)"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 ส่วนเกินของผู้บริโภค (consumer surplus)
CS เป็นการวัดว่าผู้บริโภคดีขึ้นกว่าเดิม (better off) เท่าไร ที่ได้ซื้อสินค้าบริการในตลาด เนื่องจาก ราคาตลาดต่ำกว่ามูลค่าที่ผู้บริโภคยินดีที่จะจ่าย (WTP) CS เป็นความแตกต่างระหว่างจำนวนเงินสูงสุดที่ผู้บริโภคยินดีที่จะจ่ายกับจำนวนเงินที่เขาจะต้องจ่ายจริง เช่น ถ้ายินดีที่จะจ่าย 10 บาทต่อหน่วย แต่ซื้อได้ในราคา 5 บาท CS = 10-5 = 5 บาท

2 CS ใช้ได้ในกรณีบุคคลและกรณีตลาด เพียงแต่เปลี่ยนหน่วยวัดให้สอดคล้อง
ถ้าซื้อมากกว่า 1 หน่วย CS จะเป็นผลรวมของทุกๆหน่วย (ซึ่ง WTP อาจเปลี่ยนไปด้วย) เพราะว่าบริโภคเพิ่มขึ้น MU ลดลง WTP ลดลงด้วย ในกรณีที่อุปสงค์เป็นเส้นตรง CS จะเป็นพื้นที่ระหว่างเส้นอุปสงค์ เส้นราคา และแกนตั้ง ประโยชน์ของ CS เป็นการวัดผลได้ที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงในราคา เนื่องจากนโยบายของรัฐบาล หรือ พฤติกรรมตลาด

3

4

5 Network Externality เป็นปรากฏการณ์ที่อุปสงค์ของบุคคลหนึ่งขึ้นอยู่กับอุปสงค์ของคนอื่นๆ อุปสงค์ต่อสินค้าชนิดหนึ่งของคนหนึ่งจะถูกกระทบด้วยจำนวนผู้บริโภคสินค้าชนิดนั้น Network externality ที่เป็นบวก หมายถึง อุปสงค์ของคนหนึ่งเพิ่มขึ้นเนื่องจากการเพิ่มขึ้นของการบริโภคของผู้บริโภครายอื่นๆ ตัวอย่างเช่น The Bandwagon effect

6

7 สาเหตุของ effect อาจมาจากแฟชั่น เห่อตามกัน
เช่น การใช้ internet เมื่อราคาลดลง จะเกิด 2 สิ่งพร้อมๆกัน คือ ปริมาณเพิ่มขึ้นตามอุปสงค์ของบุคคล และปริมาณเพิ่มขึ้นจาก network externality ที่กระตุ้นให้ผู้บริโภคใช้มากขึ้น สิ่งที่สำคัญคือ bandwagon effect ทำให้เส้นอุปสงค์มีความยืดหยุ่นมากขึ้นกว่าที่ในกรณีไม่มี effect นี้

8 Network externality ที่เป็นลบ หมายถึง อุปสงค์ของคนหนึ่งลดลง เนื่องจากการเพิ่มขึ้นของการบริโภคของผู้บริโภครายอื่นๆ ตัวอย่างเช่น The Snob effect สาเหตุของ effect นี้มาจากความปรารถนาที่จะได้ครอบครองสินค้าบริการที่มีความเฉพาะ/หายาก ทำให้รู้สึกมีเกียรติ หรูหรา ฯลฯ เช่น รถ sports ของมียี่ห้อ ฯลฯ The Snob effect ทำให้เส้นอุปสงค์มีความยืดหยุ่นน้อยลง

9

10 การประมาณการอุปสงค์เชิงประจักษ์
(Empirical Estimation of Demand) ประโยชน์ของการประมาณการอุปสงค์คือ การรู้/กำหนดรูป/ลักษณะของเส้นอุปสงค์ รวมทั้งคำนวณความยืดหยุ่นของราคาและรายได้ที่มีต่อปริมาณ ข้อมูลที่นำมาใช้ในการประมาณการอุปสงค์มาจาก 2 ทาง 1. การสัมภาษณ์ผู้บริโภค ทำให้รู้ปริมาณที่ซื้อ ณ ราคาต่างๆ แต่ปัญหาคือ ผู้บริโภคอาจไม่ได้ให้ข้อมูลจริง

11 ทางแก้คือ การถามแบบอ้อมๆ
2. การทดลองทางการตลาด เป็นการเปลี่ยนแปลงราคาจริงๆเพื่อดูว่าปริมาณเปลี่ยนไปอย่างไร แต่ก็มีปัญหาคือ ต้นทุนสูง ผู้บริโภคไม่แสดงออกอย่างแท้จริง ทำได้จำกัด วิธีไหนเหมาะสม ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ของการศึกษา

12 หลักการสถิติในการประมาณการอุปสงค์ จะอาศัยข้อมูลที่ได้มา สร้างเป็นเส้นอุปสงค์ตามสมการด้วยวิธีการทางสถิติ เช่น least square method ตัวอย่างเช่น Q = a - bP + cI อุปสงค์เป็นเส้นตรง ขึ้นอยู่กับราคา (P) และรายได้ (I) โดยที่ P ผกผันกับ Q แต่ I แปรโดยตรงกับ Q (ดูที่เครื่องหมาย) ข้อมูลอาจ plot เป็นกราฟ หรือประมาณการเป็นตัวเลข เช่น Q = P I (ควรจะรู้หลักการนี้ไว้ เพื่ออ่านผลการศึกษาทางเศรษฐศาสตร์ได้เข้าใจ แม้ว่าจะไม่รู้เรื่องเศรษฐมิติก็ตาม)

13

14 การคำนวณ EP จากอุปสงค์ที่ประมาณการได้
Q = a - bP จากสมการ Q = a - b P Q = - b P EP = -b (P / Q)

15 บางครั้งเรากำหนดให้สมการอุปสงค์อยู่ในรูป log-linear
เช่น ซึ่งจะเป็น unit elastic demand

16 ความยืดหยุ่นของรายได้และความยืดหยุ่นไขว้ก็คำนวณได้ในลักษณะเดียวกัน
เช่น log Q = a - b log P + c log I c ก็จะเป็น income elasticity หรือ log Q = a - b log P + d log P2 d จะเป็นความยืดหยุ่นไขว้ ถ้า d เป็นบวก จะเป็นสินค้าทดแทนกัน แต่ถ้า d เป็นลบ จะเป็นสินค้าประกอบกัน


ดาวน์โหลด ppt ส่วนเกินของผู้บริโภค (consumer surplus)

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google